ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - raponsan
หน้า: 1 ... 552 553 [554] 555 556
22121  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ตามรู้จิต ตามรู้ความคิด โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 07:44:57 am

การตามรู้จิต ตามรู้ความคิด
คำเทศนาของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑

ท่านนักปฏิบัติธรรมผู้เจริญทุกท่าน เมื่อวานนี้ได้กล่าวถึงในหลักการนั่งสมาธิเกี่ยวกับการบริกรรมภาวนาพุทโธ การบริกรรมภาวนานั้น เป็นการปฏิบัติสมาธิขั้นสมถะอารมณ์ของสมถกรรมฐานมี ๔๐ ประการ มีพุทธานุสสติปรากฏอยู่ด้วยข้อหนึ่ง

ดังนั้น การภาวนาบริกรรมพุทโธอันเป็นพุทธานุสสติจึงจัดอยู่ในขั้นสมถกรรมฐาน ซึ่งเรียกว่าบริกรรมภาวนา ซึ่งท่านทั้งหลายก็เคยได้ยินได้ฟังและได้เคยศึกษามาแล้วว่ากรรมฐานอันใดเกี่ยวเนื่องด้วยบริกรรม กรรมฐานนั้นชื่อว่า สมถกรรมฐาน


๑. สมถภาวนา มุ่งเอาเพียงสมาธิอย่างดียว
นอกจากเราจะมาบริกรรมภาวนาพุทโธแล้ว เราจะใช้คำใดคำหนึ่งมาบริกรรมภาวนาก็ได้ทั้งนั้น เช่น จะใช้คำว่า ธัมโม สังโฆ หรือ อิติปิโส ภควา เป็นต้น คำใดคำหนึ่งสุดแท้แต่ใจชอบ ความมุ่งหมายของการบริกรรมภาวนาก็เพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิตามลำดับ ตั้งแต่ขั้นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ซึ่งจัดอยู่ในระดับฌาน นี้คือความมุ่งหมายของสมถภาวนา

ทีนี้ ผลที่จะพึงเกิดขึ้นจากการภาวนาเพื่อให้จิตเป็นสมถกรรมฐาน เป็นสมาธิ ก็เพื่อกำจัดนิวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคขัดขวางคุณงามความดีไม่ให้เกิดขึ้น ท่านทั้งหลายก็ทราบอยู่แล้ว
ทีนี้ มีปัญหาว่า ถ้าหากว่าเรามาบริกรรมภาวนา จิตมันไม่สงบเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ทำอย่างไรๆ ก็ไม่สงบ ถ้าหากว่านักปฏิบัติภาวนาทำจิตให้เข้าสู่ระดับอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็เป็นอันว่าชาตินี้ทั้งชาติเราก็ต้องตายเปล่า เพราะการภาวนาไม่ได้ผล เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจะทำอย่างไร


 st12 st12 st12

๒. ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้  จะทำอย่างไร
ท่านเคยได้ยินมิใช่หรือว่า มีพระอรหันต์จำพวกหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า “สุขวิปัสสโก” (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน) ในเมื่อเราบริกรรมภาวนาจิตไม่เป็นอัปปนาสมาธิ เราก็ใช้อุบายวิธีอย่างอื่น เป็นต้นว่า เราจะพิจารณาอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่โดยภาวนาอสุภกรรมฐาน หรือภาวนาธาตุววัฏฐาน

หรือจะภาวนาวิปัสสนากรรมฐานเสียเลยทีเดียว เช่น ยกเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมาพิจารณาน้อมเข้าไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยหัวคิดและสติปัญญาที่เราเรียน เราทรงจำมา คือ ใช้ความคิดอย่างที่เรารู้ตามแบบตามแผนที่จำมาด้วยสัญญา คิดเอา ปรุงเอา แต่งเอา ว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็ว่าเอาเอง พร้อมๆ กับน้อมใจเชื่อลงไปว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไปจริงๆ

แต่ในขณะที่เราพิจารณาอยู่นั้น บางทีจิตอาจจะสงบลงเป็นสมาธิเพราะการค้นคิดในเหตุผล ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นภาคปฏิบัติ ก็เป็นอุบายที่จะทำให้จิตสงบเป็นสมาธิได้เหมือนกัน

 
 gd1 gd1 gd1

เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราภาวนาให้จิตเป็นอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็ยกเอาสภาวธรรมขึ้นมาพิจารณาโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ภาษาคัมภีร์เรียกว่า พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือน้อมใจไปว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนครบขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ ตั้งแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

โดยนึกคิดเอา คือจนกระทั่งจิตมันชำนาญจนเชื่อมั่นลงไปว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นการปลูกศรัทธา ความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นในคุณธรรม เราจะได้เกิดความปลื้มปีติ ความเบิกบานสำราญใจ ในธรรมะที่เราพิจารณานั้น แล้วก็จะมี สติ มี วิริยะ มี สมาธิ แล้วก็มี ปัญญา เป็นลำดับๆ ไป
เป็นอุบายสำหรับสร้างให้จิตเกิดพละ คือจิตเกิดศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อันนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นด้วยพิจารณาสภาวธรรม


 st11 st11 st11 st11

๓. จิตติดสุข เป็นเพียงสมถะ
อีกนัยหนึ่ง ถ้าเราจะมาอาศัยลำพังเพียงบริกรรมภาวนาให้จิตสงบเป็นสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ ไม่มีการก้าวไปข้างหน้า ไม่มาข้างหลัง จิตก็ไม่มีความรู้ความเห็นอะไรเกิดขึ้น ทำทีไรก็ได้แต่ปีติ สุข เอกัคคตา ปีติ สุข เอกัคคตา อยู่อย่างนั้น ถ้าจิตมันติดอยู่แต่เพียงเท่านี้ก็เรียกว่า จิตมันติดความสุขอยู่ในขั้นสมาธิ มันก็ได้เพียงแค่ขั้นสมถะเท่านั้นเอง

๔. ชำนาญอัปปนาสมาธิ แต่วิปัสสนาไม่ได้  ต้องทำอย่างไร
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฝึกฝนจิตของตนเองอยู่ในขั้นอัปปนาสมาธิจนชำนิชำนาญแล้ว ถ้าจิตไม่ปฏิวัติตัวเองไปสู่ภูมิวิปัสสนา ก็พิจารณาเอาด้วยปัญญาความคิดสดๆ ร้อนๆ เพื่อเป็นแนวทางให้จิตเกิดความรู้ความเข้าใจในสภาวธรรม เมื่อจิตมีความรู้ความเข้าใจเชื่อมั่นในความเป็นของสภาวธรรมว่า มีความเป็นเช่นนั้นจริง แล้วมันจะเกิดศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ขึ้นเป็นคุณธรรมของจิต

 



๕. ภาวนาแล้วฟุ้งซ่าน แก้อย่างไร
และอีกอย่างหนึ่ง การบริกรรมภาวนาก็ดี หรือการพิจารณาสภาวธรรมก็ดี ทำเท่าไร ภาวนาเท่าไร จิตไม่สงบ ได้แต่ความฟุ้งซ่านรำคาญ มีแต่ส่งกระแสไปในทางอื่น ถ้าหากเราไม่สามารถจะควบคุมจิตของเราอยู่ในอารมณ์ภาวนา หรือในแนวทางแห่งสภาวธรรมที่เรายกขึ้นมาพิจารณา ไม่สามารถที่จะให้อยู่ในเรื่องในราวที่เราต้องการนั้นได้ เราก็ปล่อยให้จิตมันปลงไปตามยถากรรม
 
แต่เราต้องกำหนดสติพิจารณาตามรู้ตามเห็นความคิดของตนเอง อย่าละ พร้อมๆ กันนั้นก็เอาพระไตรลักษณ์ตามจี้มันไปเรื่อย คือจี้ว่าอย่างไร จี้ว่าความคิดนี้มันก็ไม่เที่ยงมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป มันก็มีแต่เกิดแต่ดับ สภาวธรรมทั้งหลายในโลกนี้ ทั้งในกายในใจ ทั้งนอกกายนอกใจ


 :25: :25: :25:

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ชื่อว่าเป็นสภาวธรรมนั้น มันต้องตกอยู่ในลักษณะทั้ง ๓ ค อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น จุดรวมใหญ่ของมันอยู่ที่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตตา ความไม่เป็นตัวไม่เป็นตน เอาความคิดอันนี้ตามรู้ความคิดความเห็นของตน
 
ตามจี้ไปเรื่อย แต่อันนี้ต้องใช้ความพากเพียรพยายามอดทนหน่อย เพราะความฟุ้งซ่านรำคาญของจิตนั้น ล้วนแต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อน ทำให้จิตมันฟุ้งเรื่อยไป แต่เราก็ต้องอาศัยขันติ คือ ความอดทน ตั้งสติสัมปชัญญะ กำหนดตามรู้ตามเห็นไปเรื่อยๆ ในเมื่อจิตมันไปจนถึงที่สุดแล้ว มันก็หยุดของมันเอง มันหยุดอยู่ที่ไหนก็กำหนดรู้อยู่ที่นั้น อย่าใช้ความคิดต่อไปอีก จนกว่าจิตนั้นมันจะเคลื่อนที่ของมันไปเอง แล้วเราก็ตามรู้ตามเห็นไปเรื่อย อันนี้เป็นวิธีการอันหนึ่งซึ่งเป็นการปฏิบัติอนุวัติตามจริตและนิสัย ของนักปฏิบัติซึ่งอาจจะไม่ตรงกัน


 ans1 ans1 ans1

๖. พระจูฬปันถก สำเร็จด้วยผ้าขาวผืนเดียว
การที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงวางหลักกรรมฐานไว้ถึง ๔๐ ประการ ก็เพราะทรงเห็นว่าคนเกิดมาบนโลกนี้มันต่างจิตต่างใจต่างอุปนิสัยวาสนาบารมี บางคนก็มีจิตใจอุปนิสัยชอบอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็ชอบอย่างหนึ่ง ไม่ตรงกัน

เพราะฉะนั้น คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีมากมายก่ายกอง ยกตัวอย่างเช่น พระจูฬปันถก ใครจะสอนท่านก็ไม่ได้ มีแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ใครจะสอนให้ท่านเรียนคาถาเพียงบาทเดียว ท่านก็จำไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าสอนว่า รโชหรณํ รชํ หรติ มอบผ้าขาวให้ผืนเดียว ท่านก็บริกรรมภาวนาอยู่ จิตก็ปลงตกลงไปว่า

 ans1 ans1 ans1

ผ้านี้เดิมมันก็เป็นของขาวสะอาดแต่มาถูกด้วยเหงื่อไคลของตัวเราเอง ก็เกิดเป็นของสกปรกไปได้ นี้มันก็เป็นลักษณะเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตาทั้งนั้น เสร็จแล้วก็ปลงจิตลงสู่สภาวะความเป็นพระอรหันต์ สำเร็จพระอรหันต์ แล้วก็สามารถสำเร็จปฏิสัมภิทา สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้หลายอย่างตามพุทธประวัติที่กล่าวไว้ ท่านทั้งหลายก็คงทราบอยู่แล้ว

การกล่าวธรรมะเป็นคติเตือนใจสำหรับบรรดาท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายในวันนี้ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้…


ที่มา http://www.geocities.com/wiroj_c/dhamma/preach27.doc
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/ , http://www.champa.kku.ac.th/
22122  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีอ่านภาษาบาลี เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 07:33:26 am
วิธีอ่านภาษาบาลี

 

คำในภาษาบาลี เมื่อนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้ว จะมีลักษณะที่ควรสังเกตประกอบการอ่าน ดังนี้

๑. ตัวอักษรทุกตัวที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บนหรือล่าง และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้ ให้อ่านอักษรนั้นมีเสียง "อะ" ทุกตัว เช่น

     อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต
      ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
      นมามิ อ่านว่า นะ-มา-มิ
      โลกวิทู อ่านว่า โล-กะ-วิ-ทู

๒. เมื่อตัวอักษรใดมีเครื่องหมาย  ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้แสดงว่าอักษร นั้นเป็นตัวสะกดของอักษรที่อยู่ข้างหน้า ผสมกันแล้วให้อ่านเหมือนเสียง อะ+(ตัวสะกด) นั้น เช่น

     สมฺมา (สะ+ม = สัม) อ่านว่า สัม-มา
      สงฺโฆ (สะ+ง = สัง) อ่านว่า สัง-โฆ

ยกเว้นในกรณีที่พยัญชนะตัวหน้ามี เครื่องหมายสระกำกับอยู่แล้ว ก็ให้อ่านรวมกันตามตัวสะกดนั้น เช่น
     
      พุทฺโธ      อ่านว่า พุท-โธ
      พุทฺธสฺส    อ่านว่า พุท-ธัส-สะ
      สนฺทิฏฺฺฺฺ ฺฐิโย อ่านว่า สัน-ทิฏ-ฐิ-โย
      ปาหุเนยฺโย อ่านว่า ปา-หุ-เนย-โย


๓. เมื่ออักษรใดมีเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนตัวอักษร ให้อ่านให้เหมือนอักษรนั้นมีไม้หันอากาศและสะกดด้วยตัว "ง" เช่น
     
      อรหํ     อ่านว่า อะ-ระ-หัง
      สงฺฆํ     อ่านว่า สัง-ฆัง
      ธมฺมํ     อ่านว่า ธัม-มัง
      สรณํ    อ่านว่า สะ-ระ-นัง
      อญฺญํ   อ่านว่า อัญ-ญัง

แต่ถ้าตัวอักษรนั้นมีทั้งเครื่อง หมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนและมีสระอื่นกำกับอยู่ด้วย ก็ให้อ่านออกเสียงตามสระที่กำกับ + ง (ตัวสะกด) เช่น
   
      พาหุํํํํ ํํ อ่านว่า พา-หุง


๔. เมื่ออักษรใดเป็นตัวนำแต่มีเครื่องหมาย ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้ด้วย ขอให้อ่านออกเสียง "อะ" ของอักษรนั้นเพียงครึ่งเสียงควบไปกับอักษรตัวตาม เช่น
     
      สฺวากฺขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต

 

ที่มา   http://www.fungdham.com/proverb-bale.html


22123  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “ธรรมจักร” บนธงชาติอินเดีย กับ “เสาอโศก” สัมพันธ์กันอย่างไร เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 08:02:46 pm
“ธรรมจักร” บนธงชาติอินเดีย กับ  “เสาอโศก” สัมพันธ์กันอย่างไร




ที่มา   หนังเล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๓  เขียนโดย venfaa

http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm
22124  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระเจ้าอโศกมหาราช "อัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ของพระพุทธศาสนา เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 07:42:42 pm
พระเจ้าอโศกมหาราช "อัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ของพระพุทธศาสนา







ที่มา   หนังเล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๓  เขียนโดย venfaa

http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm
22125  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มหาสถูปแห่งเกสรียา ต้นกำเนิดของกาลามสูตร เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 02:28:03 pm
มหาสถูปแห่งเกสรียา  ต้นกำเนิดของกาลามสูตร


 
ที่มา   หนังเล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๓  เขียนโดย venfaa
        http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm



กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร)
 
๑. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา)
 
๒. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา)
 
๓. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ)
 
๔. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์)

๕. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก)
 
๖. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน)
 
๗. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล)
 
๘. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว)
๙. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ )
 
๑๐. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา)
     
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
 
     สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม


A.I.189     องฺ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑.
ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
22126  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves) เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2010, 01:44:44 pm

ถ้ำอชันตา Unseen in India


ถ้ำอชันตา นับว่าเป็นหนึ่งใน Unseen in India ที่คนทั่วไปอาจไม่รู้จัก ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์ทั่วโลกคุ้นเคยกับพุทธสถานแห่งนี้เป็นอย่างดี ในฐานะเป็นที่รวมความงามทางพุทธศิลป์ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม โบราณ ซึ่งสร้างจากแรงศรัทธาและความมุ่งมั่นพยายามของผู้ปฏิบัติธรรมในละแวกนั้น

อชันตาเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ถ้ำนั้น ห่างจากเมืองออรังคบาดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 104 กม. เป็นถ้ำที่มีการขุดเจาะภูเขาเข้าไป เรียงกันถึง 30 ถ้ำ เพื่อใช้เป็นห้องโถงสำหรับสวดมนต์ และประกอบศาสนกิจ รวมถึงเป็นที่พำนักพระสงฆ์ จะเรียกว่า เป็นวัดในพุทธศาสนาแห่งหนึ่งก็ว่าได้

ถ้ำนี้มีกำเนิดก่อนคริสตศักราชราว 200 ปี (พ.ศ.350) เดิมทีเป็นผลงานที่สร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างแกะสลักชาวฮินดูในวรรณะล่างที่เปลี่ยนมานับถือศาสนา พุทธ ต่อมานิกายมหายานจึงเริ่มเข้าไปผสมผสานภายหลัง มีผู้สันนิษฐานว่าพระสงฆ์เลือกถ้ำแห่งนี้เนื่องจากเป็นสถานที่ที่สงบเงียบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางส่งสินค้าของชาวอาหรับโบราณมากนัก จนกระทั่งกองทัพมุสลิมเข้ามายึดอินเดีย ถ้ำอชันตาก็หายไปจากความทรงจำของผู้คน ต่อมาใน ค.ศ.1819 นายทหารอังกฤษชื่อ นายจอห์น สมิธ ได้ออกล่าสัตว์ในเขตนั้น และพบถ้ำดังกล่าว เขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง เพราะไม่นึกไม่ฝันว่าคนสมัยนั้นจะมีความพยายามสูงส่ง ขนาดเจาะหินภูเขาเป็นที่อยู่อันใหญ่โตมโหฬารด้วยมือได้เช่นนี้

ถ้ำที่มีความสวยงามและเลื่องชื่อในด้านจิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้น ก็คือ ถ้ำที่ 1 ซึ่งภายในมีภาพวาดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระปัทมปาณีถือดอกบัว เอียงพระเศียรแสดงสีหน้าอ่อนโยนและเมตตา ในขณะที่ถ้ำที่ 2 มีความงดงามไม่แพ้กัน ต่างกันเพียงจิตรกรรมฝาผนังของถ้ำนี้เป็นเรื่องการประสูติของพระพุทธองค์และ พระสุบินของพระนางสิริมหามายา

ส่วนวิหารในถ้ำที่ 19 เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมหินแกะสลักที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความโดดเด่นที่เพดานด้านบนเป็นทรงเกือกม้า และมีรูปปั้นเทพารักษ์ยืนตรงขอบหน้าต่าง โดยทั้งหมดเป็นฝีมือของพระสงฆ์นิกายมหายานที่สื่อให้เห็นถึงชีวิตความเป็น อยู่และพระ ราชวังอันหรูหราของพระพุทธเจ้าก่อนออกผนวชเพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต

ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างของไฮไลต์เด่นๆ ในถ้ำอชันตาเท่านั้น เพราะถ้ำอื่นๆ ยังมีศิลปะและจิตรกรรมฝาผนังที่อธิบายถึงหลักธรรมในพุทธศาสนาและพุทธประวัติ มากมาย

และในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลอินเดียได้อนุมัติงบประมาณเพื่อติดตั้งระบบไฟใยแก้วออฟติกที่ทันสมัย ในทุกถ้ำ และจัดซื้อรถประจำทางปลอดสารพิษจำนวน 10 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักประวัติศาสตร์ที่เข้ามาศึกษาค้นคว้าหาความหมาย และปรัชญาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมแห่ง นี้ ทั้งยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสกับความวิจิตรอลังการของถ้ำ อชันตาเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย


คัดลอกมาจาก
เรื่องจากต่างแดน : ถ้ำอชันตา Unseen in India
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2547 14:01 น. 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9098
22127  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “ข้าวมธุปายาส” มีความสำคัญอย่างไรกับ “วันวิสาขะบูชา” เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2010, 12:18:34 pm

เช้าวัน ตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา
ภาพที่ ๒๒ สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชก

“ข้าวมธุปายาส” มีความสำคัญอย่างไรกับ “วันวิสาขะบูชา”

   นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่  ๖
ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว  และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๖  ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา  เป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือข้างมธุปายาส   คือ   ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน  เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ  ไม่ปนเนื้อ  ไม่เจือปลา  ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ
 
   ปฐมสมโพธิเล่าว่า  นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกัน
และได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว   จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน  ก่อนถึงวันหุง  นางสุชาดา  สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ  ให้แม่โคกินชะเอมเครือ  กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา     แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ  ละ  ๕๐๐  ตัว  แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน   แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ  ไปจนเหลือแม่โคนม  ๘  ตัว  เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง  ๘  มาหุงข้าวมธุปายาส


   หุงเสร็จแล้ว  นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร 
นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า  เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏ  นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว  นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง  จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี   ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า   นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย   พระมหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง    นางทราบพระอาการกิริยาว่า     พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร  นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น
 
   ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้    แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี   และด้วยความสำคัญหมายว่า   พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า


ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/picture/f22.html



ข้าวมธุปายาส
    พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้จัก “มธุปายาส” ซึ่งเป็นอาหารโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจากเรื่องราวในพุทธประวัติ โดยมีนางสุชาดาเป็นผู้ปรุงถวายพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีกล่าวอรรถาธิบาย ขั้นตอนในการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาไว้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ถอดความมาได้ดังนี้
 
   “ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสีกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000 ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม
 
    แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค
    500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค   
    ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว
    แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค
    กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว
    นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8 ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศจนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8 ตัว


    ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ นางสุชาดาเห็นดังนั้น ก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือ ตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง

    เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิราชก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น
    ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตร มากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น
    ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ
    เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติ ต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรย ใส่ลงในกระทะด้วย
    เมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี

    
    ครั้นสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เมื่อนั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์”

   ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาล เป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่ม
   มีส่วนผสมของ ข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ
   แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะปั้นให้เป็นคำได้


 

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ ของไทย
    จากคติศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยได้ขนานนาม “ข้าวมธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวกระยาทิพย์” หรือ “ข้าวทิพย์”
    ประเพณีการหุงข้าวทิพย์ในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชาพบว่า มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
    ประเพณีนี้สืบต่อลงมาจนถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วว่างเว้นไปและกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถือเป็นโบราณราชประเพณีปฏิบัติสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    
  สำหรับของที่นำมาปรุง “ข้าวทิพย์” และวิธีการกวนตามแบบไทย มีบันทึกไว้ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรียบเรียงได้ดังนี้

ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์
ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์ 5 ประเภทคือ
    ก. ประเภทถั่ว
    ข. ประเภทข้าว พืชเป็นหัว เมล็ดธัญพืช
    ค. ประเภทน้ำตาล
    ง. ประเภทน้ำมัน
    จ. ประเภทผลไม้ อันได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้คั้นน้ำ ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอม



ของปรุง “ข้าวทิพย์”
เครื่องปรุงทั้ง 5 ประเภทประกอบด้วยของชนิดต่างๆ ดังนี้

ก. ประเภทถั่ว ได้แก่
    1. ถั่วราชมาษ
    2.ถั่วดำ
    3.ถั่วเหลือง
    4.ถั่วเขียว
    5. ถั่วขาว
    6.ถั่วทอง
    7.ถั่วลิสง
    8. ถั่วแม่ตาย


ข.ประเภทข้าว พืชเป็นหัวและเมล็ดธัญพืช ได้แก่
    1. ข้าวอ่อนที่คั้นเป็นน้ำนม
    2.ข้าวสารหอม
    3. ข้าวเม่า
    4. ข้าวฟ่าง
    5.ข้าวตอก
    6. ข้าวโพด
    7.ขนมปังจืด (ป่นหยาบพอเป็นเกร็ด)
    8.สาคูวิลาด
    9. สาคูลาน
    พืชเป็นหัว
    10. มันเทศ
    11. เผือก
    12. แห้วไทย
    13. แห้วจีน
    14. กระจับสด
    เมล็ดธัญพืช
    15.เมล็ดงา
    16. เมล็ดแตงอุลิด
    17. ลูกเดือย
    18. ผลมะกล่ำใหญ่

ค.ประเภทน้ำตาล ได้แก่
    1. น้ำผึ้ง
    2. น้ำอ้อยสด
    3. น้ำอ้อยแดง
    4. น้ำตาลกรวด
    5. น้ำตาลทราย
    6. น้ำตาลหม้อ

ง.ประเภทไขมัน ได้แก่
    1. เนย
    2. น้ำนมโค
    3. มะพร้าวแก่
    4. มะพร้าวอ่อน

จ.ประเภทผลไม้ (ใช้ผลไม้แดงและทุกชนิดที่หาได้)
ผลไม้สดได้แก่
    1. ทับทิม
    2. ลูกพลับสด
    3. ละมุด
    4. สาลี่
    5. กล้วยหอม
    6. กล้วยไข่
    7. กล้าย
    8. น้อยหน่า
    9. เงาะ
    10. ลางสาด
    ผลไม้คั้นน้ำ ได้แก่
    1.ส้มเขียวหวาน
    2. ส้มเกลี้ยง
    3. ส้มมะเป้น
    4. ส้มซ่า
    5. ส้มตรังกานู
    ผลไม้แห้ง ได้แก่
    1. พลับแห้ง
    2. อินทผลัม
    3. ลำไย
    4. พุทราริ้ว
    5. ลิ้นจี่
    ผลไม้กวน ได้แก่
    1.ทุเรียนกวน
    2. สัปปะรดกวน
    ผลไม้แช่อิ่ม ได้แก่
    1.ผลชิด
    2. ผลกระท้อน

พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอมสด ชะเอมเทศ รวมของทั้งหมด 62 รายการ



การเตรียมของปรุง
     1. ของที่ต้องนำมาโขลกตำ ได้แก่ ข้าวอ่อนเจือด้วยน้ำโขลกแล้วคั้น น้ำที่ใช้เป็นน้ำมนต์ถือว่าเป็นสิ่งศิริมงคลและให้ผลทางจิตใจ ชะเอมสดและชะเอมเทศโขลกคั้นเอาน้ำมาเจือในน้ำนม แทนคติว่าแม่โคถูกเลี้ยงในป่าชะเอม (กิ่งชะเอม เมื่อทุบให้แตกใช้ขัดถูฟัน มีสรรพคุณรักษาโรคเหงือก ทำให้ฟันแข็งแรงและบำรุงสายตา)
    2. ของที่ต้องนำมาหั้นฝานให้เป็นชิ้นเล็กได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม
    3. ของที่ต้องนำมาหุงเปียกได้แก่ ประเภทข้าว สาคู ลูกเดือย
    4. ของที่ต้องนำมาแช่น้ำให้นิ่มแล้วนึ่งให้สุก ได้แก่ ประเภทถั่ว
    5. ของที่ต้องนำมาคั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง งา ถั่วลิสงและงาต้องแยกกันคั่ว ไม่นำมาคั่วรวมกัน เพราะของแต่ละอย่างใช้เวลาทำให้สุกไม่เท่ากัน ถั่วลิสงจะสุกช้ากว่างาอย่างนี้กระมังจึงมีสุภาษิตของไทยที่ว่า “กว่าถั่งจะสุกงาก็ไหม้” หมายความถึงการทำงานที่ขาดระเบียบ ไม่มีขั้นตอน ไม่รู้จักจัดลำดับความสำคัญ ว่าสิ่งใดควรทำก่อน ทำหลังเป็นเหตุให้งานเสียหายได้
    6. ของที่ต้องนำมาคั้นน้ำ ได้แก่ ผลไม้ประเภทส้ม ทับทิม
    7. ของที่ต้องนำมากวนให้เหนียวพอเป็นยางมะตูม ได้แก่ น้ำตาลหม้อซึ่งใช้เป็นหลักจริงๆ ส่วนน้ำผึ้ง น้ำอ้อยสด น้ำอ้อยแดง น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย ใส่พอสังเขป
    8. น้ำมันที่ใช้กวน ได้แก่ กะทิซึ่งใช้มะพร้าวแก่ขูดแล้วคั้นด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำนมโค และเนยใช้เจือ
ขณะกวนใส่เพียงนิดหน่อย เรียกว่า ใส่พอเป็นพิธี บางทีกวนกระทะใหญ่โตใช้เนยเพียงช้อนเดียว เมื่อกวนเสร็จจะมีกลิ่นหอมของกะทิและน้ำตาลมากกว่ากลิ่นของนมเนย อันเป็นแบบฉบับขนมอย่างไทยๆ



ขั้นตอนในการใส่ของปรุง “ข้าวทิพย์”
    1. เคี่ยวกะทิและน้ำตาลใช้ไฟ ปานกลางอย่าแรงเกินไปจะทำให้น้ำตาลไหม้
    2. เมื่อเดือดได้ที่ นำของที่หุงเปียกและนึ่งไว้แล้วได้แกประเภทข้าว และถั่วลงกวน
    3. ใส่ผลไม้สดที่หั่นฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ตามความเหมาะสมลงกวนเพื่อทำให้ผลไม้สดลดความชื้น เมื่อกวนเสร็จจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่ชื้นหรือขึ้นราง่าย
    4. ขณะกวนหากเครื่องปรุงข้นเหนียวหรือแห้งเกินไปสามารถเติมน้ำผลไม้คั้นได้ ตามสมควร
    5. เหยาะน้ำนมสด เนย และน้ำนมข้าวอ่อนที่คั้นกับชะเอมพอประมาณ
    6. ใส่ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่อิ่ม และผลไม้กวน ที่หั่นฝานดีแล้วลงกวนคลุกเคล้าเบาๆ จนส่วนผสมกระจายทั่วกันดี ผลไม้แห้งต่างๆ เมื่อใส่ลงในกระทะแล้วจะใช้เวลากวนอีกเพียงชั่วครู่ เพื่อรักษากลิ่นหอมตามธรรมชาติของผลไม้ไว้
    7. เสร็จแล้วยกลงจึงโรยด้วยของที่คั่วสุก ได้แก่ ถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว



ลักษณะของข้าวทิพย์เมื่อกวนเสร็จ
     จะมีความเหนียวพอประมาณ เมื่อเย็นสนิทแล้วสามารถนำมาปั้นหรือกดลงพิมพ์เป็นชิ้นได้ ไม่แข็งกระด้าง หอมกลิ่นผลไม้ต่างๆ กะทิ และน้ำตาลมีสีสรรของส่วนผสม สามารถมองเห็นเนื้อข้าวสีของผลไม้ และส่วนผสม อื่นๆ ได้ดี มองดูน่ารับประทาน
     สิ่งสำคัญในการกวนข้าวทิพย์ ขณะกวนต้องกวนไปทางเดียวกันคือ วนขวาไปตลอด จนกระทั่งเสร็จ เพื่อให้ขนมมีความเหนียวและกะทิไม่แยกตัวจากน้ำตาล

    

สัดส่วนที่ใช้เครื่องปรุงแต่ละอย่างไม่กำหนดตายตัว
   ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ปรุง แต่ส่วนใหญ่จะหนักน้ำตาลหม้อกะทิและข้าว สำหรับขนมปังจืดผึ่งแห้งแล้วนำมาป่นเป็นเกร็ดสำหรับโรย คงเป็นอิทธิพลของขนมตามแบบฝรั่งที่แผ่เข้ามาในสมัยต้นๆ รัชกาล
   ในพระราชพิธีกวนข้าวทิพย์ ฟืนที่ใช้ติดไฟเคี่ยวกะทิและกวน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์และไม้พุทราสองอย่างเท่านั้น เชื้อไฟก็ใช้ส่องด้วยแว่นขยายจุดขึ้นเรียกว่า “ไฟฟ้า” เป็นความหมายว่าไฟเกิดจากฟ้า ถือเอาตามคติที่พระอินทร์เป็นผู้ลงมาจุดไฟในเตาให้นางสุชาดานั้นเองผู้กวน

  ข้าวทิพย์จะเป็นหน้าที่ของเด็กหญิงพรหมจรรย์ อายุไม่เกิน 12 ปี ทั้งสิ้น



จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยำย่อง “มธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวทิพย์” ได้ 3 ประการคือ

   1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี คือมีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกายคือบริวารผู้คน และกำลังสติปัญญาล่วงรู้ขั้นตอนในการปรุง เห็นได้ว่ามิใช่วิสัยของคนธรรมดาจะทำได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์
   2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
   3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้


  ฉะนั้น “ข้าวทิพย์” ก็คือ สมญานามอันเกิดจากความรู้สึกที่ลึกซึ้งในจิตใจว่า เป็นของสูงของวิเศษล้ำค่าหาที่เปรียบมิได้นั้นเอง




ข้อคิดจาก “ข้าวทิพย์”
   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นข้อพิจารณาว่า “ข้าวทิพย์ที่เรากวนอยู่ในราชพิธีทุกวันนี้ เห็นจะเกิดขึ้นด้วยนึกเอาเอง ดูตั้งใจจะให้มีถั่ว งา นม เนยและผลไม้ต่างๆ ให้พร้อมทุกอย่าง เป็นอันรวมรสต่างๆมาลงในอันหนึ่งอันเดียว จนเรียกกันในคำประกาศว่า “อเนกรสปายาส”

   ของที่นำมาปรุงเป็น “ข้าวทิพย์” ของไทยไม่ปรากฏนามว่าใครเป็นผู้กำหนดขึ้น แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดก็จะพบว่า การปรุงข้าวทิพย์ของไทยมีส่วนประกอบของหมู่อาหารตามหลักโภชนาการสมัยใหม่ สามารถจัดคู่เปรียบเทียบได้ดังนี้

     1. ของปรุงประเภทถั่วต่างๆ ก็คือหมู่อาหารโปรตีน
     2. ของปรุงประเภทข้าว พืชเป็นหัวและธัญพืช ก็คือ หมู่อาหารคาร์โบไฮเดรท (แป้งและน้ำตาล)
     3. ของปรุงประเภทน้ำมันกะทิ เนย ก็คือหมู่อาหารไขมัน
     4. ของปรุงประเภทผลไม้สด ผลไม้แห้งต่าง ๆ ก็คือ หมู่อาหารวิตามินและเกลือแร่


     เครื่องปรุงในข้าวทิพย์ไม่เพียงแต่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการในปัจจุบันเท่านั้น
     แต่ยังสอดคล้องเข้ากันได้อย่างน่าอัศจรรย์ กับหลักในการกินอาหารธรรมชาติของชาวตะวันตก
     อาหารมังสะวิรัติของคนเอเซีย และหลักการกินเจของชนชาวจีนซึ่งถ่ายทอดกันมานับ เป็นพันๆปีแล้ว


    ของปรุงที่มากมายในข้าวทิพย์ล้วนเป็นหมวดหมู่อาหารอันทรงคุณค่า ที่บรรพชนในอดีตมุ่งหวังให้คนรุ่นลูกหลาน มิใช่ต้องการให้เราบริโภค “ข้าวทิพย์” เพียงปีละครั้งเดียวตามประเพณีเท่านั้น
    การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องกระทำอยู่ทุกวัน ดังเช่นความชั่วทั้งปวงย่อมต้องไม่กระทำในทุกที่ไม่ว่าทั้งที่ลับหรือที่ แจ้งการทำความดีก็ต้องทำอยู่ทุกเวลาไม่เลือกทำเฉพาะวันใดวันหนึ่งและการทำ จิตใจให้ผ่องใสก็ต้องทำอยู่ทุกขณะจิตไม่ว่าจะหลับหรือตื่นการบริโภคอาหารที่ มีคุณค่าเราก็ย่อมต้องบริโภคเป็นประจำทุกวันเช่นกัน



    พระโบราณจารย์ได้กล่าวอรรถกถาย้ำเตือนพุทธบริษัททั้งหลายเอาไว้ว่า “เป็นพุทธประเพณีที่พระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ทุกพระองค์ จักต้องได้เสวยข้าวทิพย์เสียก่อน จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า” 

    คำกล่าวอันเป็นปริศนาธรรมนี้ชี้ชัดว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางแห่งพุทธะจักต้องบริโภค “ข้าวอันเป็นทิพย์” คือ อาหารที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากเลือดเนื้อและชีวิตทั้งหลายเสียก่อน อันเป็นหนทางนำไปสู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในที่สุด นี่เป็นหน้าที่แรกเริ่มของผู้ประพฤติธรรมจักต้องขึดถือปฏิบัติด้วยกันทุกคน ดังเช่นที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

    การรู้จักรับประทานแต่ผักผบไม้และเมล็ดธัญญพืชย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยดี เมื่อสุขภาพกายดีสุขภาพจิตก็ดีและสติปัญญาก็ดีตาม ต่างเกี่ยวเนื่องโยงใยเป็นสายสัมพันธ์กันโดยตลอด การรู้จักความถูกต้องในการกิน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อชีวิตตนเองและชีวิตผู้อื่นจึงเรียกได้ว่า
    “กินอย่างพุทธะ เพื่อความเป็นพุทธะ กินอย่างถูกต้องเพื่อความถูกต้อง”

    ความดีงามความบริสุทธิ์สะอาดความเบิกบานทั้งกายและใจก็จะบังเกิดขึ้น อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม ฉะนั้นข้าวทิพย์จึงเป็นอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมโดยแท้ ข้าวทิพย์มิใช่เป็นเพียงสมญานามเท่านั้น แต่ข้าวทิพย์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสวยแล้วก็คือ อาหารทิพย์ของมหาชนทั้งโลกนั้นเอง

 

ที่มา http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=137&page=10
22128  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / คางคกสูบบุหรี่ เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:55:48 pm
คางคกสูบบุหรี่


    พูดกันมานานแล้วว่า มนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ มนุษย์เกิดมาได้เพราะกรรม เก่า- กรรมดี มีมากจึงได้มาเกิดเป็นมนษย์ มีโอกาสที่จะได้ทำกรรมดร เพื่อสร้างบารมีให้กับตัวเอง เผื่อว่าสิ้นชีวิตไปเกิดในปรภพภูม อันสมศักดิ์ศรี ไม่ต้องไปเกิดเป็น หมู หมา กา ไก่ ใช้กรมมทีละชีวิต

        พูดถึงสัตว์ ๔ ขา เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก และบางท่านเคยเห็น “ น้ำตา วัว ควาย ” ที่ไหลรินจนเปียกหน้า สัตว์ทุกชนิดไม่มีสิทธิขอชีวิตต่อผู้สังหารมัน สัตว์ที่ว่านี้ ซึ่งในหัวใจถึงกรรมที่เกาะกุมอยู่ มันไม่มีโอกาสร้องโอ้ย..ได้เหมือนผู้คนอย่างเรา ๆ อย่าได้ไปรังแกเขาอีกเลย....เวรกรรมนั้นลงโทษเขาอยู่แล้ว ที่ให้มาเหน็ดเหนื่อยเป็นขี้ข้าหาเลี้ยงคน...

    วัยรุ่น ๒ คน ชื่อ อ้อมกับตั้ม ชื่นชอบกับแกมกีฬาที่ไม่เหมือนใคร คือได้จับสัตว์พวกต่าง ๆ มาทารุนทรมานเป็นที่สนุกสนานแก่สองหนุ่มวัยคนองอย่างยิ่ง โดยมิได้นึกถึงเวรกรรมและจะคิดว่าสัตว์เหล่านั้นมันก็เจ็บปวดกลัวความตาย เหมือนกับพวกเขา     ในวัยเด็ก ๆ นั้นแทบทุกคนจะชื่นชอบในการ ยิงนกตกปลา จับปูนา กบเขียด หรือจับจิ้งหรีด เอามาให้มันกัดกัน สิ่งที่ว่ามานี้เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป อายุมากขึ้นการทำบาปกรรมรังแกสัตว์ ควรจะน้อยลง
 

    ความจริงแล้วเด็ก ๆ เปรียบเหมือนผู้คมนักโทษจากตัวเวร กรรมให้ลงโทษสัตว์ ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเขาเคยเป็นมนุษย์ที่สร้างกรรมไม่ดี แต่ก็มีหลายคนพอเติบโตจนเป็นหนุ่ม ก็ยังมีนิสัยรังแกสัตว์ที่ยังไม่เลิกรา

    อีแร้งที่ลงมากินหมาเน่ากลางทุ่งกลางนาเป็นฝูงนั้น จะมีตัวหนึ่งที่หัวจะมีสีแดง ตำเหน่งเป็นพญาแร้ง สัตว์น่ารังเกียจอย่างนี้ชอบกินซากสัตว์เน่า ๆ แต่ก็มี มนุษย์ใจบาปตามไปรังควานมัน โดยเอาใบตาลมัดด้วยเชือกทำเป็นบ่วงไว้ใกล้ ๆ หมาเน่า ทันทีที่ฝูงอีแร้งรายล้อมหมาเน่า พวกมันไม่เห็นคน อ้อมกับตั้มและพรรคพวกก็กรูกันวิ่งออกจากป่า ที่ซ่อนตัว ส่งเสียงเอะอะตีเกราะเคาะไม้     ฝูงอีแร้งที่ไม่รู้เนือรู้ใต้ต่างตกใจรีบโผบินขึ้นฟ้า แต่มันเป็นนกที่มีน้ำหนักมาก ดังนั้นการบินขึ้นมันจึงต้องการทางวิ่งหรือรันเวย์ ๒ ขาก้าววิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้น เมื่อพ้นดิน บินอยู่ในอากาศ มันถึงได้รู้ว่าที่ขาของมันนั้นมีใบตาลผูกเชือกบ่วงรัดไว้ มันตกใจบินสูงขึ้นไปลิ่ว ๆ

    เด็กหนุ่มวัยคะนองทั้งหลายที่ชอบรังแกสัตว์ต่างหัวเราะชอบใจตบมือกระโดดโล้น เต่น เมื่อเห็นใบตาลติดขาอีแร้ง บินลากของหนัก ๆ ไปชั่วชีวิตบินสูงลิ่วขึ้นบนท้องฟ้าคู่กับขาอีแร้ง

    นี่ก็เป็นอีกแกมหนึ่งที่สองหนุ่มชื่นชอบมาก คือจับเอาคางคกมาครั้งละหลาย ๆ สิบตัว แรก ๆ เริ่มเล่นเอาบุหรี่ที่ฉุนจัดจุดใส่ปากคางคก สัตว์ชนิดนี้พอหายใจออกก็พ่นควันบุหรี่ออกด้วย มองดูเหมือนกับคนสูบบุหรี่ หมดบุหรี่เพียงครึ่งมวน คางคกมีอันมึนงงต่อควันบุหรี่ นอนหงายท้องตึงทำตาปริบ ๆ

    เกมนี้มิได้หยุดหย่อนเพียงแค่นี้จากบุหรี่เปลียนเป็นประทัดยัดใส่ปากคางคก เพราะมันสะใจมากกว่ากัน ประทัดเป็นมวนดูเหมือนคางคกมันสูบบุหรี่ ซึ่งมันเองได้แต่ทำตาปริบ ๆ เพราะปล่อยทิ่งก็ไม่ได้ มันขยับปากใช้ขาของมันเขียออก แต่ก็ไร้ผล เพราะประทัดยัดแน่นคับปากด้วยถูกยัดเข้าไปลึก คางคกนิ่งอึดอัด

    ทั้งสองคนจุดประทัดไปที่สายชนวนพู่นั้นจะมีเสียงการเชียร์อย่างสนุกสนานกัน อย่างเต็มที่ ชนวนไฟลามสั้นเข้าแค่ไหน ชีวิตคางคกก็สั้นตาม วิญญาณที่ต้องชดให้กรรมจากการเป็นมนุษย์ให้กลับเป็นสัตว์และคงหลายชาติที่ คางคกจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ได้     เสียงประทัดแตกดังปัง พร้อมเสียงไชโยไห่ร้องของสองหนุ่มที่สนุกกับชีวิตที่วิงวอนขอชีวิตไม่ได้ ร้องโอย.. ๆ ก็ไม่เป็น เมื่อแรงอัดตัวของประทัดฉีก เศษกระดาษสีแดงส้มฟุ้งกระจายควันตลบ กลิ่นดินประสิวโชยเข้าจมูก ขณะเดียวกันกับวิญญาณที่เกิดมาเป็นคางคกได้ล่องลอยออกจากร่างอย่างน่าสมเพช

    เมื่อหมดเสียงดังจนแสบแก้วหูสิ่งที่ปรกกฏให้เห็นชัดก็คือ ปากขากรรไกรฉีกขาดไปถึงท้อง พุงแตกลำไส้ขาด สุดอนาถนอนคว่ำนอนหงายไปเป็นแถวเป็นแนว

   ไม่มีใครกล้าไปห้ามพวกเขา เพราะ “ กรรมใคร เวรมัน ” ใครได้มาเห็นต่างก็สลดใจ     จากวินาทีนี้เป็นนาที ถึงแม้คนเห็นไม่กี่คนก็ตามที แต่เวรกรรมมันมีจริงและเริ่มตามเป็นเงาเข้ามาอย่างช้า ๆ     เวลาผ่านไปหลายปีอ้อมกับตั้มได้ไปสมัคเป็น อ.ส. ที่จังหวัดสมใจกับที่เขาอยากรับใช้ชาติ ทั้งอ้อมกับตั้มซึ่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ลืมเรื่องราวของเกมรังแกอีแร้งกับคางคกคาบประทัดเสียสนิท

    คืนนั้นอ้อมกลับจากมาจากดูหนังขายยาที่วัดเหนือหมู่บ้าน คงจะมีดีกรีเหล้าเข้าไปบ้าง ขณะเดินกลับนั้น การเป็น อ.ส. ย่อมไม่รู้ว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู เขาแกะเอาระเบิดมือชนิดลูกเกลี้ยงมาถือไว้ หากเกิดอะไรขึ้น ลูกแตกระเบิดมือก็ช่วยได้ทัน หรือไม่ก็แลกชีวิตต่อชีวิต จนกลับมาถึงที่พัก     ไม่มีผู้ใดยืนยันได้ว่าเพราะอะไร แต่ระเบิดนั้นกระเดืองหลุดเกิดระเบิดดั่งสนั่นหวั่นไหว ค่ายพักที่เขาพักอยู่นั้นพัง ผาปลิว หลังคาหลุดเป็นแถบ ๆ เมื่อเสียงระเบิดสงบทุกคนที่อยู่ใกล้ ๆ แตกตืนเข้ามาดูก็ได้พบว่า ชิ้นส่วนร่างกายเขาฉีกกระจุยเหมือนหมูบะช่อ ท้องแตกไส้ทะลักกระเด็นไปเกือบถึงเสาธง     หน้าตาเละจนจำไม่ได้ แขนขาขาด สถาพศพใครเห็นก็ต้องเบือนหน้าหนี ถ้าคนตรงนั้นรู้อดีตเขามาก่อนคงพูดว่า

    “ เหมือนคางคกที่ท้องแตกแขนขาขาดกระจุย เช่นเดียวกัน ”


    กรรมติดตามลงโทษคนที่มีจิตใจต่ำทราม โหดร้ายอย่างไม่ยอมลดละ ส่วนอีกคนหนึ่งคือนายตั้มนั้น รู้ข่าวว่าไปได้ภรรยาอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง ขอให้เชื่อเถอะว่ากรรมนั้นมีจริง การทำร้ายชีวิตสัตว์ก็เหมือนไปกู้เงินเขามา แน่นอน ผู้รับสภาพเป็นเจ้าหนี้ย่อมติดตามทวงทรัพย์สินตนคืนทุกวิถีทางและรูปแบบอย่า คิดว่าจะพนีพ้นไปได้...

    คนที่ไม่เชื่อเหล่านี้มีแต่เถียงข้าง ๆ คู ๆ ไม่เชื่อเรื่องอะไรทั้งสิ้น โอกาสของเขาจะยิ่งน้อยลงทุกที ๆ ทางที่ดีควรเร่งสร้างทำบุญทำทานรักษาศีลสร้างกรรมดีกันไว้ให้มาก ๆ เพราะกฏของกรรมนั้นไม่เคยที่หยุดหรือละเว้นและอโหสิเวทนาให้แก่ใครเลย...


ที่มา   http://larnbuddhism.com/godgram/godgram/



22129  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ทำบุญอะไรจึงได้ไป สวรรค์ในแต่ละชั้น ? เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:51:02 pm
ทำบุญอะไรจึงได้ไป สวรรค์ในแต่ละชั้น ?
 

สวรรค์ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดสวรรค์อันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา มีทั้งหมด 6 ชั้น
 
    เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดา เพราะได้สร้าง บุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์

    วิมานปราสาท คือ ที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มีความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิดขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน

    การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่37 เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้

สวรรค์ ชั้น จาตุมหาราชิกา
 

    เกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีจากหลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญไม่ค่อยเป็นไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสมบุญ นานๆทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ
 
    สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ
 
ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์
ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ
ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค
ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์

 
สวรรค์ ชั้น ดาวดึงส์


    เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำกระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริโอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33องค์ โดยมี ท้าวสักกเทวราช หรือ พระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมี พระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ
 
สวรรค์ ชั้น ยามา
 

    เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอด และรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็นปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป
 
สวรรค์ ชั้น ดุสิต


    เกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต หรือในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาเรียกกันว่า ดุสิตบุรี คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป
 
สวรรค์ ชั้น นิมมานรดี


    เกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับการยกย่องส่งเสริม จึงอยากจะทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้วจะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป
 
สวรรค์ ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี


    เกิดบนสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป
 
ความเป็นอยู่ของสวรรค์แต่ละชั้น


    ความเป็นอยู่ของชาวสวรรค์แต่ละชั้น จะมีความประณีตยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับชั้น ถ้าใครทำบุญมามาก จนครบทุกอย่างดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ปรารถนาจะไปอยู่ ณ ที่ใด ก็สามารถจะไปสวรรค์ชั้นที่ต้องการได้ เหตุแห่งการกระทำที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นสาเหตุหลักๆ เป็นภาพรวมของการทำบุญที่ทำให้ไปเกิดในสวรรค์ในแต่ละชั้น แต่อาจจะมีองค์ประกอบและปัจจัยอย่างอื่นเสริมอีกด้วย

22130  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พบพระพุทธศาสนาแล้ว อย่าทำให้เสียชาติเกิดเลย เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:38:36 pm
พบพระพุทธศาสนาแล้ว อย่าทำให้เสียชาติเกิดเลย


มนุษย์ผู้มีใจสูง มี ๔ จำพวก
   สัตว์โลกที่ชื่อว่า  มนุษย์  เพราะอรรถว่าเป็นเหล่ากอแห่งพระมนู 
ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า  สัตว์โลกทั้งหลายที่ชื่อว่า
มนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง.
   มนุษย์เหล่านั้นมี  ๔  จำพวกคือ
 
พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป  ๑ 
พวกมนุษย์ชาวอมรโคยาน (อปรโคยานทวีป) ๑
พวกมนุษย์อุตตรกุรุ ๑ 
พวกมนุษย์ชาวปุพพวิเทหะ  ๑


เกิดเป็นมนุษย์แสนยาก
   ในสังยุตตนิกาย กล่าวความเกิดเป็นมนุษย์แสนยาก ความว่า
   แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า  ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรง
ช้อนไว้ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย  เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ 
ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ที่ปลายพระนขา (เล็บ)
ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ  การเปรียบเทียบ  หรือแม้ส่วนเสี้ยว
 
   ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน  สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์
แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์  มีน้อย  โดยที่แท้  สัตว์ที่จุติจาก
มนุษย์ไปแล้ว  กลับไปเกิดในนรก  มีมากกว่า  ฯลฯ.


   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ฉันนั้นเหมือนกัน  สัตว์ที่จุติจากมนุษย์
ไปแล้ว  จะกลับมาเกิดในพวกมนุษย์  มีน้อย  โดยที่แท้  สัตว์ที่
จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน 
มีมากกว่า  ฯลฯ.
 

ปฏิปทาให้มาเกิดเป็นมนุษย์

   สิกขาบท  ๕  อย่าง  ศีล ๕
   ๑.  ปาณาติปาตา  เวรมณี    [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์] 
   ๒. อทินนาทานา  เวรมณี   [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์]
   ๓. กาเมสุมิจฉาจารา  เวรมณี  [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม] 
   ๔. มุสาวาทา  เวรมณี  [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ]
   ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา  เวรมณี  [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น 
      จากการดื่มน้ำเมา  คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท] 

มนุษย์ในโลกมี ๔ จำพวก

ในตมสูตรได้กล่าวถึงบุคคล ๔ จำพวก ความว่า
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก
เป็นไฉน คือ    
                        ผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปจำพวก ๑
         ผู้มืดมาแล้ว มีสว่างต่อไปจำพวก ๑
         ผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปจำพวก ๑
         ผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไปจำพวก ๑

   
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร
         
   บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล
ตระกูลช่างสาน  ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างเย็บหนัง หรือ
ในตระกูลคนเทหยากเยื่อ อันเป็นตระกูล เข็ญใจ มีข้าว น้ำและ
โภชนะน้อย เป็นอยู่โดยฝืดเคือง หาของบริโภคและผ้านุ่งห่ม
ได้โดยฝืดเคือง
   อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ มีโรคมาก
เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือพิการไปแถบหนึ่ง
ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร
   เขาซ้ำประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจาและด้วยใจ
ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง       
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปอย่างนี้แล ฯ         
   
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มืดมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล
ตระกูลช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างเย็บหนัง หรือตระกูล
คนเทหยากเยื่อ อันเป็นตระกูลเข็ญใจ มีข้าว น้ำและโภชนะน้อย
เป็นอยู่โดยฝืดเคือง หาของบริโภคและผ้านุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง
   อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ มีโรคมาก
เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นคนพิการไป
แถบหนึ่ง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้
ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร
แต่เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจ ครั้นประพฤติ
สุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้วมีสว่างต่อไป อย่างนี้แล ฯ
       
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูล
มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่า
ปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์สินเหลือล้น
   อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก เป็นผู้มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ
ระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป
แต่เขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริต
ด้วยกาย วาจา และใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไปอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร 
       
บุคคลบางคนในโลก เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูล
มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่า
ปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์สินเหลือล้น
   อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ
ระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป
เขาย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริต
ด้วยกาย วาจา และใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีสว่างต่อไปอย่างนี้แล
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
--------------------------------------------------------------------------------

   

**ผู้เรียบเรียงอยากจะยกตัวอย่างอีกเรื่องให้เห็นในยุคปัจจุบัน
เรื่องที่บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไป คือ

ระดับความยากของการเกิดเป็นมนุษย์   
ได้ยินว่า  การเกิดที่จะได้อย่างยากในยุคปัจจุบันมี ๔ อย่างคือ
   
เกิดมาเป็นมนุษย์ ยากอย่างที่หนึ่ง
   เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา ยากอันดับสอง
   เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา และอยู่ในสมัย
ที่พุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่  ยากอันดับสาม.
   เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา  อยู่ในสมัย
ที่พุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่  และได้พบพระพุทธองค์ได้ฟังเทศนา
จากพุทธองค์  ยากอันดับสี่.


พบพุทธศาสนาแล้ว ควรทำอย่างไร
   ในยุคปัจจุบัน  ประเทศไทยเราถือว่า ในอยู่แดนของพุทธศาสนา
และเราได้มีโอกาสได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว  ถือว่า เรายังโชคดีที่ยังอยู่
ในเกณฑ์การเกิดยาก อันดับสอง  เพราะยังมีหลักธรรมให้ประพฤติ
ปฏิบัติได้  แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือ  การศึกษาหลักธรรมในปัจจุบัน  มี
บางท่านเห็นผิดไปจากความเดิม   อันเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย
   เหมือนดั่งคำอาจารย์ที่ว่า  จับงูที่หาง  จะถูกงูกัดตาย    หรือ
ดังความว่า บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไป  ฉะนี้เป็นต้น
   ฉะนั้น  ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา  ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
จึงควรขวนขวายหาความรู้ในหลักธรรม  โดยความสุขุมรอบคอบ
พิจารณาไตร่ตรอง  ใคร่ครวญ  สอบถาม  เทียบเคียง กับบัณฑิตและ
ครูบาอาจารย์


เราเดินมาถูกทางหรือเปล่า

   สิ่งหนึ่งที่จะพึงให้เราสังเกตุได้ว่า การศึกษาในธรรมของเรา
มาถูกทางหรือเปล่า คือ สังเกตุในจิตใจของตัวเราว่า เรามีความ
โลภอยากได้  มีความโกรธอาฆาต  และหลงไปกับสิ่งต่าง ๆ น้อย
หรือมากกว่าเดิม เช่น  มีมิจฉาทิฏฐิ  ดื้อรั้น  ถือดี  ขัดเคืองใจง่าย 
ไม่ฟังคำเตือนของกัลยาณมิตร ถือว่า เราเดินทางผิด   
   แต่ถ้าหากศึกษาธรรมแล้ว  เริ่มเข้าใจสภาวความจริงของธรรมชาติ
ว่า  ทุกสิ่งในโลกทั้งหมดล้วน  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่ และดับไป  ทุกสิ่งล้วน
อาศัยเหตุอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น  ไม่มีอะไรเป็นอยู่คงอยู่ด้วยตัวมันเอง
โดยไม่อาศัยปัจจัยปรุงแต่งขึ้น   สิ่งที่เราเห็นหรือสัมผัสในขณะนั้น
ก็เพราะสิ่งนั้นอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยจึงมีขึ้น  เมื่อหมดปัจจัยอันปรุงแต่ง
ขึ้นแล้ว  สิ่งนั้นก็มิได้มีอยู่จริง   เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ให้สังเกตุจิตใจ
เราเองว่า เรามีโลภอยากได้จนเกินเหตุหรือเปล่า
 

      เราเป็นคนถือดีหรือเปล่า 
      เราเป็นคนโกรธง่ายหรือเปล่า
      เราหลงไปติดยึดกับสภาพแวดล้อมหรือเปล่า
      เรามีจิตใจอ่อนโยน มีสัมมาคารวะหรือเปล่า
      เรามีเมตตา กรุณา ต่อสรรพสิ่งทั้งหลายมากขึ้นหรือเปล่

   
หากเราสังเกตุแล้ว  เห็นว่า สิ่งที่ดีที่กล่าวมามีมากขึ้นในจิตใจ 
สิ่งที่ไม่ดีที่กล่าวมามีน้อยลงในจิตใจ   ถือว่า เราเดินทางถูก

อย่าได้เสียชาติเกิด   
เมื่อเรามีความเห็นตรง  ก็จงพัฒนาจิตให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้น
เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏฏะ  อันเป็นกองทุกข์ทั้งสิ้น.
อย่าให้เหมือนคำว่า เข้าถ้ำสมบัติแล้วออกมามือเปล่า  อันจะเป็น
การเสียชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา**

   
ที่มา
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
#ขุทฺทก.อ. ๑/๖/๑๔๒; ม.อุ. ๑๔/๕๗๙-๕๙๖;ที.ปา. ๑๑/๒๘๖.
#สํ.สฬ. ๑๘/๕๙๘-๖๐๑; สํ.ม. ๑๙/๑๗๙๒-๑๗๙๓; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๘๕


22131  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ที่มาของการภาวนาแบบ “พองหนอ ยุบหนอ” เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:27:49 pm

ที่มาของการภาวนาแบบ “พองหนอ ยุบหนอ”

ที่มาของพองหนอ ยุบหนอ
คนเป็นจำนวนมากยังมีความสงสัยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดย
การตั้งสติไว้ที่หน้าท้องพร้อมกับคำภาวนาว่า “พองหนอ” และ “ยุบหนอ” ตามการเคลื่อนไหวของท้องในขณะนั้น สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหานี้คือคนเหล่านี้คุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบอานาปานสติภาวนามาก่อน โดยการกำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากบนพยายามสังเกตลมหายใจเข้าออก ว่าสั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียด นอกจากนั้นในบางสำนักยังมีการสอนใจเจริญพุทธานุสสติควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ ให้กำหนดจิตหรือผู้รู้ไว้ที่ลมหายใจ ซึ่งมีการสัมผัสที่ปลายจมูก พร้อมกับนึกในใจว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก

การปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวอานาปานสติสูตร ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพุทธศาสนา
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงสงสัยว่าการภาวนา “พองหนอ (rising)” และ “ยุบหนอ (falling)” เป็นแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือเปล่า มีการปฏิบัติกันเช่นนี้ในสมัยก่อนหรือไม่ หรือเป็นวิธีปฏิบัติของวิปัสสนาจารย์ในยุคหลัง ความลังเลสงสัยเช่นนี้ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือบางคนพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหาแหล่งที่มาของ “พองหนอและยุบหนอ” สิ่งที่สำคัญคือต้องการจะทราบว่าเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าเป็นจริงตามนี้มีหลักฐานอะไรมายืนยันบ้าง เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วจะก่อให้เกิดศรัทธาและปสาทะในการปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่ต่อไปผลเสียคือว่าทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนไม่เต็มที่มีแต่ความเคลือบแคลงสงสัยและมีโอกาสจะบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ต้องการได้ยาก

มหาสติปัฏฐานสูตร
ในมหาสติปัฏฐานสูตรที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์มหาวรรคทีฆนิกายซึ่งเป็นพระสูตรที่ค่อนข้าง
ยาวมาก พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“ทางสายนี้เป็นทางสายเอกหรือทางสายเดียวเท่านั้น (The onlyway)”

1. เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
2. เพื่อระงับความเศร้าโศกและคร่ำครวญ
3. เพื่อดับความทุกข์กาย (ทุกข์) และความทุกข์ใจ (โทมนัส)
4. เพื่อบรรลุญายธรรม คือ อริยมรรค
5. เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน


ทางสายเดียวนี้คือ“สติปัฏฐาน 4”

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติซึ่งได้แก่ กาย (body) เวทนา (feeling) จิต (mind) และธรรม
(mind-objects) สติปัฏฐาน 4 จำแนกออกเป็น 4 หมวด ดังนี้

1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูกาย
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูเวทนา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูจิตหรือความคิด
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูธรรมหรืออารมณ์ที่เกิดกับจิต


กรรมฐานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 21
กรรมฐานดังนี้ (ดูรูปที่ 1)
 


ในบรรดากรรมฐาน 21 อย่างนี้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายว่า อานาปานปัพพะ (ข้อกำหนด
ลมหายใจเข้า-ออก) และปฏิกูลปัพพะ (ข้อกำหนดอาการ 32 ของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ว่าเป็นของน่ารังเกียจ) เป็นข้อปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และสามารถทำให้
เกิดอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิระดับฌาน หรืออุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่เข้าไปเฉียดใกล้ต่อฌาน
ในบรรดากรรมฐานที่เหลือ 19 อย่างนี้ นวสีวถิกาปัพพะ (ข้อกำหนดด้วยป่าช้า 9 ชนิด) เป็นสมถกร
รมฐานล้วน ส่วนที่เหลือคือ อิริยาบถ 4 สัมปชัญญะ 4 และการกำหนดธาตุ 4 เป็นวิปัสสนา
กรรมฐานล้วน

วิปัสสนาขณิกสมาธิ
ความจริงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิ (momentary
concentration) ได้แก่สมาธิเพียงชั่วขณะเท่านั้น ผู้ปฏิบัติต้องพยายามกำหนดอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
คือ รูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง
รวมทั้งอาการต่าง ๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัสและการนึกคิดเป็น
ต้น ขณะเดียวกันต้องกำหนดอารมณ์ต่าง ๆ ให้เห็นเป็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทนได้ยาก (ทุก
ขัง) และความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) เมื่อกำหนดเช่นนี้ติดต่อกันอย่างไม่ขาดสาย กำลังของสมาธิจะ
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถกำจัดนิวรณ์ต่าง ๆ ได้


ฉะนั้นวิปัสสนาขณิกสมาธิจึงมีกำลังเท่ากับสมถอุปจารสมาธิ และเมื่อวิปัสนาญาณสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง เช่น อุทยพยญาณ ภังคญาณ แล้วก็จะมีกำลังมากคล้าย ๆ กับอัปปนาสมาธิ

อย่าเข้าใจผิดว่าการปฏิบัติวิปัสสนาต้องตั้งสติกำหนดที่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องย้ายไปกำหนดที่อารมณ์อื่น สมาธิจะได้ตั้งมั่น จิตไม่วอกแวกเช่น ขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ พอมีการได้ยิน การปวด การคิด เกิดขึ้นและเป็นอารมณ์ที่ชัดกว่า ก็ไม่ยอมกำหนด การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการเข้าใจผิด สมาธิที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสมถสมาธิส่วนวิปัสสนาขณิกสมาธินั้นมีรูปนามปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ต้องตั้งสติจนได้สมาธิชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าขณิกสมาธิ

แต่วิปัสสนาขณิกสมาธิเมื่อมีกำลังแก่กล้าพอ ก็สามารถทำให้บรรลุถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ คือ เข้าถึงมรรคผล นิพพานได้ อุปมาเหมือนเมล็ดงาที่มีขนาดเล็กมากเมล็ดหนึ่ง ๆ ย่อมมีน้ำมันน้อย ยังไม่อาจทำให้เกิดเป็นน้ำมันขึ้นมาได้ แต่เมื่อเอาหลาย ๆ เมล็ดรวมกันเข้าก็ได้น้ำมันมาก ข้อนี้ฉันใดวิปัสสนาขณิกสมาธิก็ฉันนั้น โยคีบุคคลที่มีจิตไปถึงไหน ก็ตั้งสติกำหนดไปที่นั้น ได้ขณิกสมาธิเกิดขึ้นมาทันที ไม่เรียกว่าใจฟุ้งซ่านเมื่อขณิกสมาธิมีกำลังมากเท่ากับอุปจารสมาธิแล้ว การกำหนดอารมณ์อันหนึ่งกับอีกอันหนึ่งนั้นระหว่างกลางอารมณ์ทั้งสองกิเลสนิวรณ์เข้าไม่ได้

รูปแบบของวิปัสสนายานิก

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิปัสสนายานิก หรือสุทธวิปัสสนากรรมฐาน (pure
insight meditation) ซึ่งเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โยคีหรือผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดรูปธรรม
(materiality) และนามธรรม (mentality) ที่เป็นปรมัตถ์ ในขณะที่ทวารทั้ง 6 รับรู้อารมณ์ภายนอก
(รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และธรรมารมณ์) ตัวอย่างเมื่อมีรูป (คลื่นแสง) มากระทบกับตาจะเกิด
การเห็นขึ้น ให้ตั้งสติกำหนดในใจว่า “เห็นหนอ ๆๆ” ในขณะที่มีการเห็นเกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบที่
สำคัญ 3 อย่างคือ

1. ตา เป็นรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ คือ การมองเห็น
2. รูปหรือคลื่นแสงก็เป็นรูป
3. จักขุวิญญาณ คือการเห็น เป็นนาม


ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการกำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ ๆ” ด้วยความเพียร (อาตาปี) สติ (สติมา) และ
สัมปชัญญะ (สัมปชาโน) จะมีเพียงรูป (คือ ตา กับคลื่นแสงที่มากระทบกับตา) และนาม (คือจักขุ
วิญญาหรือการเห็น) เกิดขึ้น รูปและนามที่เกิดขึ้นก็มีการเกิดและการดับอยู่ตลอดเวลาอย่างถี่ยิบ
เพราะเป็นรูปนามปรมัตถ์ ต่อมาก็จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตน ในขณะ
นั้นจะไม่มีสิ่งสมมุติหรือบัญญัติ (concepts) เช่น ฉันเห็น เขาเห็น เธอเห็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับโยคีผู้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มักประสบความยากลำบากอย่าง
มากในการกำหนดรูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 วิปัสสนาจารย์ในสมัยก่อนจึงนิยมให้กำหนดตาม
หมวดอิริยาบทใหญ่ 4 (อิริยาปถปัพพะ) หมวดอิริยาบทย่อย 4 (สัปชัญญะปัพพะ) และหมวดกำหนด
ธาตุ 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ)


ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยทางวิปัสสนา เมื่อเริ่มปฏิบัติให้นั่งในท่าสมาธิแบบพระพุทธรูป ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาวางลงบนมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นเอาสติไปกำหนดที่ท้องบริเวณสะดือ ให้สังเกตแต่เพียงอาการคือการแสดงออกมา (manifestation)ซึ่งได้แก่การเคลื่อนไหว (movement or motion) ของท้องขณะที่ท้องพองออกให้กำหนดในใจว่า“พองหนอ” และขณะที่ท้องยุบลงให้กำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” ไม่ให้มีการออกเสียง เป็นแต่เพียงการกำหนดในใจ (a mental note) เท่านั้น ปล่อยให้การหายใจดำเนินไปตามปกติไม่ต้องไม่สนใจกับลมหายใจเข้าออก และรูปร่างสัณฐานของท้อง จำไว้ว่าสนใจแต่เพียงอาการพองและอาการยุบของท้องเท่านั้น

การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ
“อการกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ“อนนมติ-โอนมติ” (ภาษาบาลี) นั้น เป็นเพียงคำภาวนา ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติ (conventionalconcept) เพื่อก่อให้เกิดสมาธิเท่านั้นไม่ใช่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate reality) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้น นอกเหนือจากการกำหนดในใจว่า “พองหนอ ยุบหนอ” แล้วโยคีจะต้องพยายามสังเกตดู “อาการพอง-อาการยุบ” ซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ แน่นอนในระยะเริ่มต้นโยคีมักจะกำหนดได้แต่เพียงอารมณ์บัญญัติก่อน

ต่อไปเมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ(ความสงบและความตั้งมั่นของจิต) และปัญญา (ความรู้) พัฒนามากขึ้น ๆ ก็จะค่อย ๆ เห็นอารมณ์ปรมัตถ์คือ อาการพอง-อาการยุบ ชัดขึ้น ๆ เป็นลำดับ การกำหนดอารมณ์ของกรรมฐาน “พองหนอ-ยุบหนอ” คือการกำหนด “วาโยโผฏฐัพพรูป” ซึ่งหมายถึงรูปตามที่ลมถูกต้องนั่นเอง

ธาตุลมกับอาการพองและอาการยุบ
ธาตุลม (วาโยธาตุ) มี 2 อย่าง คือ
1. วาโยธาตุภายในและ
2. วาโยธาตุภายนอก

ในที่นี้วาโยธาตุภายในมีอยู่ 6 ประการคือ
1. ลมที่ขึ้นเบื้องสูง ซึ่งก่อให้เกิดอาการเรอ สะอึก หรืออาเจียน
2. ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งทำให้มีการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระออกจากร่างกาย
3. ลมที่อยู่ในท้องภายนอกระบบทางเดินอาหาร
4. ลมในกระเพาะและลำไส้
5. ลมที่เดินตามเส้นประสาทไปตามแขนขา และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดการยืน
การนั่ง การเดิน การคู้ การเหยียด และอิริยาบทย่อยอื่น ๆ และ
6. ลมหายใจเข้าและออก


ส่วนวาโยธาตุภายนอก ได้แก่ ลมที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ลมมรสุม ลมไต้ฝุ่น ลมประจำ
ทิศ ลมร้อน ลมเย็น ลมที่เกิดจากพัดลม เป็นต้น

จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การกำหนดอาการพองและอาการยุบของท้อง มิใช่การ
กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกซึ่งอยู่ในหมวดอานาปานปัพพะ แต่เป็นการกำหนดวาโย
ธาตุหรือธาตุลมซึ่งอยู่ในหมวดธาตุมนสิการปัพพะ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน
สูตรว่า “ภิกษุพิจารณาดูกาย นี้แหละ ตามที่สถิตอยู่ ตามที่ตั้งอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ในการนี้มี ธาตุ
ดิน (the earth element) ธาตุน้ำ (the water element) ธาตุไฟ (the fire element) และธาตุลม (the wind element)


ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ธาตุทั้ง 4 จะปรากฏอาการให้รู้เป็นปัจจุบันธรรม
ตัวอย่างในอิริยาบทนั่ง ร่างกายของโยคีจะมีลักษณะตึงและเคร่ง เพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ในอิริยาบทนี้
ด้วยอำนาจของธาตุลมเหมือนลูกโป่งที่ถูกอัดจนแน่นด้วยลม จนมีลักษณะพองและตึง ความแข็ง
(hardness) หรือความอ่อน (softness) คือลักษณะเฉพาะของธาตุดินบางครั้งรู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณท้องหรือก้นที่สัมผัสกับพื้น ความอุ่น (warmth) หรือความร้อน (hotness) คือธาตุไฟที่ปรากฎออกมาการที่ท้องหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกาะกุมกันจนมีรูปร่างเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผนังหน้าท้อง การเกาะกุม (cohesion) เช่นนี้ คือ ลักษณะของธาตุน้ำ ส่วนอาการหรือการเคลื่อนไหว (motion)ของท้องเวลาท้องพองออกและท้องยุบลง คือปรากฎการณ์ของธาตุลม
ธาตุทั้ง 4 เป็นรูปที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เรียกว่า อวินิพโภครูป สิ่งที่เป็นรูปทุก
อย่างแม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดจะต้องมีคุณสมบัติที่มีอยู่เป็นประจำ 8 อย่างคือ

1. ปฐวี (คือสภาพแข็งและอ่อน)
2. อาโป (คือสภาพเอิบอาบและเกาะกุม)
3. เตโช (คือสภาพร้อนและเย็น)
4. วาโย (คือสภาพเคร่งตึงและเคลื่อนไหว)
5. วัณณะ (คือสี)
6. คันธะ (คือกลิ่น)
7. รสะ (คือรส) และ
8. โอชา (คืออาหารรูป)


ธาตุลมทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากอำนาจของธาตุลม เมื่อเราคู้แขนเข้ามา เหยียดแขน
ออกไป หรือแสดงพฤติกรรมทางกายอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าธาตุลมกำลังทำงานอยู่ ตัวอย่าง
สำหรับการเดิน ก่อนที่การเดินจะเกิดขึ้น จิตจะทำหน้าที่เป็นผู้สั่งทำให้วาโยธาตุแล่นไปทั่วร่างกาย
โดยเฉพาะบริเวณขาทั้งสองข้าง ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมของการเดิน

โดยสรุปจิตที่อยากเดินนั้นเป็นเหตุ ส่วนอาการเดินที่เกิดขึ้นเป็นผล สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ปรากฎการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสรีรวิทยาทางการแพทย์ ในสมองของแต่ละคนจะมีส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวของร่างซีกซ้ายจะถูกควบคุมโดยสมองซีดขวา เมื่อเราต้องการจะยกมือซ้าย จิตที่ประกอบด้วยเจตนาจะสั่งให้สมองซีกขวาจะส่งกระแสประสาท (nerve impulse) ไปตามเซลล์
ประสาท (neurons) จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งไปสู่เส้นประสาท (nerve fibers) ที่ไปเลี้ยง
บริเวณแขนและมือซ้าย กระแสประสาทจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของมือตามที่ต้องการ ความ
จริงแล้วกระแสประสาทก็คือ ธาตุลมนั้นเอง เพราะมีหน้าที่เหมือนกันคือ การทำให้เกิดการ
เคลื่อนไหว (movement) ในร่างกาย


ในการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าโยคีกำหนดแต่เพียงรูปร่างสัณฐานของ ท้อง แขน
ขา หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตยังคงเป็น
อารมณ์บัญญัติ (conventional concepts) ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานทำให้จิตสงบและตั้งมั่น แต่ยังไม่สามารถทำลายสักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเราของเขา เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา

ทำนองนี้ได้ แต่ถ้าโยคีพยายามกำหนดการเคลื่อนไหวของท้องพร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ” หรือกำหนดการเคลื่อนไหวของเท้า พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “ยกหนอ ย่าง
หนด เหยียบหนอ” (สำหรับการเดินจงกรม 3 ระยะ) ในลักษณะเช่นนี้อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตจะเป็น
อารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate realities) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน การกำหนดที่ถูกต้อง
เช่นนี้จะนำไปสู่วิปัสสนาญาณที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนเห็นแจ้งประจักษ์ในความไม่เที่ยง
(อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของรูปนาม เห็นรูปนามเกิดดับ
อย่างถี่ยิบ จนเกิดความกลัว ความเห็นโทษ ความเบื่อหน่าย ความปรารถนาที่จะพ้นไปจากรูปนาม
และจนสุดท้ายคือ บรรลุมรรคญาณและผลญาณในที่สุด


ประวัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์

ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฎฐานาจริยะเจ้า สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
จังหวัดชลบุรีได้เล่าไว้ ในเรื่อง “วิปัสสนาวงศ์” เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ
ปัฏฐาน 4 หรือแบบ “พองหนอ-ยุบหนอ” มีหลักฐานยืนยันว่าการปฏิบัติแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณ
กาลในราวพุทธศักราช 235 มีอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมด้วยพระ
อรหันต์ 1,000 รูป ได้ร่วมกระทำตติยาสังคายนา ที่เมืองปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธ โดยมี
พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นศาสนูปถัมภก หลังจากเสร็จสิ้นในการทำสังคายนาครั้งที่สามแล้ว ท่านได้
ส่งสาวกที่เป็นพระอรหันต์นำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่และประดิษฐานยังที่ต่าง ๆ รวม 9 สาย
ด้วยกัน

ในแคว้นสุวรรณภูมิมีพระโสณะอรหันต์ และพระอุตตระอรหันต์ นำพระพุทธศาสนามา
ประดิษฐานที่เมืองตะโทง (Thaton) หรือสุธรรมนครในประเทศสหภาพพม่า ตามประวัติได้มีการ
สืบทอดวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์เรื่อยมาไม่ขาดสาย จนถึงสมัยของวิปัสสนาจารย์ติรงคะ สะยาดอ
พระมโน อรหันต์ พระมิงกุลโตญ สะยาดอ และพระมิงกุล เชตวัน สยาดอ ตามลำดับ
พระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ หรือภัททันตะนารทเถระแห่งเมืองมะละแหม่ง เป็นผู้ที่
มีชื่อเสียงมากในการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 จนกิตติศัพท์ของท่านขจรไป
ไกลในประเทศสหภาพพม่า


สมัยนั้นสานุศิษย์ของท่านผู้หนึ่งที่มีคนรู้จักกันดีทั่วไปในวงการพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท คือ พระอาจารย์มหาสีสะยาดอ หรือ ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต ผู้เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาสี และเจ้าสำนักสาสนยิตตา ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในเมืองย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า พระอาจารย์ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ผู้เป็นสานุศิษย์องค์หนึ่งของพระอาจารย์มหาสีสะยาดอ ได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าพระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ มีความสามารถในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างช่ำชอง ท่านสามารถกำหนดสติได้ ทั้งที่ปลายจมูก โดยสังเกตการกระทบของลมหายใจเข้าออกที่บริเวณนี้ (แบบอานาปานปัพพะ) และที่บริเวณท้องโดยสังเกตอาการพองและอาการยุบ (แบบธาตุมนสิการปัพพะ)

การเผยแพร่วิปัสสนาแบบพองหนอยุบหนอ
เมื่อพระอาจารย์มหาสี สะยาดอ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับท่านได้พิจารณาดูอย่างรอบ
คอยกลับมีความเห็นว่า การกำหนดสติที่บริเวณท้องทำได้ง่ายกว่า และได้ผลดีกว่าด้วย
โดยปกติลมหายใจเข้า-ออก เป็นรูปที่ละเอียดอ่อน เป็นอารมณ์ของกรรมฐานที่กำหนดได้
ยาก เมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความ
รู้ตัวทั่วพร้อม) มีพลังมากขึ้น ลมหายใจจะค่อย ๆ ละเอียดอ่อนและเบาลง ๆ จนดูเหมือนว่าจะหยุด
หายใจ ในสถานการณ์เช่นนี้ โยคีบางคนหาที่กำหนดไม่ได้ ทำให้จิตฟุ้งซ่านและซัดส่าย


แม้ว่าอานาปานสติจะเป็นยอดของกรรมฐานทั้งหมด แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวไว้ว่า
“ก็อานาปานสติกรรมฐานนี้เป็นของยาก อบรมได้ยาก เป็นภูมิแห่งมนสิการของผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น
กล่าวคือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรทั้งหลาย”

ส่วนการกำหนดสติที่บริเวณท้องโดยสังเกตการเคลื่อนไหวของท้อง ซึ่งเกิดจากอำนาจของ
ธาตุลมทำให้สะดวกกว่า เพราะว่าวาโยโผฏฐัพพรูป หรือรูปที่ลมถูกต้อง เป็นรูปที่หยาบกว่ารูปอัน
เกิดจากการสัมผัสของลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก นอกจากนั้นคนสมัยนี้ไม่ละเอียดอ่อนเหมือน
คนสมัยก่อน


ดังนั้นการกำหนดสติที่บริเวณท้องจึงเหมาะสมกว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เมื่อเริ่มมีการ
สอนวิปัสสนากรรมฐาน พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จึงแนะนำให้โยคีทุกคนกำหนดสติไว้ที่หน้า
ท้องบริเวณสะดือ และพยายามสังเกตอาการพอง-อาการยุบ พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ”

ในช่วงเวลานี้หลายคนมีความเห็นขัดแย้งกับแนวการสอนแบบนี้อย่างรุนแรง เขา
เหล่านี้คิดว่าเป็นวิธีการสอนวิปัสสนากรรมฐานแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น โดยพระอาจารย์มหาสี สะ
ยาดอ เป็นคำสอนที่ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก หรือมิใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จาก
หลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ชัดว่าวิธีการสอนแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาลเป็นแนวปฏิบัติที่
นิยมแพร่หลายในประเทศสหภาพพม่าเป็นระยะเวลานานก่อนที่พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จะ
นำมาใช้สอนโยคีผู้เป็นศิษย์


ฉะนั้น การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” ที่บริเวณท้องคือการสังเกตธาตุลม (วาโย
ธาตุ) ที่มีสภาวะลักษณะคือการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เป็นแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานที่
สอดคล้องกับหลักคำสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าด้วยการมีสติตามดูกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏ
ฐาน) ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณากายโดยความเป็นธาตุทั้ง 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ) อาการ
พอง-อาการยุบ คือรูปที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสของธาตุลมนี้เรียกว่า วาโยโผฏฐัพพรูป เป็นรูปปรมัตถ์
ที่มีลักษณะของวาโยธาตุชัดเจนคือการเคลื่อนไหว

พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ในบาลีสังยุติการยว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ ตั้งสติ กำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว รูปนั้น
อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนแน่นอน


ยังทรงเทศน์อีกว่า “โยคีบุคคลที่โผฏฐัพพารมณ์ถูกต้องสัมผัสนั้นตั้งสติกำหนดรู้เห็นอยู่ว่าไม่เที่ยงบุคคลนั้นอวิชชาหายไปวิชชาญาณปรากฏ”

ดังนั้น การกำหนด “พองหนอ-ยุบหนอ” จึงเป็นการสังเกตวาโยโผฏฐัพพรูปด้วยโยนิโสมนสิการ อันประกอบด้วยอาตาปีหรือวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม) มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพลังของปัจจัยดังกล่าวแก่กล้าพอเพียงแล้วผู้ปฏิบัติ (โยคี) จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตนของรูปธรรมและนามธรรม มีสัมมาทิฏฐิและวิชชาญาณเกิดขึ้น จนสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด


อ้างอิง
วิปัสสนากรรมฐาน(แนวมหาสติปัฏฐานสูตร)
รวบรวมเป็นวิทยาทานโดย…..พระราชพุทธิญาณ
เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดบุพพาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่
ประธานศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นวัดบุพพาราม
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

22132  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ปฏิปทาอันพิสดาร ของ พระเถระชาวพม่า เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:19:13 pm
ปฏิปทาอันพิสดารของ พระเถระชาวพม่า


ปฏิปทาที่น่าสนใจของพระวายามเถระ






ที่มา
หนังสือ อานาปานทีปนี วิธีเจริญอานาปานสติ
พระญาณธชเถระ (แลดีสยาดอ) รจนา
พระพรหมโมลี  ตรวจชำระ
พระคันธสารภิวงศ์  แปลและเรียบเรียง

22133  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / สัมภเวสี กรรมตัดรอน สะเดาะเคราะห์ เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2010, 06:09:58 pm

สัมภเวสี กับ กรรมตัดรอน
          ต่อแต่นี้ไป ก็มาพูดถึงสัมภเวสี ประเดี๋ยวก่อน ญาติโยมพุทธบริษัท บางทีญาติโยมจะสงสัยว่า อสุรกายนี่ต้องลำบากอยู่สักเท่าไร ถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถามแบบนี้ อาตมาก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บอกเวลาไว้ว่าจะเสวยผลประเภทนี้ไปสักกี่ปี กี่เดือน กี่วัน เป็นแต่เพียงท่านบอกว่า ถ้าพ้นจากสภาวะความเป็นอสุรกายแล้ว ก็ต้องเป็นสัตว์เดียรัจฉาน รู้กันไว้เท่านี้ก็แล้วกันนะ อาตมาจะบอกให้เลยไปกว่านี้ก็บอกได้ เป็นของไม่ยาก แต่ว่าบอกแล้วเวลาอาตมาตายไปแล้วไปลงนรกไม่บอกดีกว่า ถ้าตายแล้วต้องลงนรกนี่ไม่เอานา มันไม่ใช่ของดี
 
         เอาละ ต่อแต่นี้ไปก็เลยอสุรกายไปนิด ความจริงมันไม่ใช่เลย เรามายืนอยู่ในขอบเขตของเมืองมนุษย์นี่แหละ แต่ว่าเป็นผี คนพวกนี้มีอิสระ ไม่อยู่ในอำนาจของใครไม่ใช่เปรต ไม่ใช่อสุรกาย เป็นใคร? ที่เราเรียกกันว่า สัมภเวสี คือว่าคนที่ตายแล้วยังไม่ถึงอายุขัย เรียกว่ามีกรรมที่เรียกกันว่าอุปฆาตกรรม เข้ามาริดรอน ตัดรอนเสียตั้งแต่ยังไม่หมดอายุขัย ท่านพวกนี้เวลาตายแล้วทางนรกไม่ต้องการ ทางสวรรค์ไม่ต้องการ บุญที่ทำไว้ยังไม่ให้ผล หรือว่าบาปที่เขาทำยังไม่ให้ผล ยังไม่ถึงเวลาที่เขาจะเรียกเข้าไปสอบสวนและจัดการลงโทษ มีสภาพเหมือนกับคนออกจากบ้านนี้แล้วเข้าบ้านโน้นไม่ได้ จะกลับเข้าบ้านนี้ก็ไม่ได้ เดินไปเดินมาไม่ใช่ว่าแบบหนุ่มเจ้าสำราญนะ เดินแบบลำบาก หาอะไรกินไม่ได้ ผีประเภทนี้เราเรียกกันว่าสัมภเวสี แปลว่าพวกแสวงหาที่เกิด หมายความว่าแสวงหาที่อยู่แน่นอน

         บรรดาคนที่ตายในสภาพนี้ ที่บรรดาหมอผีทั้งหลายชอบเรียกเอาไปเลี้ยงก็เพราะว่าเขาเป็นคนหิว เขาไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีอาหารเป็นเครื่องบริโภค ในเมื่อสภาพของเขาเป็นคนหิวแบบนี้แล้วใครชวนก็ไป ก็แบบเดียวกับเรา เราก็เหมือนกันเมื่อที่อยู่ไม่มี ใครชวนไปอยู่ด้วยก็ไป ไปทำไม? ไปเพื่อประทังชีวิตให้มีความสุข พวกนี้ต้องการเครื่องเซ่นสรวงบูชา แล้ว

สะเดาะเคราะห์ต่อชะตาเป็นจริงแค่ไหน
        สำหรับคนที่ตายประเภทนี้ ที่หมอเขาบอกว่าสะเดาะเคราะห์ได้จะไม่ตาย นี่เป็นความจริงเพราะว่ากรรมที่กระทำให้พวกเขาตาย เรียกว่าอุปฆาตกรรม กรรมเข้ามาตัดรอนในระหว่างอายุขัย ยังไม่ถึงเวลาที่เขาจะต้องตาย แต่ถ้าหากว่า เราทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะเป็นการชดเชยกับความชั่วที่จะเข้ามาริดรอนเสียได้ อายุเข้าก็จะยืนต่อไป ที่เรียกกันว่าการต่ออายุ
 
       แต่ทว่าการต่ออายุนี่ต้องระวังนะ ส่วนใหญ่ที่เคยได้ฟังมา มันเป็นการต่ออายุหมอไป หมอที่ทำพิธีน่ะ ได้รับการต่ออายุหมดเคราะห์ แต่ว่าคนที่เข้าไปสะเดาะเคราะห์กลับเพิ่มเคราะห์เข้ามาอีก ทั้งนี้เพราะอะไร? เพราะเชื่อหมอนี่ หมอบอกว่า ถ้าไม่ทำละก้อ ต้องตายเมื่อนั้นเมื่อนี่ ถ้าทำเสียแล้วจะมีความดี หมอก็ตั้งราคาไว้สูง จะต้องหาเงินให้หมดเป็นพันเป็นหมื่น พิธีกรรมก็มากมายถ้าทำไปแล้ว ถ้าไม่ถูกพิธีกรรม การสะเดาะเคราะห์นั้นไม่มีผล แต่เราต้องเสียสตางค์ เราเสียสตางค์ก็ชื่อว่าเพิ่มเคราะห์เข้ามา สำหรับหมอหมดเคราะห์ไป เราเสียไปให้พันบาท
       
         เรื่องการสะเดาะเคราะห์ คือเป็นการต่ออายุ แบบนี้ระวัง ระวังต้องให้พอเหมาะพอดีกับกฎของกรรม ถ้าจะทำกันให้ถูกจริงๆ ละก็ ไปหาพระที่ท่านได้ทิพยจักขุญาณ หรือว่าอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ความจริงมันก็ไม่ต่างกัน ได้ทิพยจักขุญาณอย่างเดียวเท่านั้นแหละมันก็ได้ทั้งหมด

     เมื่อท่านทราบชัดว่า กรรมเดิมมีอะไรบ้างที่จะเข้าริดรอน ท่านก็จะสอบถามว่ากฎกรรมประเภทนี้ จะต้องชดใช้ด้วยอะไร เมื่อทราบชัดท่านก็จะบอกให้ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเฉพาะพระเท่านั้นที่จะรู้ ฆราวาสที่เขารู้ก็มีถมไป ฆราวาสสมัยนี้ มีความดีจนพระควรจะอายมีเยอะ มีไม่น้อย เป็นอันว่าถ้าใช้ถูกจังหวะ ราคาก็ไม่แพง และผลก็จะได้สมความปรารถนาที่เขาจะต้องตายไป ก่อนที่เขาจะหมดอายุขัย ก็เพราะไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้

        ตานี้ เรื่องการสะเดาะเคราะห์หรือการต่ออายุก็ต้องดูกันใหม่ ดูกันไปว่าควรไม่ควรเพียงใด คนที่ถึงอายุขัยแล้วต่อไม่ไหว เมื่อพูดมาถึงตอนนี้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่ติดตามมาทัศนาจรดูอสุรกายและ สัมภเวสีอาจสงสัยว่าหลวงตาองค์นี้ น่ากลัวจะพูดผิดเรื่องเสียแล้ว พระพุทธเจ้า ไม่เคยต่ออายุใครนี่ แล้วก็ตาเถรหัวล้านนี่มาพูดกันยังไงกัน ทำไมมาแนะนำให้ชาวบ้านต่ออายุ

อายุวัฒนกุมาร
        ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทสงสัยตอนนี้ละก็ไปเปิดพระธรรมบทดูที่บอกให้เปิดธรรมบทที่เขาลงท้ายว่าขุททกะ ขุททกนิกาย นิกายแปลว่าหมู่ ขุททกะแปลว่าเล็กๆ น้อยๆ คือเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เล็กๆ น้อยๆ กระจุ๋มกระจิ๋มเป็นวิชาเกล็ด ท่านพุทธโฆษาจารย์ท่านรวมไว้อีกจุดหนึ่งแล้วไปเปิดดูเรื่องอายุวัฒนกุมาร ว่าพระพุทธเจ้าเป็นหมดดูหรือเปล่า แล้วก็พระพุทธเจ้าเป็นนักต่ออายุคนหรือเปล่า นี่นักสมถวิปัสสนา นักเข้าวัดละมักจะสวดพระสวดคนที่เขาทำสมถกรรมฐาน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน

       ถ้าใครเขาดูด้วยอำนาจของญาณ ทำพิธีกรรมละบอกว่านอกรีตนอกรอย ทำไม่ถูก พระพุทธเจ้า สอนไว้ว่าการเป็นหมอดูเป็นไม่ได้ ทำพิธีกรรมแบบนี้ทำไม่ได้ คนเมื่อจะถึงคราวตายเป็นอำนาจกฎของกรรม ทำแล้วมันไม่ถูกนอกรีตนอกรอยนอกประเพณี นอกคำสอนของพระพุทธเจ้า นี่แหละบรรดาญาติโยมคนรู้มากก็ยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ แต่ว่าคนพึ่งคลานได้นี่ซิ กลับไปด่าคนพึ่งคลานได้แบบนี้ นี่ซิ กลับไปด่าคนที่เขาวิ่งแข็งแล้วว่าทำไม่ถูก คนเกิดมาจะต้องคลานอย่างนี้ นี่ซิ มันเป็นแบบนี้ ลักษณะแบบนี้มันมีอยู่มาก อ่านหนังสือไม่ทันจะจบ

         ตานี้ถ้าไปดูเรื่องอายุวัฒนกุมาร อายุวัฒนกุมารนี่เกิดมาเป็นเด็กตัวเล็กๆ ยังไม่ ๗ ขวบ นั่งไม่ได้ จะต้องตายในระหว่างนั้น พ่อแม่ของอายุวัฒนกุมาร มีลูกเป็นคนแรก มีพราหมณ์อยู่คนหนึ่งเป็นเพื่อนกัน พราหมณ์คนนี้ แกได้ทิพยจักขุญาณ แกได้ญาณต่าง ๆ มีอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ก็ว่ากันไปตามเรื่อง แต่ว่ากำลังญาณ กำลังญาณของแกยังอ่อนกว่าพระพุทธเจ้า แกรู้ตัวว่าแกสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ แกก็ยอมรับว่าพระพุทธเจ้าดีกว่าแก
 
          สองคนตายายพ่อแม่ของเด็กอายุวัฒนกุมารคนนี้ ทราบข่าวว่าเพื่อนฤาษีคนนี้เข้ามาในเขตของเมือง ก็พากันไปหา เพราะเป็นเพื่อนกันมาก่อน เมื่อคุยกันด้วยดีพอสมควรแก่เวลา ท่านพ่อก็ส่งลูกให้แก่แม่ กราบลาเพื่อนกลับ
 
          เพื่อนก็บอกว่าท่านจงมีอายุยืนยาว ทีฆายุโก โหตุ นะ ภาษาบาลี นึกจะไม่พูดให้ฟัง เพราะภาษาบาลีมันขัดคอคนฟัง ทีฆายุโก โหตุ ท่านจงมีอายุยืนยาวเถิด ตานี้เมื่อท่านพ่อกราบลาแล้ว ท่านแม่ก็ส่งลูกให้ท่านพ่อ
 
        ท่านแม่กราบบ้าง ท่านพราหมณ์ก็ว่าอย่างนั้น ว่า ขอให้ท่านเป็นผู้มีอายุยืนยาว
        อีตอนหลัง ก็จับลูกของเขาให้กราบ ลุงพราหมณ์คนนี้แกนิ่งเฉย แกไม่พูดแบบนั้น ท่านพ่อท่านแม่แกก็สงสัยว่า เอ๊ะ ! นี่เรากราบเพื่อนของเรา บอกว่าจงเป็นผู้มีอายุยืนยาว แต่ว่าเวลาที่เราให้ลูกชายของเรากราบ เอาละซีเพื่อนนิ่งเสีย สงสัย
 
        ถามว่าเวลาที่ผมกับเมียกราบท่าน ลาท่าน ท่านบอกว่าจงเป็นผู้มีอายุยืนยาวแต่เวลาที่ให้ลูกกราบทำไมจึงนิ่งเฉย ๆ ท่านพราหมณ์ก็บอกว่า ก็ลูกของแกอายุมันไม่ยาวนี่ จะต้องตายภายใน ๗ วัน ถ้าหากว่าฉันพูดแบบนั้นฉันก็พูดผิดน่ะซิ ไม่ได้แล้ว ฉันไม่พูด เขาก็เลยถามว่า ท่านรู้วิธีแก้ไหม
 
       ท่านพราหมณ์ก็เลยบอกว่าไอ้รู้ว่าจะตายน่ะรู้ แต่วิธีแก้น่ะ ไม่รู้หรอก คนที่รู้วิธีแก้มีอยู่คนเดียว คือรู้วิธีแก้ไม่ผิด คือพระสมณโคดม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าหากว่าท่านต้องการจะแก้ไม่ให้ลูกของท่านตายละก็ไปหาพระสมณโคดมเถิด ท่านแก้ได้ นี่คนโบราณที่เขาดีจริง ๆ น่ะเขาดี เขาไม่ได้ทะนงตัวนะ ว่าเขาดีแค่นี้ละก้อไม่มีคนดีกว่าเขา ไม่เหมือนบรรดาอาจารย์สมัยปัจจุบัน หวงลูกศิษย์กันนัก ลูกศิษย์ของตัวจะไปหาใครละบอกว่าอย่าเชียวนะ อย่า มาหาฉันแล้วจะไปหาคนอื่นไม่ได้นะ รดน้ำมนต์จากฉันแล้วอย่าไปให้คนอื่นรดเชียวนะ มาเป็นลูกศิษย์ฉันแล้ว อย่าไปเป็นลูกศิษย์คนอื่นเดี๋ยวจะพากันเลอะเทอะ ไม่ได้ของฉันเป็นผู้วิเศษ ดีไม่ดี เป่าขม่อมไปให้แล้วละก้อ อย่าไปให้ใครเป่าทับเชียวนะ ถ้าใครเขาเหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ละก็อย่าเชียวแน่ะ เอาเข้ายังนั้น พรรคพวกเรามันเป็นยังงี้นะโยมนะ พรรคพวกเราเป็นแบบนี้อยู่เสมอ ที่ดีท่านก็มี ที่เป็นประเภทนี้ก็มีมาก

    ตานี้เมื่อพราหมณ์ ๒ ตายายพ่อแม่ของเด็กทราบว่า เด็กจะตายใน ๗ วัน ก็ตกใจ เพราะเป็นลูกคนแรก ลูกผู้ชายเสียด้วย ออกจากสำนักของพราหมณ์เพื่อนที่แนะนำก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พอไปถึงสำนักของพระพุทธเจ้า ก็ทำแบบนั้นแหละ เวลาลากลับพระพุทธเจ้าก็พูดเหมือนกับพราหมณ์ อีตอนลูกชายลาท่านก็เฉยเสีย พราหมณ์ก็ถาม ท่านก็บอกว่าลูกชายคนนี้จะตายภายใน ๗ วัน เขาก็ถามว่าทำยังไงจึงจะแก้ไขไม่ให้ตายได้เล่าพระพุทธเจ้าข้า
 
         พระพุทธเจ้าบอกว่าได้ ถ้าต้องการแบบนั้นได้ เพราะกรรมประเภทนี้เป็นอุปฆาตกรรม ไม่ใช่อายุขัย ถ้าอายุขัยตถาคตก็แก้ไม่ได้ คือเป็นกรรมที่เข้ามาแทรกระหว่างกลาง ซึ่งผลของความดีเด็กนี้ยังมีอยู่มาก ถ้าไม่ตายก่อน จะได้เป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา แล้วจะมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่อาศัยเวลานี้ กรรมที่เป็นอกุศลเข้ามาริดรอน จึงเป็นเหตุให้เด็กคนนี้จะต้องตายใน ๗ วัน เมื่อเขาทราบชัดก็ถามสมเด็จพระทรงธรรมว่า ทำยังไงจึงจะไม่ให้เด็กตายพระพุทธเจ้าข้า
 
       ท่านก็ตรัสแนะว่า พราหมณ์กลับไปบ้านไปทำโรงพิธีเข้าแล้วก็นิมนต์พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไปนั่ง ล้อมเจริญพระปริตรตลอด ๗ วัน เมื่อทำได้อย่างนี้ละก็ลูกของท่านจะพ้นจากความตายไอ้เรื่องกลัวเปลืองไม่มีสำหรับคนที่ลูกจะตาย ก็เลยทำตามสั่ง ไปถึงก็ทำโรงพิธีเข้า นิมนต์พระไป พระสมัยนั้นมีมาก ไปนั่งล้อมกันไม่ต้องให้สายสิญจน์ เมื่อล้อมกันแล้วก็เจริญพระปริตร สวดบ้างไม่สวดบ้าง แต่ก็นั่งล้อมกันแบบนั้น พระมาสับเปลี่ยนกันไป ไม่ใช่ไปชุดเดียวแล้วนั่งเจ็ดวันเจ็ดคืน มันคงแย่เหมือนกัน

       พอถึงวันที่เจ็ดปรากฏว่าพระพุทธเจ้าเสด็จเอง แล้วเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ พรหมก็มา เทวดาก็มา แล้วคนที่จะเอาชีวิตของเด็กก็เป็นยักษ์ธรรมดา ๆ เป็นลูกน้องของท้าวเวสสุวัณณ์ อีตอนนี้เอง ในเมื่อเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มา พลทหารก็ต้องไปยืนสุดกู่ องค์สมเด็จพระบรมครูก็นั่งอยู่จนครบรอบของวันที่ ๗ คือเริ่มต้นของวันท่านก็ไปนั่งจนที่สุดของวันคืออรุณใหม่ เพราะว่ายักษ์ตนนี้ได้รับพรจากท้าวเวสสุวัณณ์ว่าจะมาเอาขีวิตของเด็กคนนี้ ได้ภายใน ๗ วัน ถ้าเลย ๗ วันแล้วไม่มีโอกาส ฉะนั้น เมื่อแกมาคอยอยู่ ๖ วันแล้วพระก็นั่งล้อมรอบอยู่แบบนั้น แกก็เข้าไม่ได้ ได้แต่ตั้งท่าว่าพระเผลอเมื่อไรจะเอาเมื่อนั้น
 
        แต่พอวันที่ ๗ วันสุดท้ายแกตั้งใจว่า วันนี้จะต้องเอาชีวิตเด็กคนนี้ให้ได้ ให้มันตายจากความเป็นมนุษย์ เพราะอะไร ? เพราะกรรมเดิมสร้างไว้มาก ที่เป็นปาณาติบาต แล้วความดีก็มีแยะ ในเมื่อเห็นท่าเอาไม่ได้แน่แล้วก็ต้องตั้งท่าให้พระเผลอ พระพุทธเจ้าเสด็จเสียเอง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ พรหมลงมา ตายักษ์คนนี้แกก็ถอยหลังลงไปพ้นเขตพรหม เทวดาลงมาแกมีบุญน้อยกว่าแกก็ถอยหลังออกไป ในที่สุดแกต้องไปนั่งอยู่ขอบจักรวาล เพราะพรหมและเทวดามาก มีปริมาณมากแล้วสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนั่งเสียหมดเวลา เป็นอันว่าเด็กคนนั้นไม่ต้องตายเกินเวลาเจ็ดวันยักษ์ทำอันตรายไม่ได้


การทำบุญให้สัมภเวสี
        นี่แหละบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายที่ติดตามรับฟังและติดตามทัศนาจรในภพ ต่าง ๆ กลับมาภพมนุษย์ด้วยกัน ทราบไว้ว่ากรรมที่เป็นอุปฆาตกรรม คือบรรดาสัมภเวสีพวกนี้ ที่เดินอยู่ข้างหน้า เดินเกลื่อนไปเกลื่อนมา มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคนธรรมดา
 
       เวลาที่เขาตาย เวลาที่ตายแต่งตัวแบบไหนนุ่งผ้าประเภทไหนก็แต่งตัวแบบนั้น แล้วก็สำรวยต่าง ๆ ท่าทางแข็งแรง แต่ดูเหมือนว่ามีความกังวลอยู่อย่างหนึ่ง คือมีความทุกข์ใจไม่รู้จะเกิดที่ไหน ไม่รู้จะพักผ่อนที่ไหนได้แน่นอน บรรดาสัมภเวสีพวกนี้มีความลำบาก นี่ถ้าหากว่าบรรดาเขารู้ในด้านการตัดอุปฆาตกรรม เสียได้แล้วละก็เขาจะมีความสุขมากเอาละ
 
       บรรดาท่านพุทธบริษัท เรื่องนี้รับฟังไว้แล้วก็ควรจะฟังต่อสักนิดว่า ถ้าญาติของเราตาย ตายด้วยอำนาจของสัมภเวสี คือไม่สิ้นอายุ ฟ้าผ่าตาย สุนัขกัดตาย มดกัดตาย ยุงกัดตาย คลอดบุตรตาย ถูกฆ่าตาย ถูกยิงตาย รถชนตาย แต่ก็ไม่แน่นักนะ บรรดาพวกนี้ถึงอายุขัยก็มี
แต่เผื่อเหนี่ยวไว้ก่อน สมมุติว่าเขาเป็นสัมภเวสี พอตายไปแล้วไม่ต้องทำบุญมาก
 
- ทำบุญให้ได้บุญชัดๆ หาอาหารชนิดที่ไม่มีบาป
- เอาผ้าไตรมา ๑ ไตร
- เอาพระพุทธรูปมา ๑ องค์
- นิมนต์พระมารับสังฆทานที่บ้าน

 
         ทำเงียบๆ อย่าให้มีเหล้ายาปลาปิ้ง อย่าทุบแม้แต่ไข่สักหนึ่งฟอง เมื่อทำบุญเสร็จ อุทิศส่วนกุศลให้เฉพาะคนที่ตาย ไม่ให้ใครทั้งหมด
 
        ถ้าทำอย่างนี้ละท่านพวกนี้จะมีความสุข ได้รับผลบุญทันที มีความผ่องใส มีความอิ่มเอิบเมื่อเข้าถึงอายุขัย เมื่อใดก็เป็นอันว่าพวกนี้จะไปถึงด้านของสวรรค์ก่อน
     
    สำหรับท่านอายุวัฒนะกุมารนั้น ปรากฏว่าเมื่อพ้นจากตอนนั้นมาแล้ว ถึงเวลาอายุ ๗ ขวบท่านก็เป็นสามเณร บวชเณร แล้วก็ได้อรหัตผลอยู่มาได้อายุ ๑๒๐ ปี ตรงตามที่องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัส

         เอาละบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท วันนี้ท่องเที่ยวชมกันเท่านี้ก็พอนะ เพราะเวลามันหมด เดี๋ยวเจ้าหน้าที่ของสถานีเขาจะว่าเอา เกินเวลาเขาเสมอ เป็นอันว่าวันนี้พักอยู่แดนของอสุรกายอยู่สัก ๗ วัน พอครบ ๗ วันแล้วเดินกันใหม่นะ คราวนี้เดินเข้าไปหาดินแดนของสัตว์เดียรัจฉานและมนุษย์

         เอาละนี่มันก็หมดเวลาแล้วนี่ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ก็นอนพักกันเสียก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลจงมีแด่ บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี.



ที่มา   ไตรภูมิพระร่วง คำเทศนาของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ  จากเว็บพุทธภูมิ
22134  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / นรกโลกันตร์ นรกเย็น ไม่มีไฟสักนิด เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2010, 09:05:45 pm
นรกโลกันตร์ นรกเย็น ไม่มีไฟสักนิด


ไตรภูมิพระร่วง
เคยอ่านกันมั้ยครับ หรืออย่างน้อย เคยได้ยินคุณครูพูดถึงในคาบวิชาภาษาไทยบ้างมั้ย ใครที่สนใจและรู้จักแต่เทวตำนานฝรั่ง เห็นวรรณคดีเรื่องนี้แล้วพึงระลึกไว้เถิดครับว่า บรรพบุรุษไทยเราก็มีจินตนาการเรื่องเทวตำนานได้บรรเจิดไม่แพ้โลกตะวันตกเลย ทีเดียว

ให้ข้อมูลเล็กน้อย เผื่อมีใครที่ไม่เคยรู้จักเลยจริงๆ ไตรภูมิ พระร่วง หรือ เตภูมิกถา เป็นวรรณคดีไทยในสมัยกรุงสุโขทัย พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พญา (พระญา) ลิไท เป็นวรรณคดีทางพระพุทธ ศาสนาที่บอกเล่าเรื่องภพภูมิต่างๆ รวมถึงความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของคนในสมัยนั้น ซึ่งถึงแม้จะตรงกับความจริงน้อยมาก แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นการพยายามอธิบายเรื่องจักรวาลด้วยหลักการที่ใกล้เคียง วิทยาศาสตร์มากที่สุดที่คนในสมัยนั้นทำได้

เนื้อหาในเรื่องก็มาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา (ที่แผ่ขยายจากลังกาเข้ามาได้สดๆ ร้อนๆ) ผสมกับจินตนาการของพญาลิไทและข้าราชบริพาร จุดประสงค์ดั้งเดิมที่แต่งขึ้น คือเพื่อใช้ควบคุมประชาชนให้อยู่กันอย่างสงบสุข อ่านแล้วรู้จักกลัวบาปและอยากทำบุญ ซึ่งด้วยความที่คนสมัยก่อนเขายังไม่มีสิ่งยั่วกิเลสมากเท่าในปัจจุบัน ชีวิตในแต่ละวันจึงไม่มีเรื่องอะไรให้สนใจมากไปกว่าเรื่องพระเจ้าแผ่นดินและ ศาสนา ดังนั้นเตภูมิกถาจึงเป็นเหมือนกฎข้อบังคับที่ผู้คนให้ความสำคัญอย่างมากที เดียว

อย่างที่บอกไปแล้วว่าคุณภูมิจะนำท่าน ทั้งหลายที่เข้ามาบล็อกนี้ไปเที่ยวสถานที่แห่งหนึ่ง ฉะนั้นจึงต้องขออนุญาตพาท่านไปรู้จักกับที่แห่งนั้นโดยทันที และไม่ขอพูดอะไรเกี่ยวกับภพภูมิทั้งสามและดินแดนยิบย่อยทั้งหลายแหล่นะครับ ใครที่สนใจอยากรู้จักภพภูมิไหนเป็นพิเศษ สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้นะครับ

สถานที่ที่คุณภูมิจะพามาให้รู้จัก ถ้าหากท่านผู้อ่านอ่านมาตั้งแต่แรก และตั้งใจอ่านพอ ก็คงรู้แล้วว่า คุณภูมิจะพูดถึง "นรกโลกันตร์" นั่นเอง ถูกต้องแล้วครับ

นรกโลกันตร์อยู่ที่ไหน
นรกโลกันตร์ เป็นนรกขุมเกือบสุดท้ายในหัวข้อ "นรกภูมิ" โดยในไตรภูมิพระร่วง ซึ่งใช้ภาษาไทยแบบสมัยสุโขทัย จะเรียกชื่อนรกขุมนี้ตามวิธรสมาสคำแบบบาลี-สันสกฤต คือ "โลกันตนรก" ซึ่งแปลได้ว่า นรกที่อยู่ระหว่างโลก

คนแทบทุกชาติทุกวัฒนธรรมเข้าใจกันว่า สถานที่ลงโทษวิญญาณคนไม่ดี ที่เรียกกันว่า นรก นั้นตั้งอยู่ใต้โลก (คือคนไม่ดี ทำตัวต่ำๆ ก็ควรจะไปอยู่ที่ต่ำๆ ว่างั้น) นรกภูมิในไตรภูมิพระร่วงก็อยู่ใต้โลกเช่นกันครับ แต่ยกเว้นเพียงนรกโลกันต์ ซึ่งได้สิทธิพิเศษเหนือนรกขุมอื่น

"ฝูงจะกล่าวพาลหลงทั้งหลายนี้แล ๓ อันอยู่ใกล้กันดังเกวียน ๓ อัน แลวางไว้ข้างกันดังก้นบาตร ๓ ลูกอันไว้ใกล้กันนั้นหว่างจักรวาฬ ๓ อันและมีนรกชื่อว่าโลกันตนรกแล"

ถ้าเปรียบรูปร่างจักรวาลทั้งจักรวาลเป็นทรงกลม พอเอาทรงกลมจักรวาล 3 อันมาวางชิดกันเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือพีระมิด วางให้ตายก็ไม่มีทางซ้อนกันสนิท เพราะจะเกิดช่องว่างระหว่างทรงกลมเสมอ ช่องว่างระหว่างจักรวาลนั่นแหละครับ ที่ตั้งของนรกโลกันตร์ (ตามความหมายชื่อ โลกันตร์ คืออยู่ระหว่างโลกต่างๆ ในจักรวาลไงครับ)


คนตกนรกขุมปกติทั่วไป ชาวบ้านเขาถือว่าต่ำเสียยิ่งกว่าต่ำ จนต้องมาอยู่ใต้พื้นที่เท้าคนอื่นเขาเหยียบๆ กัน แล้วนรกโลกันตร์นี่ไพล่ไปอยู่นอกโลกนอกจักรวาลเลย หมายความว่าคนที่จะตกนรกขุมนี้ต้องเลวชาติสุดๆ จนนรกปกติไม่รับหรือไง

"คนฝูงใดอันกระทำร้ายแก่พ่อและแม่และสมณพราหมณา จารย์ผู้มีศีล และยุยงพระสงฆ์ให้ผิดกัน ครั้นว่าตายไปเกิดในนรกอันชื่อว่าโลกันตนรก"

จริงๆ ก็ไม่ต้องทำอะไรมากหรอกครับ แค่คุณทำร้ายหรือฆ่าพ่อ แม่ ผู้มีพระคุณ พระภิกษุสงฆ์ นักบวช ตลอดจนผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรมความดี คุณก็สอบผ่านโควตาสู่นรกโลกันตร์ไปครึ่งตัวแล้ว ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

สัณฐานของนรกโลกันตร์
"อัน แลอันในโลกันตนรกนั้นกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ด้วยลายนักหนาและจะนับบมิได้ มีคูลึกวงรีหาพื้นน้ำบมิได้หาฝาเบื้องบนบมิได้ไส้ เมื่อใต้น้ำอันชูแผ่นดินนี้หากเป็นพื้นขึ้นชื่อว่าโลกันตนรกนั้นและเบื้องบน เป็นปล่องขึ้นไปถึงพรหมโลก อันว่าจะมีวิมานอยู่ตรงบนโลกันตนรกขึ้นไปนั้นหาบมิได้"

ลักษณะโดยทั่วไปของนรกโลกันตร์คือ เป็นปล่องแคบๆ ที่อยู่ระหว่างกำแพงจักรวาล ด้านล่างเป็นคูน้ำลึกไร้ก้น อุณหภูมิน้ำศูนย์องศาสมบูรณ์ (ก็อยู่นอกจักรวาลนี่) ด้านบนนั้นว่ากันว่าเป็นพรหมโลก หรือภพภูมิของเทวดาชั้นพรหม ซึ่งเป็น Being เกือบสมบูรณ์แบบในเตภูมิกถา แต่ไม่ปรากฏว่ามีวิมานของพรหมองค์ใดตั้งอยู่เหนือปล่องนรกโลกันตร์พอดีหรือ เปล่า เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีอาสาสมัครชาวนรกโลกันตร์ของคุณภูมิตนใดสามารถปีน ขึ้นไปพิสูจน์ได้ เพราะจะถอดใจจากความสูงของกำแพงจักรวาลเสียก่อน

นรกโลกันตร์มืดสนิท ไม่มีแสงเดือนแสงตะวัน
"เนตร แลในโลกันตนรกนั้นมืดนักหนา ฝูงสัตว์ซึ่งได้ไปเกิดในโลกันตนรกนั้นดังหลับตาอยู่เมื่อเดือนดับนั้นแล เมื่อดาวเดือนและตระวันอันไปส่องให้คนทั้งหลาย ๔ แผ่นดินนี้ให้เห็นทุกแห่ง ดังนั้นก็มิอาจส่องให้เห็นหนในโลกันตนรกนั้นได้ เพราะว่าเดือนและตระวันอันเป็นไฟและส่องให้คนทั้งหลาย ๔ แผ่นดินนี้ไปส่องสว่างกลางหาวแต่เพียงปลายเขายุคนธรไส้ และส่องสว่างไปแต่ในกำแพงจักรวาฬ และโลกันตนรกนั้นอยู่นอกกำแพงจักรวาฬไส้ อยู่หว่างเขาจักรวาฬภายนอกเรานี้จึงบมิได้เห็นหนไส้เพื่อดังนั้นแล ฯ"

นอกจากนี้ ด้วยความที่ตั้งอยู่นอกกำแพงจักรวาล แสงเดือน แสงดาว และแสงอาทิตย์ ซึ่งส่องอยู่เพียงในจักรวาลเท่านั้นจึงมาไม่ถึงนรกโลกันตร์ ดังนั้นนรกขุมนี้จึงมืดมิดเหมือนหลับตาในคืนเดือนดับอยู่เสมอ

การอุบัติของพระพุทธเจ้าช่วยให้นรกโลกันตร์มีแสงขึ้นแวบหนึ่ง
กระนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสได้มองเห็นอะไรๆ ในนรกโลกันตร์เสียทีเดียว

"ถ้าและว่าต่อ เมื่อใดโพธิสัตวผู้จะลงมาอุบัติตรัสแก่สัพพัญญุตญาณ และเมื่อท่านเสด็จลงไปเอาปฏิสนธิในครรภ์พระมารดานั้นก็ดี และเมื่อท่านสมภพจาตุโกรธรนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแก่สัพพัญุตญาณนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาพระธรรมจักรนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่นิพพานนั้นก็ดี ในกาล ๕ ที่นี้ในโลกันตนรกนั้นจึงได้เห็นหนแท้นักหนา คนซึ่งอญุ่ในนรกนั้นจึงได้เห็นกัน"

ชั่วชีวิตของผู้ที่อยู่ในนรกโลกันตร์ (ซึ่งยาวนานกว่าอายุเฉลี่ยมนุษย์มาก เชื่อเหอะ) มีเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่จะได้มีโอกาสเห็นภาพของดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ และเห็นรูปลักษณ์ของเพื่อนร่วมภพ ซึ่งโอกาสที่จะมีแสงสว่างเพียง 5 ครั้งนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ได้แก่

1. เมื่อทรงปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา

2. เมื่อประสูติ

3. เมื่อตรัสรู้

4. เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักรกัปปวัตนสูตร (ธรรมจักร)

5. เมื่อเสด็จปรินิพพาน


"อัน ว่าเขาและบ่อนกันดังนั้นก็ดีบมิได้เห็นอยู่นาน เห็นเร็วประมาณดีดนิ้วมือเดียวไส้ เห็นปานดังสายฟ้าแลบคาบเดียวไส้ เมื่อดังนั้นเขาทั้งหลายนั้นมิได้ว่าอันใด ครั้นเขาว่าแต่เท่านั้นแล้วไส้ก็กลับไปมืดดังเก่าเล่า ฯ ผิเมื่อพระพุทธเจ้าตัรสเทศนาธรรมจักรนั้น ยังค่อยเรืองอยู่เว้นนานกว่าทุกคาบวันละน้อยแสงสายจึงวายเรือง"

อย่างไรก็ดี แสงที่สว่าง 5 ครั้งนั้นก็ใช่ว่าจะส่องไปนานๆ แบบหลอดไฟเบอร์ 5 แต่สว่างแค่ชั่วเวลาดีดนิ้วเปาะเดียวเหมือนฟ้าแลบเท่านั้น จะมีก็แต่แสงตอนพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องธัมมจักรกัปปวัตนสูตรเท่านั้นที่จะ สว่างนานกว่าหน่อยนึง แล้วถึงค่อยๆ จางลงๆ

ปรากฏการณ์นี้ คุณภูมิไม่รู้จะแสดงเป็นภาพออกมาอย่างไร ฉะนั้นขอนำอาการไข้ของคอมฯ คุณภูมิมายกเป็นตัวอย่างให้ชมกันครับ (จำลองจากสถานการณ์จริง)


สัตว์นรกโลกันตร์
บรรยายสถานที่ไปเสร็จสรรพแล้ว มาพูดถึง Residents แห่งนรกขุมนี้กันบ้างดีกว่า

"ตนเขานั้นใหญ่นักหนาโดยสูงได้ ๖,๐๐๐ วา เล็บตีนเล็บมือเขานั้นดังคั้งคาว และใหญ่ยาวนักหนา สมควรด้วยตัวอันใหญ่นั้น เล็บนั้นสมนักหนา ผิและเกาะแห่งใดก็ติดอยู่แห่งนั้น"


สัตว์ นรกโลกันตร์ หรือชาติหน้าของพวกนักการเมืองหนักแผ่นดินบาง คน (ชอบทำร้ายผู้มีพระคุณต่อแผ่นดินทั้งทางตรงและทางอ้อม) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่พบเจอในนรกโลกันตร์  ดูท่าจะเป็นสิ่งมี ชีวิตที่ตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกมา คือตัวสูงถึง 6,000 วา หรือ 12,000 เมตร (1 วา = 2 เมตร) มีเล็บมือเล็บเท้ายาวเฟื้อย แถมยังคมกริบได้ใจ ประมาณว่าเจาะผนังกำแพงจักรวาลตรงไหนก็ติดที่นั่น ไม่ต้องใช้สลิงและตัวแสดงแทน


"เขา เอาเล็บเขานั้นเกาะกำแพงจักรวาฬมั่นหน่วงอยู่ และเขาห้อยตนเขานั้นอยู่ดังคั้งคาวนั้นแล"

ในยามปกติ เวลาไม่ได้ไต่กำแพงจักรวาลไปไหนมาไหน สัตว์นรกโลกันตร์ก็จะเอาเล็บตีนยึดกำแพง แล้วห้อยหัวลงเหมือนค้างคาว ปล่อยเลือดให้ไปเลี้ยงหัวเล่น




สัตว์นรกโลกันตร์กินกันเอง
"เมื่อ เขาอยากอาหารไส้เขามิได้ไปหาเพื่อจะหากิน ครั้นได้ต้องมือกันเข้าไส้ใจเขานึกว่าเขากิน ก็จับกุมกันกินคนผู้หนึ่งก็นึกว่าเขากิน จึงคนทั้งสองนั้นก็จับกุมกันกิน ต่างคนต่างตระครุบกัดกินก็รัดเอาด้วยกันทั้งสองคนในน้ำอันชูแผ่นดิน"

สัตว์นรกโลกันตร์นั้น นอกจากจะหน้าตาไม่หล่อแล้ว สติปัญญาก็ยังติดลบอีกด้วย วันๆ จึงอาศัยสัญชาตญาณนำพาชีวิตให้อยู่รอด เวลาหิว สัญชาตญาณก็จะสั่งให้พวกมันปีนป่ายกำแพงจักรวาลพลางควานมือเท้าสอดส่ายหา อาหาร พอแตะโดนกันและกัน ด้วยความที่มืดสนิท มองกันไม่เห็น สัตว์นรกแต่ละตนก็เลยนึกเอาว่าเจออาหารแล้ว จากนั้นก็กอดกลุ้มรุมปล้ำกันจับอีกตัวมากิน แล้วสุดท้ายก็มักจะพากันหล่นตูมลงไปในน้ำเย็นเจี๊ยบข้างล่าง


22135  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / นรกภูมิ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2010, 08:54:53 pm


นรกภูมิ

นรกภูมิ เป็นสถานที่เกิดของผู้ที่ทาบาปอกุศลไว้ เมื่อบุคคลผู้ทาบาปตายลง ถ้าบาปอกุศลนั้นส่งผลจะส่งผลนาเกิดในนรก ต้องเสวยผลของบาปที่ทาไว้ ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส แบ่งเป็นขุมได้ ๘ ขุม เรียกว่า “มหานรก ๘ ขุม”

มหานรก มี ๘ ขุม

๑. สัญชีวนรก แปลว่า คืนชีวิตขึ้นเอง หมายถึงสัตว์นรกในขุมนี้ถูกตัดเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วก็กลับคืนชีวิตขึ้นมาเองอีก ได้รับการทรมานอยู่ร่าไป

 ๒. กาฬสุตตนรก แปลว่า เส้นด้ายดา หมายถึงสัตว์นรกขุมนี้ที่ร่างกายถูกตีเส้นด้วยเส้นด้ายสีดา เหมือนอย่างตีเส้นที่ต้นซุงเพื่อที่จะเลื่อย แล้วถูกผ่าด้วยขวานเป็น ๘ เสี่ยง ๑๖ เสี่ยง ได้รับทุกข์อย่างแสนสาหัส

๓. สังฆาตนรก แปลว่า กระทบกัน หมายถึงมีภูเขาเหล็กคราวละ ๒ ลูก จากทิศที่ตรงกันข้ามเลื่อนเข้ามากระทบกันเอง บดสัตว์นรกในระหว่างให้แหลกละเอียด จาก ๔ ทิศก็เป็นภูเขา ๔ ลูกเลื่อนเข้ามากระทบกันตลอดเวลา

๔. โรรุวนรก แปลว่า ร้องครวญคราง คือ มีเปลวไฟเข้าไปทางทวารทั้งเก้า เผาไหม้ในสรีระจึงร้องครวญครางเพราะเปลวไฟ บางพวกถูกหมอกควันด่าง(เป็นกรด) เข้าไปละลายสรีระจนละเอียดเหมือนแปูง จึงร้องครวญครางเจ็บปวดเพราะหมอกควัน

 ๕. มหาโรรุวนรก แปลว่า ร้องครวญครางมาก คือเป็นทุกข์ทรมานยิ่งกว่าข้อที่ ๔

๖. ตาปนนรก แปลว่า ร้อน คือถูกให้นั่งเสียบตรึงไว้ด้วยหลาวเหล็กบนพื้นแผ่นดินเหล็กแดงลุกเป็นไฟร้อนแรง บ้างก็ถูกต้อนขึ้นไปบนภูเขาเหล็กที่มีไฟลุกโชน ถูกลมพัดตกลงมาถูกเสียบด้วยหลาวเหล็กที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นแผ่นดินเหล็กแดงที่ลุกโชนด้วยเปลวเพลิง
 
๗. มหาตาปนนรก แปลว่า ร้อนสูงมาก คือเป็นที่ทุกข์ทรมานยิ่งกว่าข้อที่ ๖

๘. อวีจินรก แปลว่า ไม่มีระหว่าง คือไม่เว้นว่างจากทุกข์ บางทีเรียกว่า มหาอวีจิ แปลว่า อเวจีใหญ่ ภาษาไทยมักเรียกว่า นรกอเวจี นรกขุมนี้มีไฟลุกโพลงเต็มทั่วไปหมด ไม่มีระหว่างหรือเว้นว่าง สัตว์นรกขุมนี้ก็แน่นขนัดเหมือนยัดทะนาน ไม่มีระหว่างหรือเว้นว่าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างวัตถุสิ่งของ เพราะสัตว์นรกต่างถูกไฟเผาหม้อยู่ในที่เฉพาะตนๆ ความทุกข์ทรมานของสัตว์นรกในขุมนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น

พระเทวทัตบังเกิดในอวีจินรก ยืนถูกทรมานอยู่บนพื้นเหล็กที่มีไฟลุกโชน เท้าทั้ง ๒ จมพื้นลงไปถึงข้อเท้า มือทั้ง ๒ จมฝาเหล็กถึงข้อมือ ศีรษะเข้าไปในเพดานโลหะถึงคิ้ว หลาวโลหะอันหนึ่งออกจากพื้นเบื้องล่างแทงร่างกายทะลุขึ้นไปในเพดาน หอกเล่มหนึ่งออกจากฝาทิศตะวันออกแทงทะลุหัวใจไปเข้าฝาทิศตะวันตก หอกอีกเล่มหนึ่งออกจากฝาทิศเหนือแทงทะลุซี่โครงไปเข้าฝาทิศใต้ ถูกตรึงแน่นขยับไม่ได้ ถูกเผาไหม้อยู่ในอวีจินรก

เครื่องทรมานสัตว์นรก ในนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุมนี้ มีเหล็ก เช่น พื้นแผ่นดินเหล็ก เครื่องอาวุธเหล็กต่างๆ มีไฟ คือ เหล็กนั่นแหละลุกเป็นไฟร้อนแรง มีภูเขาเหล็กที่กลิ้งมาบด และมีหมอกควันชนิดเป็นกรดหรือด่าง เป็นเครื่องทรมานสัตว์นรกทั้งหลาย ในนรกขุมที่ ๑ และที่ ๒ มีนายนิรยบาล แปลว่า ผู้รักษานรก ไทยนิยมเรียกว่า ยมบาล เป็นผู้ทาการทรมานสัตว์นรก แต่นรกขุมที่ลึกลงไปกว่านั้น ในอรรถกถาสังกิจจชาดกไม่ได้กล่าวถึงนายนิรยบาล มีแต่ไฟ เหล็ก เครื่องอาวุธต่างๆ เป็นต้น บังเกิดขึ้นเองเพื่อทรมานสัตว์นรกเอง

อ้างอิง
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย
ชุดที่ ๖.๑ ภพภูมิ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

---------------------------------------------------

ท่านใดอยากทราบรายละเอียดนรกขุมไหน เชิญขอมาได้ครับ เดี๋ยวจัดให้
 :58: :49: :bedtime2:
22136  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การเจริญวิปัสสนา ๓ แบบ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2010, 03:11:08 pm
การเจริญวิปัสสนา ๓ แบบ

ในปัจจุบัน มีผู้อบรมภาวนาหรือฝึกกรรมฐานกันมาก
ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ แต่ส่วนใหญ่เป็นเพียงแต่ระบบสมาธิหรือสมถะเท่านั้น
หาใช่วิปัสสนาไม่ เพราะยังไม่เข้าถึงไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
โดยเฉพาะขาดหลักอนัตตา แม้จะเห็นสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ อย่างพวกฤาษี
หรือโยคีในอินเดีย ก็ยังไม่เป็นวิปัสสนา เพราะยังยึดมั่นในตัวตนอยู่ ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
อนัตตลักษณะ (ลักษณะของอนัตตา) ยังไม่ปรากฏตราบใดก็ยังไม่เป็นวิปัสสนาตราบนั้น

ในประเทศไทยปัจจุบัน มีสำนักสอนวิปัสสนาอยู่ทั่วประเทศ เพราะเป็นคำสอนหลักของ
พระพุทธศาสนา แม้จะมีจุดหมายอันเดียวกัน คือความสิ้นทุกข์ในที่สุดหรือให้ทุกข์เบาบางลง
สุขจะได้เพิ่มขึ้น แต่วิธีการสอนของอาจารย์ในสำนักต่างๆ เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง
เพราะวิธีการสอนของอาจารย์ผู้สอนต้นแบบเดิมแตกต่างกัน
และเพราะความถนัดของอาจารย์ที่สอนแต่ละท่านไม่เหมือนกัน บางท่านปฏิบัติแบบนี้ได้ผลดี
แต่แบบอื่นไม่ค่อยได้ผล แต่บางท่านปฏิบัติแบบอื่นก็ได้ผลดี เพราะมีอุปนิสัย
หรือบุญบารมีในด้านนั้นๆ แตกต่างกัน เหมือนกับ บุคคลที่จะเดินทางจากกรุงเทพฯ
ไปเชียงใหม่ ในปัจจุบัน อย่างน้อยก็สามารถเดินทางไปได้ถึง ๔ ทาง คือ ทางเครื่องบิน
ทางรถไฟ ทางรถยนต์ และด้วยการเดิน
ทั้งนี้ก็แล้วแต่ความสะดวกหรือความถนัดของแต่ละท่าน
จะกะเกณฑ์ให้เขาเดินทางไปทางใดทางหนึ่งเพียงทางเดียวหาได้ไม่


ในการปฏิบัติวิปัสสนาก็เช่นกัน ผู้เขียนเอง ได้ศึกษามาทั้งด้านปริยัติ คือ จากพระคัมภีร์
และทั้งด้านปฏิบัติกับอาจารย์กรรมฐานหลายรูป รวมทั้งลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และ
สั่งสอนผู้อื่น ได้ลงความเห็นว่า การเจริญวิปัสสนาไม่ว่าปฏิบัติกับอาจารย์ใด
หรือแบบไหนก็ตาม สามารถเจริญได้ ๓ แบบเท่านั้น คือ

๑. เจริญเมื่อพบเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต
๒. เจริญเมื่อจิตสงบแล้ว
๓. เจริญพร้อมกับการกำหนดลมหายใจเข้าออก



แบบที่ ๑ เจริญเมื่อพบเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต


การเจริญแบบนี้ไม่ต้องไปนั่งในสำนักกรรมฐานหรือสถานที่หนึ่งสถานที่ใดโดยเฉพาะ
อยู่ที่ไหนก็สามารถเจริญได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ในป่า ในรถ ในเครื่องบิน
หรืออยู่ในท้องทะเล หรือในราชวัง ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ทั้งสิ้น
ถ้าหากว่า ผู้นั้นเข้าใจหลักวิปัสสนา โดยเห็นว่าสิ่งทั้งปวงตกอยู่ภายใต้พระไตรลักษณ์
คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน
หรือทำอะไรอยู่ อารมณ์ทุกชนิดเอามาใช้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้หมด
เพราะสังขารทั้งปวงโดยย่อเหลือแต่นามรูปล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอัตตาทั้งสิ้น
เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็น้อมพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ได้หมด
ดังมีเหตุการณ์และตัวอย่างเป็นอันมากในการเจริญวิปัสสนาแบบนี้

(๑) สมมติว่าขณะนี้ฝนกำลังตก หรือแดดร้อนจัด หรืออากาศหนาวจัด เราก็พิจารณาว่า
ลมฟ้าอากาศมันก็ไม่ที่ยง เราจะให้มันเที่ยงได้หรือ เป็นไปตามใจชอบของเราก็ไม่ได้
เราจะบอกว่าฝนอย่างเพิ่งตก หรือจงหยุดตก อากาศอย่าร้อนมากหรืออย่าหนาวมาก
มันก็ไม่เชื่อฟังเรา เพราะมันไม่ใช่ของเรา มันเป็นตามธรรมชาติของมัน
จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา
ใจจะได้ปล่อยวางลงไปได้


(๒) เราได้เห็นคนแก่ คนเจ็บ หรือคนตาย เราก็พิจารณาได้ทันทีว่า
ในที่สุดตัวเราเองและคนที่เรารัก หรือเกี่ยวข้องทั้งหมดก็ต้องเป็นอย่างนั้น
ไม่ล่วงพ้นความเป็นจริงอย่างนี้ไปได้ เพราะทุกคนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
เมื่อพิจารณาถึงความจริงของชีวิตเช่นนี้ ใจก็ปลงตกปล่อยวางลงได้


(๓) เราเดินทางไปไปพบเห็นรถชนกัน เครื่องบินตก หรือุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
เกิดระเบิดขึ้น หรือแผ่นดินถล่มมีคนตาย ทรัพย์สินต่างๆ เสียหาย อาคารบ้านเรือน
เราก็พิจารณาได้ทันทีว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้มันเป็นอย่างนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ของมัน แม้ตัวเราก็เช่นกัน ในที่สุดก็ต้องจากโลกนี้ไป จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวง
มันมากนักเลย เราะยิ่งยึดมั่นมากก็ทุกข์มาก

(๔) เรามีเรือนแล้ว เรือนถูกไฟไหม้ มีลูก หรือคนที่เรารักตายจากไป
มีรถยนต์หรือทรัพย์สมบัติ ถูกขโมยหรือถึงซึ่งความวิบัติไปเพราะภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่นอุทกภัย หรือวาตภัย เป็นต้น
ก็พิจารณาว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มันตกอยู่ภายใต้พระไตรลักษณ์
อย่างนี้จะยึดไว้ตลอดไปไม่ได้ จึงทำให้ปลงตก และปล่อยวางลงได้


(๕) เราไปรดน้ำศพ หรือเผาศพคนที่เรารัก ญาติมิตร หรือคนที่เราเกี่ยวข้อง ได้เห็นหน้าศพ
หรือ โลงศพ หรือหลุมฝังศพ ก็ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจว่า ชีวิตของคนเราในที่สุดก็เป็นเหมือนย่างนี้เหมือนกันหมด ต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในโลกนี้ ไม่มีใครนำอะไรติดตัวไปได้
ทั้งทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสียง ทั้งคนที่เรารัก ทั้งคนที่เราชังจะต้องจากกันไป พ่อแม่
พี่น้อง ปู่ย่าตาทวด หลายคนจากเราไปแล้ว แม้แต่ร่างกายของเราที่เราแสนรักแสนหวง
เราก็ต้องทิ้งไว้ให้เป็นภาระของคนอื่นที่จะนำไปฝัง หรือนำไปเผา เราจะนำไปได้แต่เพียงบุญ
บาปที่ทำไว้ติดตัวไป ดังคำกลอนเตือนใจบทหนึ่งว่า

ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ มีเพียงต้นทุนบุญกุศล
ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน แม้ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ
เมื่อเรามีอะไรมาด้วยเล่า เราจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เรามามือเปล่าเราจะเอาอะไร เราก็ไปมือเปล่าเหมือนเรามา

ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นกับตัวเรา ไม่ว่าในด้านอิฏฐารมณ์
สิ่งที่น่าปรารถนา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือในด้านอนิฏฐารมณ์ สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
คือ เสื่อมยศ เสื่อมลาภ นิทา ทุกข์ สุข เราก็พิจารณาได้ทันทีว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่เที่ยง
มันมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มันไม่มีอะไรเป็นของใครอย่างแท้จริงเลย
เป็นของเราเพียงชั่วคราวเท่านั้น ในที่สุดก็ต้องจากไป ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน
จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ยึดมากก็ทุกข์มาก เหมือนกับเราแบกสิ่งของไว้
ยิ่งแบกมาก ถ้าวางไม่ลงก็ยิ่งหนัก กังวลมากและทุกข์ มากขึ้น เดือดร้อนมากขึ้น
ในที่สุดก็อาจเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ เพราะไปแบกไปยึดเอาไว้ไม่ยอมวาง
บางคนนอนแล้วยังแบกภาระเอาไว้ ถึงกับนอนไม่หลับ
ขันธ์ ๕ ของเราเป็นภาระหนักอยู่แล้ว ยังแบกไว้มันก็ยิ่งหนักและยิ่งทุกข์
บางคนไม่ใช่แบกเฉพาะ ขันธ์ของตนเอง แต่ยังแบกขันธ์ลูก ขันธ์หลาน ขันธ์ญาติพี่น้อง
และขันธ์สัตว์เลี้ยง และขันธ์คนในโลกเข้าไปอีก
เลยต้องหนักอึ้งอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความโล่งใจเลย เพราะวางไม่เป็นวางไม่ลง
เราฝึกวางให้ลงเสียบ้าง เมื่อยึดมากเท่าไหร่ก็ทุกข์มากเท่านั้น
เพราะความยึดไว้แบกไว้เป็นตัวทุกข์

(๖) แม้เพียงเห็นคนหัวเราะ ถ้าพิจารณาโดยยึดไตรลักษณ์ ก็สามารถบรรลุธรรมได้
ดังมีเรื่องเล่าในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า พระมหาติสสะเถระ ชาวศรีลังกา
ได้เดินทางไปจากเจดียติยบรรพตไปยังอนุราชบุรี เมืองหลวงของศรีลังกาในสมัยนั้น
เพื่อบิณฑบาต ในเวลาเช้า ในขณะที่ท่านกำลังเดินสำรวมทอดสายตาไปข้างหน้า
ทอดตาพอประมาณ ได้มีหญิงคนหนึ่งทะเลาะกับสามี นางแต่งตัวประดับประดาเสียสวยสด
ได้เดินออกจากบ้านไปสู่บ้านญาติ ได้เห็นพระเถระกำลังเดินมา มีจิตวิปลาสขึ้นมา
แล้วหัวเราะขึ้นเสียงดัง พระเถระแลดูด้วยคิดว่า

นี้อะไรกัน แต่ไม่พิจารณาว่า ผู้ที่หัวเราะนั้นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย
พิจารณาโดยมีกรรมฐานเป็นอารมณ์ กลับได้อสุภสัญญา (ความสำคัญว่าไม่งาม)
ในฟันของหญิงนั้น แล้วพิจารณายกขึ้นพระไตรลักษณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์

(๗) ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุรูปหนึ่ง ได้ยินหญิงสาวคนหนึ่งกำลังร้องเพลง
อันประกอบด้วยพระไตรลักษณ์ ซึ่งกล่าวถึงความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาของชีวิต ฟังไปก็พิจารณาไป ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์

ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
และของพระอรหันตสาวกทั้งกลาย ฟังไปพิจารณาไป พร้อมกับยกจิตขึ้นสู่พระไตรลักษณ์
ก็ปรากฎว่าได้มีผู้สำเร็จมรรคผลนับไม่ถ้วน ไม่จำเป็นต้องไปนั่งกรรมฐานในป่าไหน
หรือในสำนักไหน ก็สามารถบรรลุมรรคผลได้
เมื่อใช้ปัญญา พิจารณา ลงในพระไตรลักษณ์

(๘) ในสมัยพุทธกาล พระเถระรูปหนึ่งเรียนกรรมฐานจากสำนักพระพุทธเจ้า
แล้วได้เข้าป่าปฏิบัติธรรม แม้จะเพียรพยายามอยู่ก็ไม่อาจบรรลุระอรหันต์ได้
ท่านจึงคิดว่าเราจะไปกราบทูลพระศาสดาให้ตรัสกบอกรรมฐานให้พิเศษ
ขึ้นไปกว่าที่ได้เคยตรัสสอนมา จึงได้ออกจากป่ากำลังจะเดินออกไปยังพระเชตวัน
เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้นในสมัยนั้น เพื่อไปเฝ้าพระพุทธองค์
ขณะเดินไปก็ได้พบกับไฟป่า ที่เกิดขึ้นในระหว่างทางที่ท่านกำลังผ่านไป
ท่านจึงรีบไปสู่ยอดเขาโล้นลูกหนึ่ง ได้ดูไฟกำลังไหม้ป่าอยู่
ได้ถือเอาไฟที่ไหม้ป่านั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน โดยพิจารณาว่า

“ไฟป่านี้กำลังเผาเชื้อน้อยใหญ่ให้หมดไปฉันใด
เราจักเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ให้หมดไปด้วยไฟคืออริยมรรคญาณฉันนั้น”

เพราะท่านมุ่งปฏิบัติธรรมท่านจึงพิจารณาอย่างนี้

ในขณะนั้นเอง พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฏี
ในวัดพระเชตวัน ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงได้ตรัสว่า

“อย่างนั้นแหละ ภิกษุ สังโยชน์ทั้งเล็กและใหญ่
ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ภายในจิตใจของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้
เปรียบเหมือนเชื้อน้อยใหญ่
ควรที่เธอจะใช้ไฟคือญาณเผาสังโยชน์น้อยใหญ่เหล่านั้น
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป”

เมื่อตรัสดังนั้นแล้ว ก็ทรงเปล่งพระโอภาส (รัศมี)
ปรากฏเหมือนประทับนั่งอยู่ตรงหน้าของพระภิกษุรูปนั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า

“อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญโยชนํ อณุ ถูลํ ฑหํ อคฺคิว คจฺฉติ”

แปลว่า

“ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
หรือมักเห็นภัยในความไม่ประมาท
เผาอยู่ในสังโยชน์น้อยใหญ่
ดุจดังไฟเผาอยู่ซึ่งเชื่อน้อยและใหญ่ไป”

(พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ ๒๕/๑๒/๑๕)

เมื่อท่านฟังไป พิจารณาไป ในขณะที่ท่านเอง ก็กำลังพิจาณาเรื่องนี้อยู่
ในที่สุดก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ โดยยึดเอาไฟไหม้ป่าเป็นอารมณ์

ไม่ว่าเราจะได้เห็น ได้ฟัง ได้ดมกลิ่น รู้รส สัมผัสร้อนเย็น อ่อน แข็ง หรือิดเรื่องอะไรก็ตาม
ถ้าเรารับรู้และพิจารณาโยไม่ยึดมั่นถือมั่น เห็น ก็สักแต่ว่า เห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน
ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ได้รสก็สักแต่ว่าได้รส ได้สัมผัสอะไรทางกายก็สักแต่ว่าได้สัมผัส
รู้อะไรหรือคิดอะไรทางใจก็สักแต่รู้ ก็ให้พิจารณาว่าว่า ไม่ใช่ตัวตน บุคคล ตัวเขาเราที่ไหน
ที่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น แล้วถอน-สัตตสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสัตว์ บุคคล เสีย
อัตตสัญญา-ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเสีย คือถอนสมมติสัจจะ
แล้วเห็นโดยความเป็นปรมัตถะสัจจะเสีย ก็จะเกิดรู้เห็นตามความเป็นจริง
เกิดความเบากายเบาใจขึ้นเพราะปล่อยวางลงได้ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระพาหิยะ
ในสมัยที่ยังเป็นนักบวชนอกพุทธศาสนา ในตอนเช้าตรู่ของวันหนึ่ง
ขณะที่พระองค์เสด็จออกบิณฑบาต ประทับยืนในถนนเมืองสาวัตถีว่า

“ดูก่อนพาหิยะ เพราเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาทำความเข้าใจอย่างนี้ว่า
เมื่อเธอเห็นจักเป็น สักแต่ว่าเห็น (อย่าเข้าไปยึดมั่นโดยความเป็นตัวตน)
เมื่อฟังจักสักเป็นแต่ว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็นสักแต่ว่าทราบ เมื่อรู้แจ้ง (เข้าใจชัด)
จักเป็นสักแต่ว่ารู้แจ้ง
ดูก่อนพาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล


ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแลเมื่อเธอเห็น จักเป็นสักแต่ว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักแต่ว่าฟัง เมื่อทราบจักก็เป็นแต่ว่าทราบ
เมื่อรู้แจ้งจักเป็นแต่ว่ารู้แจ้ง
ในกาลนั้นเธอย่อมไม่มี
(คือตัวตนที่แท้จริงไม่มี เพราะสิ่งที่พบเห็นเป็นสักแต่ว่าพบเห็นเท่านั้น
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปตามธรรมชาติของมัน ไม่มีอะไรที่ควรเข้าไปยึดมั่นว่า
เป็นตัวตนเราเขาได้เลย) ในกาลใด เธอไม่มี ในกาลนั้น เธอย่อมไม่มีในโลกนี้
ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง
(คือไม่มีตัวตนว่าควรยึดมั่นไม่ว่าในโลกไหน) นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”

(พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ๒๕/๔๙/๘๓-๘๔)

ท่านพาหิยะได้ฟังพระโอวาทโดยย่อของพระพุทธเจ้าเพียงเท่านี้
ก็เข้าใจความหมายของพระโอวาทอย่างแจ่มแจ้ง จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะ
ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งที่ยังไม่ได้เป็นอุปสมบทในพระพทธศาสนา
ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเลิศกว่าพระอรหันต์สาวกทั้งปวง
ในด้านบรรลุธรรมได้รวดเร็ว


(๙) ในปี พ.ศ ๒๕๓๑ และ ๒๕๓๒ ผู้เขียนได้นำศิษย์กรรมฐาน
ประมาณรุ่นละ ๑๓๐ คน ไปฝึกวิปัสสนาหลักสูตร ๑๐ วัน เป็นรุ่นที่ ๓ และรุ่นที่ ๔
ที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อ.ควนโตน จ.สตูล ใกล้แดนมาเลเซีย

ขณะ เจริญวิปัสสนามีศิษย์ผู้หนึ่งเป็นสุภาพสตรีจากกรุงเทพฯ ขณะที่เดินจงกรมอยู่บนสะพานกว้าง ซึ่งมีราวสะพานกั้นสองข้างทางเดินเข้าบ้านพักรับรองหลังใหญ่ของอุทยานแห่ง ชาติ
ทะเลบัน บริเวณริมบึงแถบนั้นมีต้นไม้สูงใหญ่ มีดอกไม้สวยงาม

ในระหว่างที่สุภาพสตรีคนนั้นกำลังเดินจงกรมกลับไปกลับมาอยู่บนสะพาน
หน้าบ้านพักใหญ่ในเวลาบ่าย วันหนึ่งเกิดมีลมกรรโชกมาอย่างแรงทำกิ่งไม้ใหญ่กิ่งหนึ่ง
หักโค่นลงมาบนพื้นดินห่างจากทางที่เดินอยู่ประมาณ ๑๐ ว่า ทั้งใบอ่อน ใบกลางๆ และใบแก่
ศิษย์ผู้นั้นกำลังปฏิบัติอยู่ เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็พิจารณาทันทีว่า
กิ่งไม้เหล่านี้พร้อมทั้งใบอ่อนๆ ใบกลางๆ และใบแก่ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาที่หักโค่นลงมา
แต่เมื่อลมกรรโชกแรงเข้าก็หักโค่นลงมา มันไม่เที่ยงแท้อันใดเลย
เราเองพร้อมด้วยหมู่ญาติพี่น้องก็เหมือนกัน อาจจะตายเมื่ออายุยังน้อย
เมื่อวัยกลางคนหรือเมื่อเขาสู่วัยชรา ชีวิตสังขารเป็นอย่างนี้เอง
ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนอันใดเลย เมื่อพิจารณาอย่างนี้ ในขณะที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาอยู่
ก็เกิดตื้นตันใจน้ำตาไหลพรากร้องไห้ไม่หยุด เป็นเวลานาน แม้เมื่อไปพบผุ้เขียนแล้ว
ก็ยังมีน้ำตาอยู่ เพราะจิตเกิดธรรมสังเวชขึ้น ในเมื่อได้พบเห็นกิ่งไม้ให่หักโค่นลงมา
แล้วพิจารณาน้อมมาสู่พระไตรลักษณ์

(๑๐) ศิษย์กรรมฐานคนหนึ่งกำลังยืนพิจารณาอยู่ริมบึงในทะเลบัน
ได้เห็นต้นไม้ขนาดกลางต้นหนึ่ง ยืนตายอยู่ในบึง ก็เอามาพิจารณาน้อมเข้ามาหาตนเอง
ในทันทีว่า ต้นไม้นี้เดิมก็มีดอก มีใบ มีผล มีกิ่งก้านสาขา มีพวกสัตว์นกกาไปเกาะอาศัย
แต่เดี๋ยวนี้ยืนต้นตายอยู่อย่างไร้ค่า
ตัวเราก็เช่นกัน ขณะนี้ก็พอพึ่งตนเองได้ และญาติมิตรได้พึ่งพาอาศัย
แต่เมื่อแก่เฒ่าหรือตายลงก็คงไม่ต่างอะไรกับต้นไม้นี้
เพราะสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีอะไรเป็นของเราที่แท้จริงเช่นนี้เอง
เมื่อพิจารณาเช่นนี้ก็เกิดปีติน้ำตาไหลร้องไห้ออกมา
เพราะเหตุที่เห็นต้นไม้ยืนต้นตายอยู่ในบึงแล้วมาพิจารณา โดยความเป็นพระไตรลักษณ์

การเจริญวิปัสสนาแบบนี้ สามารถเจริญได้ตลอดกาล ไม่ว่าที่ไหนและเมื่อไร
ไม่ว่าจะพบเห็นอะไร คน สัตว์ สิ่งของ ฝนตก แดดออก และอากาศที่แปรปรวน
ก็น้อมเข้าสู่พระไตรลักษณ์ได้ทั้งสิ้น
ถ้าพิจารณาโดยแยบคาย คือ โยนิโสมนสิการและมีอุปนิสัยบารมี
ในปางก่อนหนุนอยู่ด้วย จิตก็จะเห็นวิปัสสนา ปล่อยวางได้ง่ายขึ้น

(๑๑) ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี
ครั้งนั้นสันตติมหาอำมาตย์ได้ปราบปัจจันตชนบทของพระเจ้าปเสนทิโกศลให้สงบลง
แล้วกลับมาเมืองสาวัตถี อันเป็นนครหลวงของแคว้นโกศล
พระ เจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัยมากจึงพระราชทานราชสมบัติให้สันตติมหา อำมาตย์ครองอยู่ ๗ วัน แล้วไปสู่อุทยาน นั่งลงที่พื้นโรงดื่ม พร้อมกับนั่งดูหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งฟ้อนรำ
และ ร้องเพลง ในขณะนางกำลังแสดงอยู่ นางเกิดเป็นลมล้มลงถึงแก่กรรม เพราะเหน็ดเหนื่อยมากจากการแสดงและรับประทานอาหารน้อยตลอด ๗ วัน เพื่อให้ร่างกายอ้อนแอ้นน่ารัก

สันตติมหาอำมาตย์ได้เห็นเช่นนั้นก็ถูกความเศร้าโศกอย่างรุนแรงเข้าท่วมทับหายเมาสุราไป
ในขณะนั้นทั้งๆ ที่ดื่มติดต่อกันมาถึง ๗ วัน เขาคิดว่านอกจากพระพุทธองค์แล้ว คนอื่นไม่อาจ
ดับความเศร้าโศกของตนได้ จึงมีบริวารแวดล้อมเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดพระเชตวัน
ในเวลาเย็น บังคมแล้วกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมระงับความทุกข์โศกของตน


ในที่สุดพระพุทธเจ้าทรงสอนสันตติมหาอำมาตย์
ให้ระงับความเศร้าโศกด้วยการปล่อยวาง โดยตรัสเป็นพระคาถาว่า

“กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงทำกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งไป (หมดไป)
กิเลสเครื่องกังวล จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอไม่ยึดขันธ์ในท่ามกลาง
จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป”

สันตติมหาอำมาตย์ฟังไป พิจารณาไป ศีล สมาธิและปัญญาเกิดขึ้นในขณะนั้น
เพราะเคยสั่งสมบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อน ปลงตก ปล่อยวางสิ่งทั้งปวงทั้งหมด
จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวงในเวลาจบพระธรรมเทศนา
เรื่องนี้ได้กล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมภาคที่ ๕ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า
ผู้เจริญวิปัสสนาบางท่านซึ่งมีบุญบารมีอันเคยสั่งสมมาก่อนแล้ว
แม้ยังไม่มีศีล และสมาธิมาก่อนการเจริญวิปัสสนา
แต่ศีล สมาธิและปัญญา สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกันได้ในขณะนั้น
อย่างในกรณีของสันตติมหาอำมาตย์เป็นตัวอย่าง
แต่โดยทั่วไปแล้วผู้เจริญวิปัสสนาต้องมีศีล และสมาธิเป็นพื้นฐานมาก่อน

22137  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิปัสสนูกิเลส และ อุปกิเลส (คุณฟ้าใสขอมา) เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2010, 02:56:15 pm
วิปัสสนูปกิเลส : ประสบการณ์ และ การแก้ไข


อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐ โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำวิปัสสนูปกิเลส

ใน ขั้นวิปัสสนาญาณ เป็นกฎการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ท่านก็ต้องมีการเตรียมเครื่องอุปกรณ์การปฏิบัติให้ครบถ้วนอย่างปฏิบัติขั้น ฌานเหมือนกัน เมื่อท่านตระเตรียมในขั้นบารมี ๑๐ ชื่อว่าเป็นการเตรียมปูพื้นให้เรียบเพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้น เช่นเดียวกับการปรับปรุงศีลให้บริสุทธิ์ขั้นปฏิบัติฌาน เมื่อท่านปรับปรุงบารมี ๑๐ เพื่อเป็นพื้นฐานแล้ว

สิ่งที่ต้องระวังการพลั้งพลาดในการเจริญวิปัสสนา อารมณ์จิตอาจจะข้องหรือหลงใหลในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนทำให้เสียผลในการกำจัดกิเลส เช่นเดียวกับจิตข้องในนิวรณ์ทำให้เสียกำลังสมาธิ ไม่ได้ฌานเช่นกัน อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนาก็คือ อารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า อุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐ อย่าง คือ


๑. โอภาส โอภาสแปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตที่กำลังพิจารณาอยู่ จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ สมาธิระดับนี้เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพยจักษุญาณ ย่อมเกิดแสงสว่างขึ้น คล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ใกล้ๆ เมื่อปรากฏแสงสว่าง จงอย่าทำความพอใจว่าเราได้มรรคผล เพราะเป็นอำนาจของอุปจารสมาธิอันเป็นผลของสมถะ ที่เป็นกำลังสนับสนุนวิปัสสนาเท่านั้น ไม่ใช่ผลในวิปัสสนาญาณ

๒. ปีติ ปีติแปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน อาจมีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล กายโยกโคลง กายลอยขึ้นบนอากาศ กายโปร่งสบาย กายเบา บางคราวคล้ายมีกายสูงใหญ่กว่าธรรมดา มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ อารมณ์สมาธิแนบแน่นดีมาก อารมณ์สงบสงัดง่าย อาการอย่างนี้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็นผลของสมถะ อย่าเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล

๓. ปัสสัทธิ ปัสสัทธิแปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดเงียบ คล้ายจิตไม่มีอารมณ์อื่น มีความว่างสงัดสบาย ความรู้สึกทางอารมณ์โลกียวิสัยดูคล้ายจะสิ้นไป เพราะความรัก ความโลภ ความโกรธ ความข้องใจในทรัพย์สินไม่ปรากฏ อาการอย่างนี้เป็นอารมณ์ของอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ ผู้เข้าถึงใหม่ๆ ส่วนมากหลงเข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผล เพราะความสงัดเงียบอย่างนี้ตนไม่เคยประสบมาก่อน ต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อน อย่าด่วนตัดสินใจว่าได้มรรคผล เพราะมรรคผลมีฌานเป็นเครื่องรู้มีอยู่ ถ้าญาณเป็นเครื่องรู้ยังไม่แจ้งผลเพียงใด ก็อย่าเพ่อตัดสินใจว่าได้บรรลุมรรคผล

๔. อธิโมกข์ อธิโมกข์ แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ยังมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ก็เชื่อแน่เสียแล้ว ว่าเราได้มรรคได้ผล โดยไม่ใช้ดุลพินิจเป็นเครื่องพิจารณา อาการอย่างนี้ เป็นอาการของศรัทธาตามปกติ ไม่ใช่มรรคผลที่ตนบรรลุ

๕. ปัคคหะ ปัคคหะแปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่นไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค เป็นเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล แต่ถ้ามาเข้าใจว่าตนได้บรรลุเสียตอนที่มีความเพียรก็เป็นการที่น่าเสียดาย อย่างยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุมานะนี้ เป็นการหลงผิดว่าได้บรรลุมรรคผลได้เหมือนกัน

๖. สุข สุขแปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึงอุปจารฌานระดับสูง มีความสุขทางกายและจิตอย่างประณีต ไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต อารมณ์สงัดเงียบ เอิบอิ่มผ่องใส สมาธิก็ตั้งมั่น จะเข้าสมาธิเมื่อใดก็ได้ อารมณ์อย่างนี้เป็นผลของสมถภาวนา จงอย่าหลงผิดว่าได้มรรคผลนิพพาน

๗. ญาณ ญาณแปลว่า ความรู้อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิจากผลของสมถภาวนา เช่น ทิพยจักษุญาณ เป็นต้น สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลกได้ และรู้อดีต อนาคต ปัจจุบันได้ตามสมควร เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เมื่อได้เมื่อถึงแล้วอาจจะหลงผิดว่าได้บรรลุผลนิพพาน เลยเลิกไม่ทำต่อไป พอใจในผลเพียงนั้นก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะญาณที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นญาณในสมถะ ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชนต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะต่อไป

๘. อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะ คือ ฌาน ๔ ถ้ามาเข้าใจว่าความวางเฉยนี้เป็นมรรคผล ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความจริงก็อาจคิดไปได้ เพราะคนใหม่ยังเข้าใจอารมณ์ไม่พอ ท่านจึงบอกไว้ให้คอยระวัง

๙. อุปปัฏฐาน อุปปัฏฐานแปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ มีอารมณ์สงัดเยือกเย็น ดังเช่นที่ท่านเข้าฌาน ๔ มีอารมณ์สงบสงัด แม้แต่เสียงก็กำจัดตัดขาดไม่มีปรากฏ อารมณ์ใดๆ ไม่มี เป็นอารมณ์ที่แยกกันระหว่างกายกับจิตอย่างเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติเข้าใจพลาดว่าบรรลุมรรคผลก็เป็นได้ ความจริงแล้วเป็นฌาน ๔ ในสมถะแท้ๆ

๑๐. นิกกันติ นิกกันติแปลว่าความใคร่ เป็นความใคร่น้อยๆ ที่เป็นอารมณ์ละเอียดไม่ฟูมาก ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหาสงบ ไม่ใช่ขาดเด็ดเป็นเพียงสงบ พักรบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น เข้าระงับ อารมณ์ตัณหาที่อ่อนระรวยอย่างนี้ทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล นิพพานมีไม่น้อย แต่พอนานหน่อย ฌานอ่อนกำลังลง พ่อกิเลสตัณหาก็กระโดดโลดเต้นตามเดิม อาการอย่างนี้ นักปฏิบัติก็ต้องระมัดระวัง

วิปัสสนาญาณที่ พิจารณาต้องมีสังโยชน์เป็นเครื่องวัด และพิจารณาไปตามแนวของสังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้นเป็นระดับไป ค่อยละค่อยตัดไปทีละขั้น อย่าทำเพื่อรวบรัดเกินไป แล้วคอยระมัดระวังใจ อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส ๑๐ ประการ ท่านค่อยทำค่อยพิจารณาอย่างนี้ ก็มีหวังที่จะเข้าถึงความสุข ที่เป็นเอกันตบรมสุขสมความมุ่งหมาย

ขอขอบคุณ คุณ Phanudet
ข้อมูลจาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หน้า ๖๘ ˹

__________________


วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ)
 
๑. โอภาส (แสงสว่าง)
๒. ญาณ (ความหยั่งรู้)
๓. ปีติ (ความอิ่ม)
๔. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น)
๕. สุข (ความสุขสบายใจ)
๖. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ)
๗. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี)
๘. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด)
๙. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง)
๑๐. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ)

 
ดู (๒๗๐) วิสุทธิ ๗ โดยเฉพาะข้อ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

อ้างอิง   วิสุทฺธิ.๓/๒๖๗.
ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)

__________________


อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส ๑๖ (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งทีทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี)
 
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร)
๒. พยาบาท (คิดร้ายเขา)
๓. โกธะ (ความโกรธ)
๔. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
๕. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)
๖. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)
๗. อิสสา (ความริษยา)
๘. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๙. มายา (มารยา)
๑๐. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)
๑๑. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)
๑๒. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)
๑๓. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)
๑๔. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา)
๑๕. มทะ (ความมัวเมา)
๑๖. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)


ข้อ ๒ มีต่างออกไป คือ ในธัมมทายาทสูตร เป็น โทสะ (ความคิดประทุษร้ายเขา) (ม.มู.๑๒/๒๖/๒๖)

อ้างอิง   ม.มู.๑๒/๙๓/๖๕
ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)

________________________________________


อุปกิเลส ๑๑ ประการ
เครื่องเศร้าหมองในการเจริญสมาธิ

๑.วิจิกิจฉา  ความสงสัยในโอภาสนิมิต จิตคลาดเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ

๒.อมนสิการ จิตไม่กำหนดนึก ว่านั้นอะไร นี่อะไร ทำให้จิตเลื่อนลอย จิต
   จึงเคลื่อนจากสมาธิ   แสงสว่างก็ดับ


๓. ถีนมิทธะ  จิตละเลยการกำหนดรูปนิมิต  จิตจึงง่วงเหง่าหาวนอน  จิต
    จึงเคลื่อน จากสมาธิ รูป จึงดับ แสงสว่างจึงดับ


๔.ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เพราะจิตเห็นรูปน่ากลัว จิตจึงเคลื่อน
   จากสมาธิ  แสงสว่าง รูปนิมิตจึงดับ


๕.อุพพิลวิตก ความที่จิต รวบรัด เพ่งเล็งดูรูปนิมิตมากมาย จิตกำเริบฟุ้งซ่าน
   จิตจึงเคลื่อนจาสมาธิรูปนิมิต และแสงสว่างจึงดับไป


๖.ทุฎฐุลล     ความกำหนดจิตดูรูปนิมิตมาก แต่กำหนดดูแต่ช้าๆ จิตคลาย
   ความเพียรลง เกิดความ กระวนกระวาย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิรูปนิมิต
   โอภาสนิมิตจึงดับ


๗.อจฺจารทฺธวิริย กำหนดความเพียรมากเกินไป จิตจึงคลาดเคลื่อนจากสมาธิรูป

๘.อติลีนวิริย   กำหนดความเพียรน้อยเกินไป อ่อนเกินไป จิตเคลื่อนจาก
   สมาธิ รูป  แสงสว่างจึงดับ


๙.อภิชปฺปา การกำหนดดูรูปปราณีต ตัณหาเกิด จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูป
   และแสง สว่างจึงดับไป


๑๐.นานตฺตสญฺญา การกำหนดดูรูปหยาบ รูปปราณีตพร้อมกัน จิตแยกเป็น
    สองฝ่าย จิต จึงเคลื่อน จากสมาธิรูปนิมิต และโอภาสนิมิตหายไป


๑๑. อตินิชฌายิตตฺต  การเพ่งเล่งรูปมนุษย์ อันปราณีต เกิดความยินดี จิต
     เคลื่อนจากสมาธิ รูป  แสงสว่างจึงดับ


อ้างอิง
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง


22138  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ไม่มีธรรมอื่นอีกแล้ว ที่ขจัดข้อสงสัยได้เหมือน “โยนิโสมนสิการ” เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2010, 11:27:43 am
ไม่มีธรรมอื่นอีกแล้ว ที่ขจัดข้อสงสัยได้เหมือน “โยนิโสมนสิการ”


หากท่านใด มีข้อสงสัยในข้อธรรมใดๆ พระพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้ "โยนิโสมนสิการ"
แก้ข้อสงสัยนั้น เพื่อนๆท่านใดยังไม่เข้าใจคำว่า “โยนิโสมนสิการ” เชิญพิจารณาได้เลยครับ

โยนิโสมนสิการ  การใช้ความคิดถูกวิธี คือ
 
- การกระทำในใจโดยแยบคาย

- มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย

- แยกแยะออก พิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบ และโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

- โยนิโสมนสิการนี้ อยู่ใน ฝ่ายปัญญา


พระพุทธพจน์ที่กล่าวถึง โยนิโสมนสิการ มีดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

“เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

ธรรมข้ออื่น ที่ได้รับยกย่องคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ในบางแง่ ได้แก่
อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท),
วิริยารัมภะ (การปรารภความเพียร, ทำความเพียรมุ่งมั่น),
อัปปิจฉตา (ความมักน้อย, ไม่เห็นแก่ได้),
สันตุฏฐี (ความสันโดษ),
สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว, สำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา);
กุสลธัมมานุโยค (การหมั่นประกอบกุศลธรรม);
ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ),
อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว),
ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ),
และ อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะ)



อ้างอิง   สํ.ม.๑๙/๕-๑๒๙/๒-๓๖; องฺ.เอก.๒๐/๖๐-๑๘๖/๑๓-๔๑; ขุ.อิติ. ๒๕/๑๙๔/๒๓๖
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)

------------------------------------- 

อัปปมาทะ ความไม่ประมาท คือ
ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่

- การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย

- การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป

- ข้อนี้เป็น องค์ประกอบภายใน และเป็น ฝ่ายสมาธิ



พระพุทธพจน์ที่กล่าวถึง อัปปมาทะ มีดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

“ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”

“รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใด ๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด   กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด  ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้นฉันนั้น”

“ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”

“ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจหรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”

“สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

“ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ
 
อ้างอิง   ที.ม.๑๐/๑๔๓/๑๘๐; สํ.ส.๑๕/๓๗๘-๓๘๔/๑๒๕-๑๒๙; สํ.ม.๑๙/๑๓๕-๒๖๒/๓๗-๖๖; องฺ.เอก.๒๐/๖๐-๑๑๖/๑๓-๒๓; อํ.ฉกฺก.๒๒/๓๒๔/๔๐๗; องฺ.ทสก.๒๔/๑๕/๒๓
ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)

---------------------------------------------

โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด

มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา

อัปปมาท ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจรญ, ความมีสติรอบคอบ
ความไม่ประมาท พึงกระทำในที่ ๔ สถาน คือ
 
๑) ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
๒) ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
๓) ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
๔) ในการละความเห็นผิด ประกอบความเห็นที่ถูก;


อีกหมวด หนึ่งว่า
๑) ระวังใจไม่ให้กำหนัด
๒) ระวังใจไม่ให้ขัดเคือง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
๓) ระวังใจไม่ให้หลง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
๔) ระวังใจไม่ให้มัวเมา ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา


ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
---------------------------------------------

22139  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เมื่อ “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า” และ “พระอานนท์ไม่เห็นด้วยกับพระเถระ" เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2010, 12:48:42 pm
เมื่อ “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า” และ “พระอานนท์ไม่เห็นด้วยกับพระเถระทั้งหลาย”

พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏฯ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ปุพพโกฏฐกสูตร
พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า


             [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น
แล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า
             [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น
ที่สุด.

             [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่
ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
 
   ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น

   ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
 
   ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย

   ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
 
  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วพิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
 
  ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

             [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ
ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น
ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น

  ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา

  ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรียอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

จบ สูตรที่ ๔

ที่มา
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๕๗๖๗ - ๕๗๙๖.  หน้าที่  ๒๔๐ - ๒๔๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5767&Z=5796&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=983

--------------------------------------------------------- 


พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม (มหามกุฏฯ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒
ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์


             [๖๒๒] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน
อานนท์ ข้อที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบท
เหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย นี่เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
ทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เพราะระลึกไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงมิได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบท
เล็กน้อย
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ไม่ได้ทูลถามนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อ
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านเหยียบผ้าวัสสิก-
*สาฎกของพระผู้มีพระภาคเย็บ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
ทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าเหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของ
พระผู้มีพระภาคเย็บโดยมิได้เคารพก็หามิได้
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่เหยียบนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านให้มาตุคามถวาย
บังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเปื้อนน้ำตา
ของพวกนางผู้ร้องไห้อยู่ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
ทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดว่ามาตุคามเหล่านี้อย่าได้
อยู่จนเวลาพลบค่ำ จึงให้พวกมาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ให้มาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัตินั้น

             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาค
ทรงทำนิมิตอันหยาบ กระทำโอภาสอันหยาบอยู่ ท่านไม่ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค
ว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่
ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์
สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ทูล
อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระ-
*สุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านได้ทำการขวนขวาย
ให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว แม้นี้ก็เป็น
อาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทำการขวนขวายให้มาตุ-
*คามบวชในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วด้วยคิดว่าพระนางมหาปชา-
*บดีโคตมีนี้ เป็นพระเจ้าแม่น้ำของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ประคับประคอง เลี้ยงดู
ทรงประทานขีรธาราแก่พระผู้มีพระภาคเมื่อพระพุทธมารดาทิวงคต ได้ยังพระ-
*ผู้มีพระภาคให้เสวยถัญญธารา
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น ฯ


ที่มา
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๗๔๙๒ - ๗๕๓๕.  หน้าที่  ๓๑๐ - ๓๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=7492&Z=7535&pagebreak=0

อธิบายศัพท์
ผ้าวัสสิกสาฎก คือ ผ้าอาบน้ำฝน
มาตุคาม คือ ผู้หญิง
ขีรธารา และถัญญธารา หมายถึง หยาดน้ำนม

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
         พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

22140  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อสิตดาบส บัวสี่เหล่า ตัวแทนตถาคต เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2010, 01:05:16 pm
อสิตดาบส บัวสี่เหล่า ตัวแทนตถาคต

เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก และเป็นสำคัญของโลกวันหนึ่งที่องค์การสหประชาชาติให้การรับรอง  ชาวพุทธทุกท่านทราบถึงความเป็นมาของวันวิสาขบูชาว่า เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธองค์ เป็นอย่างดีแล้ว ผมขออนุญาตไม่นำเสนอสิ่งนั้น
แต่ขอนำเสนออีกแง่มุมของการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน คือ

๑.การพยากรณ์ของอสิตดาบส หลังการประสูติใหม่ๆ
๒.ครั้งเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนที่จะไปโปรดเบญจวัคคีย์ ท่านทรงคิดอย่างไรกับคนในโลก
๓.ก่อนปรินิพพาน ท่านให้ใครเป็นศาสดาแทนท่าน


พบกับคำตอบได้ ณ บัดนี้

ภาพที่ ๔
อสิตดาบสมาเยี่ยม เห็นกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะก็ถวายบังคม


   ภาพนี้เป็นตอนภายหลังพระพุทธเจ้าประสูติแล้วใหม่ๆ คือภายหลังพระพุทธบิดาทราบข่าว
พระนางมายาประสูติพระโอรสระหว่างทางที่สวนลุมพินี  แล้วรับสี่งให้เสด็จกลับเมืองแล้ว
 
   ผู้ที่มุ่นมวยผมเป็นชฎา  และมือทั้งสองประนมแค่อกที่เห็นอยู่นั้นคือ  'อสิตดาบส'  หรือบาง
แห่งเรียกว่า  'กาฬเทวินดาบส'   ท่านดาบสผู้นี้บวชเป็นฤาษีอยู่ข้างเขาหิมพานต์  หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่าเขาหิมาลัยนั่นเอง  ท่านเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะและของราชตระกูลนี้  และเป็นผู้คุ้นเคยด้วย
 
   เมื่อท่านทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะ   ประมุขกษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ทรงมีพระราชโอรส
ใหม่   จึงออกจากอาศรมเชิงเขา   เข้าไปเยี่ยมเยียนเพื่อถวายพระพรยังราชสำนัก   พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าวว่าท่านดาบสมาเยี่ยม   ก็ทรงดีพระพระทัยนักหนา    จึงตรัสสั่งให้นิมนต์ท่านนั่งบนอาสนะแล้วทรงอุ้มพระราชโอรสออกมาเพื่อให้นมัสการท่านดาบส
 
   พอท่านดาบสได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ   ก็ทำกริยาผิดวิสัยสมณะ  ๓ อย่าง  คือ  ยิ้มหรือแย้ม 
หรือที่ภาษากวีในหนังสือปฐมสมโพธิเรียกอย่างหนึ่งว่า  หัวเราะแล้วร้องไห้  แล้วกราบแทบพระบาทของ
เจ้าชายสิทธัตถะ

 
   ท่านยิ้ม เพราะเห็นพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะต้องด้วยตำรับมหาบุรุษลักษณ์  ท่านเห็น
ว่า  คนที่มีลักษณะอย่างนี้ 

ถ้าอย่างครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพแผ่ไปไกล   

แต่ถ้าได้ออกบวชจะได้เป็นพระศาสดาผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโลก


ที่ท่านร้องไห้ก็เพราะเชื่อแน่ว่าเจ้าชายราชกุมารนี้  จะต้องออกบวช  เพราะเหตุที่เชื่ออย่างนี้ 
เลยนึกถึงตัวท่านเองว่า  เรานี่แก่เกินการณ์เสียแล้ว เลยเสียใจว่ามีบุญน้อย   ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า   และที่กราบไหว้พระบาทราชกุมารที่เพิ่งประสูติใหม่  ก็เพราะเหตุเดียวที่กล่าวนี้
 
   ฝ่ายเจ้านายในราชตระกูลได้เห็นและได้ทราบข่าวว่า  ท่านดาบสกราบพระบาทราชกุมาร  ต่าง
ก็มีพระทัยนับถือพระราชกุมารยิ่งขึ้น  จึงทูลถวายโอรสของตนให้เป็นบริวารของเจ้าชายสิทธัตถะ  ตระกูลละองค์ๆ  ทุกตระกูล

--------------------------------------------

ภาพที่ ๓๓
ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา

 
   ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระ
ศาสนาโปรดชาวโลก  ดังที่ได้บรรยายไว้ในภาพที่  ๓๒  นั้น  เป็นเรื่องที่กวีแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน  คือ  แต่งเป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง  ถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐาน  หรืออธิบายกันตรงๆ  ก็คือ   สหัมบดีพรหมนั้น  ได้แก่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั่นเอง

 
   ถึงพระพุทธเจ้าจะทรงท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรม  แต่อีกพระทัยหนึ่งซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า 
คือพระมหากรุณา    และพระมหากรุณานี่เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยว่า  จะทรงแสดงธรรม  หลังจากตัดสินพระทัยแล้ว    จึงทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของของคนในโลก   แล้วทรงเห็นความแตกต่างแห่งระดับสติปัญญาของคนถึง  ๔  ระดับ  หรือ  ๔  จำพวก
 
   ๑.  อุคฆฏิตัญญู   ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
   ๒.  วิปจิตัญญู   ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น
   ๓.  เนยยะ        ผู้พอแนะนำได้
   ๔.  ปทปรมะ      ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง


   จำพวกที่หนึ่ง  เหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำ  พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน 
        ที่สอง  เหมือนดอกบัวใต้น้ำที่จะโผล่พ้นน้ำ  และที่จะบานในวันรุ่งขึ้น 
        ที่สาม  เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปหน่อย  ซึ่งจะแก่กล้าขึ้นมาบานในวันต่อๆ  ไป   
        และที่สี่  เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปมาก   ถึงขนาดไม่อาจขึ้นมาบานได้   เพราะตก
        เป็นภักษาของปลาและเต่าเสียก่อน

 
   ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด  ทรงมองเห็นภาพของ
ดาบสทั้งสอง   ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย   แต่ทั้งสองนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว  ทรงเห็นเบญจวัคคีย์ว่ายังมีชีวิตอยู่  จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็นอันดับแรก

--------------------------------------------

ภาพที่ ๗๖
ทรงยก พระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน


   ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย  คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว  พระพุทธเจ้าประทาน
โอวาทพระสงฆ์  โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย  มีหลายเรื่องด้วยกัน  เช่น  เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่  คือ  คำว่า  'อาวุโส'  และ  'ภันเต'   อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า  'คุณ'  และภัตเตว่า  'ท่าน'
 

   พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า  พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน  หรือที่อ่อนอายุ
พรรษากว่าว่า  'อาวุโส'  หรือ  'คุณ'  ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา  พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า  'ภันเต'  หรือ  'ท่าน'

 
   ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม  ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์
ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม
 
   ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า  ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าใน
ข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย
 
   เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่งเป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น  เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า   แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ชัดเจนก่อนจะนิพพานว่า  พระภิกษุรูปใด
 
   ตรัสบอกพระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  ที่เราได้แสดงไว้   และบัญญัติไว้ด้วยดี  นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคตเมื่อเราล่วงไปแล้ว"
 
   ครั้นแล้ว  พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า  "ภิกษุทั้งหลาย!  บัดนี้เราขอเตือน
พวกท่านให้รู้ว่า  สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
 
   หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย     จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  หรือวันเพ็ญวิสาขะ  ณ  ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง

--------------------------------------------

ที่มา
สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
http://www.84000.org/tipitaka/picture/



22141  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กรรมฐานอันยอดเยี่ยม กับอานิสงส์อันยอดยิ่ง เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2010, 09:14:48 pm


กรรมฐานอันยอดเยี่ยม กับอานิสงส์อันยอดยิ่ง

ว่าด้วยผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ

คาถาบทนี้เป็นของพระสุภูติเถระ พระสุภูติเป็นน้องชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เป็นพระอรหันต์ ที่เป็นเอตทัคคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศ
อันประกอบด้วยองค์ ๒ คือ

พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส
พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
(ทักขิไณย ผู้ควรแก่ทักขิณา, ผู้ควรรับของทำบุญที่ทายกถวาย)

ครั้งหนึ่งพระสุภูติได้กล่าวถึง อดีตชาติของตน ในสมัยพระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ
 (พระพุทธปทุมุตระ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๓ จากพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์)
ครั้งนั้นพระสุภูติมีนามว่า นันทดาบส(หรือโกลิยะ) มีศิษย์ ๔,๔๐๐๐ คน

เมื่อพระปทุมุตระมาโปรดนันทดาบสและศิษย์
พระศาสดาเสด็จมาทางอากาศ และเดินจงกรมบนอากาศให้นันทดาบสดู
ได้สร้างศรัทธาอันยิ่งแก่นันทดาบส  นันทดาบสได้นิมนต์ให้อยู่ ๗ วัน
โดยจัดอาสนะเป็นดอกไม้นานาพรรณ พร้อมไทยธรรมเป็นผลไม้
พระศาสดาได้เข้านิโรธสมาบัติ ตลอด ๗ วัน
ตลอด ๗ วันนั้น นันทดาบสได้เฝ้าพระศาสดาด้วยความปิติ
พร้อมถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ยืนกั้นไว้เหนือพระเศียรของศาสดา โดยไม่แตะต้องอาหารเลย

หลังออกจากนิโรธสมาบัติพระศาสดา ได้ให้ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอนุโมทนาแก่ดาบสทั้งหลาย
จากนั้นพระองค์ได้เทศนาแก่ดาบส จบเทศนาดาบสทั้ง ๔๔,๐๐๐ คนได้สำเร็จอรหันตผล
เว้นแต่นันทดาบสคนเดียวที่ไม่ได้คุณวิเศษเลย เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน เฝ้าแต่ครุ่นคิดว่า
ทำอย่างไรเราถึงจะเป็นดั่ง ภิกษุรูปที่พระศาสดาใช้ให้กล่าวอนุโมทนาได้

นันทดาบสได้ทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นใคร
พระศาสดาตรัสตอบว่า ภิกษุนั้นชื่อว่าถึงแล้วซึ่งตำแหน่งเอตทัคคะ
ในองค์แห่งภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีกิเลส
และในองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล

นันทดาบสได้กล่าวความปรารถนาของตนต่อพระศาสดาว่า
ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงเป็นสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ดุจพระเถระนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด.
               
พระศาสดาทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูอยู่ว่า ความปราถนาของดาบสนี้จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงตรวจดูอยู่ ทรงเห็นความปรารถนาของดาบสจะสำเร็จโลยล่วงแสนกัปไปแล้ว จึงตรัสว่า

ดูก่อนดาบส ความปรารถนาของท่านจักไม่เป็นโมฆะ ในอนาคตกาลผ่านแสนกัปไปแล้ว. พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักเสด็จอุบัติขึ้น ความปรารถนาของท่านจักสำเร็จ ในสำนักของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมนั้น
จากนั้นทรงพระดำรัสต่อไปว่า

                       
ท่านจงเจริญพุทธานุสสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย
ท่านเจริญพุทธานุสสตินี้แล้วจักยังใจให้เต็มเปี่ยมได้
            
จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้น ๑๐๐๐ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)พุทธานุสสติ

   


                   
เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็นอันมาก
จะไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)พุทธานุสสติ

                         
นแสนกัลป พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร
ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ท่านจักทิ้ง
ทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก จักบวชในพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม จักยังพระสัมพุทธเจ้าโคดมศากยบุตรผู้
ประเสริฐให้ทรงยินดี จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสุภูติ

พระศาสดาพระนามว่าโคดม ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรง
ตั้งท่านว่าเป็นผู้เลิศใน ๒ ตำแหน่ง คือ
ในคณะพระทักขิไณยบุคคล ๑
ในการอยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑
พระสัมพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง ทรงเป็นนายกสูงสุดเป็นนักปราชญ์

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดังพญาหงส์ในอัมพร

เราอันพระโลกนาถทรงพร่ำสอนแล้ว นมัสการพระตถาคต มีจิต
เบิกบาน เจริญพระพุทธานุสสติอันอุดมทุกเมื่อ ด้วยกุศลกรรมที่เราทำดี
แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวยทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐๐ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
ได้เสวยสมบัติเป็นอันดี นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ

เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราย่อมได้โภคสมบัติเป็นอันมาก เรา
ไม่มีความบกพร่องโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ

ในแสนกัลปแต่กัลปนี้ เราได้ทำกรรมอันใดไว้ในกาลนั้น ด้วยผลแห่ง
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธานุสสติ

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้
แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.


อ้างอิง   : พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏ) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑  สุภูติเถราปทาน.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  บรรทัดที่ ๑๕๐๒ - ๑๕๙๐.  หน้าที่  ๖๗ - ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=1502&Z=1590&pagebreak=0
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค ๑. สุภูติเถราปทาน (๒๑)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=23
22142  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มารู้จักกับ “นางวิสาขา” ในเดือน “วิสาขะ” เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2010, 12:06:35 pm


มารู้จักกับ “นางวิสาขา” ในเดือน “วิสาขะ”

๑. อายุ ๗ ขวบบรรลุโสดาบัน
๒. หญิงงามเบญจกัลยาณี
๓. ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม
๔. ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว
๕. อานิสงส์ของการทำบุญแล้วแถม
๖. นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว
๗. พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา
๘. คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา
๙. นางวิสาขาร้องไห้อาลัยหลาน
๑๐. นางวิสาขาสร้างวัด
๑๑. เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน
๑๒. พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า

 

นางวิสาขาเอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา

อธิบายศัพท์
วิสาข-,วิสาขะ ๒,วิสาขา[วิสาขะ-] น.ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม,ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน.(ป)

เอตทัคคะ [เอตะ-] น. ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ. (ป.).
ทายิกา ดู ทายก.

ทายก [-ยก] น. ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร,ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า ทายิกา. (ป., ส.).


ที่มา   พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



ประวัตินางวิสาขา

นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อว่า ธนญชัย
มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี และปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี ขณะที่เธอมีอายุอยู่ในวัย ๗ ขวบ
เป็นที่รักดุจแก้วตาดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก



๑. อายุ ๗ ขวบบรรลุโสดาบัน
เมื่อเมณฑกเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากกำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่นั้น เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด

ส่วนเมณฑกเศรษฐี เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนตลอดระยะเวลา ๑๕ วันที่ประทับอยู่ที่ภัททิยนครนั้น

สมัย พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ มีความเกี่ยวข้องกันโดยต่างก็ได้ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากในเมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากเลย และได้ทราบว่าในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติขนานนับไม่ถ้วนอยู่ถึง ๕ คน

ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้งความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ไปอยู่ในเมืองสาวัตถีสักหนึ่งตระกูลพระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตรัสตอบว่า “การโยกย้ายตระกูลใหญ่ ๆ เพียงหนึ่งตระกูลก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด”

แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลังจากที่ได้ปรึกษากับอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับพระเจ้าปเสนทิโกศ

ธนญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย เดินทางสู่พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้ว
 
ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมืองธนญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดี อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมืองลง ณ ที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “สาเกต” ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์



๒. หญิงงามเบญจกัลยาณี
ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี แล้วจึงจะยอมแต่งงาน

เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ อย่าง คือ
๑. เกสกลฺยาณํ ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
๒. มงฺสกลฺยาณํ เนื้องาม คือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
๓. อฏฺฐิกลฺยาณํ กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
๔. ฉวิกลฺยาณํ ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
๕. วยกลฺยาณํ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว


บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถี ลักษณะมาถามว่า
หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย


๓. ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม
พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึงเมือง
สาเกต ได้พบนางวิสาขามีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถี ลักษณะครบทุกประการ ขณะที่นางพร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ ขณะนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนาง ด้วยจึงถามนางว่า “ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ

” นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งามได้แก่
๑. พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ
๒. บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์
๓. สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย นอกจากจะดูไม่งานแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุจน
เสียโฉม หรือพิการ จะทำให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า
๔. ช้างมงคล ตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง


พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาญฉลาด และคุณสมบัติ เบญจกัลยาณี ครบทุกประการ
แล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็นการหมั้นหมายและกำหนดวันวิวาหมงคลธนญชัยเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็นเครื่องประดับที่หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก
 
นอกจากนี้ ธนญชัยเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีกจำนวนมากมายมหศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย



๔. ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว
ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐีได้อบรมมารยาทสมบัติของ
กุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท ๑๐ ประการ เป็นแนวปฏิบัติ คือ

โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านำออก หมายความว่า อย่านำความไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง
โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านำเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามีอย่างไร อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง
โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วแล้วนำมาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้ว แล้วไม่นำมาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อมีญาติมิตรผู้ยากจนมาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้
โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัวและสามีโอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัวแม่ผัวและสามีโอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัวและสามีบริโภคแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง
โอวาทข้อที่ ๙ พึงบำเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัวและสามีเป็นเหมืองกองไฟ และพญานาคที่จะต้องบำรุงดูแล
โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสอมว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม



๕. อานิสงส์ของการทำบุญแล้วแถม
ธนญชัยเศรษฐี ให้เวลาถึง ๔ เดือนในการเตรียมทรัพย์สมบัติเพื่อมอบให้แก่นางวิสาขา
สำหรับใช้สอยเมื่อไปอยู่ในตระกูลของสามี เฉพาะเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์เพียงอย่างเดียวก็ใช้เวลาทำถึง ๔ เดือน เช่นกัน เมื่อถึงกำหนดนางวิสาขาได้ออกเดินทางไปยังตระกูลของสามี พร้อมด้วยข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองของใช้อเนกอนันต์ และโคกระบืออีกมากมายมหาศาล ที่บิดาจัดการมอบให้

แม้กระนั้น โคกระบือที่อยู่ในคอกยังทำลายคอกวิ่งออกตามขบวนของนางวิสาขาไปอีก
จำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยอานิสงส์แห่งการทำบุญถวายทานที่นางทำไว้ในอดีตชาติ คือ ในครั้งที่นางวิสาขาเดิมเป็นธิดาของพระเจ้ากิกิ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ นางได้ถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณรเป็นประจำ และทั้ง ๆ ที่พระภิกษุสามเณรกล่าวว่า “พอแล้ว ๆ” ก็ยังตรัสว่า “พระคุณเจ้าสิ่งนี้อร่อย สิ่งนี้น่าฉัน” แล้วก็ถวายเพิ่มขึ้นอีก ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเพิ่มนี้ บันดาลให้โคเหล่านั้นแม้จะมีคนห้ามมีคอกกั้นอยู่ก็ยังโดดออกจากคอกวิ่งตาม ขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก


๖. นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว
เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกุลของสามีแล้ว เพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอน
เป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้ำใจเจรจาไพเราะ ให้ความเคารพผู้ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐีของสามี ซึ่งมีจิตฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกชีเปลือย โดยให้ความเคารพนับถือว่าเป็นพระอรหันต์ และนิมนต์ให้มาบริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขามาไหว้พระอรหันต์ และให้มาช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกชีเปลือยเหล่านั้นด้วย

นางวิสาขา ผู้เป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบันพอได้ยินคำว่า อรหันต์ ก็รู้สึกปีติยินดีรีบ
มายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกชีเปลือย ก็ตกใจจึงกล่าวว่า “ผู้ไม่มีความละอาย เหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้” พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับที่อยู่ของตน


ต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกำลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอย
ปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านมาหยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคารเศรษฐี นางวิสาขาทราบดีว่าเศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทำเป็นไม่เห็น นางจึงกล่าวกับพระเถระว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่”

เศรษฐี ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันทีแล้วสั่งให้บริวารมา
จับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับนางวิสาขาขอชี้แจงแก่กุฎุมพี ๘ นายที่คุณพ่อได้ส่งมาช่วยดูแลนางก่อน และเมื่อมิคารเศรษฐีให้คนไปเชิญกุฎุมพีมาแล้วแจ้งโทษของนางวิสาขาให้ฟัง ซึ่งนางก็แก้ด้วยคำว่า “ที่ดิฉันกล่าวอย่างนั้น หมายถึง มิคารเศรษฐีบิดาของสามีกำลังบริโภคบุญเก่าอยู่ มิใช่บริโภคของบูดเน่าอย่างที่เข้าใจ” กุฎุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าวกับเศรษฐีว่า “เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด”




๗. พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา

เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคำชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเคือง และกล่าวขอโทษนาง
พร้อมทั้งอนุญาตให้นางนิมนต์พระบรมศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตใน เรือนของตน ขณะที่นางวิสาขาจัดถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์อยู่นั้น ก็ได้ให้คนไปเชิญมิคารเศรษฐีมาร่วมถวายภัตตาหารด้วย แต่เศรษฐีเมื่อมาแล้วไม่กล้าที่ออกไปสู่ที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา เพราะไม่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงแอบนั่งอยู่หลังม่าน

เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาสได้ฟังธรรมด้วยจนจบ และได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลในพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทันใดนั้น มิคารเศรษฐีได้ออกมาจากหลังม่านแล้วตรงเข้าไปหานางวิสาขาใช้ปากดูดถันของลูกสะใภ้ และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอเธอจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า” และตั้งแต่นั้นมานางวิสาขาก็ได้นามว่า “มิคารมารดา” คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า “วิสาขามิคารมารดา”



๘. คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา
ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็น
พิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ เช่น

๑. ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน ลูก
เหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘๐๐๐ คน ดังนั้น คนจำนวน ๘๔๒๐ คน มีต้นกำเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยกก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน

๒. นางมีกำลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะ
ทดลองกำลังของนาง จึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกำลังมากเพื่อให้วิ่งชนนางวิสาขา นางเห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า “ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาป ควรจะรักษาชีวิตช้างไว้จะดีกว่า” นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้างที่งวงแล้วเหวี่ยงไปปรากฏว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตราย

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ชนทั้งหลายเมื่อขจัดงานมงคลในบ้านเรือนของตนจึงพา กันเชิญ
นางวิสาขาให้ไปเป็นประธานในงาน มอบให้นางเป็นผู้นำในพีธีต่าง ๆ แม้แต่อาหารก็ให้นางทานก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล จนนางวิสาขาไม่มีเวลาดูแลปฏิบัติพระภิกษุที่มาฉันในบ้านของตน ต้องมอบให้ลูก ๆ หลาน ๆ ดำเนินการให้




๙. นางวิสาขาร้องไห้อาลัยหลาน
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารบุพพาราม ซึ่งนางวิสาขาเป็นผู้สร้าง
ถวายใกล้กรุงสาวัตถี ขณะนั้นหลานสาวชื่อว่าสุทัตตีผู้เป็นที่รักเป็นที่พอใจอย่างยิ่งของนางได้ ถึงแก่กรรมลง ทำให้นางเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้รำพันถึงหลานรัก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทั้ง ๆ ที่กำลังร้องไห้อยู่ด้วยพระพุทธองค์ตรัสถามเหตุแห่งความเศร้า ทรงทราบโดยตลอดแล้ว จึงตรัสถามว่า

“ดูก่อนวิสาขา ในพระนครสาวัตถีนี้ เธอต้องการบุตรหลานสักกี่คน ?”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการบุตรหลานในพระนครนี้ทั้งหมด พระเจ้าข้า”

“ดูก่อนวิสาขา ก็ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละเท่าไร ?”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละ ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ถึงวัน
ละ ๑๐ คนบ้าง พระเจ้าข้า”


“ดูก่อนวิสาขา ถ้าคนเหล่านั้นเป็นบุตรหลานของเธอจริง เธอก็คงมีหน้าเปียกชุ่มด้วยน้ำ
ตาโดยไม่มีวันแห้งเหือด วิสาขา คนในโลกนี้ ผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๕๐ เช่นกัน

“ดูก่อนวิสาขา เราขอบอกเธอว่า ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ที่คนทั้ง
หลายประสบกันอยู่ในโลกนี้ ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ถ้าไม่มีสัตว์หรือสัตว์อันเป็นที่รักแล้ว ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพันเหล่านั้นก็ไม่มี ผู้นั้นก็จะมีแต่ความสุข

ดังนั้น ผู้ปรารถนาความสุขให้กับตนเอง ก็ไม่ควรทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก”
นางวิสาขา เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสตรัสสอนจบลงแล้ว ก็คลายจากความเศร้าโศก แต่
เพราะความที่นางมีลูกหลานหลายคน ซึ่งต่อจากนั้นอีกไม่นานนักหลานสาวอีกคนหนึ่ง ที่นางได้มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติดูแลพระภิกษุสงฆ์ซึ่งนิมนต์มาฉันที่บ้านเป็นประจำ ก็ได้ถึงแก่ความตายลงอีก นางวิสาขาก็ต้องเสียน้ำตาร่ำไห้ด้วยความรักความอาลัยต่อหลานสาวเป็นครั้งที่ สอง และพระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาโปรดนางให้คลายความเศร้าโศกลงดุจเดียวกับครั้งก่อน



๑๐. นางวิสาขาสร้างวัด
โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้า
ไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา

และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน

วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้
ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา
แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ”

ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร

พระบรมศาสดารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า “พระวิหารบุพพาราม”



๑๑. เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน
โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและ
ฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง

วันหนึ่ง สาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึง
พากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็นนักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า


“ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”

นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้น
โสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึง
ทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอย
เพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง

ดังนั้นเมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์



๑๒. พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า

นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็นมหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฏฐายิกา ทะนุบำรุงพระ
พุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่าง ๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวายเป็นของส่วนบุคคลคือแก่พระภิกษุแต่ละองค์ ๆ การทำบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ดังคำที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวิหาร คือ วัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวายนั้นด้วยคำว่า

“ความปรารภนาใด ๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้น ๆ ทั้งหมดของเราได้
สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้วความปรารถนาเหล่านั้น คือ

๑. ความปรารถนาที่จะสร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน
๒. ความปรารถนาที่จะถวายเตียง ตั่ง ฟูก หมอน และเสนาสนภัณฑ์
๓. ความปรารถนาที่จะถวายสลากภัตเป็นโภชนาทาน
๔. ความปรารถนาที่จะถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็น จีวรทาน
๕. ความปรารถนาที่จะถวายเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชทาน


ความปรารถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสำเร็จครบถ้วนทุกประการ สร้างความเอิบอิ่มใจ
แก่นางยิ่งนัก นางจึงเดินเวียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทานดังกล่าว
พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางวิสาขาแล้ว ต่างก็รู้สึกประหลาดใจ ไม่
ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนาง

จึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานานพวก ข้าพระ
องค์ทั้งหลาย ไม่เคยเห็นนางขับร้องเพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อนเลย
แต่วันนี้ นางอยู่ในท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดาบุตรธิดาและหลาน ๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพำคล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดีของนางคงจะกำเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไร พระเจ้าข้า ?”


พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลงหรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจหรอก แต่ที่
ธิดาของเราเป็นอย่างนั้นก็เพราะความปีติยินดีที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้ นั้นสำเร็จลุล่วง
สมบูรณ์ทุกประการ นางจึงเดินเปล่งอุทานออกมาด้วยความอิ่มเอมใจด้วยเหตุที่นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์ และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
 
ดังกล่าวมา พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา


ที่มา    http://www.84000.org/one/4/02.html
หากต้องการอ่านเนื้อหาโดยละเอียด คลิกลิงค์ข้างล่างเลยครับ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=8
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
22143  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "พระฉัพพรรณรังสี" ของพระพุทธเจ้า เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2010, 11:41:15 am
 
๏ พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระวรกายพระพุทธเจ้า


ฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางเป็นรัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระสรีรกายของพระพุทธเจ้า คือ

๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก


สีทั้ง ๖ นี้ไม่ได้พุ่งออกเป็นสีๆ ดังที่แยกไว้นี้ แต่แผ่ออกมาพร้อมกันในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวถึงพระฉัพพรรณรังสีที่แผ่ซ่านออกจากพระกายพระพุทธเจ้า ไว้ดังนี้

"ในลำดับนั้น พระฉัพพรรณรังสีก็โอภาสแผ่ออกจากพระสริรกาย

อันว่านิลประภาก็เขียวสดเสมอด้วยสีแห่งดอกอัญชันมิฉะนั้น ดุจพื้นแห่งเมฆแลดอกนิลุบลแลปีกแห่งแมลงภู่ ผุดออกจากอังคาพยพในที่อันเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า

และพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า แลพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีหรดารทองแลดอกกรรณิการ์แลกาญจนปัฏอันแผ่ไว้ พระรัศมีออกจากพระสริรประเทศในที่อันเหลืองแล้ว แล่นไปสู่ทิศานุทิศต่างๆ

พระรัศมีที่แดงอย่างพาลทิพากรแลแก้วประพาฬ แลกุมุทปทุมกุสุมชาติ โอภาสออกจากพระสริรอินทรีย์ในที่อันแดงแล้วแล่นฉวัดเฉวียนไปในประเทศที่ทั้งปวง

พระรัศมีมีที่ขาวก็ขาวดุจดวงรัชนิกร แลแก้วมณี แลสีสังข์ แลแผ่นเงิน แลดวงดาวพกาพฤกษ์ พุ่งออกจากพระสริรประเทศในที่อันขาวแล้วแล่นไปในทิศโดยรอบ

พระรัศมีหงสสิบาทก็พิลาสเล่ห์ดุจสีดอกเซ่ง แลดอกชบา แลดอกหงอนไก่ออกจากรัชกายรุ่งเรืองจำรัส
พระรัศมีประภัสสรประภาครุนา ดุจสีแก้วพลึกแลแก้วไพฑูริย์เลื่อมประประภัสสร


พระฉัพพรรณรังสีทั้ง ๖ ประการแผ่ไพศาลแวดล้อมไปโดยรอบพระสกลกายยินทรีย์ กำหนดที่ ๑๒ ศอก โดยประมาณ อันว่าศศิสุริยประภาแลดาราก็วิกลวิการอันแสง เศร้าสีดุจหิ่งห้อยเหือดสิ้นสูญ มิได้จำรูญไพโรจโชติชัชวาล"

    รัศมีเฉกเช่นฉัพพรรณรังสีนี้มีเฉพาะพระพุทธเจ้าและเทวดาเท่านั้น นอกจากนี้ก็เกิดแต่ธรรมชาติเช่นสีรุ้งที่เรียกกันเป็นสามัญว่ารุ้งกินน้ำ หรือ พระจันทร์ พระอาทิตย์ทรงกลด ที่ออกจากเทวดานั้นจะเห็นได้ดังที่พรรณนาไว้ในพระสูตรต่างๆ ในเวลาที่เทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนี้

   มีเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีสว่างจ้าเข้ามายังพระเชตวัน ทำพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณ เข้าเผ้าพระทุทธเจ้าที่ประทับความสว่างของรัศมีนั้น ไม่เหมือนแสงเดือนแสงตะวัน หรือไม่เหมือนแสงไฟ เป็นแสงสว่างที่เสมอกันทั้งหมด และเป็นแสงสว่างที่ไม่มีเงาเหมือนแสงอื่นเป็นแสงที่แผ่ไปติดอยู่ทั่วบริเวณ

มีข้อความในปฐมสมโพธกถา ปริเฉทที่ ๑๓ ธรรมจักรปริวรรตว่าดังนี้

    "ฝ่ายอุปกาชีวเดินมาโดยทุราคมวิถีทางไกล ระหว่างคยาประเทศเขตเมืองราชคฤห์กับมหาโพธิญาณ ติดต่อกัน แลเห็นไพสณฑ์สถานอันโอฬารไพโรจน์พรรณราย ด้วยข่ายฉัพพรรณรังสีโสณิวิลาส ปรากฏโดยทิวาทัศนาการทั้งพสุธารแลอากาศโอภาสด้วยพระรัศมีมีพรรณแห่งละ ๖ อย่าง ทั่วทั้งทิศล่างและทิศบน มาสัมผัสกายตนประหลาดมหัศจรรย์ไม่เคยได้พบเห็นเป็นเช่นนี้มาแต่ก่อน

        ถ้าจะเป็นเพลิง ไฉนกายอาตมาจึงไม่ร้อนกระวนกระวาย แม้จะเป็นน้ำ ไฉนกายอาตมาจะไม่ชุ่มชื้นเย็นนี่จะเป็นสิ่งอันใดยิ่งสงสัยสนเท่ห์จิต จึงเพ่งพิศไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นองค์พระผู้ทรงสวัสดิ์ภาคย์เสด็จบทจรมา รุ่งเรืองด้วยพระสิดิฉันธมหาหว่างติสสุระ ลักษณะแลพระพยามประภาโอภาสเบื้องบน พระสุริยก็ช่วงโชติด้วยพระเกตุมาลา ครุนาดุจทองทั้งแท่งประดับด้วฉัพพรรณรังสี รังสีแสงไพโรจน์จำรัส"


ที่มา  เว็บพลังจิต
--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธฉัพพรรณรังสี


ใน พระธัมมสังคณีภาคหนึ่งเล่มที่ ๑ คัมภีร์ที่ ๑ ในพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ บรรยายว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดง เริ่มตั้งแต่พระคัมภีร์ที่ ๑ - ๖ เป็นการแสดงให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของปรมัตถธรรมทั้งปวง ระยะนั้นไม่มีความพิศดารแปลกประหลาด

แต่เมื่อทรงแสดงคัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน อันเป็นพระอภิธรรมประเสริฐยิ่ง ทรงปลื้มปิตี ยินดีอย่างล้นพ้น เกิดพระฉัพพรรณรังสี พระพุทธองค์ทรงพิจารณาธรรมนั้นอยู่ถึง ๗ วัน ด้วยสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ทุก ๆ พระองค์

ฉัพพรรณรังสีมี ๖ สี คือ สีเขียว ขาว แดง เหลือง ม่วง และประภัสสร (เลื่อมพราย) ท่านอุปมาว่า

สีเขียว - นิลกะ สีเขียวเข้มเหมือนดอกอัญชัน ดอกสามหาว กลีบบัวเขียวที่ซ่านออกไปจากพระเกสา คือ ผม และพระมัสสุ (หนวด) ออกมาจากสีเขียวแห่งพระเนตรทั้งสอง

สีขาว - โอทาตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน เหมือนน้ำนม และดอกโกมุท ดอกย่านทรายและมลิวัลย์ ซ่านออกมาจากพระอัฐิ (กระดูก) พระทนต์ (ฟัน) และสีขาวออกจากพระเนตรทั้งสอง

สีแดง - โลหิต แดงเหมือนสีตะวันทอง สีผ้ากัมพล ดอกชัยพฤกษ์ ดอกทองกวาว ดอกชบา ที่ออกมาจากพระมังสะ (สีเนื้อ) พระโลหิต (สีเลือด) ซ่านออกมาจากพระเนตรทั้งสอง

สีเหลือง - ปิตะ สีเหมือนแผ่นทองคำ สีเหลืองเหมือนผงขมิ้น ดอกกรรณิการ์ที่ซ่านออกมาจากพระฉวีวรรณ(ผิว)

สีม่วง - มันชิถะ เหมือนสีเท้าหงส์ที่เรียกว่า หงสบาท สีดอกหงอนไก่ สีม่วงแดง ที่ซ่านออกมาจากพระสรีระ (ร่างกาย)

สีประภัสสร - สีเลื่อมพราย เหมือนสีแก้วผลึกที่เรียกว่า สีเลื่อมประภัสสร ออกมาจากพระสรีระเช่นกัน

ฉัพพรรณรังสีที่ซ่านออกมาหลังจาก ทรงพิจารณาพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์มาถึงคัมภีร์มหาปัฏฐาน ในเบื้องต้นฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกายไปสู่เบื้องล่าง

จากมหาปฐพีใหญ่ อันหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ รัศมีเหล่านั้นลอดทะลุแผ่นดิน ลงไปจับน้ำในแผ่นดินหนาถึงสี่แสนแปดหมื่นโยชน์ รัศมีเหล่านั้นเมื่อเจาะทะลุลมแล้ว แล่นลงไปสู่อัชฎากาส อากาศว่าง ๆ ภายใต้ลม

ฉัพพรรณ รังสีที่แผ่ไปสู่เบื้องบนแผ่ไปตั้งแต่มนุษย์และเทวภูมิ ๖ คือ จากนั้นแผ่ไปยังพรหมโลก ตั้งแต่ชั้นพรหมปาริสัชชา จนถึงชั้นสุทธาวาส ๕ แล้วแล่นไปสู่อัชฎากาส

ฉัพพรรณรังสี ที่ไปสู่เบื้องขวาอันหาที่สุดมิได้ ไม่มีรัศมีใด ๆ ที่เทียบเท่าได้เลย แม้รัศมีของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และเทวดาทั้งหลายก็สู้ไม่ได้

ทีมา   http://www.gmwebsite.com

22144  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เหตุให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ "ไม่นานและนาน" เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2010, 11:17:22 am
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน

   [๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิด
ขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-ภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า

     พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ขอพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน.

   พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสารีบุตร พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค

พระนามวิปัสสี
พระนามสิขี
และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน


ของพระผู้มีพระภาค
พระนามกกุสันธะ
พระนามโกนาคมนะ
และพระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.

   ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี
พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?


   ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู
ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย

อนึ่ง สุตตะ เคยยะเวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น

    เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัด ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด

    เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกันต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงกำหนดจิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก.


   ดูกรสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม
เวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรงสั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณพันรูป ในไพรสนฑ์อันน่าพึงกลัวแห่งหนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้

    ลำดับนั้นแลจิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภูทรงสั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยอง จึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน.


   ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค
พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรงอยู่นาน.

   ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะพระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?

   ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย

      อนึ่ง สุตตะเคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน  อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น

       เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด

  เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้น เหมือนกัน.

   ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค
พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน.

ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท

   [๘] ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคตถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน.


   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้
กาลในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้

ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรม(ธรรมอันก่อให้เกิดอาสวะ) บางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ 

อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ


อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ

อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติ-สิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ

ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
               
ที่มา      พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค
   พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

            

22145  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มหาสุบิน ๕ ประการ ก่อนการตรัสรู้ เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2010, 11:11:37 am
มหาสุบิน, ความฝันของพระโพธิสัตว์


   คือความฝันอันยิ่งใหญ่  เป็นความฝันครั้งสำคัญ ซึ่งหมายถึง
ความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน)   ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้
ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่า
ทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖  แต่อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า วันขึ้น ๑๓ ค่ำก็มี)  ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย
ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก ใจความว่า

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  มหาสุบิน  ๕  ประการ  ปรากฏแก่ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
โพธิสัตว์อยู่  ๕ ประการเป็นไฉน  คือ 

   แผ่นดินใหญ่นี้เป็นที่นอนใหญ่  ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนยมือซ้าย
หย่อนลงในสมุทรด้านทิศบูรพา  มือขวาหย่อนลงในสมุทรด้านทิศประจิม
เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศทักษิณ  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๑ 
ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้ 
ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  ฯ


   อีกประการหนึ่ง  หญ้าคาได้ขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธะก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ 
จดท้องฟ้า  ตั้งอยู่  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๒  ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  ฯ


   อีกประการหนึ่ง หมู่หนอนมีสีขาว ศีรษะดำ ได้ไต่ขึ้นมาจากเท้าของ
สัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่  ปกปิดตลอดถึงชานุมณฑล  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๓  ปรากฏแก่
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่  ฯ


   อีกประการหนึ่ง  นกสี่เหล่ามีสีต่างๆ กัน  บินมาจากทิศทั้งสี่ 
ตกลงแทบเท้าของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้ 
ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว 
นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๔  ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ 
ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  ฯ 


   อีกประการหนึ่ง  ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้ 
ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ 
(แต่)  ไม่แปดเปื้อนคูถ  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๕  ปรากฏแก่ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่  ฯ


   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่แผ่นดินใหญ่นี้  เป็นที่นอนใหญ่ของ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย  มือซ้ายหย่อนลงในสมุทร
ด้านทิศบูรพา  มือขวาหย่อนลงในสมุทรด้านทิศประจิม  เท้าทั้งสอง
หย่อนลงในสมุทรด้านทิศทักษิณ  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๑  ปรากฏ
เพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า  ฯ


   ข้อที่หญ้าคาได้ขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ 
ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  จดท้องฟ้าตั้งอยู่ 
นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๒  ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ตรัสรู้  อริยมรรคมีองค์  ๘ 
แล้วประกาศด้วยดี  ตลอดถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ฯ

   ข้อที่หมู่หนอนมีสีขาว  ศีรษะดำ  ได้ไต่ขึ้นจากเท้าของตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่  ปกปิดตลอดถึงชานุมณฑล  นี้เป็นมหาสุบินข้อที่  ๓ 
ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า 

   คฤหัสถ์  ผู้นุ่งห่มผ้าขาวจำนวนมากได้ถึงตถาคตเป็นสรณะ
ตลอดชีวิต  ฯ 

   ข้อที่นกสี่เหล่ามีสีต่างๆ  กัน  บินมาจากทิศทั้งสี่  ตกลงแทบเท้า
ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยัง
เป็นพระโพธิสัตว์อยู่  แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว  นี้เป็นมหาสุบิน
ข้อที่  ๔  ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   วรรณะทั้งสี่เหล่านี้  คือ  กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร
ออกบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว  ก็ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอัน
ยอดเยี่ยม  ฯ 


   ข้อที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้  ยังไม่ได้
ตรัสรู้  ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่  เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ (แต่) ไม่
แปดเปื้อนคูถนี้  เป็นมหาสุบินข้อที่ ๕ ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า
 
   ตถาคตได้  (ร่ำรวย)  จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร  แล้วไม่ลุ่มหลง  ไม่หมกมุ่นไม่พัวพัน  มีปกติเห็นโทษ 
มีปัญญาเปลื้องตนออกบริโภค 


   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  มหาสุบิน  ๕  ประการนี้  ปรากฏแก่ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธะ  ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้  ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่  ฯ

ที่มา   พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
#องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๙๖


22146  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เหตุใดจึงเป็นผู้มีรูปงาม เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2010, 04:27:32 pm
เหตุใดจึงเป็นผู้มีรูปงาม

กรรมที่มีอิทธิพลปรุงแต่งรูปร่าง หน้าตาให้กระเดียดไปในทางหนึ่งๆ
พวกเราทำกรรมกันมา ซับซ้อนหลายหลาก จึงมักเกิดคำถามว่าแล้วมีการเลือกสรรกรรมมาตกแต่งหน้าตาอย่างไร เช่นบางคนเคยร้ายมากและดีมากในชาติเดียวกัน อย่างนี้มิต้องมีหน้าตาพิลึกกึกกือขัดแย้งกันเองแย่หรอกหรือ?

กรรมหลายๆประการทำให้บางคนหน้ากลม บางคนหน้าแหลม บางคนหน้ารูปหัวใจ บางคนหน้ารูปไข่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ถ้ามีบุญปรุงรูปโฉมให้ดีเสียหน่อย พอรวมเครื่องหน้าทั้งหมดก็ยังดูงามได้ทั้งนั้น ผิดกับบางคน ถึงแม้เค้าโครงหน้าตาจะดูดี เครื่องเคราบนใบหน้าก็ไม่มีชิ้นใดผิดรูปผิดทรง แต่รวมออกมาทั้งหมดกลับจืดๆ เฉยๆ ไม่เห็นเด่นสะดุดตาแต่อย่างใด เหล่านี้ล้วนเป็นเพราะการเสกการบันดาลของกรรมเก่า จะไปคิดคำนวณตีค่าความงามเป็นสัดส่วนตายตัวไม่ได้

กรรมที่ทำเป็นประจำจนคนสนิทใกล้ตัวเอาไปโจษกันว่า ‘คนนี้นะ มีนิสัย…’ สิ่งที่สังคมพูดกันตรงกันว่าเราเป็นอย่างไรนั่นแหละ มักมีบทบาทสำคัญในการตกแต่งความงามให้เป็นไปต่างๆ เสมือนเป็นตะกร้าใหญ่ที่รวบรวมเอาผลหมากรากไม้ต่างๆมารวมไว้ในที่เดียว คนเห็นเพียงผาดย่อมเห็นทั้งตะกร้านั้นก่อนที่จะลงไปดูผลไม้เป็นลูกๆ

ขอจำแนกความงามที่เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาสัก ๖ ประเภท พร้อมกรรมอันก่อไว้เป็นเหตุให้งามในประเภทนั้นๆ

๑) งามแบบสง่า บางคนมีรัศมีงามจับตา เห็นเด่นแต่ไกลอยู่ตลอด ท่วงท่าเวลาจะนั่งจะเดินดูมีความจับตาจับใจแปลกประหลาดกว่าคนธรรมดา ในอดีตชาติพวกนี้เคยทำบุญกับผู้มีคุณวิเศษเช่นสมณะที่พยายามเพียรเพื่อละกาม เวลาทำบุญทำด้วยความเคารพลึกซึ้ง จะจัดถวายทานใดก็นิยมพิธีรีตองที่งดงามโดยมีเจตนาให้เกียรติผู้รับ ส่วนในแง่ศีลธรรมนั้น เวลาจะทำผิดอะไรเห็นแก่หน้าพ่อแม่และวงศ์ตระกูล ไม่ทำตามอำเภอใจเพียงเพราะเห็นแก่กิเลสตนเอง แต่ถ้าไม่ค่อยเป็นคนรักเกียรติ ผิดศีลผิดธรรมเก่ง อย่างนี้แม้ทำบุญด้วยความเคารพก็จะได้ผลเป็นความงามสง่าแบบแปลกๆ ไม่ดูดีเต็มร้อย คือบางมุมเหมือนหงส์ แต่บางมุมเหมือนกาก็ได้

๒) งามแบบอ่อนหวาน ความอ่อนหวานดูเป็นธรรมชาติประจำเพศของผู้หญิง แต่ความจริงก็คือมีผู้หญิงไม่กี่คนที่เห็นแล้วทำให้อยากออกปากวิจารณ์ว่า หน้าหวานจริง ส่วนใหญ่จะธรรมดา เอียงไปทางจืดชืดหรือทางคมคายกัน ในอดีตชาติพวกที่หน้าหวานนั้นเคยพูดจาอ่อนโยน ใช้ถ้อยคำหวานหูโดยมีเจตนาให้คนฟังรู้สึกดี ไม่ใช่พูดหวานแต่จิตใจซ่อนแฝงความประสงค์ร้ายอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ และไม่ใช่พูดหวานในลักษณะแกล้งดัดจริต เวลาทำบุญจะทำด้วยความนุ่มนวล ผู้หญิงแสดงท่าทีชดช้อย ผู้ชายแสดงท่าทีนบนอบอ่อนน้อม


๓) งามแบบฉูดฉาดจัดจ้าน บางคนสวยหรือหล่อแบบคมเข้ม ดูว่าบาดตาบาดใจก็ได้ หรือดูว่าน่าเขม่นชวนให้อยากชิงดีชิงเด่นกันก็ได้ ในอดีตชาติพวกนี้เวลาทำบุญจะมีจิตคิดออกหน้าออกตา ชอบทำให้คนเห็นเยอะๆ เป็นจุดเด่น เป็นความสนใจ ซึ่งแง่ดีคือเป็นแรงบันดาลใจให้คนเห็นอยากเอาตาม แต่แง่เสียคือเป็นที่หมั่นไส้ได้ และจิตของคนชอบเป็นจุดเด่นในงานบุญนั้น มักพ่วงเอาความโลภเข้าไปเจืออยู่ในบุญ พร้อมจะแปรจิตจากบุญเป็นบาปได้ทันทีที่มีการแก่งแย่งชิงดีทางหน้าตากัน

๔) งามแบบเร้าความรู้สึกทางเพศ บางคนถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ทางเพศโดยไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ปรากฏตัวยังไม่ทันอวดเนื้ออวดหนังสักเท่าไหร่ด้วยซ้ำ ในอดีตชาติพวกนี้เคยทำบุญแบบหวังผลทางรูปร่างหน้าตาโดยเฉพาะ แบบที่ดึงดูดใจเพศตรงข้ามมากๆ

๕) งามแบบน่าเอ็นดูเหมือนเด็กๆ บางคนหน้าอ่อนเยาว์ตลอดชีวิต ดาราบางรายอายุจะ ๕๐ อยู่แล้วยังได้เล่นบทหนุ่ม ๓๐ โดยไม่ต้องอาศัยการแต่งหน้าหรือเทคนิคการถ่ายทำเข้ามาช่วย ในอดีตชาติพวกนี้เคยถวายเครื่องบำรุงสุขภาพ เครื่องชะลอความชราให้แก่สมณะหรือพราหมณ์ โดยมีเจตนาจะยืดอายุของพวกท่าน ให้พวกท่านมีความอ่อนกว่าวัย เพื่อเป็นประโยชน์กับโลกต่อไปนานๆ นอกจากนั้นยังมีศีลข้อแรกสะอาดหมดจด ไม่เบียดเบียนชีวิตอื่นแม้ด้วยความคิด

๖) งามแบบแปลกประหลาด บางคนมีหลายมุมมองเหลือเกิน บางมุมดูแล้วดี อีกมุมดูแล้วชอบกล เอาไปบอกต่อได้ยากว่างามหรือไม่งามกันแน่ ต้องให้ดูเอาเอง ในอดีตชาติพวกนี้มักทำทานพอประมาณ รักษาศีลพอประมาณ แต่ชอบมีความคิดแหวกแนว พิลึกกึกกือ ไม่ค่อยลงใจสนิทกับทานและศีล ยกตัวอย่างเช่นเป็นยอมใส่บาตรพระกับญาติได้ แต่ก็มักมาพูดทีหลังว่าจะทำไปทำไม น่าจะเก็บไว้กินเองมากกว่า หรือยอมรักษาศีลไม่ประพฤติผิดทางกามกับใคร แต่ก็ชอบไปยั่วเย้าให้เขามาอยากมีเพศสัมพันธ์แบบผิดๆกับตน ความคิดซ่อนแฝงที่ขัดแย้งกันกับพฤติกรรมทำนองนี้แหละ ที่ทำให้สวยหล่อแบบแปลกๆ แบบที่สมัยนี้เรียกกันว่าสวยไม่เสร็จ หล่อไม่เสร็จ คือเหมือนยังปั้นไม่ครบ หรือครบแต่เว้าแหว่ง บางส่วนเหมือนหายๆไปไม่เต็มบริบูรณ์

ความงามไม่ได้มีแค่ ๖ ประเภทเท่านี้ แต่ขอยกมาพอสังเขป ขอให้ถือว่าถ้าไม่งามเลย หรือน่าเกลียดอัปลักษณ์ต่างๆนานา ก็ขึ้นอยู่กับศีลไม่บริสุทธิ์และพูดจาระคายโสตเป็นหลัก นอกจากนั้นคือไม่ค่อยทำทาน หรือทำทานด้วยความคิดอุตริไปต่างๆ เหล่านี้มีผลตกแต่งให้หน้าตาดูแย่ได้ทั้งสิ้น ยิ่งพวกชอบพูดหยาบ ชอบสาปแช่งชาวบ้านเป็นงานอดิเรก ถ้าเกิดใหม่มีวาสนาพอได้เป็นคน ก็มักเป็นประเภทสิวปรุ เตี้ยล่ำดำมิด หรือโหนกแก้มไม่เท่ากันไปโน่น

ที่มา : คัดลอกมาจากหนังสือ เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน (ดังตฤณ)
เหตุใดจึงเป็นผู้มีรูปงาม - PaLungJit_com.mht
ขอขอบคุณ คุณแบงก์จ้า




22147  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ความหมายของ ((( การอโหสิกรรม ))) เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2010, 04:21:23 pm
ความหมายของ ((( การอโหสิกรรม )))


การอโหสิกรรม
คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ ๒ คำ คือ อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ ได้มีแล้ว ” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กับคำว่า กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึงการกระทำที่มีเจตนา อโหสิกรรม แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป

ตามหลักพระพุทธศาสนา บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้นจะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น เช่น ตนเองได้รับโทษถูกจำคุก หรือลูกหลานประสบเคราะห์ร้ายต่างๆ ทำให้ตนต้องเสียใจทุกข์ทรมานเพราะการสูญเสีย หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า

แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม วิธีทำกรรมให้เป็นอโหสิกรรมวิธีหนึ่งคือการยกโทษให้ เช่น เมื่อเราประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม จึงกลายมามีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่นก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

กรรม คือ การกระทำ เรียกว่าเป็นเหตุก็ได้ หรือ มัคคก็ได้

ในที่นี้จะเรียกรวมๆว่ามัคคก็แล้วกันเข้าใจง่ายดี

วิบากกรรม ก็คือ ผลของการกระทำ หรือ ผลกรรม หรือ ผล

เรียกให้ไพเราะว่า " ผล คือ วิบากแห่งมัคค " นั่นเอง


ผลกรรมพอจะแบ่งได้ 3 ประเภท

1. กรรมที่ให้ผลตามกาล(คราว)

1.1 กรรมให้ผลในภพนี้(ให้ผลทันตาเห็น)

ได้แก่ผลทานบริสุทธิ์ที่ถวายแก่ ผู้ออกจากฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติใหม่ ซึ่งเราเป็นผู้ถวายเป็นคนแรกหรือกลุ่มแรก ก็จะได้สมบัติทันตาเห็น

ได้แก่ผู้บำเพ็ญเพียรเจริญมัคคปฏิปทา บรรลุฌานสมาบัติ 1 - 8 ก็ดี....บรรลุมัคค 4 ....ผล 4 ก็ดี ....สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติก็ดี จะได้ปีติ สุข อุเบกขา ตลอดจนญาณปัญญาทันตาเห็นทีเดียว


1.2 กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า(ให้ผลในชั่วโมงหน้า วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า ชาติหน้าได้ด้วย)

1.3 กรรมให้ผลในภพต่อๆไป(ให้ผลในชั่วโมงต่อไป วันต่อไป เดือนต่อไป ปีต่อไป ชาติต่อๆๆไปได้ด้วย)

1.4 กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว/อโหสิกรรม/ (เป็นกรรมล่วงกาลเวลาแล้ว เลิกให้ผลแล้ว เปรียบเสมือนเมล็ดพืชที่ต้นอ่อนข้างในตายแล้ว ย่อมเพาะไม่ขึ้น)


2. กรรมให้ผลตามกิจ

2.1 กรรมแต่งให้ไปเกิดใหม่(สามารถยังผู้กระทำกรรมนั้น ให้เคลื่อนจากภพหนึ่ง ไปถือปฏิสนธิในภพอื่น เช่นฆ่าตัวตาย)

2.2 กรรมสนับสนุน(ไม่อาจแต่งปฏิสนธิเอง ต่อเมื่อกรรมในข้อ 2.1 แต่งปฏิสนธิแล้ว จึงเข้าสนับสนุนส่งเสริมกรรมในข้อ 2.1 นั้น )


2.3 กรรมบีบคั้น(เมื่อกรรมในข้อ 2.1 แต่งปฏิสนธิแล้ว ก็เข้าบีบคั้นผลกรรมแห่งข้อ 2.1 นั้น ไม่ให้ให้ผลได้เต็มที่ เช่น เป็นคนดีมีความรู้มีความสามารถ แต่บังเอิญได้คู่ครองที่ไม่เอาไหนก็ซวยได้เหมือนกัน)

2.4 กรรมตัดรอน(ย่อมตัดรอนผลกรรมในข้อ 2.1 และ 2.2 ให้ขาดเสีทีเดียว เช่น เกิดเป็นผู้หญิงที่สวยงามประกวดแล้วได้ตำแหน่งนางงามจักรวาลแน่นอน แต่เกิดอุบัติเหตุเสียโฉมเสียก่อน ไม่เสียชีวิตแค่เสียโฉม)


3. กรรมให้ผลตามลำดับ

3.1 กรรมหนัก กรรมใดหนักกรรมนั้นให้ผลก่อน
ในฝ่าย "อกุศล" อนันตริยกรรม 5 เป็นกรรมที่หนักที่สุด ได้แก่กรรม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรห้นต์ ประทุษร้ายให้พระพุทธเจ้าทรงห้อพระโลหิต และยุยงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ตายแล้วไปนรกก่อน

ในฝ่าย "กุศล" ฌานสมาบัติ 8 เป็นกรรมหนักที่สุด ตายแล้วไปพรหมโลกก่อน แต่คนมักไม่ค่อยไปเพราะมันมีความสุขสบาย


3.2 กรรมชิน (ได้แก่กรรมที่เคยทำมามาก ทำมาบ่อยๆ จนชินติดเป็นนิสัย เช่นนั่งสมาธิเป็นนิสัย เป็นต้น)

3.3 กรรมเมื่อจวนเจียน/กรรมอันทำเมื่อจวนจะตายใกล้จะตาย


3.4 กรรมสักแต่ว่าทำ/กรรมอันทำด้วยไม่จงใจ ไม่เจตนาให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่นหกล้มทับมดตายไปด้วย เป็นต้น
------------------------------------------------------------------------

ที่มา http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=4202

22148  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2010, 04:16:15 pm

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า

•   ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย

•   โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้ จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น

•   สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง

•   อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้ แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว

•   พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่

ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด.


ที่มา  เว็บพลังจิต
22149  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธเจ้าตรัสถึง "โลกอื่นๆ หรือ ต่างดาว" ไว้ว่าอย่างไร เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2010, 03:56:18 pm



พระพุทธเจ้าตรัสถึง "โลกอื่นๆ หรือ ต่างดาว" ไว้ว่าอย่างไร

จักรวาลอันหนึ่ง
   โดยยาวและโดยกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) ส่วนโดยรอบปริมณฑลทั้งสิ้น (ของจักรวาลนั้น) ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์

ขนาดหนาของแผ่นดิน
   ในจักรวาลนั้น แผ่นดินนี้ กล่าวโดยความหนา มีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์

ขนาดหนาของน้ำรองแผ่นดิน
    สิ่งที่รองแผ่นดินนั้นหรือ คือ น้ำอันตั้งอยู่บนลม โดยความหนามีประมาณถึงเท่านี้ คือ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์

ขนาดความหนาของลมรองน้ำ
    ลมอัน (พัดดัน) ขึ้นฟ้า (โดยความหนา) มีประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ นี่เป็นความตั้งอยู่พร้อมมูลแห่งโลก

ขนาดภูเขาสิเนรุ(เขาพระสุเมรุ) และต้นไม้ประจำทวีป
    อนึ่ง ในจักรวาลที่ตั้งอยู่พร้อมมูลอย่างนี้นั้น มี ภูเขาสิเนรุอันเป็นภูเขาสูงที่สุด หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (ในฟ้า) ก็ประมาณเท่ากันนั้น

    ภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือภูเขายุคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวีกะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธระ ภูเขาวินตกะ ภูเขาอัสสกัณณะ อันตระการไปด้วยรัตนะหลากๆ ราวกะภูเขาทิพย์ หยั่ง (ลึก) ลงไป (ในมหาสมุทร) และสูงขึ้นไป (ในฟ้า) โดยประมาณกึ่งหนึ่งแต่ประมาณแห่งภูเขาสิเนรุไปตามลำดับ
    ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ นั้น (ตั้งอยู่) โดยรอบภูเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของ (จาตุ)มหาราช เป็นที่ๆ เทวดา และยักษ์อาศัยอยู่

    ภูเขาหิมวาสูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ (เท่ากัน) ประดับไปด้วยยอดถึง ๘๔,๐๐๐ ยอด
ต้นชมพู (หว้า) ชื่อนคะ วัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ และกิ่ง (แต่ละกิ่ง)ก็ ยาว ๕๐ โยชน์ แผ่ออกไปวัดได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ และสูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ด้วยอานุภาพของ ต้นชมพู(นี้)ไรเล่า ทวีปนี้จึงถูกประกาศชื่อว่า ชมพูทวีป


  ก็แลขนาดของต้นชมพูนี้ใด ขนาดนั้นนั่นแหละเป็นขนาดของต้นจิตรปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูร
   ต้นสิมพลี (งิ้ว) ของพวกครุฑ
   ต้นกทัมพะ (กระทุ่ม) ในอมรโคยานทวีป
   ต้นกัปปะในอุตตรกุรุทวีป
   ต้นสิรีระ (ซึก) ในบุพพวิเทหทวีป
   ต้นปาริฉัตตกะ ในดาวดึงส์

   เพราะเหตุนั้นแล ท่านโบราณจารย์จึงกล่าวไว้ว่า (ต้นไม้ ประจำภพและทวีป คือ) ต้นปาฏลี ต้นสิมพลี ต้นชมพู ต้นปาริตฉัตตะของพวกเทวดา ต้นกทัมพะ ต้นกัปปะ และต้นที่ ๗ คือ ต้นสิรีสะ ดังนี้


ขนาดภูเขา จักรวาล
   ภูเขาจักรวาล หยั่ง (ลึก) ลงไปในมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐ โยชน์สูง ขึ้นไป (ในฟ้า) ก็เท่ากันนั้น ภูเขาจักรวาลนี้ตั้งล้อมโลกธาตุทั้งสิ้นนั้นอยู่

ขนาดของภพและทวีป
   ในโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร มหานรกอเวจี และชมพูทวีปก็ เท่ากันนั้น อมรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ บุพพวิเทหทวีปก็เท่านั้น อุตตรกุรุทวีป ๘,๐๐๐ โยชน์
   อนึ่ง ในโลกธาตุนั้น ทวีป ใหญ่ๆ ทวีป ๑ ๆ มีทวีปน้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐
   สิ่งทั้งปวง(ที่กล่าวมานี้)นั้น (รวม) เป็นจักรวาล ๑ ชื่อว่า โลกธาตุอัน ๑ และ ๑ ในระหว่างแห่งโลกธาตุ ทั้งหลายมีโลกันตนรก (แห่งละ ๑)
   ๑. มหาฎีกาว่า จักรวาล ก็คือ โลกธาตุ โลกธาตุได้ชื่อว่า จักรวาล ก็เพราะมีภูเขาจักรวาล ซึ่งสัณฐานดังกงรถล้อมอยู่โดยรอบเท่านั้นเองไม่ ใช่จักรวาลอัน ๑ โลกธาตุอัน ๑
   ๒. ท่านว่าจักรวาลหรือโลกธาตุนั้นมีมากนัก ช่องว่างในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาลต่อกัน มีโลกันตนรก ๑ ทุกแห่งไป โดยนัยนี้ คำว่า โลกันตนรก ก็แปลว่า นรกอันตั้งอยู่ในช่องระหว่างจักรวาล ๓ อันนั่นเอง



พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "จูฬนีสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๒๑๕ เล่ม ๒๐ ว่า
    จักรวาล ประกอบด้วยดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจร ไปร่วมกัน
    จะมีขุนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) (เป็นภูเขาทิพย์ที่เห็นได้เฉพาะผู้มีอภิญญา)
    ทวีปต่างๆ ที่ตั้งชื่อกันในสมัย นั้นคือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป มหาสมุทรทั้ง ๔ (นับกันได้ในสมัยนั้น)
    มีนรกขุมต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ และพรหมโลกชั้นต่างๆ

    โลกธาตุ มี ๓ ขนาด คือ
    โลกธาตุอย่างเล็ก มีจำนวนพันจักรวาล
    โลกธาตุอย่างกลาง มีจำนวนล้านจักรวาล
    โลกธาตุอย่างใหญ่ มีจำนวนแสนโกฏิจักรวาล
    ทั้งโลกธาตุอย่างเล็กก็ดี อย่างกลางก็ดี อย่างใหญ่ก็ดี ยังมีอีกจำนวนมากมาย

    "ทุกสิ่งทุกอย่างมี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไปในที่สุด"
 
กำเนิดของโลกพระพุทธเจ้าทรง ตรัสไว้ใน "อัคคัญญสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๖๑ เล่ม ๑๑ ว่า
   เกิดมีน้ำขึ้น ในห้วงอวกาศอันมืดมิดก่อนแล้วนานๆไปเกิดการรวมตัวงวดเข้าเป็นง้วนดิน แล้วพัฒนาเป็นกระบิดิน ต่อไปเป็นเครือดิน จากนั้น มีต้นข้าว และพืชทั้งหลายเกิดขึ้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หมู่ดาว นรกขุมต่างๆ เทวโลกและพรหมโลกชั้นต่างๆ ก็เกิดขึ้นเอง

กำเนิดชีวิตพระ พุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
"เพราะมีความอยาก จึงมีการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา เมื่อไม่มีความอยากการเกิดเป็น สัตว์เป็นบุคคลก็ไม่มี"

๑) ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
   - มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
   - มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
   - มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
   - สมัยของพระพุทธเจ้าพระนาม ว่า "พระวิปัสสี" มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
   - สมัยของพระ พุทธเจ้าพระนามว่า "พระเรวะตะ" มนุษย์ในชมพูทวีปมีความสูงถึง ๘๐ ศอก
   - แต่ เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง จิตใจหยาบช้าลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง ร่างกายก็เตี้ยลง
   - ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน เรียกยุคนั้นว่า "ยุคทมิฬ" เป็นยุคที่เสื่อมที่สุดของ "ชมพูทวีป"
   - ดอกไม้ประจำชมพูทวีป คือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะ ดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"
   - ชมพูทวีป เป็นทวีปเดียวที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมาตรัสรู้ที่ทวีปนี้เท่านั้น

๒) อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
  - เป็น แผ่นดินกว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย
   - มีธาตุ แก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้ว ผลึก
   - มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม
   - มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
   - ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"


๓) ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    - เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ
    - มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขา สิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้า และมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมี สีเงิน
    - มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร
    - มนุษย์ ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    - ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"


๔) อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)
    - มี พื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ
    - มี ธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้า และ มหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง
    - มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ ไม่ยึด ถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน
    - มนุษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว)
    - มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)"
ถ้า อยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา
    - มนุษย์ที่อุตรกุรุ ทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ ชั้นตาวติงสาห์ภูมิ" ทุกๆคน เป็นกฏตายตัว
    - ในภาษาบาลี "อุตร" แปลว่า "เหนือ" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกทวีปนี้ว่า "อุตรกุรุทวีป"


   สําหรับเรื่องรูปร่างหน้าตาของมนุษย์ต่างดาว ในแต่ละทวีปนั้น ตามในพระไตรปิฏกและอรรถกถาต่างๆ ยืนยันว่ารูปร่างเหมือนมนุษย์เราเนี่ยแหละครับ เพราะพื้นฐานการเกิดบนดาวเขาก็อาศัยธาตุทั้ง 4 เหมือนชมพูทวีป (ดาวโลกเรา)

   ผมได้อ่านเจอในพระสูตรหนึ่ง กล่าวถึงโชติกะเศรษฐี ใครสนใจลองไปค้นอ่านได้ในพระไตรปิฏกครับ
   ท่านว่าโชติกะเศรษฐีนี้ มีบุญมาก เกิดมาเพื่อบํารุงพุทธศาสนาด้วย พอถึงเวลาที่ท่านจะมีภรรยา ปรากฏว่าหาคู่บารมีไม่ได้ เพราะกําลังบุญท่านสูงมาก ไม่มีหญิงคนไหนในโลกเทียบได้ที่จะมาเป็นภรรยาท่าน พระอินทร์ทราบดังนั้น ได้ไปนําหญิงสาวจากอุตกรุทวีปมาให้ เป็นภรรยา



ที่มา  เว็บสถานีมหาปราชญ์
ขอขอบคุณพระไตรปิฏกฉบับประชาชน
22150  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คาถาพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2010, 09:03:36 pm

นมัสการพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์

นะโม เม สัพพะพุทธานัง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง

อุปปันนานัง มะเหสินัง
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ซึ่งได้อุบัติแล้ว คือ

๑. ตัณหังกะโร มะหาวีโร
ปฏิปทาพิเศษของพระตัณหังกรผู้กล้าหาญ

.๒. เมธังกะโร มะหายะโส
ปฏิปทาพิเศษของพระเมธังกรผู้มียศใหญ่

๓. สะระณังกะโร โลกะหิโต
ปฏิปทาพิเศษของพระสรณังกรผู้เกื้อกูลต่อชาวโลก

๔. ทีปังกะโร ชุตินธะโร
ปฏิปทาพิเศษของพระทีปังกรผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง

๕. โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข
ปฏิปทาพิเศษของพระโกณฑัญญะผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน

๖. มังคะโล ปุสิสาสะโก
ปฏิปทาพิเศษของพระมังคละผู้เป็นบุรุษประเสริฐ

๗. สุมะโน สุมะโน ธีโร
ปฏิปทาพิเศษของพระสุมนะผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม

๘. เรวะโต ระติวัฑฒะโน
ปฏิปทาพิเศษของพระเรวะตะผู้เพิ่มพูนความยินดี

๙. โสภิโต คุณสัมปันโน
ปฏิปทาพิเศษของพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ

๑๐. อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปฏิปทาพิเศษของพระอโนมทัสสีผู้สูงสุดอยู่ในหมู่ชน

๑๑. ปะทุโม โลกะปัชโชโต
ปฏิปทาพิเศษของพระปทุมะผู้ทำให้โลกสว่าง

๑๒. นาระโท วาระสาระถี
ปฏิปทาพิเศษของพระนารทะผู้เป็นสารถีประเสริฐ

๑๓. ปะทุมุตโต สัตตะสาโร
ปฏิปทาพิเศษของพระปทุมุตตระผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์

๑๔. สุเมโธ อัปปะฏิบุคคะโล
ปฏิปทาพิเศษของพระสุเมธะผู้หาบุคคลเปรียบมิได้


๑๕. สุชาโต สัพพะโลกัคโค
ปฏิปทาพิเศษของพระสุชาตะผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง

๑๖. ปิยะทัสสี นะราสะโภ
ปฏิปทาพิเศษของพระปิยทัสสีผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน

๑๗. อัตถะทัสสี การุณิโก
ปฏิปทาพิเศษของพระอัตถทัสสีผู้มีพระกรุณา

๑๘. ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
ปฏิปทาพิเศษของพระธรรมทัสสีผู้บรรเทาความมืด

๑๙. สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ปฏิปทาพิเศษของพระสิทธัตถะผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก

๒๐. ติสโส จะ วะทะตัง วาโร
ปฏิปทาพิเศษของพระติสสะผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

๒๑. ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ
ปฏิปทาพิเศษของพระปุสสะผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ


๒๒. วิปัสสี จะ อะนูปะโม
ปฏิปทาพิเศษของพระวิปัสสสีผู้ที่หาเปรียบมิได้

๒๓. สิขี สัพพะหิโต สัตถา
ปฏิปทาพิเศษของพระสิขีผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์

๒๔. เวสสะภู สุขะทายะโก
ปฏิปทาพิเศษของพระเวสสภูผู้ประทานความสุข

๒๕. กะกุสันโธ สัตถะวาโท
ปฏิปทาพิเศษของพระกกุสันโธผู้นำสัตว์ออกจากสันดารตัวกิเลส

๒๖. โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
ปฏิปทาพิเศษของพระโกนาคมนะผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส

๒๗. กัสสะโป สิริสัมปันโน
ปฏิปทาพิเศษของพระกัสสปะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ

๒๘. โคตะโม สักยะปุงคะโว
ปฏิปทาพิเศษของพระโคตมะผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช



เตสาหัง สิระทา ปาเท วันทามิ ปุริสัตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระบาทของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า และขอกราบไหว้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้เป็นบุรุษอันสูงสุด ผู้เป็นตถาคตด้วยวาจาและใจทีเดียว

สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
ทั้งในที่นอนในที่นั่ง ในที่ยืน และแม้ในที่เดินด้วย ในกาลทุกเมื่อฯ


คาถาโดยย่อ

ตัณ เม สะ ที โก มัง สุ เร โส อะ ปะ นา ปะ สุ สุ
ปิ อะ ธะ สิ ติ ปุ วิ สิ เว กุ โก กะ โค นะมามิหัง


พระนามพระพุทธเจ้าตั้งแต่องค์แรกถึงองค์ปัจจุบัน โบราณจารย์ท่านถือว่าเป็นพระคาถาแก้วสารพัดนึก


ที่มา  เว็บพลังจิต
22151  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / คนค้นกรรม 2 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2010, 01:38:36 pm
คนค้นกรรม 2

ท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน “คนค้นกรรม” ภาคแรก กรุณาคลิกลิงค์นี้ครับ
http://board.palungjit.com/f8/คนค้นกรรม-231089.html
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=466.0

หลังจากครั้งก่อนได้ไปค้นกรรมของตัวเองกับอาจารย์อุบล เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2553 พร้อมได้กำหนดว่า โรคที่เป็นอยู่  6 โรค ต้องหายภายใน 15 วัน ขณะนี้ได้ครบกำหนดแล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ผมขอเล่าเหตุการณ์ที่สำคัญๆให้ทราบดังนี้ครับ

วันที่ 16 มีนาคม 2553 เปิดเผยตัวตนให้คนอื่นรู้
   หนึ่งในห้าคำสัตย์ที่ได้ให้ไว้กับอาจารย์อุบล คือ “นำเรื่องที่คุยกันโพสต์ขึ้นอินเตอร์เน็ต” ผมได้ใช้เวลาเขียนเรื่องที่คุยกับอาจารย์อุบลอยู่ 2-3 วัน ในวันที่ 16 มีนาคม ผมได้ตัดสินใจนำเรื่องนี้ โพสต์ขึ้นเว็บไซท์ต่างๆตามที่ได้ให้สัญญาไว้ โดยใช้ชื่อบทความว่า “คนค้นกรรม”

วันที่ 18,19 และ 20 มีนาคม 2553 เริ่มชำระล้างกรรม
“ช่วยออกแรงสร้างสถานปฏิบัติธรรมบ้านสวนพีระมิด แต่ต้องทำติดต่อกัน ๓ วัน อย่างน้อยเดือนละครั้ง”
 เป็นสัจจะข้อที่ 4 ที่ได้ให้ไว้กับอาจารย์อุบล ทำให้ผมต้องไปช่วยเหลาไม้ไผ่เพื่อสร้างสถานปฏิบัติธรรม
ตลอดสามวันที่ไป ผมไปถึงสายมากประมาณสิบเอ็ดโมงกว่า พอบ่ายสามก็เลิก เหลาไม้ไผ่ได้รวม 82 อัน

สองวันแรกผมยืนทำงานโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่พอวันสุดท้าย(วันที่ 20 มีนาคม)ผมเหลาไม้ไผ่ได้ประมาณสองสามอันก็รู้สึกปวดหัวอย่างแรง อาจารย์เอายาฟ้าทะลายโจรแค็ปซูลเสริมพลังพีระมิดให้ผมกิน แต่อาการไม่ดีขึ้น อาจารย์อุบลบอกให้ไปนอนบนเรือนพีระมิด ผมนอนจนใกล้เย็น อาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ลุกขึ้นมาเหลาไม้ไผ่ต่อ กะจะให้ได้ครบ 81 อันจากการเหลาทั้งหมด 3 วัน อยากให้ตัวเลขออกมาที่ 9 คูณ 9 ผลปรากฏว่า นับผิดเกินมา 1 อัน ตัวเลขสุดท้ายเลยออกมาที่ 82 อัน

   อาการที่ปวดหัวอย่างรุนแรงนี้ อาจารย์บอกว่า เวลาใกล้ที่จะถึงเส้นชัย จะเป็นแบบนี้ ส่วนตัวผมมีความรู้สึกว่า นี่คือการชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีออกจากตัวผม

 ก่อนกลับอาจารย์ได้ให้ข้าวกล้องแค็ปซูลเสริมพลังพีระมิดจำนวน 7 แค็ปซูลให้ผม บอกให้กินวันละแค็ปซูล ผมกลับถึงบ้านด้วยอาการที่ทรุดหนักปวดหัวปวดตัวแทบระเบิด รีบอาบน้ำกินยาที่ได้มา เข้านอนทันที คืนนั้นทั้งคืนเหมือนอยู่ในนรก ปวดหัวมากๆนอนแทบจะไม่หลับเลย คิดในใจว่า คนกำลังจะตายเป็นแบบนี้รึเปล่าหนอ
 
เช้าวันต่อมาตื่นขึ้นมาดัวยอาการที่ดีขึ้นมาก แต่ยังไม่หาย อีกสองวันต่อมา อาการปวดหัวปวดตัวก็หายไป ผมได้กินยาของอาจารย์อุบลจนครบ 7 แค็ปซูล อาการของโรคดีขึ้น แต่ไม่หายครับ


วันที่ 3 เมษายน 2553 สาเหตุที่โรค ไม่หายขาด
   ผมไปรายงานผลกับอาจารย์อุบลที่บ้านสวนพีระมิด ตามความเป็นจริงว่า โรคที่เป็นอยู่ไม่หาย แต่โดยรวมแล้วดีขึ้น  โรคที่เห็นชัดเจนว่าดีขึ้นคือ โรคกระเพาะ และริดสีดวง

   เหตุที่เป็นเช่นนั้น นอกจากเหตุผลหลักที่มีศรัทธาไม่เต็มร้อย ตามที่อาจารย์ได้เคยกล่าวไว้เก่อนแล้ว อาจเกิดมาจากการปฏิบัติตัวตามคำสัตย์ที่ให้ไว้ ยังไม่เต็มที่ ขาดความสมบูรณ์

ผมขอวิเคราะห์ให้ดูเป็นข้อๆดังนี้ครับ

1. ถือศีลห้าอย่างเคร่งครัด อย่าส่งเสริมให้คนทำผิดศีล ไม่ยินดีเมื่อเห็นคนทำผิดศีล
   ข้อแรกนี้ผมมีปัญหากับสัตว์เล็กๆ ที่อยู่บนพื้นดิน เนื่องจากบ้านที่อยู่เป็นบ้านสวน ผมมักเหยียบหอย กับมด โดยไม่ตั้งใจเสมอ ทั้งที่ถ้าผมตั้งสติดีๆแล้ว จะอยู่ในวิสัยที่หลีกเลี่ยงได้  ศีลห้าของผมเลยด่างไปเล็กน้อย

2. ทำทานให้มากขึ้น ไม่มีปัจจัยก็ให้อนุโมทนาเอา อนุโมทนาไม่ต้องออกเสียงก็ได้
   ข้อสอง ผมแทบจะไม่มีโอกาสไปไหน วันๆจะอยู่แต่ในบ้าน การทำทานหรืออนุโมทนาเลยไม่เกิด

3. ทำสมาธิวิปัสสนาทุกวัน
   ข้อสามนี้ ผมเป็นกังวลมากที่สุด ถึงแม้ผมจะเป็นคนชอบนั่งสมาธิ แต่จะนั่งได้แค่ประมาณ 10-20 นาทีเท่านั้น ในส่วนของวิปัสสนาเป็นงานยากของผม ความรู้สึกของผมที่เข้าใจก็คือ ผมยังขึ้นวิปัสสนาไม่ได้

4. ช่วยออกแรงสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่นี่ แต่ต้องทำติดต่อกัน ๓ วัน อย่างน้อยเดือนละครั้ง
   การทำทานโดยใช้แรงกาย ผมทำก็จริงอยู่ แต่ผมเข้าใจเอาเองว่า ระยะเวลามันน้อยเกินไป ที่ผ่านมาผมใช้เวลาประมาณวันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง

5. นำเรื่องที่คุยกันวันนี้โพสต์ขึ้นอินเตอร์เน็ต พร้อมแจ้งชื่อที่อยู่และเบอร์โทร
   ข้อนี้ดูไม่น่ามีปัญหา แต่ปัญหาก็เกิด เนื่องจากวันนั้นคุยกับอาจารย์นานมากและไม่ได้อัดเสียงเอาไว้  สิ่งที่ผมโพสต์ขึ้นเว็บไซต์ไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคมนั้น ผมเน้นเรื่องที่ผมได้กรอกแบบสอบถามไปเท่านั้น คือ โรคจำนวน 6 โรคที่ผมเป็นอยู่ ส่วนเรื่องอื่นๆที่อาจารย์บอก เป็นเรื่องที่ผมไม่ได้ถามอาจารย์ เลยคิดเอาเองว่าไม่จำเป็น ทำให้ไม่ได้เขียนขึ้นเว็บไซต์ แต่บางส่วนของเรื่องที่ผมไม่ได้ถาม ผมก็ลืมจริงๆ

   ผมขอถือโอกาสนี้เสนอเรื่องที่ครั้งที่แล้วไม่ได้เขียนลงเว็บไซต์ เท่าที่ผมจำได้ มีดังนี้ครับ

1.   อาจารย์บอกว่า ผมเคยกล่าวปรามาสคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” ผมเคยพูดอย่างนี้จริงครับ เป็นการพูดด้วยความคึกคนองกับเพื่อนๆตามภาษาวัยรุ่น ประมาณ 30 ปีมาแล้ว

2.   อาจารย์บอกว่า “ผมชอบเดินกระทืบเท้า เป็นการไม่ให้ความเคารพพระแม่ธรณี” เรื่องนี้เป็นความจริงครับ ผมเป็นคนชอบเดินลงส้นแรงๆ เมื่อก่อนผมไม่รู้ตัวว่า ตัวเองเดินเสียงดัง มีครั้งหนึ่งผมเดินอยู่บนชั้นสาม คนอยู่ชั้นสองเค้าได้ยินเสียงผมเดิน และถามว่าทำไมเดินดังจัง

3.   อาจารย์บอกว่า “ผมชอบวางฟอร์ม รักษาฟอร์ม” เรื่องนี้จริงครับ ผมมักที่จะเจตนาปิดปัง หลีกเลี่ยงอะไรบางอย่าง พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่อยากให้ใครรู้   มีอีกอย่างที่ผมอยากบอกก็คือ นิสัยเด่นๆของผมนั้น มีเจ้าอยู่สามเจ้า คือ เจ้าทิฏฐิ  เจ้าเล่ห์ และเจ้าชู้  เรื่องนิสัยของผมนี้ในครั้งต่อๆมาที่ได้พบอาจารย์ อาจารย์มักพูดเปรยๆกับผมเสมอว่า “คุณน่ะดื้อ ถ้าไม่ดื้อ หายไปแล้ว” ผมขอสารภาพว่า ผมเป็นคนมีนิสัยดื้อรั้นจริงๆครับ

4.   อาจารย์บอกว่า ผมมีกรรมผิวพรรณ เนื่องจากหน้าผมเป็นฝ้า และถามผมว่าตอนหนุ่มๆหน้าคุณดูดีใช่ไหม  ผมตอบว่า ใช่ครับ

5.   อาจารย์ทราบว่าผมว่างงานอยู่  จึงอวยพรให้ผมได้งาน และมีช่องทางทำงาน

ยังมีอีกครับ อันนี้ผมอยากบอกเอง  เรื่องนี้อาจารย์พูดกับผมหลังจากได้พบกันครั้งแรก เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งผมได้ไปหาหมอเพื่อรักษาโรคที่ผมเป็นอยู่ หมอท่านนี้เป็นหมอแผนปัจจุบัน แต่ใช้วิธีรักษาโรคด้วยวิชาพุทธคุณและยาแผนโบราณ หมอดูอาการทั่วไปแล้ว ให้ผมกินหมากเสก  ผมรู้สึกปวดหัว ตัวร้อน และมีลมออกหู หมอสรุปว่า ผมโดยทำเสน่ห์ และมีผีปอบสิงอยู่
 
ผมได้นำเรื่องนี้มาพูดกับอาจารย์อุบลว่า “มีหมอคนหนึ่ง บอกว่าผมโดยของ” อาจารย์ยิ้มแล้วบอกว่า “ใช่ อาจารย์รู้ตั้งแต่เห็นครั้งแรกแล้ว แต่พูดไม่ได้ ต้องให้คุณบอกเอง”  “คุณน่ะมีกาฝากมากไปทำให้เป็นโรคหลายโรค”  ผมได้ถามอาจารย์ต่อไปอีก แต่จำคำพูดที่แน่นอนไม่ได้  กล่าวโดยสรุปก็คือ ที่ผมโดยทำเสน่ห์นั้น คนทำไม่ได้เจตนาให้ผมหลง แต่ตั้งใจให้ผมมีอันเป็นไป ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต การโดนทำเสน่ห์ครั้งนี้ทำให้ร่างกายผมอ่อนแอ ขาดพลังต้านทานกับสิ่งชั่วร้าย  ผลก็คือ ผมรับเอาสิ่งไม่ดีต่างๆเข้าตัวผมหลายอย่าง  นั่นคือ ที่มาของคำว่า “ผมมีกาฝากมากเกินไป”  กาฝากต่างๆในตัวผมนอกจากจะมีผลกับสุขภาพแล้ว ยังมีผลกับจิตใจผมด้วย ทำให้ใจผมคิดแต่ด้านลบในหลายๆเรื่อง
ทุกท่านครับ ตอนเป็นหนุ่มผมเจ้าชู้มาก ทำผู้หญิงช้ำใจมาหลายคน การที่ชีวิตผมไม่ประสบความสำเร็จใดๆเลย แถมถูกรุมเร้าดัวยโรคร้าย มันยุติธรรมแล้วครับ กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ


วันที่ 4 เมษายน 2553 ขอเป็นโสดาบัน
   ผมไปพบอาจารย์อุบลอีกครั้ง  อาจารย์แปลกใจ เนื่องจากผมเพิ่งมาเมื่อวานนี้เอง(3 เมษายน) คราวนี้ผมไปขอปิดประตูอบายภูมิ ข้ามสังสารวัฏ เข้าสู่นิพพาน อาจารย์บอกว่า “คุณต้องเป็นโสดาบันก่อน” ผมพยักหน้าตอบว่าครับ อาจารย์กล่าวต่อไปว่า “คุณได้สิทธิ์นั้น” สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ

1.   ถือศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
2.   ระลึกถึงความตายทุกวัน
3.   เจริญพรหมวิหาร ๔ มีเมตตา คือ ความรัก ,กรุณา คือ สงสาร,มุทิตา คือ ยินดีกับผู้อื่นเมื่อเขาทำดีหรือได้ดี ,อุเบกขา คือ ความวางเฉย
4.   เจริญวิปัสสนาโดยใช้คำบริกรรม พุทโธ


นอกจากนี้อาจารย์ได้กล่าวถึง ลำดับของอริยบุคคลที่เข้าสู้นิพพานได้ ต้องเริ่มจาก
   -โสดาบัน
   - สกิทาคามี
   - อนาคามี
   - อรหันต์

ในตอนท้ายอาจารย์กล่าวว่า  สำหรับการเป็นอรหันต์ อาจารย์จะต้องรอดูความประพฤติของผมอีกที
   
อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อนๆนักปฏิบัติธรรมคงเกิดข้อสงสัยต่างๆมากมาย
   การเข้านิพพาน ต้องมาขออนุญาตอาจารย์อุบลด้วยเหรอ ?
   ทำไม ? เพราะอะไร ? และมีอีกมากมายหลายคำถาม ? ที่ตามมา

เพื่อนๆครับ ก่อนที่ผมจะไปพบอาจารย์อุบล ผมได้ไตร่ตรองอย่างหนัก กลัวว่าคนอื่นเค้าจะหาว่าผมบ้า
การมาขอเป็นโสดาบันกับอาจารย์อุบลนั้น ต้องกล่าวอย่างเปิดเผยกับสาธารณชน ผมรู้สึกเขินเหมือนกันตอนที่คุยกับอาจารย์  แต่เมื่อตั้งเจตนาไว้แล้ว และได้เอ่ยปากขอแล้ว ต้องเดินหน้าอย่างเดียวครับ

   เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจสำหรับคนที่รู้แล้ว และเป็นการให้ความรู้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาธรรม จึงขอนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาแสดงโดยสรุป ตามที่ผมเข้าใจดังนี้ครับ

   หลวงพ่อบอกว่า การเป็นโสดาบันเป็นเรื่องง่าย หากยังเป็นไม่ได้ให้ดูที่บารมี ๑๐ ว่าพร่องข้อไหนบ้าง
ถ้าพิจารณาแล้วไม่มีข้อไหนพร่อง  ให้ไปดูที่จรณะ ๑๕ ว่ายังขาดข้อไหนบ้าง  กล่าวโดยย่อก็คือ หากบารมี ๑๐ และจรณะ ๑๕ ไม่ขาดไม่พร่อง การเป็นโสดาบันจะเป็นเรื่องง่าย

   เพื่อนๆครับ บารมี ๑๐ ก็คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ  สัจจะ  อธิษฐาน  เมตตา  อุเบกขา

   มาถึงตอนนี้ อยากให้เข้าใจว่า การขอเป็นโสดาบันกับอาจารย์อุบลเป็นการสร้าง สัจจะบารมี และอธิษฐานบารมีไปพร้อมกัน  หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้อธิบายถึงประโยชน์ของการมีสัจจะบารมี และอธิษฐานบารมีไว้ว่า

   หากสัจจะบารมีเต็มแล้ว จะตัดความโลเล ไม่เอาจริงในผลการปฏิบัติได้
   หากอธิษฐานบารมีเต็มแล้ว  จะมีกำลัง คือ มีสติกำหนดรู้ในการกระทำ ทางกาย วาจา ใจว่า เราจักทำเพื่อพระนิพพานอยู่เสมอ ไม่คลอนแคลน

   กล่าวโดยสรุปก็คือ การทำให้บารมี ๑๐ เต็ม เป็นทางนำไปสู่โสดาบัน

   การปรารถนาเป็นโสดาบันเพื่อปิดประตูอบายภูมิของผมนั้น ได้ปรารถนามาหลายปีแล้วครับ  และผมได้ศึกษาวิธีเป็นโสดาบันมานานแล้วเหมือนกัน แต่อุปสรรคที่ผ่านมาก็คือ ความไม่มั่นใจในตนเอง จนกระทั้งได้พบกับกัลยาณมิตรสองท่าน การได้พบกัลยาณมิตรทั้งสองท่านเป็นการพบต่างกรรมต่างวาระ  ท่านหนึ่งได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการเป็นโสดาบันของผม  อีกท่านได้ช่วยหาวิธีรวมบารมีให้ผม ทั้งสองท่านได้สร้างกำลังใจให้กับผมเป็นอย่างมาก  ที่สุดแล้วก็ได้มาพบกับอาจารย์อุบลนี่ละครับ


วันที่ 23, 24 และ 25 เมษายน 2553 เข้าค่ายหนีกรรมผิวพรรณ

การเข้าค่ายครั้งนี้ เดิมทีผมไม่ได้มีความประสงค์ใดๆเลย ถึงแม้หน้าผมจะเป็นฝ้า ผมก็ทุกข์กับมันน้อยมาก แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้เนื่องจากอาจารย์อุบลได้เอ่ยปากเชิญผมโดยตรง

การเข้าร่วมครั้งนี้ของผม อยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์เสียส่วนใหญ่ เนื่องจากผมไปเช้าบ่ายกลับ ไม่ได้นอนค้างคืนที่นั่น กิจกรรมที่ผมได้ทำไปส่วนใหญ่ ผมจะอธิษฐานให้หายจากโรค และขอให้พบ มรรค ผล นิพพานโดยเร็ว

อีกอย่างหนึ่งที่ประทับใจ คือ การได้พบ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา และได้ฟังการบรรยายจากท่าน

วันที่ 28, 29 และ 30 เมษายน 2553 ใช้แรงกายเป็นทานครั้งที่สอง
ผมมาปฏิบัติภารกิจตามที่ให้สัจจะไว้ คือ ใช้แรงกายเป็นทาน ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สอง  ครั้งนี้ผมตั้งใจกว่าเดิม มาแต่เช้ากลับช่วงเย็นๆ จึงมีเวลาทำงานมากกว่าเดิม จากการสังเกตทุกครั้งที่มาบ้านสวนพีระมิด  เวลาทำงานจะรู้สึกไม่ค่อยเหนื่อยนัก เมื่อเทียบกับการทำงานที่อื่นๆ  และที่แปลกที่นี้จะมีลมพัดอยู่บ่อยๆ แถมมีเมฆบังดวงอาทิตย์หลายครั้ง ทำให้รู้สึกไม่ค่อยร้อน

ครั้งนี้เตรียมตัวมาเต็มที่ ขณะทำงานพยายามเจริญสติอยู่ตลอดเวลาเท่าที่จะทำได้  ผมบริกรรมคาถาพญาไก่เถื่อนเป็นวิหารธรรมในขณะทำงาน บางทีก็ท่องพุทโธ  การบริกรรมทำให้เจริญสติได้ดี บางครั้งก็ดูจิต บางครั้งก็ดูกาย บางครั้งก็ดูเวทนา  แล้วแต่อะไรจะเด่นขึ้นมา การเจริญสติของผมช่วยสร้างสมาธิในการทำงานได้เป็นอย่างดี เวลาผมเหนื่อยมากๆจนรู้สึกท้อใจ ผมจะแก้ด้วยการเร่งบริกรรมคาถา แต่บางครั้งก็บริกรรมไม่ได้ อาจเป็นเพราะเหนื่อยเกินไป ต้องเปลี่ยนไปอธิษฐานในใจว่า การทำงานครั้งนี้เพื่อพระพุทธเจ้า เพื่อในหลวง เพื่อชาติ  อันนี้เป็นอุบายเฉพาะตัวนะครับ  กับท่านอื่นๆไม่รับรองผลนะครับ

ตลอดสามวัน ผมทำงานกลางแดดเสียส่วนใหญ่  เหนื่อยก็พัก หายเหนื่อยก็ทำต่อ สลับกันไปแบบนี้
ปริมาณงานที่ได้ออกมา ประเมินด้วยความรู้สึกของผมเอง มีมากกว่าครั้งก่อนๆ ถึงแม้อากาศจะร้อนมาก แต่ก็มีลมพัดโชย และมีเมฆบังแดดอยู่หลายครั้ง ทำให้คลายร้อนไปได้มาก  ปรากฏการณ์ของลมและเมฆที่บ้านสวนพีระมิด ไม่น่าเป็นเรื่องบังเอิญ แต่น่าจะเป็นเจตนาของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติมากกว่า ผมรู้สึกอย่างนั้น

เจริญสติได้ดีขึ้น
หลังจากสามวันนั้นแล้ว ผมกลับมาสำรวจตัวเองแล้วพบว่า ผมเจริญสติได้ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน เห็นจิตตัวเองคิด เห็นกายตัวเองเคลื่อนได้ชัดเจนกว่าเมื่อก่อน สมาธิก็ดีขึ้น เวลานั่งจิตจะสงบเร็วกว่าเมื่อก่อน การเจริญพรหมวิหาร ๔ ก็ดีขึ้น การคิดถึงความตายก็คิดได้วันละครั้งสองครั้ง จากที่เมื่อก่อนไม่เคยคิดถึงความตายเลย

อยากจะบอกทุกท่านว่า การปฏิบัติธรรมของตัวผมเอง เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว เริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไปขอเป็นโสดาบันกับอาจารย์อุบลแล้วครับ ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อผม เรื่องนี้เป็นปัจจัตตัง รู้ก็รู้ด้วยตนเอง


เลิกกินยา เร่งปฏิบัติธรรม

สุดท้ายแล้วครับ เรื่องนี้อาจเป็นคำตอบที่หลายท่านสนใจ ท่านสงสัยไหมว่า หลังจากครบ 15 วัน โรคของผมไม่หาย แล้วผมทำอย่างไงต่อไป
 
ก่อนที่ผมจะไปพบอาจารย์อุบล ผมต้องกินยาสมุนไพรหลายขนานและผมต้องไปนวดประคบอาทิตย์ละครั้ง หากไม่กินยาและไม่นวด จะรู้สึกหนักๆไม่สบายตัวขึ้นมา

หลังจากได้กินข้าวกล้องแค็ปซูลเสริมพลังพีระมิดแล้ว อาการดีขึ้นแต่ไม่หายขาด ผมหันมากินสมุนไพรที่ผมเคยกินอยู่เดิมจนหมด โดยใช้เวลาประมาณสองสามวัน  จากนั้นก็หันมาตั้งใจปฏิบัติธรรมให้มากขึ้น
 
จากวันนั้นถึงวันนี้ประมาณหนึ่งเดือนแล้วครับ ที่ผมไม่ได้กินยา ไม่ได้ไปนวด  แต่อาการป่วยของผมในภาพรวมถือว่าดีกว่าเมื่อก่อน และก็ทรงตัวอยู่อย่างนี้ไม่ทรุดลงไปแต่อย่างใด

ผมเชื่อว่าการปฏิบัติธรรม และทำตามสัจจะที่ให้ไว้กับอาจารย์อุบลอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด จะช่วยรักษาโรคที่ผมเป็นอยู่ให้หายขาดได้  ท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อผมนะครับ  แต่ขออย่าได้ลังเลที่จะพิสูจน์ด้วยตนเอง

----------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลของอาจารย์
อาจารย์อุบล  ศุภเดชาภรณ์
ปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินรายการ “คุยไปแจกไป”ออกอากาศทาง MVTVช่องบางกอกทูเดย์
ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.  ออกอากาศซ้ำวันจันทร์ เวลา ๒๔.๐๐ – ๐๒.๐๐ น.
สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่  บ้านสวนพีระมิด ต.เขาเพิ่ม อ.บ้านนา จ.นครนายก
โทรศัพท์มือถือ. 081-820-8468 และ 081-919-6705
โทรศัพท์พื้นฐาน (037) 351-265-9
http://www.baansuanpyramid.com/

ข้อมูลผู้เขียน
นายณฐพลสรรค์  เผือกผาสุข
ปัจจุบันอยู่ บ้านเลขที่  69/2 หมู่ 10 ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา  30320
โทรศัพท์มือถือ. 089-823-6122
e-mail   nathaponson@gmail.com หรือ  nathaponson@yahoo.co.th
22152  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พรหมทัณฑ์ เป็นอย่างไร เมื่อ: เมษายน 21, 2010, 10:29:54 pm

พรหมทัณฑ์ เป็นอย่างไร

พรหมทัณฑ์, โทษอย่างสูงของสงฆ์
โทษอย่างสูง คือ สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดย
ภิกษุทั้งหลาย  พร้อมใจกันไม่พูดด้วย  ไม่ว่ากล่าวตักเตือน  หรือ
สั่งสอนภิกษุรูปนั้น,  พระฉันนะซึ่งเป็นพระเจ้าพยศ   ถือตัวว่า
เป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาก่อนใครอื่น  ใครว่าไม่ฟัง 
ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบหายพยศได้
 
# วินย. ๗/๖๒๔-๖๒๙; ที.ม. ๑๐/๑๔๑
--------------------------------------------------

[๖๒๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพระเถระทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อจวน
เสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ดูกร อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เมื่อเราล่วง
ไปแล้ว สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ

   พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือ ว่า พระพุทธเจ้าข้า
ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร 
 
   พระอานนท์ตอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วว่า  พรหมทัณฑ์เป็น
อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์  ภิกษุฉันนะพึงพูดตามปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงสั่งสอน ไม่  พึงพร่ำสอนภิกษุฉันนะ
   
   ท่านพระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านนั้นแหละจง ลงพรหมทัณฑ์
แก่พระฉันนะ
 

   พระอานนท์ปรึกษาว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ  ได้อย่างไร เพราะ
เธอดุร้าย หยาบคาย

   พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกับภิกษุ  หลายๆ รูป ท่าน
พระอานนท์รับเถระบัญชาแล้วโดยสารเรือไป พร้อมกับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมือง
โกสัมพี ลงจากเรือแล้วได้นั่ง ณ โคนไม้  แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน
ฯ 

            ลงพรหมทัณฑ์  
   [๖๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปยังวัดโฆสิตาราม ครั้นแล้ว   นั่งบนอาสนะที่เขา
ปูลาดไว้ ท่านพระฉันนะเข้าไปหาท่านพระอานนท์อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่าน
พระอานนท์ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านฉันนะ สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์
แก่ท่านแล้ว ฯ

   ฉ. ท่านพระอานนท์ ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร
   อา. ท่านฉันนะ ท่านปรารถนาจะพูดคำใด พึงพูดคำนั้น ภิกษุทั้งหลาย   ไม่พึงว่ากล่าว
ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอนท่าน 
   ฉ. ท่านพระอานนท์ ด้วยเหตุเพียงที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว ไม่ตักเตือน ไม่พร่ำสอน
ข้าพเจ้านี้ เป็นอันสงฆ์กำจัดข้าพเจ้าแล้วมิใช่หรือ แล้วสลบล้มลง   ณ ที่นั้นเอง

 
   ต่อมา ท่านพระฉันนะ อึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงหลีกออกอยู่แต่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ได้ ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม
เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออก  จากเรือนบวชโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ด้วยตนเองในปัจจุบันนี้แหละ   เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ   ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี
 
   ก็แล ท่านพระฉันนะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง บรรดาพระอรหันต์  ทั้งหลาย ครั้นท่าน
พระฉันนะบรรลุพระอรหัตแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว กล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ขอท่าน
จงระงับพรหมทัณฑ์แก่ผมในบัดนี้เถิด
 
   ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านฉันนะ เมื่อใด ท่านทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต   แล้ว เมื่อนั้น
พรหมทัณฑ์ของท่านก็ระงับแล้ว ฯ


ที่มา พระไตรปิฎก    ฉบับธรรมทาน
พระวินัยปิฎก  เล่ม ๗  จุลวรรค ภาค ๒ 


22153  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คว่ำบาตร เป็นอย่างไร เมื่อ: เมษายน 21, 2010, 10:25:23 pm

คว่ำบาตร เป็นอย่างไร

คว่ำบาตร,การที่สงฆ์ลงโทษอุบาสก
   การที่สงฆ์ลงโทษอุบาสกผู้ปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย 
โดยประกาศให้ภิกษุทั้งหลายไม่คบด้วยคือ ไม่รับบิณฑบาต
ไม่รับนิมนต์ ไม่รับไทยธรรม คู่กับ หงายบาตร
------------------------------------------------------ 

เหตุเกิดการคว่ำบาตร
   สมัยนั้น เจ้าวัฑฒะลิจฉวีเป็นสหายของพระเมตติยะ และ
พระภุมมชกะ  ได้เข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะ แล้ว
กล่าวว่า ผมไหว้ขอรับ เมื่อเธอกล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งสองรูปก็
มิได้ทักทาย ปราศรัย แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม...
เจ้าวัฑฒะลิจฉวีได้กล่าวว่า  ผมไหว้ขอรับ แม้ครั้งที่สาม
ภิกษุทั้งสองรูปก็มิได้ทักทายปราศรัย 

   ว. ผมผิดอะไรต่อพระคุณเจ้าอย่างไร ทำไม พระคุณเจ้าจึง
ไม่ทักทายปราศรัยกับผม 
   ภิกษุทั้งสองตอบว่า ก็จริงอย่างนั้นแหละ ท่านวัฑฒะ พวก
อาตมาถูก  พวกพระทัพพมัลลบุตรเบียดเบียนอยู่ ท่านยังเพิกเฉยได้   
   ว. ผมจะช่วยเหลืออย่างไร ขอรับ
   ภิ. ท่านวัฑฒะ ถ้าท่านเต็มใจช่วย วันนี้พระผู้มีพระภาค
ต้องให้พระทัพพมัลลบุตรสึก   
   ว. ผมจะทำอย่างไร ผมสามารถจะช่วยได้ด้วยวิธีไหน   
   ภิ. มาเถิด ท่านวัฑฒะ ท่านจงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว
กราบทูลอย่างนี้ว่า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย
ไม่มีจัญไร ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ
สถานที่ไม่มีลม บัดนี้กลับมีลมแรงขึ้น ประชาบดีของหม่อมฉัน
ถูกพระทัพพมัลลบุตรประทุษร้าย คล้ายน้ำถูกไฟเผาพระพุทธเจ้าข้า.


   เจ้าวัฑฒะลิจฉวีรับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะ แล้ว
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า กรรมนี้ไม่แนบเนียน... บัดนี้กลับมีลม
แรงขึ้น ประชาบดีของหม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรประทุษร้าย
คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า ฯ   
   ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระทัพพมัลลบุตรว่า ดูกรทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำ
กรรมตามที่เจ้าวัฑฒะลิจฉวีนี้  กล่าวหา  ท่านพระทัพพมัลลบุตร
กราบทูลว่า
    ทัพพ. ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว แม้โดยความฝัน ก็ยัง
 ไม่รู้จักเสพเมถุนธรรม จะกล่าวไยถึงเมื่อตื่นอยู่เล่า พระพุทธเจ้าข้า

   ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงคว่ำบาตรเจ้า
วัฑฒะลิจฉวี คือ อย่าให้คบกับสงฆ์,ไม่รับบิณฑบาต,ไม่รับนิมนต์ ฯ    
   ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกแล้วถือบาตร
จีวร  เข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าวัฑฒะลิจฉวี ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะ
เจ้าวัฑฒะลิจฉวีว่า 
   ท่านวัฑฒะ สงฆ์คว่ำบาตรแก่ท่านแล้ว ท่านคบกับสงฆ์ไม่ได้
พอเจ้าวัฑฒะลิจฉวีทราบข่าวว่า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เราแล้ว เราคบ
กับสงฆ์ไม่ได้แล้ว ก็สลบล้มลง ณ ที่นั้นเอง.


         องค์แห่งการคว่ำบาตร 
   สงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ: 
      ๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย   
      ๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย   
      ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย 
      ๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย 
      ๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
      ๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า   
      ๗. กล่าวติเตียนพระธรรม 
      ๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คว่ำบาตรแก่อุบาสก
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯ 

ที่มา   พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
#วินย. ๗/๑๑๐-๑๑๕.
พจน.พุทธ.ประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

22154  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / อนันตริยกรรม ๕ และ อภิฐาน ๖ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เมื่อ: เมษายน 20, 2010, 09:06:31 pm


อนันตริยกรรม ๕ และ อภิฐาน ๖ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ครุกรรมหรือครุกกรรม คือ กรรมหนักเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล.
   
ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศลพึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม
เช่น ฌานสมาบัติ

   ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริยกรรม ๕.
   เมื่อครุกรรมนั้นมีอยู่  กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือ
จะไม่สามารถให้ผลได้.
 
   ครุกรรมแม้ทั้งสองอย่างนั้นแหละ จะให้ปฏิสนธิ.
   อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณ
เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอยขึ้น
เหนือน้ำได้  จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว  ฉันใด    ในกุศลกรรมก็ดี
อกุศลกรรมก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนัก เขาจะถือ
เอากรรมฝ่ายนั้นแหละไป.

   หรือกรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอา
วัตถุต่าง ๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นย่อมถึงพื้นก่อน.


ที่มา  พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
# ๑. องฺ.อ. ๑/๓/๑๒๑-๑๓๓.  ๒. วิสุทธิ.  ๓/๒๒๓

----------------------------------------------------------------- 

มาตริสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ย่อม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่ามารดา ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าบิดา ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าพระอรหันต์ ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วยจิตประทุษร้าย ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑
 เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถือศาสดาอื่น ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลายฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ

ที่มา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=10326&Z=10333&pagebreak=0

-----------------------------------------------------------------   

อนันตริยกรรม ๕ (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที)

๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา)
๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา)
๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์)
๔. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป)
๕. สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์)


อภิฐาน ๖ (กรรมที่เด่นยิ่งกว่ากรรมอื่นๆ, ฐานะอันยิ่งยวด, ฐานอันหนัก, ความผิดพลาดสถานหนัก)

อภิฐาน ๕ ข้อแรก ตรงกับ อนันตริยกรรม ๕ คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท และ สังฆเภท   เพิ่มข้อ ๖ คือ

๖. อัญญสัตถุทเทส (ถือศาสดาอื่น คือ ถือถูกอยู่แล้ว กลับไพล่ทิ้งไปถือผิด)

อภิฐานนี้ ในบาลีที่มาเดิม เรียกว่า อภัพพฐาน (ฐานะที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ไม่อาจจะกระทำ คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ)
 
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
----------------------------------------------------------------- 



22155  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / การไปเผาศพได้อานิสงส์อะไร เมื่อ: เมษายน 20, 2010, 08:59:25 pm

การไปเผาศพได้อานิสงส์อะไร

          ถาม  ช่วยเล่าอานิสงส์ของการไปเผาศพให้ทราบด้วยว่า ได้บุญอย่างไร

          ตอบ  สำหรับเรื่องไปเผาศพนี้ ถ้าจะพิจารณาดูแล้วก็คิดว่าคงจะได้อานิสงส์ ๔ ประการคือ

          ๑. ได้บำเพ็ญญาติธรรมหรือมิตรธรรม คือแสดงน้ำใจของญาติของมิตรต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือต่อบุตรภรรยาสามีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

          ๒. ได้เจริญสังเวคธรรม คือธรรมที่ให้เกิดความสลดสังเวชว่า แม้เราเองก็ต้องเป็นอย่างนี้ คือต้องตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ ไม่มีใครหลีกหนีความตายไปได้พ้น เพราะฉะนั้น เมื่อมีชีวิตอยู่จึงควรทำแต่ความดี ตายแล้วก็ยังมีคนชื่นชมยกย่อง ไม่ใช่ตายแล้วมีแต่คนสาบแช่ง สมน้ำหน้าว่า คนอย่างนี้ตายเสียได้ก็ดี แผ่นดินเบาไปแยะเป็นต้น

          ๓. เป็นการเจริญอนิจจสัญญา คือเห็นความจริงของสังขารรูปนาม อันประกอบไปด้วยกายและใจนี้ว่าไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ต้องดับ มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ไม่ยั่งยืนคงทน

          ๔. สำหรับในสถานที่ที่เผาศพกันกลางแจ้ง ก็อาจเจริญอสุภสัญญา คือความเห็นว่าร่างกายนี้ไม่งามได้ด้วย อย่างในประเทศอินเดียเขาเผาศพกันกลางแจ้ง ริมฝั่งแม่น้ำที่เขาเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ มีแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ซึ่งผู้ที่เข้าใจสามารถเจริญอสุภสัญญาได้เสมอ
________________________________________
ที่มา    หนังสือนานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม
อ้างอิง และแนะนำ :-
          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
          ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
          ติโรกุฑฑกัณฑ์ในขุททกปาฐะ
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=25&A=155&Z=194
          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
          อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
          สัญญาสูตรที่ ๒
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=1076&Z=1220
          พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
          พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
          คำว่า สังเวค
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังเวค
          พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
          พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
          คำว่า กถาวัตถุ 10
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ_10&detail=on
          คำว่า สัญญา 10
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัญญา_10&detail=on
     

22156  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ที่มาของคำว่า "กิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘" เมื่อ: เมษายน 20, 2010, 08:55:41 pm

ขอทราบการนับกิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘

          ถาม  ขอให้นับกิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ ให้ทราบด้วย

          ตอบ  ก่อนอื่นขอพูดถึงกิเลส ๑๐ ก่อนว่ามีอะไรบ้าง
       
 กิเลส ๑๐ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะและถีนะ
         
ในปรมัตถธรรมทั้ง ๔ เว้นนิพพาน คงนับจิตทั้งหมดเป็น ๑
         
เจตสิก ๕๒ นับทั้ง ๕๒
         
รูป ๒๘ นับเพียง ๒๒ รูป คือ นิปผันนรูป ๑๘ กับลักษณะรูป ๔
         
รวมนับจิต ๑ รวมกับเจตสิก ๕๒ รูป ๒๒ เป็น ๗๕
         
ส่วนกิเลส ๑๐ นั้นมีทั้งที่เกิดขึ้นในสันดานของตนเองและในสันดานของคนอื่น กิเลส ๑๐ คูณด้วย

สภาวะธรรม ๗๕ เป็น ๗๕๐ เกิดขึ้นในสันดานของตนเอง ๗๕๐ เกิดขึ้นในสันดาน ของคนอื่นอีก ๗๕๐

จึงรวมเป็นกิเลส ๑๕๐๐

          ขออธิบายเพิ่มเติมว่า กิเลส ๑๐ ยึดถือสภาวะธรรม ๗๕ นี้เป็นอารมณ์ กิเลส ๑๐ คูณด้วย

อารมณ์ ๗๕ เป็น ๗๕๐ คูณด้วยภายในภายนอก ๒ จึงเป็น ๑๕๐๐


          คราวนี้เป็นการนับตัณหา ๑๐๘
         
ตัณหานั้นท่านจัดไว้ตามธรรมดาเป็น ๓ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ นี้ เกิดขึ้นเพราะ

อาศัยอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ๓ คูณด้วย ๖ จึงเป็น ๑๘ ตัณหา

๑๘ นี้เกิดขึ้นได้ในกาล ๓ คือ อดีต ๑๘ ปัจจุบัน ๑๘ รวมเป็น ๕๔
         
ตัณหา ๕๔ นี้เกิดขึ้นภายในตน ๑ ภายนอกตน ๑ จึงเป็นตัณหาภายใน ๕๔ ภายนอก ๕๔
         
๕๔ รวมกับ ๕๔ เป็นตัณหา ๑๐๘
         
 สรุปว่าตัณหา ๓ คูณด้วยอารมณ์ ๖ คูณด้วยกาล ๓ เป็น ๕๔ คูณด้วยภายใน ภายนอก ๒ จึงเป็น ๑๐๘

________________________________________

ที่มา   หนังสือ นานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม
อ้างอิง และแนะนำ :-
          พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
          พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
          คำว่า กิเลส 1500
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิเลส_1500
          คำว่า ตัณหา 108
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ตัณหา_108
     
22157  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เหตุใด พระพุทธเจ้า ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่เชื้อเชิญ บุคคลใดเลย เมื่อ: เมษายน 20, 2010, 08:49:47 pm

เหตุใด พระพุทธเจ้า ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่เชื้อเชิญ บุคคลใดเลย

เรื่องเวรัญชพราหมณ์

   [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์

สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์

ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล

ประทับอยู่ ณ บริเวณต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้ว

อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ

แม้เพราะเหตุนี้ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบ

โลกแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็น

ศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพระ

ผู้มีพระภาคแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด

ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทพ

และมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็น

ปานนั้น เป็นความดี.

            

เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า

   [๒] หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค

ว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณะโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่

ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้

นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้

ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
   
   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควร

ลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะว่า ตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญ

บุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป
.


ที่มา    พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

---------------------------------------------------------------------------- 

ใครเคยอ่านหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่เกี่ยวกับองค์ปฐม จะทราบว่า
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จะไหว้พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

22158  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ควรเชื่อฤกษ์ยามหรือไม่ เมื่อ: เมษายน 20, 2010, 08:42:56 pm



ควรเชื่อฤกษ์ยามหรือไม่
          ถาม
          ๑. เรื่องการเริ่มกิจการงานต่างๆ ต้องดูฤกษ์ยาม วันเวลา อาจารย์คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
          ๒. อาจารย์มีความเชื่อเรื่องนี้หรือไม่ และอาจารย์เคยทำหรือไม่ หมายความว่า อาจารย์เคยหรือไม่ ที่ว่าการเริ่มกิจการงานของอาจารย์เคยเลือกวันเวลา ตามหลักทำนายของโหราศาสตร์


          ความจริงผมไม่เชื่อเรื่องนี้เท่าไร ผมเชื่อหลักกรรมเหตุผลตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่มันก็ยังรู้สึกติดใจตัดไม่ออก เพราะผมปฏิบัติกันมาแต่เด็กๆ และแม้แต่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่บางท่านก็ยังดูฤกษ์ ดูดวงให้ศรัทธาประชาชน ผมขอคำแนะนำของอาจารย์และผมจะปฏิบัติตาม ถ้าอาจารย์เห็นว่าควรทำ

          ตอบ  เรื่องของการดูฤกษ์ยามเวลาจะเริ่มทำกิจการงานต่างๆ นั้น ถ้าดูแล้วทำให้สบายใจ และไม่ทำให้เดือดร้อนก็ทำเถิด แม้บางครั้งจะไร้สาระ แต่มีประโยชน์แก่จิตใจก็ทำตามสบาย ขอเพียงอย่าถึงกับเชื่อมั่นคงว่า ถ้าทำไม่ได้ตามฤกษ์ตามยามนั้นแล้วทุกอย่างจะล้มเหลว เพราะจริงๆ แล้วการดูฤกษ์ยามเป็นเพียงการช่วยให้เกิดความมั่นใจส่วนหนึ่งเท่านั้น

          แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าลืมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า เวลาที่สัตว์ประพฤติชอบชื่อฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดีเป็นต้น ซึ่งหมายความว่า เมื่อบุคคลประพฤติดีประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นแหละเป็นฤกษ์ดี มงคลดีสำหรับบุคคลนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นการทำความดีจึงไม่ควรรอเวลา เพราะทำเมื่อไรก็เป็นความดีเมื่อนั้น


          แม้ในนักขัตตชาดก เอกนิบาตชาดกข้อ ๔๙

          พระพุทธเจ้าของเรา สมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็ได้กล่าวคาถาสอนชาวเมืองผู้มัวแต่ถือฤกษ์ยามอยู่ จึงพลาดจากประโยชน์ที่ตนจะได้รับไป

          ท่านกล่าวสอนว่า “ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ผู้มัวคอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดาวดวงจักทำอะไรได้”


          แล้วท่านก็อธิบายให้ฟังว่า “คนโง่มัวแต่รอฤกษ์อยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในเวลานี้ ปล่อยเวลาให้ผ่านไปด้วยการอคอย ประโยชน์ที่เขาความจะได้รับ ก็ได้ผ่านเลยไปเสีย ในช่วงเวลาที่เขารอคอยอยู่นั่นแหละ ดวงดาวในอากาศจักยังประโยชน์ให้สำเร็จได้อย่างไร การกระทำของตนต่างหากที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ”

          และถ้าเราคิดถึงเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง บางครั้งในขณะที่เรามัวรอฤกษ์งามยามดีอยู่นั่นแหละ เราก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน โดยที่ยังมิได้ทำตามที่ตั้งใจเลย เพราะฉะนั้น ถ้าจะทำความดีแล้ว ไม่จะเป็นต้องรอฤกษ์รอยามเลย จงทำทันทีจะดีกว่า ทั้งชื่อว่าได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างถูกต้องด้วย

          ในส่วนตัวนั้น ก็อาจจะเคยเชื่อฤกษ์ยามมาบ้าง เพราะเชื่อตามผู้ใหญ่ แต่เมื่อศึกษาพระธรรมจนพอเข้าใจแล้ว ก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องฤกษ์ยามแต่ถือฤกษ์สะดวก คือความพร้อมของตนเป็นสำคัญ หรือถ้างานนั้นต้องทำหลายคน ก็ถือเอาความสะดวกของทุกคนเป็นสำคัญ สะดวกและพร้อมเมื่อใดก็ทำเมื่อนั้น ไม่ต้องไปดูฤกษ์ดูยามให้ยุ่งยากใจ

________________________________________
ที่มา  หนังสือ นานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม
อ้างอิง และแนะนำ :-
          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
          อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
          สุปุพพัณหสูตร
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=20&A=7802&Z=7826
          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
          ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
          นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=27&A=323&Z=327
          อรรถกถา นักขัตตชาดก
          ว่าด้วย ประโยชน์คือฤกษ์
http://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270049

     
22159  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “ปัญจมหาวิโลกนะ” และ “๗ สหชาติ” ของพระสมณโคดม เมื่อ: เมษายน 07, 2010, 08:05:36 am

 “ปัญจมหาวิโลกนะ” และ “๗ สหชาติ” ของพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)

ก่อนการประสูติของพระพุทธเจ้า

ใน กาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้า บังเกิดเป็นสันตุสิตเทวราชเสวยทิพยสมบัติอยู่ในรัตนวิมานสวรรค์ ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม และเทวราชในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า ชวนกันไปเผ้ากราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ให้จุติลงไปบังเกิดทั้งสองประชากร ให้รู้ธรรม และประพฤติธรรม สมดังที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีตั้งพระทัยไว้แต่แรก


พระบรมโพธิสัตว์เจ้า ยังมิได้รับอาราธนาของทวยเทพทั้งหลายทรงพิจารณาดู

"ปัญจมหาวิโลกนะ" หมายถึงสิ่งที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาข้อตรวจสอบที่สำคัญหรือ "การตรวจดูอันยิ่งใหญ่ ๕ อย่าง" ก่อนที่จะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้ามี ๕ อย่างคือ

๑. กาล ๒.ทวีป ๓.ประเทศ ๔.ตระกูล ๕.มารดา พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงเลือกดังนี้

๑. กาล ทรงเลือกอายุกาลของมนุษย์
๒. ทวีป ทรงเลือกชมพูทวีป
๓. ประเทศ ทรงเลือกมัธยมประเทศ
๔. ตระกูล ทรงเลือกตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์
๕. มารดา ทรงเลือกมารดาที่มีศีลห้าบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป และกำหนดอายุของมารดา ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา


การที่ทรงเลือก อายุกาลมนุษย์ เพราะอายุมนุษย์ขึ้นลงตามกระแสสังขาร บางยุคอายุ ๘ หมื่นปี ๔ หมื่นปี ๒ หมื่นปี อายุกาลของมนุษย์ในยุคนั้น ๑๐๐ ปีตรงตามที่ทรงกำหนดไว้คือต้องไม่สั้นกว่าร้อยปี ต้องไม่ยาวเกินแสนปี ที่ทรงเลือกอายุ ๑๐๐ ปีเพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เหตุที่ไม่ตรัสรู้บนสวรรค์ทั้งนี้เพราะเทวดาไม่เห็นทุกข์มีแต่สุข อายุยืนยาวนานนัก จะไม่เห็นอริยสัจ การตรัสรู้ธรรมและแสดงธรรมได้ผลดีมากในเมืองมนุษย์

การที่ทรงเลือกชมพูทวีป ซึ่งแปลว่า "ทวีปแห่งต้นหว้า" เพราะมีต้นหว้าขึ้นมากในดินแดนแห่งนี้ แผ่นดินชมพูทวีปในยุคนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียในปัจจุปันมากนัก มีดินแดนกินประเทศอื่นในปัจจุบันอีก ๖ ประเทศ คือ


๑.ปากีสถาน
๒. บังกลาเทศ
๓. เนปาล
๔.ภูฏาน
๕.สิขิม
๖. บางส่วนของอัฟกานิสถาน (แคว้นกัมโพชะ ในมหาชนบท ๑๖ ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน)


ชมพูทวีปครั้งพุทธกาลแบ่ง เป็นหลายอาณาจักร เป็นมหาชนบท ๑๖ แคว้น และยังปรากฎอีก ๔ แคว้นในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาณาจักรเหล่านี้มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชาบ้าง ราชาบ้างมีอธิบดีบ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิขาดบ้างโดยสามัคคีธรรมบ้าง บางคราวตั้งเป็นอิสระ บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่นตามยุคตามสมัย

คนใน ชมพูทวีปแบ่งเป็นชนชั้น ที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทรคนในชมพูทวีปสนใจในวิชาธรรมมาก มีคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิต่าง ๆ มากมาย เกียรติยศของศาสดาเจ้าลัทธิเจ้าสำนักผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินหรือมากยิ่งกว่า

การที่ทรงเลือกมัธยมประเทศ เพราะชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ จังหวัด เหนือ ๑ อาณาเขต
อาณาเขตในคือ มัชณิมชนบทหรือมัธยมประเทศเป็นถิ่นกลางที่ตั้งแห่งนครใหญ่ ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่ของนักปราชญ์ผู้มีความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยาการ เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกอารยันหรืออริยกะ รูปร่างสูง ผิวค่อนข้างขาวเป็นพวกที่มีความเจริญไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม ทรงกำหนดกรุงกบิลพัสดุเป็นที่บังเกิด
ส่วนอาณาเขตนอก เรียกว่าปัจจันตชนบทหรือประเทศปลายแดนเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปร่างเล็กผิวดำ จมูกแบน เป็นพวกเชื้อสายดราวิเดียนหรือพวกทมิฬในปัจจุบัน


การที่ทรงเลือกอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา เพระทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมบัติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูล พราหมณ์ และศากยสกุลเป็นตระกูลที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร ถ้าไม่บริสุทธิ์ก็ยากที่จะมีคนเคารพนับถือ การเผยแผ่ศาสนาจะทำได้ยาก เพราะคนในสมัยนั่นถือชั้นวรรณะกันมากจึงเลือกวรรณะกษัตริย์ ที่สูงสุด เพราะไม่ใช่เพื่อตรัสรู้อย่างเดียว ทรงประประสงค์สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนด้วย

การ ที่ทรงเลือกมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่ไม่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาเป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์


ทรงรับคำเชิญ แล้วจุติมากำเนิดในตระกูลกษัตริย์ศากยะ ณ กรุงกบิลพัสดุ์

พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อน มลทินโทษ มิฉะนั้น จะยากแก่การเผยแผ่ศาสนาจะถูกโจมตี พระนางสิริมหามายา ได้อธิฐานไว้ว่า ขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้าเมื่อประสูติ พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ ๗ วันก็เสด็จทิวงคต เพระสงวนไว้สำหรับประสูติพระพุทธเจ้าองค์เดียว ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลกตามประเพณีพระพุทธมารดาไม่ได้เป็น หญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพระอธิษฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า


"๗ สหชาติ ของพระพุทธเจ้า"


ครั้น พระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ถึงกำหนดพระประสูติกาล ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา) เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางประชวรพระครรภ์ บรรดาข้าราชบริพาลก็รีบจัดที่ประสูติถวายภายใต้ต้นสาละใหญ่

กาลเวลา นั้นแดดอ่อน ดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญเดือน ๖ พระจันทร์จักโคจรเต็มดวงในยามเที่ยงคืน ชมพูทวีปเริ่มมีฝนอากาศโปร่ง ต้นไม้ในอุทยานป่าสาละกำลังผลิดอกออกใบอ่อน ดอกสาละ ดอกจำปาป่า ดอกอโศก และดอกไม้นานาพรรณกำลังเบ่งบานส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ พระหัตถ์ซ้ายปล่อยตก ประสูติพระโอรสโดยสะดวก


พอประสูติจากพระครรภ์พระ มารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว

ในวันเพ็ญเดือน ๖ วันที่พระกุมารประสูตินั้น มีมนุษย์และสัตว์กับสิ่งซึ่งเป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมถึง ๗ อัน "สหชาติ" นั้นหมายถึงผู้เกิดร่วมด้วย ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ

๑. พระนางพิมพา

หรือ พระนางยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของประเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเมื่อมีประชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา

๒. พระอานนท์

เป็น เจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธศาสนาและได้รับเลือก เป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลาย ด้าน ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนาท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ


๓. นายฉันนะ

เป็น อำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิ ทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไปฟังเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้า กัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา

๔. อำมาตย์กาฬุทายี

เป็น พระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไป ทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดา ที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส
 


๕. ม้ากัณฐกะ

ม้า พระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง ๑๘ ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตายเนื่อง จากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"
 

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ใต้ต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

๖. ต้นมหาโพธิ์


เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มี พระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ ๓๐๕ ปี (ต้นโพธิ์ตรัสต้นที่ ๒ มีอายุ ๘๙๑ ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ ๑,๒๒๗ ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ ๔ ปลูกราว พ.ศ. ๒๔๓๔)


ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็น โพธิบัลลังก์ ตกเย็นพญามารก็กรีฑาพลมาขับไล่

๗. ขุมทรัพย์ทั้งสี่

ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ หรือนิธิกุมภี คือขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี

ที่มา  http://www.masteryuk.net/bb6/viewtopic.php?f=5&t=97&start=10#p235

22160  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิปัสสนาแบบธรรมชาติ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เมื่อ: เมษายน 06, 2010, 10:28:00 am
วิปัสสนาแบบธรรมชาติ
คำเทศนาของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ท่านใดชื่นชอบความเป็นธรรมชาติ  มีจริตที่เรียบง่าย ไม่ชอบทำตามรูปแบบ แต่ชอบทำตัวกลมกลืนกับธรรมชาติ เชิญทางนี้เลยครับ


   
  นักวิปัสสนาที่ยังต้องอาศัยเวลาที่สงัด ยังต้องยึดแบบนั้น ท่านว่ายังไกลมรรคผลมาก นักวิปัสสนา

ที่เข้าระดับวิปัสสนาจริง ท่านเอาธรรมชาติที่ปรากฏเฉพาะหน้าเป็นเครื่องพิจารณา ขั้นแรกจงเข้าใจคำ

ว่า "วิปัสสนาเสียก่อน" คำว่า "วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง" วิปัสสนาท่านแปลว่า

อย่างนั้น หรือจะพูดเป็นภาษาไทยแท้ก็ได้ความว่า ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เมื่อได้ความอย่างนี้แล้ว

 การเจริญวิปัสสนาก็ไม่มีอะไรยาก ความจริงวิปัสสนานี้มีวิธีเจริญง่ายมาก ง่ายกว่าระดับสมาธิมาก คือยก

อารมณ์ให้เข้าถึงความเป็นจริง คล้อยตามความเป็นจริง ไม่ฝืนความจริง รับรู้รับทราบตามกฎของความ

เป็นจริงตลอดเวลา และไม่พยายามฝ่าฝืนกฎธรรมดาเป็นอันขาด


กฎธรรมดา

      กฎของธรรมดามีอย่างนี้ ไม่ว่าอะไรที่เราได้มา หรือเห็นอยู่ ตามกฎที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ เมื่อมัน

เกิดมาใหม่ มันเป็นของใหม่ แต่ต่อไปมันจะค่อยๆ เก่าลงทุกทีตามวันเวลาที่ล่วงไปแล้ว ในที่สุดมันก็จะ

ต้องแตกทำลาย สิ่งที่มีชีวิตต้องตาย สิ่งที่ไม่มีชีวิตต้องผุพัง กฎธรรมดามีเท่านี้ จะเป็นใครก็ตามแม้แต่

ตัวเรา ลูกเรา หลานเรา ไม่ว่าท่านผู้วิเศษที่ไหน เป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด จำเข้าไว้และคิดคำนึงไว้

เป็นปกติ อย่าคิดเฉย พยายามทำอารมณ์จิตให้เข้าระดับจริงๆ คือคิดแล้วปลงด้วย โดยปลงว่า

 ก็อะไรๆ มันไม่แน่นอนอย่างนี้ เราควรหรือที่จะยึดจะเกาะสิ่งทั้งหมดที่เห็น ที่มีอยู่และกำลังจะมีว่า มัน

เป็นเรา เป็นของเรา ถ้าคิดอย่างนั้นมันก็ผิดถนัด เป็นการหลอกหลอนตัวเอง เพราะมันต้องเก่า ต้อง

ทำลาย เมื่อมันมีสภาพอย่างนี้ทั้งหมดโลก ก็การเกิดในโลกที่เต็มไปด้วยความกลับกลอกหลอกหลอน

โกหกมดเท็จอย่างนี้ มีอะไรเป็นของน่ารัก น่าทะนุถนอม น่าปรารถนาบ้าง พยายามคิดๆ ให้เห็นว่า ความ

จริงมันน่าเบื่อจริงๆ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ แม้แต่วัตถุที่ไม่มีวิญญาณ หาอะไรคงสภาพไม่มี พยายามแสวงหา

สะสมกันเสียพอแรงแต่แล้วก็ผิดหวัง เมื่อจะหามา เลือกแล้วเลือกอีก เอาสวยๆ งาม ที่สุดเท่าที่จะหาได้

ดูทนทานแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะมีในโลกนี้ แล้วมีอะไรเกิดขึ้น เมื่อได้มาแล้วมันจะค่อยๆ คลายความสวย

ลง แล้วก็เริ่มคร่ำคร่าลงทุกวันทุกเวลา ในที่สุดก็พัง โลกคือความโกรธเต็มไปด้วยความคร่ำคร่าผุพัง น่า

เบื่อหน่าย น่าเอือมระอาเป็นที่สุด ต่อมาเมื่ออาการพังทลายปรากฎทำจิตอย่าให้หวั่นไหว เพราะเราทราบ

แล้วว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น ยิ้มรับความสลายตัวของทรัพย์สินด้วยอารมณ์ชื่นบาน และรับทราบมีอารมณ์

ปกติเมื่อความตายมาถึงตน มีความชื่นบานด้วยความคิดว่าดีแล้ว


    โลกที่ศิวิไลซ์ด้วยความปลิ้นปล้อนตลบตะแลง เราสิ้นชาติสิ้นภพกันที การสิ้นลมปราณคราวนี้

เป็นการสิ้นทุกอย่าง เราจะไม่มีทุกข์อีก เพราะเราไม่ปรารถนาความเกิดอีก ขึ้นชื่อว่าชาติภพความเกิด จะ

เกิดในแดนใดเราไม่ต้องการ มีสถานเดียวคือพระนิพพานเท่านั้น เป็นสถานที่เราปรารถนา ทำอารมณ์

พอใจในพระนิพพานให้เป็นปกติ สร้างความรู้สึกตามกฎธรรมดา รู้เกิด รู้เสื่อม รู้สลายของของทุกชนิด

จนมีอารมณ์ปกติ ไม่หวั่นไหวในเมื่อมรณภัยมาถึง สมบัติ ญาติ บุตร สามี ภรรยา ในที่สุดแม้แต่ตัวเรา

อารมณ์เป็นปกติอย่างนี้ตลอดวัน ไม่ดีใจในเมื่อมีลาภ ได้ยศ รับคำสรรเสริญ มีความสุข ไม่หวั่นไหวใน

เมื่อสิ้นลาภสิ้นยศ ถูกนินทา มีความทุกข์ เท่านี้น่าภูมิใจได้แล้ว ท่านสิ้นภาระในทุกขภัยแล้ว ต่อไปท่าน

มีพระนิพพานเป็นที่ไปแน่นอน นักวิปัสสนาญาณเจริญอย่างนี้โดยที่เห็นรูปกระทบตลอดวัน ท่านจึงจะ

นับว่าเป็นนักวิปัสสนาญาณแท้ และเข้าวิปัสสนาจริง ถ้ายังรอวัน รอเวลาหาที่สงัดอยู่แล้ว ยังหรอกท่าน

ยังไกลคำว่า วิปัสสนามากนัก ขอยุติวิปัสสนาตามธรรมชาติโดยย่อไว้เพียงเท่านี้

 

อ้างอิง "คู่มือนักปฏิบัติพระกรรมฐาน" ลพ.ฤาษีลิงดำ
ที่มา  เว็บพระรัตนตรัย.คอม
http://www.praruttanatri.com/book.php



 
หน้า: 1 ... 552 553 [554] 555 556