ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมืองศรีเทพ ‘บรรพชน’ ประเทศไทย  (อ่าน 245 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28455
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เมืองศรีเทพ ‘บรรพชน’ ประเทศไทย
« เมื่อ: กันยายน 20, 2023, 07:02:29 am »
0

ชาวเมือง “ทวารวดี” ศรีเทพ “ไม่ไทย” แต่เป็นบรรพชนคนไทยกลุ่มหนึ่ง [ภาพเมืองศรีเทพ อ. ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์ (จาก Facebook เพจ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ)]


เมืองศรีเทพ ‘บรรพชน’ ประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

ชาวเมือง “ทวารวดี” ศรีเทพ “ไม่ไทย” หลายพันปีมาแล้ว แต่เป็นบรรพชนคนไทยสายหนึ่งในบรรดาหลายสาย เมืองศรีเทพ, เมืองละโว้, เมืองอโยธยา, เมืองอยุธยา สืบความเชื่ออวตารของพระนารายณ์จนถึงประเทศไทยปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้

(1.) ศรีเทพ คือ ทวารวดี เป็นงานวิจัยของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ (อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สอดคล้องกับตำแหน่ง “โถโลโปตี” ในเอกสารจีนของพระถังซัมจั๋ง (นครปฐม ไม่ใช่ทวารวดี-โถโลโปตี) เมืองศรีเทพ (ลุ่มน้ำป่าสัก อ. ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์) พบประติมากรรมพระกฤษณะ เจ้าเมืองทวารวดี ตามคัมภีร์จากอินเดีย ทวารวดีเป็นชื่อศักดิ์สิทธิ์ของเมืองในคัมภีร์จากอินเดียที่อุษาคเนย์ยกย่อง ดังนั้นจึงมีเมืองทวารวดีในกัมพูชาตามที่ท่านยอร์ช เซเดส์ บอกไว้

(2.) ละโว้ คือ ทวารวดี เป็นงานวิจัยของ มานิต วัลลิโภดม (นักปราชญ์กรมศิลปากร) เมืองละโว้ (ลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก จ. ลพบุรี ลุ่มน้ำเดียวกับเมืองศรีเทพ) พบจารึกกล่าวถึง “วาสุเทพ” ซึ่งเป็นนามเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับพระกฤษณะ ปูนปั้นรูปพระกฤษณะยังทำสืบเนื่องที่พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี

(3.) อโยธยา-อยุธยา สืบจากละโว้ แต่นามเมืองบอกที่มาต่างกัน เมืองอโยธยา-อยุธยา ชุมทางแม่น้ำ 3 สาย คือ เจ้าพระยา, ลพบุรี, และป่าสัก , อโยธยา นามเต็มว่า “อโยธยาศรีรามเทพ” หมายถึงเมืองแห่งชัยนะของพระราม (โดยไม่เอ่ยนามพระกฤษณะ) อวตารของพระนารายณ์ อยุธยา นามเต็มว่า “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” เอ่ยนามทวารวดีของพระกฤษณะ และอยุธยาของพระราม ทั้ง 2 องค์เป็นอวตารของพระนารายณ์

@@@@@@@

ประภัสสร์ ชูวิเชียร (อาจารย์หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) ยืนยันว่า “ศรีเทพคือบรรพชนของคนอยุธยา” โดยพิจารณาจากพระปรางค์เมืองศรีเทพเป็นต้นแบบให้ปรางค์ละโว้และปรางค์อยุธยา อยู่ในเพจอยุธยาวันละเรื่อง จะคัดมาเป็นพยานพร้อมรูปประกอบที่ อ. ประภัสสร์ เขียนบรรยายเพิ่มให้เพื่อความเข้าใจสะดวก ดังต่อไปนี้



ปรางค์สองพี่น้อง เมืองศรีเทพ เป็นปราสาทก่ออิฐในศิลปะเขมรแบบบาปวน-นครวัด ราว พ.ศ.1550-1650 ลักษณะสำคัญได้แก่การสร้างมุขทางเข้าต่อยื่นออกจากห้องครรภคฤหะ (ห้องประดิษฐานรูปเคารพ) ซึ่งคล้ายคลึงกับปราสาทเขมรในช่วงเดียวกันที่ปรากฏทั้งในกัมพูชาและที่ราบสูงโคราช เช่น ปราสาทบันทายสำเหร่ ปราสาทพิมาย หรือปราสาทพนมรุ้ง เป็นต้น


ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.1800 โดยยังมีรูปแบบสืบทอดจากปราสาทแบบเขมรลงมา แต่เปลี่ยนสถานะเป็นพระมหาธาตุซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพุทธศาสนา การมีมุขทางเข้ายื่นออกจากห้องเรือนธาตุมีสามช่องเรียกว่าตรีมุข น่าจะเป็นแบบอย่างที่สะท้อนการสืบทอดลงมาจากปราสาทเขมรรุ่นก่อนหน้ารวมทั้งที่เมืองศรีเทพด้วย


ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ อยุธยา สร้าง พ.ศ.1967 รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นปรางค์ศิลปะอยุธยาที่พัฒนาทรวดทรงสูงขึ้นจากต้นแบบที่เป็นปราสาทเขมร แต่ยังคงการสร้างตรีมุขยื่นออกจากเรือนธาตุแบบเดียวกันกับที่เคยพบในปราสาทเขมรที่เมืองศรีเทพและปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี สะท้อนว่ารูปแบบทางศิลปวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยากับเมืองศรีเทพนั้นสืบเนื่องกันลงมาโดยมีเมืองลพบุรีเป็นตัวกลาง


    • ศรีเทพคือบรรพชนของอยุธยา

เมืองโบราณศรีเทพมีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่สมัยทวารวดีและวัฒนธรรมแบบเขมร หลักฐานบางประการสะท้อนความเกี่ยวข้องสืบเนื่องลงมาถึงกรุงศรีอยุธยา

ศาสนสถานที่เป็นปราสาทเขมรสร้างใจกลางเมืองศรีเทพเช่นปรางค์ศรีเทพนั้น โดยรูปแบบซึ่งสัมพันธ์กับปราสาทเขมรทั้งในกัมพูชาและบนที่ราบสูงโคราช เช่น ปราสาทพิมาย ทำให้นักวิชาการบางท่านลงความเห็นว่า รูปแบบของปราสาทเขมรที่ศรีเทพนั้น มีแบบแผนสำคัญคือ มุขทางเข้าก่อยื่นยาวออกมาด้านหน้า ซึ่งต่อมาจะปรากฏที่ปรางค์วัดมหาธาตุ ลพบุรี ซึ่งสร้างราว พ.ศ. 1800 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะเข้าสมัยอยุธยา

ส่วนปรางค์ประธานขนาดใหญ่บางองค์ที่กรุงศรีอยุธยาสร้างขึ้นโดยมี “ตรีมุข” หรือทางเข้ายื่นออกจากตัวปรางค์เช่นเดียวกันกับลพบุรี สะท้อนว่ารูปแบบปรางค์ของอยุธยาตอนต้นนั้นสืบกลับไปถึงสถาปัตยกรรมแบบเขมรที่เมืองศรีเทพได้ โดยมีเมืองลพบุรีเป็นตัวกลาง

ในโอกาสที่เมืองศรีเทพจะได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทย จึงควรคำนึงถึงความสำคัญของมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 และปัจจุบันยังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการถูกถอดถอนและสูญเสียหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากหลายปัจจัยคุกคามด้วย

#อยุธยาวันละเรื่อง โดย ประภัสสร์ ชูวิเชียร





Thank to : https://www.matichon.co.th/columnists/news_4188073
ผู้เขียน   : สุจิตต์ วงษ์เทศ | วันที่ 19 กันยายน 2566 - 16:42 น.   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2023, 07:08:54 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28455
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เมืองศรีเทพ ‘บรรพชน’ ประเทศไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 20, 2023, 08:55:18 am »
0

 :96: :96:

เรื่องแนะนำ :-

พระถังซำจั๋ง รู้จัก ‘ทวารวดี’ ในเอกสารจีนแพร่หลายสู่สากล | สุจิตต์ วงษ์เทศ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=32425.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ