ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน  (อ่าน 328 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน



๙. ฌานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ฌานาทิสูตร ว่าด้วยฌาน เป็นต้น


[๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
             
“ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสใน ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
    ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
    ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่
    ฌาน ๔ ประการนี้

    ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
                                               
    ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
    ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
    ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

                ฌานาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ


@@@@@@@

๕. โอฆวรรค หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร ว่าด้วยโอฆะ เป็นต้น


[๙๖๗-๙๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. รูปราคะ     
    ๒. อรูปราคะ
    ๓. มานะ      
    ๔. อุทธัจจะ
    ๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

     ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
     ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
     ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
     ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
     ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
             
     ข้อความที่เหลือพึงให้พิสดารอย่างนี้ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

              โอฆวรรคที่ ๕ จบ





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๘-๔๕๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
website : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=298
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/1125968651156557/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสมาบัติ (๙)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 10:28:57 am »
0
.

                                                 
             
‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสมาบัติ (๙)

๕. ฌานสูตร ว่าด้วยฌาน

[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
       ๑. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้(๑-) เพราะอาศัยปฐมฌาน
       ๒. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน
       ๓. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน
       ๔. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน
       ๕. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน
       ๖. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-ฌาน
       ๗. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน
       ๘. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตน-ฌาน
       ๙. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
    เธอย่อมพิจารณาเห็น(๒-) ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น(๓-)
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ(๔-) ว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวงความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน‘(๕-) เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย(๖-)
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก(๗-)


______________________________________________
เชิงอรรถ :-
(๑-) อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่เรียกว่า “อรหัต” (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๒-) พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๓-) ธรรมเหล่านั้น ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๔-) อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๕-) ดู ม.ม. ๑๓/๑๓๓/๑๐๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๐๕-๔๑๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๕/๒๔๕-๒๔๘
(๖-) หมายถึงดำรงอยู่ในปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอันแรงกล้าแล้วบรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๗-) ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๔๒๗)

     ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
     ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
     เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
     เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
     เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
     เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
     ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
     หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’


    @@@@@@@

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่  เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีตคือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ

     เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’




   
     เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน‘
     เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
     เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
     เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
     เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
     เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
     ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวงความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
     หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

     ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
     ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุอากาสานัญจายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น ฯลฯ

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน’
             
     @@@@@@@

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ’อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-ฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตน-ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ล่วงวิญญาณัญจายตน-ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้นย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน”


    @@@@@@@

    ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีอยู่เท่านั้น

    ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน-สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน
    เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าวอายตนะ ๒ ประการนี้ไว้โดยชอบ

                 ฌานสูตรที่ ๕ จบ




ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๘-๕๑๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
website : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=199
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/





อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕     
         
ฌานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต.
บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ ความว่า ธรรมดารูปใดย่อมเป็นไปในขณะปฐมฌานนั้นด้วยวัตถุก็ดี ด้วยมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี.
พึงทราบเวทนาเป็นต้นด้วยสามารถสังยุตตเวทนา (เวทนาที่ประกอบกันเป็นต้น).
บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรม คือเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อนิจฺจโต พึงทราบความต่อไปนี้
    ชื่อว่าโดยเป็นของไม่เที่ยง เพราะอาการมีแล้วไม่มี.
    ชื่อว่าโดยเป็นทุกข์ เพราะอาการบีบคั้น.
    ชื่อว่าโดยเป็นโรค เพราะอาการเสียดแทง.
    ชื่อว่าโดยเป็นฝี เพราะเจ็บปวดภายใน.
    ชื่อว่าโดยเป็นลูกศร เพราะเสียบเข้าไปและเพราะเชือดเข้าไป.
    ชื่อว่าโดยเป็นความลำบาก เพราะทนได้ยาก.
    ชื่อว่าโดยอาพาธ เพราะถูกเบียดเบียน.
    ชื่อว่าโดยเป็นอื่น เพราะไม่ใช่เป็นของตน.
    ชื่อว่าโดยเป็นของทำลาย เพราะผุพังไป.
    ชื่อว่าโดยเป็นของสูญ เพราะไม่เป็นเจ้าของ.
    ชื่อว่าโดยเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ.

บทว่า สมนุปสฺสติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า.
บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยธรรมคือเบญจขันธ์เหล่านั้น.
บทว่า ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ กลับไปด้วยความเบื่อหน่าย.
บทว่า อมตาย ธาตุยา ได้แก่ นิพพานธาตุ.
บทว่า จิตฺตํ อุปสํหรติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า คือเห็นอานิสงส์ด้วยญาณแล้วหยั่งลง.             
บทว่า สนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลสอันเป็นข้าศึก.
บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ไม่เดือดร้อน.
บทว่า โส ตตฺถ ฐิโต อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนาแก่กล้า ย่อมบรรลุพระอรหัต.

@@@@@@@

พึงทราบอีกนัยหนึ่ง บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ ความว่า เพราะในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วยสองบท คือ อนิจจโต ปโลกโต กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วยหกบทมีบทว่า ทุกฺขโต เป็นต้น กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วยสามบท คือ ปรโต สุญฺญโต อนตฺตโต ฉะนั้น ภิกษุนั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้ด้วยธรรม คือเบญจขันธ์ในภายในสมาบัติที่ตนเห็นแล้วเหล่านั้น.

บทว่า จิตฺตํ ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ รวบรวมน้อมนำจิตเข้าไป.
บทว่า อุปสํหรติ ความว่า ภิกษุน้อมเข้าไปซึ่งวิปัสสนาจิตโดยอสังขตธาตุ อมตธาตุอย่างนี้ว่า นิพพานสงบ ด้วยที่อยู่ ด้วยการสรรเสริญ ด้วยปริยัติและด้วยบัญญัติ. ภิกษุย่อมกล่าวถึงนิพพานอันเป็นมรรคจิตอย่างนี้ว่า นี้สงบ นี้ประณีตด้วยทำให้เป็นอารมณ์เท่านั้น. อธิบายว่า โดยประการนี้ภิกษุแทงตลอดธรรมนั้น น้อมจิตเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้.

บทว่า โสตตฺถ ฐิโต ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุเจริญมรรค ๔ ตามลำดับแล้วบรรลุพระอรหัต.
บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน ได้แก่ ฉันทราคะในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา.
บทว่า ธมฺมนนฺทิยา เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราเคน นั้นนั่นเอง.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อสามารถจะครอบงำฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัตได้ เมื่อไม่สามารถก็เป็นพระอนาคามี.

บทว่า ติณปุริสรูปเก วา ได้แก่ มัดหญ้าเป็นรูปคน.
    ชื่อว่า ทูเรปาติ เพราะยิงลูกศรให้ตกไปไกล.
    ชื่อว่า อกฺขณเวธี เพราะยิงไม่พลาด.


@@@@@@@

ในบทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ นี้ ไม่ถือเอารูป.
    ถามว่า เพราะเหตุไร.
    ตอบว่า เพราะเลยไปแล้ว.

จริงอยู่ ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในภายหลัง ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว แม้เข้าถึงอรูปาวจรสมาบัติ ภายหลังพิจารณารูปอันล่วงเลยรูปไปแล้วด้วยอรูปาวจรสมาบัตินั้นด้วยสมถะ ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป ด้วยเหตุนั้นรูปจึงล่วงเลยไปแล้วด้วยอรูปนั้นแม้ด้วยวิปัสสนา. ก็ในอรูปย่อมไม่มีรูปแม้โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้ท่านหมายถึงรูปนั้น แต่ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป.

   ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะเล่า.
   ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม.

จริงอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺญาปฏิเวโธ.
               
ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า สจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่งประมาณเท่านั้น เขาย่อมเข้าถึงพระอรหัต แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความเป็นของสุขุม.

บทว่า ฌายี เหเต ความว่า อายตนะสองเหล่านี้อันผู้เพ่งคือผู้ยินดีในฌานควรกล่าวถึงโดยชอบ.
บทว่า วุฏฺฐหิตฺวา ได้แก่ ออกจากสมาบัตินั้น.
บทว่า สมฺมทกฺขาตพฺพานิ ได้แก่ พึงกล่าวโดยชอบ.
บุคคลพึงกล่าว พึงชม พึงสรรเสริญเนวสัญญายตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเดียวว่า สงบประณีต ดังนี้.

               จบอรรถกถาฌานสูตรที่ ๕           
   




ขอขอบคุณ :-
อรรกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๔ , ๕. ฌานสูตร
website : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=240
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 21, 2024, 10:37:48 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ