สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 23, 2013, 09:22:48 am



หัวข้อ: เหตุใด..ต้องสร้างพระพุทธรูปไว้กลางแจ้ง.?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 23, 2013, 09:22:48 am
(http://www.khaosod.co.th/online/2013/10/13822834541382283468l.jpg)

พระพุทธรูปกลางแจ้ง
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง โดย ราม วัชรประดิษฐ์

ในอดีตกาล "พระพุทธรูป" ถือว่าเป็นหนึ่งใน "เจดีย์ (เจติยะ)" แห่งพระบวรพุทธศาสนาประเภท "อุเทสิกะเจดีย์" อันหมายถึง สิ่งที่สร้างเพื่ออุทิศให้พระศาสนา นอกเหนือจากนี้ก็คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และธรรมเจดีย์
     ดังนั้น เวลาเคารพสักการะเจดีย์ต่างๆ เหล่านี้
     มิใช่เพียงใช้การกราบไหว้ หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นพุทธบูชาเฉกเช่นในปัจจุบัน
     หากแต่จะใช้วิธีการเดินเวียนขวาที่เรียกว่า "ทักขิณาวัฏ 3 รอบ"

ด้วยมูลเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้การสร้าง "พระพุทธรูป" ในสมัยโบราณที่สร้างตามคติเดิม จึงมักจัดตั้งอยู่กลางแจ้ง เพื่อให้สาธุชนได้สักการะโดยเดินเวียนรอบตามลาน ที่เรียกกันว่า ลานประทักษิณ หรือฐานประทักษิณ ซึ่งเค้าโครงที่สืบทอดมาจะเห็นได้จากการเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์ เป็นต้น

 st12 st12 :25: :25:

นอกจากนี้ พระพุทธรูปที่สร้างตามคติโบราณยังอาจพบการทำ "ซุ้มเรือนแก้ว" ครอบองค์พระที่อยู่กลางแจ้งเอาไว้ ซึ่งซุ้มเรือนแก้วนี้นอกจากจะสื่อความหมายถึง "ฉัพพรรณรังสี" หรือรังสี ที่เปล่งออกจากมหาบุรุษ 6 ประการแล้ว ยังหมายถึง การสร้างปราสาทหรือศาสนสถานครอบองค์พระเอาไว้อีกประการหนึ่งด้วย

หากตรวจดูซากโบราณสถานบริเวณวัดวาอารามเก่าแก่ จะพบว่า มีการสร้างพระพุทธรูปตั้งอยู่กลางแจ้ง และให้สังเกตบริเวณโดยรอบ หากขุดลึกลงไปอาจพบแนวอิฐทำเตี้ยๆ ขึ้นมา เพื่อเป็นลานสำหรับเดิน

    ask1 ask1 ans1 ans1

    ตอบข้อถามที่ว่า แล้วไม่กังวลว่า พระพุทธรูปจะตากแดดตากฝนหรือไร.?
    ก็สามารถตอบโจทย์ได้ว่า พระพุทธรูปดังกล่าวก็เปรียบเสมือน "ธาตุเจดีย์" ซึ่งไม่มีผู้ใดไปสร้างอาคารครอบเจดีย์เอาไว้
    แต่ถ้าหากเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากๆ เช่น พระอัฏฐารส หรือพระอัจนะ ของสุโขทัย ก็จะมีการสร้างเป็นมณฑปแคบๆ เปิดช่องประตูเพียงเล็กน้อย เราเรียกว่า "คันธกุฏิ" สื่อความหมายว่า เป็นสถานที่อันสงบสำรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิควรที่ผู้ใดจะเข้าไปรบกวน ซึ่งในความจริงแล้ว เป็นการก่อสร้างโดยคำนึงถึงองค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้มีผนังรับน้ำหนักขององค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่เอาไว้นั่นเอง

   อันเป็นพัฒนาการขั้นต่อมาของ "การสร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง" ครับผม


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1qSTRNelExTkE9PQ==&sectionid=TURNd053PT0 (http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1qSTRNelExTkE9PQ==&sectionid=TURNd053PT0)