ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุที่ธรรมเทศนาของตถาคต "บางครั้งแจ่มแจ้ง บางครั้งไม่แจ่มแจ้ง"  (อ่าน 1659 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

 
ปุณณิยสูตร

   ตรัสแสดง เหตุที่ทำให้พระธรรมเทศนาของพระตถาคตบางครั้งก็แจ่มแจ้ง บางครั้งก็ไม่แจ่มแจ้ง คือ

     - มีศรัทธา,
     - เข้าไปหา,
     - นั่งใกล้,
     - ไต่ถาม,
     - ตั้งโสตสดับธรรม,
     - ทรงจำธรรม,
     - พิจารณาอรรถแห่งธรรม,
     - ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ( ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่แจ่มแจ้ง )
.


อ้างอิง
พระัไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/15.2.html
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต


ปุณณิยสูตร

     [๑๘๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่บางครั้งพระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง กะพระตถาคต บางครั้งไม่แจ่มแจ้ง ฯ


     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหาเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น
     แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง


     ดูกรปุณณิยะ ภิกษุผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น
     แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ...และเข้าไปนั่งใกล้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง


     ดูกรปุณณิยะภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และเข้าไปนั่งใกล้ แต่ไม่สอบถามเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น
     แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และสอบถาม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง

     ดูกรปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และสอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตลงสดับธรรมเพียงใด ธรรมเทศนา
ของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น
    แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และเงี่ยโสตลงสดับธรรม แต่ฟังธรรมแล้วไม่ทรงจำไว้เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น
    แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และฟังแล้วทรงจำไว้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง


    ดูกรปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และฟังแล้วทรงจำไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น
    แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง


    ดูกรปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น
    แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ... และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง


    ดูกรปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตผู้มีปฏิญาณโดยส่วนเดียว อันประกอบด้วยธรรมเหล่านี้แล ย่อมแจ่มแจ้ง ฯ

จบสูตรที่ ๒


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๗๑๖๙ - ๗๑๙๗.  หน้าที่  ๓๑๐ - ๓๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7169&Z=7197&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=188
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ