สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: arlogo ที่ มีนาคม 30, 2013, 10:33:06 am



หัวข้อ: ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มีนาคม 30, 2013, 10:33:06 am
      พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๓.  มหาปรินิพพานสูตร]  เล่มที่ 10 หน้า 81 - 83
       
            ภิกขุอปริหานิยธรรม
            [๑๓๖]    เมื่อวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธจากไปไม่นาน    พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า    “อานนท์    เธอจงไปนิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉัน”
            ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    นิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉันแล้ว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่    ณ    ที่สมควร    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว    ขอพระผู้มีพระภาคจงกำหนดเวลาที่สมควรณ    บัดนี้เถิด    พระพุทธเจ้าข้า”
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/87/30087/images/2011_gen/2011.06arSanHaDay.jpg)(http://images.palungjit.com/attachments/941-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-lb_pic18-jpg)
            ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคทรงลุกจากพุทธอาสน์    เสด็จเข้าไปยังหอฉันประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗   ประการแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย
             ๑.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์    ประชุมกันมากครั้ง
             ๒.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม    พร้อมเพรียงกันเลิก ประชุม    และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะพึงทำ
             ๓.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้    ไม่ล้มล้างสิ่ง ที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว    ถือปฏิบัติมั่นตามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้ว
             ๔.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยัง สักการะ    เคารพ  นับถือ  บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ  เป็นรัตตัญญู  บวชมานาน เป็นสังฆบิดร  เป็นสังฆปริณายก  และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
             ๕.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย   ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหาก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว
             ๖.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า
             ๗.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งสติไว้ในภายในว่า    ‘ทำอย่างไร    เพื่อน  พรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา    พึงมา    ท่านที่มาแล้ว   พึงอยู่อย่างผาสุก’
           
           ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่    และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่


 

      ส่วนใหญ่ เวลาพูดถึง  ภิกขุอปริหานิยธรรม  ก็จะพูดกันและยกกันอยู่ในเรื่อง หมู่ คณะ ความเป็นอยู่ ร่วมกัน ของสงฆ์ ( คำว่า สงฆ์ หมายถ พระภิกษุตั้งแต่  4 รูป ขึ้นไป )

      ส่วนนี้เพียงยกไว้ให้ท่านทั้งหลาย เข้าใจกันก่อนว่า  ภิกขุอปริหานิยธรรม นั้นมีต้นเรื่องอย่างนี้ แต่ส่วนนี้จะไม่อธิบาย นะจ๊ะ เพราะว่ามีคำอธิบายมากแล้ว ในส่วนต้น แต่ต่อไป จะยก  ภิกขุอปริหานิยธรรม  ในส่วนภาคปฏิบัติบุคคล มาให้ท่านรู้จัก ในบทต่อไป

      วันนี้ลองทบทวนกันเรื่องนี้ดูก่อน


 (http://www.suwalaiporn.com/images/column_1242734970/Image00005.JPG)
  ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.suwalaiporn.com (http://www.suwalaiporn.com)


   สรุป เนื้อหา ก็คือ

      1. หมั่นประชุม  คือการพูดกันตกลงกัน ให้เกิดความเข้าใจ ให้บ่อยครั้ง
      2. เลิกประชุม พร้อมกัน ไม่หนีออกที่ประชุมกันก่อน
      3. ไม่บัญญัติ สิ่งทีพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ และไม่ถอดสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ
      4. การให้ความเคารพ กับพระมหาเถระ พระเถระ พระสังฆปรินายก และฟังโอวาท ปฏิบัติตามโอวาท
      5. ไม่ทำสิ่งใดเพื่อ การย้อมใจด้วยตัณหา มีสักการะ สุข สรรเสริญ ยศ เป็นที่ตั้ง
      6. เป็นผู้สงัดด้วยเสนาสนะ พอใจเสนาสนะ ที่สงบ สงัด เพื่อ การภาวนา
      7. ตั้งสติ ไ้ว้ภายในใจว่า และปฏิบัติ สาธุด้วยการต้อนรับว่า  เราจักยินดีต้อนรับเพื่อนพรหมจรรย์ เมื่อมา ส่วนมาผู้อยู่แล้ว ก็ยินดีในการอยู่ร่วมกัน ตามธรรมและวินัย


     
  (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2010/04/14/bfi9gf7bgikck8ahd6fbb.jpg)

 ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.komchadluek.net (http://www.komchadluek.net)
 


   


หัวข้อ: Re: ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ เมษายน 02, 2013, 10:37:10 am
ขอเรียนถามในส่วนปฏิบัติ ที่ค้าง ไว้ คะ รออ่านอยู่คะ

  thk56


หัวข้อ: Re: ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: vichai ที่ เมษายน 02, 2013, 12:49:18 pm
 st11 st12


หัวข้อ: ภิกขุอปริหานิยธรรม ภาคปฺฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ เมษายน 03, 2013, 10:36:40 am
พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๓.  มหาปรินิพพานสูตร]
ภิกขุอปริหานิยธรรม  เล่มที่ 10 หน้า 85 - 86


[๑๓๙]    ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗    ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย
          ๑.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
          ๒.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
          ๓.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความเพียร)
          ๔.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย 
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
          ๕.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
          ๖.  ภิกษุพึงหวังได้    แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
          ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)
              ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่    และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่



(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc6/181028_445721692175957_1286629238_n.jpg)(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/284641_445721685509291_494537214_n.jpg)(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/539117_445721708842622_1679373644_n.jpg)

วิชาโลกุดร สยบมาร
๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
๒. ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
๔. ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง

ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร
๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก
๒. แผ่บารมีให้มาร
๓. ทำจิตให้หลุดพ้น
๔. บูชาคุณครูบาอาจารย์
๕. เมตตา
๖. ปราบมาร
๗. มีความเพียร
๘. ปราบคนทุศีล
๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น


หัวข้อ: Re: ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ เมษายน 03, 2013, 10:50:44 am
การภาวนา แท้ ๆ ไม่ต้องอ่านเยอะ เรียนมาก เพียงแต่ทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนสักเรื่อง  ก็เพียงพอแล้วต่อการภาวนา โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัิตตาม อริยมรรคมีองค์ 8 และ โพชฌงค์ 7 อานาปานสติ เป็นเรื่องที่ตรัสสอนบ่อยมาก ที่สุด ในพระไตรปิฏก  เพราะทั้ง 3 เรื่อง มักรวมเป็นเรื่องเดียวกัน เช่นอานาปานสติ ก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ โพงฌงค์ 7 อย่างนี้เป็นต้น

 


หัวข้อ: ภิกขุอปริหานิยธรรม ธรรมที่ไม่นำสู่ความเสื่อม ภาคปฏิบัติ 2
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ เมษายน 04, 2013, 03:09:10 pm
  [๑๔๐]    ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗    ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย
           ๑.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา    (กำหนดหมายความไม่ เที่ยงแห่งสังขาร)
           ๒.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนัตตสัญญา    (กำหนดหมายความเป็น อนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
           ๓.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอสุภสัญญา    (กำหนดหมายความไม่งาม แห่งกาย)
           ๔.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย 
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอาทีนวสัญญา    (กำหนดหมายทุกข์โทษของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง  ๆ)
           ๕.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปหานสัญญา    (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
           ๖.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิราคสัญญา(กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
           ๗.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญนิโรธสัญญา    (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็น ธรรมละเอียดประณีต)
              ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่    และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่

        อันนี้ภาคปฏิบัติล้วน ๆ เลยเกี่ยวกับ เจริญ กรรมฐาน ที่ชื่อว่า วิปัสสนา สัญญา 7 ประการ



(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/574688_386115524803241_1464335669_n.jpg)



หัวข้อ: อปริหานิยธรรม ๗ และ วิชาโลกุดร สยบมาร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 24, 2014, 11:40:24 pm
ans1 ans1 ans1
ขอแนะนำกระทู้ที่เกี่ยวข้องครับ
"ทำอย่างไร เราจะรับมือกับเวทนา ที่เกิดจากการเจ็บป่วย ได้ครับ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10689.new#new (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10689.new#new)

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2014, 07:10:52 am
อ่านหัวข้อแล้ว ตอนแรก คิดว่า เกี่ยวกับเรื่องของพระสงฆ์ แต่พออ่านแล้วกับเป็น วิชาโลกุดรสยบมาร อยู่ที่นี่เอง ขอบคุณมากคะ

 thk56 thk56 thk56 st12