ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ศีลกับเป้าหมายชีวิต : บนดิน บนฟ้า เหนือฟ้า  (อ่าน 253 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ศีลกับเป้าหมายชีวิต

เป้าหมายชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ (ดังที่กล่าวมาแล้ว) คือ เป้าหมายบนดิน(ปัจจุบันชาติ) เป้าหมายบนฟ้า(ภพชาติเบื้องหน้า) และเป้าหมายเหนือฟ้าหรือเป้าหมายสูงสุด(พระนิพพาน)

     • เป้าหมายบนดิน คือ การดําเนินชีวิตที่มีความสุข มีความสงบ ไม่เดือดร้อนเป็นทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ

     • เป้าหมายบนฟ้า คือ การได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรืออย่างน้อยได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ไม่ต้องพลัดตกไปสู่อบาย คือ เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน

     • เป้าหมายเหนือฟ้า คือ การกําจัดกิเลสอาสวะ เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

การจะบรรลุถึงเป้าหมายทั้งสามระดับได้นั้น สิ่งที่ต้องกระทําเป็นอับดับแรก คือ ต้องทําทาน เพราะทาน เป็นเหตุให้ได้ทรัพย์สมบัติ ซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตให้มีความสุขสบาย ดังที่ได้ศึกษาในบทที่ ผ่านมา ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่อง ศีลกับเป้าหมายชีวิตทั้ง 3 ระดับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย ชีวิตให้มากขึ้นไปเป็นลําาดับ

@@@@@@@

1. ศีลกับเป้าหมายบนดิน

เมื่อมีสมบัติไว้หล่อเลี้ยงกาย สิ่งที่จําเป็นต้องได้ถัดมา คือ การมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากทุกข์โทษภัย หรือการเบียดเบียนกัน ซึ่งสิ่งที่จะเป็นเครื่องป้องกันมิให้คนในสังคมเบียดเบียนกัน ก็คือศีลนั่นเอง เพราะ ศีลเป็นเครื่องควบคุมกาย วาจา ของคนให้เรียบร้อย ทําให้ไม่มีการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินซึ่งกัน และกัน ดังนั้น เพื่อความสุข และความปลอดภัย แต่ละคนจะต้องรักษาศีลของตนเองไว้ให้มั่นคง

2. ศีลกับเป้าหมายบนฟ้า

นอกจากศีลจะเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขแล้ว ศีลยังเป็นหลักประกันที่จะทําให้ไม่ต้องตกไปสู่อบาย หรืออย่างน้อยก็ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ที่มีสุขภาพร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง มีอายุขัยยืนยาว เพราะว่าไม่ได้ไปเบียดเบียนทําร้ายใคร จึงทําให้ได้ร่างกายที่เหมาะสม สําหรับทําความดี และยังสามารถใช้ทรัพย์ที่มีให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

@@@@@@@

3. ศีลกับเป้าหมายเหนือฟ้า

การรักษาศีลไม่เพียงเป็นเหตุให้ได้บรรลุเป้าหมายของชีวิตในภพชาตินี้ คือ การมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากทุกข์โทษภัยใดๆ หรือบรรลุเป้าหมายในภพชาติเบื้องหน้า คือการได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์เท่านั้น แต่ศีลยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณธรรมทั้งหลายของมนุษย์ ประดุจแผ่นดินเป็นที่รองรับของการงานทั้งปวง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ปฐมพลกรณียสูตร ว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานทีบุคคลต้องทําด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาอาศัยแผ่นดิน ยืนอยู่บนแผ่นดินทั้งนั้นจึงจะทําได้ การงานที่ต้องท่าเหล่านี้ เขาย่อมทําด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอบรมอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 ทําให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล ฉันนั้น”

นอกจากนั้น ศีลก็ยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมเบื้องสูง คือ สมาธิและปัญญา ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ภิกขุสูตร ว่า

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงทําเหตุเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน เหตุเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใดศีลของเธอบริสุทธิ์ดีแล้ว และความเห็นของเธอก็ตรงดีแล้ว เมื่อนั้นเธอ อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล แล้วจงเจริญสติปัฏฐาน 4 (วิปัสสนา) ต่อไป
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเธออาศัยศีล และตั้งอยู่ในศีลแล้ว จะเจริญสติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ โดย 3 ส่วนอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอพึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียวตลอดคืนหรือวันอันจะมาถึง เธอจะไม่มีความเสื่อมเลย”

@@@@@@@

เมื่อเห็นความสําคัญของศีลเช่นนี้ จึงควรที่จะศึกษาเรื่องศีลให้ถ่องแท้ จนเกิดความเข้าใจ และสามารถรักษาศีลได้อย่างถูกต้อง มีความสุขความยินดี เต็มใจที่จะรักษา ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์ อันสูงค่าจากที่เรารักษาศีลได้อย่างบริบูรณ์ ดังธรรมภาษิตของท่านพระสีลวเถระ ใน สีลวเถราคา ว่า
 
    “ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอันบุคคลศึกษาแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนําสมบัติทั้งปวงมาให้ในโลกนี้ นักปราชญ์เมื่อปรารถนาความสุข 3 ประการ คือ ความสรรเสริญ การได้ความปลื้มใจ และความบันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว พึงรักษาศีล ด้วยว่าผู้มีศีล มีความสํารวม ย่อมได้มิตรมาก
     ส่วนผู้ทุศีลประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชนผู้ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและการเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับการสรรเสริญ และชื่อเสียงทุกเมื่อ
     ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง
     เพราะฉะนั้น พึงชําระศีลให้บริสุทธิ์ สังวรศีลเป็นเครื่องกั้นความทุจริต ทําจิตให้ร่าเริง เป็นท่าที่หยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชําระศีลให้บริสุทธิ์

     ศีลเป็นกําลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์
     ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอ่านาจ เป็นกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ
     ศีลเป็นเสบียงอันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ

     คนพาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในอบายภูมิ ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป
     ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงใจในที่ทุกสถานในโลกนี้

     ศีลเท่านั้นเป็นยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุดในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา”







ขอบคุณที่มา :-
บทที่ 5. ศีล คือ อะไร ,หน้าที่ 90-92 | SB 101 วิถีชาวพุทธ.pdf | www.webkal.org
ลิขสิทธิ์ : มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
คณะผู้จัดทํา : กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/1105704146002913331/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ