ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อะไร เรียกว่า ความสุข ครับ ในการปฏิบัติธรรม จะมี สุข แบบไหน ครับ  (อ่าน 1950 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
  เรียนถาม ครับ เห็นว่าพระอาจารย์ เริ่มมาโพสต์ แล้ว

  อะไร เรียกว่า ความสุข ครับ ในการปฏิบัติธรรม จะมี สุข แบบไหน ครับ

 thk56
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 ans1

   ความสุข คือ จิต ที่ เสวยอารมณ์ อันประกอบด้วยความยินดี สำหรับปุถุชน คือการสมหวังทางตัณหา คือ อยากได้ แล้ว ได้ มีความสุข อยากเป็น แล้ว เป็น มีความสุข ไม่อยากมี ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น สมหวังดั่งใจ มีความสุข  อันนี้เรียกว่า สุข แบบ ชาวโลก หรือ เรียกง่าย ๆ ว่า โลกีย์สุข

   ความสุข ในทาง พระพุทธศาสนา หมายถึง ความสุข 3 ระดับ

   คือ

     1.ความสุข ที่ได้ ศีกษา ปริยัติธรรม เช่นการฟังธรรม การสนทนาธรรม  ความสุขพวกนี้ มิได้อิงอามิส ประกอบด้วย จิตที่เป็นกุศล พ้นจากความมี ความเป็น ความอยาก เพราะผลนั้นไม่ได้ตามใจนึก

   อันนี้เรียกว่า ความสุขเบื้องต้น หรือ เข้าใจได้ง่าย ๆ ก็คือ โลกุตตระสุข อย่างหยาบ

     2.ความสุข ที่ได้ จากการภาวนา เช่นการ ปฏิบัติ ตามองค์ กรรมฐาน หรือ อริยะมรรค ความสุข ประเภทนี้ เป็นสุข ที่จัดได้ว่า อยู่ขั้นกลาง เป็น โลกุตตรสุข ขั้นกลาง
     
     ดังนั้นจะเห็นว่า ท่านที่ชอบการภาวนา ก็จะชอบสันโดษ ชาวภาวนา ชอบเดินจงกรม ชอบ นั่งกรรมฐาน เพราะมีผล ให้ได้สุข ระดับ กลาง

     3.ความสุข ที่ได้จากผลการปฏิบัติ คือ ได้ อริยะผล สำเร็จเป็น พระอริยะบุคคล ตั้งแต่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ความสุขชนิดนี้ เรียกว่า ความสุขขั้น ประณีต เพราะ เป็นผลที่ไม่เสื่อม ได้แล้ว ไม่เสือม ได้แล้ว เป็นเรื่องดี ไม่กลับสู่ อบายภูมิ 4

      ดังนั้น จากคำถาม คงพอจะแยกแยะได้แล้วนะ ว่า คุณ ได้ ความสุขแบบไหน ระดับไหน


  เจริญธรรม / เจริญพร

   ;)
       
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ