ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวนา พุทโธ อย่างไร ถึงจะไม่หลุดจาก พระชุททกา คะ  (อ่าน 3167 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บูรณะ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 11
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถามผู้รู้ ศิษย์พี่ ทุกท่านคะ โปรดช่วยบอกวิธีการกำหนด พุทโธ ให้ด้วยคะ
ภาวนา พุทโธ อย่างไร ถึงจะไม่หลุดจาก พระชุททกา คะ
  คือว่า พยายาม ท่องเป็นจรวดและนึกจิตหน่วงไว้ที่พระขุททกาปีติ แล้ว แค่ผ่านไป เป็น ครึ่ง ชม. แล้วก็ทำไม่ได้ แต่มีอาการปวดเหน็บชา ขึ้นมา ก็เลิกและหยุด ก็เลยกำหนดไม่ได้เสียที คะ

 ควรทำอย่างไร คะ
 
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ภาวนา พุทโธ อย่างไร ถึงจะไม่หลุดจาก พระชุททกา คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2012, 09:44:34 am »
0



อาการที่รวมจิตลงไปที่ ฐานจิต ไม่ได้ มีหลายสาเหตุ ลองไปไล่ เอาสาเหตุใหญ่ ๆ ก่อน

1. ไม่ได้กล่าวคำขอขมา
     เรื่องนี้ผู้ฝึก ปฏิบัติ ภาวนา เหมือนตกม้าตายกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะมักจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นจึง ไม่ทำการขอขมา ในสภาวะที่ขอขมานั้น ก็ไม่สมบูรณ์ เพราะบางท่านทำเป็นแต่พิธี มิได้ขอขมาด้วยใจจริง

    องค์ ประกอบของการขอขมา จึงไม่สมบูรณ์ เมื่อไม่สมบูรณ์ ธรรมที่ถูกปิดกั้น อยู่จึงไม่เปิดเผย เหมือนน้ำในขวดที่ถูกปิดผนิึก จึงไม่สามารถที่ได้ดื่มน้ำนั้น


2. ไม่ปฏบัติตามขั้นตอนพระกรรมฐาน
   ในกรรมฐาน ขั้นต้น ต้องรักษา นิมิต 3 ประการไว้

     คือ 1. ปัคคาหะนิมิต คือ ฐานจิต ที่เพ่งลง ( การเพ่งลงไปนี้จัดเป็น ฌาน ) ถ้าไม่มีการเพ่ง คือ ปัคคาหะก็จะไม่ถึง องค์ ฌาน ว่าด้วย วิตก องค์ที่ 1

         2. บริกรรมนิมิต หรือ สมาธินิมิต จัดเป็นองค์ ฌานที่ 2 เรียกว่า วิจาร ดังนั้น คำภาวนาบริกรรมใช้คำว่า พุทโธ ผู้ภาวนาต้องมีความฉลาดในการภาวนา พทโธ ภาวนาไวไปก็ไม่ ช้าไปก็ไม่ได้ สม่ำเสมอก็ไม่ดี ดังนั้น เร็ว ช้า ปานกลาง ขึ้นอยุ่กับสภาวะของผู้ภาวนาต้องมีความฉลาด ในตนเอง ในสภาวะตนเอง

     พิจารณา เอาว่า ภาวนาเร็ว จิต ก็ไม่รวม ก็ผ่อนความเร็ว
     พิจารณา เอาว่า ภาวนาช้า จิต ก็ไม่รวม ก็เพิ่มความเร็ว
     พิจารณา เอาว่า ภาวนาสม่ำเสมอ จิต ก็หลับ ตกภวังค์ ก็ต้อง ผ่อนช้า หรือ เพิ่มความเร็ว

    ดัวนั้น เร็ว ช้า สม่ำเสมอนั้น ล็อกกันไม่ได้ ขึ้นอยุ่กับสภาวะ ของผู้ภาวนา เหมือนคนเดินช้า หัวใจก็เต้นช้า คนเดินเร็ว หัวใจก็เต้นเร็ว สภาวะปีติที่เกิด เป็นองค์บังคับ เร็ว ช้า ด้วย

          3.อุเบกขานิมิต การวางอารมณ์ ในปัจจุบัน วิธีวางาอารมณ์ไว้ในปัจจุบัน
             3.1 จิตซัดส่ายไปในอดิต ปรากฏภาพในอดีต ขึ้นมาจิตก็ฟุ้งซ่าน ตกข้างฝ่ายอกุศล ถูกนิวรณ์ครอบงำ หายใจส่งยาว แบบถอนหายใจ แล้วกลับไปสติที่ฐาน จิต ผนวก พุทโธ ลงไปใหม่ ทำสัก 3 ครั้ง ก็เจริญภาวนาตามปกติ การส่งลมหายใจ เป็นวิธีดึงสติ  เข้าสู่ปัจจุบันขณะ โดยวิธีการปฏิบัติ

             3.2 จิตซัดส่าย ไปในอนาคต ปรากฏภาพ เหตุวิตก กังวลในอนาคตต่าง ตกข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน และนิวรณ์ วิธีแก้ไข ส่งลมหายใจเข้าไปลึก แล้วกลับไปสติที่ฐาน จิต ผนวก พุทโธ ลงไปใหม่ ทำสัก 3 ครั้ง  ก็เจริญภาวนาตามปกติ การส่งลมหายใจ เป็นวิธีดึงสติ  เข้าสู่ปัจจุบันขณะ  โดยวิธีการปฏิบัติ
                 
             3.3 จิตซัดส่าย ในปัจจุบัน เพราะเวทนา ที่เกิดรุมเร้า ดึงสติ ตั้งที่ฐานจิต ภาวนาไปด้วยความอดทน เท่าที่จะทนได้ ถ้าจิตรวมได้เวทนา จะดับไปเอง ถ้าจิตรวมไม่ได้ เดี๋ยวก็หยุดปฏิบัติเอง แต่ก่อนหยุดปฏิบัติให้ตั้งความปรารถนาว่า เราจักไม่ละความพยายามในการปฏิบัติ ขอความสำเร็จจงมีแก่ข้าพเจ้า ก่อนออกกรรมฐาน ให้ทำการอธิษฐาน สัญญาไว้ หากใครไม่ได้ทำสัญญาไว้ ส่วนใหญ่ จะเลิกภาวนา ไปบารมีด้านอธิษฐาน ก็จะไม่มี


   3. สัปปายะ ที่ภาวนา ขณะนั้น มีอุปสรรค สัปปายะ สำคัญมี 3 ประการ

     1. อาจริยสัปปายะ ความสะดวกสบาย ที่มีครุออาจารย์กัลยาณมิตรดูแล บางครั้งการภาวนาเดี่ยวก็มักจะมีปัญหาเพราะว่า ขาดความเชื่อมั่น และ ไม่ศรัทธาในการภาวนา ดังนั้นการมีกัลยาณมิตรจึงเป็นเหตุที่ไม่ควรจะขาดถ้าเป็นไปได้

     2. อาวาสสัปปายะ ความสะดวกสบาย ในสถานที่ภาวนา ไม่หนาว ไม่ร้อน ไม่จอแจ เกินไป

     3. โภชนะสัปปายะ ความสะดวกสบาย ในเรื่องการบริโภค เช่นอาหารบางอย่างทานแล้ว ไม่ส่งเสริมการภาวนา เช่นอาหารรสจัดเป็นต้น

     ดังนั้น สัปปายะ 3 ประการนี้จีัดว่าสำคัญ

   4. เป็นเพราะ ศีล บารมียังไม่พอ เช่น การทำผิดศีล ไม่สมาทานศีล หรือ ไม่ปิด กาย วาจา

   5. สัทธาในพระกรรมฐาน ไม่มี ( อันนี้สำคัญมากที่สุด ) เป็นวงจรสำคัญ

    ทุกข์ เป็น เหตุให้เกิด สัทธา   สัทธา เป็นเหตุให้เกิด ปีิติ  .............. เรื่อยไป ดังนั้นวงจร แห่งการเข้าสู่ธรรม จิตจึงขาด ไม่สามารถรวมจิตเพื่อ การเห็นตามความเป็นจริงในธรรม ในพระพุทธศาสนานี้ได้


  เอาไว้เพียง 5 ประการนี้ สำรวจ ดูจิตตนเองเถิด วิธีการ ความสบาย ศีล และ สัทธา

  เจริญพร / เจริญธรรม

   


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 08, 2012, 12:19:11 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภาวนา พุทโธ อย่างไร ถึงจะไม่หลุดจาก พระชุททกา คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 12:59:20 pm »
0
ขอบคุณแทนทุกคนด้วยคะ ที่พระอาจารย์ตอบรายละเอียดเบื้องต้น ได้อย่างเข้าใจคะ

 :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า