สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 15, 2011, 07:51:54 am



หัวข้อ: คนส่วนใหญ่ มักจะหวังบรรลุธรรม จากการ "ฟัง"
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 15, 2011, 07:51:54 am
เท่าที่อาตมาได้เดินทาง ไปศึกษาธรรม แล้วส่วนใหญ่ เท่าที่เห็นจะไม่ค่อยภาวนากันทางจิต

แตุ่ทุกคนจะมีนิสัย ประจำอย่าง คือชอบฟัง และ ไม่ได้ภาวนาอะไรนอกจากฟ้ง ดังนั้นจึมีผู้ชื่นชอบฟังธรรม

กันเป็นนิสัย ( ดีไหม ? ดีสิจ๊ะ ) แต่ฟังกันอย่างเดียว และหวังบรรลุธรรม จากการฟัง

ซึ่งหลังจากฟัง แล้วก็ไม่ได้ มาโยนิโสมนสิการ ต่อ หรือมาทำ ธรรมวิจยะ ด้วยแล้ว จึงทำให้เหตุบรรลุธรรม

ไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะรอโอกาสบรรลุธรรม จากการฟังเพียงอย่างเดียว

เจริญธรรม

 ;)


หัวข้อ: Re: คนส่วนใหญ่ มักจะหวังบรรลุธรรม จากการ "ฟัง"
เริ่มหัวข้อโดย: suchin_tum ที่ เมษายน 15, 2011, 08:53:48 am
เรื่อง ฟังธรรมแล้วบรรลุ ในคราวที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทศน์ พระสาวกฟัง พระสาวกเหล่านั้นส่วนใหญ่ได้ ฌาน-สมาบัติ8 แล้ว ทั้งนั้น จิตจึงสามารถ แตกกองพระไตรลักษณ์ปหานกิเลสขาดขณะฟังธรรมได้
     แต่โอกาสที่คนธรรมดาที่จะฟังธรรมแล้วบรรลุธรรม นั้นคงยากมาก คงได้แค่ความ สุขใจ แต่ไม่ได้บรรลุ เพราะไปหลงว่าฟังธรรมบรรลุตามหนังสือพุทธประวัติ ที่พระสาวกได้บรรลุกัน ไปยึดถือพอใจตามเค้าว่า แล้วเอามาเป็นเรา.


หัวข้อ: Re: คนส่วนใหญ่ มักจะหวังบรรลุธรรม จากการ "ฟัง"
เริ่มหัวข้อโดย: nirvanar55 ที่ เมษายน 10, 2012, 09:04:27 pm
แล้วทำอย่างไร จะแก้นิสัย ที่ชอบฟังอย่างเดียวนี้ได้ ครับ
ผมเองก็ชอบฟัง ครับ ไปฟังพระบรรยายธรรมแล้วทำให้อารมณ์ ดีครับ เช่นพระมหาสมปอง พระพยอม อย่างนี้ผมชอบฟัง เพระาฟังแล้วรู้สึกประเทืองปัญญา ดีครับ

   ฟังภาวนา ทำอย่างไรครับ ถ้าเราจะภาวนาโดยไม่ฟังจะทำได้หรือครับ

   :smiley_confused1:

(http://statics.atcloud.com/files/entries/8/84555/images/1_original.jpg)(http://region4.prd.go.th/images/article/news1328/n20101125094559_22794.jpg)


หัวข้อ: Re: คนส่วนใหญ่ มักจะหวังบรรลุธรรม จากการ "ฟัง"
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 11, 2012, 08:15:33 am
การฟังธรรมตามกาล เป็น อุดมมงคล

ดังนั้นไม่ว่าท่านจะฟัง จากใครก็ตาม ถ้าสิ่งนั้นเป็นธรรม คือประกอบด้วย อริยสัจจะทั้ง 4 ธรรมนั้นก็เป็นธรรมที่ชื่อว่า ควรแก่การฟัง และ เป็นอุดมมงคล

 ส่วนเมื่อท่านทั้งหลายฟังแล้ว ก็ควร น้อมมาไว้ในใจโดยแยบคาย และ ใคร่ครวญในธรรมนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการภาวนาต่อไป

 หัวใจของบัณฑิต มี 4 ประการ คือ สุ จิ ปุ ลิ
 
  สุ คือ สุตตะ การฟัง

  จิ คือ จินตา รู้จักพิจารณา

  ปุ คือ ปุจฉา คือการสอบถามสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ

  ลิ คือ จดจำ บันทึำก ไว้เพื่อประโยชน์ แต่การภาวนา


  (http://www.tourwat.com/wp-content/uploads/original_page029.jpg)

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.tourwat.com/ (http://www.tourwat.com/)