ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมเวลานั่งกรรมฐาน รู้สึกกระวนกระวาย มากจนบางครั้งรู้สึกหงุดหงิด  (อ่าน 4768 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0




ทำไมเวลานั่งกรรมฐาน รู้สึกกระวนกระวาย มากจนบางครั้งรู้สึกหงุดหงิด คะ



นั่งกรรมฐาน ปกติแล้ว ควรจะมีใจสงบ นะจ๊ะ
แต่เข้าใจในสิ่งที่ถาม นะจ๊ะ เพราะส่วนใหญ่ นั้นมักจะนั่งกรรมฐาน ภาวนาตอนที่จิตไม่พร้อมในเบื้องต้น
คือชอบภาวนาตอนที่จิต คร่ำครวญ เป็นทุกข์ กระวนกระวาย เพราะมีความเข้าใจว่า ถ้านั่งกรรมฐานในขณะนั้น
จะทำให้จิตสงบลงในทันที มีหลายคนที่ทำอย่างนี้แล้ว ถามพระอาจารย์ว่าทำไมนั่งกรรมฐาน แล้วใจไม่สงบลง

เอาละขั้นตอนมีดังนี้นะจ๊ะ

ในยามที่จิตมีความกระวนกระวาย หรือ ทุกข์ อยู่นั้นการที่จะให้ใจสงบลงด้วยสมาธิ นั้นทำได้ยากถ้าเราไม่มีวสีในความชำนาญในสมาธิ ไม่มีทางที่จะทำให้ใจสงบลงได้นะจ๊ะ

ดังนั้นผู้ปฏิบัติ ควรทำดังนี้

1. หางานให้จิตทำ กวาดบ้าน จัดบ้าน อ่านหนังสือ ฟังธรรม สวดมนต์ สนทนากับกัลยาณมิตร แล้วแต่วิธีการ ที่จะชอบนะจ๊ะ เจริญสติ ระลึกนึกถึง ความตาย ก่อน เพื่อให้จิตมีสติ ก่อน

2. เมื่อจิตมีสติพร้อมแล้ว ก็ให้ภาวนาได้

3. การภาวนาทุกครั้ง อย่ามุ่งไปเรื่องเวลา และ ภาวนาทุกครั้งถวายการภาวนาเป็นพุทธบูชา

4. มุ่งที่ความสงบระงับแห่งจิต แม้เพียง เสี้ยววินาทีหนึ่งนั้น ก็ชื่อว่า ดีกว่าใช้เวลาเป็นวันโดยไม่มีความสงบระงับจากกิเลส คือ นิวรณ์ เป็นต้น

5.ทุกครั้งที่เกิดความขัดเคือง ให้แผ่เมตตาให้กับกิเลส คือ ความขัดเคือง ขอให้ความขัดเคืองจงเป็นสุข ๆ เถิด

แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอกับนักภาวนา มือใหม่ และ มือเก่า ที่ยังเจริญสมาธิไม่ได้ นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บางครั้งผมก็เป็นเพราะเพียงต้องการทำกรรมฐาน แล้วยากให้ได้เห็นผลทันใจเลยครับ
ต้องย้อนกลับไปเริ่มต้นใหม่ ตามที่ครูอาจารย์สอนครับ

สาธุ

 :25:
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รู้สึกว่าพระอาจารย์เคยสอนวิธีเดินจิตไว

  ด้วยการหายใจเร็ว  หรือ กลั้นหายใจ  และ สัมปยุตธาตุ นะคะเคยอ่านผ่านตาอยู่ในบอร์ดนี้
เคยได้ลองใช้แล้ว รู้สึกได้ผลดีมากคะ โดยเฉพาะวิธีการกลั้นหายใจ แล้วเดินจิต

 :25:
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สภาวะที่สามารถ เข้ากรรมฐาน ให้จิตเป็นสมาธิ ได้ไว

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=940.0


 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องสมาธิ แนะนำอย่างนี้นะครับ
ให้คิดว่านั่งอยู่ริมทะเล คือนั่งสบายๆ ชิลๆ ไม่เร่งไม่ร้อน ไม่เครียด ไม่อะไรทั้งนั้น
จะนั่งท่าไหนก็ได้ ไม่ถนัดจะพิงอะไรสักหน่อยก็ได้
จากนั้นก็สูดลมหายใจแรงๆ เข้า-ออก สัก ๓-๔ ครั้ง จากนั้นก็สังเกตลมหายใจ
เข้าออกยังไง เข้าทางจมูกแล้วมันไปที่ไหนต่อ ไปที่อก ไปที่ท้อง
พอมันจะออกมันก็ออกจากท้อง ไหลย้อนไปอก ออกจมูก
เข้า เราก็กำหนดว่า พุท ออก เราก็กำหนดว่า โธ
ครบรอบหนึ่งเราจะนับไปด้วยก็ได้ พุท-โธ ๑ ... ไปถึง ๑๐ แล้วก็เริ่มใหม่
กำหนดจิตไว้ว่า ระหว่าง ๑-๑๐ จะไม่ยอมให้มีอารมณ์อื่นมาแทรก
ถ้ามีจะเริ่ม ๑ ใหม่ เป็นการฝึกวินัยของจิต

จะนอนทำสมาธินั้น ต้องได้สมาธิมาสักนิดหนึ่งแล้วค่อยทำนะครับ
เพราะถ้ามันยังไม่ได้สมาธิ มันจะนอนไม่หลับเลย
ดังนั้นตอนเริ่มใหม่ๆ อย่านอนทำเลยครับ
ส่วนเรื่องบ้า.. ผมยังไม่เคยเจอใครทำสมาธิแล้วบ้านะ
แต่เคยเจอพวกบ้าๆที่บอกว่า วิปัสสนาไม่ต้องการสมาธิ(สมถะ)
เท่าที่อ่านมา ผมว่าคุณต้องการนิมิตจากสมาธิเพื่อคุมใจนะ
เรื่องบ้านั้นลองศึกษาจากตรงนี้นะครับ จาก http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=1284

อุปจารสมาธิ

   อุปจารสมาธิ หมายถึง สมาธิเฉียดฌาน คือ ใกล้จะถึงปฐมฌาน มีกำลังใจเป็นสมาธิสูงกว่าขณิกสมาธิเล็กน้อยต่ำกว่าปฐมฌานนิดหน่อยเป็นสมาธิ ที่มีอารมณ์ชุ่มชื่นเอิบอิ่มผู้ปฏิบัติ พระกรรมฐานถ้าอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว จะมีความเอิบอิ่มชุมชื่นไม่อยากเลิก

   ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงสมาธิขั้นนี้ จึงต้องระมัดระวังตัวให้มาก เคยพักผ่อนเวลาเท่าไร เมื่อถึงเวลานั้นต้องเลิกและพักผ่อน ถ้าปล่อยอารมณ์ความชุ่มชื่นที่เกิดแก่จิตไม่คิดจะพักผ่อน ไม่ช้าอาการเพลียจากประสาทร่างกายจะเกิดขึ้น ในที่สุดอาจเป็นโรคประสาทได้

   ที่ต้องรักษาประสาทก็เพราะปล่อยใจให้เพลิดเพลินเกินไปจนไม่ได้พักผ่อน ต้องเชื่อคำเตือนของพระพุทธเจ้าที่ท่านแนะนำ ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ มี ท่านอัญญาโกณฑัญญะ เป็นประธานโดยที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เธอทั้งหลายจงละส่วนสุดสองอย่าง คือ

   ๑. ปฏิบัติเครียดเกินไป จนถึงขั้นทรมานตน คือเกิดความลำบาก
   ๒. ความอยากได้เกินไป จิตใจวุ่นวายเพราะความอยากได้ จนอารมณ์ไม่สงบ

   ถ้าเธอทั้งหลายติดอยู่ในส่วนสุดสองอย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ผลในการปฏิบัติคือ มรรคผลจะไม่มีแก่เธอเลย ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ใน มัชฌิมาปฏิปทา คืออารมณ์ปานกลางได้แก่ "อารมณ์พอสบาย" เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะไว้อย่างนี้ ก็ยังมีบางท่านฝ่าฝืนปฏิบัติเพลิดเพลินเกินไป ไม่พักผ่อนตามเวลาที่เคยพักผ่อน จึงเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายจนเป็นโรคประสาท ทำให้พระพุทธศาสนาต้องถูกกล่าวหาว่า การปฏิบัติพระกรรมฐานทำให้คนเป็นบ้า

   ฉะนั้นขอท่านนักปฏิบัติทุกท่าน จงอย่าฝืนคำแนะนำของพระพุทธเจ้า จงรู้จักประมาณเวลาที่เคยพักผ่อน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติแค่อารมณ์สบาย ถ้าเกินเวลาพักที่เคยพักก็ดี อารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายคุมไม่อยู่ก็ดีขอให้พักการปฏิบัติเพียงแค่นั้น พักให้สบาย พอใจผลที่ได้แล้วเพียงนั้น ปล่อยอารมณ์ใจให้รื่นเริงไปตามปกติ


   นิมิตทำให้บ้า


   มีเรื่องที่จะทำให้บ้าอีกเรื่องหนึ่งคือ นิมิต นิมิตคือภาพ ที่ปรากฏให้เห็นเพราะเมื่อกำลังสมาธิเข้าถึงระยะอุปจารสมาธินี้ จิตใจเริ่มสะอาดจากกิเลสเล็กน้อย เมื่อจิตเริ่มสะอาดจากกิเลสพอสมควรตามกำลังของ สมาธิที่กดกิเลสไว้ ยังไม่ใช่การตัดกิเลส อารมณ์ใจเริ่มเป็นทิพย์นิด ๆ หน่อย ๆ ยังไม่มีความเป็นทิพย์ทรงตัวพอที่จะเป็นทิพจักขุญาณได้ จิตที่สะอาดเล็กน้อยนั้นจะเริ่มเห็นภาพนิด ๆ หน่อย ๆ ชั่วแว้บเดียว..คล้ายแสงฟ้าแลบคือ ผ่านไปแว้บหนึ่งก็หายไป

   ถ้าต้องการให้เกิดใหม่ก็ไม่เกิดเรียกร้องอ้อนวอนเท่าไรก็ไม่มาอีก ท่านนักปฏิบัติต้องเข้าใจตามนี้ว่า ภาพอย่างนี้เป็นภาพที่ผ่านมาชั่วขณะจิตไม่สามารถบังคับภาพนั้นให้กลับมาอีก ได้ หรือบังคับให้อยู่นานมาก ๆ ก็ไม่ได้เหมือนกันภาพที่ปรากฏนี้จะทรงตัวอยู่นานหรือไม่นาน อยู่ที่สมาธิของท่านเมื่อภาพปรากฏ

   ถ้ากำลังใจของท่านไม่ตกใจพลัดจากสมาธิ ภาพนั้นก็ทรงตัวอยู่นานเท่าที่สมาธิทรงตัวอยู่ ถ้าเมื่อภาพปรากฏท่านตกใจ สมาธิก็พลัดตกจากอารมณ์ ภาพนั้นก็จะหายไป ส่วนใหญ่จะลืมความจริงไปว่า เมื่อภาพจะปรากฏนั้นเป็นอารมณ์สงัดไม่มีความต้องการอะไรจิตสงัดจากกิเลสนิด หน่อยจึงเห็นภาพได้ ครั้นเมื่อภาพปรากฎแล้ว เกิดมีอารมณ์อยากเห็นต่อไปอีก อาการอยากเห็นนี้แหละเป็นอาการฟุ้งซ่านของจิต จิตตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จิตมีความสกปรกเพราะกิเลส

   อย่างนี้ต้องการเห็นเท่าไรก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็นตามความต้องการก็เกิดความกลุ้ม ยิ่งกลุ้มความฟุ้งซ่านยิ่งเกิด เมื่อความปรารถนาไม่สมหวังในที่สุดก็เป็นโรคประสาท (บางรายบ้าไปเลย) ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่เชื่อตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแนะนำไว้ว่า จงอย่ามีอารมณ์อยากหรืออย่าให้ความอยากได้เข้าครอบงำบังคับบัญชาจิต
บันทึกการเข้า