สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 02, 2011, 09:11:42 am



หัวข้อ: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 02, 2011, 09:11:42 am
พอพูดถึง การภาวนา ทุกคนจะนึกถึงเรื่อง วิปัสสนา กันก่อนเพราะว่าคิดว่า ทำได้ง่าย ปฏิบัติ ได้ง่ายเพียงเพราะความคิดอย่างนี้ ก็ควรอนุโมทนาด้วยแล้ว แต่เพราะคิดว่าง่าย นี่ละสิ นะ ถึงทำให้ผู้ภาวนาบางท่าน ภาวนากันมาตั้งแต่ กลางคน จนอายุ 70 80 90 ปี แล้วได้สนทนากับอาตมาว่า ยังไม่ไปไหนเลยครับ ยังไม่ได้สำเร็จอะไรเลยท่าน ดังนั้นเพื่อการเจริญ วิปัสสนา ให้ถูกทาง จะมาแนะนำเรื่องสำคัญของการเจริญวิปัสสนา ซึ่งมีความจำเป็น หากท่านยังไม่รู้และยังไม่เข้าใจใน วิปัสสนาภูมิ การเจริญภาวนาให้เห็นธรรมอย่างขาดนั้นเป็นไปได้ยาก

วิัปัสสนาภูมิ อ้างอิงจาก หนังสือ หลักปฏิบัติสมถะวิปัสสนากรรมฐาน เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร
วัดราชสิทธาราม พระอาจารย์ใหญ่ผู้สืบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับในปัจจุบัน คณะ 5





วิปัสสนาภูมิ คือ อะไร ?

วิปัสสนาภูมิ คือ ความรู้เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด ของวิปัสสนา ไม่ใช่เป็นเพียงแต่เริ่มต้น แต่เป็นถึงที่สุดดังนั้นวิปัสสนาภูิมิ จึงมีความสำคัญในการเจริญภาวนาวิปัสสนา เป็นอุปกรณ์จิต ลำดับจิต วิธีการเจริญจิต ทั้งหมด




วิปัสสนาภูมิ เหมาะแก่ใคร ?
วิปัสสนาภูมิ เหมาะแก่ผู้ที่มีความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ ผู้ที่ไม่ต้องการเกิดอีก ไม่อยากเวียนว่ายในกองทุกข์อีก ดังนั้นวิปัสสนาภูมิ เหมาะแก่ โคตรภูบุคคล จนถึง พระอนาคามีบุคคล และ พระอรหัตตมรรคบุคคล
ในกรรมฐานมัชฌิมา จึงมีการภาวนาคำว่า สัมมาอรหัง และ อรหัง

  สัมมาอรหัง คือ พระอริยะมรรค ตั้งแต่ โคตรภฺญาณ ถึง พระอรหัตตมรรค เป็นส่วนเหตุ
  อรหัง ก็คือ พระอรหัตตผล พระนิพพาน เป็นผล เป็นนิโรธ



วิปัสสนาภูมิ มีอะไรบ้าง

วิปัสนนาภูมิ มี 6

1. ขันธ์ 5
2. อายตนะ 12
3. ธาตุ 18
4. อินทรีย์ 22
5. อริยสัจจะ 4
6. ปฏิจจสมุปบาท 12

 ส่วนรายละเอียด จะมาเพิ่มเติมทีหลัง
 วานท่านใด โพสต์เป็นข้อ ๆ ได้ก็ยิ่งดี

เจริญธรรม

 ;)




Aeva Debug: 0.0008 seconds.


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 02, 2011, 07:00:30 pm
ย่อวิปัสสนาภูมิ 6

    ๑. ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ๒. อายตนะ ๑๒ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

    ๓. ธาตุ ๑๘ ได้แก่ จักขุธาตุ โสตะธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กาย-ธาตุ มโนธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันทะธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุจักษุวิญญาณธาตุ โสตะวิญญาณธาตุ ฆานะวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุกายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

    ๔. อินทรีย์ ๒๒ ได้แก่ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหิน-ทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัททินทรีย์วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์

    ๕. อริสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ๖. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ได้แก่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูปสฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมะนัส สุปายาส

พระอริยบุคคล ๒ ประเภท
    ๑. สุกขวิปัสสกะ คือ พระอริยบุคคล ผู้บรรลุมรรคจิตด้วยปัญญาวิมุติผู้พ้นจากกิเลสเพราะปัญญา โดยไม่มีฌานจิตเป็นบาทคือไม่ได้บรรลุฌานจิตไม่สามารถเข้าฌานสมาบัติได้ การนับประเภทจิตโดยนัยมี ๘๙ ดวง

    ๒. เจโตวิมุตติ คือ พระอริยบุคคลผู้บรรลุมรรคจิตผลจิต หลุดพ้นเพราะสมาธิโดยมีฌานจิตเป็นบาท เป็นผู้บรรลุฌานพร้อมด้วยวสี พระอริยะบุคคลผู้บรรลุมรรคผลนิพพานพร้อมด้วยองค์ของฌานจิตขั้นต่างๆ จึงเป็นเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากกิเลสด้วยปัญญา และความสงบของฌาณจิตขั้นต่างๆการนับประเภทจิตโดยนัย ๑๒๑ ดวง จึงนับโดยนัยของพระอริยบุคคลผู้เป็นเจโตวิมุตติ

    การบรรลุอริยสัจธรรม คือ การเกิดปัญญาญาณรู้ลักษณะของนามและรูป เมื่อปัญญาสมบูรณ์มั่นคงถึงขั้นใด มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตที่เป็น“วิปัสสนาญาณ” ก็เกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมตามลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณทางมโนทวาร

วิปัสสนาญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ)
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณเกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่แยกขาดจากกัน ทีละอารมณ์โลก ปรากฏสภาพที่สูญเปล่าจากตัวตนไม่มีอัตตสัญญาที่กายทรงจำสภาพธรรม มีสภาพธรรมปรากฏลักษณะที่เป็นอนัตตา สันตติขาดเห็นรูปนามเบื้องแรกจะมีอาการตกใจ ผู้ปฏิบัติจะอุทาน ว่า อ้อ นี่หรือรูปนามที่

เราพยายามหาทั้งกลางวันกลางคืน ไม่ใช่อื่นไกลเส้นผมบังภูเขานี่เอง เช่นนี้ก็ตัดสินใจได้ว่าสัตว์บุคคลเทวดาพรหมอื่นนอกจากรูปนาม ไปไม่มี ทั้ง ๓๑ ภูมิ มีแต่รูปกับนามเท่านั้น มีอยู่ที่ใดมีทุกข์ที่นั่นญาณนี้เรียกว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ” นั่นเอง คือ ความเห็นอันบริสุทธ์ว่ามีแต่รูปนามเท่านั้น และเป็น วิปัสสนาญาณขั้นต้นนำทางไปสู่วิปัสสนาญาณขั้นต่อๆ ไป

    ๒. ปัจจยปริคคหญาณ คือ ญาณที่รู้ชัดถึงความต่างกันของรูปนาม ขณะที่วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นและขณะที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณเกิด หรือเรียกว่าญาณแจกปัจจัยแห่งรูปนามที่กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูป ดุจนายแพทย์ค้นหาสมุฏฐานของโรค เมื่อแสวงหาเหตุก็จะเห็นว่า รูปนามเกิดจากธรรม ๕ อย่างคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม และอาหาร เป็นเหตุให้เกิดรูปปัจจัยโดยมีอาหารเป็นปัจจัยอุปถัมภ์รูป ต่อนั้นไปก็จะเห็นเหตุปัจจัยของนามมีจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นต้น

จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะจักขุปสาทะกับรูปารมณ์แสงสว่าง มนสิการ เมื่อประชุมพร้อมกันทั้ง ๔ อย่างจึงเกิดขึ้นได้ แม้โสตวิญญาณชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ก็ทำนองเดียวกัน เมื่อเห็นอย่างนี้ก็จะละคลายความสงสัยทั้งปวงเสียได้ ญาณนี้เรียกว่า “กังขา วิตรณวิสุทธิ” คือมีความรู้ความเห็นอันบริสุทธิ์ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้

    ๓. สัมมสนญาณ คือ ปัญญาญาณที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วของนามธรรมและรูปธรรมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แยกออกเป็น ๔ นัย คือ

    (๑) กลาปสัมมสนนัย เห็นชัดถึงรูปอดีต ปัจจุบัน อนาคต รูปภายใน-นอก รูปหยาบ-ละเอียด รูปใกล้-ไกล รูปเลว-ประณีต ทั้งหมดเป็นอนิจจังสิ้นไปถ่ายเดียวไม่มีกลับ
    (๒) อัทธานสัมมสนนัย เห็นรูปนามในอดีตไม่เป็นปัจจุบัน รูปนามปัจจุบันไม่เป็นอนาคต รูปภายในไม่เป็นรูปภายนอก ฯลฯ เป็นต้น มีเหตุปัจจัยกันอยู่ ปัจจุบันดี อนาคตดี ปัจจุบันชั่ว อนาคตชั่ว อุปมาเหมือนดวงตราเมื่อประทับลงในกระดาษนั้นรูปตราปรากฏอยู่ แต่ดวงตราหาติดกระดาษไม่
    (๓) สันตติสัมมสนนัย พิจารณาเห็นรูปร้อนหายไปรูปเย็นเกิด รูปเย็น-ดับรูปร้อนเกิด รูปนามไม่เที่ยงเป็นอนัตตา
    (๔) ขณสัมมสนนัย เห็นความเกิดดับกันอยู่เรื่อยไป ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่งนอน และเห็นว่า ขันธ์ ๕ เกิด เพราะ อวิชชาเกิด ขันธ์ ๕ ดับ เพราะอวิชชาดับ

    เมื่อพระโยคีหรือผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาญาณเห็นความเกิดดับของรูปนามดังกล่าวมานี้ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ได้แก่ โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิสุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา และนิกันติ ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ถ้ามีสติติดต่อกันจริงๆ แล้ว วิปัสสนูปกิเลส อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ ตั้งแต่ญาณ ๑ถึงญาณ ๓ นี้เรียกว่า “ญาตปริญญา” คือ ปัญญาที่ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏโดยสภาพไม่ใช่ตัวตน เป็นพื้นฐานให้น้อมพิจารณา ลักษณะของรูปนามอื่นเพิ่มขึ้น

    ๔. อุทยัพพยญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละประเภทอย่างชัดเจนยิ่ง รูปนามที่เกิดสันตติขาดเป็นห้วงๆ ประหนึ่งคนแกว่งธูป เมื่อแกว่งเร็วก็เกิดดับติดๆกันไป เราเห็นควันธูปเป็นไม่ดับ แต่ที่แท้ควันธูปดับอยู่เสมอ เรียกญาณนี้ว่า “ตีรณปริญญาญาณ” คือ ปัญญาที่พิจารณาลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏเสมอกันทั้ง ๖ ทวาร ไม่เจาะจงฝักใฝ่มุ่งหวังเฉพาะรูปนามใดรูปนามหนึ่ง ความสมบูรณ์ของปัญญารู้ชัดเสมอกัน

อนึ่ง ญาณนี้เมื่อสมาธิมากขึ้น นึกอยากจะเห็นอะไรก็เห็นหมด จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นย่อมจะเป็นนิมิตมาให้เห็นได้ทั้งนั้น ฉะนั้นต้องระวังให้มากอย่าอยากเห็นเป็นอันขาด เพราะจะทำให้วิปัสสนารั่วและจะเสียปัจจุบันธรรม ทางนั้นเป็นสมถะไม่ใช่วิปัสสนา

    ๕. ภังคญาณ คือ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความไม่มีสาระของการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมที่ปรากฏเป็น “ปหานปริญญา” คือ ปัญญาที่รอบรู้เพิ่มขึ้นละคลายความยินดีในนามรูป เห็นโทษของนามรูปเพิ่มขึ้น ละวิปลาสเสียได้ คือ ละความเห็นว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าเป็นตัวตน ว่าสวย ว่างาม

    ๖. ภยญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัวดุจราชสีห์
    ๗. อาทีนวญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นรูปนามมีแต่โทษไม่มีคุณดุจเรือนไฟที่ติดทั่วแล้วฉะนั้น
    ๘. นิพพิทาญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายละคลายความเห็นที่เห็นชอบที่เคยมาแล้ว

    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาให้จิตใคร่จะพ้นไปจากรูปนาม ดุจมัจฉาอยากจะพ้นข่าย ไม่อยากมีรูปนาม
    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณารูปนามซ้ำเพื่อทำอุบายให้พ้นจากรูปนามนั้นเสีย
    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ คือ ปัญญาที่รู้ชัดในความวางเฉยในรูปนามรู้ว่ารูปนามเป็นวิบาก ไม่เป็นของที่จะละได้ จะต้องเป็นอยู่อย่างนี้เป็นธรรมที่ให้ต้องกำหนดรู้ เรียกว่า “ปริญเญยกิจ”

    ๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ คือ ญาณปัญญาที่มีกำลังพอที่จะเห็นอริยสัจเรียกว่า “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ” คือ มีความรู้อันบริสุทธิ์ดำเนินไปโดยลำดับ
    ๑๓. โคตรภูญาณ คือ ญาณที่ตัดกระแสเชื้อของปุถุชนหน่วงนิพพานเป็นอารมณ์ ทำลายโคตรปุถุชน หยั่งลงสู่อริยโคตร

    ๑๔. มัคคญาณ คือ ญาณปหานกิเลสเป็นสมุจเฉท เป็นพระอริยบุคคล
    ๑๕. ผลญาณ คือ ญาณเสวยวิมุตติสุขอันเป็นวิบากของมรรค
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณพิจารณารู้กิเลสที่เหลือและหมดไปในผลปริโยสาณ จิตหยั่งลงสู่ภวังค์ พิจารณากิเลสที่ละแล้ว พิจารณากิเลสที่เหลืออยู่ ว่ากิเลสเหล่านี้เราละแล้ว อวสานพิจารณา ถึงอมตะนิพพานว่า ธรรมที่เราแทงตลอดแล้ว

ที่มา  http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1121.php (http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1121.php)


ผมแนบไฟล์หนังสือ "วิปัสสนาภูมิ" มาให้ครับ


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 03, 2011, 08:39:00 am
อนุโมทนา กับคุณปุ้ม nathaponson ด้วยที่นำวิปัสสนาอย่างย่อ มาช่วยสนับสนุน นะจ๊ะ

สาธุ ขอให้ทุกท่านได้อ่านให้เข้าใจ นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)


หัวข้อ: มาเข้าใจเบื้องต้น ถึง เบื้องปลาย ในเรื่อง ขันธ์ 5
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 03, 2011, 08:56:42 am
วิปัสสนาภูมิ ที่ 1  ขันธ์ 5


ขันธ์ 5 คือ อะไร ?

ชันธ์ ก็คือ กอง หมวด กลุ่ม ที่ใหญ่ ๆ ในที่นี้หมายถึง ชีวิตของเรา

ชีวิตของเรา มี สองส่วน สั้น ๆ ก็ืคือ กาย และ ใจ

รูป คือ กาย 

กาย คือ รูป

กาย (รูป) มี อยู่ 6 ส่วน
ในการภาวนา รู้อย่างผู้ภาวนาเป็น ภาวนามยปัญญาไม่ใช่รู้อย่างปริยัติ ให้รู้อย่างนี้

1.กายที่เป็นไปในภายใน
2.กายที่เป็นไปในภายนอก
3.การพิจารณาเห็นกายที่เป็นไปในภายใน และ ภายนอก
4.กายที่มีความเสื่อมเป็นไปในภายใน
5.กายที่มีความเสื่อมเป็นไปในภายนอก
6.การพิจารณาเห็น ความเสื่อมของกายที่เป็นภายใน และภายนอก
ผู้พิจารณาเห็นกายดังนี้   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ  มีสติ   กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส ในโลกเสียได้ชื่อว่าเห็น กาย ( รูป )



หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ทินกร ที่ มิถุนายน 03, 2011, 09:02:53 am
สาธุ สาธุ สาธุ


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มิถุนายน 03, 2011, 09:12:57 am
วิปัสสนาภูมิ ที่ 1  ขันธ์ 5 ส่วน รูป ( ย่อ )

1.กายที่เป็นไปในภายใน  ในแนวทางปฏิบัติ จะรู้ได้ด้วยการเรียนรู้ อานาปานบรรพ
อานาปานบรรพ คือ การเรียนรู้อย่างมีสติในลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก

(https://lh4.googleusercontent.com/-zQpneaY7ds8/TYG7G1oDoKI/AAAAAAAAAEw/eN0hi1-83GQ/s1600/deep-breath.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก https://lh4.googleusercontent.com

มี 16 ระดับ

ผล คือ ผู้ภาวนาจะเห็นความสำคัญของลมหายใจเข้าออก คือ ชีวิต และ ชีวิต คือ ลมหายใจเข้าออก
เพราะชีวิตจะมีอยุ่ได้ ต้องมี ลมหายใจเข้าและออก ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร ก็ต้องมีลมหายใจเข้าและออก

มีสุข ก็มีลมหายใจเข้าและออก
มีทุกข์ ก็มีลมหายใจเข้าและออก
มีอารมณ์กลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็มีลมหายใจเข้าและออก

มีกิเลส ก็มีลมหายใจเข้าและออก
ไม่มีกิเลส ก็มีลมหายใจเข้าและออก

ทำกุศล ( มีการภาวนา เป็นต้น ) ก็มีลมหายใจเข้าและออก
ทำอกุุศล ( มีการฆ่า เป็นต้น ) ก็มีลมหายใจเข้าและออก

ดังนั้น ชีวิต ก็คือ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก
ผู้ภาวนาได้ส่วนนี้ เรียกว่า เข้าใจ รูปขันธ์ คือ กายส่วนที่ 1 อันเรียกว่า การเห็นกายในภายใน

ที่ต้องกล่าวว่าเป็นภายใน เพราะจับต้องได้เฉพะาเตน เป็นลมหายใจเข้าและออก เฉพาะตน

ความพิศดาร เรื่อง ลมหายใจเข้าและออก

อยู่ที่การเข้าใจ ลมหายใจเข้าและออก มีอยุ่ สามส่วน

   1.ส่วนที่เป็นอานา ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ส่วนเสียที่ปรับสมดุลย์ เรียกว่า อัสสาสะ และปัสสาสะ

   2.ส่วนที่เป็นปาน ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ที่เป็นส่วนสร้างเสริม  เรียกว่า ปราณ (ลมปราณ)

   3.ส่วนที่เป็นสติ (ญาณ) ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ของผู้ภาวนาที่บรรลุธรรม เรียกว่า นิสวาตะ

ทั้งหมดนี้เรียนรู้ ภาวนาให้เ็ห็น เพียงในกายในภายในเท่านั้น

เจริญธรรมเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

 ;)


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 05, 2011, 08:49:02 pm
สำหรับเรื่อง อานาปาบรรพ
ไปอ่านต่อได้ในเรื่อง อานาปานสิตปฏิสัมภิทามรรค เพิ่มเติมได้นะจ๊ะ
อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา (http://index.php?topic=811.msg3425#msg3425)http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=811.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=811.0)

ส่วนหัวข้ออื่น จะทะยอยลงไปเรื่อย ๆ แต่ต้องการให้ท่านอ่านอย่างเข้าใจ
ไม่ต้องรีบร้อนในการอ่าน ๆ ซ้ำไปซ้ำมา อย่างไรก็เป็นเรื่องที่ต้องทำไว้ในใจโดยแยบคายด้วย นะจ๊ะ

เจริญธรรม
 ;)


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 06, 2011, 07:41:17 am
วิปัสสนาภูมิ ที่ 1 ขันธ์ 5  รูป ( ย่อ )



2.กายที่เป็นไปในภายนอก ในแนวปฏิบัติจะกำหนดรู้ได้ด้วย อิริยาปถบรรพ

การกำหนดรู้กายภายใน คือ ลมหายใจเข้าออก
แต่การกำหนดรู้กายภายนอก ต้ออาศัย อิริยาบถเป็นเครื่องกำหนด ในกรรมฐาน มีการกำหนดจังหวะรู้

การเดิน ยืน นั่ง นอน ล้วนแล้วเป็นส่วนภายนอก

ผู้ฝึกส่วนใหญ่ จะอาศัย อิริยาบถเป็นครื่องบำเพ็ญและกำหนด


(http://www.bloggang.com/data/truthoflife/picture/1294397797.jpg)
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com (http://www.bloggang.com)

อิริยาบถ เดิน
(http://www.krudang.com/news52/nongpayom/DSC00521.JPG)
อิริยาบถนั่ง
(http://www.madchima.net/images/228_stan.jpg)
อิริยาบถยืน
(http://www.madchima.net/images/792_sleep.jpg)
อิริยาบถนอน



การฝึกก็เป็นไปตามถนัด

เมื่อบุคคลเข้าไปกำหนดรู้กาย ทั้งภายใน และ ภายนอก สติย่อมตั้งมั่น กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่ารู้
สักว่า ระลึกเท่านั้น บุคคลนั้นเป็นอันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก






หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มิถุนายน 06, 2011, 08:12:08 am
บางท่านกล่าวว่า รู้ขันธ์ คือ รู้วิปัสสนา

ดังนั้น รู้รูป คือ รู้กาย รู้ธาตุ ด้วย จึงจะเป็นวิปัสสนา

รู้ นี้ คือ กับ รู้ นาม

ที่ศัพท์ทางธรรม จะได้ยินบ่อย ๆ คือ รู้รูป รู้นาม รู้รูปนาม

 ในวิปัสสนาญาณ เป็นขั้นที่ 1 คือ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณ กำหนดรู้ นามรูป









หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 08, 2011, 07:45:08 am
ค่อย ๆ ศึกษาที่ละส่วน ไม่ต้องรีบร้อนนะจ๊ะ

 ;)


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ กันยายน 01, 2011, 07:27:24 pm
รู้สึกว่า ตามอ่านเรื่องนี้ แล้ว น่าสนใจมาก แต่พระอาจารย์ ไม่เพิ่มเลยน่าเสียดายบทต่อไปจริง ๆ ครับ

มีเสียงบรรยาย เรื่อง นี้หรือไม่ครับ

  ผมสนใจมาก ครับ

  :25:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: เพียงเ็พ็ญ ก่ำสุข ที่ กันยายน 02, 2011, 09:47:21 am
ติดตามเรื่องนี้ อยู่เหมือนกันคะ ไม่รู้ว่า พระอาจารย์เมื่อไหร่ จะมาอธิบายต่อ คะ แบบว่ายังอยู่ในช่วงเข้าพรรษาอยู่ จึงไม่สอบถามไปทางเมล คะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: pornpimol ที่ กันยายน 02, 2011, 10:20:40 am
เรื่องนี้ ก็อ่านติดตามอยู่คะ เพราะรู้สึก พระอาจารย์ เริ่มให้เนื้อหาเ้ข้มข้น ขึ้น เพียงแค่เรื่องรูป ก็มี นัยยะที่เหนือความคาดหมาย ความเข้าใจ มากเลยคะ ยังรอตามอ่านเรื่องนี้อยู่เลยคะ

 ถ้าเป็นไปได้ ถ้าพระอาจารย์ ทำหนังสือเล่มนี้ออกมาก็จะได้ร่วมเป็นเจ้าภาพด้วยคะ

  :25:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ก้านตอง ที่ กันยายน 02, 2011, 08:14:17 pm
สนใจ ที่พระอาจารย์ บรรยายคะ เพราะรู้สึก เดาไม่ได้ เหนือ ความคาดหมายคะ

 ติดตามเนื้อหา อยู่คะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ กันยายน 13, 2011, 06:59:10 pm
ผมยังรอ และติดตามอ่านเรื่องนี้ อยู่ครับ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ก้านตอง ที่ กันยายน 18, 2011, 03:57:28 pm
สงสัยกว่า จะได้อ่านเรื่องนี้ ต่อต้องรอออกพรรษา แล้ว ซะละมั้ง

ถ้าอย่างนี้ต้อง พึ่งพาศิษย์พี่กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

อธิบายเสริมต่อจากนี้ได้หรือไม่ คะ

  หรือมีไฟล์เสียงบรรยาย ของพระอาจารย์ เรื่องวิปัสสนา หรือไม่คะ

   :s_hi: :25:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 13, 2011, 09:05:56 am
สำหรับเรื่องนี้ ถ้ามีเวลาก็จะมาพิมพ์ต่อนะจ๊ะ
แต่อยากให้ศิษย์ กรรมฐาน ที่ได้เรียนไป แล้ว ธรรมวิจารณ์ ในกรรมฐาน เสริมต่อแต่ดูมา หลายเดือนยังไม่มีใครต่อเนื้อหาส่วนนี้ได้

 ก็จะพยายาม หาเวลามาพิมพ์อธิบายเพิ่มเติม

 เจริญพร ที่ติดตามกัน
 
  ;)


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: magicmo ที่ เมษายน 23, 2012, 05:49:44 pm
 ;)  ขอบคุณข้อมูลมากครับ