ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก..."ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป"  (อ่าน 3780 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

             [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ

             [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ
             เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป
             สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า
             สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป
             และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป
             ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป
             และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด
             พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
             ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป
             เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ


             [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป       
             เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ

 

           [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
           ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ไม่เคารพยำเกรง
           ในพระศาสดา ๑
           ในพระธรรม ๑
           ในพระสงฆ์ ๑
           ในสิกขา ๑
           ในสมาธิ ๑

           เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ


             [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
             ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรง
             ในพระศาสดา ๑
             ในพระธรรม ๑
             ในพระสงฆ์ ๑
             ในสิกขา ๑
             ในสมาธิ ๑
             เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ


             จบสูตรที่ ๑๓



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๘๔๖ - ๕๘๘๘. หน้าที่ ๒๔๖ - ๒๔๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5846&Z=5888&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://www.mumuu.com/




ปฏิบัติสัทธรรม ดู สัทธรรม

ปฏิเวธสัทธรรม ดู สัทธรรม

ปริยัติสัทธรรม ดู สัทธรรม

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี,
       ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ อย่าง คือ

           ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
           ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
           ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;

       สัทธรรม ๗ คือ
           ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา

สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม

อสัทธรรม ธรรมของอสัตบุรุษ มีหลายหมวด
       เช่น อสัทธรรม ๗ คือที่ตรงข้ามกับ สัทธรรม ๗ มีปราศจากศรัทธา ปราศจากหิริ เป็นต้น;
       ในคำว่า “ทอดกายเพื่อเสพอสัทธรรมก็ดี” หมายถึง เมถุนธรรม คือการร่วมประเวณี


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://new.goosiam.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนนี้ ทองเทียม ( ทองหุ้ม ) ระบาด ถูกขายกันมาก คนที่ซื้อ ไปน้ำตาตก เพราะก้อนทองเป็นเงินด้านใน และเป็นทองหุ้มอยู่ภายนอก ทองเทียมทองวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นแล้ว พระสัทธรรมปฏิรูป เริ่มเกิดขึ้นมามากมาย จริง ๆ คะ เท่าที่มองเห็น ก็มีแต่พระกรรมฐาน ดั้งเดิม นี่แหละคะที่ อุ่นใจว่าไม่ผิดทาง ไม่เป็น สัทธรรมปฏิรูป

   :49:  :coffee2: :49:
บันทึกการเข้า

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในฐานะเด็กวัดเก่า นะครับ

 ผมว่า ยุคนี้ หาพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ได้น้อยลงครับ ที่ผมพบส่วนใหญ่ ก็เช้าเอน เพลน้อย หมอดู พระพิธี อยู่ใน พระนิสิต พระนักเรียน พระมหา พระส่องพระเครื่อง พระ..... อีก แยะเลยครับ ใน กทม ส่วนพระปฏิบัติ หรือ ครับ ส่วนมากก็โดนบีบให้ออกจากวัด ด้วยประการ ต่าง ๆ อีกอย่างพระปฏิบัติ ท่านไม่มุ่งอยู่ในเมือง ชอบแบกกลด ออกเดินทาง วิเวก ประมาณนี้ ครับ

  โมฆบุรุษ จะเรียกอย่างไร ก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะพระสงฆ์ ในปัจจุบัน ไม่เชื่อมั่นต่อการเป็น พระอริยะ บางรูป บางองค์ สนทนากับผม ส่ายหัวให้เลยนะครับบอกว่า ในปัจจุบัน พระอริยะไม่มีแล้ว ที่มีอยู่ ก็ อริยะเก๊ ผมฟังแล้วอึ้ง ๆๆ

   :41: :s_hi: :49:
บันทึกการเข้า

sutthitum

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อาจจะเป็นเพราะว่า ในปัจจุบัน พวกเราให้ความใส่ใจ ในการบำรุงพระสงฆ์ปฏิบัติดีกันน้อย แต่ส่งเสริมพระที่มีสมณศักดิ์มากกว่า เนื่องด้วยคุณธรรมเป็นสิ่งที่เราเข้าถึงได้ยากในตัวบุคคล ด้วยครับ

อ่านเรื่องนี้ประกอบด้วยนะครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1166.0

 :25: :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค กัสสปสังยุตต์
สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

อรรถกถาปรัมมรณสูตรที่ ๑๒
               
               พึงทราบวินิจฉัยในสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า อญฺญาย สณฺฐหึสุ ภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผล.
               บทว่า สทฺธมฺมปฏิรูปกํ ได้แก่ สัทธรรมปฏิรูป ๒ คือ
                      สัทธรรมปฏิรูป คือ อธิคม ๑
                      สัทธรรมปฏิรูป คือ ปริยัติ ๑.


               ในสัทธรรมปฏิรูปกะนั้น
               ฐานะ ๑๐ เหล่านี้ คือ จิตย่อมหวั่นไหวด้วยฐานะเหล่าใด คือ
               หวั่นไหวในโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข และหวั่นไหวในอธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขาอาวัชชนะ อุเบกขานิกันติ
               ปัญญาอันผู้ใดอบรมแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาดในความฟุ้งซ่านในธรรม จะไม่ถึงความลุ่มหลง ดังนี้.

               นี้ชื่อว่าอธิคม คือ สัทธรรมปฏิรูปกะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนาญาณ.

               ส่วนคำมิใช่พระพุทธพจน์มีคุฬหวินัย คุฬหเวสสันดร คุฬหมโหสถ วัณณปิฎก อังคุลิมาลปิฎก พระรัฐบาลคัชชิตะ ความกระหึ่มของอาฬวกคัชชิตะ เวทัลลปิฏกเป็นต้น นอกจากกถาวัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณวัตถุกถา วิชชากรัณฑกะ ซึ่งยังไม่ยกขึ้นสู่สังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ชื่อว่าสัทธรรมปฏิรูป คือ ปริยัติ.

               บทว่า ชาตรูปปฏิรูปกํ ความว่า ทองคำทำด้วยทองเหลืองอันนายช่างทองเจียระไนออกเป็นเครื่องประดับ. ก็ในเวลามีมหรสพ คนทั้งหลายไปร้านค้า ด้วยคิดว่า เราจักรับเครื่องอาภรณ์ ดังนี้.
               ครั้งนั้น พ่อค้าพูดกับพวกเขาอย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการอาภรณ์เชิญรับอาภรณ์เหล่านี้. เพราะอาภรณ์เหล่านี้หนา สีงาม ราคาก็ถูกด้วย. คนเหล่านั้นฟังพ่อค้าเหล่านั้น รับเอาอาภรณ์เหล่านั้นไปด้วยคิดว่า พ่อค้าเหล่านี้บอกเหตุว่า ท่านใช้อาภรณ์เหล่านี้เล่นนักษัตรได้ งามก็งาม ทั้งราคาก็ถูก ดังนี้.
               ทองคำธรรมชาติ เขาไม่ขาย ฝังเก็บเอาไว้. เมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่าหายไปอย่างนี้.

               บทว่า อถ สทฺธมฺมสฺส อนฺตรธานํ โหติ ได้แก่ สัทธรรมแม้ ๓ อย่างคือ อธิคมสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปริยัติสัทธรรม ย่อมอันตรธาน.

               ก็ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุได้เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา.
               ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ถึงปฏิสัมภิทาไม่ได้ แต่ก็ได้อภิญญา ๖
               ต่อมาเมื่อถึงอภิญญา ๖ ไม่ได้ ก็ถึงวิชชา ๓.
               เมื่อล่วงมาบัดนี้ เมื่อถึงวิชชา ๓ ไม่ได้ จักถึงซึ่งเพียงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
               เมื่อถึงแม้ความสิ้นอาสวะไม่ได้ ก็จักบรรลุอนาคามิผล
               เมื่อบรรลุแม้อนาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จักบรรลุสกทาคามิผล
               เมื่อแม้บรรลุสกทาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จักบรรลุแม้โสดาปัตติผล.
               เมื่อเวลาผ่านไป จักบรรลุแม้โสดาปัตติผลก็ไม่ได้.
               ครั้งนั้นในกาลใด วิปัสสนาจักเริ่มเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ ในกาลนั้น อธิคมสัทธรรมของพวกภิกษุเหล่านั้น จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.


               ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุยังการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิสัมภิทา ๔ ให้บริบูรณ์
               เมื่อกาลล่วงไป เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่อภิญญา ๖ ได้บริบูรณ์
               เมื่อปฏิบัติข้อนั้นแม้ไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่วิชชา ๓ ได้บริบูรณ์
               เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่พระอรหัตผลได้บริบูรณ์
               เมื่อกาลล่วงไป เมื่อปฏิบัติอันสมควรแก่พระอรหัตไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระอนาคามิผลได้บริบูรณ์
               เมื่อปฏิบัติแม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระสกทาคามิผลได้บริบูรณ์
               เมื่อปฏิบัติแม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่โสดาปัตติผลได้บริบูรณ์.
               ส่วนในกาลใด เมื่อปฏิบัติอันสมควรแม้แก่พระโสดาปัตติผลไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์. ในกาลนั้น ปฏิบัติสัทธรรมจักชื่อว่าเสื่อมหายไป.


               จะกล่าวว่า ศาสนาไม่อันตรธานตลอดเวลาที่พระไตรปิฏกพุทธพจน์ยังเป็นไปอยู่ ดังนี้ก็ควร.
               อีกอย่างหนึ่ง ๓ ปิฏกยังดำรงอยู่ เมื่ออภิธรรมปิฏกเสื่อมหายไป ปิฏก ๒ นอกนี้ก็ยังเป็นไปอยู่ ไม่ควรกล่าวว่า ศาสนาอันตรธานแล้ว ดังนี้.

               เมื่อปิฏก ๒ เสื่อมหายไป ก็ยังดำรงอยู่เพียงวินัยปิฏก แม้ในวินัยปิฏกนั้นเมื่อขันธกบริวารเสื่อมหายไป ก็ยังดำรงอยู่เพียงอุภโตวิภังค์ เมื่อมหาวินัยเสื่อมหายไป เมื่อปาติโมกข์สองยังเป็นไปอยู่ ศาสนาอันตรธานก็หามิได้แล.

              แต่เมื่อใดปาติโมกข์สองจักเสื่อมหายไป เมื่อนั้นปริยัติสัทธรรมจักอันตรธาน.
               เมื่อปริยัติสัทธรรมนั้นเสื่อมหายไป ศาสนาชื่อว่าอันตรธานแล้ว.
               ด้วยว่าเมื่อปริยัติเสื่อมหายไป การปฏิบัติก็เสื่อมหายไป เมื่อการปฏิบัติเสื่อมหายไป อธิคมก็เสื่อมหายไป.

               ถามว่า เพราะเหตุไร.
               ตอบว่า ปริยัตินี้เป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นปัจจัยแก่อธิคม. แต่เมื่อว่าโดยการปฏิบัติกำหนดปริยัติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
               ถามว่า ในสมัยกัสสปสัมมาสัมพุทธะ อนาจารภิกษุ๑- ชื่อกบิล จับพัดนั่งบนอาสนะด้วยคิดว่า เราจักสวดปาติโมกข์ดังนี้ จึงถามว่า ในที่นี้ผู้สวดปาติโมกข์ได้มีอยู่หรือ.
____________________________
๑- ม. อนาราธกภิกฺขุ = ภิกษุผู้มิได้รับอาราธนา.



               ครั้งนั้น ภิกษุแม้เหล่าใดสวดปาฏิโมกข์ได้ก็จริง ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้นก็ไม่พูดว่า พวกเราสวดได้ แต่พูดว่า พวกเราสวดไม่ได้ ดังนี้ เพราะกลัวแต่ภิกษุนั้น เธอวางพัดลุกจากอาสนะไปแล้ว.

               ถามว่า ในกาลนั้น ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธะเสื่อมแล้วมิใช่หรือ.
               ตอบว่า เสื่อมแม้ก็จริง ถึงกระนั้นก็กำหนดปริยัติโดยส่วนเดียว. เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีขอบมั่งคั่ง ไม่พึงกล่าวว่าน้ำจักไม่ขังอยู่ดังนี้ เมื่อมีน้ำ ไม่พึงกล่าวว่า ดอกไม้มีดอกปทุมเป็นต้นจักไม่บาน ดังนี้ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อมีพระไตรปิฎก คือ พุทธพจน์ เป็นเช่นขอบอันมั่นคงของสระน้ำใหญ่ ไม่พึงกล่าวว่าไม่มี กุลบุตรยังปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ เป็นเช่นน้ำในสระน้ำใหญ่ ดังนี้.


               แต่กำหนดถึงปริยัติ โดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า เมื่อกุลบุตรเหล่านั้นมีอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า พระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มี เหมือนดอกไม้มีดอกปทุมเป็นต้นในสระน้ำใหญ่ ไม่มีฉะนั้น.

               บทว่า ปฐวีธาตุ ได้แก่ มหาปฐพีหนาได้สองแสนสี่หมื่นนหุต.
               บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ น้ำอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินท่วมสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นสุภกิณหา.
               บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ไฟอันยังกัปให้พินาศ เริ่มแต่แผ่นดินไหม้ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกช้นอาภัสสรา.
               บทว่า วาโยธาตุ ได้แก่ ลมอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินพัดขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นเวหัปผลา ในธรรมมีปฐวีธาตุเป็นต้นเหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะยังสัตถุศาสน์ให้อันตรธานได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้.


               บทว่า อิเธว เต อุปฺปชฺชนฺติ โมฆบุรุษเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในศาสนาของเรานี้นี่แหละ เหมือนสนิมเกิดแต่เหล็ก กัดกร่อนเหล็กฉะนั้น.
               บทว่า โมฆปุริสา คือ บุรุษเปล่า.

               ในบทว่า อาทิเกเนว โอปิลาวติ ได้แก่ ด้วยต้นหน คือด้วยการถือ ได้แก่จับ.
               บทว่า โอปิลาวติ คือ อับปาง.
               มีอธิบายว่า เรืออยู่ในน้ำ บรรทุกสิ่งของย่อมอับปางฉันใด พระสัทธรรมย่อมไม่อันตรธานไป เพราะเต็มด้วยปริยัติเป็นต้นฉันนั้น. เพราะเมื่อปริยัติเสื่อม ปฏิบัติก็เสื่อม. เมื่อปฏิบัติเสื่อม อธิคมก็เสื่อม เมื่อปฏิบัติยังบริบูรณ์อยู่ บุคคลผู้ทรงปริยัติก็ยังปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ ผู้ปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ก็ยังอธิคม (ปฏิเวธ) ให้บริบูรณ์ได้. ท่านแสดงว่า เมื่อปริยัติเป็นต้นเจริญอยู่ ศาสนาของเรายังเจริญ เหมือนดวงจันทร์ส่องแสงอยู่ฉะนั้น.


               บัดนี้ เมื่อทรงแสดงธรรมเป็นเหตุอันตรธาน และความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปญฺจ โข ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมนียา ความว่า ความก้าวลง คือเหตุฝ่ายต่ำ.
               บทว่า อคารวา ในบทว่า สตฺถริ อคารวา เป็นต้น ได้แก่ เว้นความเคารพ.
               บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ความไม่ยำเกรง คือไม่ประพฤติถ่อมตน.
               ในความไม่เคารพนั้น ภิกษุใดขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ กั้นร่ม สวมรองเท้า แลดูแต่ที่อื่น เดินคุยกันไป. ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระศาสดา.
               ภิกษุใด เมื่อเขาประกาศเวลาฟังธรรม อันภิกษุหนุ่มและสามเณรนั่งห้อมล้อม หรือกำลังทำนวกรรมเป็นต้นอย่างอื่น นั่งหลับในโรงฟังธรรม หรือเป็นผู้ฟุ้งซ่าน นั่งคุยเรื่องอื่น ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระธรรม.

               ส่วนภิกษุใดไปสู่ที่บำรุงของพระเถระ นั่งไม่ไหว้ เอามือรัดเข่า ทำการบิดผ้า ก็หรือคะนองมือและเท้าอย่างอื่น มิได้รับการกล่าวเชื้อเชิญในสำนักของพระเถระผู้แก่ ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระสงฆ์.
               ส่วนผู้ไม่ยังสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ เป็นผู้ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสิกขา. ผู้ไม่ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด หรือไม่ทำความเพียร เพื่อความเกิดสมาบัติเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสมาธิ.
               ธรรมฝ่ายขาว พึงทราบโดยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วแล ด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓   



ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531
ขอบคุณภาพจาก http://sphotos.ak.fbcdn.net/,http://www.kunkroo.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ