สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 19, 2019, 07:03:29 am



หัวข้อ: ดนตรีบำบัด มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 19, 2019, 07:03:29 am

(https://i2.wp.com/goodlifeupdate.com/app/uploads/2017/09/music-therapy.jpg?resize=1024%2C538&ssl=1)


ดนตรีบำบัด มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด

ดนตรีบำบัด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Music Therapy เป็นกิจกรรมทางดนตรีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การร้องเพลง การแต่งเพลง โดยมีจุดประสงค์เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟูร่างกาย อารมณ์ รวมถึงสติของผู้เข้ารับการบำบัด

ส่วนมากดนตรีบำบัด ถูกใช้ในโรงพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงเรียน สถานเลี้ยงดู หรือแม้แต่ที่พักอาศัย โดยส่วนมากเราจะเห็นตามโรงพยาบาลของรัฐบาล ที่มีวงดนตรีของกลุ่มอาสาสมัคร ไปร้องเพลงเพื่อให้ประชาชนที่นั่งคอย การรักษาได้ฟัง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย และช่วยลดความเครียดจากการเจ็บป่วย หรือการรอคอย การเข้ารับบริการ เป็นเวลานาน

@@@@@@

DR,Buckwalter et.al อ.ประจำวิทยาลัยพยาบาล มหาวิทยาลัย Iowa สหรัฐอเมริกา มีการวิจัยว่า ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย และจิตใจ สามารถนำมาใช้ในเรื่อง ลดความกังวล ลดความกลัว ช่วยสร้างแรงจูงใจ ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาผ่อนคลาย และจูงใจให้เกิดสติได้

สำหรับการนำดนตรีบำบัดมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มี มานานหลายศตวรรษ ด้วยเหตุผลที่ว่า ดนตรี สามารถเข้ากับคนได้ง่าย ไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นดนตรีประเภทไหน ลูกทุ่ง ลูกกรุง คลาสสิก เนื่องจากดนตรี จะสามารถกระตุ้นสมองได้เกือบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนการได้ยิน ,ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว แขน ขา ใบหน้า และส่วนของอารมณ์ จิตใจ ความเจ้าใจ รวมถึงความจำด้วย

นอกจากดนตรีบำบัดจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว คนทั่วไปยังสามารถใช้ดนตรีเพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงาน แถมยังช่วยคลายเครียดจากเรื่องต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีที่ช่วยในการผ่อนคลาย (relaxing music) ดนตรีที่ช่วยในการทำสมาธิ (meditation music) หรือดนตรีที่ช่วยให้หลับ (sleeping music) ก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ

@@@@@@

ลักษณะของดนตรีบำบัดควรเป็นแบบไหน.? (ข้อมูลจาก : สสส.)
    1. ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง มีเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก เป็นต้น
    2. มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที และมีทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ระดับเสียงปานกลาง-ต่ำ
    3. ความเข้มของเสียงไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ฟัง เนื่องจากความดังสามารถกระตุ้นให้มีความเจ็บปวดของผู้ป่วยให้เพิ่มมากขึ้นได้
    4. ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้ อาทิ พิณ เปียโน กีตาร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า ป๊อป คลาสสิค เป็นต้น
    5. ดนตรีที่ผู้ฟังมีความคุ้นเคย และความชอบ

@@@@@@

มาฟังดนตรีกันวันละนิด เพื่อจิตใจที่แจ่มใสกันเถอะ



ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/lifestyle/68464.html#cxrecs_s
โดย : KIMBEEL , 4 May 2018