ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตแต่ละดวง.."ผ่านเหตุผ่านปัจจัยมาต่างกัน" แต่ละคนจึงต่างกัน.!!  (อ่าน 1671 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

กิเลส เกิดจากอะไร.?

เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า ทั้งความโลภและความโกรธ ล้วนมีสาเหตุมาจากความยึดมั่นถือมั่นด้วยกันทั้งสิ้น กล่าวคือ ถ้ายึดมั่นพร้อมกับความรู้สึกยินดีพอใจ ก็จะทำให้เกิดแรงดูดคือความโลภ แต่ถ้ายึดมั่นพร้อมกับความรู้สึกยินร้ายไม่พอใจ ก็จะทำให้เกิดแรงผลักคือความโกรธ ความขัดเคืองใจ

แล้วความยึดมั่นถือมั่นมีสาเหตุมาจากอะไร ?
ความยึดมั่นถือมั่นนั้นเกิดจากการที่ไม่รู้ถึงธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง (โมหะ,อวิชชา,ความหลง,วิปัลลาส) คือ
    ไม่รู้ว่าสิ่งทั้งปวงล้วนไม่ควรค่าแก่การยึดมั่นถือมั่น
    เพราะสิ่งทั้งปวงล้วนเป็นเพียงผลของเหตุของปัจจัย เกิดจากการประชุมปรุงแต่งของเหตุปัจจัย
    ไม่มีสิ่งใดที่มีอำนาจเฉพาะตน ไม่มีสิ่งใดที่มีอำนาจเหนือตนหรือเหนือสิ่งที่อื่นจากตน
    สิ่งที่ทำได้ก็เพียงแค่การสร้างเหตุสร้างปัจจัยได้บ้างเท่านั้น


     ซึ่งเหตุปัจจัยที่สร้างได้นั้น ก็เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยของเหตุปัจจัยอันมากมาย
     ที่คอยกลุ้มรุมห้อมล้อม คอยปรุงแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้แปรปรวนไปตลอดเวลา
     ถ้าร่างกายหรือจิตใจนี้อยู่ในอำนาจของเราแล้ว ในโลกนี้ก็คงจะไม่มีใครเลยที่เป็นทุกข์
     เพราะทุกชีวิตก็คงจะบังคับตนเองให้เป็นสุขตลอดเวลา แต่ที่โลกนี้เต็มไปด้วยทุกข์
     ก็เพราะร่างกายและจิตใจนี้ ทั้งภายในและภายนอก ล้วนไม่อยู่ในอำนาจของใครทั้งสิ้น
     ถ้าใครขืนไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่อยู่ในอำนาจแล้ว ก็มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่หวังได้



คนดีหรือไม่ดีเกิดจากการสั่งสมเหตุปัจจัยอย่างต่อเนื่อง
ถ้ามองอย่างผิวเผินแล้วจะเห็นว่า คนที่เป็นคนดีมีคุณธรรมก็เพราะจิตใจของเขานั้นดี คนที่เป็นคนไม่ดีขาดศีลธรรมก็เพราะจิตใจของเขาไม่ดี ความจริงแล้วนั่นเป็นเพียงปลายเหตุ
     เพราะแท้จริงแล้วคนที่เป็นคนดีนั้นไม่ใช่เพราะเขาอยากเป็นคนดี
     และคนที่ไม่ดีก็ไม่ใช่เพราะเขาอยากเป็นคนไม่ดี

     แต่เป็นเพราะจิตแต่ละดวงนั้นผ่านเหตุผ่านปัจจัยมาต่างกัน ทำให้จิตทั้งหลายมีสภาพมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน
     และมีความจำได้หมายรู้(สัญญา) ในสิ่งต่างๆแตกต่างกันไป คือ มีทัศนคติหรือโลกทัศน์ที่ต่างกันไป
     จึงทำให้มีการปรุงแต่ง คือ มีความรู้สึกนึกคิดที่ต่างกันไป มีความต้องการที่แตกต่างกันไป
     จึงทำกรรมแตกต่างกันไป นั่นคือ การที่คนเป็นคนดีหรือไม่ดีนั้น แท้จริงแล้วล้วนเป็นผลของเหตุของปัจจัยด้วยกันทั้งสิ้น


     ถ้าลองคนที่คนนิยมกันว่าเป็นคนดีนั้นไปผ่านเหตุผ่านปัจจัยที่ไม่ดีเข้าอย่างมากพอและต่อเนื่อง เขาก็จะกลายเป็นคนไม่ดี ( ยกเว้นอริยบุคคล เพราะเชื้อแห่งความไม่ดีได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว ) และคนที่ถูกมองว่าเป็นคนไม่ดีนั้น ถ้าได้ผ่านเหตุปัจจัยที่ดีอย่างมากพอและต่อเนื่อง เขาก็จะกลายเป็นคนดีเช่นกัน ตัวอย่างเช่น องคุลีมาลย์

     เมื่อผ่านเหตุปัจจัยต่าง ๆ เข้าก็เป็นลูกศิษย์ที่ครูอาจารย์รักใคร่ เพราะความมีนิสัยดี ขยันหมั่นเพียร และเฉลียวฉลาด แต่พอผ่านเหตุปัจจัยที่ไม่ดีเข้าก็กลายเป็นมหาโจรที่น่ากลัว และเมื่อผ่านเหตุปัจจัยที่ดีอีกครั้ง ก็กลายเป็นพระอรหันต์ที่น่าเคารพนับถือ น่าบูชา
     ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเพียงผลของเหตุของปัจจัยเท่านั้นเอง
     ถ้าจะโทษ ก็ควรโทษเหตุโทษปัจจัยถึงจะถูก จะไปโทษจิตซึ่งเป็นเพียงผลของเหตุของปัจจัยจะสมควรหรือ ?



นิพพานเป็นอนัตตา
ดังนั้น เว้นนิพพานแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจึงล้วนไม่เที่ยง (อนิจจัง) ถูกสิ่งต่างๆบีบคั้นให้แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา
    จึงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้นาน ไม่มีสิ่งใดเลยที่ยึดมั่นถือมั่นแล้วจะไม่นำทุกข์มาให้ (ทุกขัง)
    เพราะสิ่งทั้งปวงรวมทั้งนิพพาน ล้วนไม่อยู่ในอำนาจของใครทั้งสิ้น เป็นเพียงผลของเหตุปัจจัย (อนัตตา)
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี้ รวมเรียกว่าไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ คือ เป็นธรรมชาติที่แท้จริง และเป็นลักษณะอันเป็นพื้นฐานของสรรพสิ่งทั่วไปในอนันตจักรวาล


     เพราะความไม่รู้ในธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้(โมหะ)นั่นเอง
     ความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) จึงเกิดขึ้น
     เมื่ออุปาทานเกิดขึ้นแล้วความโลภและความโกรธ (โทสะ) ก็เกิดขึ้น
     ความทุกข์ทั้งหลายจึงเกิดตามมาเป็นทอด ๆ ดังนี้


หมายเหตุ
     ตามหลักอภิธรรมแล้ว อุปาทานก็คือ ตัณหา (ความทะยานอยาก,โลภะ) ที่มีกำลังมากนั่นเอง
     และตามหลักปฏิจจสมุปบาทแล้ว ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน คือ เมื่อปล่อยให้ความทะยานอยากหรือความเพลิดเพลินยินดี เกิดขึ้นบ่อยๆ แล้วอุปาทานย่อมเกิดตามมา
     ส่วนในที่นี้กล่าวว่า อุปาทานเป็นสาเหตุของความโลภนั้น หมายความว่า
     ตัณหาในเบื้องต้นเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานในเบื้องกลาง
     และอุปาทานในเบื้องกลางเป็นปัจจัยให้เกิดความโลภในลำดับต่อไป
     และความโลภที่เกิดขึ้นนี้ก็จะทำให้เกิดอุปาทานต่อไปอีกในอนาคต
     ทับถมซับซ้อนกันต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น ในที่นี้จึงไม่ขัดแย้งกับหลักอภิธรรมและปฏิจจสมุปบาทแต่อย่างใด


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn02.php
http://www.oknation.net/, http://i748.photobucket.com/,http://images.thaiza.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2012, 09:37:50 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เผยแพร่เมื่อ 4 ก.ย. 2012 โดย chakrity


เกิดมาเป็นคน มีหรือจนก็คนเหมือนกัน
กรรมชั่วดีก่อสร้างสรรค์ นั้นส่อพงศ์พันธุ์ เทือกแถวต้นตอ
สันดอนปากน้ำ หนึ่งลำเรือขุดลอกก็พอ
แต่สันดานคนนี่หนอ หนาแน่นกิเลส ขุดไม่ไหว

 
พวกมากลากไป มือไม้ยาวก็สาวช่วยกัน
คนอื่นอยากซื่อช่างมัน ขอให้ตัวฉันได้ดีพอใจ
พระเจ้าเงินถัง ศักดิ์สิทธิ์ขลังกว่าพระองค์ใด
เหล็กเพชรแกร่งแข็งแค่ไหน เงินฟาดลงไป แหลกผลอย

 
โอ้เกลือเค็มล้ำ ยังหวานฉ่ำด้วยลิ้นสอพลอ
คำหวานที่รื่นละออ ใจจดปังตอจ่อเชือดคอหอย
หลอกกันไปมา อวดศักดาข้านี้เลิศลอย
อนิจจามนุษย์มะหน่อย เมื่อไรกิเลส จะบางใจ

 
เกิดมาเป็นคน มีหรือจนก็ตายเหมือนกัน
คนบาปอยากขึ้นสวรรค์ อุตส่าห์สวดกัน
ลิ้นพระแทบไหม้ ระวังเถิดหนา ถูกหามเข้าป่าช้าวันใด
สัปเหร่ออาจนึกหมั่นไส้ แอบบ้วนน้ำลาย ใส่โลง

ขอบคุณภาพและเนื้อเพลงจาก http://www.oknation.net/blog/OldSongMan/2011/01/28/entry-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2012, 09:38:08 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ