ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศล คือ กุศลศีล  (อ่าน 6220 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ใน  กิมัตถิยสูตร  อังคุตตรนิกาย  ทสกนิบาต  ข้อ  ๑  พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ทรงแสดงอานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศล  คือ  กุศลศีล  ที่มีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน แก่ท่านพระอานนท์ไว้  ๑๐ 
ประการ  คือ
   ๑.  ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร  คือความไม่เดือดร้อนใจเป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๒.  ความไม่เดือดร้อนใจมีความปราโมทย์เป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๓.  ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๔.  ปีติมีปัสสัทธิ  คือความสงบใจเป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๕.  ปัสสัทธิ  มีสุข  คือความสุขใจเป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๖.  สุขมีสมาธิเป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๗.  สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ  คือความเห็นด้วยญาณตามความเป็นจริงเป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๘.  ยถาภูตญาณทัสสนะ  มีนิพพิทาวิราคะ  คือความหน่ายความคลายเป็นผล  เป็นอานิสงส์
   ๙.  นิพพิทาวิราคะ  มีวิมุตติญาณทัสสนะ  คือความเห็นด้วยญาณเป็นเครื่องหลุดพ้นเป็นผล 
เป็นอานิสงส์
   ๑๐.  ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับ  ด้วยประการฉะนี้



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://lukkaew.diaryclub.com

บันทึกการเข้า

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ผู้มีศีลย่อมได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 09:15:15 am »
0
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในมหาปรินิพพานสูตรทีฆนิกาย  มหาวรรค ว่า
ผู้มีศีลย่อมได้รับอานิสงส์  ๕  ประการ  คือ
   ๑.  ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่  เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ  ( ดังที่พระท่านแสดง
อานิสงส์ของศีลในเวลาให้ศีลว่า  สีเลน  โภคสมปทา )
   ๒.  เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล  ย่อมฟุ้งขจรไปไกล
   ๓.  ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ  ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน
   ๔.  ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ  ( คือไม่หลงในเวลาตาย )
   ๕.  ผู้มีศีล  ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ( สีเลน  สุคตึ  ยนฺติ )


บันทึกการเข้า

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ศีลมี 3.ระดับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 09:16:45 am »
0
ศีลที่บุคคลสมาทานรักษา  เพื่อต้องการภวสมบัติ  และโภคสมบัติ  ด้วยอำนาจตัณหา  ความต้อง
การ  ชื่อว่า  หีนศีล  ศีลอย่างต่ำ
   ศีลที่บุคคลสมาทานรักษา  เพื่อต้องการให้ตนเองหลุดพ้นจากกิเลส  ชื่อว่า  มัชฌิมศีล 
ศีลอย่างกลาง
   ศีลที่พระโพธิสัตว์รักษา  เพื่อต้องการให้สัตว์ทั้งหลายหลุดพ้นจากกิเลส  ชื่อว่า  ปณีตศีล 
ศีลอย่างประณีต

   ศีลมีทั้งศีลของบรรพชิต   และศีลของคฤหัสถ์
   ศีลของบรรพชิต  แบ่งเป็นสอง  คือ   ศีลของภิกษุมี  ๒๒๗  ศีลของสามเณรมี  ๑๐
   ศีลของคฤหัสถ์  ได้แก่ศีล  ๕  ศีล  ๘  และศีลอุโบสถ

   สำหรับบรรพชิตนั้น ท่านไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครอยู่แล้ว  เพราะอยู่ในกรอบของศีลที่พระพุทธองค์
ทรงบัญญัติไว้  แต่คฤหัสถ์ที่ปราศจากศีล  ๕  อาจเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย  ในที่นี้จึงขอกล่าว
ถึงศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง  และเพื่อความสงบสุขของสังคม เพียงแต่ทุกคนพา
กันรักษาศีล  ๕  ข้อเท่านั้น  ชาวโลกก็จะอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.kiddyiam.cc.cc
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2011, 09:18:51 am โดย ชมพู่ »
บันทึกการเข้า

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ศีล คู่ กับ คุณธรรม เป็นการเจริญคุณธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 09:29:40 am »
0
อนึ่ง  ผู้ที่ไม่ฆ่าสัตว์  แต่ชอบเบียดเบียนสัตว์ให้เป็นทุกข์เดือดร้อน  แม้ศีลข้อที่  ๑  ไม่ขาด  แต่ก็
ขาดธรรม  คือเมตตากรุณา  ด้วยเหตุนี้ผู้ที่จะรักษาศีล  ๕  ให้บริสุทธิ์หมดจดจริงๆ  จึงต้องมีธรรมที่คู่กับศีล
แต่ละข้อกำกับไว้ด้วย  คือ

   ๑.  เมตตากรุณา  คู่กับศีลข้อที่  ๑  เมตตา  นั้นได้แก่  ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข  ส่วน 
กรุณา  นั้นปรารถนาจะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
   ๒.  สัมมาอาชีวะ  การเลี้ยงชีวิตชอบ  คู่กับศีลข้อที่  ๒  ในที่นี้หมายถึงการประกอบอาชีพที่สุจริต
ไม่ผิดศีลผิดธรรม  เพื่อให้ได้ทรัพย์สินมาใช้สอยเลี้ยงดูตนเองและผู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน
   ๓.  ความสำรวมในกาม  คือยินดีเฉพาะคู่ครองของตน  คู่กับศีลข้อที่  ๓
   ๔.  ความมีสัจจะ  คือพูดจริงทำจริง  คู่กับศีลข้อที่  ๔
   ๕.  ความมีสติ  สำรวมระวังไม่ประมาท  คู่กับศีลข้อที่  ๕

   ผู้มีทั้งศีลและธรรมคู่กันไป  ย่อมเป็นผู้งามพร้อมไม่มีที่ติ  เพราะฉะนั้น  ศีล ( ที่ประกอบด้วย
ธรรม )  จึงเป็นอาภรณ์  หรือเครื่องประดับอันประเสริฐสำหรับมนุษย์

   ผู้ที่ปรารถนา  ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข  ตลอดจนการเกิดในสุคติเป็นมนุษย์  และเทวดา  หรือ
ปรารถนาจะไม่เกิด  คือบรรลุนิพพาน  ก็ต้องอาศัยศีล

   พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า  ความปรารถนาของผู้มีศีลเท่านั้นที่จะสำเร็จ  หรือความสำเร็จ
ผลสมความปรารถนาจะเกิดแก่ผู้มีศีลเท่านั้น

   ทุกคนปรารถนาของดีทั้งสิ้น  ไม่มีใครปรารถนาของไม่ดี  เมื่อปรารถนาของดีก็ต้องทำดี  ผลที่
ได้รับจึงจะดีตามการกระทำ   แต่ถ้าปรารถนาของดีแล้วทำชั่ว  ผลที่ได้รับก็ชั่วตามการกระทำ   เมื่อได้รับ
ผลชั่วมีการเกิดในอบายเป็นต้นแล้ว  ความปรารถนาเหล่านั้นจะสำเร็จได้อย่างไร

   ผู้ที่ไม่ทำชั่วจึงต้องมีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกัน


บันทึกการเข้า

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อุโบสถ* มี ๓ อย่าง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 09:32:30 am »
0
อุโบสถ*  มี  ๓ อย่าง  คือ
   ๑.  โคปาลกอุโบสถ  อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
   ๒.  นิคัณฐอุโบสถ  อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์
   ๓.  อริยอุโบสถ  อุโบสถของพระอริยะ

* อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐

   บุคคลผู้รักษาอุโบสถเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคนั้น  เมื่อสมาทานอุโบสถศีลแล้ว  ก็ปล่อยใจให้
คิดแต่เรื่องราวของความโลภความต้องการ  อยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้มาบำรุงบำเรอตน  ไม่ได้คิดจะทำความ
ดีอย่างอื่นให้เกิดขึ้นเลย   ไม่ผิดอะไรกับคนที่รับจ้างเลี้ยงโค   ที่เมื่อถึงเวลาเช้าก็ไปรับโคมาเลี้ยง  เวลา
เย็นก็นำโคมาส่งเจ้าของแล้วรับเอาค่าจ้างไป  กลับบ้านแล้วก็คิดแต่ว่าพรุ่งนี้จะพาโคไปกินหญ้า  กินน้ำที่
ไหน  คนรับจ้างนั้นไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรจากโค  มีน้ำนมเป็นต้นเลย  ผู้รักษาโคปาลกอุโบสถก็เช่น
กัน  ไม่ได้รับประโยชน์จากอุโบสถศีลที่ตนรักษาเลย  การรักษาแบบ  โคปาลกอุโบสถ  จึงไม่มีผลมาก 
ไม่มีอานิสงส์  เพราะความตรึกไม่บริสุทธิ์

   ส่วน  นิคัณฐอุโบสถ  นั้นเป็นอุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา  ซึ่งแตกต่างจากการรักษา
อุโบสถในพระพุทธศาสนา  กล่าวคือ  ในอุโบสถ  พวกนักบวชนิครนถ์  จะแนะนำชักชวนสาวก  เป็นต้นว่า 
ไม่ให้ฆ่าสัตว์ในที่ทั้ง  ๔  ในที่เลยร้อยโยชน์ไป  นอกจากนั้นมิได้ห้าม   การแนะนำชักชวนสาวกอย่างนี้ 
ชื่อว่า  ห้ามการฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง  ไม่ห้ามฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง  เป็นการขาดความกรุณาเอ็นดูในสัตว์
บางพวก  มิได้ให้ความเอ็นดูแก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า  อุโบสถของพวกนิครนถ์จึงไม่มีผลมาก

   แต่  อริยอุโบสถ  นั้นเป็นอุโบสถที่มีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  เพราะผู้รักษามิได้ปล่อยใจให้
ฟุ้งซ่านไปในความยินดีต้องการ  หรือความเศร้าหมองใดๆ  ด้วยอำนาจของกิเลส  แต่มาพากเพียรระลึก
ถึงพระคุณของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ตลอดจนระลึกถึงศีลที่บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อยของตน  และ
ระลึกถึงคุณธรรมของผู้ที่เกิดเป็นเทวดา  ว่าเทวดาเหล่านั้นได้เกิดเป็นเทวดา  เพราะประกอบด้วยศรัทธา 
ศีล  สุตะ  จาคะ  ปัญญา  เช่นใด  แม้เราก็ประกอบด้วยศรัทธา  ศีล  สุตะ  จาคะ  ปัญญา  เช่นนั้น  เมื่อพาก
เพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  เป็นต้น  จิตย่อมผ่องใส  ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส  การรักษาอุโบสถ
โดยการไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอำนาจของอกุศลแล้วมาเจริญกุศลอย่างนี้  ชื่อว่า  อริยอุโบสถ



บันทึกการเข้า

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ผู้เจริญอุโบสถ พึงเจริญกรรมฐาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 09:34:40 am »
0
อุโบสถจึงมีผลมาก  เพราะจิตของผู้รักษาบริสุทธิ์  ไม่มีผลมากเพราะจิตเศร้าหมอง

   บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว  เจริญพุทธานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ 
พระพุทธเจ้าตรัสว่า  บุคคลนั้น  ชื่อว่าเข้าจำ  *พรหมอุโบสถ  อยู่ร่วมกับพรหม  และมีจิตผ่องใสเพราะ
ปรารภพรหม

* อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐

   คำว่า  พรหม  ในที่นี้  แปลว่า  ประเสริฐ  เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า

   บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว  เจริญธัมมานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์  พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า  บุคคลนั้น  ชื่อว่าเข้าจำ  ธรรมอุโบสถ  อยู่ร่วมกับธรรม  และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภธรรม

   บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว  เจริญสังฆานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์  พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า  บุคคลนั้น  ชื่อว่าเข้าจำ  สังฆอุโบสถ  อยู่ร่วมกับสงฆ์  และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภสงฆ์

   บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว  เจริญสีลานุสสติ  ระลึกถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลของตน  พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า  บุคคลนั้น  ชื่อว่าเข้าจำ  ศีลอุโบสถ  อยู่ร่วมกับศีล  และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภศีล

   ศีลที่บริสุทธิ์นั้น  คือ  ศีลที่ไม่ขาด  คือไม่ขาดศีลข้อต้นหรือข้อปลายเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ๑
   ไม่ทะลุ  เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลาง  เพราะขาดศีลตอนกลางในระหว่างข้อต้นและข้อปลาย ๑
   ไม่ด่าง  เหมือนแม่วัวที่มีรอยด่างสีดำหรือแดง  รูปกลมหรือยาว  ที่หลังหรื่อที่ท้อง  เพราะขาด
ศีลติดต่อกันเป็นลำดับ  ๒  หรือ  ๓  ข้อ ๑
   ไม่พร้อย  เหมือนแม่วัวที่มีจุดตามตัว  เพราะศีลขาดเป็นระหว่างๆ ๑

   บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว  เจริญเทวตานุสสติ  ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้ไปเกิดเป็นเทวดา 
พระพุทธเจ้าตรัสว่า  บุคคลนั้น  ชื่อว่าเข้าจำ  เทวดาอุโบสถ  อยู่ร่วมกับเทวดา  และมีจิตผ่องใสเพราะ
ปรารภเทวดา

   ผู้รักษาอุโบสถ  เมื่อพากเพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นอยู่อย่างนี้  จิตย่อมผ่องใส 
ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส

   ครั้นเจริญอนุสสติให้จิตใจสงบอย่างนี้แล้ว  ตายไปย่อมเกิดในสวรรค์  หากเจริญธรรมให้สูงยิ่ง
กว่านี้  คือเจริญสมถะกรรมฐาน  เป็นนิจจนได้ฌาน  ฌานก็จะนำเกิดในพรหมโลกหรือหากเจริญวิปัสสนา
จนสำเร็จมรรคผล  เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว  ผู้รักษาอุโบสถศีลนั้นก็สามารถกำหนดการ
เกิดของตนได้ว่า  ยังมีอีกหรือไม่  คือถ้าเป็นพระโสดาบัน  พระสกทาคามี  พระอนาคามี  ก็ยังต้องเกิดอีก 
แต่อย่างมากก็เกิดอีกไม่เกิน  ๗  ชาติ  หากสำเร็จเป็นพระอรหันต์  ก็ไม่เกิดอีกเลย

   ก็เพราะอริยอุโบสถมีผลมาก  มีอานิสงส์มากอย่างนี้  คืออย่างต่ำทำให้เกิดในสวรรค์  ๖  ชั้น 
อย่างกลางทำให้เกิดเป็นพรหม  อย่างสูงทำให้ไม่เกิดอีกเลย  ทุกท่านที่รักษาอุโบสถ  จึงควรรักษาอริย
อุโบสถ  ดำเนินรอยตามพระอริยะ  ส่วนผลที่ได้รับจะสูงต่ำเพียงใดนั้น  ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง 
รวมทั้งปัญญาบารมีที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ปางก่อนด้วย




ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bloggang.com
บันทึกการเข้า

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 09:37:52 am »
0
   

               กาเยน วาจาย จ โยธ สญฺญโต
มนสา จ กิญฺจิ น กโรติ ปาปํ
น อตฺตเหตุ อลิกํ ภณาติ
ตถาวิธํ สีลวนฺติ วทนฺติ

          ผู้ใดสำรวมในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจาและใจ
ไม่ทำบาปอะไรๆ และไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน
ท่านย่อมเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้มีศีล

    จาก :- สรภังคชาดก ขุททกนิกายชาดก ข้อ ๒๔๖๖


ขอบคุณเนื้อหาจาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html

บันทึกการเข้า

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศล คือ กุศลศีล
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 01:48:36 pm »
0
อนุโมทนา กับ หนูชมพู่ มาก ๆ ที่บรรจงโพสต์ พร้อมภาพสวย ๆ ให้ได้อ่านกันในเรื่อง ศีล
ช่วยกันโพสต์ ต่อไปนะจ๊ะ

 :s_hi: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศล คือ กุศลศีล
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 08:41:45 pm »
0

มารู้จักกับ ศีลเล็ก กลาง ใหญ่ กันเถอะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3196.msg11326#msg11326

อานิสงส์ของศีล
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2888.msg10211#msg10211

องค์ศีล ๑๐ สำหรับพิจารณาการละเมิดศีล
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3761.0

ระหว่างพระที่มีศีล 227 ข้อ กับ อุบาสก อุบาสิกา ที่มีศีล 5 ข้อ ใครมีสิทธิ์บรรลุ..
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3813.msg14135#msg14135

 
หามาช่วยหนูชมพู่ครับ :49: :67:

ภาพจาก http://lh6.ggpht.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ