ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เดินสายห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ทั่วไทย ศรัทธาและปณิธานบุญ  (อ่าน 908 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




เดินสายห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ทั่วไทย ศรัทธาและปณิธานบุญ
เรื่องและภาพ ไตเทพ ไกรงู

ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุดแม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วแต่ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์อยู่ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าการนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์

“การห่มผ้าพระธาตุ เป็นอามิสบูชาอย่างหนึ่ง เมื่อเรารู้ว่าเจดีย์ใดมีพระบรมสารีริกธาตุ ก็จะถวายผ้าห่มพระเจดีย์ ถวายของหอม ดอกไม้ น้ำมัน ยา และกุศลอื่นๆ เพื่อประกาศให้รู้ว่าดินแดนแห่งนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ผมมองว่าทุกๆ ประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนาเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง” นี่เป็นพลังศรัทธาและปณิธานบุญของนายชินทัต เวียร์สุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสำนักส่งเสริมจริยธรรมองค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)


 ans1 ans1 ans1 ans1

นายชินทัต บอกว่า เดินสายห่มผ้าพระธาตุเจดีย์มากว่า ๑๔ ปีแล้ว โดยได้รู้จักกับคณะสารพัดบุญ โดยอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นผู้นำบุญห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ใน กทม. และปริมณฑล ทุกๆ สัปดาห์โดย สัปดาห์แรก พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม สัปดาห์ที่ ๒ พระเจดีย์สมันตมหาปัฏฐาน วัดจากแดง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ สัปดาห์ที่ ๓ วัดราชคฤห์ ถ.เทิดไทย ตลาดพลู กทม. สัปดาห์ที่ ๔ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรวิหาร กทม. ถ้าเดือนไหนมี ๕ สัปดาห์ ก็ที่โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม กทม. การห่มผ้าทุกครั้งท่านจะทำหลังจากเลิกพระอภิธรรมทุกวันอาทิตย์ที่วัดโพธิ์ โดยจะนำลูกศิษย์ไปห่มผ้าเวลาประมาณ ๑๕.๓๐ น.

จากนั้นก็ชวนคณะศรัทธาเดินสายห่มผ้าพระเจดีย์ไปเกือบทุกจังหวัดที่มีพระเจดีย์สำคัญๆ โดยเฉพาะเจดีย์ความเชื่อตาม ๑๒ ราศี เช่น ปีชวด (หนู) พระธาตุศรีจอมทอง วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ปีฉลู (วัว) พระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ปีขาล (เสือ) พระธาตุช่อแฮ วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ปีเถาะ (กระต่าย) พระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง กิ่งอำเภอภูเพียง จ.น่าน ปีมะโรง (งูใหญ่) พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น

 st12 st12 st12 st12

“ขณะทำพิธีผมไม่ได้สังเกตอะไรเพราะตั้งจิตมุ่งมั่นอัญเชิญเทวดา ซึ่งมาทราบหลงเสร็จพิธีที่ท่านเจ้าคุณบอกว่าอาทิตย์ทรงกลดตอนโยมเชนอัญเชิญเทวดาและให้ช่างภาพในพิธีส่งรูปมาให้รุกขเทวดา อากาศเทวดา ภูมิเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา ท่านก็มาร่วมอนุโมทนาบุญที่คณะเพื่อนร่วมบุญได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุที่พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน และพระธาตุม่อนเปี๊ยะ จ.เชียงใหม่ พระอาทิตย์ทรงกลดขณะทำพิธีที่น่าน ลมพัดตันไม้ในป่าบริเวณพิธีอธิษฐานผ้าที่พระธาตุม่อนเปี๊ยะ ต้นไม้ไหวด้วยแรงลมตลอดแค่ช่วงเวลาอัญเชิญเทวดา” นายชินทัตกล่าว





‘ม่อนเปี๊ยะ’พระธาตุแห่งการขอฝน

พระธาตุม่อนเปี๊ยะ ตั้งอยู่บ้านหาดส้มป่อย หมู่ ๗ ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งและเป็นที่เคารพและสักการะของชาว อ.สะเมิง ด้วยเหตุที่ตั้งอยู่กลางป่าลึกบนยอดเขาอันสุขสงบและห่างไกล องค์พระธาตุจึงไม่ได้รับการดูแลรักษาเหมือนโบราณสถานทั่วไป ทำให้เกิดการทรุดเอียงและแตกร้าว พระครูธรรมคุต (สรยุทธ ชัยปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม บ้านอมลอง/แม่สาบ ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพี่โต้ง” รับเป็นประธานในการบูรณปฏิสังขรณ์บูรณะเสร็จสมบูรณ์แล้ว องค์พระธาตุเปล่งรัศมีเหลืองทองอร่าม งดงามตามแบบศิลปวัฒนธรรมไทย และเมื่อวันที่ ๖-๗ มีนาคม ๒๕๕๕ อ.สะเมิง จัดพิธีสมโภชพร้อมห่มผ้าทิพย์องค์พระธาตุม่อนเปี๊ยะอย่างยิ่งใหญ่

นายชินทัต บอกว่า ในแต่ละปีจะมีประเพณีสรงน้ำแต่เดิมจะจัดขึ้นในเดือนแปดเหนือ ต่อมาได้ยึดถือเอาวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ใต้) เพื่อสะดวกในการเดินทางไปร่วมนมัสการ จะมีพิธีการทางศาสนาคือ ห่มผ้าทิพย์องค์พระธาตุม่อนเปี๊ยะอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งปีนี้จัดไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคมที่ผ่านมา โดยตอนเช้ามีการถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร ตอนกลางคืนมีการสวดมนต์ฟังเทศน์และการสวดเบิก เพื่อขัดเกลาจิตใจ


 st11 st11 st11 st11

ในแต่ละปีจะมีประเพณีสรงน้ำแต่เดิมจะจัดขึ้นในเดือนแปดเหนือ โดยแต่ละหมู่บ้านจะไปขอฝนให้ตกเพื่อจะได้ทำนา ต่อมาได้ยึดถือเอาวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ใต้) เพื่อสะดวกในการเดินทางไปร่วมนมัสการ จะมีพิธีการทางศาสนาคือ ตอนเช้ามีการถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร ตอนกลางคืนมีการสวดมนต์ฟังเทศน์และการสวดเบิก เพื่อขัดเกลาจิตใจ

“ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุม่อนเปี๊ยะ เล่าสืบมาว่า สามารถดลบันดาลฝนเมื่อใดที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านจะนำมาลาดอกไม้ ของหอมไปนมัสการสักการบูชาสรงองค์พระธาตุ พร้อมกับขอน้ำฝนให้ตกลงมาและปรากฏว่าสัมฤทธิผลตามประสงค์” นายชินทัตกล่าว


 :25: :25: :25: :25:

นำธรรมเข้าโรงงานและชุมชน

ในฐานะผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสำนักส่งเสริมจริยธรรมองค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) นายชินทัต นักลงทุนส่วนใหญ่จะมองถึงเรื่องแหล่งที่มาของเงินลงทุน เทคโนโลยีการผลิต ที่ตั้งของสถานประกอบการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องถูกต้องเสียทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่ คือ คนทำงานไม่ว่าจะเป็นระดับใด ตั้งแต่ยามหน้าประตูไปจนถึงผู้บริหาร เพราะผลประกอบการกำไรหรือขาดทุนอยู่ที่คนทำงานไม่ได้อยู่ที่เครื่องจักรและเทคโนโลยี นักลงทุนสามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่ามาอำนวยความสะดวกในการผลิตได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เงินซื้อไม่ได้คือ พนักงานดีๆ ที่จะมาทำงานเพื่อบริษัท

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบระหว่างเชิญวิทยากรมาบรรยาย กับเชิญพระมาเทศน์ ถ้าเป็นวิทยากรเราจะได้ความรู้ด้านเดียว แต่การนิมนต์พระ นอกจากได้ธรรมะแล้ว ท่านยังสอดแทรกการบริหารงานเข้าไปด้วย เราคงเคยได้เห็นได้รู้การทุจริตมาหลายรูปแบบ แต่ก็ยังมีสิ่งที่มองไม่เห็นและน่ากลัวกว่า นั่นก็คือ ทุจริตทางใจ หรือมโนทุจริต ไม่มีใครมองเห็นหรือรู้ได้เพราะเกิดอยู่ในใจคน อันนี้น่ากลัวเพราะวันนี้ยังไม่ทำชั่วเนื่องจากโอกาสไม่อำนวย แต่ในใจคิดชั่วอยากได้ของเขา อยากได้อำนาจของเขา อยากเอาชนะเขา พยาบาทปองร้ายเขายังไม่สบโอกาสก็ดูเรียบๆ เฉยๆ เห็นว่าการทำสิ่งที่ผิดศีลธรรมเป็นเรื่องธรรมดา อันนี้น่ากลัวมาก"


 :96: :96: :96: :96:

นายชินทัต พูดไว้อย่างน่าคิดว่า "บริษัทต้องการคนดีมากกกว่าคนที่มีความรู้ เพราะการที่คนมีความรู้ถ้าไม่เป็นคนดีสอนให้เป็นคนยาก แต่ถ้าเป็นคนดีไม่มีความรู้ สอนความรู้ให้ตรงกับงานสามารถทำได้ เพราะความดีความชั่วอยู่ในกมลสันดาน มันรักษาอยาก สร้างยาก เมื่อเราทำงานก็จะฉลาดในงานไปเรื่อยๆ เพราะถ้าตัวเองไม่พัฒนาจะถูกไล่ออก จะเห็นได้ว่าคนดีจำนวนไม่น้อยที่ทำงานไม่ตรงกับสาขาที่จบมา ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ทำได้ดีกว่าคนที่จบตรงกับสาขานั้นๆ”

โครงการนำธรรมเข้าโรงงานในรูปแบบธรรมบรรยายนั้น โรงงานในเครือบริษัทซีพีดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องประมาณกว่า ๖๐ ครั้งต่อปี กระจ่ายสู่ทุกๆ โรงงานทั่วประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากโรงงาน ฟาร์ม พนักงาน รวมทั้งชุมชนรอบๆ โรงงานเป็นอย่างดี ผลตอบรับที่ชัดเจน คือ สามารถลดความขัดแย้งที่เกิดจากการทำงานในองค์กรน้อยลง พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

 

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20160329/224922.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ