ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใส่บาตร ทำบุญในตอนเช้า แล้วไม่ได้ รับพร ไม่ทราบว่า ได้บุญ หรือไม่ คะ  (อ่าน 4816 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ใส่บาตร ทำบุญในตอนเช้า แล้วไม่ได้ รับพร ไม่ทราบว่า ได้บุญ หรือไม่ คะ

  คือ บางวันพระบางรูป ก็ให้พร บางรูป ก็ไม่ให้พร คะ ไม่ทราบมีข้อแตกต่างของบุญอย่างไร คะ

   thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

3.4 วิธีการทำทาน

เงื่อนไขที่จะทำให้การทำทานแต่ละครั้งมีความสมบูรณ์พร้อม คือทำแล้วได้ผลบุญมาก จะมี องค์ประกอบสำคัญๆ อยู่หลายประการ เช่น ในเบื้องต้นต้องมีศรัทธา มีไทยธรรม และมีผู้รับทาน โดยเฉพาะที่เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน สัมมุขีสูตร ว่า 
  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ 3 กุลบุตรผู้มี ศรัทธา ย่อมได้บุญมาก วัตถุ 3 คืออะไร คือ ศรัทธา ไทยธรรม และทักขิไณยบุคคล เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ 3 นี้แล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมากŽ"


นอกจากองค์ประกอบสำคัญทั้งสามนั้นแล้ว ยังมีสิ่งสำคัญอื่นอีก เช่น กำหนดเวลาที่จะทำทานได้ (กาลทาน) เจตนาและกิริยาอาการที่เราให้ เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ บางครั้งไม่อยู่ในขอบเขตที่ เราสามารถกำหนดเองได้ เช่น อยากถวายผ้ากฐิน แต่ยังไม่ถึงกาล หรืออยากทำทาน แต่ได้ผู้รับไม่มีศีล เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทานที่เราทำไปได้บุญมากที่สุด ก็ควรเตรียมตัวของเราเองให้พร้อมไว้ โดยเมื่อจะทำทานครั้งใด ก็ให้ทำไปตามลำดับดังนี้ คือ



3.4.1 ตั้งใจ
ตั้งใจ ทำเจตนาของเราให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะทำทาน ด้วยการระลึกนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย และคุณประโยชน์ของการทำทาน ที่ทำให้เราชนะความตระหนี่ในใจของเราได้ เป็นการชำระใจให้ สะอาด บริสุทธิ์ ปลูกจิตให้เลื่อมใสศรัทธา และปีติยินดีอย่างเต็มที่ว่าเราจะได้ทำทานในครั้งนี้

3.4.2 แสวงหาไทยธรรม
แสวงหาไทยธรรม (สิ่งของที่ควรให้ทาน) ด้วยความเพียรที่บริสุทธิ์ ให้เหมาะสมและดูควรแก่ผู้รับ เมื่อได้มาแล้วพึงจัดแจงตกแต่งให้งดงาม สะอาด ประณีต ให้เป็นสามีทาน และควรให้ทานให้ ครบถ้วนตามคำสอนที่มีมาในพระไตรปิฎก คือทานในพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม จะทำให้ได้ บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ

     สิ่งของที่ควรให้ทาน ท่านจัดไว้ในพระสูตรมี 10 อย่าง
     คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย ประทีปโคมไฟ
     จัดไว้ในพระวินัยมี 4 อย่าง
     คือ จีวร (เครื่องนุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยารักษาโรค)
     และจัดไว้ในพระอภิธรรม (ปรมัตถ์) มี 6 อย่าง
     คือ สละความยินดี ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ)   
     ซึ่งพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) อธิบายไว้ว่า

    “ทานในพระปรมัตถ์ 6 คือ มีอายตนะ 6 คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ สละความยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้ ก่อนเราเกิดมาเขาก็ยินดี กันอยู่อย่างนี้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ กำลังที่เราเกิดมาเขาก็ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ           
    ธรรมารมณ์เหล่านี้ ครั้นเราจะตายเขาก็ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อย่างนี้เหมือนกัน ความยินดีเหล่านี้ หากถอนอารมณ์ออกเสียได้ ไม่ให้มาเสียดแทงเราได้ พิจารณาว่านี้เป็นอารมณ์ ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้หยุด ให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ธรรมารมณ์เป็นทาน ย่อมมีกุศลใหญ่เป็นทางไปแห่งพระนิพพาน โดยแท้ และเป็นทานอันยิ่งใหญ่ทางปรมัตถ์Ž”


สิ่งของที่ไม่ควรให้ทาน ได้แก่ สุรายาเสพติด มหรสพที่ทำให้ประมาทมัวเมา สัตว์เพื่อการผสมพันธุ์ ภาพหรือสิ่งของที่ยั่วยุกามารมณ์ และอาวุธเพื่อการทำมิจฉาชีพ



3.4.3 ทำตนเองให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะให้ทาน
ทำตนเองให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะให้ทาน ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 แล้วนั่งสมาธิ กลั่นใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ นึกถึงปฏิคาหก (ผู้รับ) เสมือนท่านเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นตัวแทนของสงฆ์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3.4.4 ตั้งจิตอธิษฐาน
ตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยการยกทานนั้น จบŽ เหนือศีรษะว่า ขอให้ทานของข้าพเจ้านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น….จะเริ่มต้นด้วยให้ความสมบูรณ์พูนสุขหรือด้วยอะไรก็ตาม แต่ลงท้ายให้เป็น….นิพพานปัจจโย โหตุ (จงเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน) ดังที่บัณฑิตทั้งหลาย ในกาลก่อนจบอธิษฐานก่อนให้ทานว่า …..ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาลเทอญŽ จะทำให้ใจของเราใสสะอาดเต็มที่ในขณะที่ให้

3.4.5 เมื่อทำทานเสร็จแล้ว
เมื่อทำทานเสร็จแล้ว ให้สละทานขาดออกจากใจ ไม่คิดเสียดายทรัพย์เลย ให้ปีติเบิกบาน ใจทุกครั้งที่นึกถึงทานที่ทำแล้ว บุญจากการทำทานนั้นก็จะส่งผลเต็มที่ทันที เมื่อบุญเกิดขึ้นแล้ว ควรอุทิศส่วนกุศลผลบุญนั้น เป็นปัตติทานมัย จะด้วยการกรวดน้ำให้ หรือตั้งจิตอุทิศให้ก็ได้ ขอเพียงจิตเป็นสมาธิ บุญจึงจะสำเร็จประโยชน์ ด้วยคำอุทิศส่วนกุศล ดังพระบาลีว่า
     อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโยŽ
     ขอส่วนแห่งบุญนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่หมู่ญาติของข้าพเจ้า
     ขอญาติทั้งหลาย จงอยู่เป็นสุขเถิด



3.4.6 การทำทานในชีวิตประจำวัน
การทำทานเป็นสิ่งที่ไม่ควรขาด และจำเป็นต้องทำอยู่เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำความ เห็นถูกหรือสัมมาทิฏฐิของเราให้มั่นคง จนเกิดเป็นนิสัยรักในการให้ทาน ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ หลาย ประการด้วยกัน เช่น

    1. การทำบุญตักบาตร ซึ่งสามารถทำเป็นประจำได้ทุกวัน โดยอาจคอยใส่กับพระภิกษุหรือสามเณร ที่เดินบิณฑบาตอยู่ในละแวกบ้านของเรา หรือจะนำเอาข้าวปลาอาหารไปถวายท่านถึงที่วัดก็ได้
    2. การถวายสังฆทาน คือการถวายแก่สงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ด้วยกัน เช่น การนำสิ่งของไปถวายที่วัด หรือนิมนต์คณะสงฆ์มารับที่บ้าน แต่ที่นิยมทำกันมาก คือการ ทำบุญเลี้ยงพระเนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญวันคล้ายวันเกิด เป็นต้น
    3. การให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน เช่น การปล่อยสัตว์ปล่อยปลา เป็นการทำทานที่นิยมทำกันมาก เพราะผู้ที่ทำทานประเภทนี้ ย่อมมีอานิสงส์ให้เป็นผู้ที่มีอายุขัยยืนยาว มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง เพราะการให้ชีวิต ก็คือการต่ออายุของสัตว์นั้นให้ยืนยาวต่อไป เมื่อเราได้ให้อายุ ก็ย่อมได้อายุเป็นเครื่องตอบแทน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน โภชนทานสูตร ว่า


    ”ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุ ย่อมได้อายุ ให้กำลัง ย่อมได้กำลัง ให้วรรณะ ย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณ ย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข ย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้ว จะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ”

 


ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือวิถีชาวพุทธ ของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
ที่มา : http://book.dou.us/doku.php?id=sb101:3
ขอบคุณภาพจาก : http://learners.in.th/,http://www.oknation.net/,http://edltv.chandra.ac.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คำให้พรของพระขณะบิณฑบาตร
           อภิวาทนสีลิสฺส   นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
        จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ   อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.
        ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่
        บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์.


        คำบาลีนี้เป็นพุทธพจน์ เป็นคาถาธรรมบท มีอยู่ในพระไตรปิฎก
        การสวดธรรมบทนี้เท่ากับว่า เป็นการแสดงธรรม
        พระพุทธเจ้าได้กำหนดข้อห้ามไว้บางประการ

___________________________________________
คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=544&Z=586


พระยืนให้พรกับผู้นั่งอยู่..ต้องอาบัติทุกกฏ
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ [๘๗๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์(กลุ่มภิกษุไม่ดี) ยืนแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่. . .
พระอนุบัญญัติ ๒๑๕. ๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่ คนไม่เจ็บไข้ผู้นั่งอยู่.
สิกขาบทวิภังค์ อันภิกษุผู้ยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่ คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งอยู่ ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

______________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16267&Z=16392&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก http://www.livekalasin.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภัตตานุโมทนา
(ที่มาของการให้พร)

      [๔๒๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนาในโรงฉัน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
     ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ไม่อนุโมทนาในโรงฉัน
      ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
     แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุโมทนาในโรงฉันฯ


      [๔๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอพึงอนุโมทนาในโรงฉันแล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
      แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉันฯ


      [๔๒๒] สมัยนั้น ประชาชนหมู่หนึ่งถวายภัตรแก่พระสงฆ์ ท่านพระสารีบุตรเป็นสังฆเถระ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉัน จึงเหลือท่านพระสารีบุตรไว้รูปเดียว แล้วพากันกลับไป
      ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงความยินดีกะคนเหล่านั้น แล้วได้ไปทีหลังรูปเดียว
      พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรเดินมาแต่ไกลรูปเดียว
      จึงรับสั่งถามว่า ดูกรสารีบุตร ภัตรมีมากมายกระมัง
      ท่านพระสารีบุตรทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภัตรมีมากมาย แต่ภิกษุทั้งหลายละข้าพระพุทธเจ้าไว้ผู้เดียว แล้วพากันกลับไป
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
      แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถรานุเถระ ๔-๕ รูปรออยู่ในโรงฉัน ฯ


      [๔๒๓] สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระรออยู่ในโรงฉัน เธอกลั้นอุจจาระอยู่จนสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีกรณียกิจ เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุผู้นั่งอยู่ในลำดับ แล้วไปได้ ฯ

____________________________________________       
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=4422&Z=4451&pagebreak=0             




พร คำแสดงความปรารถนาดี, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามความประสงค์
อนุโมทนา
       1. ความยินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ;
           เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น
           (บัดนี้ บางทีใช้ในความหมายคล้ายคำว่า ขอบคุณ)
       2. ในภาษาไทย นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง ให้พร เช่น เรียกคำให้พรของพระสงฆ์ว่า คำอนุโมทนา

__________________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ที่มาของการให้พร

เมื่อถึงเทศการปีใหม่ หรือในงานมงคลใดๆไม่ว่าจะเป็นงานวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ ทุกท่านก็คงจะได้ให้พรหรือรับพร จากผู้ที่เรารู้จักไปไม่น้อยทีเดียว บางท่านก็ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันมากมาย ทุกคนต่างก็หวังว่า พรนั้นจะศักดิ์สิทธิ์
    แต่พรเหล่านั้นจะศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ.? พรคือสิ่งใดกันแน่.?
    อย่างไรจึงเป็นพรที่แท้จริง.? อย่างไรจึงเป็นพรที่ประเสริฐที่สุด.?


โดยแท้จริงแล้วคำว่า "พร" นั้นแปลว่า..."คำพูด ที่แสดงความปรารถนา" ซึ่งเกิดจากผู้รับพร ต้องการความดี ความเป็นมงคลเรื่องของการให้พร ขอพร มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วมีการขอพรของนางวิสาขา ต่อพระพุทธองค์...การขอพรของนางสุชาดา ต่อพระอินท์...ในสมัยนั้น ก็มีชาวบ้านมาขอพรจากพระสงฆ์เช่น...ขอให้ท่านกล่าวว่า...จงมีอายุยืนยาว ดังนี้เป็นต้น

ในเบื้องต้น พระพุทธองค์ทรงคำนึงเรื่อง ศีล และความถูกต้องจึงไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุให้พรใดๆเลย แม้พระองค์เอง ก็ไม่ให้พรแต่สอนให้ทำความดีแทน เมื่อนางวิสาขา ซึ่งเป็นอุบาสิกา มาขอพร พระพุทธองค์ตรัสว่า..."ตถาคตเลิกให้พรแล้ว วิสาขา" ทั้งนี้เพราะความสำเร็จ ย่อมไม่ได้จากพรที่รับ แต่มาจากผลของกรรม
หรือการกระทำที่ทำไว้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า..."ผู้ใดทำกรรมอย่างใดไว้ ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น"


แต่ต่อมา เมื่อพระสงฆ์ไม่ให้พรเลย ก็เป็นที่ติเตียนของชาวบ้านอีกพระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาและเห็นว่า ที่แท้แล้ว ชาวบ้านต้องการสิ่งที่เป็นมงคล จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุให้พรได้ ดังพุทธพจน์นี้..."ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคลเราอนุญาตให้ภิกษุ...ให้พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชน
มายุยืนนาน"....พระวินัยปิฎก ๗/๑๘๖



ถ้าสังเกตุดีๆ เราจะพบว่า เมื่อมีการอวยพร หรือรับพร ทุกคนจะรู้สึกได้ทันทีว่า นั่นเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะมีคุณธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ ในการให้พรนั้นคือ "เมตตาธรรม" เป็นความเมตตาของผู้ให้พร ที่ประสงค์จะให้ผู้รับ มีความสุข มีความเจริญ ได้รับสิ่งที่ดี...ผู้รับเองก็รู้สึกได้ในทันที ดังนั้น การให้พร และรับพร จึงเป็นสิ่งที่ดีเสมอ ในสังคมเรา

การขอพร ก็เป็นเรื่องแปลก ความจริง เราทุกคนก็ทราบกันว่า..."ผลย่อมมาจากเหตุ" คือ...เช่นทำดี ก็ย่อมได้ดี แต่ในสมัยนี้เมื่อเราขอพร เราก็มักจะขอผลที่ดีงามเลย คือ ขอผลดี โดยไม่หวังว่าจะทำเหตุที่ดีแต่อย่างใด แต่สมัยโบราณ คนจำนวนมากขอพรที่จะได้ทำเหตุที่ดี คือ ขอเพื่อจะได้มีโอกาสทำความดี เช่น...พรของนางวิสาขา เป็นต้น

นางวิสาขาได้ขอพรที่จะถวาย ผ้าสรง น้ำ อาหาร ที่เหมาะกับภิกษุอาพาธ และยา เป็นต้น คือ ขอต่อพระพุทธองค์ให้ภิกษุรับของเหล่านี้ได้ จากบุคคลที่ต้องการถวาย โดยนางวิสาขา ไม่ได้ขอพร อะไรให้แก่ตนเองเลย แต่เป็นการขอโอกาสที่จะทำดี และให้มีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์รับสิ่งเหล่านี้ได้จากคนทั่วไป เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำบุญเหล่านี้ได้

อย่างไรก็ตาม การให้พรหรือรับพร เป็นเรื่องของความดีงามทั้งสิ้น แต่นี้ไป เมื่อเราจะให้พรใคร ให้ตั้งความเมตตาไว้ในใจแล้วให้พร เมื่อจะรับพร ให้คิดว่า เราจะทำสิ่งที่ดีงาม เพื่อที่พรที่เรารับนั้นจะได้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลมากขึ้น พระพุทธองค์ทรงสอนว่า...เมื่อเรามี 'ความสุจริต'...พร้อมทั้ง กายวาจาใจ เมื่อนั้น คือ..'มงคลดี เวลาดี' จะทำอะไรก็ดี จะรับพร ก็ย่อมต้องดีด้วยเช่นกัน ฯ


~จากหนังสือ..."พรอันประเสริฐ". โดย น.ท. น.พ. จักรพงศ์ ไพบูลย์~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์...ฯ
http://variety.teenee.com/saladharm/22776.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.wonderfulpackage.com/,http://www.medianakhon.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2013, 11:23:07 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

ใส่บาตร ทำบุญในตอนเช้า แล้วไม่ได้ รับพร ไม่ทราบว่า ได้บุญ หรือไม่ คะ

  คือ บางวันพระบางรูป ก็ให้พร บางรูป ก็ไม่ให้พร คะ ไม่ทราบมีข้อแตกต่างของบุญอย่างไร คะ

   thk56


      ans1 ans1 ans1
     
      อ่านเอาเองนะครับ ทำบุญก็ต้องได้บุญ บุญอยู่ที่เจตนา
      อยากได้อะไร ก็ต้องทำเอง คำให้พรเป็นเพียงการแสดงความปรารถนาดีเท่านั้น
      ขอคุยเท่านี้ครับ

       :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ