ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระอุบลวรรณาเถรี อัครสาวิกาเบื้องซ้าย ในอดีตชาติเป็นพระขนิษฐาของพระราหุล  (อ่าน 48778 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ 
ในอดีตชาติคือ กัณหาชินาราชกุมารี พระธิดาของพระเวสสันดร

 

ขอนำข้อความบางส่วนในท้ายของอรรถกถา มหาเวสสันตรชาดก
ที่อยู่ในลิงค์http://84000.org/tipitaka/atita10/jataka10.php?i=10&p=10  มาแสดง

“พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก ซึ่งประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ คาถานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มหาเมฆก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตก ในที่ประชุมแห่งพระประยูรญาติของเรา อย่างนี้เหมือนกัน."

 ตรัสดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

พราหมณ์ชูชกในกาลนั้น คือ ภิกษุเทวทัต.
 นางอมิตตตาปนา คือ นางจิญจมาณวิกา.
 พรานเจตบุตร คือ ภิกษุฉันนะ.
 อัจจุตดาบส คือ ภิกษุสารีบุตร.
 ท้าวสักกเทวราช คือ ภิกษุอนุรุทธะ.
 พระเจ้าสญชัยนรินทรราช คือ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช.
 พระนางผุสดีเทวี คือ พระนางสิริมหามายา.
 พระนางมัทรีเทวี คือ ยโสธราพิมพา มารดาราหุล.
 ชาลีราชกุมาร คือ ราหุล.
 กัณหาชินาราชกุมารี คือ ภิกษุณีอุบลวรรณา.

 ราชบริษัทนอกนี้ คือ พุทธบริษัท.
 ก็พระเวสสันดรราช คือ เราเองผู้สัมมาสัมพุทธเจ้า แล.
 จบ นครกัณฑ์

-----------------------------------------------

จะเห็นว่า อดีตชาติของพระราหุล ต้นกำเนิดของกรรมฐานมัชฌิมา  คือ ชาลีราชกุมาร โอรสของพระเวสสันดร ซึ่งเป็นพี่ชาย กัณหาชินาราชกุมารี ในชาตินั้น นั่นเอง
ในสมัยพุทธกาล กัณหาชินาราชกุมารี ได้มาเป็น พระอุบลวรรณาเถรี  ที่พระพุทธเจ้ายกย่องให้เป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้าย เป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ เทียบเท่าพระโมคคัลลานะ
เพื่อให้เพื่อนสมาชิกรู้จัก พระอุบลวรรณาเถรีมากยิ่งขึ้น จึงขอนำประวัติของท่านมาเสนอ
เชิญหาความสำราญได้ ณ บัดนี้

-----------------------------------------------   

หมายเหตุ  :  ข้อความต่อไปนี้ดัดแปลงและเรียบเรียงมาจากเว็บ

http://www.dhammathai.org/buddha/g35.phpโดยคุณ Lukhgai สมาชิกเว็บพลังจิต 
และ http://www.84000.org/one/2/index.shtml   ส่วนภาพประกอบนำมาจากหลายเว็บ

------------------------------------------------


ประวัติพระอุบลวรรณาเถรี

พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า
“อุบลวรรณา” ตามนิมิตลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลับดอกอุบลเขียว
 

เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช

วัน หนึ่งท่านเศรษฐีจึงให้คนรับใช้ไปตามนางอุบลวรรณาลูกสาวมาพบ และเล่าเรื่องที่มีพระราชาและ เศรษฐีตามแคว้นต่าง ๆ ส่งคนมาสู่ขอเธอให้นางอุบลวรรณาทราบเรื่องโดยตลอด และยังได้กล่าวถึงความทุกข์ใจ ของตนที่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรเลย เพราะเกรงจะเป็นที่ขัดใจแก่ผู้ที่ไม่ได้ ท่านเศรษฐีจึงแนะนำลูกสาวว่า " อุบลวรรณาลูกเรา อยากบวชไหมลูกเพื่อตัดสินปัญหาต่าง ๆ พ่อคิดมาหลายวันแล้ว การบวชของลูกเป็นทางเดียวที่เหมาะที่สุด อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับลูกเท่านั้น ว่าลูกอยากบวชหรือไม่ เพราะการบวชเป็นเรื่องของผู้จะบวชโดยเฉพาะ ผู้บวชจะต้องพอใจบวชเองไม่ใช้บังคับ หรือข่มขู่ "
 

เนื่องจากนางได้สั่งสมบารมีธรรมมาอย่างเต็มเปี่ยมตั้งแต่อดีตชาติ จนกระทั่งชาตินี้ซึ่งเป็นปัจฉิมชาติหรือชาติสุดท้ายที่จะอยู่ในวัฏฏะ (การเวียนว่ายตายเกิด)ดังนั้นภพนี้จึงเป็นภพสุดท้าย เมื่อนางอุบลวรรณาได้ฟังท่าน
เศรษฐีผู้เป็นบิดาแนะนำ นางจึงรับปากท่านเศรษฐีด้วยความยินดี ๒-๓ วันต่อมา

ท่านเศรษฐีจัดงานบวชลูกสาวนางอุบลวรรณาขึ้นที่บ้านเป็นงานเอิกเกริก เพราะได้แจ้งต่อญาติมิตรทั้งใกล้และไกลให้มาร่วมงานบวชครั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ลูกสาวของตนและเพื่อล้มล้างความคิดของผู้ชายทั้งหลายที่ ส่งคนมาสู่ขอโดยสิ้นเชิง จากนั้นขบวนแห่ได้นำนางอุบลวรรณาและญาติมิตรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระ เชตวันวิหาร กราบทูลขอประทานการบรรพชาให้แก่นางอุบลวรรณา ผู้เลื่อมใสในการออกแสวงหาโมกขธรรมด้วยสมณเพศ

 


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณเป็นอย่างดีว่า นางอุบลวรรณาคนนี้แหละจะมาเป็นอัครสาวิกาของพระองค์ ตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้แต่อดีตชาติ จึงรับสั่งกับท่านเศรษฐีว่า " ดูก่อนท่านเศรษฐี การมาสู่ธรรมวินัยของธิดาของท่าน จะไม่ไร้ผลที่มุ่งหมายอย่างแน่นอน " จากนั้นทรงรับนางอุบลวรรณาไว้ให้บรรพชาในสำนักภิกษุณีตามประสงค์ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อนางอุบลวรรณาบวชแล้ว ไม่นานนักนางก็เข้าช่วยทำความสะอาดอุโบสถ โดยผลัดเปลี่ยนกับเพื่อนพรหมจรรย์เป็นวัน ๆ ต้องปัดกวาดปูอาสนะและตามประทีปในเวลากลางคืน

 

ค่ำวันหนึ่งขณะที่นางอุบลวรรณา ตามประทีปแล้ว ก็ปัดกวาดอุโบสถอยู่ มองเห็นเปลวประทีปต้องลมพัด มีลักษณะอาการต่าง ๆ ปรากฏแก่สายตาของนาง คือลุกโพลงขึ้น ริบหรี่ลงบ้าง บางดวงดับต้องจุดใหม่ บางดวงอยู่ในตำแหน่งที่ไม่โดนลม ไฟก็ลุกโพลงอยู่สม่ำเสมอดี นางอุบลวรรณาได้กำหนดเอาเปลวไฟนั้นมาเพ่งพินิจ ทำให้เห็นชีวิตของสัตว์ทั้ง หลายคล้ายดวงประทีปที่ลุกโพลงอยู่ด้วยอำนาจของไส้และน้ำมันชีวิตของสัตว์ก็ เช่นกัน อาศัยธาตุทั้ง ๔ และข้าวน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่

นอกจากนั้นยังถูกกรรมนำให้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้เป็นสุขบ้าง ทำให้ เป็นทุกข์บ้าง ทำให้เจริญขึ้นบ้าง ทำให้เสื่อมลงบ้าง เหมือนดวงประทีปต้องลมฉันใดก็ฉันนั้น บางครั้งแม้ไส้น้ำมันยังบริบูรณ์อยู่แต่เมื่อต้องลมกระโชกแรงก็พลันดับวูบลง เหมือนชีวิตสัตว์ แม้จะมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยอาหารบางครั้งก็ต้องพลันแตกดับโดยอุปัทวเหตุอย่าง น่าสลดใจก็ดี ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ทั้งไม่สามารถจะกำหนดรู้ได้ว่า ต่อไปภายหน้าจะสุขจะทุกข์จะเจริญหรือจะเสื่อมถอยมากน้อยอย่างไรและชีวิตจะ ดับลงเมื่อไหร่ ด้วยอาการอย่างไร เมื่อไรรู้ไม่ได้ทั้งนั้น เหมือนดวงประทีปที่ปรากฏแก่สายตาเบื้องหน้าเช่นนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นทุกข์เดือดร้อนด้วยการป้องกันรักษาชีวิตด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ในที่สุดก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะรักษาไว้ได้

ถึงกระนั้นมนุษย์เราก็ยังประมาท หลงลืมชีวิตราวกับว่าชีวิตจะดำรงคงอยู่ในโลกเป็นพันปีหมื่นปี เสมือนหนึ่งชีวิตจะไม่ต้องประสบทุกข์ร้อนด้วยโรคด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ ไม่แสวงหาที่พึ่งของตนไว้เลย เป็นที่น่าสังเวชใจยิ่งนัก นางอุบลวรรณา ซึ่งบัดนี้เธอดำรงสถานะเป็นพระภิกษุณีแล้ว ได้ยืนพิจารณาดวงประทีปเจริญฌานทำเตโชกสิณ (เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ ในที่นี้ใช้ เตโช ซึ่งหมายถึง ไฟ สำหรับการเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ) ให้เป็นอารมณ์บรรลุฌานโดยลำดับ ทำฌานที่ได้รับบรรลุนั้นให้เป็นบาท ก้าวขึ้นสู่อริยมรรคเบื้องบน ในที่สุดก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาและอภิญญาทุกประการ ซึ่งปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ความรู้แตกฉานมี ๔ ลักษณะ คือ


๑. อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานใน อรรถรู้แจ้งในความหมาย เป็นข้อธรรมหรือความย่อก็ สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่งก็สามารถคิดจำแนกกระจายเชื่อมโยงต่อ ออกไปได้
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา คือปัญญาแตกฉานใน ธรรมรู้แจ้งในหลักการ เห็นอรรถาธิบายพิสดารก็สามารถ จับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่งก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้
๓. นุรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ รู้แจ้งในภาษา รู้ศัพท์และคำต่าง ๆ ตลอดจนภาษาต่าง ๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ รู้แจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ สามารถเอามาเชื่อมโยงเข้า
สร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ได้ ใช้ประโยชน์ได้เหมาะสมเข้ากับกรณีหรือเหตุการณ์ ส่วนการบรรลุ อภิญญา นั้น หมายถึง การบรรลุความรู้ขั้นสุดยอด ซึ่งเรียกกันว่า " อภิญญา ๖ " มีดังนี้


๑. อิทธิวิชา หรือ อิทธิวิธี หมายถึง ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
๒. ทิพโสต หมายถึง ญาณหรือความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ หมายถึง ญาณ หรือความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่นได้
๔. ปุพเพนิวาสานุสติ หมายถึง ญาณ หรือความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้
๕. ทิพยจักขุ หมายถึง ญาณหรือความรู้ที่ทำให้มีตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ หมายถึง ญาณหรือความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
สำหรับ ๑-๕ นับเป็นโลกียะ (โลกีย อภิญญา) สำหรับข้อ ๖ เป็นโลกุตตระ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2010, 04:14:47 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
บวชแล้วยังถูกข่มขืน

คราว หนึ่งนางอุบลวรรณาภิกษุณีท่องจาริกไปตามชนบทต่าง ๆ เมื่อกลับมาแล้วจึงไปพักผ่อนอยู่ที่ป่าอันธวันสมัยนั้นพระบรมศาสดายังไม่ได้ ทรงห้ามภิกษุณีพักผ่อนอยู่ในป่า มีคนใจบุญได้สร้างกุฏีเล็ก ๆ ไว้ในป่าอันธวันสำหรับนางภิกษุณี เพื่ออาศัยพักผ่อนได้หลังละ ๑ รูป ทำฝาเฉพาะคราวที่มีพระภิกษุณีมาพัก นางอุบลวรรณา ภิกษุณีได้เข้าไปพักอยู่ในกุฏีเล็ก ๆ นั้น นางอุบลวรรณามีลุงอยู่คนหนึ่ง ซึ่งมีลูกชายชื่อ นันทมาณพ มีความรักใคร่นางอุบลวรรณามากตั้งแต่สมัยที่นางเป็นฆราวาส แม้นางอุบลวรรณาจะออกบวชแล้วก็ยังหลงรักอยู่ ดังนั้น นันทมาณพ จึงต้องหาช่องทางที่จะข่มขืนใจ ทำลายพรหมจรรย์ของนาง

ในที่สุดวันนั้นก็มาถึง นันทมาณพได้ลักลอบเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในป่าอันธวัน ตั้งแต่เวลาใกล้รุ่ง เมื่อนางภิกษุณี อุบลวรรณาออกเดินทางจากป่าอันธวันเข้าไปหมู่บ้าน เพื่อรับบิณฑบาต นันทมาณพก็ลอบเข้าไปในกุฏีของนางคลานเข้าไปซ่อนตัวอยู่ภายใต้เตียงรอนางกลับ มา ฝ่ายนางภิกษุณีอุบลวรรณา เดินทางจากวัดในป่าเข้ามาบิณฑบาตในเมือง กลับมาพร้อมอาหารในบาตรต้องอุ้มบาตรเดินทางกลับมาถึงกระท่อมของนาง ตั้งใจว่าจะนอนพักสักครู่เพื่อให้หายเหนื่อย จึงปิดประตูห้องเสีย ค่อย ๆ เอนกายลงบนเตียงนอนหาความสงบสุขตามอัตภาพซึ่งกะปลกกะเปลี้ยจากการเดินฝ่าแดด มา พอทิ้งร่างลงบนพื้นเตียงก็หลับตาลง ทันใดนั้นเอง นันทมาณพซึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้เตียงก็กระโจนขึ้นคร่อมร่างนาง แม้จะถูกนางผลักใสให้ออกไปตามกำลังแรงของท่านด้วยความรับเกียจพร้อมกับกล่าว ว่า " อย่าฉิบหายเสียเลย เจ้าคนพาล ๆ "ก็ไม่มีผลอะไรที่จะให้มันหยุดการกระทำ เมื่อทำกรรมที่มันมุ่งหมายไว้ได้สำเร็จก็เกิดมิจฉาจิตคิดอีกว่า จักต้องมาในวันหน้าต่อไปอีก โดยไม่ได้เฉลียวใจถึงผลบาปอันร้ายแรงที่สุดซึ่งมันต้องได้รับอย่างหนักใน เวลานั้นไม่

จากนั้น นันทมาณพ หลบออกจากกุฏิน้อยนั้นมาแต่แค่สุดสายตา ของพระอุบลวรรณาภิกษุณีหน่อยหนึ่งเท่านั้น พื้นธรณีที่หนาแน่น พลันสะเทือนหวั่นไหว ไม่สามารถรองรับมนุษย์อุบาทว์ที่ทำร้ายพระอัครสาวิกา ของพระบรมศาสดา ซึ่งจัดเป็นกรรมหนักที่สุดได้ ค่อย ๆ ฉีกแยกออกเป็นช่องเหมืองปล่องเหว เปลวเพลิงอเวจี ส่งเสียสนั่น พอสิ้นเสียงอันกึกก้อง บัดนั้นเองร่างของนันทมาณพผู้บาปหนา พลันจมหายไปใต้พื้นธรณี นันทมาณพหมดแรงดิ้นตื่นตระหนกด้วยความหวาดกลัวอย่างที่สุด จนกระทั่งตาเหลือกโปนเหงื่อกาฬกลัวตายไหลเหมือนน้ำหยาด กว่าจะสำนึกตัวว่าได้ทำบาปมหันต์ก็สายเกินไป ต้องรับผลกรรมลามกของมันอย่างทุกข์ทรมานที่สุด ฝ่ายพระอุบลวรรณายืนตะลึง เมื่อเห็นนันทมาณพ ถูกพระธรณีสูบ ล่วงหล่นสู่ยมโลกท่ามกลางเปลวเพลิงที่ลุกโชน จนกระทั่งเหตุการณ์กลับคืนสู่ปกติ ท่านจึงเล่าเรื่องที่ได้ประสบแจ้งให้พระภิกษุณีทั้งหลายทราบทั่วกัน

ในที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบด้วย และโปรดให้ประชุมภิกษุทั้งหลาย ทรงประทานพระโอวาท ว่า " คนพาลยังสำคัญบาปกรรมที่ตนกระทำว่าดีดุจน้ำผึ้งอยู่ ก็เพียงชั่วเวลาที่บาปนั้นยังไม่ให้ผล เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นคนพาลจะประสบทุกข์เดือดร้อยเศร้าโศก พิไรรำพันตำหนิตนเองว่า โธ่! เราไม่น่ากระทำเลยแต่ก็สาย ไปแล้ว เพราะโทษแห่งความเขลาตามใจตัวตกไปในอำนาจแห่งกิเลสทำให้ตนเป็นคนลามก เศร้าหมองทุกสถานที่ไป " เป็นเรื่องที่น่าสังเวชอย่างยิ่งเมื่อคนๆ นั้นรู้ตัวว่าผิดอยากจะทำดีแต่โอกาสของเขาไม่มี เพราะต้องประสบทุกข์เสวยผลกรรมเก่าอยู่ ได้แต่คิด ใครจะเชื่อถือแม้แต่ตัวเองเพราะเวลาปัจจุบันกับอนาคตไม่เหมือนกันด้วยต่าง สถานที่ ต่างบุคคล ต่างสิ่งแวดล้อม ต่างการงาน ย่อมมีจิตใจต่างออกไป


พระขีณาสพเหมือนไม้แห้งไม้ผุ

เมื่อกาลเวลาล่วงไปภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ของพระ
อุบลวรรณาเถรี นั้นว่า:-
“ท่านทั้งหลาย เห็นทีพระขีณาสพทั้งหลาย คงจะยังมีความยินดีในกามสุข คงจะยังจะ
พอใจในการเสพกาม ก็ทำไมจะไม่เสพเล่า เพราะท่านเหล่านั้นมิใช่ไม้ผุ มิใช่จอมปลวก อีกทั้ง
เนื้อหนังร่างกายทั่วทั้งสรีระก็ยังสดอยู่ ดังนั้น แม้จะเป็นพระขีณาสพก็ชื่อว่ายังยินดีในการเสพ
กาม”
 

พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามทรงทราบเนื้อความที่พวกภิกษุเหล่านั้นสนทนากัน
แล้วจึงตรัสว่า:-
“ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกามเปรียบเสมือน
หยาดน้ำตกลงในใบบัวแล้วไม่ติดอยู่ ย่อมกลิ้งตกลงไป และเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่
ติดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉันใด ขึ้นชื่อว่ากามก็ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ติดอยู่ในจิตของพระ
ขีณาสพ ฉันนั้น”


ห้ามภิกษุณีอยู่ป่า


ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ใส่ใจในธุระปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องจัดต้องทำ ควรทำแต่งานที่เป็นกุศล ไม่มีโทษ ไม่ต้องคิดไปตามแก้ภายหลังทั้งสบายใจไม่เดือดร้อนอะไร เพราะเหตุที่พระภิกษุณีถูกคนใจบาป คนลามกเบียดเบียนอย่างกรณีของพระอุบลวรรณาเป็นอุทาหรณ์ ทำให้พระพุทธองค์ทรงคำนึงาหวิธีการป้องกันภัยเช่นนี้ซึ่งอาจจะมีอีกในอนาคต ทรงตระหนักว่า ภิกษุณีควรมีเสนาสนะอยู่ภายในพระนคร ควรได้รับการอารักขาพอสมควรเพื่อให้ปลอดภัยจากเรื่องดังกล่าว พระเจ้าปเสนทิทรงเห็นชอบตามพระพุทธดำรัสแล้วทรงทูลรับพระกระแสรับสั่งว่า จะทรงสร้างถวายตาม พระพุทธประสงค์ จึงได้โปรดให้สร้างที่อยู่สำหรับพระภิกษุณีสงฆ์ขึ้น เป็นการเฉพาะในที่แห่งหนึ่งในพระ นครเป็นเอกเทศแยกอยู่ต่างหาก แต่นั้นมาพวกภิกษุณีก็เลิกอยู่ในป่าเข้ามาอยู่ในบ้านในเมืองเท่านั้น


พระอุบลวรรณาเถรีสำแดงฤทธิ์

คราว หนึ่งเมื่อพระอุบลวรรณาเถรีสำเร็จสาวิกาบารมีญาณ จนกระทั่งเป็นอัครสาวิกา ของพระพุทธองค์ มีฤทธิ์มากเหนือพระอรหันต์องค์อื่น ๆ จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศในทางมีฤทธิ์เทียบเท่ากับพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่ง เป็นผู้เลิศในทางมีฤทธิ์ ทางฝ่ายภิกษุ วันหนึ่งพระอุบลวรรณาเถรีเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาถวายบังคมแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าแต่พระมหามุนีผู้เป็นนาถะของสรรพสัตว์ บัดนี้หม่อมฉันได้ข้ามพ้นชาติส่งสารได้แล้ว บรรลุถึงอจลบทหมดสิ้นสรรพทุกข์แล้ว ขอชุมชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและบุคคลที่หม่อมฉัน ได้กระทำล่วงเกินไว้ จงยกโทษให้หม่อมฉันเฉพาะพระพักตร์พระพิชิตมารเถิด ข้าแต่พระมหามุนีเจ้า ตลอดเวลาที่หม่อมฉันท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ หากหม่อมฉันจะพึงล่วงเกินในพระยุคลบาทขอเสด็จพ่อได้ทรงโปรดประทานยกโทษให้ แก่หม่อมฉันด้วยเถิด "

พระพุทธเจ้าตรัสว่า " ดูกร อุบลวรรณาผู้ปฏิบัติตามคำสอนของเรา เธอจงสำแดงฤทธิ์ตัดความสงสัยของบริษัททั้งสี่ในวันนี้เถิด " พระอุบลวรรณาเถรีได้กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก มีปัญญารุ่งเรือง หม่อมฉันเป็นธิดาของพระองค์ มีบุญที่ผู้อื่นทำได้ยากแสนยาก ซึ่งได้ทำไว้ดีแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี ผู้มีจักษุ ๕ หม่อมฉันมีนามว่า อุบลวรรณา เพราะมีสีกายเหมือนสีดอกบัว เป็นธิดาของเสด็จพ่อขอถวายบังคมพระ ยุคลบาทเสด็จพ่อพระเจ้าข้า  พระราหุลเถระและหม่อมฉันเกิดร่วมกันมาหลายร้อย ชาติมีฉันทะแห่งจิตเสมอกัน เกิดร่วมภพร่วมชาติกัน

แม้ในภพนี้ซึ่งเป็นภพหลังสุด ก็มีนามว่า อริยะ ว่าอรหันต์ ว่า สาวก ว่าลูกคถาคต ลูกของเสด็จพ่อร่วมกัน คือพระราหุลเถระ เป็นโอรส ขอเชิญเสด็จพ่อทอดพระเนครฤทธิ์ของหม่อมฉันเถิด อุบลวรรณา ลูกของเสด็จพ่อจะสำแดงฤทธิ์ถวาย " เมื่อพระอุบลวรรณาเถรีกราบทูลแล้ว จึงเข้าสมาปีติอธิษฐานจิตสำแดงฤทธิ์แห่งอภิญญา โดยการยื่นมือออกไปวักเอาน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ มาใส่ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งมีลักษณะราวกับเด็กเล่นน้ำที่อยู่ในฝ่ามือฉะนั้น จากนั้น

 

(๑) ยื่นมือออกไปพลิกพสุธา เอามาวางบน ฝ่ามือเหมือนเด็กฉุดปลาเค้าเล่น
(๒) เอาฝ่ามือปิดครอบจักรวาล ทำฝนสีต่าง ๆ ตกลงจากเบื้องบน
(๓) เอาพสุธาทำเป็นครก เอาเม็ดกรวดทำเป็นข้าวเปลือก
เอาขุนเขาสิเนรุทำเป็นสาก แล้วโขลกเหมือน เด็กหญิงซ้อมข้าวฉะนั้น


อดีตชาติของพระอุบลวรรณาเถรี

    ครั้นพระอุบลวรรณาเถรีสำแดงฤทธิ์ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าแต่พระมหามุนีหม่อมฉันมีความชำนาญสามารถแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ มีความสามารถทางด้านทิพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณชำนาญในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ มีทิพย์จักษุบริสุทธิ์ อาสวะทั้งหลายหมดสิ้น ภพใหม่ชาติหน้าไม่มีอีกต่อไปข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลก หม่อมฉันมีญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณกว้างขวางหมดจดตามลักษณะองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระองค์กิจกรรมต่าง ๆ ที่หม่อมฉันแสดงแล้วในชาติปางก่อน

ในคราวรณรงค์ล้างมัจฉริยะให้พินาศโดยทาน บารมีเพื่อประโยชน์ของพระองค์ ข้าแต่พระมหามุนีเจ้า ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาระลึกถึงกุศลธรรมเก่า และบุญที่หม่อมฉันได้สั่งสมไว้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าพระองค์ได้ทรงประทานชีวิตแก่หม่อมฉันมากมาย แม้หม่อมฉันก็ได้บริจาคชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ " "ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีฤทธิ์กล้า ไม่มีสิ่งใดเปรียบปานในกาลนั้น หม่อมฉันรู้สึกอัศจรรย์ใจยิ่ง ขอประนมอัญชลีเหนือเศียรเกล้ากราบทูลว่า กรณียกิจนี้หม่อมฉันได้ทำแล้วในกัปที่แสนหนึ่ง

    แต่ภัทรกัปนี้ ครั้งนั้น หม่อมฉัน เป็นนางนาคกัญญามีชื่อว่า วิมลา ชาวนาคยกย่องว่า เป็นผู้กล้าดีกว่า สูงกว่าพวกนาคกัญญา มหานาค ราชชื่อว่า มโหรคะ เป็นเจ้าแห่งนครนิภพ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงนิมนต์พระพุทธเจ้าพระนามว่า " ปทุมุตตระ " ผู้มีเดชมากพร้อมด้วยสาวกให้เสด็จมายังนาคพิภพทรงตกแต่งมณฑปและบัลลังก์ด้วย แก้วจัดเครื่อง อุปโภคต่าง ๆ ด้วยแก้วโปรยรัตนะประดับทางพุทธดำเนินด้วยธงแก้ว

ต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า " ปทุมุตตระ" ด้วยดุริยางค์ดนตรีหลายชนิด พระปทุมุตตรพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก เสด็จขึ้นประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันงดงามในนาคพิภพท้าวมโหรคะ ได้จัดข้าวน้ำและขาทนียะและโภชนียาหารอย่างดีมาถวาย แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกเป็นอันมาก พระปทุมุตตรพระพุทธเจ้าเมื่อเสวยเสร็จแล้ว ทรงทำอนุโมทนา ฝ่ายนางวิมลาราชกัญญา เห็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า มีจิตเลื่อมใสมีใจเคารพในพระบรมศาสดายิ่งนัก

ครั้นพระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนางวิมลาฯ ทรงบัญชาให้ภิกษุณีรูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของพระองค์ให้แสดงฤทธิ์ท่ามกลางนาค สมาคม พระภิกษุณีรูปนั้นชำนาญฤทธิ์ยิ่งนัก ได้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่วน่าสรรเสริญ นางวิมลาราชกัญญาบังเกิดปีตินั่งเฉยทนนิ่งไม่ได้ จึงทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า " พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีรูปนั้นแสดงฤทธิ์ทั้งหลายอย่างคล่องแคล่วดีมาก ไม่มีความสะทกสะท้านในสมาคมเช่นนี้เป็นเพราะอะไรพระเจ้าข้า " พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ภิกษุณีรูปนั้นเป็นธิดาเกิดแต่ปากของเรา มีฤทธิ์มากเป็นผู้ทำตามคำสอนของเราจึงเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยฤทธิ์ "

ครั้นนางวิมลาราชกัญญา (พระอุบลวรรณาเถรี) ได้สดับพระพุทธพจน์แล้วมีความยินดียิ่ง จึงทูลว่า " พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันขอเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยฤทธิ์เหมือนภิกษุณีรูปนั้นเถิด " จากนั้นนางวิมลาฯ ได้ตกแต่งบัลลังก์อันงามด้วยแก้วมณีทูลอัญเชิญพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกให้ขึ้นประทับและให้เสวยอาหารอันประณีตอย่างอิ่มหนำ สำราญ และบูชาพระองค์ด้วยดอกบัวซึ่งเป็นดอกไม้อย่างดีที่ชาวนาคในนาคนิภพเรียกัน ว่าดอกอรุณ โดยตั้งความปรารถนาไว้ว่า ขอให้ผิวกายของนางงามเช่นอย่างดอกอุบล (ดอกบัว) นี้กับให้เป็นพระอัครสาวิกาผู้เลิศด้วยฤทธิ์ เช่นเดียวกับพระภิกษุณีองค์นี้ ของพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลโน้นด้วยเทอญ ครั้นต่อมา นางวิมลาได้ละร่างนาคไปเสวยสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จากนั้นจึงจุติจากสวรรค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ได้ถวายบิณฑบาตพร้อมด้วยดอกอุบลเป็นจำนวนมากแด่พระสยมภูพุทธเจ้า


ในกัปที่เก้าแห่งภัทรกัปนี้ อดีตชาติพระอุบลวรรณาเถรี ต่อมาพระพุทธเจ้าที่มีพระนามว่า " วิปัสสี " มีพระเนตรงาม มีพระญาณจักษุในธรรมทรงอุบัติขึ้นในโลกนางอุบลวรรณาได้บังเกิดเป็นธิดาของ เศรษฐีในเมืองพาราณสี ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าองค์นั้นพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกมายังเรือนตน เพื่อถวายมหาทานและบูชาด้วยดอกอุบลเป็นจำนวนมาก พร้อมกับตั้งความปรารถนาว่าขอให้ผิวกายงามเหมือนดอกอุบลอีกครั้งหนึ่ง

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า " กัสสปะ " ทรงบังเกิดขึ้นในโลกคราวนั้นพระเจ้ากาสีมีพระนามว่า " กิกี " ในเมืองพาราณสี ทรงเป็นองค์อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น นางอุบลวรรณาเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๒ ของท้าวเธอมีพระนามว่า " สมณคุตตา " ได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บังเกิดความเลื่อมใสพอใจที่จะออกบรรพชา แต่พระชนกนาถไม่ทรงอนุญาต นางอุบลวรรณาพร้อมกับพี่ ๆ น้อง ๆ รวม ๗ คน จึงต้องอยู่ในฆราวาสวิสัยในราชสถาน ร่วมกันประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่คราวนั้นมาเป็นเวลา ๒๐,๐๐๐ ปี พระราชธิดาทั้ง ๒ พระองค์

ของพระเจ้ากิกี ได้แก่นางสมณี ๑ .นางสมณคุตตา ๑. นางภิกษุณี ๑. นางภิกขุ นาสิกา ๑. นางธรรมา ๑. นางสุธรรมา ๑. และนางสังขทาสี รวมเป็น ๗ พระองค์ เป็นผู้มีศรัทราเลื่อมใสยินดีบำรุงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นจากนั้นได้มา บังเกิดเป็นธิดาของพระองค์ในภัทรกัปนื้ คือ พระเจ้าพี่สมณี ซึ่งเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ ได้มาบังเกิดเป็นพระนางเขมาเถรี นางสมณคุตตาองค์ที่ ๒ มาบังเกิดเป็นพระอุบลวรรณาเถรี องค์ที่ ๓ มาบังเกิดเป็นพระปฏาจาราเถรี องค์ที่ ๔ เป็นพระกุณฑลเภสีเถรี องค์ที่ ๕ เป็นพระกีลา โดยมี องค์ที่ ๖เป็นพระธรรมทินนาเถรี และองค์ที่ ๗ เป็นวิสาขาอุบาสิกาทั้งนี้ต่างสำเร็จด้วยบุญกรรมที่ทำไว้ ดีแล้วด้วยการตั้งความปรารถนาไว้

ครั้งนั้นนางอุบลวรรณาและร่างมนุษย์แล้ว ไปเสวยความสุขในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ต่อมาจุติลงมาเกิดเป็นธิดาของสกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ได้ถวายผ้าอย่างดีสีเหลืองเนื้อเกลี้ยงผืนหนึ่งแด่พระอรหันต์องค์หนึ่ง จากนั้นจึงไปเกิดใน สกุลพราหมณ์ที่เมืองอริฏฐะเป็นธิดาของพราหมาณ์ดิริฏิวัจรฉะมีนามว่า "อุมมาทันตี " มีรูปงามมาก ทำให้บุรุษที่พบเห็นบังเกิดความรักใคร่หลงใหลได้ ต่อมาได้ไปเกิดในสกุลชาวนา มีความตั้งใจทำนาข้าวสาลี

วันหนึ่งข้าวสาลีออกรวงแล้วจึงเฝ้าข้าวสาลีในนาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ หนึ่งผ่านมาบังเกิดความเลื่อมใสได้ถวายข้าวดอก ๕๐๐ ดอก กับดอกปทุม(ดอกบัว) พร้อมกับตั้งความปรารถนาว่าให้ลูก ๕๐๐ คน เมื่อได้ลูกสมปรารถนาแล้ว จึงถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นอีก เมื่อเคลื่อนจากภพนั้นแล้ว ไปเกิดใหม่ในป่ามีสระบังงาม พระเจ้ากาสีเสด็จมาพบ ทรงรับเอาไปเป็นพระเมหสีที่โปรดปรานมาก มีราชโอรสครบ ๕๐๐ องค์

ต่อมาพระราชบุตรเหล่านั้นทรงเจริญวัย วันหนึ่งเสด็จไปทรงเล่นน้ำเห็นดอกบัวต่างพอพระทัย ทรงหักเอาองค์ละ ๑ ดอก ดอกบัวในสระก็หมด พระมเหสี ( นางอุบลวรรณา ) ไม่มีดอกบัว เพราะพระราชบุตรทรงหักเอาเสียหมดแล้วทำให้พระนาง ฯ มีความเศร้าโศก ต่อมาได้เคลื่อนจากอัตภพนั้น ไปเกิดในหมู่บ้านข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นที่พำนักของเหล่าปัจเจกพุทธเจ้าครั้นพวกบุตรของนางอุบลวรรณาได้สดับ ธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็บังเกิด

ความเลื่อมใสซาบซึ่งในรสพระธรรมนั้น บังเกิดความศรัทธาจึงนำข้าวยาคูไปถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า โดยเฉพาะบุตร ๘ คน มีศรัทธากล้าในเนกขัมมธรรม พากันออกบวชเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นบุตรของนางอุบลวรรณาทั้ง ๘ องค์เข้าไปบิณฑบาตที่บ้าน ขณะนั้นนางอุบลวรรณาพบเห็นแล้ว พลันระลึกชาติหนหลังได้ บังเกิดความปิติด้วยความรักลูกสุดสุดขีดน้ำนมได้หลั่งไหลออกจากเต้านมทั้ง ๒ ข้าง นางอุบลวรรณามีความเลื่อมใสถวายข้าวยาคูแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๘ องค์ นั้นด้วยมือของนางเอง

ครั้นนางอุบลวรรณาได้จุติจากภพนั้นไปบังเกิด ในนันทวันแห่งดาวดึงส์พิภพในเทวโลก นางอุบลวรรณษได้ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ประสบความสุขบ้างความทุกข์บ้าง และได้อุทิศชีวิตเพื่อประโยชน์แก่สมณพราหมณ์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คราวหนึ่งขณะที่พระอุบลวรรณาพำนักอยู่ในป่ามาร ได้กล่าวกับนางว่า " ท่านเข้ามาอยู่ในพุ่มไม้ซึ่งมี ดอกตูมบานอยู่สะพรั่ง ยืนอยู่ที่โคนไม้รังใหญ่ คนเดียวโดยไม่มีเพื่อน ช่างสิ้นดี ไม่กลัวพวกนักเลงดอกหรือ พระอุบลวรรณาตอบว่า "นักเลงอย่างท่านต่อให้มากันแสนคน ก็ไม่ทำให้ขนฉันลุกเลย มาร

เอ๋ยท่านผู้จะทำอะไรฉันได้ ฉันจะหายร่างไปเดี่ยวนี้ก็ทำได้ ฉันจะหายร่วงไปในท้องก็ยังได้ ฉันมีความชำนาญทางจิต สำเร็จอิทธิบาทแล้วพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลายแล้วมารเอ๋ย ฉันไม่หวั่นเกรงอะไรท่านเลย เพราะอะไรเพราะกามทั้งหลายที่ร้ายกาจเปรียบด้วยหอกและหลาวก็ดี ขันธ์ทั้งทั้งหลายที่สร้างความเร่าร้อนเปรียบด้วยกองไฟก็ดี ไม่สามารถผูกพันใจเราได้แล้ว เราสิ้นความยินดีในกามทั้งหลายแล้ว เวลานี้เราไม่มีความยินดีในกาม ไม่ มีความเพลิดเพลิน เวลา นี้เราไม่มีความยินดีในกาม ไม่มีความเพลิดเพลินในกามารณ์แต่ประการใดเราขจังความยินดีแล้ว แม้กองแห่งความมืดเราได้ลายแล้วดูก่อนมาร ท่านจะรู้เถอะ ท่านจงหลบหลีกไปจากที่นี่เสียเถิด

พระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่ที่ประชุมว่า พระพุทธเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้ง นางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในหมู่พุทธบริษัทว่า " อุบลวรรณา " " อุบลวรรณาภิกษุณี เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีที่มีฤทธิ์ "


   คราวหนึ่งพระอุบลวรรณาเถรี มีความสุขอยู่ด้วยณานและสมบัติ วันหนึ่งท่านพิจารณาเห็นโทษของกามทั้งหลายที่โลกียชนพากันวุ่นวายเดือดร้อน ในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นเครื่องทำให้ตกต่ำเศร้าหมอง เป็นที่น่าสลด ใจยิ่งท่านระลึกถึงชาติหนหลังของท่านที่ได้ประพฤติตัวเลวทราม เพราะกามเป็นเหตุท่านได้เล่าชีวิตของท่านในชาติก่อนแก่เพื่อนภิกษุณีทั้ง หลาย ( ปรากฏอยู่ในอรรถกลาแห่งเถรีคาถา ) ดังนี้ กาม ทำความเสื่อมเสียให้แก่มนุษย์อย่างน่าสลดใจน่าขยะแขยง เพราะกามไม่มีชาติ ไม่มีสกุล เป็นเรื่องเลวทราม

 

เมื่อครั้งที่นางอุบลวรรณายังท่องเที่ยวอยู่ในกามยังบริโภคกามอยู่ นางได้บุตรชายเป็นสามี และเกิดไปมีสามีคนเดียวกันกับลูกสาว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว ก็เพราะกามนั้นแหละ การที่พระอุบลวรรณาเถรี สามมารถระลึกชาติก่อน ๆ ได้ ทิพยจักษุ เจโตปริยญาณ และ ทิพโสตธาตุชำระ ให้หมดจด กระทั่งฤทธิ์ก็ทำได้สำเร็จแล้ว ความสิ้น อาสวะก็ได้บรรลุแล้ว รวมทั้งได้อภิญญา ๖ ด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นพระอุบลวรรณาเถรีก็ได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ พระอุบลวรรณาเถรีได้เนรมิตรถเทียมด้วยม้า ๔ ตัว นั่งเข้าไปถวายบังคมพระยุคลบาท ณ ที่นั้นด้วย เรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ย่อมแสดงถึงความเป็นยอดภิกษุณีของพระอุบลวรรณาเถรี ซึ่งมีฤทธิ์เทียบเท่ากับพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย ของพระพุทธองค์

-------------------------------------------------------------

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2010, 04:15:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นี่ก็อดีตชาติ คือ กัณหา ซึ่งเคยเป็นธิดาของพระโพธิสัตว์ มาก่อนด้วยนะคร้า

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผู้หญิง ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้

 :25:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ได้ความรู้อีกเรื่องแล้ว สาธุครับ  :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม