ธรรมะสาระ > สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน

เมตตาพรหมวิหาร กับ เมตตาอัปปมัญญา นั้นต่างกันอย่างไรในกรรมฐาน

(1/2) > >>

nimit:
เมตตาพรหมวิหาร กับ เมตตาอัปปมัญญา นั้นต่างกันอย่างไรในกรรมฐาน

เมตตาพรหมวิหาร กับ เมตตาอัปปมัญญา นั้นคงไม่ได้ต่างกันแค่การเขียนนะครับ

 :25: :25: :17: :17:

raponsan:


อัปปมัญญา ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ หมายถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ที่แผ่ทั่วไปในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอย่างกว้างขวางสม่ำเสมอกัน
ไม่จำกัดขอบเขต มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่กล่าวแล้วนั้น ดู พรหมวิหาร

พรหมวิหาร ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ธรรมที่ตรงข้ามกับพรหมวิหาร ๔ มีดังนี้ (เรียงตามลำดับ)

พยาบาท ความขัดแค้นเคืองใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น

วิหิงสา การเบียดเบียน, การทำร้าย

อรติ ความขึ้งเคียด, ความไม่ยินดีด้วย, ความริษยา

ปฏิฆะ ความขัดใจ, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ

ที่มา  พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)


อัปปมัญญา  พรหมวิหาร 4

ดูกรราหุล  เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้

ดูกรราหุล เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่   จักละวิหิงสาได้

ดูกรราหุล  เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด   เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่  จักละอรติได้

ดูกรราหุล เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละ ปฎิฆะได้

พรหมวิหาร ๔ คือ  เมตตา (ขาว)  กรุณา (แดง)  มุทิตา (เหลือง)  อุเบกขา (เขียว)

เมตตา คือ  ความอยากให้ผู้อื่นมีสุข  ความไม่เบียดเบียน  ความเป็นมิตร  ความ
เป็นเพื่อน  ความรัก คือ ความรักที่ปราศจากราคะ

บุคคลที่เป็นโทษแห่งเมตตา

๑.บุคคลที่เกลียดกัน  ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนรักกันย่อมลำบาก

๒.บุคคลที่เป็นสหายรักกันมาก  ตั้งไว้ในฐานแห่งคนกลาง ๆ ย่อม
     ลำบาก  เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแก่เขาจนถึงกับร้องไห้ได้

๓.บุคคลที่เป็นกลาง ๆ กัน  ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนรักย่อมลำบาก

๔.บุคคลที่เป็นศัตรูกัน  ความโกรธย่อมเกิดขึ้น
 

เหตุนั้น ไม่ควรเจริญในบุคคล ๔ ประเภทข้างต้น

ในบุคคลที่เป็นข้าศึกกัน มีเพศเป็นข้าศึกกัน เพศตรงข้าม เมื่อเจริญเจาะจง ถึงเพศมีเป็นข้าศึกต่อกัน ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น

ในคนที่ทำกาลกิริยาตายแล้ว  ไม่ควรเจริญด้วยทีเดียว  เมื่อเจริญไปจิตก็ไม่ถึงอัปปนาสมาธิไม่ถึงอุปจารได้เลย  เพราะเมตตามีสัตว์ทั้งหลาย
เป็นอารมณ์

ควรเจริญเมตตาในตนเองก่อน
ควรเจริญเมตตาให้ตนเองบ่อยๆอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นผู้ถึงความสุขไม่มีทุกข์เถิดเป็นต้น  เพื่อเป็นพยานว่า ไม่มีใครรักผู้อื่นนอกจากตนเอง หรือยิ่งกว่าตนเอง ฉันใด  แม้คนอื่นก็รักตนเองมากฉันนั้น 

ดังนั้น จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อใจเรามีสุขแล้ว ก็แผ่ความสุขให้แก่ผู้อื่นด้วยใจ

การแผ่เมตตาให้กับคนอื่น หรือสัตว์อื่น
เมื่อเจริญเมตตาในตนจนจิตมีความสุขแล้ว จึงแผ่ให้กับผู้อื่นหรือสัตว์อื่น  แผ่ให้ผู้อื่นแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง แผ่เจาะจง  อย่างหนึ่ง  เช่น ขอเทพทั้งหลายทั้งปวงจนไม่มีเวรมีภัย  มีสุขเถิด 

การแผ่แบบไม่เจาะจง คือ ไม่จำกัดสัตว์ประเภทไหน เช่น ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร  ไม่มีความบีบคั้น  ไม่มีทุกข์  มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด

การสอนตนเองเมื่อเกิดความโกรธ
    เมื่อมีความโกรธขึ้น และต้องการ บรรเทา ความโกรธให้ได้นั้น เมื่อพยายามไปความโกรธยังไม่ดับ ก็ให้ระลึกถึงพระพุทโธวาททั้งหลายของพระพุทธเจ้า  ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ เช่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่าพวกโจรป่า จับตัวตัดองค์อวัยวะด้วยการเลื้อยด้วยเลื้อยก็ตาม
    
หากผู้ใดยังมีจิตใจคิดร้ายในพวกโจรนั้น ผู้นั้นก็หาได้ชื่อว่าทำตามคำสอนของเราไม่ 

อีกอย่างหนึ่ง ให้ระลึกถึงความดีของเขา เราโกรธแล้วย่อมทำทุกข์ให้แก่ตัวเอง 

ให้พิจารณาว่า เรา และผู้อื่นมีกรรมเป็นของ ๆ ตนเอง

ให้พิจารณาความอดทน อดกลั้นของพระบรมศาสดาในชาติก่อน  ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ถูกทำร้ายก็ไม่แสดงความโกรธ

ให้พิจารณา อานิสงส์ เมตตาที่ภิกษุทำให้มาก  เจริญให้มาก ย่อมได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ
         
๑. สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ

๒. ตื่นขึ้นก็มีความสุข มีอารมณ์แช่มชื่นหรรษา ไม่มีความขุ่นมัวในใจ

๓. นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล มิฝันเห็นสิ่งลามก

๔. เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งปวง

๕. เทวดาและพรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

๖.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง ไม่มีอันตรายจากสรรพาวุธและยาพิษ

๗. จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม จะเจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น

๘. มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ

๙. เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สติมิฟั่นเฟือน

๑๐. ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ เพราะทรงพรหมวิหาร ๔ นี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก

๑๑. มีอารมณ์แจ่มใส  จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นปกติ

หรือทำการแยกธาตุว่า เราโกรธอะไร โกรธเล็บ  โกรธฟัน หรือหนัง เป็นต้น

ประการสุดท้ายให้ทำทาน โดยให้ของของตนแก่ศัตรู เมื่อทำอย่างนั้นความโกรธของตนย่อมระงับ

การแผ่เมตตารวมแดน
การแผ่เมตตารวมแดน (สีมสัมเภท) คือ การทำเมตตาให้มีขึ้นบ่อย ๆ ทำให้เนื่อง ๆ ทำให้มาก จนจิตของเราเสมอในชนทั้ง ๔ จำพวก คือ

๑. ในตนเอง   
๒.  ในบุคคลที่รัก 
๓.  ในคนกลาง ๆ 
๔. ในคนเป็นศัตรูกัน  

เมื่อใดชนทั้ง ๔ อัน  ภิกษุทำจิตเสมอ รวมเข้าด้วยกันแล้ว แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง กับทั้งเทวดาด้วยเสมอกันหมด เมื่อนั้นเธอเป็นผู้มีเมตตาไม่ปรากฏแดน ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเมตตาภาวนา  เมตตาเจโตวิมุตติ เป็นทางออกไปแห่งพยาบาท   

อ้างอิง
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง



คุณนิมิตครับ คำว่า เมตตาพรหมวิหาร กรุณาพรหมวิหาร มุทิตาพรหม และอุเบกขาพรหมวิหาร
ในหนังสือคู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้ระบุไว้ชัดเจน (ผมอ่านมาแล้ว)

แต่คำว่า "เมตตาอัปปมัญญา" ไม่มีครับ
ตามที่ผมได้นำความหมายของ "อัปปมัญญา และพรหมวิหาร" มาแสดงให้ดู
เห็นได้ชัดเจนว่า คำว่า"อัปปมัญญา" มีความหมายว่า ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ
และมีความหมายที่ครอบคุม คำว่า เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ไว้ทั้งหมดแล้ว

หรืออาจกล่าวได้ว่า คนที่ใช้คำว่า "เมตตาอัปปมัญญา" น่าจะมีเจตนา ที่จะหมายถึง "แผ่เมตตา" นั่นเอง ท้ายนี้ ก่อนที่เราจะแผ่เมตตาให้ใคร ท่านว่า ต้องแผ่ให้ตนเองก่อน

บทภาวนาแผ่เมตตาในตน
     ๑. อหํ สุขิโต โหมิ           ขอเราจงเป็นผู้มีสุข
     ๒. อหํ อเวโร โหมิ      ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร   
     ๓. อหํ อพฺยาปชฺโฌ   โหมิ   ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความเบียเบียน                                       
    ๔. อหํ    อนีโฆ   โหมิ   ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความคับแค้ใจ                                                 
    ๕. สุขี   อตฺตานํ  ปริหรามิ   ของเราจงเป็นผู้มีสุขรักษาตนดี
    ๖. อตฺต   สุขฺขี      ขอตัวเราจงมีความสุข
    ๗. สุขี            ขอเราจงเป็นผู้มีสุข

    ขอให้ธรรมคุ้มครอง

ธัมมะวังโส:
อนุโทนา เพื่อให้โลกนี้ได้คลายจากความร้อน

ขอให้ทุกคนได้เจริญ เมตตาพรหมวิหาร ทุกคนเทอญ

 ส่วน เมตตาอัปปมัญญา นั้นเป็นกรรมฐานต่อเนื่อง ที่เมื่อระดับจิตของผู้ฝึก เต็มขั้นใน เมตตาพรหมวิหาร

แล้ว ก็จะก้าวเข้าสู่ เมตตาอัปปมัญญา เอง


 ;)

TCnapa:
อ้างถึง>>>>ดูกรราหุล  เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้

ดูกรราหุล เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่   จักละวิหิงสาได้

ดูกรราหุล  เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด   เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่  จักละอรติได้

ดูกรราหุล เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละ ปฎิฆะได้
<<<<
อ่านแล้ว ก็เหมือนจะเข้าใจ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ แล้วก็ไม่เข้าใจ คะ

เพราะ ที่ไม่เข้าใจก็คือ

        1. เมตตา ละ พยาบาท ได้ อันนี้เข้าใจคะ

        2. กรุณา ละ วิหิงสา ได้ ไม่เข้าใจคำว่า วิหิงสา คืออะไร

        3. มุทิตา ละ อรติ ได้ ไม่เข้าคำว่า อรติ คืออะไร

        4. อุเบกขา ละ ปฏิฆะ ได้ ไม่เข้าใจ ปฏิฆะ คืออะไร


ขอความกรุณา ช่วยเพิ่ม อรรถาธิบาย เพิ่มอีกนิดนะคะ

สาธุ ใครตอบไว ขอให้สำเร็จธรรมโดยไว

 :25: :25:

raponsan:
อ้างจาก: TCnapa ที่ สิงหาคม 17, 2010, 09:12:32 am>>>>
อ่านแล้ว ก็เหมือนจะเข้าใจ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ แล้วก็ไม่เข้าใจ คะ

เพราะ ที่ไม่เข้าใจก็คือ

        1. เมตตา ละ พยาบาท ได้ อันนี้เข้าใจคะ

        2. กรุณา ละ วิหิงสา ได้ ไม่เข้าใจคำว่า วิหิงสา คืออะไร

        3. มุทิตา ละ อรติ ได้ ไม่เข้าคำว่า อรติ คืออะไร

        4. อุเบกขา ละ ปฏิฆะ ได้ ไม่เข้าใจ ปฏิฆะ คืออะไร


ขอความกรุณา ช่วยเพิ่ม อรรถาธิบาย เพิ่มอีกนิดนะคะ

สาธุ ใครตอบไว ขอให้สำเร็จธรรมโดยไว

 :25: :25:

<<<<
คุณครูนภาครับ ผมได้ให้ความหมายไปแล้ว ช่วยกลับไปดูสักนิด

แต่ถ้าปรารถนาคำอธิบายโดยละเอียด

โปรดติดตามตอนต่อไป
 ;) :49: :25:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป