ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิด 10 อันดับ "อัลตร้าบุ๊ค" ที่ดีที่สุดแห่งปี 2012 อันดับ1ที่ไม่ใช่ MacBook Air  (อ่าน 2952 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เปิด 10 อันดับ "อัลตร้าบุ๊ค"
ที่ดีที่สุดแห่งปี 2012 อันดับ 1 ที่ไม่ใช่ MacBook Air

แม้จะมีการคาดการณ์ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่ากระแสของอัลตร้าบุ๊ค Ultrabook จะมาแรง กระนั้นผ่านมาจนถึงเกือบกลางปี 2012 ปรากฎว่ากระแสนั้นยังไม่แรงเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามหลายแบรนด์ได้วางจำหน่ายและดีไซน์อัลตร้าบุ๊คส์ออกมาแข่งกัน เว็บไซต์ reghardware.com ได้จัด 10 อันดับอัลตร้าบุ๊คส์ที่ดีที่สุดในปี 2012



1.Acer Aspire S3-951 /13.3 นิ้ว
1.6GHz Core i5 processor, 4GB RAM 320GB hard disk




2.Apple MacBook Air /13 นิ้ว
1.35kg 1.7GHz Core i5 CPU, 4GB RAM 128GB SSD




3.Asus ZenBook UX31E /13.3 นิ้ว
Core i7 processor 1.8GHz 4GB RAM 128GB SSD USB 2-3 ports micro HDMI mini-VGA




4.Apple MacBook Air /11 นิ้ว
1.08kg 1.6GHz Core i5 processor 2GB RAM 64GB SSD




5.Asus ZenBook UX21E /11 นิ้ว
Core i5 processor 4GB RAM 128GB SSD




6.Dell XPS /13.3 นิ้ว
Core i7 processor 1.7GHz 4GB RAM 256GB SSD




7.HP Envy 14 Spectre /14 นิ้ว
1.8kg 1.6GHz Core i5 processor, 4GB RAM 128GB SSD




8.Lenovo IdeaPad U300s /13.3 นิ้ว
1.8GHz Core i7 processor, 4GB RAM 256GB SSD




9.Samsung Series 5 NP530U3B /13.3 นิ้ว
1.6GHz Core i5 processor, 4GB RAM




10.Toshiba Portégé Z830-10N /13.3 นิ้ว
1.12kg HDMI, mini-VGA SD card reader 4GB RAM 128GB SSD Core i3 processor 1.4GHz 


ขอบคุณข้อมูลและะภาพจาก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1337610161&grpid=03&catid=no
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 02:20:54 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นแล้ว รู้สึกเกิดกิเลสอยากได้ขึ้นมา สักเครื่องครับ แต่ราคา uatrabook นั้นหลัก ครึ่งแสน นะครับ

ดูไปก่อนก็แล้วกันนะครับ

    ข้อดี ของ ultrabook มีดังนี้นะครับ

   1.hdd จาก sata เป็น ssd ซึ่งไม่มีมอร์เตอร์ เป็นลักษณะคล้าย ๆ CF
   2.cpu tecnology ขั้นสูงที่ ใช้ไฟฟ้าน้อย
   3.led จอประสิทธิภาพสูง
   4. พัฒนา 3 อย่างนี้ แล้ว ความร้อนหายไปมาก และ ที่สำคัญบางเครื่อง ใช้ได้นานถึง 15 ชม. แบตถึงหมดครับ

 

   ขุมพลังสำหรับคลื่นลูกใหม่ของอัลตร้าบุ๊ก™ ในปี 2555

อีเดนได้สาธิตให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมไอดีเอฟได้ชมถึงประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทล™ คอร์™ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ที่มีชื่อรหัสว่า “ไอวี่ บริดจ์” (Ivy Bridge) ซึ่งมีสมรรถนะด้านประสิทธิภาพและการประหยัดไฟ เพื่อใช้กับอัลตร้าบุ๊ก™ รุ่นถัดไป ซึ่งคาดว่าจะวางจำหน่ายในครึ่งปีแรกของปี 2555 นอกจากนี้อินเทลยังได้ออกแบบกราฟิกในตัวโปรเซสเซอร์ใหม่อีกครั้ง เพื่อเปิดประสบการณ์ในการรับชมวิดีโอและการเล่นเกมส์ที่ดียิ่งขึ้น อีเดนยังได้นำดีไซน์ตัวอย่างของอัลตร้าบุ๊ก™ จำนวน 6 แบบ ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 โดยอีเดนคาดว่าจะมีอุปกรณ์ดังกล่าวออกสู่ตลาดโลกอีกหลายดีไซน์ในปี 2555 นี้

 

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้อัลตร้าบุ๊กได้อย่างมั่นใจและสบายใจ อินเทลจึงเพิ่มคุณสมบัติพิเศษในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัย อาทิเช่น เทคโนโลยี Intel® Identity Protection และ Intel Anti-Theft เพื่อป้องการการโจรกรรมข้อมูลจากเครื่อง และเพื่อเป็นการต่อยอดคุณสมบัติของระบบความปลอดภัยที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อินเทลได้ร่วมมือกับแมคอาฟี* พัฒนาบริการ McAfee anti-theft สำหรับอัลตร้าบุ๊ก™ ซึ่งสามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์รุ่นถัดไปของทั้งอัลตร้าบุ๊ก โน้ตบุ๊กและเดสก์ท้อป โดยในปี 2555 โซลูชั่นแมคอาฟีจะเป็นโซลูชั่นแรกที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆที่อยู่ในตัวชิปของอินเทล และจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาข้อมูลในตัวอุปกรณ์ให้กับผู้บริโภค เช่น การล็อคอุปกรณ์ การลบข้อมูล และ การค้นหาตำแหน่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการท้าท้ายอุตสาหกรรมด้านการประมวลผลให้หันมาทำงานร่วมกัน เพื่อนำเสนออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บางเบาและสมบูรณ์ที่สุด อีเดนจึงได้กล่าวถึงองค์ประกอบต่างๆ ของเทคโนโลยี เช่น แผงควบคุม คียบอร์ด เทคโนโลยีแบตเตอร์รี่ รวมถึงแชสซีที่จำเป็นต้องมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของอินเทลที่มีต่ออัลตร้าบุ๊ก และในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม อินเทลยังได้สาธิตให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานของแล็ปท้อปรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถควบคุมการรีเฟรชหน้าจอในระหว่างที่เปิดหน้าจอของอัลตร้าบุ๊กค้างไว้ได้ เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยบริษัท LG Display ซึ่งเป็นผู้นำในการผลิตจอแสดงผล จะเป็นบริษัทแรกๆ ที่จะนำจอแสดงผล ประหยัดพลังงาน เพื่อใช้กับจอแสดงผลที่สามารถรีเฟรชเองได้โดยอัติโนมัติ เข้าสู่ตลาดเพื่อรองรับอัลตร้าบุ๊ก โดยใช้ Shuriken Technology* ที่ได้รับการออกแบบมาให้บางขึ้น เล็กขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้น



SSD เป็นการใช้ชิปหน่วยความจำเก็บข้อมูลแทนจานแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์
พูดง่ายๆก็เหมือนกับ FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั่นเอง
มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือชิปหน่วยความจำ
กับชิปคอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมการทำงานของ SSD

SSD นั้นผลิตได้่ 2 แบบ คือ
1. NOR Flash (หน่วยความจำจะถูกเชื่อมต่อ
กันแบบขนาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ อ่านข้อมูลเร็วมาก แต่ มีความจุต่ำ และราคาแพงมาก)
2. NAND Flash (เป็นแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล๊อก ทำให้มีความจุสูง ราคาถูก)
FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้จึงเป็นแบบ NAND Flash เพราะราคาถูกกว่า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
- Single-Level Cell (SLC) : ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้ 1 บิต ทำงานเร็ว
กินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน (เขียนได้ 1 แสนครั้งโดยประมาณ)
แต่ราคาสูง
- Multi-Level Cell (MLC) : 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต (ปัจจุบัน
1 เซลเก็บได้ 2 บิต และอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เก็บได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ความเร็วต่ำกว่า ใช้พลังงานมากกว่า SLC เขียนได้ ไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง แต่มีราคาถูก)

ข้อดีของ SSD
- ใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ เพราะไม่มีหัวอ่าน ไม่มีจานแม่เหล็ก ไม่ต้องหมุน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เลย ปัจจุบัน SSD มีความเร็วในการอ่านถึง 120 MB/s และเขียนที่ 100MB/s ซึ่งเกือบจะเร็วเท่าฮาร์ดดิสก
์ที่เร็วที่สุดอยู่แล้ว และสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล(นี่เพิ่งเริ่มต้น)
- เงียบ เพราะไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้เหมือนอาร์ดดิสก์
- ทนแรงกระแทก การสั่นสะเทือน และอุณหภูมิที่สูงกว่า
- น้ำหนักเบา
- ที่สำคัญ ปัญหาเรื่อง การกระจายของไฟล์ (File Fragmentation)
ไม่มีผลต่อ ความเร็วของ SSD อีก (เพราะอะไรเดวจะเข้าใจ) เพราะฉะนั้น
โปรแกรม Defrag จึงไม่จำเป็นต่อ SSD

ข้อเสีย
- ราคาแพงมาก เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์
- ความจุต่ำ
- ความคงทนในการใช้งาน อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า เขียนได้แบบจำกัดจำนวนครั้งต่อ 1 บล๊อก ส่วนอ่านไม่มีปัญหา
จึงได้มีการพัฒนา เทคนิค "Wear-Leveling" ขึ้นมาเพื่อช่วยยืด
อายุการใช้งานหน่วยความจำแบบ Flash หลักการทำงาน คือ ทำการกระจาย
การเขียนข้อมูลไปยังทุกๆบล๊อกของหน่วยความจำ เพื่อไม่ให้มีการ
เขียนข้อมูลซ้ำที่ตำแน่งเดิมบ่อย ซึ่งจะทำให้เสียเร็วกว่าตำเหน่งอื่นๆ
แบ่งเป็น 2 ประเภท
- Static Wear-Leveling เป็นการค้นหาเนื้อที่หน่วยความจำทั้งหมด
โดยจะย้ายไฟล์ในบล๊อกที่ใช้งานบ่อย ไปบล๊อกที่ใช้งานน้อยที่สุด โดยจะย้ายทั้งไฟล์ระบบ หรือไฟล์ที่ปกติไม่มีการย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่
- Dynamic Wear-Leveling คล้ายกับประเภทแรก แต่จะไม่ยุ่งกับ
พวกไฟล์ระบบ การย้ายและเขียนข้อมูลใหม่จึงทำในส่วนบล๊อคที่เป็นข้อมูลทั่วไป
และบล๊อกที่ว่างอยู่ (กระจายแต่ไม่ทั่วทั้งความจุ)
ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะมีเทคนิคดังกล่าว แต่ความคงทนในการใช้งาน
ก็ยังมีความคลุมเครืออยู่พอสมควร ผู้ผลิตบางที่บอก แสน บางที่บอกล้านครั้ง

ตอบ: เทคโนโลยีของมอนิเตอร์มีการพัฒนาตลอดเวลา ปัจจุบันความสนใจของตลาดเริ่มขยับจากจอ LCD (Liquid Crystal Display) ไปเป็น LED (Light Emitting Diode) ซึ่งการเรียกชนิดจอในลักษณะนี้ทำให้ผู้ใช้หลายท่านสับสนไม่ใช่น้อย เพราะเข้าใจว่า จอทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

เท่าทีทราบ ความจริงแล้ว มันยังคงเป็นจอ LCD ทั้งคู่นั่นล่ะครับ เพียงแต่ว่า เทคโนโลยีที่ให้แสงสว่างด้านหลัง หรือที่เรียกว่า Backlit ต่างกัน โดยจอ LCD ทั่วไปจะใช้ CCFL (Cold Cathode Florescent Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสีขาวอยู่ด้านหลัง (ดังรูปข้างบน) ซึ่งหากหลอด CCFL ได้รับการกระแทกแตกหักไป หน้าจอจะมึดไม่สว่างอย่างที่เห็น ในขณะที่จอ LED จะใช้แอลอีดีขนาดเล็กให้แสงสว่างแทน ซึ่งจุดเด่นของการใช้ LED ก็คือ แสงที่สว่างสดใสกว่า มีคอนทราสที่สูงกว่า (สีดำจะดำสนิทเหมือนจอพลาสม่า) ทำงานเร็ว (ไดนามิกของแสง) และก็ประหยัดไฟกว่า ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคสนใจจอ LED กันมากขึ้น สำหรับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ก็เช่น จอ LED Cinema Display ของ Apple, จอ LED ของ Samsung เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 08:40:21 pm โดย นักเดินทาง »
บันทึกการเข้า