ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:20:22 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก...วิทยาศาสตร์และชีวิตจริง

เรียนรู้ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส ที่มา สภาพการณ์ในโลกวิทยาศาสตร์ และบทบาทในชีวิตจริง ...

วันนี้ (4 พฤษภาคม ค.ศ. 2024) ย้อนหลังไปเมื่อ 107 ปีที่แล้ว ในเดือนเดียวกัน คือ วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ถือกำเนิดขึ้นมาที่เมืองฮาร์ตฟอร์ด รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา เติบโตต่อมา เป็นนักคณิตศาสตร์และนักอุตุนิยมวิทยา มีชื่อเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีเคออส (Chaos theory) กำเนิดของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly effect)

“เชื่อ คิด และทำอย่างวิทยาศาสตร์” วันนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปดูเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส เรื่องราวที่มา สภาพการณ์ในโลกวิทยาศาสตร์ และบทบาทในชีวิตจริง

@@@@@@@

กำเนิดปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก

วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ในการประชุมครั้งที่ 139 ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ (139th Meeting Of The American Association For The Advancement Of Science) ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี. เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ เป็นผู้บรรยายคนสำคัญคนหนึ่ง และหัวข้อที่เขาบรรยาย คือ ....

   “Does The Flap Of A Butterfly‘s Wings In Brazil Set Off A  Tornado In Texas.?”

ถอดพากย์ไทยได้เป็น “ผีเสื้อกระพือปีกในบราซิล ทำให้เกิดทอร์นาโดในเท็กซัสได้หรือ.?” ซึ่งต่อๆ มา มักจะถ่ายทอดเป็นการบอกเล่า โดยมิใช่การตั้งคำถาม คือ “ผีเสื้อกระพือปีกที่บราซิล ทำให้เกิดทอร์นาโดในเท็กซัสได้” 

จากการบรรยายครั้งนี้ ทำให้ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และ ทฤษฎีเคออส ได้รับการ “กล่าวถึง” ในวงการวิทยาศาสตร์ว่า เป็นผลงานการค้นพบของ เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์

แสดงว่า เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ มิใช่ผู้ค้นพบปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกใช่หรือไม่.?

คำตอบคือ... ทั้งใช่ และไม่ใช่.!

ที่ใช่ ก็เพราะว่าจริงๆ แล้ว เรื่องของทฤษฎีเคออส เป็นเรื่องที่อยู่มานานกับโลกวิทยาศาสตร์ นับเป็นร้อยๆ ปีก่อนกำเนิดของ เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ หมายถึง ทฤษฎีของระบบที่มีความซับซ้อน แบบไม่ใช่เชิงเส้น จึงยากต่อการพยากรณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมา เพราะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญที่สุด คือ “เงื่อนไขการเริ่มต้น” หรือ “initial condition” ซึ่งปรากฏการณ์เรื่องเดียวกัน แต่ถ้าเป็นปรากฏการณ์แบบไม่ใช่เชิงเส้น ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง “เงื่อนไข”  หรือ “ตัวแปร” ใหม่ ผลที่เกิดขึ้นตามมาจะไม่ “คงเดิม”



Edward Lorenz : ที่มารูป https://www.lorenz.mit.edu/edward-n-lorenz

แม้แต่คำว่า “Butterfly effect” ที่ เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ ใช้ในการบรรยายนั้น จริงๆ แล้วผู้ที่ตั้งคำนี้ขึ้นมา ก็มิใช่ลอเรนซ์ แต่เป็นเพื่อนนักคณิตศาสตร์, นักฟิสิกส์ และนักอุตุนิยมวิทยาชาวแคนาดา ชื่อ ฟิลิป เมริลีส (Fhilip Merilees)

ลอเรนซ์ เล่าว่า ในระหว่างเตรียมการบรรยาย ชื่อของปรากฏการณ์ที่เขาตั้งใจจะใช้ คือ “ปรากฏการณ์นกนางนวล” หรือ “Seagull effect” แต่เพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์บอกเขาว่า “นกนางนวล” เป็นตัวอย่างที่ “ธรรมดาเกินไป” น่าจะใช้สิ่งอื่นที่ชวนสะดุดตาขึ้นหน่อย และเมริลีสก็เป็นคนเสนอชื่อ “ผีเสื้อ” ขึ้นมาแทน “นกนางนวล” และลอเรนซ์ก็ “ชอบ” และ “ใช้” 

จากนั้นมา ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก ที่รู้จักกันในวงการวิทยาศาสตร์ และวงการทั่วไป ก็ถูกโยงกับชื่อของลอเรนซ์ตลอดมา

“ปรากฏการณ์นกนางนวลกระพือปีก” กับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” และ “ทฤษฎีเคออส”

ทำไมลอเรนซ์จึงตั้งใจใช้ “นกนางนวลกระพือปีก” ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “ผีเสื้อกระพือปีก”.?

ก็เพราะว่าที่มาของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก  มาจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่เขาได้ทดลองกับคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. 1961 ที่แผนกอุตุนิยมวิทยา สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ เอ็มไอที (MIT)




ลอเรนซ์จบการศึกษาปริญญาโทคณิตศาสตร์ จากฮาร์วาร์ด ในปี ค.ศ. 1940

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ลอเรนซ์ทำงานพยากรณ์อากาศอยู่กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ทำให้เขาสนใจศึกษาต่อทางด้านอุตุนิยมวิทยาที่เอ็มไอที จนกระทั่งจบปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1948 และก็เข้าทำงานประจำอยู่กับแผนกอุตุนิยมวิทยาที่เอ็มไอที ในปี ค.ศ. 1948 นั้น จนกระทั่งถึงสิ้นสุดชีวิตการทำงานของเขา

ก่อนการเริ่มต้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสู่เรื่องของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ ตัวลอเรนซ์เองก็เริ่มสงสัยเกี่ยวกับแบบจำลองการพยากรณ์อากาศที่ใช้กัน....ซึ่งเป็นแบบเชิงเส้น

และแล้ว ในปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์ได้ทดลองปรับเปลี่ยนค่าตัวแปร (เช่นอุณหภูมิ, ความเร็วลม, .....) เพียงเล็กน้อย ในการคำนวณโดยคอมพิวเตอร์สำหรับการพยากรณ์อากาศ โดยทดลองปรับค่าตัวแปรจากเลขทศนิยม 6 ตำแหน่ง (ที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้)  เช่น 0.506107 เป็นเลขทศนิยม 3 ตำแหน่ง คือ 0.506

ปรากฏว่าผลการพยากรณ์อากาศโดยคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างชัดเจน

จากการทดลองซ้ำ ในที่สุดลอเรนซ์จึงสรุปออกมาว่า สภาพลมฟ้าอากาศ หรือการพยากรณ์อากาศ มิใช่เป็นแบบเชิงเส้นอย่างแน่นอน และก็เพราะความเป็นระบบที่ไม่ใช่เชิงเส้น การเปลี่ยนแปลงของแต่ละตัวแปร จึงมีผลอย่างสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้น

@@@@@@@

กล่าวโดยสรุปอย่างง่ายๆ คือ ลอเรนซ์ได้ค้นพบว่าสภาพภูมิอากาศเป็นระบบที่มีความซับซ้อน ขึ้นอยู่กับตัวแปรมากมาย และแต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร แม้แต่เพียงเล็กน้อย ดังเช่น การกระพือปีกของนกนางนวลตัวหนึ่ง ก็มีผลต่อสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นตามมาในระดับใหญ่ได้ 

ข้อสรุปของลอเรนซ์อย่างเป็นรูปธรรมที่รู้จักกันในปัจจุบัน ก็คือการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น การกระพือปีกของผีเสื้อที่บราซิล ก็ทำให้เกิดพายุทอร์นาโดที่เท็กซัสได้

ที่สำคัญ ลอเรนซ์ก็ยกตัวอย่างของระบบภูมิอากาศ เป็น chaos system หรือ “ระบบเคออส” และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่รู้จักและเรียกกันเป็น ทฤษฎีเคออส ซึ่งต่อๆ มา ทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ ก็กลายเป็นทฤษฎีเคออสโดยทั่วไปของวงการวิทยาศาสตร์ด้วย เพราะหลักของทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ ที่ใช้ได้กับสภาพภูมิอากาศ ก็ถูกโยงว่าใช้ได้กับหลักทฤษฎีเคออส ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์อากาศเลย

ดังเช่น ....
     • กำเนิดจักรวาล (คำถามเกี่ยวกับกำเนิดจักรวาลของเรา, จักรวาลอื่นๆ, จักรวาลคู่ขนาน, ..... )
     • กำเนิดของชีวิตบนโลก และในจักรวาล
     • วิวัฒนาการของชีวิตบนโลก
     • ปรากฏการณ์เกี่ยวกับฟิสิกส์ควอนตัม
     • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์



เบนจามิน แฟรงคลิน

“ผีเสื้อกระพือปีก” ในโลกวิทยาศาสตร์ ....

ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก อยู่กับวงการวิทยาศาสตร์มานานแค่ไหน?

ตามหลักฐานที่ปรากฏ ก็ย้อนหลังไปไกลอย่างน้อยถึงศตวรรษที่ 18 กับบุคคล ดังเช่น เบนจามิน แฟรงคลิน (ค.ศ. 1706-1790) นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบไฟฟ้าในเมฆ นักคิด นักเขียน และผู้สถาปนาสหรัฐอเมริกาคนสำคัญ

เบนจามิน แฟรงคลิน เขียนว่า .....

    “เพราะไม่มีตะปู เกือกม้าจึงไม่มี
     เพราะไม่มีเกือกม้า จึงไม่มีม้า
     เพราะไม่มีม้า จึงไม่มีคนขี่ม้า
     เพราะไม่มีคนขี่ม้า จึงแพ้สงคราม
     เพราะไม่มีสงคราม จักรวรรดิจึงล่ม
     และทั้งหมดเกิดเพราะ ไม่มีตะปู”  ....


ความหมายของ เบนจามิน แฟรงคลิน คือ ด้วยเงื่อนไขเล็กๆ การขาดตะปูสำหรับเกือกม้า ก็ทำให้เกิดเหตุใหญ่ คือ การล่มสลายของจักรวรรดิ เป็นตัวอย่างชัดเจนของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส

อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความคิดเกี่ยวกับปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส ตั้งแต่ยุคเก่าก่อน คือ ข้อเขียนของ โยฮานน์ ฟิกตา (Johann Fichte) นักคิดคนสำคัญคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ 18 ของเยอรมนีในหนังสือ “The Vocation Of Man” (การอาชีพของคน) ตีพิมพ์ ค.ศ. 1799 ความว่า ....

“คุณไม่สามารถดึงเอาเม็ดทรายหนึ่งเม็ด จากตำแหน่งที่มันอยู่ โดยไม่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในทุกส่วนของกองทรายได้” 

อย่างแน่นอน การเคลื่อนย้ายเม็ดทรายหนึ่งเม็ด ก็เหมือนกับการกระพือปีกของผีเสื้อ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับกองทรายทั้งกอง ดังเช่นพายุที่เป็นผลสืบเนื่องจากการกระพือปีกของผีเสื้อ

โดยภาพรวมทั่วไป ตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งถึง “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” กับทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ การกล่าวถึงปรากฏการณ์และทฤษฎี ก็เป็นการกล่าวในลักษณะความคิดเห็น ที่ไม่มีคำอธิบายอย่างเป็นระบบ หรือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ดังปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์

@@@@@@@

ถ้าจะถามว่าทำไม.?

คำตอบตรงๆ ก็คือ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีเครื่องมือที่มีความสามารถจะ “สนับสนุน” หรือ “ขัดแย้ง” กับความคิดเรื่องกระพือปีกของผีเสื้อได้อย่างเป็นรูปธรรม

จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์ได้มีเครื่องมือที่สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ ก็คือ คอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยทำการคำนวณที่ละเอียดและระดับใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

คอมพิวเตอร์ที่ลอเรนซ์ได้ใช้ในการคำนวณ สภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะ รุ่น LPG-30 ของบริษัท Royal McBee

ถึงแม้ลอเรนซ์จะได้ทำงานเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 ที่เริ่มต้นทำงานกับเอ็มไอที แต่ก็จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์จึงได้ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีศักยภาพทำให้เขาได้ค้นพบ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” และ ทฤษฎีเคออส ของเขา และทำให้ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออสของเขา กลายเป็นทฤษฎีหลักของวงการวิทยาศาสตร์โลกไป

แต่มิใช่นักวิทยาศาสตร์ทุกคน หรือวงการวิทยาศาสตร์ทั้งหมด.!



พอล ดิแรก

พอล ดิแรก กับ “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว"

พอล ดิแรก (Paul Dirac : 8 สิงหาคม ค.ศ. 1902 - 20 ตุลาคม ค.ศ. 1984) เป็นนักฟิกส์ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาฟิสิกส์ควอนตัม ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1933 สำหรับผลงานการสร้าง “สมการดิแรก” (Dirac equation) ที่พยากรณ์ว่า ในจักรวาลมี antiparticle หรือ “ปฏิอนุภาค” ที่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้ามกับอนุภาค ดังเช่น อิเล็กตรอน ก็มีแอนติอิเล็กตรอน ได้รับการตั้งชื่อเรียกเป็น โปสิตรอน มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก

โดยทั่วไป ดิแรกก็มิได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องทฤษฎีเคออสนัก แต่ก็มีคำกล่าวของเขา ที่กลายเป็นคำกล่าวที่รู้จักกันดี คู่กับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” คือ “Puck a flower on earth and you move the farthest star” แปลพากย์ไทยตรงๆ คือ “เมื่อคุณเด็ดดอกไม้บนโลก คุณก็ทำให้ดวงดาวแสนไกลกระเทือน”

ซึ่งมักจะจำกันได้ง่ายๆ และชัดเจนเป็น “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว”

แต่ก็มีความเข้าใจในวงการฟิสิกส์ว่า จริงๆ แล้ว  “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว” ของดิแรก มิได้มีความหมายเช่นเดียวกับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” ของลอเรนซ์ หากหมายถึง บทบาทของความโน้มถ่วง ที่เชื่อมโยงทุกสิ่งในจักรวาล ดังนั้น การเด็ดดอกไม้ จึงเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของดอกไม้ ทำให้ความโน้มถ่วงระหว่างดอกไม้กับสรรพสิ่งเปลี่ยนไป รวมถึงดวงดาวแสนไกลด้วย

ทว่าก็มีความคิดเห็นในโลกของฟิสิกส์ ที่เสนอว่า “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว” ของดิแรก ก็มีความหมายแบบเดียวกับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” ของลอเรนซ์ เพราะจักรวาลก็มีสภาพเป็น “ระบบเคออสใหญ่” ที่ทุกส่วนเชื่อมโยงกันด้วยแรงโน้มถ่วง การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดกับความโน้มถ่วง จึงมีผลต่อภาคส่วนอื่นๆ ของจักรวาลด้วย




“ผีเสื้อกระพือปีก” ในโลกของชีวิตจริง

“ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” มีประโยชน์ หรือเกี่ยวกับชีวิตจริงหรือไม่.? อย่างไร.?

มีอย่างแน่นอน อย่างสำคัญ และก็ทั้งด้านดีและด้านเลวร้าย

ขอยกมากล่าวถึงอย่างเร็วๆ 3 เรื่อง 3 ระดับ จากใหญ่สุด ลงมาถึงระดับกลาง เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก และระดับชีวิตส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน

เรื่องแรก ระดับใหญ่ที่สุด คือ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 จากโคโรนาไวรัสทั่วโลก ระหว่างปี ค.ศ. 2019-2023 มีคนติดเชื้อรวมประมาณ 705 ล้านคน ผู้เสียชีวิตรวมประมาณ 7 ล้านคน

ระบบสิ่งมีชีวิตของโลกเป็นระบบใหญ่ มีปัจจัยตัวแปรเกี่ยวข้องมากมายและซับซ้อน ทั้งส่วนสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงมีสภาพความเป็น “ระบบเคออส” ที่ชัดเจน และปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกก็มี และเกิดขึ้นได้มากมาย การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็เกิดขึ้นจากจุดเริ่มต้น เปรียบได้กับการกระพือปีกของผีเสื้อ เชื้อโคโรนาไวรัสจากสัตว์ติดมาที่คน ที่ชุมชนแห่งหนึ่ง ในประเทศหนึ่ง แล้วก็ “ติดต่อ” ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จากปัจจัยต่อเนื่อง คือ การเดินทางของผู้คน ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกในปัจจุบัน

เรื่องที่สอง ระดับกลาง หรือระดับภายในประเทศ ดังเช่น “วิกฤติต้มยำกุ้ง” เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ของประเทศไทย สาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากการลงทุนเกินตัวของผู้ประกอบการ การเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์เกินจริง และปัญหาการกำกับดูแลระบบการเงินของภาครัฐ 

อย่างชัดเจน “ต้มยำกุ้ง” เปรียบได้เป็นทอร์นาโด ปัจจัยต้นเหตุ (การระดมทุน, การเก็งกำไร, การกำกับดูแลระบบการเงินของภาครัฐ) คือ การกระพือปีกของผีเสื้อ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมีสภาพเป็นระบบเคออส
 



เรื่องที่สาม ระดับเล็กที่สุด (แต่อาจจะยิ่งใหญ่ที่สุด) คือชีวิตส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน

อย่างย่นย่อที่สุด ตลอดเส้นทางชีวิตของมนุษย์แต่ละคน มีปัจจัยตัวแปรเกิดขึ้นได้มากมาย จากทั้งอย่างตั้งใจและอย่างบังเอิญ ที่มีผลใหญ่หลวงถึงวันสุดท้ายของชีวิต ดังเช่นเรื่อง ความรัก, ชีวิตคู่, สุขภาพ และงานอาชีพ

สำหรับคำถามที่ยังอาจอยู่ในใจของท่านผู้อ่านถึงขณะนี้ คือ แล้วเรื่องปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก แล ทฤษฎีเคออส เป็นเรื่องที่ “รู้แล้ว ได้ประโยชน์อะไร.?”   

คำตอบที่ผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ก็คือ การเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ รับความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต ด้วยสติ, ปัญญา, ความมุ่งมั่น และความไม่ประมาท

ในขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนเรื่องนี้อยู่ ก็นึกถึงเพื่อนนิสิตจุฬาฯ คนหนึ่ง ที่วันหนึ่ง ขณะผู้เขียนกำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่สองของคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2505 แล้วเพื่อนก็ชวนผู้เขียนให้ไปเป็นเพื่อนสอบ “ชิงทุนโคลัมโบ” ของประเทศออสเตรเลีย ที่สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย

แล้วผู้เขียนก็ไปสอบเป็นเพื่อน ทำให้ผู้เขียนได้เดินทางไปเรียนฟิสิกส์ จนกระทั่งจบปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย

สำหรับผู้เขียน การชวนของเพื่อนให้ไปเป็นเพื่อนสอบชิงทุนโคลัมโบ เมื่อปี พ.ศ. 2505 นั้น ก็เป็นเหมือนการกระพือปีกของผีเสื้อ ทำให้เกิด “ลม” พัดผู้เขียนเข้าสู่เส้นทางสายฟิสิกส์อาชีพ 

แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ ในชีวิตของท่าน มีประสบการณ์ “ผีเสื้อกระพือปีก” อย่างไรบ้าง หรือไม่.?







บทความโดย นักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์
ชัยวัฒน์ คุประตกุล | เชื่อ คิดและทำ อย่างวิทยาศาสตร์

Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/world/2782223
4 พ.ค. 2567 06:29 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > WORLD > ไทยรัฐออนไลน์

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:59:28 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10 เครือซีพี-ทรู เปิดห้องเรียนธรรมะ

พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ใหญ่ โครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” โดยมี นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในฐานะประธานโครงการฝ่ายฆราวาส ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่ปรึกษาโครงการฯ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโส เครือ ซีพี นายศุภกิต เจียรวนนท์ ประธาน กก.เครือซีพี และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือ ซีพี /ประธาน กก.บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น /ผู้ริเริ่มโครงการฯ ร่วมเปิดโครงการฯ ที่สถานปฏิบัติธรรมธวีธรรม(ไร่แสงงาม) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา.

กล่าวถึงโครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม” เชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นที่ชื่นชอบของทุกครอบครัวที่จะได้เรียนรู้ธรรมะไปพร้อมๆกับสามเณรน้อยปลูกปัญญาตั้งแต่เด็กๆ

จึงนับเป็นที่สุดของเรียลลิตี้ธรรมะแห่งทศวรรษ เพราะปีนี้ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม” ก้าวสู่ปีที่ 10 เครือซีพี และ ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงเปิดห้องเรียนธรรมะถ่ายทอดสด “1 ทศวรรษ แห่งความดี 10 ปี แห่งความยั่งยืน”

ปีนี้เปิดประตูสู่อีสาน ณ สถานปฏิบัติธรรมธวีธรรม (ไร่แสงงาม) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ เครือ ซีพี จัดสร้างไว้ มี พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อ สุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ใหญ่

เยาวชน 12 คนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ เข้าพิธีบรรพชาท่ามกลางความปลาบปลื้มปีติของพ่อแม่และผู้ปกครอง รวมทั้งผู้ไปร่วมงานอิ่มบุญตามๆกัน

ทุกคนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานผ้าไตรสำหรับพระอุปัชฌาย์ในพิธีบรรพชา วันที่ 21 เม.ย.2567



พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) พระอาจารย์ใหญ่ โครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” ถ่ายกับสามเณรที่ร่วมโครงการ

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในฐานะประธานโครงการฝ่ายฆราวาส อัญเชิญผ้าไตรพระราชทาน พร้อมผู้บริหารระดับสูง และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือซีพี/ประธาน กก.บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น/ผู้ริเริ่มโครงการ ร่วมพิธีบรรพชา

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ผู้ริเริ่มและประธานโครงการ กล่าวว่า ก้าวสู่วาระครบรอบ 1 ทศวรรษแห่งความดี นับเป็น 10 ปีของการดำเนินโครงการ สามเณรปลูกปัญญาธรรม ที่มุ่งมั่นมีส่วนร่วมทำนุบำรุงและดำรงให้พระพุทธศาสนาคงอยู่สืบไปอย่างยั่งยืน



นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือ ซีพี อัญเชิญผ้าไตรพระราชทานของ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มอบให้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ นำถวาย.

เครือซีพี และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงตั้งใจสานต่อรายการเรียลลิตี้ ธรรมะถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้สัญจรไปมาภาคอีสาน ณ สถานปฏิบัติธรรมธวีธรรม (ไร่แสงงาม) จ.นครราชสีมา โดยได้รับความเมตตาจาก พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ใหญ่ อบรมสามเณรตลอดการบรรพชา

ภายใต้แนวคิด “ความรักจักรวาล : รัก-เรียน-เพียร-ให้” คือ “รัก” ตนเอง ในทางที่ถูก “เรียน” แนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรม “เพียร” ปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดขัดเกลากิเลส และ “ให้” ความรักต่อสรรพสิ่ง ฝึกการเป็นผู้ให้ที่สมบูรณ์

ในปีนี้สามเณรจะได้เรียนรู้ธรรมะ “ทศบารมี คุณธรรมความดี 10 ประการ” ที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นแบบอย่างแก่สามเณร ผ่านเรื่องราว “ทศชาติชาดก” 10 อดีตชาติสุดท้ายก่อนประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ

พร้อมกันนี้ โครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” ทาง เครือซีพี และ ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9



นายศุภชัย เจียรวนนท์ ผู้ริเริ่มและประธานโครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม”.

รวมทั้งเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 ก.ค.2567 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 1 ส.ค.2567 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 46 พรรษา วันที่ 3 มิ.ย.2567 และบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมวงศานวงศ์ทุกพระองค์

นอกจากนี้ทางโครงการยังได้รับเมตตาจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ อาทิ พระมหาธีราจารย์ กก.มหาเถรสมาคม/เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ เป็นที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ ตลอดจนมีผู้มีคุณวุฒิ และผู้มีชื่อเสียงระดับประเทศมาร่วมรายการ

ด้านเยาวชน 12 คน อายุ 7-12 ปี จากผู้สมัครทั่วประเทศ 5,800 คน ได้เป็นตัวแทนจาก กทม., สุโขทัย, สุราษฎร์ธานี, ร้อยเอ็ด, นครราชสีมา, นนทบุรี, ปทุมธานี เพื่อมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่หลักธรรมะและคำสอน



สามเณรสกาย–กวีพัฒน์ ช่างทำ อายุ 10 ขวบ และ สามเณรชายเพชร–รุ่งรดิศ พันธุ์สวัสดิ์ อายุ 9 ขวบ.

สามเณรสกาย-กวีพัฒน์ ช่างทำ อายุ 10 ปี และ สามเณรชายเพชร รุ่งรดิศ พันสวัสดิ์ อายุ 9 ปี กล่าวคล้ายๆกันว่า ได้บวชครั้งแรก ดีใจที่จะได้เรียนรู้ธรรมขัดเกลาจิตใจ เป็นหลักในการใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์ อยากให้ทุกคนมาเรียนรู้ธรรมะด้วยกัน

ขณะที่ นายปัญญ์ เทอดสถีรศักดิ์ อดีตสามเณรฯ ปี 2 และ นายณภัทร แสงรัตน์ อดีตสามเณรฯ ปี 5 ได้มาให้กำลังใจรุ่นน้อง พร้อมเผยว่า การมาร่วมโครงการ สิ่งที่สำคัญได้เรียนรู้คือการมี “สติ” ที่ทำให้เรียนรู้ทุกขณะของชีวิต และการคิดถึงผู้อื่นที่นำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้



นายปัญญ์ เทอดสถีรศักดิ์ อดีตสามเณรฯ ปี 2 และ นายณภัทร แสงรัตน์ อดีตสามเณรฯปี 5.

เรียลลิตี้ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” ถ่ายทอดสดรายการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. ถึง 18 พ.ค.นี้ ทางช่องเรียลลิตี้ ทรูวิชั่นส์ ช่อง 60, 99 และช่องเรียลลิตี้ เอชดี ทรูวิชั่นส์ ช่อง 119, 333 และ TrueID หรือทางออนไลน์ www.truelittlemonk.com

เชิญเรียนรู้ธรรมะไปกับสามเณรได้ทุกวัน.

                   ทีมข่าวภูมิภาค รายงาน






Thnak to : https://www.thairath.co.th/news/local/2782711
3 พ.ค. 2567 06:15 น. | ข่าว > ทั่วไทย > ไทยรัฐฉบับพิมพ์

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:43:00 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สมเด็จธงชัย อัญเชิญพระแท่นวัชรอาสน์จำลอง ประดิษฐานลานธรรมหลวงปู่ทวด วัดแหลมแค ชลบุรี

สมเด็จธงชัย อัญเชิญพระแท่นวัชรอาสน์(จำลอง) ประดิษฐานลานธรรมหลวงปู่ทวด วัดแหลมแค ชลบุรี เตรียมจัดสมโภช 10-12 พ.ค.

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 5 พฤษภาคม สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัยอัญเชิญพระแท่นวัชรอาสน์ จำลอง จากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย มาประดิษฐานที่บริเวณต้นปรมัตถสิริมหาโพธิ์ ลานธรรมหลวงพ่อทวด วัดแหลมแค ต.หน้าประดู่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี

โดยมี พระครูปลัดสุวัฒนเถร คุณ (พระอาจารย์แก้ว) เจ้าอาวาสวัดตะโก อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิชื่อดังมากมาย คณะลูกศิษย์ และพุทธศาสนิกชนจำนวนมากเข้าร่วมพิธี




ในการนี้ สมเด็จธงชัย ได้จุดเทียนชัย และปิดทองพระแท่นวัชรอาสน์ ก่อน นำคณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา ทำประทักษิณโดยรอบมณฑลพิธี หลังจากนี้วัดกำหนดจัดพิธีสมโภช และเปิดให้ประชาชนข้าสักการะ ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคมนี้ ที่วัดแหลมแค



นายกันตภณ สุขุมาลินทร์ อดีตพระเข้าบวชตามโครงการปฏิบัติธรรมในดินแดนพุทธภูมิ วิทยาลัยป้องกันกิเลส (วปก.) รุ่น 27 ใต้ร่มบารมีธรรมสมเด็จพระธีรญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส พร้อมทั้งเยือน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธอินเดีย-เนปาลได้ความว่า พระแท่นวัชรอาสน์ตนเองได้ไปสัมผัสแล้วที่เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย

โดยมีการกล่าวกันว่า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้สร้างไว้ เพื่อให้รู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ หากต้นโพธ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ล้มลง อาจจะไม่มีหลักฐานจุดที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จึงได้สร้างพระแท่นวัชรอาสน์ไว้เพื่อเป็นจุดให้ชาวพุทธไว้กราบไหว้ ช่วงที่ต้นไปเยือนนั้นสามารถมองเห็นได้ แต่มีรั้วล้อมไว้ทั้งต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และพระแท่นวัชรอาสน์









 





ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4561649
วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 - 20:53 น.   

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:26:26 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ทำไม.? เราจึงเลือกโกหก มากกว่าเผชิญหน้า | แล้วนิสัยโกหกจนเป็นเรื่องธรรมดา ถือว่าป่วยไหม.?

‘โกหก’ เป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ที่ประหลาด เราไม่ชอบให้คนอื่นโกหก แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถห้ามตัวเองไม่ให้โกหกคนอื่นได้

R U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว จึงมาหาสาเหตุว่าทำไมคนเราต้องโกหกแทนที่จะเผชิญหน้ากับความจริง โกหกจนเป็นนิสัยถือว่าเป็นโรคไหม พวกสิบแปดมงกุฎเขาตั้งใจโกหกหรือเขาเชื่อว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นจริงๆ และเราจะอยู่ร่วมกับคนชอบโกหกได้อย่างไร
ทำไมคนเราจึงโกหก

จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า โกหก คือการจงใจกล่าวคำที่ไม่จริง พูดปด พูดเท็จ ซึ่งตรงกับทางจิตวิทยาที่ให้นิยามของการโกหกว่าคือการไม่พูดความจริงทั้งหมด โดยไม่นับเจตนาว่าจะเจตนาดีเพื่อเป็นการกู้สถานการณ์หรือว่าทำให้ใครสบายใจขึ้นก็ตาม คนเราจึงพูดโกหกกันอยู่เป็นประจำ แถมวันละหลายครั้ง มี TED Talks หนึ่งที่พูดถึงสถิติการโกหกไว้อย่างน่าสนใจว่า โดยปกติแล้วมนุษย์จะโกหกและถูกโกหกราววันละ 10-200 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโกหกตัวเองหรือโกหกคนอื่นก็ตาม

สาเหตุที่คนคนหนึ่งเลือกที่จะโกหก ส่วนใหญ่มาจากการไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริง อาจเคยเรียนรู้จากเหตุการณ์ในอดีตว่าถ้าพูดความจริงจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ตัวเราเองอาจถูกตำหนิหรือลงโทษ เลยเรียนรู้ว่าการโกหกนั้นอาจเป็นทางออกที่ดีกว่าสำหรับทุกฝ่าย หรือรู้สึกว่าความจริงที่ตัวเองต้องเผชิญอยู่นั้นหนักหนาเกินกว่าจะรับไหว จึงเลือกการโกหกแทนการรับมือกับความจริง

เช่น ตอนเด็กเราเคยทำแจกันของแม่ตกแตก เมื่อแม่เดินมาเห็นเราก็บอกแม่ว่าแมวทำ แล้วแม่ก็ไม่ด่า จึงรู้สึกว่าการทำอย่างนี้มัน ง่าย และ เร็ว กว่าการยอมรับความจริงอย่างตรงไปตรงมา หรือในทางกลับกัน ถ้าเราทำแจกันแตกและถูกแม่ลงโทษด้วยการดุด่าว่ากล่าวอย่างไม่ฟังเหตุผล เราจะเรียนรู้ว่าถ้าพูดความจริง เราจะได้รับการลงโทษด้วยความรุนแรง เราจึงเลือกการโกหกเป็นทางออก

    "สิ่งที่ต้องระวังก็คือเมื่อเราเริ่มเรียนรู้แล้วว่าการโกหกนั้นคือทางออกที่ปลอดภัย เราจะสั่งสมทัศนคติที่ว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องเสียหาย เลยทำแบบนี้บ่อยเข้า ในที่สุดมันจะบ่มเพาะนิสัยให้เราเป็นคนชอบโกหกในที่สุด"





แรงจูงใจในการโกหก.?

การที่เราไม่ยอมรับความจริงและเลือกที่จะโกหกเป็นทางออกแรกๆ มักจะมีแรงจูงใจต่างกันไป เมื่อลองสำรวจจะดูพบว่ามี 4 เหตุผลใหญ่ๆ คือ

1. อยากได้แค่ยินแค่สิ่งที่อยากได้ยิน
เช่น ทะเลาะกับแฟนมาแล้วอยากระบายให้เพื่อนฟัง เราก็จะเลือกเล่าแค่ว่าแฟนไม่ดีอย่างไร เราโดนกระทำอย่างไร แต่เลี่ยงที่จะเล่าว่าเราตอบโต้แฟนไปอย่างไร หรือเรางี่เง่าอย่างไร และที่ทำอย่างนี้เพราะเราต้องการให้เพื่อนเข้าข้างก็เท่านั้นเอง

2. อยากรักษาน้ำใจ
เช่น เพื่อนตัดผมทรงใหม่ด้วยความมั่นใจว่าเก๋ที่สุด แล้วถามว่าผมทรงใหม่เป็นอย่างไรบ้าง เราเห็นตั้งแต่แรกแล้วว่าผมทรงไม่นี้เข้ากับเพื่อนเราเลย แต่เราก็เลือกที่จะพูดว่า ‘ก็โอเคอยู่นะ’ หรือ ‘เฮ้ย แก เดี๋ยวมันก็ยาว’ เพื่อเป็นการรักษาน้ำใจและบอกอ้อมๆ เพราะมันแก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว

3. กลัวความผิดหวัง
เช่น เราเคยตกลงกับแฟนเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าเวลาเลิกงานแล้วเราจะต้องให้ความสำคัญกับแฟนเป็นอันดับหนึ่ง นัดกินข้าวก็ต้องเป็นนัด ห้ามสายหรือห้ามยกเลิกเพราะมัวแต่ทำงาน แต่วันหนึ่งเราทำงานติดพันมากๆ และเราเลือกงานแทนที่จะเลือกแฟน เลยโกหกแฟนไปว่าน้องที่ออฟฟิศป่วยกะทันหัน ต้องส่งโรงพยาบาล หรือว่าแม่เรียกให้ไปช่วยซื้อของเข้าบ้าน ไปกินข้าวด้วยไม่ได้ เราเลือกโกหกในสถานการณ์แบบนี้เพราะกลัวคนที่เรารักจะผิดหวัง

4. ปกป้องตัวเอง
กรณีคลาสสิก เช่น มาทำงานสาย สาเหตุจริงๆ คือนอนดึกเลยตื่นสาย แต่เราเลือกที่จะบอกเจ้านายและเพื่อนร่วมงานว่ารถติดบนทางด่วน หรือรถเสีย ต้องเข้าอู่ เพราะไม่อยากดูแย่และโดนตำหนิ

@@@@@@@
 
คนที่ถูกโกหก จะรู้ไหม.?

ในทางประสาทวิทยา (Neurology of Lying) ตั้งข้อสังเกตว่ามนุษย์เราเมื่อพูดความจริงกับตอนโกหกจะใช้สมองคนละส่วนทำงาน ทำให้ร่างกายแสดงออกต่างกันไปด้วย หลายครั้งที่เราดูภาพยนตร์แล้วมีตัวละครถูกสอบสวน ตัวละครนั้นอาจแสดงปฏิกิริยาเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะแปลความหมายจากจิตใต้สำนึก (Subconcious) เหล่านี้ออก

เช่น หน้าตาแสดงอาการกังวลมากกว่าคนปกติ คิ้วขมวดเข้าหากันด้วยความเครียดจนเกิดรอยย่นสั้นๆ บนหน้าผาก แตะจมูกบ่อยขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดฝอยบริเวณจมูกจะรวมตัวกันมากกว่าปกติ หรือที่เด่นๆ อย่างการเคลื่อนไหวของดวงตา บางคนที่เตรียมตัวมาแล้วว่าจะโกหกเรื่องอะไร ดวงตาจะกลอกไปทางซ้าย เพราะเป็นการนึกถึงเรื่องอดีต ส่วนบางคนที่โกหกและกลอกตาไปทางขวาจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมา เพราะไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน โดยการกลอกตาไปทางขวาเป็นการนึกถึงเรื่องอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น

แต่การจะกลอกตาซ้ายหรือขวาก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการโกหกหรือไม่เสมอไป ผู้เชี่ยวชาญจะดูอาการทางร่างกายอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น สังเกตจากเสียงพูดที่เร็วขึ้นหรือช้าลงมากกว่าปกติ การอธิบายเรื่องที่มีรายละเอียดมากเกินไป เพราะกลัวว่าจะไม่น่าเชื่อถือ นอกจากนั้นแล้วอาการทางร่างกายอย่างกระสับกระส่าย เหงื่อออก กลืนน้ำลาย หายใจ พยักหน้า ก็สามารถใช้พิจารณาร่วมด้วยได้เช่นกัน

แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีทักษะในการอ่านปฏิกิริยาจากจิตใต้สำนึก เขาก็สามารถรู้สึกได้ว่าคนตรงหน้ากำลังโกหก เขาจะรู้สึกว่าคนที่กำลังปฏิสัมพันธ์ด้วยกำลังแสดงความไม่ปกติ เพียงแต่จะแปลความหมายการขยับร่างกายไม่ได้ แต่พฤติกรรมทั้งหมดจะสะสมและส่งผลต่อความไว้ใจ (Trust) ระหว่างกัน เช่น แฟนโกหกเราว่าผิดนัด เพราะว่าติดงาน เขาจะมีอาการหลุกหลิกลุกลี้ลุกลนบางอย่างที่เราสามารถสัมผัสได้ แต่แปลความหมายไม่ได้ว่าร่างกายกำลังบอกอะไร เพียงแต่พฤติกรรมนั้นจะส่งผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ และเมื่อแฟนเราทำบ่อยเข้าก็อาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ หากเขาไม่ยอมเผชิญหน้ากับความจริงอย่างตรงไปตรงมา

@@@@@@@

โกหกเป็นนิสัย ถือเป็นโรคไหม.?

แม้ทุกวันนี้ในทางจิตวิทยาและจิตแพทย์เองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการโกหกในระดับที่ติดจนเป็น นิสัย นั้นถือว่าเป็น โรคโกหก เลยหรือเปล่า แต่ในทางจิตเวชมีอยู่โรคหนึ่งที่ผู้ป่วยมักมีนิสัยโกหกโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว ผู้ป่วยจะสร้างโลกทั้งใบขึ้นมา แล้วเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเอง ‘มโน’ ขึ้นมานั้นเป็นไปอย่างที่ตัวเองคิดจริงๆ เราเรียกโรคนั้นว่า โรคหลอกตัวเอง

โรคหลอกตัวเอง (Pathological Liar) ผู้ป่วยจะแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อหลบหนีจากความจริงที่ตัวเองไม่อยากรับรู้ จึงสร้างเรื่องหลอกตัวเองซ้ำๆ แล้วเชื่อว่าเรื่องที่ตัวเองแต่งขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริง โดยต้นเหตุของโรคนี้อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งในครอบครัวที่บ่มเพาะมาตั้งแต่ยังเด็ก หรือเกิดจากความรุนแรงที่ผู้ป่วยถูกกระทำ เช่น การถูกข่มขืน การถูกทำร้ายร่างกาย ถูกบังคับขืนใจในบางเรื่อง หรือเกิดจากความผิดปกติทางประสาท ความพิการทางสมอง หรือการเรียนรู้ นอกจากนี้แล้วยังเป็นอาการข้างเคียงของภาวะยับยั้งชั่งใจไม่ได้ (Impulse Control Disorders) จนเกิดปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเองร่วมได้ด้วย

@@@@@@@

โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอกตัวเอง สามารถจำแนกอาการได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. กลุ่มที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชอยู่แล้ว อาการโกหกของผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมาจากสาเหตุของการหลงผิด คิดว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อนั้นเป็นเรื่องจริง ซึ่งเมื่อแยกแยะดูแล้ว เรื่องที่ผู้ป่วยเล่าส่วนใหญ่จะไม่จริง และแทบทั้งหมดมาจากโลกที่จินตนาการขึ้น ที่สำคัญคือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่มีเจตนาจะโกหก เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังพูดเป็นเรื่องจริง ถ้ามีใครพยายามจะบอกความจริงก็จะต่อต้านและไม่พอใจขึ้นมาก็ได้

2. กลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการโกหกของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมาจากการที่สมองและสำนึกพยายามสร้างเรื่องด้านบวกขึ้นมาประคับประคองภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ป่วยสร้างเรื่องให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นอยู่เป็นประจำก็อาจหลงผิดคิดว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริงขึ้นมาก็ได้

3. กลุ่มที่โกหกจนเป็นนิสัย อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าวงการจิตวิทยาเองก็ยังไม่ฟันธงว่าอาการนี้จัดเป็นโรคโกหกเลยหรือไม่ แต่การโกหกเป็นประจำโดยที่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เป็นจุดเริ่มต้นของโรคหลอกตัวเองได้

@@@@@@@

วิธีสังเกตการโกหกของ คนเป็นโรคหลอกตัวเอง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอกตัวเองจะแตกต่างจากคนที่โกหกจนเป็นนิสัย คือนอกจากจะโกหกเป็นประจำโดยไม่สนใจว่าเรื่องนั้นจะผิดถูกหรือส่งผลกระทบต่อใครแล้วยังจะ สร้างโลกใบใหม่ขึ้นมา และจินตนาการสิ่งที่ตัวเองอยากเป็น อยากได้ อยากมีอยู่ในโลกใบนั้น เชื่อว่าโลกที่ตัวเองสร้างมานั้นคือเรื่องจริง เริ่มแยกเรื่องจริงกับเรื่องที่ตัวเองแต่งขึ้นมาไม่ออก และที่สำคัญจะไม่รู้ตัวเองว่ากำลังโกหก แต่เชื่อว่ากำลังพูดเรื่องจริงอยู่

ซึ่งเราสามารถสังเกตพฤติกรรมทางร่างกายของผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น มักมีอาการพูดไปยิ้มไปโดยที่ไม่รู้สาเหตุ เกร็ง พูดด้วยสีหน้าที่นิ่งเกินกว่าเรื่องที่กำลังเล่า หายใจถี่แรง ใช้มือแตะปากระหว่างพูด พูดติดๆ ขัดๆ และเนื้อความซ้ำไปซ้ำมา ย่ำเท้าซ้ำๆ ขยับตัวบ่อยๆ หรืออธิบายเรื่องยืดยาวเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นของคนที่เป็นโรคหลอกตัวเอง เราเองไม่สามารถฟันธงหรือวินิจฉัยว่าใครป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ เมื่อพบว่าคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้ก็ควรพบผู้เชี่ยวชาญจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

โดยวิธีการรักษานั้น หากเป็นผู้ป่วยโรคหลงผิด จิตแพทย์จะให้ยารักษาเพื่อบำบัดตามอาการร่วมกับการปรับความคิดและพฤติกรรมจากนักจิตบำบัด ซึ่งต้องใช้เวลากว่าจะรู้ปม คลายปม รวมถึงค่อยๆ ดึงผู้ป่วยให้กลับมาเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ซึ่งทั้งหมดจะค่อยๆ ให้ผู้ป่วยจะสร้างสมดุลให้กับตัวเอง

@@@@@@@

ถ้าอยากเลิกโกหก ต้องทำอย่างไร.?

ในกรณีที่เราไม่ได้ป่วยเป็นโรคหลงผิด แต่เป็นคนทั่วไปที่อยากเลิกพฤติกรรมการโกหกเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองก็สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าแนวคิดทั้งหลายอาจจะไม่ได้เป็นสเตปชัดเจนและอาจเป็นนามธรรมอยู่สักหน่อย แต่เชื่อเถอะว่าวันหนึ่งการโกหกของเราจะลดลง

1. เชื่อ ว่าพฤติกรรมด้านลบทุกอย่างของเราสามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ อาจจะใช้เวลาไม่น้อยที่จะทำให้เรารู้สึกอย่างนี้ แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ฝึกกันได้ เราสามารถฝึกให้ตัวเองพูดอย่างตรงไปตรงมาและเลือกที่จะไม่โกหกได้ในที่สุด

2. ยอมรับ ในความผิดพลาดของตัวเอง ลองบอกตัวเองว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกนี้สามารถเกิดความผิดพลาดได้ทั้งนั้นไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ ไม่มีใครที่จะสมบูรณ์แบบเสมอไป เพราะเมื่อเรายอมรับความผิดพลาดและโอบกอดตัวเองด้วยความจริงแล้ว เราก็เลือกที่จะกล้ายอมรับความจริงมากขึ้น และความรู้สึกว่าจะต้องโกหกเท่านั้นจึงจะเป็นทางรอดก็จะน้อยลงตามไปด้วย

3. ลด เสียงก่นด่าตัวเอง เมื่อเราทำผิดพลาด เสียงข้างในจิตใจเราอาจจะเต็มไปด้วยคำวิจารณ์ตัวเอง ‘ทำไมเราพลาดอีกแล้ว’ ‘ทำไมเราจึงห่วยอย่างนี้’ ลองลดคำที่เป็นด้านลบพร้อมกับการยอมรับว่าความผิดพลาดไม่ได้ทำให้ความเป็นมนุษย์ของเราลดน้อยลง ลองให้อภัยตัวเองแล้วเผชิญหน้ากับความจริงอย่างตรงไปตรงมา อาจจะทำให้เราอยู่กับความเป็นจริงและเลือกพูดความจริงมากกว่าการต้องโกหก

แต่ถ้าใครรู้สึกว่าการพยายามด้วยตัวเองเป็นเรื่องยากเกินไป โกหกจนเริ่มติดเป็นนิสัยจนยากที่จะเลิก ไม่เห็นทางอื่นที่จะต้องโกหกไปเรื่อยๆ แล้ว การเดินเข้าไปหาผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดก็เป็นทางออกที่ดีที่จะได้เข้าใจตัวเองพร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราไปด้วยก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่เกินไปนัก
 
@@@@@@@

ถ้าต้องอยู่ร่วมกับคนที่ชอบโกหก ต้องทำอย่างไร.?

แม้ว่าเราเองจะลดการโกหกเท่าไร แต่สิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือการต้องอยู่ร่วมสังคมกับคนที่โกหก ทั้งในกลุ่มเพื่อน ห้องเรียนในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ในที่ทำงานก็ตาม สิ่งที่เราควรปฏิบัติเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับคนที่โกหกคือ

1. ปล่อยวาง นึกไว้เสมอว่าเราเปลี่ยนตัวเองได้ แต่เราไม่สามารถคาดคั้นหรือกดดันให้ใครทำอะไรได้ โดยเฉพาะการบังคับให้คนคนนั้นพูดแต่ความจริงจึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นไปอีก

2. แต่เราก็สามารถรับมือกับคนที่โกหกได้ด้วยการ พูดความจริงกลับไป เช่น เรารู้ว่าเพื่อนร่วมงานของเราคนนี้โกหกก็ควรสื่อสารกลับไปอย่างให้เกียรติว่าความจริงที่เรารู้มาเป็นอย่างนี้ อธิบายด้วยเหตุผลว่าสิ่งที่เขาโกหกนั้นสร้างความเดือดร้อนอย่างไร คนรอบข้างไม่โอเคกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง พูดด้วยน้ำเสียงชี้แจงอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เจือปนอารมณ์โกรธ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากอยู่บ้าง แต่การอธิบายอย่างจริงใจแบบนี้จะช่วยสร้างความรู้สึกปลอดภัย สุดท้ายเขาคนนั้นรู้สึกปลอดภัยพอก็อาจยอมพูดความจริงออกมาในที่สุด







Thank to : https://thestandard.co/podcast/ruok10/
5.05.2018

ฟังรายการ R U OK พอดแคสต์ โดยแอปฯ Podcasts (สำหรับผู้ใช้ iOS), Podbean และแอปฯ ประเภท Podcast Player ยี่ห้อใดก็ได้ (สำหรับผู้ใช้ Android) หรือฟังทาง SoundCloud และ YouTube ก็ได้เช่นกัน

Credits :-
The Hosts ปอนด์ ยาคอปเซ่น, ดุจดาว วัฒนปกรณ์
Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์
Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์
Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์
Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์
Music Westonemusic.com

 5 
 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 09:21:17 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 08:28:33 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 7 
 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 06:26:01 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 8 
 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 05:09:36 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 9 
 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 02:47:38 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 10 
 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 08:55:10 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan



ทำไมคนชอบโกหก.?

บ้านเมืองเรายามนี้เหมือนจะอยู่ในสถานการณ์ที่นักการเมืองส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงคำพูดไปมาตลอดเวลา จนดูเหมือนจะโกหกพกลมกันเป็นว่าเล่น ไม่เห็นหัวประชาชนกันสักเท่าไรนัก โดยส่วนใหญ่ก็มักอ้างว่าสถานการณ์บางอย่างเปลี่ยนไปจึงต้องเปลี่ยนตาม 

นักวิทยาศาสตร์รู้อะไรเกี่ยวกับพฤติกรรมการโกหกหลอกลวงของคนเราบ้าง.? ทำไมดูเหมือนคนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะทนยอมรับการโป้ปดของคนที่เราเลือกได้ไม่น้อย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น.? และหากจำเป็นต้องจับผิดคนที่กำลังโกหกเราอยู่ จะมีวิธีการใดที่มีประสิทธิภาพดีๆ ให้เลือกทำได้บ้าง.?

@@@@@@@

เรามาตั้งต้นกันด้วยคำถามที่ว่า คนเราโกหกกันด้วยความถี่มากน้อยเพียงใด.? โกหกกันด้วยเหตุใด.? และโกหกใครกันบ้าง.?

งานวิจัยชิ้นหนึ่งของคณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินที่ลาครอส (University of Wisconsin-La Crosse) และมหาวิทยาลัยอลาบามาที่เบอร์มิงแฮม (University of Alabama at Birmingham) ทำร่วมกันและตีพิมพ์ในวารสาร Communication Monographs ชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ไม่ได้โกหกมากนัก โดยมีราว 75% ที่ไม่พูดปดเลยหรืออย่างมากก็หลอกลวงคนอื่นไม่เกิน 2 ครั้งต่อวันเท่านั้น แต่ก็มีคนจำนวนน้อยที่เราแทบไม่สามารถเชื่ออะไรที่คนเหล่านี้พูดได้เลย เพราะเฉลี่ยแล้วอาจโกหกมากถึง 17 ครั้งต่อวัน แต่กลุ่มหลังนี้มีแค่เพียง 1% ของคนทั้งหมดเท่านั้น [1]

ในงานศึกษาฉบับนี้ พวกเขาใช้อาสาสมัคร 632 คน โดยให้คนเหล่านี้จดบันทึกจำนวนครั้งของการโกหกของพวกตนไว้ติดต่อกันนานถึง 91 วัน ผลคือได้จำนวนโกหกรวมกันมากถึง 116,366 ครั้ง.!

ข้อสรุปที่พบคือ การโกหกส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องและที่พบบ่อยก็เป็นการโกหกจำพวก ‘white lies’ คือ หลอกให้ดีใจ เช่น บอกว่าชอบของขวัญที่ได้รับมาก แม้ว่าความจริงคือไม่ชอบเลยก็ตาม แต่จำนวนการโกหกต่อวันมีความผันแปรอยู่บ้าง อาจมากน้อยแตกต่างกันไป และจำนวนก็แตกต่างกันเป็นอย่างมากในแต่ละคนด้วย   

ที่น่าสนใจคือ พวกที่โกหกเป็นไฟมีความผันแปรของจำนวนครั้งการโกหกต่อวันมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่ม 1% ที่เป็นคนขี้ปดที่สุด ทำสถิติโกหกไว้ที่ราว 17 ครั้งต่อวัน ตรงกันข้ามกับพวกที่ทำตัวราวกับเป็นนักบวชคือ พวก 1% ที่โกหกน้อยสุด ความผันแปรรายวันก็น้อยมากตามไปด้วย

จากการทดลองนี้ประมาณการว่ามีคำโกหกเจืออยู่ราว 7% ของการสื่อสารทั้งหมด แต่ยังดีอยู่นิดหน่อยตรงที่ 88.6% ของการโกหกเป็นแบบ white lies เพื่อรักษาสายสัมพันธ์กัน มีเพียง 11.4% เท่านั้นที่เป็น big lies หรือการแหกตากันจริงๆ เช่น การบอกรักใครสักคนโดยไม่ได้รักจริงๆ ก่อนหักอกคนๆ นั้น หรือการโกหกหวังผลอย่างอื่นต่างๆ นานา 


@@@@@@@

คราวนี้ลองมาดู สาเหตุที่คนโกหกกันครับ

มีเหตุผลแตกต่างกันไปหลากหลายมาก แต่ค่าสูงสุด 2 อันดับ คือ
โกหกเพื่อหลบหลีกให้ไม่ต้องเจอกับบางคน (21%)
และเป็นการล้อหรืออำกันเล่น (20%)
ตามด้วยการโกหกเพื่อปกป้องตัวเอง (14%)
เพื่อสร้างภาพหรือทำให้อีกฝ่ายประทับใจ (13%)
และเพื่อป้องกันคนอื่นด้วยเหตุผลบางอย่าง (11%)

จากนั้นจึงตามด้วยการโกหกเพื่อเหตุผลในทางลบ เช่น
หาประโยชน์บางอย่างใส่ตัว (9%)
หาประโยชน์ให้พรรคพวกคนอื่นๆ (5%)
หรือเพื่อทำร้ายจิตใจกัน (2%)
ส่วนที่เหลือ (5%) ก็เป็นเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่จำเพาะเจาจงนัก ไปจนถึงไม่มีเหตุผลอะไร โกหกเพราะอยากโกหกแค่นั้น!

ข้อสรุปที่น่าจะช็อกคนจำนวนมากก็คือ การโกหกส่วนใหญ่เป็นการทำต่อหน้า (79%) ที่เหลือจึงเป็นการโกหกผ่านตัวกลางหรือวิธีการอื่น ไม่ต้องมาเผชิญหน้ากันโดยตรง

@@@@@@@

คราวนี้มาดู คนที่เป็นเป้าหมายของการโกหกว่า เป็นใครบ้าง.?

ไม่ต้องแปลกใจเลยครับว่า คนที่โดนหลอกส่วนใหญ่คือเพื่อนฝูง (51%) คนในครอบครัว (21%) และเพื่อนร่วมงานหรือคนที่โรงเรียน (11%) นั่นเอง ถัดจากคนใกล้ตัวจึงเป็นคิวของคนแปลกหน้า และคนรู้จักคุ้นเคยกันที่ต่างก็ได้ 8% กว่าๆ

อย่างที่สรุปไปข้างต้นว่า คนส่วนใหญ่ซื่อสัตย์และไม่ค่อยได้โกหกกันสักเท่าไหร่ แต่นานๆ ทีก็อาจพบคนที่โกหกได้เป็นวรรคเป็นเวร อย่างกรณีของนาย จอห์น ซี. บีล (John C. Beale) ที่สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาจ้างในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมภูมิอากาศ [2]

เขาโกหกจนสามารถหายหน้าหายตาไม่มาทำงานติดต่อกันถึง 18 เดือน เริ่มตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา จากการสอบสวนพบว่าเขาไม่ได้ทำงานอะไรทั้งนั้น เขาอ้างเหตุผลที่บ้าบอคอแตกที่สุดกับหัวหน้าว่าที่ไม่มาทำงานนั้น เป็นเพราะเขาทำงานให้กับองค์กรข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือ ‘ซีไอเอ’ ซึ่งต้องไปลงพื้นที่ที่ในประเทศปากีสถาน เพื่อทำภารกิจจารกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงบีลให้การยอมรับเมื่อถูกสอบสวนว่า เขาใช้เวลาออกกำลังอยู่ที่บ้าน เพราะรู้สึกขี้เกียจ ไม่อยากทำงานอย่างหนัก

เขายังโกหกสารพัด เช่น เพื่อที่จะได้ที่จอดรถที่สะดวกสบายเมื่อต้องไปออฟฟิศ เขาแจ้งข้อมูลเท็จว่าจำเป็นต้องใช้ที่จอดพิเศษเพราะเขาป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ซึ่งติดมาขณะเป็นทหารไปปฏิบัติภารกิจที่ประเทศเวียดนาม แต่ความจริงคือเขาไม่เคยป่วยเป็นมาลาเรีย ไม่เคยไปเวียดนาม และไม่เคยแม้แต่รับราชการทหาร.!


@@@@@@@

คนทั่วไปจับผิดคนโกหก ได้ดีเพียงใด.?

มีงานวิจัยที่แยกแยะเรื่องนี้และทำให้รู้ว่า คนส่วนใหญ่จับโกหกได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งอยู่เล็กน้อย (42%) ผ่านการรับฟังและสังเกตสังกา แสดงว่าเรามีโอกาสจับผิดได้สำเร็จน้อยกว่าล้มเหลวนิดหน่อย

โดยหลักแล้ว การโกหกต้องใช้ความจำเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างเรื่องราวให้สอดคล้องกันทุกอย่าง คำแนะนำเรื่องการจับผิดจึงอาศัยความจริงข้อนี้เป็นหลัก ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี วิธีแรกคือการให้ผู้ต้องสงสัยเล่าเรื่องแบบย้อนหลัง แทนที่จะเล่าแบบเส้นตรงตามไทม์ไลน์ โดยจะเพิ่มความถูกต้องในการจับผิดมากขึ้นเป็น 60%

เรื่องต่อไปคือหาทางบีบบังคับให้คนผู้นั้นต้องสบสายตาขณะพูด การจ้องตาจะดึงดูดความสนใจและทำให้การแต่งเรื่องเพื่อหลอกยากมากขึ้น และอีกทริกหนึ่งคือแทนที่จะให้ตอบคำถาม ให้ผู้ต้องสงสัยวาดรูปแทนคำตอบ คนที่โกหกมักจะวาดภาพออกมาเป็นแบบคร่าวๆ ไม่ค่อยมีรายละเอียด หากเทียบกับคนที่พูดความจริงที่ใส่รายละเอียดมากกว่า 

@@@@@@@

คราวนี้มาถึงคำถามที่หลายคนอาจสงสัย ทำไมนักการเมืองบางคน ถึงติดใจ การโกหกผู้คนมาก.?

การโกหกแล้วรอดตัวไปได้ทำให้เกิดอาการเสพติดได้ครับ ทุกครั้งที่โกหกแล้วไม่มีใครจับได้ ร่างกายจะหลั่งโดพามีน (dopamine) แบบเดียวกับที่เกิดกับเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ เล่นการพนัน หรือเสพยาเสพติด ผลที่ตามมาคือสมองจะชินชาต่อวงจรการให้รางวัลแบบนี้และคนเหล่านี้ต้องโกหกมากขึ้นเพื่อให้ตัวเองมีความสุขเท่าเดิม แบบเดียวกับคนติดสารเสพติดที่ต้องใช้โดสที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อรวมกับข้อเท็จจริงที่ว่าคนทั่วไปมักจะยอมรับการโกหกได้มากกว่าอาชญากรรมอื่นๆ อีกหลายแบบ ยิ่งเห็นคนอื่นทำตัวไม่เดือดไม่ร้อนและยอมรับได้ก็ยิ่งไปกันใหญ่ จนนักการเมืองจำนวนมากนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในยุคที่ไม่มีดิจิทัลฟุตพรินต์ (digital footprint) บนอินเทอร์เน็ตให้จับผิดย้อนหลังได้ง่ายๆ

แต่การมีรอยเท้าบนโลกดิจิทัลในยุคปัจจุบัน จึงมักจะมีคนไปสืบเสาะหาคำพูดเดิมๆ ที่นักการเมืองเคยพูดไว้มาทำให้พวกมุสาเป็นอาชีพหน้าแหกได้เสมอๆ 

ความเป็นไปได้อีกอย่างคือ คนที่โกหกบ่อยๆ อาจเป็นคนมีปัญหาทางจิต เนื่องจากวงจรการให้รางวัลในสมองผิดปกติไป จึงทำให้ไม่เกิดความอึดอัดใจที่จะโกหก แต่ในทางกลับกัน ยิ่งโกหกก็ยิ่งติดใจ ยังไม่มีวิธีการง่ายๆ ที่จะบอกได้ว่าใครเป็นผู้ป่วยแบบนี้ 

เราได้แต่เพียงคาดหวังว่าตัวแทนที่เราเลือกเข้าไปในสภาของเรา (หรือแค่ส่วนใหญ่) และรวมไปถึงคนที่เราไม่ได้เลือก แต่ก็เข้ามาอยู่ในสภาได้ด้วยเล่ห์เหลี่ยมวิธีการอย่างอื่น จะไม่ใช่คนในกลุ่มสุดท้ายนี้ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีวิธีการรักษาดีๆ เลยครับ.!







ขอขอบคุณ :-
URL : https://www.the101.world/science-of-lying/
ผู้เขียน : นำชัย ชีววิวรรธน์ | 10 Aug 2023
Life & Culture / Science & Innovation

References
1. Kim B. Serota et al. Communication Monographs Volume 89, 2022 – Issue 3. https://doi.org/10.1080/03637751.2021.1985153
2. The EPA OIG’s Investigation of John C. Beale. Statement of Patrick Sullivan. Assistant Inspector General for Investigations Before the Committee on Oversight and Government Reform U.S. House of Representatives. October 1, 2013

หน้า: [1] 2 3 ... 10