ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ขยะไอที" ไม่ได้ดูไม่ได้อ่าน..แล้วจะบริหารจัดการอย่างไร  (อ่าน 1420 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เรื่องของขยะ - 1001

ผมคิดว่า คุณคงเคยได้ยินเรื่องราวของการกำจัดขยะมาหลายครั้ง และอาจจะบ่อยจนคุณคิดว่า ก็ไม่เห็นมีอะไร เรื่องกำจัดขยะ ง่ายนิดเดียว ถ้าจะให้หรูหน่อยก็เอามารีไซเคิลสิ จะได้อยู่ในกระแสรักษ์โลกเหมือนคนอื่น ๆ เขา

ที่ผมจะพูดถึงวันนี้ ไม่ใช่ขยะธรรมดาครับ แต่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งในความหมายทั่วไป มันคือ เจ้าอุปกรณ์ไอทีที่ไม่ใช้กันแล้วอย่างพวกโน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือครับ แต่ที่ผมจะเล่าในวันนี้ เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในรูปของแข็งจับต้องได้ขนาดโน้ตบุ๊กหรือโทรศัพท์มือถือ แต่เป็นขยะในรูปของไฟล์ หรือแม้กระทั่งอยู่ในรูปของข้อมูล ซึ่งพวกเราไม่ได้ใช้ แต่ยังเก็บไว้คาเครื่องอยู่อย่างนั้นเคยคำนวณกันเล่น ๆ ไหมครับว่า เรามีไฟล์ที่เก็บไว้ในเครื่องซึ่งไม่ได้ใช้เป็นปริมาณเท่าไร


ยกตัวอย่างการไปเที่ยวหนึ่งครั้ง เราอาจถ่ายรูปมาประมาณ 100 รูป แต่ละรูปมีขนาด 16 เมกะพิกเซล (กล้องหลายรุ่นมีความละเอียดสูงกว่านี้) ถ้าเก็บเป็น jpeg จะมีขนาดไฟล์ประมาณ 4 เมกะไบต์ (มากน้อยขึ้นกับรายละเอียดของภาพ) ซึ่งคุณไม่เคยคิดจะพิมพ์ภาพของคุณออกมาเป็นภาพขนาดใหญ่เลยเก็บไว้ดูใน ไอแพด เท่านั้น ความละเอียดสูงสุดของ ไอแพด ในปัจจุบัน คือ 2048x1536 ซึ่งถ้าเราจะเก็บภาพขนาดเท่านี้

จริง ๆ รูปจะมีขนาดประมาณ 0.5 เมกะไบต์เท่านั้น ต่อการไปเที่ยวหนึ่งครั้ง เราจะใช้พื้นที่ไปโดยเปล่าประโยชน์เท่ากับ 3.5 เมกะไบต์คูณ 100 รูป เท่ากับ 350 เมกะไบต์ ถ้าปีหนึ่งคุณไปเที่ยว 20 ครั้ง เท่ากับว่า คุณจะเสียพื้นที่ไปโดยเปล่าประโยชน์ถึงประมาณ 7 กิกะไบต์ นี่ยังไม่นับรวมถึงรูปที่ถ่ายมาแล้ว เก็บไว้แบบนั้นโดยไม่เคยดูเลยอีกต่างหากครับ

จริง ๆ แนวคิดแบบกรีนกับขยะหรือบิตที่ไม่มีประโยชน์เหล่านี้มีมานานพอควร พอ ๆ กับการพูดเรื่องรีไซเคิลอุปกรณ์ไอทีครับ ยกตัวอย่างงานอันหนึ่งของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ที่อธิบายรายละเอียดเรื่องแบบนี้ไว้ในงานของพวกเขาเมื่อสองปีที่แล้ว (http://goo.gl/R851f)
    โดยได้แบ่งสาเหตุของข้อมูลขยะเหล่านี้ไว้หลายประการ เช่น ไฟล์ที่เกิดจากการสร้างไฟล์อื่น ข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลไปเรียบร้อยแล้วและไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป ไฟล์ของซอฟต์แวร์รุ่นเก่าที่มีไฟล์รุ่นใหม่มาทับ ไฟล์ที่ไม่จำเป็นซึ่งเก็บไว้ก็ไม่ได้ใช้อะไร เป็นต้น



ในงานที่ผมยกมาเล่านี้ ยังได้เขียนโปรแกรมเพื่อหาว่าในระบบปฏิบัติการแต่ละชนิดนั้น มีไฟล์ที่ถูกแก้ไขแต่ไม่เคยได้ถูกอ่านเลยนับจากการแก้ไขครั้งล่าสุดเป็นจำนวนเท่าไร ผลเป็นดังนี้ครับ
    ในเครื่องแม็คบุ๊ก มีไฟล์จำนวน 20.6% ซึ่งไม่เคยถูกอ่านเลย คิดเป็นปริมาณเนื้อที่ 98.5% ของเนื้อที่เก็บไฟล์ทั้งหมด
    ในเครื่องลินุกซ์แบบเดสก์ท็อปมีไฟล์จำนวน 47.4% คิดเป็นปริมาณเนื้อที่เท่ากับ 38.1%
    ในขณะที่เครื่องแบบเซิร์ฟเวอร์มีไฟล์จำนวน 57.1% คิดเป็น 99.5% ของปริมาณเนื้อที่ที่ใช้ทั้งหมด ซึ่งจริง ๆ
    แม้จะไม่ได้หมายความว่า ไฟล์เหล่านี้เป็นขยะทั้งหมด แต่ตัวเลขเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่า ปริมาณข้อมูลที่เราเก็บรักษาไว้ แต่ไม่ได้นำมาใช้นั้น มีมากเพียงใด


ถ้าสนใจจะทำความสะอาดขยะในเครื่องของคุณเอง ก็ลองหาเครื่องมือจำพวก PC Cleaner มาลองใช้ดูนะครับ แต่การใช้เครื่องมือพวกนี้ ก็ต้องระมัดระวังพอสมควร เครื่องมือบางตัวอาจจะไปลบไฟล์ที่อาจจำเป็นต้องใช้อยู่เช่นกันครับ

“ถึงขยะในเครื่องของคุณไม่ได้ลอยไปตามน้ำแน่ ๆ แต่มันอาจลอยเลยไปไกลถึงก้อนเมฆโน่น ยังไงก็ช่วยกันรักษ์โลกเสมือนพอ ๆ กับโลกจริงนะครับ”.


สุกรี สินธุภิญโญ
sukree.s@chula.ac.th
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http//www.facebook.com/1001FanPage

ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.dailynews.co.th/technology/186046
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 09:11:21 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ