ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนอดีต พระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ 'ประมุขสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์'  (อ่าน 572 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ย้อนอดีต พระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ 'ประมุขสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์'
โดย...ไตรเทพ ไกรงู

พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ในวันที่ 16 ธันวาคม ถือเป็นวันสำคัญที่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ตราบชั่วกาลนาน โดยเฉพาะในส่วนของชาวไทย และพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ต่างเฝ้ารอคอยที่จะเข้าร่วมพระราชพิธีเพื่อถวายความอาลัยแด่ประมุขสงฆ์พระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 
ทั้งนี้กว่า 233 ปีในรัชสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยมี “สมเด็จพระสังฆราช” มาแล้วทั้งสิ้นจำนวน 19 พระองค์ ซึ่ง “คม ชัด ลึก” ขอนำเสนอเรื่องราวและความเป็นมาของพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ “สมเด็จพระสังฆราช” องค์สำคัญเมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมา

 
 :25: :25: :25: :25:

พระสังฆราชในประเทศไทย เรียกว่า “สมเด็จพระสังฆราช” คือประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง “สกลมหาสังฆปริณายก” เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์
 
ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทยนำแบบอย่างมาจาก “ลัทธิลังกาวงศ์” ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกาที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย
 
 st12 st12 st12 st12

“สมเด็จพระสังฆราช” พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามว่า “สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)”  เสด็จสถิต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 2 แห่งกรุงธนบุรี และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2325 ได้โปรดเกล้าฯ ให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์ดังเดิม สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.2337 ดำรงตำแหน่งอยู่ 12 ชันษา น่าจะมีพระชันษาไม่น้อยกว่า 80 ปี
 
ส่วน “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ.2456-24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็น “สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19” แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ.2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

 
 st11 st11 st11 st11

เมื่อ “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” หรือ “สมเด็จพระสังฆราช” สิ้นพระชนม์ จะได้รับเครื่องประกอบเกียรติยศ ประกอบด้วย น้ำหลวง ไตรแพรทรงพระศพ พระโกศทองน้อย สมเด็จพระสังฆราชเจ้าจะได้รับพระราชทานฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น สมเด็จพระสังฆราชจะได้รับพระราชทานฉัตรตาดเหลือง 3 ชั้น แขวนเหนือพระโกศ เครื่องสูงทองแผ่ลวด สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำสรงพระศพ และประโคมย่ำยามถึงเที่ยงคืน พระสงฆ์สดับปกรณ์พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมกลางวันและกลางคืน
 
ขณะที่ในด้านของพระราชพิธีอาจมีความแตกต่างกันบ้าง โดย “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” (เชื้อพระวงศ์) จะมีพระราชพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 15 วัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ขณะที่ “สมเด็จพระสังฆราช” (สามัญชน) จะมีพระราชพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 7 วัน ทั้งกลางวันและกลางคืนเท่านั้น จากนั้นจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน ตามพระราชประเพณี เหมือนกัน
 
 ans1 ans1 ans1 ans1

ในอดีตพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชจะจัดสร้าง “พระเมรุ” ที่ท้องสนามหลวง แต่ส่วนใหญ่จะเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า”  ที่ผ่านมามีด้วยกัน 3 พระองค์
 
      1.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระสังฆราชพระองค์ที่ 7 กล่าวว่า ปีขาล เบญจศก จ.ศ.1216 (พ.ศ.2397) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวงแล้วเชิญพระโกศพระศพสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งกระบวนแห่แต่วัดพระเชตุพนไปเข้าพระเมรุท้องสนามหลวง มีการมหรสพ 3 วัน 3 คืน ครั้นเดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ.2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานเพลิงพระศพ
 
      2.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระสังฆราชพระองค์ที่ 8 กล่าวว่า ได้พระราชทานพระโกศกุดั่งใหญ่ทรงพระศพ พระศพสมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระตำหนักเดิม (คือที่เสด็จประทับ) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลาถึง 8 ปี จึงได้พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2443
 
      3.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) พระสังฆราชพระองค์ที่ 10 ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร 30 ปี ทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช 10 ปีกับ 7 เดือนเศษ ถึงเดือนเมษายน 2465 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

 
 ans1 ans1 ans1 ans1

แต่ในกรณี “สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)” สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 3 แม้ไม่ได้เป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ทำ “เมรุผ้าขาว” ที่ท้องสนามหลวง แล้วชักพระศพเข้าสู่เมรุ มีการสมโภช 3 วัน 3 คืน พระราชทานเพลิงเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 1 ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2362
 
จากข้อมูลพบว่า “พระเมรุผ้าขาว”  คือ เมรุที่ดาดผ้าขาวขึงตึงให้เป็นรูปทรงเสมือนอาคารที่ก่ออิฐจริงๆ เมรุชนิดนี้มีหลังคาเป็นเครื่องยอด สำหรับถวายพระเพลิงเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์
 
การจัดพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 4 พระองค์ที่ท้องสนามหลวง กลายเป็นประวัติศาสตร์ เพราะนับตั้งแต่นั้นมาไม่มีสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใดจัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพที่ท้องสนามหลวง โดยมาใช้เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ประกอบพระราชพิธีแทน
 
 :25: :25: :25: :25:

ในรัชกาลปัจจุบัน การออกพระเมรุ “สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” จะต้องใช้เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งเป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชวงศ์ เมื่อถึงวันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพจะมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ราชรถเชิญพระโกศจากที่ประดิษฐานไปพระเมรุหลวง ขบวนแห่พระอิสริยยศเชิญพระศพ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมประจำช่างพระเมรุ สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลารับพระราชทานเพลิงและประโคมย่ำยามถึงเที่ยงคืน พระมหากษัตริย์หรือผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระเมรุ ทรงฟังเทศน์ สดับปกรณ์ เสด็จฯ ขึ้นพระเมรุทรงจุดเพลิง พระราชทานฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า หรือพระราชทานฉัตรตาดเหลือง 3 ชั้น สำหรับสมเด็จพระสังฆราช แขวนสุมพระอัฐิบนพระเมรุ
 
สุสานหลวง “วัดเทพศิรินทราวาส” ใช้เป็นที่สำหรับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว ซึ่งสร้างตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 
 st12 st12 st12 st12

ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุขึ้นเมื่อคราวเตรียมการพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และใช้เป็นเมรุที่ใช้พระราชทานเพลิงศพตลอดมาจนปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้พระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 17 "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) และสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพที่สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาสเช่นกัน
 
ในการนี้สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาสเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ “สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” อีกเช่นกัน


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20151213/218504.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ