ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "การยอมเป็นศิษย์" เป็นวิธีหนึ่งที่จะ "เข้าถึงสรณะ"  (อ่าน 1326 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


ชาณุโสณีพราหมณ์ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
(ภยเภรวสูตร)

      [๕๒] ชา. ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลังนี้ เป็นอันท่านพระโคดมอนุเคราะห์อยู่แล้ว เพราะท่านเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
           ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
           ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
           พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
           เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
           บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น
     ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
     ขอท่านพระโคดมจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=517&Z=751




สรณคมน์
     
         
      บัดนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้นจึงควรทราบวิธีนี้ คือ
             สรณะ การถึงสรณะ ผู้ถึงสรณะ
             ประเภทแห่งการถึงสรณะ ผลแห่งการถึงสรณะ
             สังกิเลส (ความเศร้าหมอง) และเภทะ (ความหมดสภาพ).
      ถามว่า วิธีนี้มีความหมายเป็นอย่างไรบ้าง.?
      ตอบว่า ควรทราบความหมายโดยความหมายเฉพาะบทก่อน.

      ที่ชื่อว่า สรณะ เพราะหมายความว่าเบียดเบียน.
      อธิบายว่า ย่อมกำจัด คือ ทำความกลัว ความหมายสะดุ้ง ความทุกข์ กิเลสที่เป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติของบุคคลผู้ถึงสรณะให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะนั้นแล.
      คำว่า สรณะนั่นเป็นชื่อเรียกพระรัตนตรัย.


       ans1 ans1 ans1 ans1

      อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า พุทธะ เพราะหมายความว่า ขจัดซึ่งภัยของสัตว์ทั้งหลายโดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูล และถอยกลับจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
      ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะทำสัตว์ทั้งหลายให้ช่วยข้ามพ้นจากกันดาร คือภพและเพราะให้ความเบาใจแก่สัตว์ทั้งหลาย.
      ที่ชื่อว่า สงฆ์ เพราะทำสักการะทั้งหลายแม้เป็นของน้อยค่าให้ได้รับผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยจึงชื่อว่า สรณะ โดยบรรยายนี้ด้วย.

      จิตตุปบาท(ความเกิดความคิดขึ้น) ที่มีกิเลสอันถูกขจัดแล้วด้วยความเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในสรณะนั้น อันเป็นไปโดยอาการที่มีความเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สรณคมน์.

      สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ถึงสรณะ.
      อธิบายว่า ย่อมเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ เหล่านี้
           ว่าเป็นสรณะ(ที่ระลึก ที่พึ่ง)
           ว่าเป็นปรายนะ(เครื่องนำทาง)
      ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว.
      นักศึกษาพึงทราบ สรณะ การถึงสรณะ และผู้ถึงสรณะ ทั้ง ๓ อย่างนี้ก่อน.





ประเภทแห่งการถึงสรณะ
   
           
      ส่วนในประเภทแห่งการถึงสรณะ (การถึงสรณะมีกี่ประเภท) พึงทราบอธิบายต่อไป.
      การถึงสรณะมี ๒ คือ
         การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระ ๑
         การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ ๑.

     ในสองอย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระของบุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว เมื่อว่าโดยอารมณ์ย่อมมีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อว่าโดยกิจย่อมสำเร็จได้ในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น เพราะตัดขาดกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะได้ในขณะแห่งมรรค.

     (ส่วน)การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะของปุถุชน เมื่อว่าโดยอารมณ์ ย่อมมีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ สำเร็จได้ด้วยการข่มกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะไว้ได้.

     การถึงสรณะนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่
            การได้ศรัทธาในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น
            และสัมมาทิฏฐิที่มีศรัทธา(ในพระรัตนตรัยนั้น)
            เป็นพื้นฐานท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม(การทำความเห็นให้ตรง) (ซึ่งอยู่)ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐.





การถึงสรณะแบบนี้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง

            คือ (การถึง)
            ด้วยการมอบตน ๑
            ด้วยการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ๑
            ด้วยการยอมเป็นศิษย์ ๑
            ด้วยการถวายมือ (การประนมมือทำความเคารพ) ๑.

      ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า การมอบตน ได้แก่ การยอมสละตนแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น (ด้วยการกล่าว)อย่างนี้ว่า
      "นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตนถวายแด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม และแด่พระสงฆ์."

      ที่ชื่อว่าการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ได้แก่ การที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (ด้วยการพูด)อย่างนี้ว่า 
      "นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำทาง ขอมีพระธรรมเป็นผู้นำทาง ขอมีพระสงฆ์เป็นผู้นำทาง."

      ที่ชื่อว่าการถวายมือ ได้แก่ การทำความนอบน้อมอย่างสูงในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น (ด้วยการพูด)อย่างนี้ว่า
      "นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอทำการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือ การทำความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น นั่นแล."

     ก็บุคคลเมื่อทำอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอาการทั้ง ๔ อย่างนี้ จัดว่าได้รับการถึงสรณะแล้วทีเดียว.


      :25: :25: :25: :25:

     อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบตน (ด้วยการพูด)แม้อย่างนี้ว่า
        "ข้าพเจ้าขอสละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์
         ข้าพเจ้าขอสละชีวิตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์
         ข้าพเจ้าสละตนแล้วทีเดียวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์
         ข้าพเจ้าสละชีวิตแล้วทีเดียวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์
         ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า(พระธรรมและพระสงฆ์) ว่าเป็นสรณะ โดยขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ขอพระพุทธเจ้า(พระธรรมและพระสงฆ์) จงเป็นที่ระลึกที่พึ่ง เป็นที่อาศัย เป็นที่ต้านทานของข้าพเจ้า."


     พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์(การยอมตัวเป็นศิษย์) เหมือนการเข้าถึงความเป็นศิษย์ในการถึงสรณะของพระมหากัสสปะ (ด้วยการพูด)แม้อย่างนี้ว่า
      "ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระศาสดา พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า
           ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสุคต พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า
             ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า."


      พึงทราบความที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง(เป็นที่ไปในเบื้องหน้า) เหมือนการถึงสรณะของชนทั้งหลายมีอาฬวกยักษ์เป็นต้น (ด้วยการพูด)แม้อย่างนี้ว่า
      "ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากหมู่บ้าน(นี้) สู่หมู่บ้าน(โน้น) จากเมือง(นี้) สู่เมือง(โน้น) (เพื่อ)นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นธรรมที่ดีแห่งพระธรรม(และความเป็นสงฆ์ที่ดีแห่งพระสงฆ์)."

      พึงเห็นการพนมมือไหว้ แม้อย่างนี้ว่า
      ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุลุกขึ้นจากที่นั่ง ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วซบศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จูบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยฝ่ามือ แล้วประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ.





      ก็การพนมมือไหว้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ (ถวายมือ)
           - เพราะเป็นญาติ
           - เพราะความกลัว
           - เพราะเป็นอาจารย์ และ
           - เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล.
     บรรดาการพนมมือไหว้ ๔ อย่างนั้น การถึงสรณะมีได้ด้วยการพนมมือไหว้ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ไม่ใช่เป็นด้วยเหตุ ๓ อย่างนอกจากนี้.

     เพราะว่า สรณะอันบุคคลย่อมรับได้ด้วยบุคคลผู้ประเสริฐสุด จะหมดสภาพไป (ก็หมด)ด้วยอำนาจบุคคลผู้ประเสริฐสุดเหมือนกัน.
     เพราะฉะนั้น บุคคลใดจะมีเชื้อสายเป็นศากยะหรือเป็นโกลิยะก็ตาม ถวายบังคม(พระพุทธเจ้า) ด้วยสำคัญว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระญาติของเราทั้งหลาย. บุคคลนั้นยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเลย.

     หรือว่าบุคคลใดถวายบังคมพระพุทธเจ้าด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้อันพระราชาบูชาแล้ว มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้จะพึงทำความเสียหายให้แก่เราได้. บุคคลนั้นก็ยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเหมือนกัน.

     แม้บุคคลใดระลึกถึงคำสอนบางอย่างที่ได้เรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ หรือในพุทธกาลได้เรียนคำสอนทำนองนี้ว่า
     บุคคลควรใช้สอย เลี้ยงชีวิตด้วยทรัพย์ส่วนหนึ่ง ลงทุนทำงานด้วยทรัพย์สองส่วน และส่วนที่สี่ควรเก็บไว้ (เพราะมันจะอำนวยประโยชน์ได้) เมื่อคราวมีความจำเป็นต้องใช้.
     (เกิดความเลื่อมใส)ถวายบังคมด้วยความรู้สึกว่า พระองค์เป็นพระอาจารย์ของเรา. บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังไม่ได้รับสรณะเหมือนกัน.

      ส่วนบุคคลใดถวายบังคมด้วยความสำคัญว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นอัครทักขิไณยบุคคลในโลก บุคคลนั้นแลจัดว่าได้รับสรณะแล้ว.





      อุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ได้รับสรณะอย่างนี้แล้ว จะไหว้ญาติแม้ที่บวชในสำนักอัญญเดียร์ถีย์ด้วยความรู้สึกว่า ท่านผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ไม่เสีย) จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลหรืออุบาสิกาผู้ไหว้ญาติที่ยังไม่บวชเล่า.

      สำหรับอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถวายบังคมพระราชาก็เหมือนกัน คือ ถวายบังคมด้วยอำนาจความกลัวว่า พระราชาพระองค์นั้นเพราะเป็นผู้ที่ชาวแว่นแคว้นบูชากันแล้ว เมื่อเราไม่ถวายบังคมก็จะทรงทำความเสียหายให้แก่เราได้ ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ยังไม่เสีย) เหมือนเมื่อบุคคลแม้ไหว้เดียรถีย์ ผู้ให้การศึกษาศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป ฉะนั้น
      นักศึกษาพึงทราบประเภทแห่งการถึงสรณะอย่างนี้แล.


       ans1 ans1 ans1 ans1

      ก็การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระในที่นี้ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวลเป็นอานิสงสผล.
       สมด้วยพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
      "ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ(ที่ระลึก ที่พึ่ง) บุคคลนั้นย่อมเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ย่อมเห็นทุกข์ เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ สรณะ(ที่ระลึก ที่พึ่ง) อย่างนั้นแลจึงจะเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด เพราะอาศัยสรณะนั่น บุคคลจึงหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้."

       อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสงสผลของการถึงสรณะนั่น แม้ด้วยอำนาจแห่งเหตุ มีการไม่เข้าไปยึดถือโดยความเป็นของเที่ยง เป็นต้น.
       สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส(เป็นไปไม่ได้เลย) ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงเข้าไปยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าเที่ยง ว่าเป็นสุข จะพึงเข้าไปยึดถือธรรมอะไรๆ ว่าเป็นอัตตา จะพึงปลงชีวิตมารดา จะพึงปลงชีวิตบิดา จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีจิตชั่วร้ายยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ จะพึงทำลายสงฆ์ จะพึงอ้างศาสดาอื่น ฐานะอย่างนี้จะมีไม่ได้."

       ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผลเหมือนกัน.
           สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
          "บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้วจักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์(เกิดในหมู่เทพ)."





      แม้เรื่องอื่น ท่านก็กล่าวไว้.
       (คือ) คราวครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า
        "ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นการดีแท้ เพราะการถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นเหตุแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ตายแล้ว จึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อย่างนี้
        สัตว์เหล่านั้น (เกิดเป็นเทวดาแล้ว)ย่อมเด่นล้ำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ คือ ด้วยอายุอันเป็นทิพย์ วรรณะอันเป็นทิพย์ สุขอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ ความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ รูปอันเป็นทิพย์ เสียงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ รสอันเป็นทิพย์ โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์."


      ใน(การถึง)พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ก็นัยนี้.
      อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอันสำคัญของการถึงสรณะแม้ด้วยอำนาจแห่งสูตรมีเวลามสูตรเป็นต้น.

      พึงทราบผลแห่งการถึงสรณะอย่างนี้.
      ในการถึงสรณะ ๒ อย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้าหมองด้วยเหตุทั้งหลายมีความไม่รู้ ความสงสัยและความรู้(ความเข้าใจ)ผิด เป็นต้น ในพระรัตนตรัย เป็นการถึงสรณะที่ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่กว้างไกลมาก.
      (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.

       :41: :41: :41: :41: :41:

      การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะมีการหมดสภาพอยู่ ๒ อย่างคือ
            การหมดสภาพ(เภโท) แบบมีโทษ ๑
            การหมดสภาพแบบไม่มีโทษ ๑.
      ในการหมดสภาพทั้งสองนั้น
      การหมดสภาพแบบมีโทษย่อมมีด้วยเหตุทั้งหลาย มีการมอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น การหมดสภาพแบบนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา.
      การหมดสภาพแบบไม่มีโทษในเพราะการทำกาลกิริยา การหมดสภาพแบบนั้นไม่มีผลเพราะไม่มีวิบาก.
      แต่การถึงสรณะแบบโลกุตตระ ไม่มีการหมดสภาพเลย.

     จริงอยู่ พระอริยสาวก(ตายแล้วไปเกิด) แม้ในภพอื่นก็จะไม่ยอมยกย่องคนอื่นว่าเป็นศาสดา(แทนพระพุทธเจ้า).
     พึงทราบความเศร้าหมองและการหมดสภาพของการถึงสรณะดังพรรณนามาฉะนี้.



อ้างอิง :-
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค ภยเภรวสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=27&p=3
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=517&Z=751
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2015, 12:39:15 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

        การตั้งจิตตั้งใจทำอะไรที่แน่วแน่  ทำไว้ให้มีอยู่ในใจไม่เปลี่ยน


                 ก็อาจจะนำพาให้ไปถึง.......เอกัคตาจิต  ที่เป็นภูเขายอดเดียว ได้นะ

               สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา