ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ระวัง 'พุทธวจน' จะกลายเป็น 'เครื่องหมายการค้า' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว  (อ่าน 1313 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28469
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ระวัง 'พุทธวจน' จะกลายเป็น 'เครื่องหมายการค้า' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว
โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา เรื่องศูนย์ภาพเนชั่น ภาพ

    ปู่ในสวนคนหนึ่ง เล่านิทานเรื่องศิษย์โง่ไปเรียนเซนให้เด็กน้อยฟัง ...
    กาลครั้งหนึ่งมีศิษย์ที่ติดตามอาจาย์เซนมานาน ตั้งคำถามขึ้นว่า
    “อาจารย์ครับ ... ผมจะต้องทำอย่างไร จึงจะเข้าถึงเซนได้”
    “เธอต้องเข้าใจและฝึกปล่อยวางเรื่องตัวกู-ของกูให้ได้”
    “หมายความว่า ผมต้องกำจัดเกลี้ยงซึ่ง ตัวกูของกู แล้วจึงจะเรียนเซนได้ใช่ไหมครับ”
    “ไอ้ศิษย์โง่ ... หากปราศจากสิ้นซึ่งตัวกูของกูแล้ว จะเรียนเซนไปทำไม!!!”


เร็วๆ นี้ ผมเห็นคำว่า “พุทธวจน” กลายเป็นสัญญลักษณ์ (Logo) ติดตามกระจกรถยนต์, ประตูหน้าบ้าน, ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น น้ำยาล้างจาน ฯลฯ ก็เกรงว่า วันหนึ่ง ไม่นานเกินรอ อาจจะมีคนบางคน (หรือพระบางรูป) จะไปจดคำคำนี้ เป็นเครื่องหมายการค้า (Trade mark) ไปเสีย ... ทำให้พุทธบริษัทหลายท่าน หลายคน รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ ที่จะใช้คำนี้ พระอาจารย์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านพุทธทาสรูปหนึ่ง เคยปรารภกับผมว่า ...

ด้วยเหตุนี้ ... อาตมา หลีกเลี่ยงคำว่า “พุทธวจน” หันมาใช้คำว่า “พุทธพจน์” แทน!

 :96: :96: :96: :96: :96:

คำสอนใด ไม่เนื่องด้วยสุญญตา คำสอนนั้นไม่เป็นไปตามพุทธประสงค์ ... ถึงแม้จะคัดลอกจำพุทธวจน เป๊ะๆ แต่ การวางจิตที่ผิดในการสั่งสอน เผยแพร่ มิได้เป็นไปเพื่อสุญญตา กลับเป็นไป ด้วยความยึดมั่นถือมั่น การยกตนข่มท่าน การแบ่งแยกฝักฝ่าย เต็มไปด้วยการสร้างความสับสนโดยไม่เจตนา นำพาความขัดแย้งให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว ถึงขนาดแม่ลูกต้องทะเลาะกัน เพราะ คุณลูกเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าลัทธิพุทธวจน อย่างหัวปักหัวปำ ว่าให้เอาหนังสือสวดมนต์ไปทิ้งเสีย ในขณะที่คุณแม่ ท่านรักในการสวดมนต์ ท่องบ่นบูชาพระรัตนตรัยมาตลอดชีวิต ก็ไม่ยอมให้ทำเช่นนั้นเด็ดขาด!

คำสอน หรือวจนะของพระอรหันตสาวก หรือพระอริยบุคคลทั้งหลาย น่ารังเกียจ ไม่อาจเชื่อถือได้ อย่างนั้นหรือ?

คำอรรถกถา โดยเฉพาะจากพระอรหันต์ในพุทธกาลที่ขยายความจากคำของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นประโยชน์ ไม่ควรละเสีย เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ถึงธรรมจริงๆ มีพระพุทธเจ้าทรงรับรอง ท่านอยู่ร่วมพุทธสมัย ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาหลัก ความเข้าใจในพระพุทธวจน ย่อมลึกซึ้งถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสารีบุตร มีคำพระพุทธเจ้า รับรองถึงความสามารถของพระสารีบุตร ว่าให้เชื่อได้


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ดังนั้น อรรถกถาในสมัยพุทธกาล โดยเฉพาะอรรถกถาของพระสารีบุตรจึงไม่ควรละ เพราะเป็นธรรมเทศนาอันทรงคุณค่ามหาศาล ช่วยอธิบายพระพุทธวจน คำต่อคำ ประโยคต่อประโยค ให้เข้าใจได้พิสดารลึกซึ้งยิ่งขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาผ่านไปมากกว่า ๒๖๐๐ ปี คำบาลีพระพุทธวจนอาจมีการแปลความหมายผิด ตีความผิดเพี้ยนไปได้ การที่มีคำอรรถกถาพระสารีบุตร มาช่วยเป็นแนวทาง จะทำให้การตีความหมาย คำพระพุทธวจนทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น (ชาวพุทธหลายคน อ่านพุทธวจน แล้ว ก็ยังไม่เข้าใจ ปรากฏมีเป็นจำนวนมากเสียด้วย) ดังมียืนยันในพระไตรปิฎก ดังนี้ ...

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๓๓๗/๔๑๓ ข้อที่ ๖๙๘-๖๙๙


๑๑. สัจจวิภังคสูตร (๑๔๑)

[๖๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

[๖๙๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ บอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เหล่าไหน คือ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัย อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ บอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ทั้งสองรูปนี้เป็น บัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง สารีบุตรพอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคต ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร


 st12 st12 st12 st12 st12

ในเมื่อท่านและคณะพุทธวจนของท่าน ได้รวบรวม เรียบเรียงหมวดหมู่ทั้งหมดของพุทธวจน เสร็จสมบูรณ์แล้วทั้งหนังสือ สื่อซีดี MP 3 แม้แต่ในเว็บไซต์ก็ถือว่า ภารกิจเสร็จสมบูรณ์แล้ว กระผมก็ต้องขออนุโมทนาด้วย แต่ไฉนเลย จึงต้องรับงานบรรยายเทศนา พุทธวจน นั้นอีกเล่า ใยท่านมิกริ่งเกรงว่าจะเป็นหนึ่งในการสร้างอรรถาธิบาย เยิ่นเย้อ ยืดยาว หลุดออกจากพุทธวจน ไปอีกหนึ่งท่านด้วยหรือขอรับ

หรือชาวพุทธเรา จะขาดปัญญาในการถกแถลงแสดงธัมมวิจย ต่อเนื่องจากพุทธวจน กันไม่ได้แล้วเลยหรือ?

เกจิอาจารย์รุ่นเก่าก่อนจำต้องถูกดิสเครดิต ลง ครูบาอาจารย์รุ่นหลังอาจต้องตกงาน เพราะจากนี้ไปเราต้องยึดมั่นแต่กับพุทธวจน อย่างหัวสี่เหลี่ยม (มิอาจประยุกต์ได้) หรือไม่ก็ฟังจากการแสดงพุทธวจน จากท่านและคณะเท่านั้น

ครั้งหนึ่งผมเคยได้ฟังกับหูตัวเองจนแทบตกเก้าอี้ ท่านพูดไว้ขณะบรรยายธรรม ณ บ้านของโยมท่านหนึ่ง ว่า...
    “ท่านพุทธทาส ปฏิเสธไม่ยอมใช้คอมพิวเตอร์ ทั้งชีวิตจึงรวบรวมพุทธพจน์ได้เพียง ๕ เล่ม (Series จากพระโอษฐ์) แต่อาตมาใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ ทั้งมีทีมงานร่วม ๒๐ คน รวบรวมพุทธวจนจนสำเร็จ ครบถ้วน”


      st11 st11 st11 st11 st11

     ไม่รู้จะจบบทความชิ้นนี้ด้วยประโยคใดดี นอกจากคำสอนโดยสรุปของชาวพุทธ ที่ว่า ...
     ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ และการจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้นั้น ก็จำต้องปรารภความเพียร ปฏิบัติที่จิตของท่านเท่านั้น ลำพังการศึกษาพุทธวจน อย่างเป็นสัมมาทิฏฐิ เพียวๆ ก็ยังเป็นแค่ปริยัติ ซึ่งมิอาจทำให้ใครบรรลุพระนิพพานได้หรอกนะครับ (ยิ่งถ้าใครศึกษาพุทธวจน อย่างเป็นมิจฉาทิฐิ คือตั้งจิตไว้ไม่ถูก ผูกพันจนยึดถือมั่น กลายเป็นพุทธวจน บดบัง วัตรปฏิบัติ หรือพระอาจารย์ บดบังมิดซึ่งพระพุทธเจ้าปฏิปทา เช่นนี้แล้ว ก็เกรงว่าจะเสียของ)

ท่านจะรู้ได้ด้วยตัวท่านเองว่ามาถูกทางหรือเปล่า ด้วยความรู้สึกจากก้นบึ้งในจิตว่า อะไรๆ ก็ไม่อยากได้ ไม่อยากเอาทั้งหลายทั้งปวง กูก็ไม่เอากับมึงแล้วโว้ย (อตัมมยตา) นี้ ต่างหากผลอันเป็นปัจจัตตัง.....เอวัง

                :25: :25: :25: :25: :25:

               พุทธวจน ... ศึกษาเพื่อละตัวตน
               สู่หนทางแห่งการหลุดพ้น (วิมุตติ) ว่างทั้งคนเรียนและคนสอน
               อาจารย์ท่านนี้ เที่ยววิจารณ์ อรรถาธิบายพระท่านอื่น คือจุดอ่อน
               เหวี่ยงเกจิอาจารย์ ปลิวว่อน แล้วใยยกตนเป็นผู้รับรอง พุทธวจน-แต่ผู้เดียว
               ปริยัติ ปฏิบัติ แล้วจึงเกิดปฏิเวธ
               ใยจึงปฏิเสธ คำสอนผู้บรรลุธรรมท่านอื่น โดยขาดการเฉลียว?
               พุทธวจน คำขององค์พระศาสดา แม้เป็นเอกเดียว
               คำครูบาอาจารย์ ก็โปรดจงได้เฉลียว (อย่าขว้างทิ้ง) หากเป็นไปในทิศทางเดียวกับพระนิพพาน


               พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา
               ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗

ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20141220/198022.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ