ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ  (อ่าน 9844 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

ดินแดนสุวรรณภูมิ แปลว่า ดินแดนแห่งทองคำ หมายถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา ส่วนมากปรากฏในคัมภีร์ชาดก กล่าวว่า สุวรรณภูมิอยู่ทางทิศตะวันออกของอินเดีย เมื่อพิจารณาจากแผนที่โลก จึงน่าจะสันนิษฐานได้ต่อไปว่า สุวรรณภูมิ คือส่วนที่เป็นแผ่นดิน ได้แก่ ประเทศพม่า ลาว ไทย กัมพูชา ส่วนสุวรรณทวีปซึ่งเป็นเกาะ น่าจะได้แก่ เกาะชวา สุมาตรา หรืออินโดนีเซีย ตลอดทั้งฟิลิปปินส์ ในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ ประมาณราว พ.ศ.๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นประธาน

เมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาพบว่า เมืองหงสาวดี และเมืองนครปฐม สมัยทวารวดี มีอายุเก่าแก่ที่สุด และร่วมสมัยกัน คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ โดยเฉพาะ "องค์พระปฐมเจดีย์" วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม สันนิษฐานกันว่า ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อคราวที่พระสมณทูตเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

พระศรีวิสุทธิวงศ์ (พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชญฺญู) เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๕ ฝ่ายมหานิกาย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร และเจ้าคณะอำเภอบางเลน บอกว่า เจดีย์องค์เดิมมีลักษณะทรงบาตรคว่ำแบบเดียวกับสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นในกรุงอนุราชบุรี เกาะสิงหลทวีป ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกพระผนวช ได้เสด็จฯ ธุดงค์มานมัสการ หลังจากทรงลาผนวชและเสด็จเสวยราชสมบัติแล้ว โปรดให้ก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ ซึ่งมีความสูงถึง ๑๒๐ เมตร และพระราชทานนามพระสถูปเจดีย์ว่า “พระปฐมเจดีย์” เพราะทรงเชื่อมั่นว่าเป็นเจดีย์องค์แรกที่สร้างขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ

ประมาณ พ.ศ.๒๓๖ พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง ๗ ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย



พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในสมัยนี้ เป็นนิกายเถรวาทดั้งเดิม โดยพุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในประเทศอินเดีย ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้น โดยศิลปะในยุคนี้เรียกว่า ศิลปะทวารวดี

    "เหตุผลที่มีการสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่ จ.นครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น พระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้" พระศรีวิสุทธิวงศ์ กล่าว


 st12 st12 st12 st12 st12

เมื่อครั้งที่พระโสณะและพระอุตตระเดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยนั้นประชาชนกำลังตกอยู่ในความหวาดกลัวผีเสื้อสมุทรซึ่งมักจับทารกกินเป็นอาหาร ท่านทั้งสองได้สร้างขวัญกำลังใจ ทำให้ประชาชนหายหวาดกลัวโดยใช้อุบายธรรมนำ "พรหมชาลสูตร" ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยความเห็นผิดมาเทศนา และได้เปล่งวาจาถึงไตรสรณคมน์ รวมทั้งสมาทานศีล ๕ ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อที่ถูกต้องและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนพากุลบุตรและกุลธิดามาบวช ทำให้พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในดินแดนสุวรรณภูมิ และเจริญสืบเนื่องเรื่อยมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ





งานองค์พระกลางเดือนสิบสอง

    "เทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์" หรือชาวบ้านเรียกว่า "กลางเดือนสิบสอง" และ "งานองค์พระ" เป็นงานที่จัดขึ้นทุกๆ ปี ระหว่างวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึง วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๙ วัน ๙  คืน โดยในปี ๒๕๕๗ นี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓-๑๑ พฤศจิกายน ทั้งนี้วัดเปิดให้การเปิดร้านขายของล่วงหน้า ๗ วัน และหลัง ๑๕ ค่ำ อีก ๗ วัน

     งานองค์พระมิใช่เพียงแค่งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์อย่างเดียว หากเป็นงานนมัสการพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในวิหารต่างๆ รอบองค์พระปฐมเจดีย์ เช่น พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครปฐมพระพุทธรูปคันธราษฎร์ พระนอน พระพุทธรูปปางต่างๆ ครบทุกปาง โดยเฉาะก่อนงาน ๕ วัน เป็นงานวันพระร่วงโรจนฤทธิ์


      st12 st12 st12 st12 st12

     นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งประเพณีปฏิบัติเคียงคู่ไปกับการนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์นั่นคือ แห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ มี ๒ วัน คือ วันแรกลอยกระทง คือ วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน เวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น. ผู้คนจึงได้ร่วมแรงร่วมใจนำผ้ากาสาวพัสตร์ต่อกันเป็นผืนยาว จัดเป็นขบวนแห่รอบองค์พระปฐมเจดีย์ ช่วยกันจับขึงไว้บนบ่าทั้งผืนด้วยแรงสามัคคี ขบวนแห่ผ้าห่มจะเดินเวียนรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ๓ รอบ แล้วจึงนำขึ้นไปห่มพันรอบองค์พระปฐมเจดีย์ที่บริเวณเสาหานส่วนคอของพระปฐมเจดีย์ ส่วนวันสุดท้ายจะห่มรอบฐานองค์พระปฐมเจดีย์ ในคืนวันอังคารที่ ๑๑ เวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น.




ปางพระพุทธรูปและต้นไม้ในพุทธประวัติ

   "รอบๆ องค์พระปฐมเจดีย์มีเรื่องราวพุทธประวัติให้ศึกษามากมาย มีพระพุทธรูปปางต่างๆ มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติล้วนแต่มีอายุนับร้อยปีทุกต้น" นี่เป็นคำบอกเล่าของ พระมหาสุวิทย์

    พระศรีวิสุทธิวงศ์ บอกว่า พระพุทธปางหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนไม่คุ้นตา เช่น ปางทรงรับผลมะม่วง เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิพระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาถือผลมะม่วง หงายหลังพระหัตถ์ไว้บนพระชานุ (เข่า)


     :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    พระพุทธรูปปางทรงรับผลมะม่วง สร้างตามพุทธประวัติเมื่อครั้งเศรษฐีผู้หนึ่งในเมืองราชคฤห์ นำบาตรไม้จันทน์แดงไปแขวนไว้สูง ๖๐ ศอก พร้อมประกาศว่า ถ้าพระอรหันต์มีจริง ขอให้แสดงฤทธิ์เหาะมาเอาบาตรนี้ไปเถิด หากพ้น ๗ วัน แล้วไม่มีผู้ใดกระทำได้ ตนจะถือว่ามิได้มีพระอรหันต์ในโลก พระปิณโฑลภารทวาชะได้เหาะไปนำบาตรมา มหาชนทั้งหลายอยากชมปาฏิหาริย์ จึงติดตามมาจนถึงพระเวฬุวันมหาวิหาร เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ จึงตรัสตำหนิพร้อมมีคำสั่งห้ามพระสาวกแสดงปาฏิหาริย์

    พวกเดียรถีย์ประกาศว่า พวกตนจะแสดงปาฏิหาริย์แข่งกับพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศว่า จะทรงแสดงพระปาฏิหาริย์ ณ คัณฑามพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) ณ กรุงสาวัตถี พวกเดียรถีย์จ้างพวกนักเลงโค่นต้นมะม่วงจนหมดสิ้น เว้นแต่ที่ปลูกอยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อ คัณฑะ ได้ถวายผลมะม่วงสุกผลหนึ่งแด่พระพุทธองค์ พระอานนท์ได้นำมะม่วงผลนั้นทำน้ำปานะถวาย


      st11 st11 st11 st11 st11 st11

     ส่วนต้นไม้ในพุทธประวัตินั้น ที่นำหน่อพันธุ์มาจากพุทธคยา พระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวารวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตร (ปลูกในสมัยรัชกาลที่ ๕) เป็นต้น


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20141028/194833.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 30, 2014, 12:21:30 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่นี่เราจะได้รับและสัมผัส ไออณู แห่ง ครูอาจารย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ มีพลังที่จะได้สัมผัส รสชาติ ความรู้สึก
แห่ง พุทธานุสสติ มากมาย เต็มเปี่ยม
      ครูอาจารย์เคยได้พาพวกเราเหล่ากลุ่มศิษย์ ไปบ่อย มากกว่าหนึ่งครั้ง หากไม่สําคัญที่สุด ครูอาจารย์ ก็คงไม่พาพวกเราไปมากกว่าหนึ่งครั้งหรอก

    จะต้องมีอะไรที่สําคัญ มันบอกไม่ได้ ลองเลี้ยวไปสัมผัสความยิ่งใหญ่ แห่ง พระพุทธานุสสติที่นี่ดู สําหรับผู้ภาวนาที่จะ อธิฐานบารมีกัน ที่วัดพระปฐมโพธิคุณ หรือพระปฐมเจดีย์


         ข้าพเจ้า ได้ไปเดินกําหนดพุทธคุณ ที่ด้านบนรอบองค์ปฐมมาสองครั้งแล้ว พื้นกระเบื้องถูกแดดร้อน แต่สวดพุทธคุณแล้วอุ่นไม่ร้อนฝ่าเท้า คือเราถอดรองเท้าเดินสามรอบ เวียนทักขิณา ต้องเวียนขวาสามรอบ แล้วเสร็จจึงอธิฐานบารมี

 สิ่งศักสิทธิ์ในศาสนานี้ต้องทําสามรอบหมด บอกไว้เป็นเคล็ดแห่งความสําเร็จนะ ไม่หวง

  ศิษย์ตถาคตเจ้าเราศาสนาเดียวกัน

   ขออนุโมทนาสาธุ.......ศิษย์ ธัมมะวังโส/อาโลโก
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0










นำบรรยากาศรอบๆองค์พระปฐมเจดีย์ มาให้ชม วันที่ไปเป็นวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ตุลาคม
มีร้านขายสินค้านับร้อย ตั้งเรียงรายเกือบเต็มพื้นที่รอบองค์พระปฐม(ด้านนอก/ที่จอดรถ)
ภาพที่นำมาให้ชมเป็นชั้นที่สองของพระปฐมเจดีย์ วันนั้นมีประชาชนจำนวนไม่น้อย มาสักการะ
ขอออกตัวก่อนว่า นี่เป็นภาพจากโทรศัทพ์มือถือซัมซุง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0











บอร์ดแสดงประวัติพระปฐมเจดีย์นี้ อยู่ประตูด้านเหนือ(ประตูพระร่วงโรจนฤทธิ์) เป็นของบริษัททรูฯ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภาพวาดนี้แสดงวิวัฒนาการขององค์พระปฐมเจดีย์


สองสาวนี้กำลังสวดมนต์ เป็นภาพที่ประทับใจ


การเสี่ยงทายโดยการยกช้างมีอยู่หลายวัด ไม่เว้นแม้วัดพระปฐมเจดีย์
ขอให้สังเกตภาพในหลวงเวียนเทียนรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ในขณะนั้นเป็น ภูมิพโลภิกขุ




พระบรมสารีริกธาตุ ในห้องนี้ ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน


ภาพนี้แปลกตรงที่พระพุทธรูปมีประกายแสงสีเขียว


ภาพทั้งหมดอยู่ห้องเดียวกัน จำไม่ได้ว่าอยู่ประตูไหน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2014, 11:27:35 am »
0




พระร่วงโรจนฤทธิ์


พระร่วงโรจนฤทธิ์จำลอง


    วัดพระปฐมเจดีย์ฯมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 3 องค์ คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระประทานพร 1000 ปี และพระพุทธไสยยาสน์(พระนอนองค์ใหญ่) ทีสำคัญเป็นอันดับแรก คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์

    พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของ พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป ชื่อเต็มก็คือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร" ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2466 แต่ประชาชนทั่วไป จะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2014, 11:56:20 am »
0
พระประทานพร 1000 ปี


พระประทานพร 1000 ปี พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์


พระประทานพร 1000 ปี องค์จำลอง


พระประทานพร 1000 ปี องค์จำลอง พระพุทธรูปปางคันธารราษฏร์ ศิลปะทวารวดี



    พระพุทธรูปศิลาขาว” หรือ “หลวงพ่อประทานพร” เป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนา หรือปางประทานเอหิภิกขุโดยประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ระหว่างปีพุทธศักราช ๑๑๐๐-๑๖๐๐) ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อประทานพร”

    พระพุทธรูปศิลาขาว ทำจากศิลาสีขาวขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดี ประทับนั่งบนบัลลังก์ห้อยพระบาททั้งสอง (ปรลัมพปาทาสนะ) ลงบนฐานทำเป็นกลีบบัวบานรองรับ ซึ่งมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “ภัทรอาสน์” หรือ “ภัทราสนะ” พระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธรูปวางหงายอยู่เหนือพระเพลาซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวายกอยู่ในระดับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออกปลายพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) งอโค้งจรดกันเป็นวงกลม ส่วนอีกสามนิ้วพระหัตถ์กางออก
    พระพุทธรูปในรูปท่าแบบนี้ เรียกว่า “ปางประทานปฐมเทศนา” หรือ “ปางประทานเอหิภิกขุ” ขนาดความสูงจากพระเกตุถึงพระบาท ๓.๓๖ เมตร


   ประวัติจากบันทึกของ พระธรรมวโรดม (โชติ ธมฺมปฺปโชติกเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร กล่าวเอาไว้ว่า

    “...ท่านพระปลัดทอง พระอธิการวัดกลางบางแก้ว (วัดคงคา)ได้มาเห็นวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเวลานั้นว่างจากเจ้าอาวาสกุฏิเสนาสนะชำรุดมาก ท่านจึงพร้อมกันกับ “สามเณรบุญ”(ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระพุทธวิถีนายก ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว) ผู้เป็นศิษย์
    ได้มาช่วยบอกบุญขอแรงพระเณรและชาวบ้าน ต.พระปฐมเจดีย์ไปช่วยกันขนอิฐจากวัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง (ครั้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชทานนามวัดทุ่งพระเมรุ จ.นครปฐม ใหม่ว่า สวนนันทอุทยาน)เพื่อนำมาใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร

    ปรากฏว่าพบเห็นจอมปลวกขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่นั้น โดยมีพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปโผล่พ้นยอดจอมปลวกขึ้นมา คณะของท่านพระปลัดทองจึงได้ช่วยกันทำลายจอมปลวกนั้นออกก็พบ พระพุทธรูปศิลาขาวขนาดใหญ่ องค์นี้ มีรอยต่อเป็นท่อนๆจึงถอดรอยตามรอยต่อนั้นออก แล้วนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ (ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔) ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ครองราชสมบัติ ๗ ปี...



ขอบคุณข้อมูลจาก
board.palungjit.org/f177/ภาพพระพุทธรูปศิลาขาว-อายุกว่าพันปี-ของวัดพระปฐมเจดีย์ครับ-340481.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 03, 2014, 11:59:35 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2014, 12:31:46 pm »
0









    พระนอนองค์ใหญ่นี้ ชื่อเป็นทางการไม่ทราบครับ หาประวัติยังไม่เจอ แต่ที่แน่ๆ ป้ายบริเวณนี้เขียนคำว่า "พระนอนองค์ใหญ่" เอาไว้อย่างชัดเจน ความรู้สึกส่วนตัวของผม นอกจากพระนอนที่วัดโพธิ์แล้ว ที่นี่ก็เป็นพระนอนที่งดงามองค์หนึ่ง จะเห็นได้ว่า มีคนมาสักการะมากพอสมควร มากกว่าพระประธานในโบสถ์(พระประทานพร 1000 ปี)เสียอีก
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2014, 08:38:37 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2014, 08:14:26 am »
0



ปางพระเกศธาตุ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปางพระเกศธาตุ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นแนบพระเศียร เป็นกิริยาเสยพระเกศา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเรียกว่า ปางตะเบ๊ะ

ประวัติ
หลังจากที่ตปุสสะและภัทลิกะ (ผู้ที่ถวายสัตตูก้อนสัตตูผง) ได้ขอถึงพระพุทธและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งสูงสุดในชีวิต ถือเป็นปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ทูลขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรค่าแก่การอภิวาทต่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บูชา พระพุทธองค์ทรงลูบพระเศียรเกล้าด้วยพระหัตถ์ขวา มีพระเกศา 8 เส้น อยู่บนฝ่าพระหัตถ์ จึงโปรดประทานพระเกศาทั้ง 8 เส้นนั้นแก่พ่อค้าทั้งสอง โดยแบ่งให้คนละครึ่ง (4 เส้น) เมื่อกราบบังคมลาไปสู่บ้านเมืองของตนแล้ว พ่อค้าทั้งสองได้สร้างพระสถูปบรรจุพระเกศาไว้เป็นที่สักการบูชาแก่มหาชน









ปางโปรดพกาพรหม
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปางโปรดพกาพรหม เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืนบนเศียรพกาพรหมซึ่งประทับบนหลังโคอุสุภราช พระหัตถ์ทั้งสองวางทาบบนพระเพลา ( ตัก ) บางแบบพระหัตถ์ประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ

ประวัติ
ท้าวพกาพรหมมีความเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธองค์โปรดให้ท้าวพกาพรหมแสดงฤทธิ์โดยให้ไปซ่อนตัว แต่ไปซ่อนที่ใด พระพุทธองค์ก็ทรงทราบ ต่อมาพระพุทธองค์ทรงทำปาฏิหาริย์อันตรธารหายไป และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ได้ยินแต่พระสุรเสียง และทรงตรัสว่ากำลังเดินจงกรมอยู่บนเศียรของท้าพกาพรหม ท้าวพกาพรหมหมดทิฐิมานะ จึงตั้งใจฟังธรรมเทศนาจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน



:25: st12 :25: st12 :25: st12

     เก็บภาพพระพุทธรูปปางแปลกๆมาให้ดูครับ มีพระพุทธรูปจำนวนนับร้อยองค์ ประดิษฐานที่ศาลารายรอบองค์พระปฐมเจดีย์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28490
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2014, 09:00:38 am »
0



ปางปลงกรรมฐาน
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปางปลงกรรมฐาน เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร (ไม้เท้า) ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้า ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เป็นกิริยาชักผ้าบังสุกุล บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงทาบที่พระเพลา (ตัก) หรือเรียกอีกอย่างว่าปางชักผ้าบังสุกุล

ประวัติ
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้า มีพระประสงค์จะนำผ้าขาวที่ห่อศพมาซักย้อมเป็นผ้าสังฆาฏิ จึงเสด็จไปพิจารณาปฏิกูลสัญญา แล้วทรงชักผ้าบังสุกุลและนำมาซักตากให้หมดกลิ่นซากศพ แล้วเย็บเป็นจีวร ในพุทธประวัติเล่าว่าท้าวสักกเทวราชเสด็จลงมาช่วยทำจีวร ตักแต่ซัก ตาก และเย็บเสร็จภายในคืนเดียว ผ้าจีวรผืนนี้พระพุทธองค์ทรงนำมาทำผ้าสังฆาฏิ ภายหลังได้ประทานผ้าผืนนี้แก่พระมหากัสสปะ ผู้เป็นเอตทัคคะด้านถือธุดงค์


      ask1 ans1 ask1 ans1 ask1 ans1

     พระพุทธรูปปางนี้ เกี่ยวข้องกับตำนานของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ โดยเฉพาะไม้เท้า ตำนานกรรมฐานมัชฌิมาฯ ใช้คำว่า ไม้เท้าเบิกไพร ท่านใดอยากทราบตำนานไม้เท้าพระราหุล ซึ่งท่านเป็นองค์ต้นของกรรมฐานมัชฌิมาฯ เข้าไปอ่านที่ somdechsuk.com/content-detail.php?id=45#.VGFqMmfFnxA แต่ในที่นี้ขอเสนอตำนานพระพุทธรูปปางปลงกรรมฐานโดยพิสดารดังนี้



ปางที่ ๕๗
ปางปลงกรรมฐาน

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในอิริยาบถยืน มี ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงทาบที่พระเพลา ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาชักผ้า อีกแบบหนึ่ง พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร ส่วนพระหัตถ์ขาวอยู่ในอาการเช่นเดียวกัน นิยมเรียกว่า ปางชักผ้ามหาบังสุกุล

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้
พระพุทธรูปปางปลงกรรมฐานนี้นิยมเรียกว่า "ปางชักผ้ามหาบังสุกุล" พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน ทอดพระเนตรลงในเบื้องต่ำ เป็นกิริยาพิจารณาดูอสุภในตำนานพุทธเจดีย์สยามกล่าวว่า ทรงพระอิริยาบถยืนพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงทาบอยู่ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวายื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาชักผ้าบังสุกุล คล้ายกับอาการของพระสงฆ์ที่ยืนชักผ้าบังสุกุลในปัจจุบันนี้ ส่วนลักษณะพระพุทธรูปปางปลงกรรมฐานในหอราชกรมานุสรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร ส่วนพระหัตถ์ขวานั้นมีอาการเช่นกัน


 :96: :96: :96: :96: :96:

สำหรับธารพระกร คือไม้เท้านั้น เป็นบริขารสำคัญของพระอยู่ป่าช้าที่ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรจริง ๆ เพราะเป็นเครื่องมือช่วยให้ความสะดวกในการชักผ้าบังสุกุลมาก เพื่อความรู้ความเข้าใจของผู้ที่ใคร่ต่อการศึกษาสมควรจะอธิบายเรื่องนี้ให้พิสดารสักหน่อย

คำว่าผ้าบังสุกุลในที่นี้ หมายความว่าผ้าพันศพ ในสมัยก่อนใช้ผ้าขาวผืนยาวพันศพเริ่มแต่ศีรษะมาถึงปลายเท้า แล้วก็นำศพไปทิ้งไว้ที่สุสานคือ ป่าช้าผีดิบ เพื่อให้โอกาสแก่สัปเหร่อเผาในเวลาต่อไป เจ้าของศพจะไม่อาลัยศพ จะไม่หวงศพ ปล่อยให้สัปเหร่อทำตามพอใจ เพียงแต่เอาผ้าห่อพันศพมิให้น่าเกลียด ในเวลาที่เอาไปทอดทิ้งไว้ในป่าช้าเท่านั้น ดังนั้น ในอามกสุสานที่แปลว่า ป่าช้าผีดิบเช่นนั้นจึงมีร่างของคนตายที่เรียกว่าศพต่าง ๆ กัน โดยกาลสั้นและยาว คือ เพิ่งตายที่นิยมเรียกว่าศพสดบ้าง ตาย ๒ - ๓ วันบ้าง ชนิดขึ้นพองบ้าง ชนิดมีหนอนไต่ยั้วเยี้ยบ้าง ชนิดที่สัตว์กัดกินบ้าง ชนิดโทรมแล้วบ้าง ชนิดเหลือแต่กระดูกบ้าง เรียกตามภาษากรรมฐานว่าป่าช้าเก้าด้วยกำหนดไว้ ๙ ประการ

เมื่อเจ้าของนำศพไปป่าช้า ถ้าต้องการเผาก็จัดการเผาเองบ้าง มอบน้ำมัน, ฟืนและค่าจ้างให้สัปเหร่อเผาให้บ้าง แต่ก็มีเจ้าของศพอีกไม่น้อยเหมือนกันที่ไม่ต้องการเผาดังกล่าว ใช้ผ้าขาวห่อแล้วทอดทิ้งไว้ในป่าช้า ปล่อยให้ทรุดโทรมไปตามสภาวะ โดยไม่สนใจแต่ประการใด ใครจะไปทำมิดีมิร้ายด้วยประการใด ๆ แก่ศพก็ตามใจเถิด แปลว่าทิ้งกันจริง ๆ

 ask1 ans1 ask1 ans1

    ในข้อนี้อาจมีผู้สงสัยว่า ศพที่นำไปป่าช้านั้น ไม่มีหีบ ไม่มีโลงใส่กันดอกหรือ.? และ
    ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้ว จะไม่เป็นการทุเรศแก่ศพนักหรือ.?
    ความจริง การนำศพไปป่าช้าในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเอาไปทิ้งก็ตาม จะเอาไปเผาหรือฝังก็ตาม จะไม่มีหีบ ไม่มีโลงใส่เลย เขาเอาผ้าพันศพแล้ว ก็ยกขึ้นบนแคร่หามไปป่าช้าเท่านั้น ที่กริ่งเกรงไปว่าจะเป็นการทุเรศแก่ศพนั้น
    ขอชี้แจงว่า จะไม่เป็นการทุเรศ หรือน่าเกลียดแก่คนในสมัยนั้นแต่ประการใดเลยเพราะเมื่อเป็นประเพณี คือนิยมทำกันเช่นนั้น แล้วอย่างไรจะเป็นที่น่าเกลียดเล่า.!



ไม่ต้องดูอื่นไกลออกไปหรอก แม้แต่พระพุทธสรีระ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วถึง ๗ วัน ในเวลาที่อัญเชิญไปจากสาลวโนทยาน ทั้ง ๆ ที่จัดเป็นงานพระราชพิธีใหญ่หลวง มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าภาพ และก็พร้อมด้วยกษัตริย์ขัตติยวงศ์ ตลอดเสนามาตย์ราชบริพาร ทั้งเศรษฐีคหบดี กับทั้งพระอรหันต์สาวกทั้งหมดเดินตามพระบรมศพเข้าสู่พระนครกุสินาราราชธานี ไปตามถนนใหญ่ ๆ แล้วจึงอัญเชิญพระบรมศพออกจากพระนครไปยังมกุฏภัณฑเจดีย์ ก็ปรากฏว่ามิได้ใส่หีบโดยอัญเชิญพระบรมศพไปด้วยเตียงเล็ก ๆ เท่านั้น ก็ไม่เห็นจะเป็นที่น่าตำหนิว่าไม่งามที่ตรงไหน กับเป็นเรื่องที่พออกพอใจของคนทุกชั้นทั่วกัน เพราะทุกคนพร้อมกันทำสักการบูชาด้วยบุบผามาลัยเป็นเอนกประการ ต่อเมื่อถึงมกุฏภัณฑเจดีย์ที่ถวายพระเพลิงแล้ว จึงได้อัญเชิญพระบรมศพลงหีบเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมันหอมแล้วยกขึ้นบนจิตกาธารที่ล้วนแล้วด้วยไม้จันทน์ แล้วถวายพระเพลิง

ความจริงพระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพพานมาได้ถึง ๗ วันแล้ว น่าจะมีหีบใส่ แต่ก็ปรากฏว่ามิได้จัดทำหีบใส่กัน ดังนั้น จึงเชื่อถือได้แน่ว่า ทุกอย่างเมื่อนิยมทำกันเป็นประเพณีเสียแล้ว ก็แลดูงามไปหมด ทราบว่า แม้ในเวลานี้ก็ยังมีคนบางหมู่บางประเทศยังนิยมนำศพไปเผาโดยไม่ใส่หีบอยู่อีกไม่น้อยเหมือนกัน

 :25: :25: :25: :25: :25:

ครั้นเมื่อมามีประเพณีใส่หีบกันขึ้น จนถึงตกแต่งหีบกันงดงามอย่างบ้านเมืองเราที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้ หากใครไปทำต่างจากนี้ออกไป คือเอาศพไปป่าช้าโดยไม่มีหีบก็คงจะถูกตำหนิกันมากว่าทำทุเรศแก่ศพ เป็นผีไม่มีญาติ ดังนั้น ขนบธรรมเนียมทุกอย่าง ในสมัยหนึ่ง ๆ ก็ย่อมจะเป็นที่นิยมของคนในสมัยนั้น ๆ เป็นแน่ อย่างศพที่เอาผ้าพันแล้ว นำไปทอดทิ้งในป่าช้า ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่เป็นข้อที่จะยกขึ้นตำหนิแต่ประการใด ด้วยเป็นเรื่องของความนิยมของคนในหมู่นั้น ในสมัยนั้น ใครจะไปทำมิดีมิร้ายด้วยประการใดแก่ศพก็ตามใจเถิด แปลว่าทิ้งกันจริง ๆ

ศพประเภทหลังนี้ ถ้าภิกษุจำพวกที่อยู่ในป่าช้าใช้ผ้าบังสุกุลคือผ้าห่อศพดังกล่าวเป็นจีวร เมื่อต้องการผ้าทำจีวร ก็ไปชักเอาผ้าบังสุกุลคือผ้าที่ห่อศพพันศพอยู่ ทั้ง ๆ ที่ศพขึ้นพองอยู่อย่างนั้นมาทำจีวร การไปชักผ้าบังสุกุลอย่างนั้นลำบาก ต้องมีไม้เท้าช่วย ไม้เท้าตามราชาศัพท์เรียกว่า "ธารพระกร" ไม้เท้านี้ควรจะเรียกว่าไม้ค้ำศพ หรือไม้ยันศพจะถูกกว่า โดยเรียกตามอาการของความเป็นจริง ด้วยไม้เท้านั้น ที่ปลายไม้จะต้องทำเป็นไม้ง่าม ด้วยขณะที่ชักผ้าออกจากร่างศพมา ศพจะกลิ้งมาตามผ้า ดังนั้นขณะที่พระชักผ้าจึงต้องใช้ไม้เท้านั้นค้ำศพ ยันศพให้กลิ้งออกไป เพื่อให้ได้ผ้ามาโดยสะดวก โดยนัยนี้จะเห็นได้ชัดว่า ไม้เท้านั้นเป็นเครื่องอุปกรณ์ให้ความสะดวกในการชักผ้าบังสุกุลจริง ๆ ไม่อย่างนั้นก็จะต้องใช้มือทั้งสองปอกเปลือกศพกันอย่างทุลักทุเลดังสัปเหร่อลอกคราบศพ



อาศัยเหตุนี้พระพุทธรูปปางปลงกรรมฐาน หรือที่นิยมเรียกว่า ปางชักผ้าบังสุกุลนี้ จึงทรงไม้ธารพระกร คือไม้เท้าสำหรับค้ำศพ, ยันศพ เพื่อช่วยความสะดวกในเวลาชักผ้าดังกล่าว

การชักผ้าบังสุกุลแบบนี้ คงมีแต่ในสมัยโน้น มาบัดนี้ไม่มีแล้ว ถึงทั่ว ๆ ไปก็เห็นมีแต่ชักผ้าที่วางอยู่บนภูษาโยง หรือบนหีบศพเท่านั้น จนเป็นประเพณี

ความจริงประเพณีโบราณนั้นผ้าบังสุกุลอยู่ใกล้กับศพมากกว่านี้ เพียงแต่เอาผ้าสะอาด ๆ ผืนอื่นวางรองผ้าจีวรที่ทอดไว้ให้พระชักเท่านั้น พระที่ไปชักผ้ามองเห็นร่างศพได้ชัด พูดสั้น ๆ ก็ว่าทอดผ้าที่ศพ ไม่ใช่ทอดที่หีบ ลางแห่งตามชนบทใช้หักใบไม้รองกันมิให้ผ้าทอดถูกศพ นับว่าใกล้ศพมาก

 :welcome: :welcome: :welcome: :welcome:

แม้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพเจ้านายบนพระเมรุที่ท้องสนามหลวง ก็มีประเพณีนิยมทำดังกล่าว โดยทรงทอดผ้าบนพระภูษาโยงไกลจากพระโกศมาก ข้าพเจ้าได้ไปในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๖ ที่พระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง เวลาถวายพระเพลิงจริง ๆ ดึกมากถึง ๒๓ น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๗ ประทับเป็นประธานในฐานะเป็นพระญาติผู้ใหญ่ที่สนิทสนม แต่งพระองค์ขาวล้วน ไม่มีเครื่องราชอิศริยาภรณ์ประดับแต่ประการใด ครั้นได้เวลาถวายพระเพลิง ก็เสด็จขึ้นบนพระเมรุมาศทรงทอดผ้าไตรบนพระจิตกาธาร โดยทรงวางผ้าไตรพิงเข้ากับพระโกศ ไม่ใช่ทอดบนพระภูษาโยง ครั้นพระสงฆ์ชักผ้าไตรไปแล้วก็ทรงถวายพระเพลิงแล้วเสด็จไปประทับบนพลับพลารอเวลาทอดผ้าไตรอีกต่อไป

ครั้นเพลิงลุกเผาพระบรมศพใกล้เวลาจะมอดลง เจ้าพนักงานยกเอาพระโกศรองในซึ่งเป็นเงิน ออกจากพระจิตกาธารแล้ว แม้เพลิงก็ยังไม่ดับยังคงลุกเผาพระอัฐิอยู่ เจ้าพนักงานก็เอาคีมเหล็กคู่ มีด้ามยาวแทงลงที่ตรงกองพระอัฐิ ซึ่งไฟกำลังลุกโชนอยู่บนจิตกาธารนั้น แล้วไปทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ให้เสด็จขึ้นไปทอดผ้าที่ด้ามคีบเหล็กที่ยื่นออกมาจากจิตกาธารนั้นอีกครั้ง เพื่อให้พระสงฆ์ชักผ้าต่อไป



พระราชกรณียะที่ทรงทำนั้น แสดงชัดว่าทรงทอดผ้าใกล้พระบรมศพมาก นิยมเป็นพระราชประเพณี แต่สำหรับประชาชนทั่วไปไม่เคยว่าได้ทำกันที่ไหน แต่ในเวลานี้พระราชประเพณีเรื่องนี้ ก็เข้าใจว่าคงจะได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามกาลนิยม อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้นแสดงว่าการทอดผ้าที่ศพนั้นนิยมให้ใกล้ชิดศพให้มากที่สุด เพื่อให้พระสงฆ์เข้าใกล้ศพ พิจารณาศพในเวลาชักผ้าบังสุกุล ถือเป็นบุญกุศลสำเร็จแก่ผู้วายชนม์แล้วเป็นอย่างดี

ความจริง แม้เจ้าภาพจะพยายามให้พระเข้าใกล้ศพชักผ้าบังสุกุลเพียงใดก็ตาม แต่พระก็ยังไม่จำต้องใช้ไม้เท้ายันศพในเวลาชักผ้าอยู่นั่นเอง เพราะผ้าบังสุกุลมิได้พันร่างศพดังกล่าวแล้ว เมื่อศพไม่ใช้ผ้าพัน การใช้ไม้เท้ายันศพ ค้ำศพก็ไม่มี ครั้นเปลี่ยนผ้าบังสุกุลจากพันศพมาวางบนภูษาโยงหรือบนหีบศพแล้ว ก็เลยเปลี่ยนไม้เท้ามาเป็นตาลปัตร หรือพัด ให้พระถือเข้าไปชักผ้าบังสุกุล เมื่อเลิกใช้ไม้เท้ายันศพแล้ว ไม้เท้ายันศพก็เลยสาปสูญไป จนเกือบกล่าวได้ว่า ไม่มี ไม่เคยเห็นกันที่ไหน เป็นคราวโชคดีของข้าพเจ้ามากที่ได้โอกาสไปเห็นไม้เท้ายันศพของท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม วัดพระเชตุพน ฯ (วัดโพธิ์) ซึ่งท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า :-

   ไม้เท้านี้เป็นของเก่า ท่านเก็บไว้สำหรับเป็นตัวอย่าง เกรงว่าจะสาปสูญและจะเลยไม่รู้จักกัน ข้าพเจ้าต้องกราบขอบพระคุณท่าน ที่มีจิตกุศลอันควรสรรเสริญ ขอยุติเรื่องผ้าบังสุกุลไว้แต่เพียงนี้เพื่อจะได้บรรยายเรื่องพระพุทธรูปปางปลงกรรมฐานหรือปางชักผ้ามหาบังสุกุลต่อไป



พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้
สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับพักอยู่ในสำนักท่านอุรุเวลกัสสปะ หัวหน้าชฎิล ๕oo เพื่อทรงทรมานชฎิลเหล่านั้น ครั้งนั้นนางปุณณทาสี หญิงคนใช้ในเรือนของท่านราชคฤห์เศรษฐี ในนครราชคฤห์ตายลง ท่านเศรษฐีผู้เป็นนายได้กรุณาให้คนใช้เอาผ้าขาวเนื้อดีพันศพแล้วให้ยกไปทอดทิ้งไว้ในป่าช้าตามที่นิยมทำกันเวลานั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ทั้งมีพระประสงค์จะได้ผ้าขาวที่พันศพนางปุณณทาสีมาเป็นผ้าสังฆาฏิ จึงเสด็จไปที่ป่าช้านั้น

เวลานั้นศพนางปุณณทาสีได้ขึ้นพองแล้ว มีน้ำเหลืองน้ำหนองไหล หนอนขึ้นไต่ตอมบ่อนอยู่เต็ม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาศพนางปุณณทาสีโดยปฏิกูลสัญญาแล้วก็เสด็จเข้าไปทรงชักผ้าที่พันศพนางปุณณทาสีนั้นมา เมื่อได้ทรงสลัดผ้าให้หนอนทั้งหลายประมาณหนึ่งทะนานหล่นจากผ้าไปอยู่ที่ศพหมดแล้ว ก็ทรงถือผ้ามหาบังสุกุลผืนนั้นไป ยังที่ประทับเพื่อหาน้ำซักผ้าต่อไป

อาศัยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ ไม่น่าจะทรงทำเช่นนั้น และเมื่อทรงทำได้ถึงเช่นนั้น จึงเป็นพระคุณที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง ถึงกับทำแผ่นปฐพีหวั่นไหวในขณะนั้นถึง ๓ ครั้ง

 :25: :25: :25: :25: :25:

ครั้งนั้นท้าวสักกะเทวราช ทรงทราบพระพุทธประสงค์ จึงได้เสด็จลงมาจากดาวดึงส์พิภพ ทรงขุดสระโบกขรณีบันดาลให้มีน้ำใสสะอาดเต็มเปี่ยมด้วยเทวฤทธิ์ และทรงยกแผ่นศิลาใหญ่สำหรับเป็นที่ขยำขยี้ในเวลาซักผ้ามาถวายให้พร้อม

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงซักผ้ามหาบังสุกุลนั้นให้สะอาดปราศจากกลิ่นไออสุภแล้ว ทรงพระประสงค์จะทรงตากผ้า เทพยดาที่สิงสถิตอยู่ที่ใกล้สระโบกขรณีนั้นทราบพระพุทธประสงค์ก็โน้มกิ่งกุ่มให้ทอดลงมาเป็นราวตากผ้าถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ้าบังสุกุลนั้นแห้งดีแล้ว ทรงพระประสงค์จะทรงพับผ้า ท้าวสักกะเทวราชาก็ทรงยกแผ่นศิลามาถวายสำหรับเป็นที่พับผ้าด้วยเทวฤทธิ์ ต่อนั้นสมเด็จพระธรรมสามิต ก็ทรงพับผ้าที่แผ่นศิลานั่นให้เรียบร้อยสมพระพุทธประสงค์ ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทำผ้าบังสุกุลผืนนั้นให้เป็นผ้าสังฆาฏิสำหรับใช้สอยเป็นบริขารส่วนพระองค์เป็นประจำมาเป็นเวลานาน



ภายหลังพระผู้มีพระภาคทรงเห็นพระมหากัสสปเถระ ซึ่งเป็นพระเถระมีอายุเจริญมากกว่าพระองค์ ให้ผ้าสังฆาฏิเนื้อหยาบหนักมาก จึงทรงพระมหากรุณาประทานผ้าสังฆาฏิผืนนั้นแก่พระมหากัสสปะ โดยรับสั่งว่า กัสสปะ! ผ้าสังฆาฏิที่เธอใช้อยู่นั้น เนื้อหยาบ, หนา, หนักมาก เปลี่ยนเอาผ้าสังฆาฏิของตถาคตไว้ใช้เถิด พระมหากัสสปะก็ทรงรับผ้าสังฆาฏิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน มาเปลี่ยนสังฆาฏิของท่านไว้ใช้เป็นประจำดังพระพุทธประสงค์

พระมหากรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงประทานผ้าสังฆาฏิอันมีค่ายิ่งแก่พระมหากัสสปะครั้งนี้ ได้เป็นพระคุณสูง ประทับอยู่ในความทรงจำของพระมหากัสสปะเป็นอย่างยิ่ง แม้ในบรรดาพระสงฆ์สาวกทั้งหลายก็พากันซาบซึ้งในพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ, ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงมีในพระมหากัสสปะเป็นพิเศษ

 :96: :96: :96: :96: :96: :96:

ดังนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระเจ้าได้เป็นประธานพระสงฆ์ทั้งหลายกระทำปฐมสังคายนา ก็ปรากฏว่า ท่านรำพึงรำพันถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้มีพระภาคที่ทรงประทานสังฆาฏิผืนพิเศษอันเป็นบริขารส่วนพระองค์นั้น ให้ใช้ร่วมอยู่ตลอดกาลว่า ควรแท้ที่จะกระทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัย ให้เป็นแบบฉบับเหมือนนายช่างร้อยกรองดอกไม้ให้เป็นมาลัย น้อมถวายเป็นพุทธบูชา สนองพระกรุณาธิคุณเถิด และในที่สุดพระมหากัสสปะก็ได้เป็นประธาน จัดทำงานปฐมสังคายนาพระธรรมวินัยสำเร็จลงเรียบร้อยด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรมสมมโนรถ เป็นเยี่ยงอย่างของพระสงฆ์ศากยบุตรพุทธชิโนรส ผู้ประกาศสันติวรบทสืบต่อมาจนบัดนี้

จบตำนานพระพุทธรูปปางปลงกรรมฐานแต่เพียงนี้.


ข้อมูลจากหนังสือ "ตำนานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ" นิพนธ์ของ พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต (ชอบ อนุจารีมหาเถร)
http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=818:2009-07-17-16-46-05&catid=79:2009-07-17-16-15-34&Itemid=279



     มีภาพให้ชมเท่านี้ครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่าน
     :25: :25: :c017: :c017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2014, 09:13:37 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปฐมเจดีย์ "ศูนย์กลางพุทธศาสนา" แห่ง สุวรรณภูมิ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2014, 09:21:33 am »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์