ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “วุฒิสภา” ลงพื้นที่แก้ปัญหา “วัดพระพุทธบาทบัวบก” ตั้งมา 107 ปี สร้างโบสถ์ไม่ได้  (อ่าน 256 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



“วุฒิสภา” ลงพื้นที่แก้ปัญหา “วัดพระพุทธบาทบัวบก” ตั้งมา 107 ปี สร้างโบสถ์ไม่ได้ เพราะไม่มีโฉนดที่ดิน

วันที่ 26 มกราคม 2567 วานนี้เวลา 10.00 น. ที่ศาลาหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี วัดพระพุทธบาทบัวบก ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รองประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาคนที่ 1 ได้รับมอบหมายจาก ศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ให้แก้ไขปัญหาเรื่อง การขอออกโฉนดที่ดิน 2525 ไร่ของวัดพระพุทธบาทบัวบก

โดยมี ดร.สุขอนันต์ วังสุนทร ที่ปรึกษาประจำตัว และเป็นประธานโครงการ “วัดยิ้ม” ขององค์การสืบสวนการทุจริต (FIO) และนางสุรางค์ เอกโชติ อดีตหัว หน้าผู้ตรวจกรมราชทัณฑ์ ผู้ที่นำคณะเข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อ ประธานคณะกรรมาธิการ ฯ ได้เข้าประชุมร่วมกับ พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก และรองเจ้าคณะอำเภอบ้านผือ และประชาชนชาวบ้านผือจำนวนมาก




นพ.พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวว่าวันนี้ได้มาในฐานะประธานคณะกรรมการที่จะช่วยดูแลปัญหาช่วยร้องทุกข์ที่มีผู้ร้องทุกข์ร้องเรียนไป เกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินของวัด ว่ามีอุปสรรคมานานาประการ วัดตั้งอยู่ที่นี่ 100 ร้อยปี มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมาย แต่ว่าป่าไม้ กฎหมายซึ่งมาทีหลัง ได้มีข้ออาจจะขัดแย้งกัน ก็จะหาทางออกอย่างไร

เราได้ประชุมคณะทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ เชิญหน่วยงาน 5 หน่วยด้วยกัน คือ กรมป่าไม้ ที่ ดิน กรมอุทยาน สำนักพระพุทธศาสนาและกรมศิลปากร มาปรึกษาหารือกันว่า สภาพปัญหามันเป็นอย่างไร ตอนนี้พอจะมีแนวทางอยู่ว่า ให้ยึดกฎหมายเป็นสำคัญ ทุกหน่วยงานก็มีกฎหมาย แต่ว่ากฎหมายมันคนละฉบับนี่ มีข้อที่มองแตกต่างกันบ้าง แต่ว่าอย่างไรก็ตามในหลักของกฎ หมายก็ต้องมี ข้อยุติที่เรียกว่า ยุติธรรม ก็ต้องใช้หลักอันนั้นเป็นสำคัญ ตนก็จะประชุมอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่ 3 ใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า

วันนี้ที่ตนมาที่นี่ก็เพื่อที่จะดูข้อเท็จจริง และก็มากราบเยี่ยมหลวงพ่อด้วย และก็มาดูสถานที่ เท่าที่เห็นก็โดยสภาพโดยรวม ๆ แต่ว่าต้องไปดูในแง่ของข้อกฎหมาย และความเป็นไปได้ ในที่สุด เรื่องก็ต้องยุติไม่น่าจะคาราคาซังไปกว่านี้ ถ้ายุติแล้วเราอยากเห็นที่นี่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อาจจะเป็นป่าชุมชนแบบหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ สิงห์สาราสัตว์ที่ไม่เป็นพิษอยู่กับมนุษย์ได้จะกลับคืนมา และประชาชนก็สามารถจะใช้ประโยชน์จากวัดและจากป่าได้ด้วย




ตนดีใจที่ทางกรมศิลปากรก็จะ เสนอโครงการนี้เป็นมรดกโลก นี่ก็น่าดีใจและชาวอุดรธานีชาวบ้านผือ ทุกคนควรจะสนับสนุน ทำไปสู่จุดนั้นให้ได้ ไปสู่จุดนั้นแล้ว มันต้องผ่านด่านอะไรอีกหลายด่าน ซึ่งการทำเรื่องให้ชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ว่าที่ตรงนี้ใครจะเป็นคนดูแล ถึงแม้ว่าวัดเป็นคนดูแล วัดก็ถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งและเป็นนิติบุคคล และมีกฎหมาย พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองสงฆ์บังคับกำกับดูแลอยู่ และวัดก็เป็นกำลังที่จะสามารถดูแลป่าได้

ถ้าวัดดูแลป่าได้อุดมสมบูรณ์ขึ้นมา ไม่แพ้หรือดีกว่าเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพราะมองเห็นสภาพป่าหมดไปด้วยมือของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก เรามาลองดูว่าวัดและชุมชน สามารถจะดูแลป่าได้ไหม ถ้าทำได้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ที่จะได้มรดกโลกในอนาคต ถ้าเกิดมีธุดงคสถานของประเทศไทย จะมุมไหน จะดูโขลดหินไหน และ อันนี้เป็นความฝัน คิดว่าเป็นสมบัติของแผ่นดินเลยนะ ถ้าพูดตามภาษาทันสมัยนี่ ที่ตนพูดมาก็คือซอร์ฟพาวเวอร์




พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก กล่าวว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2460 เดิมชื่อวัดพระบาทภูกู่เวียง หรือวัดกู่เวียงเป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี เป็นวัดเก่าแก่ในภาคอีสาน ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพระบาท ซึ่งเชื่อมกับเทือกเขาภูพาน ที่ บ้านติ้ว หมู่ที่ ๖ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๕๐๐ ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒๕ ไร่

วัดนี้สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นศาสนสถาน และแหล่งอาศัยของคนโบราณมาก่อน ตามเพิงหินต่าง ๆ มักพบรอยถูกดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ภายในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาหลายอย่าง เช่น รอยพระพุทธบาท เสมาหิน และโบสถ์สมัยโบราณ

พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก กล่าวว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2,500 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ เดิมชื่อ วัดพระบาทภูกู่เวียง หรือ วัดกู่เวียง เป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี ต่อมาปี พ.ศ.2459 คณะสงฆ์และชาวบ้านได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์สร้างขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง

โดยมีพระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ญาณสัมปันโน พระวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในภาคนี้ เป็นผู้นำในการบูรณะเจดีย์และสร้างวัดขึ้นใหม่โดยใช้หินภูเขาเผาให้สุกผสมกับยางไม้ ยางมงและหนังสัตว์ที่เน่าและหัวกล้วยเน่ามาผสมกันนำมาก่อสร้างเสนาสน นอกจากนั้นพระคำผง พระคำเม้าได้แกะสลักลายต่างๆ บนองค์เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาท ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2460 ด้านการศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2506

@@@@@@@

โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือ พระพุทธบาทบัวบก เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับไว้โดยมีข้อ ความกล่าวอ้างถึงไว้ในตำนานพระเจ้าเลียบโลกว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จมาปราบนาคสองพี่น้องที่ภูกูเวียน(ภูพระบาท) เมื่อนาคทั้งสองพ่ายแพ้แล้ว ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ 2 แห่ง คือ รอยพระพุทธบาทบัวบกแห่งนี้ และรอยพระพุทธบาทบัวบานอีกแห่งหนึ่ง

ตามประวัติว่าแต่เดิมมีอุบมง (มณฑป) ขนาดเล็กสร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2463 พระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ได้ธุดงค์มาพบ จึงได้ปฏิสังขรณ์สร้างพระธาตุครอบใหม่ดังปรากฏในปัจจุบัน โดยใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2463 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2476

สำหรับวัดนี้ได้มีบูรพาจารย์หลายรูป อาทิ เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่บุญ ขันธโชติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่จิ๋ว พุทธญาโณได้มาธุดงค์ตามจุดต่าง ๆ ทั่วเขตแดนวัดแห่งนี้มาแล้ว




พระครูพุทธบทบริรักษ์ กล่าวต่อไปว่า อาตมาได้บวชเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ.2511 และอยู่วัดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ในฐานะเจ้าอาวาสรุ่นที่ 5 จนถึงปัจจุบัน ได้พิจารณาเห็นว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก ไม่สามารถขอพระราชทานวิสุงคามสีมา อันเป็นเครื่องหมายแสดงความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่พระพุทธศาสนาสืบไปได้ เพราะการขอออกโฉนดที่ดินของวัด มีปัญหาอุปสรรคมากมาย

กล่าวคือ ภายหลังที่สำนักงานที่ดิน สาขาบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ออกมาทำการรังวัดที่ดินเป็นที่เรียบร้อย ตามคำขอรังวัด กระบวนการรังวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 มีพื้นที่รวม 2,397 ไร่ 3 งาน 39.1 ตารางวา น้อยกว่าเดิม 102 ไร่ 60.5 ตารางวา และแจ้งว่า การรังวัดได้มีการคัดค้านจาก 3 หน่วยงานคือ กรมศิลปากร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

และในระหว่างที่คณะตรวจพิสูจนสิทธิ์จังหวัดรอผลการตรวจสอบตำแหน่งที่ดินกับระวางแผนที่ทางอากาศ ประการสำคัญ ประชาชนเป็นผู้เดือดร้อน เป็นเหตุผลให้กระทบการทำมาหากิน และพื้นที่ ส.ป.ก.4-01 เดือดร้อนทั้งหมดใน 3 ตำบลใกล้เคียง อีกทั้ง ยังมีกลุ่มบุคคลเข้ามาข่มขู่ คุกคาม อาตมาภาพขอเรียนว่าวัดพระพุทธบาทบัวบก มีมติที่ประชุมคณะสงฆ์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2531 “ให้กรมศิลปากรยืมเพื่อใช้ประโยชน์โดยไม่มีกำหนด แต่จะให้ลดเนื้อที่วัดให้จำกัดกว่าเดิมไม่ได้” เป็นหลักฐาน

พระครูพุทธบทบริรักษ์ กล่าวในตอนท้ายว่า อาตมาจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการออกโฉนดที่ดินของ วัดพระพุทธบาทบัวบกเป็นกรณีพิเศษ เร่งด่วน และเป็นธรรม ถูกต้องตามหลักฐานทางราชการ ให้สอดคล้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 มาตรา 67 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ความสงบสุขของประชาชน และความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติโดยรวมด้วย.






ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=76936
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2024, 08:25:42 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ