ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อนันตริยกรรม ๕ และ อภิฐาน ๖ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร  (อ่าน 4778 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อนันตริยกรรม ๕ และ อภิฐาน ๖ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ครุกรรมหรือครุกกรรม คือ กรรมหนักเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล.
   
ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศลพึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม
เช่น ฌานสมาบัติ

   ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริยกรรม ๕.
   เมื่อครุกรรมนั้นมีอยู่  กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือ
จะไม่สามารถให้ผลได้.
 
   ครุกรรมแม้ทั้งสองอย่างนั้นแหละ จะให้ปฏิสนธิ.
   อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณ
เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอยขึ้น
เหนือน้ำได้  จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว  ฉันใด    ในกุศลกรรมก็ดี
อกุศลกรรมก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนัก เขาจะถือ
เอากรรมฝ่ายนั้นแหละไป.

   หรือกรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอา
วัตถุต่าง ๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นย่อมถึงพื้นก่อน.


ที่มา  พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
# ๑. องฺ.อ. ๑/๓/๑๒๑-๑๓๓.  ๒. วิสุทธิ.  ๓/๒๒๓

----------------------------------------------------------------- 

มาตริสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ย่อม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่ามารดา ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าบิดา ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าพระอรหันต์ ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วยจิตประทุษร้าย ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑
 เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถือศาสดาอื่น ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลายฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ

ที่มา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=10326&Z=10333&pagebreak=0

-----------------------------------------------------------------   

อนันตริยกรรม ๕ (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที)

๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา)
๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา)
๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์)
๔. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป)
๕. สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์)


อภิฐาน ๖ (กรรมที่เด่นยิ่งกว่ากรรมอื่นๆ, ฐานะอันยิ่งยวด, ฐานอันหนัก, ความผิดพลาดสถานหนัก)

อภิฐาน ๕ ข้อแรก ตรงกับ อนันตริยกรรม ๕ คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท และ สังฆเภท   เพิ่มข้อ ๖ คือ

๖. อัญญสัตถุทเทส (ถือศาสดาอื่น คือ ถือถูกอยู่แล้ว กลับไพล่ทิ้งไปถือผิด)

อภิฐานนี้ ในบาลีที่มาเดิม เรียกว่า อภัพพฐาน (ฐานะที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ไม่อาจจะกระทำ คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ)
 
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
----------------------------------------------------------------- 



บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ