ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากเข้าใจเรื่องกรรม และ ดวง ถ้าจะโทษกรรม โทษดวง ควรรู้เรื่องกรรมก่อน  (อ่าน 2592 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตอบปัญหาจากเมล

ปุจฉา ดวง กับ กรรม ต่างกันอย่างไร ครับ เพราะเวลาที่เราโชคร้าย ก็จะโทษ ดวง บ้าง บางคนก็กล่าว เพราะกรรม บ้าง อันที่จริงแล้วควรกล่าวอย่างไรจึงจะูถูกในหลักศาสนาครับ

วิสัชชนา ตอบตามพระสูตร เลยก็แล้วกัน อ่านไม่เข้าใจ ก็ถามเพิ่มเติม ก็แล้วกันนะจ๊ะ

 
                ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ 3 ลัทธิเหล่านี้มีอยู่.
 เป็นลัทธิ ซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร
 แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไปเพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง.
 ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ 3 ลัทธินั้นเป็นอย่างไรเล่า ? 3 ลัทธิคือ
(1)
 สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า
 “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
 ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน” ดังนี้.
(2)
 สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า
 “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
 ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการบันดาลของเจ้าเป็นนาย” ดังนี้.
(3)
 สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า
 “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข หรือได้รับทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
 ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง 3 นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า
 “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์  หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
 เพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียว”  มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว
 เรากล่าวกับเขาว่า
“ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์…ลักทรัพย์…ประพฤติผิดพรหมจรรย์…พูดเท็จ …
 พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ…มีใจละโมบเพ่งเล็ง…มีใจพยาบาท …
 มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน.
เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว
 คนเหล่านั้น ก็ไม่มีความอยากทำ  หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า
 สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ)  สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ  ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว
 คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น
 ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง 3 นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า
 “บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์  หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
 ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้ (อิสฺสรนิมฺมานเหตูติ)”  ดังนี้  มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว
 เรากล่าวกะเขาว่า
“ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์…ลักทรัพย์…ประพฤติผิดพรหมจรรย์…พูดเท็จ …
 พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ…มีใจละโมบเพ่งเล็ง…มีใจพยาบาท …
 มีความเห็นวิปริต เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้องเป็นเพราะการเนรมิตของอิศวรด้วย.
ก็เมื่อมัวแต่ถือเอาการเนรมิตของอิศวร มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว
 คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า
 สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ  (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ  ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว
 คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น
 ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง 3 นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า
 “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
 ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย” ดังนี้ มีอยู่.
เราเข้าไปหาสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว  สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว
 เรากล่าวกะเขาว่า
“ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์…ลักทรัพย์…ประพฤติผิดพรหมจรรย์…พูดเท็จ …
 พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ…มีใจละโมบเพ่งเล็ง…มีใจพยาบาท …
 มีความเห็นวิปริต เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้องไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลยด้วย.
ก็เมื่อมัวแต่ถือเอาความไม่มีอะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว
 คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำ
 ในข้อที่ว่าสิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ  ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว
 คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น
 ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้.

- ติก. อํ. 20/224/501

เนื้อหานี้นำมาจาก

http://watnapp.com/read/karma/i020/
                            
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Be-boy

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

1.ดวง กับ กรรม ต่างกันอย่างไร ครับ

2.เพราะเวลาที่เราโชคร้าย ก็จะโทษ ดวง บ้าง บางคนก็กล่าว เพราะกรรม บ้าง อันที่จริงแล้วควรกล่าวอย่างไรจึงจะูถูกในหลักศาสนาครับ

3.แล้ว ถ้า ดวง หรือ กรรม ไม่ดี จะทำอย่างไรดีครับ



อยากให้พระอาจารย์ พิจารณาคำถามแล้วตอบอีกครั้งครับ เพราะผมอ่านไม่ีค่อยจะเข้าใจกับพระสูตรครับ

บันทึกการเข้า
ออกกำลังกายเคลื่อนไหว เป็นสติครับ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

1.ดวง กับ กรรม ต่างกันอย่างไร ครับ

2.เพราะเวลาที่เราโชคร้าย ก็จะโทษ ดวง บ้าง บางคนก็กล่าว เพราะกรรม บ้าง อันที่จริงแล้วควรกล่าวอย่างไรจึงจะูถูกในหลักศาสนาครับ

3.แล้ว ถ้า ดวง หรือ กรรม ไม่ดี จะทำอย่างไรดีครับ



อยากให้พระอาจารย์ พิจารณาคำถามแล้วตอบอีกครั้งครับ เพราะผมอ่านไม่ีค่อยจะเข้าใจกับพระสูตรครับ
   1. ดวง ก็คือผลของกรรม เรียกว่า วิบาก ที่ได้กระทำไว้แล้ว แต่อดีต
       กรรม ก็คือการกระทำ ที่นำไปสู่ดวง
       ส่วนอำนาจของกรรม ขึ้นอยู่กับกิเลส
   
       ดวง กับ กรรม ต่างกันด้วยเหตุผลตรงนี้

  2. เวลาที่เราโชคร้าย โชคดี ก็โทษ ตัวไหนก็ได้ ใน 3 ตัว คือ กิเลส กรรม วิบาก เพราะโทษตัวไหน ก็เท่ากับโทษตัวเอง ดวงดี มาจากการสร้างกรรมดี ดวงไม่ดี มาจากการสร้างกรรมไม่ดี อย่างนี้


  3. ถ้า ดวงไม่ดี สิ่งที่ต้องทำก็คือการสร้าง กุศลกรรม มี ศีล มี ทาน มี ภาวนาเป็นต้น

  เจริญพร

  ;)
   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ