กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

บันทึกการเข้า ออกกรรมฐาน ในพรรษา ปี พ.ศ. 2562 ของ ธัมมะวังโส

(1/8) > >>

ธัมมะวังโส:


ถาม พอจ พรรษานี้ เข้ากรรมฐานหรือไม่คะ / ครับ

ตอบ ในพรรษานี้ ก็จะเว้นการโพสต์ ไปตามการอธิษฐานเข้าพรรษา ตามปกติ อย่างทุกพรรษา ดังนั้นเรื่อง โพสต์ ถาม ตอบ ก็จะไม่ค่อยได้มาตอบอย่างทุกครั้ง เพราะต้องเข้ากรรมฐาน เป็นระยะเวลานาน เพิ่มขึ้น ดังนั้น ก็จะเริ่มจากเบาๆ ไปหลายวัน ในเดือนแรก ก็จะทำเบา ๆ ไปก่อน

เจริญธรรม / เจริญพร

เข้าพรรษา คืออะไร ?

เข้าพรรษา เป็นส่วนของวินัยสงฆ์ ส่วนหนึ่ง เมื่อถึง คราฤดูฝน ภิกษุต้องหยุดเดินทาง โดยไม่มีความจำเป็น ณ สถานที่ ๆ ถูกต้องตาม พระวินัย โดย มีพุทธานุญาต ให้พักอาศัย อยู่ที่ใด ที่หนึ่ง ที่ไม่มีโทษแก่การภาวนา

การเข้าพรรษานี้ พระเจ้าพิมพิสารให้กำหนดเป็น ชุณปักษ์
[๒๐๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช มีพระราชประสงค์ จะทรงเลื่อนกาลฝนออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้ากระไร ขอพระคุณเจ้า ทั้งหลายพึงจำพรรษาในชุณหปักษ์อันจะมาถึง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระเจ้าแผ่นดิน.

ดังนั้นกาลแห่ง ฤดูฝน ที่เป็น ชุณปักษ์ จึงเป็นกาลที่พระพุทธเจ้า พุทธบัญญัติ ไปตามที่ พระเจ้าพิมพิสารขอไว้นั่นเอง

การเข้าพรรษา ทำอย่างไร
1. ภิกษุทำการกำหนดเขต สำหรับ สถานที่ ไม่ใช่อาวาสตรง เพื่อรู้เขตแห่งราตรี
2. ทำการอธิษฐานเข้าพรรษา
3. และอยู่จำพรรษา ในที่นั้น ๆ เป็นเวลา 90 วัน หรือ 3 เดือน

ในระหว่างเข้าพรรษา ภิกษุ ควรทำอย่างไร
1. ควรศึกษาหลักธรรม หรือ สมาทาน กรรมฐาน
2. ควรตั้งสัจจะเพื่อรักษา การอยู่จำพรรษา ให้บริบูรณ์

การไปสถานที่อื่น ๆ ในระหว่าง พรรษา นั้นทำอย่างไร
การไปสถานที่ อื่น ๆ ในระหว่างเข้าพรรษา มีข้อกำหนด ตามวินัย ด้วยความจำเป็น หลายอย่าง อาทิ เช่น ไปเยี่ยมบิดามารดา ที่ป่วย หรือ ได้รับนิมนต์เป็นพิเศษ เป็นต้น ถ้าจะต้องไปจะต้องกลับมาให้ถึงที่อธิษฐาน เข้าพรรษา ภายใน 7 ราตรี
การไปอย่างนี้เรียกว่า สัตตาหะ

ดังนั้นการอยู่จำพรรษา นั้นเป็นเรื่อง ของภิกษุ ตั้งแต่ 1 รูป ขึ้นไป ไม่ใช่เป็นเหตุ ของฆราวาส

คฤหัสถ์ หรือ ฆราวาส ควรทำอย่างไร
ควรบำรุงภิกษุ ผู้อยู่จำพรรษา ในที่นั้นให้อยู่จำพรรษา ได้ครบถ้วนตามกำหนด

เจริญธรรม / เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ 2 ( หลังเข้าพรรษา )
การสมาทาน ศีล
การตรวจ ศีล
การรักษา ศีล

เป็นคุณสมบัติผู้ภาวนา เริ่มต้น
ถ้าหากศีล พร่อง ทะลุ ขาด ย่อมตั้งจิตให้มั่น ไม่ได้

ดังนั้นก่อนจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ
ให้สำรวจ ตรวจศีล ของตนเองเสียก่อน
ถ้าอะไรมันพร่อง ก็สมาทานใหม่ และรักษา ให้แน่ใจ อย่างน้อยต้อง รักษาให้ได้ 3 วัน ขึ้นไป

เจริญธรรม / เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ 3
ทำการตรวจศีล ของตนเอง
เพิ่มการสวดคาถา พญาไก่เถื่อน 108 จบ
( การเป็นศิษย์ในสายสมเด็จหลวงปู่สุก ไม่สวดคาถานี้ไม่ได้ )
ทบทวนศีล รักษาศีล และ นั่งสวดคาถา

เจริญธรรม / เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ ๔
เดินจงกรม ๑ ชม
นั่งกรรมฐาน มากกว่า ๒ ชม จนถึง ๔ ชม

๑.การเดินจงกรม ใช้ จตุรธาตุ ขั้นที่ ๑

๒.การนั่งกรรมฐาน ใช้ พุทธานุสสติ มัชฌิมา แบบลำดับ ในพระธรรมปีติ ห้องที่ ๑

ฝึกอย่างเบา ๆ แต่ให้เป็น สติ เป็นหลัก จนถึงสมาธิ เพื่อเข้าสู่ธรรมชื่อว่า ปีติ

เจริญธรรม / เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ 5 ( 21/7/62 )
เดินจงกรมธาตุ เป็น เพิ่ม 4 ระดับ
ปัญจมธาตุ ฉัฏฐธาตุ สัตตธาตุ อัฏฐธาตุ

นั่งกรรมฐาน ด้วยพุทธานุสสติ
พระธรรมปีติ ยุคลธรรม สุขสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป