ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......  (อ่าน 5383 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นตัวอย่าง จากการที่มีการโพสต์ ถามเรื่อง รู้จัก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ตามความอยากรู้ และ ก็
อยากให้รู้ด้วย คร้า... การสนทนาโต้ตอบนี้ นำมาจากเว็บ
http://www.payakorn.com/webboard_ans.php?q_id=28022 นะคร้า...


   อ่านแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์ จึงได้ขออนุญาต พระอาจารย์ นำมาโพสต์ให้อ่านในที่นี้ คร้า...


28022 : จากคุณ ใฝ่ธรรม     [58.8.153.241]     16 Jun 2009 - 01:42     [17 คำตอบ]   

ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ
อยากไปฝึกแนวนี้ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แตกต่างจากแนวอื่นยังไง

1. เท่านั้นเอง     [114.128.168.72]     16 Jun 2009 - 07:54
แนวไหนก็ดี ขอแค่ปฏิบัติจริง และต่อเนื่อง

2. ppb     [124.157.251.124]     16 Jun 2009 - 08:04
เป็นสายวัดพลับกระมัง ครับ

ไม่เคยฝึก ครับ

3. ใจแปลง     [124.120.4.28]     16 Jun 2009 - 08:54
สมาธิของพระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น ถือว่า เป็นสมาธิอย่างมีมัชฌิมา ทุกๆ ลำดับนั่นแหละครับ
เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" และก็ไม่ใช่สมาธิแบบไปทำกสิณ หรือไปนั่งสะกดจิตให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนจิตสงบเลย
ซึ่งสมาธิแบบนั้น มันเกิดมาอยู่ก่อนแล้ว มีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะมาอุบัติเผยแพร่

พระอาริยะที่ท่านได้ โลกุตระจิต โดยไม่ต้องไปฝึกทำให้จิตได้สมาธิแบบ เจโตสมถะนั้นเลย ก็มีเป็นจำนวนมาก

หลักฐานนี้มีอยู่ใน บุคคลบัญญัติปกรณ์ พตปฎ. เล่มที่ 36 ข้อ 10 กล่าวถึงบุคคลสี่จำพวก
จำพวกที่หนึ่ง ได้โลกุตระ (คือ เป็นโสดาบัน ไปจนถึงอรหันต์) แต่ไม่ได้ เจโตสมถะ (ผลสงบพิเศษของจิต)
จำพวกที่สอง ได้แต่เจโตสมถะ(ได้ฌาน๑ ๒ ๓ ๔ ฯลฯ) แต่ไม่ได้โลกุตระคือปัญญาอันยิ่งของตน


ในทัศนคติของผมนั้น ขอเพียงเราประหารทำลายตัวตนของกิเลสนิวรณ์ให้เบาบางลงจนเกิดเป็น โสดาฯ สกิทาฯ ฯลฯ
ให้ได้ ให้สำเร็จก่อนจะดีกว่านะครับ ...เพราะจิตอย่างนี้ จะเป็นจิตที่สงบจากตัวตนของกิเลสอย่างแน่แท้กว่า
จิตจะไม่มีกิเลสตัวที่มันตายได้แล้ว กลับฟื้นขึ้นมาให้จัดการอีกเลย จิตที่ปราศจากกิเลสแล้ว ตั้งมั่นดีแล้วนี่แหละ คือสมาธิถาวร

ไม่ใช่ถาวรแบบฤาษีที่จะได้สมาธิในแต่ละครั้ง ก็จะต้องเริ่มต้นกำหนดลมหายใจกันใหม่ ทุกครั้ง

ที่ผมว่ามาทั้งหมดนี้ เป็นสมาธิของพุทธ ที่จะต้องได้โลกุตระเป็นผลมัชฌิมามาก่อน
ซึ่งจะแตกต่างไปจากการฝึกสมาธิแบบอื่นๆ ทั้งนั้น เพราะแบบอื่นๆ ไปเริ่มต้นกันที่ มุ่งจะเอาผลทาง เจโตสมถะ กันให้ได้

สำนักที่สอน สัมมาสมาธิ อย่างที่ผมว่ามานี้ มีอยู่แห่งเดียวในประเทศ คือ
สังคมของชาวอโศก ในทุกๆ จังหวัดที่มีสาขาอยู่ ซึ่งในกทม.ก็มีที่บึงกุ่ม เรียกว่า "สันติอโศก" ครับ


4. ธัมมะทานัง     [113.53.174.18]     16 Jun 2009 - 09:02
ถาม คนที่ปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน จะใคร่ครวญอย่างไร จึงจะง่ายและสั้นที่สุด

ตอบ เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้
จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย
ทรัพย์สินก็ไม่มี
ญาติ เพื่อน ลูก หลาน เหลน ก็ไม่มี
แม้ร่างกายเราก็ไม่มี
เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่
เมื่อสิ้นภาระคือร่างกายพังแล้ว เราจะไปพระนิพพาน
เมื่อความป่วยไขัปรากฎจงดีใจว่า วาระที่เราจะมีโอกาส เข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชินเห็นเหตุผล เมื่อจะตายอารมณ์จะสบาย แล้วก็จะเข้าพระนิพพานได้ทันที

5. ธัมมะทานัง     [113.53.174.18]     16 Jun 2009 - 09:10
คำตอบนี้ อาจเป็นคำตอบ สำหรับคำถามที่ถามว่า

"ที่ว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงคือคิดอย่างไร"

คำตอบก็คือ

เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้
จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย
1.ทรัพย์สินก็ไม่มี
2.ญาติ เพื่อน ลูก หลาน เหลน ก็ไม่มี
3.แม้ร่างกายเราก็ไม่มี

เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่
เมื่อสิ้นภาระคือร่างกายพังแล้ว เราจะไปพระนิพพาน

เมื่อความป่วยไขัปรากฎจงดีใจว่า
วาระที่เราจะมีโอกาส เข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว
เราสิ้นทุกข์แล้ว คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชินเห็นเหตุผล
เมื่อจะตายอารมณ์จะสบาย แล้วก็จะเข้าพระนิพพานได้ทันที

6. ใจแปลง     [124.120.4.28]     16 Jun 2009 - 09:17
ถ้าจะต้องรอให้ตายก่อน แล้วจึงจะเข้านิพพาน มันช้าไป ครับท่านธัมมะทานัง
และหากตายแล้วก็ไม่รู้เห็นเป็นปัจจุบันแบบ การเห็นด้วยดวงตาแห่ง ปรมัตถธรรม เลย

นิพพานนั้นเป็นปัจจุบันธรรม ที่จะต้องรู้ ต้องเห็นก่อนตายครับ
ไม่งั้นแล้วพระสารีบุตรก็คงต้องรอให้ตายไปก่อน แล้วจึงจะได้รู้รสของนิพพาน หรือรสของวิมุติ

ขออภัยนะครับ ที่ผมกล่าวเหมือนจะ ไม่ได้มีความเห็นที่ตรงกัน
ถ้าเห็นตรงกัน ก็คงไม่เห็นนัยยะอันแตกต่างได้หรอกครับ (ให้ผู้อ่านเลือกฟังเอา)

7. ธัมมะทานัง     [113.53.174.18]     16 Jun 2009 - 09:20
ถาม การปฏิบัติธรรม ที่มีผลเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ควรปฏิบัติอย่างไร

ตอบ การปฏิบัติอย่าไปทำ

แบบ “อัตตกิลมถานุโยค”
คือการทรมานร่างกายเกินไป นั่งกรรมฐานแช่อิ่ม คิดชั่วโมง คิดเวลาอันนี้ไม่มีผล

อย่าทำแบบ “กามสุขัลลิกานุโยค”
คือย่อหย่อนเกินไป อยากได้เกินไปก็ดี อันนี้ก็ไม่มีผล

องค์สมเด็จพระทศพลตรัสว่า
ต้องปฏิบัติแบบ “มัชฌิมาปฏิปทา”
คือทำจิตกลางๆ จิตพอสบายๆ คำว่า"มัชฌิมาปฏิปทา "
หมายถึงการปฏิบัติแค่จิตไม่เครียด ทำอารมณ์ใจสบายๆ อย่างนี้มีผล

และต้องปฏิบัติตามขั้นของกรรมฐาน
โดยกำหนดว่า เราต้องการอะไรก่อน ไม่ใช่จะไปนั่งสมาธิตะบี้ตะบันนั้น ไม่มีผลหรอก
ต้องตั้งใจว่า วันนี้ เวลานี้ ณ จุดนี้ เราต้องการอารมณ์จิตระดับพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี หรือพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ แล้วทำสมาธิให้เข้าถึงจุดที่ต้องการ

8. เรียน คุณ ธัมมะทานัง     [118.173.163.110]     16 Jun 2009 - 09:27
7. ธัมมะทานัง [113.53.174.18] 16 Jun 2009 - 09:20

--------------------------------------------------------------------------------

ถาม การปฏิบัติธรรม ที่มีผลเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ควรปฏิบัติอย่างไร

ตอบ การปฏิบัติอย่าไปทำ

แบบ “อัตตกิลมถานุโยค”
คือการทรมานร่างกายเกินไป นั่งกรรมฐานแช่อิ่ม คิดชั่วโมง คิดเวลาอันนี้ไม่
สงสัยค่ะ คือ เคยมีพี่ที่เป็นญาตธรรม สอนเราว่า การนั่งควรกำหนดชั่วโมงถ้านั่งน้อยไปมันจะไม่ได้อะไร แต่ถ้านั่งครบ เวลาที่เราตั้งจิตอธิษฐานไว้อย่างน้อย ก็ได้สัจจะบารมี

9. ธัมมะทานัง     [113.53.174.18]     16 Jun 2009 - 09:29
การฝึกอารมณ์จิตพระโสดาบัน

๑. จงมีสติสัมปชัญญะ ที่จะพิจารณาว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง จงอย่าคิดว่าความตายจะเข้ามาถึงเราในวันพรุ่งนี้ จงคิดว่าความตายอาจจะมาถึงเราวันนี้อยู่เสมอ การ คิดว่าจะตาย จะได้ทำความดี เมื่อตายแล้วควรหนีอบายภูมิ ( นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน )

๒. จงมีสติสัมปชัญญะ ที่จะยึดความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่งด้วยความเคารพ ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า เห็นความดีของพระพุทธเจ้า เห็นความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ความดีของพระอริยสงฆ์ โดยถือเอาพระอรหันต์เป็นสำคัญ จงมอบความนับถือความมั่นใจในพระรัตนตรัยอย่างถวายชีวิต

๓. จงมีสติสัมปชัญญะ ในการปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัด ฆราวาสเฉพาะศีล ๕ เพราะศีล ๕ เป็นศีลของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี ส่วนพระอนาคามีจะทรงศีล ๘ สำหรับพระอรหันต์ฆราวาสไม่มี เป็นอรหันต์วันนี้นิพพานวันนี้ เป็นอรหันต์คืนนี้ ไม่เกินพรุ่งนี้ต้องนิพพาน พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี มีแค่ปัญญาเล็กน้อย มีสมาธิเล็กน้อย แต่ศีลบริสุทธิ์ แค่นี้ก็เป็นพระโสดาบันได้แล้ว ปิดประตูอบายภูมิอย่างเด็ดขาดแน่นอน

๔. จงมีสติสัมปชัญญะ ที่จะใชักำลังใจ ของพระอรหันต์ไว้ประจำใจ คือขึ้นชื่อว่ามนุษยโลก มันเป็นทุกข์เราไม่ต้องการมัน เทวโลกกับพรหมโลกมีสุขจริง แต่ไม่นาน เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการจุดเดียวคือ นิพพาน อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ รักษากำลังใจตามนี้ไว้ เมื่อสิ้นอายุขัยเมื่อไร ก่อนจะตายเป็นอรหันต์เมื่อนั้น แล้วก็ไปนิพพาน

ทั้งหมดนี้...เป็นอริยสมบัติของบุคคล ในการเข้าสู่กระแสพระนิพพานเป็นเบื้องต้น( โสดาบันและสกิทาคามี ) ซึ่งมาจากการที่ละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

สำหรับ สักกายทิฏฐิ ในทางปฏิบัติต้องใช้อารมณ์ตามลำดับคือ ใช้อารมณ์ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูงสุด

อารมณ์ขั้นต้น ให้ใช้อารมณ์แบบเบาๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะมีชีวิตได้ตลอดกาลคู่ไปกับฟ้าดิน ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด แต่ท่านให้ใช้อารมณ์ที่สั้นเข้ามาอีกคือ ให้ทำความรู้สึกไว้เสมอว่า ความตายไม่ใช่จะมาถึงเราในวันพรุ่งนี้ ให้คิดว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต เป็นอารมณ์ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี

อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด ร่างกายคนและสัตว์มีสิ่งที่น่ารังเกียจฝังอยู่ก็คือ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น เมื่อมีความรู้สึกตามนี้ ก็พยายามทำอารมณ์ให้ทรงตัว จนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด ไม่ยึดถือว่าร่างกายใดเป็นที่น่ารักน่าปรารถนา เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี

อารมณ์สูงสุด ทำให้มีความรู้สึกตามนี้ คือมีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

คำว่าวิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ มีพระอรหันต์เป็นต้น สงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่จริง ถ้ามีจริงๆ พระพุทธเจ้าน่ะดีไหม คำสอนของพระองค์ดีจริงๆหรือเปล่า นี่สงสัยพระธรรมเลย แล้วสงสัยว่าพระอริยสงฆ์ในพระพุทธศาสนานี่มีจริงหรือไม่มีจริง หนักๆเข้าก็เลยคิดว่าไม่มี เพราะตัวสงสัย พระพุทธเจ้าจริงๆก็ไม่มี พระไตรปิฎกที่มีอ่านกันอยู่ ก็เป็นพระไตรปิฎกโกหกมดเท็จ ใครเขียนขึ้นมาก็ไม่รู้ เขียนแบบโกหกขึ้นมาว่าโลกนั้นมี โลกนี้มี ระลึกชาติไม่ได้ จิปาถะกันไป เลยสงสัยพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่เขาบอกว่า พระสงฆ์น่ะเป็นพระสงฆ์จริงๆ หรือว่าเป็นตัวเบียดเบียนประชาชน ทำให้สังคมมีความทุกข์ มีความเร่าร้อน เพราะพระไม่เห็นจะทำอะไร ได้แต่บิณฑบาต แล้วก็กิน กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็บิณฑบาต แล้วก็บอกบุญบ้าง ขอบุญบ้างเรี่ยไรกันบ้าง จิปาถะ ไม่เห็นมีอะไรให้เกิดเป็นประโยชน์ นี่ไม่สงสัยนะ ถึงขั้นไม่เชื่อถือเอาเลย ลักษณะอย่างนี้เป็นสังโยชฃน์ข้อที่ ๒ ที่ทำให้คนเราต้องลงอบายภูมิ ขอยืนยันว่า ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน แน่นอน

สีลัพพตปรามาส คือปฏิบัติในศีลให้ครบถ้วนทุกประการ ด้วยความเต็มใจ การปฏิบัติศีลครบถ้วนสำหรับฆราวาส มีศีล ๕ ใช้ได้แน่นอน ถ้าจะทำให้คนดีจริงๆก็มีกรรมบถ ๑๐ ด้วย ถ้ามีทั้งศีล ๕ มีกรรมบถ ๑๐ อย่างนี้จะมีความสุขอย่างยิ่งทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพ ถ้าปฏิบัติตนได้อย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนี คือพระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อตายแล้วจากชาตินี้ก็ดี หรืออีกกี่ชาติก็ตาม จะไม่พบคำว่าอบายภูมิเลย การเกิดเป็น สัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี เป็นอสุรกายก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี ไม่มีสำหรับท่าน จะเวียนว่ายตายเกิดเฉพาะ การเกิดเป็นคน เป็นเทวดา หรือพรหมเท่านั้น

ความจริงพระโสดาบันไม่ใช่ของสูง เป็นของธรรมดา ที่เรียกกันว่า ชาวบ้านชั้นดี ท่านพระอริยะเบื้องสูงท่านกล่าวว่า ธรรมที่จะทำให้คนเป็นพระโสดาบัน เหมือนกับของเด็กเล่น คือเป็นของทำง่ายๆ เพียงแต่มีพรหมวิหาร ๔ ประจำใจ เราก็เป็นพระโสดาบันได้แบบสบายๆ เมื่อกล่าวโดย

สรุป พระโสดาบัน มีอารมณ์โดยย่อดังนี้

๑.มีความรู้สึกว่า ชีวิตนี้ต้องตายแน่

๒.ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า

๓.ฆราวาสมีศีล ๕ ทรงอารมณ์เป็นปกติ

ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นอารมณ์ในขณะที่ปฏิบัติ เมื่ออารมณ์ทรงตัวแล้ว อารมณ์ที่ปักหลักมั่นคงอยู่กับใจจริงๆ ก็เหลือเพียงสอง ที่ท่านเรียกว่า องค์ ก็คือ

หนึ่ง ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคงจริงจัง

สอง มีศีล ๕ บริสุทธิ์ผุดผ่องจริง

สุดท้าย ด้วยคุณบารมี ของพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆ รัตนะ ทั้งสามประการ จงดลบันดาลให้ ท่านผู้อ่านทั้งหลาย จงมีแต่ความสุขสวัสดิพิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล ให้จงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ มี อายุ วรรณะ สุขะพละ และปฏิภาณ ปรารถนาสิ่งใด ขอให้ได้สิ่งนั้น สมความปรารถนาจงทุกประการ ณ กาลบัดนี้ และตลอดไป ตราบเท่าเข้าสู่ พระนิพพาน

10. ธัมมะทานัง     [113.53.174.18]     16 Jun 2009 - 09:33
สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์ เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง

มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
มา ปรมฺปราย อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
มา อิติกิราย อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
มา ตกฺกเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
มา นยเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
มา ภพฺพรูปตา อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
มา สมโณ โน ครูติ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้

11. (ต่อ)     [113.53.174.18]     16 Jun 2009 - 09:39
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครจะพูดก็พูดไปเราก็ฟังไป อย่าไปว่าหรือค้านเขา แต่อย่าเพิ่งเชื่อ ต้องพิจารณาดูก่อนว่าถูกหรือผิด เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสอีกมากในพระสูตรนี้

แต่ในที่นี้จะขออธิบายความหมายของ ข้อแนะนำทั้ง 10 ประการเสียก่อน
เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากของพระสูตรนี้ และได้รับการแปลออกเป็น ภาษาต่างๆ หลายภาษา เพราะเขาถือว่าเป็นกฏทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่คาดคิดเลยว่าจะมีกล่าวไว้ในครั้งสมัยเมื่อ ประมาณ 2,600ปีมาแล้ว ที่ใช้ความคิดแบบอิสระอย่างนี้ เป็นความคิดที่มีเหตุผล 10 ประการ คือ

1. อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา บางคนเมื่อฟังตามกันมาก็เกิดความเชื่อ เมื่อคนนั้นว่าอย่างนั้น คนนี้ว่าอย่างนี้ ก็เชื่อตามกันไป โดยบอกว่า "เขาว่า"ปัจจุบันนี้การเชื่อตามเขาว่านี้ ถ้า ไปเป็นพยานในศาลจะไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะการที่ "เขาว่า" นั้น มันไม่แน่การฟังตามกันมาก็เชื่อตามกันมา ฉะนั้นสุภาษิตปักษ์ใต้จึงมีอยู่บทหนึ่งว่า
"กาเช็ดปาก คนว่ากาเจ็ดปาก ปากคนมากกว่าปากกาเป็นไหนๆ"

สุภาษิตนี้หมายความว่า ชายคนหนึ่งเห็นกากินเนื้อแล้วเช็ดปากที่กิ่งไม้ ก็มาเล่าให้เพื่อนฟังว่า "ฉันเห็นกาเช็ดปาก"เพื่อนคนนั้นฟังไม่ชัด กลายเป็นว่า"ฉันเห็นกาเจ็ดปาก" ก็ไปเล่าต่อว่า คนโน้นเล่าให้ฟัง เมื่อวันก่อนว่าเขาเห็นกาเจ็ดปาก ก็เล่าต่อกันมาเรื่อย ๆ ว่า กามีเจ็ดปาก นี่เป็นการเชื่อตามคำเขาว่า ซึ่งบางคนก็ฟัง มาไม่ชัดเพราะฉะนั้น ก็อาจฟังผิดได้ การที่เขาว่าจึงอาจจะถูกหรือผิดได้ เช่น บัตรสนเท่ห์
เขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ว่าตามที่เขาว่านั้น ซึ่งมีจริงบ้างไม่จริงบ้าง ปนกันอยู่
เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งเชื่อตามที่เขาว่า แต่ให้ฟังไว้ก่อนชาวพุทธจะไม่ปฏิเสธการที่เขาว่า แต่จะฟังไว้ ก่อน โดยยังไม่เชื่อทีเดียว บางทีก็ฟังตามกันมาตั้งแต่โบราณ เช่น สมมุติว่าฝนแล้งก็ต้องแห่นางแมวแล้วฝนจะตก เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าแห่
นางแมวแล้วฝนจะตก บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่เขาเล่ากันมาอย่างนี้ คือเชื่อตามเขาว่า ซึ่งก็ อาจจะไม่เป็นจริงตามเขาว่าก็ได้ ดังนั้น เราต้องเชื่อตามเหตุผล อย่าเชื่อตามเขาว่า

2. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดว่าเป็นของเก่า เล่าสืบๆ กันมา บางคนบอกว่าเป็นของเก่า เป็นความเชื่อ ตั้งแต่สมัยโบราณเราควรจะเชื่อ เพราะเป็นของเก่า ถ้าไม่เชื่อ เขาก็หาว่าจะทำลายของเก่า บางคนเห็นผีพุ่งไต้ ก็บอกว่านั่นแหละวิญญาณจะลงมาเกิด อย่าไปทัก เพราะเป็นความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณ เมื่อมีแผ่นดินไหว คนโบราณจะพูดว่าปลาอานนท์พลิกตัว หรือเวลามีฟ้าผ่าก็บอกว่ารามสูรขว้างขวาน ฟ้าแลบก็คือนางเมขลา ล่อแก้วเข้าตารามสูร รามสูรโกรธ จึงขว้างขวานลงมาเป็นฟ้าผ่า
ความเชื่อเช่นดังกล่าวมานี้เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณซึ่งไม่ได้ตั้ง อยู่บนหลักของเหตุผล ดังนั้นความเชื่อของคนโบราณนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกหรือดีเสมอไป แต่เป็นความเชื่อปรัมปรา เราจึงไม่ควรจะเชื่อ ถ้ายังไม่แน่ใจถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องนำสืบๆกันมา

3. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นข่าวเล่าลือ หรือตื่นข่าว เรื่องข่าวนั้นมีมาก ไม่ว่าจะเป็นข่าวทันโลก ข่าวช่วงเช้า ข่าวช่วงเย็น ข่าวเขาว่า ซึ่งมีอยู่มากมาย ถ้าเราไปเชื่อตามข่าว เราก็อาจจะเป็นคนโง่ได้ เช่น บางคน อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ก็คิดว่าเป็นเรื่องจริงแน่แล้ว แต่ข่าวจากหนังสือพิมพ์นั้น บางทีลงข่าวตรงกันข้าม จากข่าวจริง ๆ เลยก็มี หรือมีจริงอยู่บ้างเพียงบางส่วนก็มี เราจึงควรพิจารณาให้ดีเสียก่อน เพราะข่าวบางข่าวนั้น หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นต้องมาลงขอขมากันภายหลังที่ลงข่าวผิด ๆ ไปแล้วก็มี ดังนั้น ข่าวลือจึงมีมาก เช่น ลือว่าจะมีการปฏิวัติ ลือว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งบางทีก็จริง บางทีก็ไม่จริง หรือลือกันว่าคนเกิดวันนั้นวันนี้ จะตายในปีหน้า ต้องรีบทำบุญเสีย ก็เลยพากันเฮมาทำบุญกัน นี้ก็เพราะฟังเขาลือกันมา บางคนก็ลือกันแบบ กระต่ายตื่นตูมเป็นข่าวเขาว่าไม่ใช่ข่าวเราว่า เพราะฉะนั้นก็อย่าเพิ่งเชื่อ

4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา ถ้าใครเอาตำรามาอ้างให้เราฟัง เราก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะตำราก็อาจจะผิดได้บางคนอาจจะค้านว่า "ที่เราพูดถึงกาลามสูตรนี้ ไม่ใช่ตำราหรอกหรือ" จริงอยู่ เราก็อ้าง กาลามสูตรซึ่งเป็นตำราเหมือนกัน แต่ท่านว่า อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอาจจะผิดได้ ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเอาตำราอะไรก็ตามมาอ้างเราก็ต้องอย่าเพิ่งเชื่อ พระพุทธเจ้าตรัสว่าให้พิจารณาดูก่อน บางคนกล่าวยืนยันว่าตนเอง อ้างตามตำรา ซึ่งแท้จริงแล้วเขาไม่ได้อ่านตำรานั้นเลย แต่ว่าเอามาอ้างขึ้นเอง บางคนก็ต้องการ โดยการอ้างตำรา ดังมีเรื่องเล่ากันมาว่า
"อุบาสก 2 คนเถียงกัน ระหว่างสัตว์น้ำกับสัตว์บกอย่างไหนมีมากกว่ากัน
อุบาสกคนหนึ่งบอกว่า สัตว์บกมีมากกว่า เพราะบนบกนั้นมีสัตว์นานาชนิด เช่น มีแมลงต่างๆ มีมดต่างๆ มากมาย
ส่วนอีกคนหนึ่งค้านว่า สัตว์น้ำมีมากมายหลายชนิดนับไม่ถ้วน แม้แต่กุ้ง ปลา ก็นับไม่ถ้วนเสียแล้ว สัตว์น้ำต้องมากกว่าสัตว์บกแน่นอน
ทั้งสองคนจึงไม่อาจตกลงกันได้
อุบาสกคนหนึ่งหัวไวได้ยกบาลีมาอ้างว่า "พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์น้ำมีมากกว่าสัตว์บก ดังพระบาลีที่ว่านัตถิ เม สรณัง อัญญัง แปลว่า สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก"
อุบาสกอีกคนหนึ่งไม่กล้าค้านเพราะกลัวจะตกนรก
แท้ที่จริง คำว่า "นัตถิ เม สรณัง อัญญัง" นั้น ไม่ได้แปลว่า "สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก" แต่แปลว่า "ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี" ผู้อ้างคิดแปล
เอาเองเพื่อให้คำพูดของตนมีหลักฐานการอ้างตำรา อย่างนี้จึงไม่ถูกต้องถ้าใครหลงเชื่อก็อาจถูกหลอกเอาได้
นอกจากนี้ ตำราบางอย่างก็อ้างกันมาผิด พวกที่ไม่รู้ภาษาบาลี เมื่อเห็นเขาอ้างก็คิดว่าจริง เช่น นักหนังสือพิมพ์ บางคนกล่าวว่า "ทุกขโต ทุกขถานัง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตน" ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นบาลีที่ไม่ถูกต้อง เป็น ประโยคที่ไม่มีประธาน ไม่มีกริยา เป็นภาลีที่แต่งผิด ซึ่งอาจารย์บางท่านเรียกบาลีเช่นนี้ว่า "เป็นบาลีริมโขง" แต่คนกลับคิดว่าเป็นคำพูดที่ซึ้งดี เพราะฟังดูเข้าที่ดี นี้ก็เป็นการอ้างตำราที่ผิด ถึงแม้ว่าตำรานั้นจะเขียนถูกแต่ถ้าหาก ว่าไม่มีเหตุผล เราก็ไม่ควรเชื่อ
ปัจจุบันนี้ มีการโฆษณาหนังสือยอดกัณฑ์พระไตรปิฎกว่า ถ้าถ้าใครสวดเป็นประจำก็จะร่ำรวยเป็น เศรษฐี ได้ทรัพย์สมบัติและจะปลอดภัย ปลอดโรคต่าง คนก็พากันสวดและพิมพ์แจกกันมาก ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ไม่ ทราบว่าจะทำอย่างไรเมื่อมีผู้นำหนังสือนี้มาถวายให้ จะเผาทิ้งก็ติดที่มีคำบาลีอยู่ด้วย หนังสือนี้ได้พิมพ์ต่อเนื่องกัน มาผิด ๆ และไม่มีพระสงฆ์รูปใดสวดยอดกัณฑ์พระไตรปิฎก นอกจากในหมู่ฆราวาส
บางคนที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา
ดังนั้นใครอ้างบาลี เราก็จงอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูให้ดีว่ามีอะไรถูกหรือผิดบ้างเสียก่อน

5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง ท่านใช้คำว่า ตักกเหตุ คือ การตรึก หรือการคิด ตรรกวิทยาเป็นวิชา แสดงเรื่องความคิดเห็น อ้างหาเหตุผล แต่พระพุทธเจ้าทรงกล้าค้านตรรกวิทยาได้ว่า การอ้างหาเหตุผลโดยการ คาดคะเนนั้นอาจจะผิดก็ได้การอ้างหาเหตุผลนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกไปเสียทุกอย่าง
การนึกคาดคะเนหรือการเดาเอาของคนเรานั้นผิดได้ เช่นหลักตรรกวิทยากล่าวว่า "ที่ใดมีควัน ที่นั้นมีไฟ" ซึ่งก็ไม่ แน่เสมอไป เดี๋ยวนี้ที่ใดมีควัน ที่นั้นอาจจะไม่มีไฟก็ได้ เช่น เขาฉีดสารเคมี พ่นยาฆ่าแมลง ก็มองดูว่าเป็นควันออกมา แต่หามีไฟไม่
หรือบางคนก็คิดเดาเอาเองว่าคงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ คำว่า คงจะ นั้น มันไม่แน่ เพราะฉะนั้น เราก็อย่าเพิ่งตัดสินว่าเรื่องนี้ถูกแน่นอนแล้ว คำว่า คงจะ นั้นเป็นการนึกเดาเอา

12. อ่านต่อ     [113.53.174.18]     16 Jun 2009 - 09:48
6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยการคิดคาดคะเนหรืออนุมานเอา ตัวอย่างเช่น เราคิดว่าเราจะแซงรถคันหน้าพันถ้าเรา ขับรถเร็วกว่านี้ ซึ่งเป็นการคาดคะเนเอา บางทีเราคาดคะเนความเร็วไม่ถูก ก็อาจจะชนรถคันหน้าที่วิ่งสวนมา โครมเข้าไปเลยก็ได้ การคาดคะเนหรืออนุมานเอาอย่างนี้ ทำให้คนตายมามากแล้ว การอนุมานเอานี้มันไม่แน่
บางคนคิดว่าฝนคงจะตกแน่เพราะเห็นเมฆดำก่อตัวขึ้นมาก็เป็นการอนุมานเอาว่าฝน คงจะตก แต่บางที ลมก็จะพัดเอาเมฆนี้ลอยพ้นไปเลยก็ได้ ซึ่งก็ไม่แน่เพราะอนุมานเอา
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้อนุมานเอาก็อย่าเพิ่งเชื่อ
7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ คือเห็นอาการที่ปรากฏแล้วก็คิดว่าใช่แน่นอน เช่น เห็นคนท้องโตก็คิดว่าเขาจะมีลูก ซึ่งก็ไม่แน่ บางคนแต่งตัวภูมิฐานก็คิดว่าคนนี้เป็นคนใหญ่โต ร่ำรวย ซึ่งก็ไม่แน่ อีกบางทีก็เป็นขโมย แต่งตัวเรียบร้อยมาหาเรา บางคนทำตัวเหมือนเป็นคนบ้าคนใบ้มานั่งใกล้กุฏิพระ คนก็ไม่สนใจนึกว่าเป็นคนบ้า แต่พอพระเผลอก็ขโมยของของพระไป ดังนั้น เราจะดูอาการที่ปรากฏก็ไม่ได้ บางคนปวดหัว ก็คิดว่าเป็นโรคอะไรที่หัว แต่ก็ไม่แน่ สาเหตุอาจจะเป็นที่อื่นแล้วทำให้เราปวดหัวก็ได้ เช่น ท้องผูก เป็นต้นหรือเราขับรถมาถึงสะพานซึ่งมองดูแล้วคิดว่าสะพานนี้น่าจะมั่นคงพอจะ ขับข้ามไปได้ แต่ก็ไม่แน่ สะพานอาจจะพังลงมาก็ได้
8. อย่าเพิ่งเชื่อว่าต้องกับลัทธิของตน คือ เข้ากับความเชื่อของตน เพราะตนเชื่ออย่างนี้อยู่แล้ว เมื่อใครพูดอย่างนี้ให้ฟัง ก็ยอมรับว่าใช่และถูกต้อง ซึ่งก็ไม่แน่เสมอไป เพราะสิ่งที่เราเชื่อมาก่อนนั้นอาจผิดก็มี บางทีคนอื่นก็มาหลอกเรา เพราะเห็นว่าเราเชื่ออยู่ก่อนแล้ว จึงอาศัยความเชื่อของเรา เป็นเหตุมันจึงไม่แน่เสมอไป
บางคน เมื่อมีใครมาพูดตรงกับความคิดเห็นของตนก็เชื่อแล้ว ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบใครอยู่สักคนหนึ่ง พอใครมาบอกเราว่าคน ๆ นั้นไม่ดี ก็เชื่อว่าเป็นคนชั่วแน่ เพราะตนเองก็ไม่ชอบหน้าเขาอยู่แล้ว เรื่องอย่างนี้ก็ไม่ แน่เสมอไป เพราะคนที่เราไม่ชอบอาจจะเป็นคนดีก็ได้ แต่ว่ามีคนอื่นมาพูดยุยงให้เราเข้าใจไปอย่างนั้น เราจึง มองผิดไปได้
หรือคนที่เชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก หรือเรื่องเครื่องลางของขลัง พอมีใครมาพูดเรื่องเช่นนี้ก็เชื่อสนิท เพราะไปตรงกับความเชื่อของตน
เพราะฉะนั้น จงอย่าเพิ่งเชื่อ แม้ในกรณีดังกล่าวมานี้
9. อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้ คือ เห็นว่าคนที่เป็นคนใหญ่คนโตนั้น พูดจาควรเชื่อถือได้ เช่น เป็น ถึงชั้นเจ้า หรือตำแหน่งสูง เราก็ควรจะเชื่อคำพูดของเขา แต่มันก็ไม่แน่ แม้แต่พระสงฆ์ก็ไม่แน่ เราจึงต้องฟังดูให้ ดีเสียก่อน แม้แต่คณะรัฐมนตรีเองก็ไม่แน่ อย่าเพิ่งไปเชื่อคำพูดของท่านเหล่านั้นทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ว่าผู้พูด มียศมีตำแหน่งอย่างนี้แล้ว จะพูดเรื่องน่าเชื่อถือได้เสมอไป เราควรจะฟังหูไว้หู ฟังให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วจะ ถูกหลอกได้ง่าย
อย่าเพิ่งเชื่อในที่นี้ มิได้หมายความว่าไม่ให้เชื่อ แต่ควรจะพิจารณาดูก่อนแล้วถึงจะเชื่อ
10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของเรา ข้อนี้แรงมาก คือ แม้แต่ครูของตนก็ไม่ให้เชื่อ ทั้งนี้ เพราะครูของเราก็อาจจะพูดผิดหรือทำผิดได้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องฟังให้ดี
ไม่มีศาสนาใดสอนเราไม่ให้เชื่อครูของตน แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนว่าไม่ให้เชื่อ แต่ ทรงสอนว่าอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ
พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุผลในข้อที่อย่าเพิ่งเชื่อดังกล่าวมาดังนี้ โดยตรัสว่า " ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นอกุศล มีโทษ ก่อความทุกข์ เดือดร้อน วิญญูชนติเตียน ถ้าประพฤติเข้าแล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์เดือดร้อน ท่านทั้งหลายจงละทิ้งสิ่งเหล่านี้เสีย " พระองค์ไม่ได้ตรัสว่าดีหรือไม่ดี แต่ให้พิจารณาดูว่าถ้าไม่ดีก็ทิ้งเสีย

อ่านต่อ นะคร้า เพราะข้อความยาว เกินกระทู้กำหนด คร้า....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2010, 01:40:41 am โดย หมวยจ้า »
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 01:41:56 am »
0
13. ถั่วงอกเรียกอาจารย์๋     [124.121.12.108]     16 Jun 2009 - 11:48
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นสายกรรมฐานมีต้นสายจากพระราหุล เมืองไทยเรานั้น ที่สืบเสาะได้ ก็คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก (ไก่เถื่อน) และไล่เรื่อยมาจนปัจจุบัน ท่านที่ถือว่า เป็นที่สุด เจนจบครบทั้งวิชา เพิ่งมรณะภาพไปเมื่อราว ๆ สองสามปี (ไม่แน่ใจ ผมเองก็ไปนมัสการท่านสองสามครั้ง และเมื่อท่านมรณะภาพ ก็มีโอกาสได้ไปงานศพท่านหนึ่งคืน) คือ หลวงปู่จวบ วัดพลับ หลังจากนี้ แม้จะมีผู้ฝึกอยู่ แต่ก็ไม่่อาจจะนับได้ว่า เป็นที่สุด มีแต่คัมภีร์ตำรา แต่ขาดคนที่ทราบและรู้ถึงก้นบึ้งแห่งวิชากรรมฐานสายนี้อย่างแท้จริง
ผมเอง ก็มีตำราวิชากรรมฐานสายท่านอยู่ แต่วาสนาผมนั้น คงมิได้เอื้อกับวิชากรรมฐานสายนี้ เพราะถูกจริตกับวิชากรรมฐานของอาจารย์เสียแล้วครับ
ลองไปสืบเสาะดูนะครับ วัดพลับคือ วัดราชสิทธาราม ไม่ไกลจากวงเวียนใหญ่ครับ ถ้ามีจิตศรัทธาจริง บางครั้ง จริตเราอาจจะต้องกัับกรรมฐานสายนี้ก็ได้
สมัยก่อน ที่มีกรรมฐานหลายสายสำนัก เป็นเพราะจริตของพระอสีติมหาสาวกนั้นต่างกัน แม้จะมีต้นรากมาจากพระพุทธเจ้าก็ตามที แต่ตามวาสนาของพระอรหันต์นั้นต่างกัน เช่น พระมหากัสสปะ จะมีจริตที่เป็นต้นสายของกรรมฐานสายวัดป่าในเมืองไทยปัจจุบันนี้ ดังนั้น ท่านที่มีวาสนาเฉกเช่นกับท่าน จึงมีความสันทัดในวัตรปฏิบัติ และวิธีเดินกรรมฐานตามแบบท่าน
พระสารีบุตร ท่านก็มีจริตไปอีกแบบ กรรมฐานสายของท่าน จึงมุ่งเน้นไปที่จริตเชิงปัญญา และต้องเริ่มจากกรรมฐานอานาปาณสติ เพราะเป็นกรรมฐานที่เอื้อต่อการใช้ปัญญาเป็นที่สุด
กรรมฐานแนวพระอนุรุธ เถระ ที่เป็นเอคทัคตะ ด้านทิพยจักขุ ก็เป็นต้นสายของกรรมฐานแนวเพ่งกสินแสง
แต่ทุกสาย จะต้องไปบรรจบที่เดียวกัน คือ ตัดกิเลสมุ่งนิพพาน สายกรรมฐานบางสายอาจจะไม่ต้องกับจริตเรา ไปฝึกเข้า แทนที่จะดี กลับทำให้ช้าเข้าไปอีก กรณีอย่างนี้ ในพระไตรปิฎกก็มีบอก ที่พระสารีบุตร ท่านให้ศิษย์ ไปฝึกปลงอสุภะ แต่ไม่ไปถึงไหน พระพุทธเจ้า ท่านทราบว่า อดีตของศิิษย์ท่านนี้ เคยเป็นช่างทำทองมาหลายภพชาติ จริตไม่ต้องกับการปลงอสุภะ พระพุทธเจ้า จึงเนรมิตรดอกบัว สีแดง(ไม่แน่ใจ) แล้วให้ใช้กสินสีแดง จนกระทั่งบรรลุฌาณ ก็บันดาลให้ดอกบัวเหี่ยวเฉา ก็พบเห็นความเป็นจริงของโลก ของธรรรม บรรลุนิพพานได้
ดังนั้น สายกรรมฐาน อย่าไปคิดว่าไม่สำคัญ เพราะเหตุว่าจริตคนต่างกันไปนั่นเอง
ผมก็เคยสอนกรรมฐานน้องคนหนึ่ง ทั้งพุทธานุสติ ทั้งอานาปาณสติ ซึ่งผมค่อนข้างถนัด แต่เขาไม่ไปถึงไหน เลยผููกดวงดู ปรากฏว่า เขาน่าจะถนัดแนวดูกาย ต่อมา เจออาจารย์สอนกรรมฐานแนวดูกาย ไปเรียนสองสามครั้ง เอามาเล่าให้ฟัง ว่า พี่ทำไมนั่ง ๆ แล้ว มันเงียบ เงียบจริง ๆ ก็บอกว่า ได้ฌานแล้วนี่ ดีแล้ว ฝึกต่อไป พี่คงสอนไม่ได้แล้ว เพราะเธอต้องไปสายนี้
ตามวิชาการสอนสมัยใหม่ที่เขาบอกว่า child center คือ เอาเด็กเป็นศูนย์กลาง นั่นหมายถึง เอาตัวคนเรียนเป็นที่ตั้ง แต่พระพุทธเจ้า ค้นพบมานานแล้วครับ เมื่อท่านปรินิพพานไป พระอรหันต์อสีติมหาสาวก เลยกลายเป็นตัวแทน ในการสอนกรรมฐาน สอนธรรมะ ตามแนวจริตวาสนาของตนเองไป สืบทอดมาจนปัจจุบัน แต่ทุกจริต ก็มีจุดหมายเดียวกันทั้งสิ้น คือ ตัดกิเลส เข้านิพพานครับ อย่าไปยึดมั่นว่าสายใดดีกว่าสายใด เพราะท่านทำไว้สำหรับคนหลาย ๆ จริต ท้ายสุด ก็ไปบรรจบ ณ จุดเดียวกัน เหมือนแม่น้ำหลายร้อยสาย มุ่งลงทะเลธรรมที่เดียวกันทั้งนั้นครับ

14. ถั่วงอกเรียกอาจารย์๋     [124.121.4.254]     16 Jun 2009 - 11:59
ทีนี้ ที่บอกไปแล้ว อาจจะมีข้อสงสัยว่า อ้าว จะรู้ได้อย่างไร ว่ากรรมฐานสายใด กองใด เหมาะสมกับตนเอง
ก็ใช้วิธี ฝึกไปตามที่จะคว้าจะเห็นได้ก่อน ทุกกรรมฐาน อย่างไรก็เป็นประโยชน์
ทีนี้ วาสนา และบารมี จะทำให้เราได้พบเจอสายกรรมฐานที่ถูกจริตของเราเอง อย่าไปมัวรอว่า ต้องให้เจอกรรมฐานที่ต้องกับจริตตัวเองก่อนแล้วค่อยฝึก อย่างนี้ไม่ได้การแ่น่
ยกตัวอย่าง น้องคนที่มาเรียนกรรมฐานกับผม แม้จริตของผมกับน้องเขาจะต่างกัน แต่เพราะว่าเขามีใจมุ่งมั่น วันดีคืนดี ได้อาจารย์ที่สอดคล้องกับตนเอง ก็ก้าวหน้าไปได้
แต่หากไม่เริ่มจากการมาเรียนกรรมฐานจากผม ท้ายสุด ก็จะไม่ได้อะไรไปเลย ป่านนี้จะเจออาจารย์ที่สอดคล้องต้องจริตของตัวเองหรือยัง ก็ไม่ทราบ
ผมเอง ก็ฝึกกรรมฐานด้วยตนเองมาตลอด จนกระทั่งท้ายสุด วาสนาถึง ก็พบเจออาจารย์ ดังนั้น ดีที่สุด คือ เจออะไรฝึกได้ ฝึกไปก่อน ขอให้เป็นประโยชน์เท่านั้นแหละครับ เดี๋ยวก็เจอทางของตัวเองเองแหละ

15. จขกท     [203.155.9.140]     16 Jun 2009 - 13:14
ขอบคุณๆ ถั่วงอกมากครับ ชัดเจนทีเดียว เอ่อ..แล้วไม่ทราบคุณถั่วงอกฝึกสายไหนหรอครับ เหมือนจะสายวัดป่าหรือเปล่า ตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ 2 แนวทาง คือสายวัดพลับที่คุณถั่วงอกบอก กับสายมโนยิทธิของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เพราะที่ผ่านมาฝึกด้วยตัวเองไม่มีความก้าวหน้าเลย คงต้องหาอาจารย์ครับ แล้วก็ยังไม่รู้ว่าแบบไหนจะถูกจริต

อ่า..แล้วดูดวงนี้รู้ด้วยเหรอครับว่าฝึกแบบไหนจะถูกจริต ช่วยแนะนำเพิ่มเติมนิดได้มั้ยครับ ผมก็พอดูดวงได้บ้าง

16. ถั่วงอกเรียกอาจารย์     [124.121.4.254]     16 Jun 2009 - 22:52
ผมฝึกสายวัดเกตุมวดี ใช้องค์บริกรรมคล้ายวัดปากน้ำ แต่กำหนดต่างกันครับ
ดูดวงรู้ได้ครับ แต่บางทีดูผิด แนะผิด เขาช้ามากขึ้นจะเป็นกรรมต่อคนดูดวงเหมือนกันนะครับ บางทีผมก็ไม่อยากเสี่ยงเท่าไหร่
แนะให้คุณฝึกยุบหนอพองหนอครับ เพราะระหว่างรอครูบาอาจารย์ ยุบหนอพองหนอนี่แหละดีนัก เพราะอาจารย์ผมบอกว่า อานาปาณสติ เป็นกรรมฐานที่เกื้อหนุนกรรมฐานทุกกองได้ดีครับ สายกรรมฐานบางสายต้องใช้อานาปาณสติกำกับไปด้วย เช่น สายวัดป่า จริง ๆ ท่านใช้พุทธานุสตินะครับ แต่ก็ต้องเอาอานาปาณสติกำกับ เพื่อเกื้อกูลกันครับ
ระหว่างฝึก ก็ตั้งจิตอธิษฐาน ระลึกถึงครูบาอาจารย์ไปด้วย ใช้อธิษฐานบารมีเข้าช่วย ถ้าทำสม่ำเสมอมั่นคงสักระยะ จะพบครูบาอาจารย์เองครับ

17. จขกท     [203.155.9.140]     16 Jun 2009 - 23:21
ขอบคุณๆ ถั่วงอกอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 01:01:59 pm »
0
เป็นคำตอบ ที่แสดงความคิดเห็นในแง่มุม ทั้งที่ผู้ชอบ และ ไม่ชอบ และ เป็นกลาง ๆ

นับว่าก็เป็นเรื่องที่แปลกอยู่เหมือนกัน ว่าทำไมไม่เข้ามาศึกษาเสียก่อน ตัดบทกันเลย

น่าเป็นห่วงเหมือนกัน

  อาจจะเป็นเพราะว่าการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ ขาดผู้ถ่ายทอดในยุค

ปัจจุบัน จึงทำให้ผู้ที่ได้ยินรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก และ ไม่ใช่หลักธรรมที่แท้จริง


 :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 02:59:23 pm »
0
เรื่องนี้นั่งอ่านนาน เพราะมีการวิจารณ์คำถาม ตอบ เริ่มประเด็นผิดครับ

คือไปถาม ว่าใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ จึงทำให้ผู้ตอบต่าง ๆ ที่ไม่รู้จักกรรมฐาน

มัชฌิมา แบบลำดับ อยู่จึงได้แคลนว่า สมาธิ แบบลำดับ ก็สู่ปัญญาวิปัสสนาไม่ได้

จากคำถาม หน้าจะเป็นศิษย์ กรรมฐาน ต้องการนำความรู้ไปถามเรื่อง กรรมฐาน เพื่อให้เกิดความสนใจ

แต่ในความเป็นจริง ที่พวกผมเอง ประสพคือ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น ไม่มีใครสนใจกันเลยครับ

แม้แต่พระ ยิ่งเป็นเด็กนักเรียนด้วยแล้ว กรรมฐาน ยิ่งต้องเรียนมีขั้นตอนยุ่งยาก ยิ่งไม่ต้องการ และกรรมฐาน

มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ออกจะเป็นแนวนี้ครับ เพราะว่าเคร่งในเรื่องการขึ้นกรรมฐาน สอบอารมณ์สมาธิ

และต้องเรียนเป็นไปอย่าง เป็นขั้น เป็นตอนด้วย จึงทำให้คนทั่วไปไม่สนใจกรรมฐาน แบบนี้

ในกลุ่มผมเอง ผู้ฝึกกรรมฐาน แนวนี้ จากจำนวนเพื่อน ๆ ทั้งหมดนั้น ชอบฝึกกรรมฐาน ที่ง่าย ๆ ไม่ต้องกำหนด

อะไรมาก ๆ นี่เองเป็นอุปสรรค ของกรรมฐาน

และในความเป็นจริง ผู้ฝึกกรรมฐาน นั้นก็มองว่าเป็นกรรมฐาน ที่ยาก เข้าไปกันใหญ่จึงจะหาอะไรมาฝึกแทน

จึงหันไปใช้กรรมฐาน ที่ง่าย ๆ คือ การเจริญสติ เจริญปัญญา ต่าง ๆ ตามที่คิดว่าง่าย ตามใจตนเอง

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่เหมาะกับบุคคลทั่วไป ที่จะเรียนอย่างฉาบฉวย เพื่อจะนำไปพูด ไปบอก

แต่กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เหมาะกับผู้ที่มีเป้าหมายการภาวนาที่มีความชัดเิจนในการภาวนา

อีกอย่างความสำคัญ อยู่ที่อาจารย์ ผู้สอนด้วยครับ ว่าท่านปฏิบัติได้มาก ขนาดไหน

  เพราะบรรดาอาจารย์ ต่าง ๆ นั้นมักเก็บความรู้ เทคนิคไม่บอกกันง่าย ๆ เหมือนกับทดสอบศิษย์กันอยู่จึงทำให้

นาน ๆ ไป กรรมฐาน ก็หายไปด้วยกับพระอาจารย์เพราะไม่ได้ ถ่ายทอดเอาไว้ให้ศิษย์ทั้งหมด
 :25: :25:
บันทึกการเข้า

แมนแมน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 03:04:07 pm »
0
เรื่องนี้ อ่านแล้ว มันส์ ครับ เพราะว่า วิจารณ์ กันตามทักษะของคนที่ชอบ และ ไม่ชอบ ทำให้มองเห็นมุมของ

ผู้รู้จัก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ที่จริง แล้วไม่รู้ก็ปฏิเสธ ครับ

ตัวผมเอง ก็ไปคุยกับพระ วัดแถวบ้านครับ ไม่มีพระรูปไหนสนใจ หรือ รู้จักกรรมฐานนี้เลยครับ ที่บอกกันก็เพียงแต่

ว่าปฏิบัติตาม มหาสติปัฏฐาน บ้าง อานาปานสติบ้าง พุทโธ บ้าง จริง ๆ แล้ว พระ แถวบ้านผมไม่สนใจกรรมฐาน

มัชฌิมา แบบลำดับ กันด้วยซ้ำไป ว่าคือ กรรมฐาน อะไร อาจจะเป็นเพราะระบบ นักธรรม ที่ท่านศึกษาเห็นว่า

เยิ่นเย้อ หรือ ไม่ก็เห็นว่าเป็นการเผยแผ่ นิกายใหม่ ประมาณนี้ครับ

หัวอกเดียวกัน ....

 :34: :73: :34:
บันทึกการเข้า

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 03:08:30 pm »
0
คนที่ตอบไม่เข้าใจ คนที่ถาม อีกอย่าง การถามธรรมะ บางครั้ง ผู้ถามก็เพียงถามเพื่อต้องการแนวทางปฏิบัติ

พอถามไป พี่ท่านก็อธิบาย ซะแบบพระอรหันต์เลย ต้องการให้บวชสละบ้าน สละเรือนกันเลย จริง ๆ แล้ว

ไม่ได้เข้าใจ ภาวะของปุถุชน ผุ้เริ่มสนใจ หรือ กำลังฝึกปฏิบัติ


ที่ผมเห็นแง่ดี ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นก็คือปฏิบัติ ตั้งแต่ขั้นตอนที่เิริ่มจากง่าย ๆ และติดตามผล

ด้วยตัวเรา ด้วยการส่งอารมณ์พระกรรมฐาน กับพระอาจารย์ที่เรียน กรรมฐานด้วย

 ผมว่าการฝึกแบบนี้ ดีมาก ๆ เลยครับ ไม่สะเปะ สะปะ ขาดหลักการ หลักภาวนา ไม่ต้องไปหาเหตุผลเอาเอง

 ;) :c017:
บันทึกการเข้า

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2010, 07:23:06 am »
0
ข้อดี ข้อเสีย นั้นพิจารณาได้หลายประการครับ ความเข้มแข็งของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นแท้จริง

อยู่ที่ครูอาจารย์ ผู้สอน การปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในด้านวิธีการ เพียงแต่ยืน

อยู่บนหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา แล้ว ก็เป็นใช้ได้ ส่วนกรรมฐาน นั้นมีมากมาย ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงไว้

ไม่ว่่าจะปรากฏในพระไตรปิฏก เป็นหมวดหมู่ หรือ ปรากฏเป็นแนวปฏิบัติเฉพาะบุคคล โดยภาพรวมนั้นผมว่า

ก็ไม่มีกรรมฐาน นั้น แตกแยกออกไปจาก มหาสติปัฏฐานได้ เปรียบประหนึ่งคนเข้าโรงเรียน ก็เรียนด้วยกัน

สุดท้ายก็แยกออกไปตามสาชา ไม่ว่าจะจบออกมาแล้วอย่างไร การเรียนนั้นก็มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ความรู้ในการ

เอาตัวรอด คือเลี้ยงชีวิตของตนเองได้

  กรรมฐาน ใน พระพุทธศาสนา นี้ก็เช่นกัน ถึงแม้จะมีหลากหลาย แต่สุดท้าย ก็ต้องหยั่งลงสู่ วิปัสสนา ทั้งหมด

เพราะเป้าหมาย ของการฝึกจิตในพระพุทธศาสนานั้น เพื่อการไม่กลับมาเกิด ไม่เวียนว่ายใน วัฏฏะสงสาร

ดังนั้น จะให้คน 100 คนชอบกรรมฐาน แบบนี้ทั้งหมดนั้น ก็เป็นไปไม่ได้เพราะอุปนิสัยบารมีสั่งสมมาไม่เหมือน

กันแตกต่างกันไปด้วย ชาติ วรรณะ ตระกูล การศึกษา สิ่งแวดล้อม กัลยาณมิตร ซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่าง

กันไปตามภูมิํธรรม และจริต

 :13:
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครรู้จักสมาธิแบบมัฌชิมา แบบลำดับบ้างครับ.......
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 01:58:26 pm »
0
หลากความเห็น ในกรรมฐาน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา