ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร  (อ่าน 48066 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2013, 09:53:17 pm »
0
 ask1

พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
ตามคำถาม เลยนะครับ คือไม่เข้าใจ ถ้าไปร่วมพิธิ พุทธาภิเษก นี้มีอานิสงค์อะไร บ้างครับ

  thk56
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2013, 06:55:57 am »
0
???????
นั่นสิครับ สงสัยเหมือนกัน

  :49:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2013, 06:04:04 pm »
0
รออ่านอยู่ครับ thk56
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2013, 09:08:32 am »
0


“พิธีพุทธาภิเษกพระ” คืออะไร
เพื่ออะไร เป็นพุทธพิธีหรือไม่ เริ่มมีสมัยใด ต่างกับปลุกเสกอย่างไร.?

ask1 ถาม : สมัยนี้มีการทำพุทธาภิเษกกันมาก การทำพิธีนี้มีมาแต่สมัยใด ท่านผู้ใดทำก่อน ชื่ออะไร วันเดือนปีเท่าใด กระผมสงสัยว่าเป็นพราหมณ์ หรือพทธ พระท่านสวด ๔ รูป เรียกว่าสวดอะไร พระท่านบริกรรมอะไร การกระทำพุทธาภิเษก กับปลุกเสก ต่างกันอย่างไร เพื่ออะไร ?

 ans1 ตอบ : พุทธาภิเษก ในแง่ของเจตนารมณ์ เราจะพบว่า คือ การประชุมกันเพื่อตกลงยอมรับวัตถุที่นำเข้าสู่พิธี ให้เป็นวัตถุที่เคารพสักการะ เป็นเครื่องหมายแห่ง ขวัญ กำลังใจ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลือมใส ของคนที่ยอมรับถือสมมุติสัจจะเหล่านั้น ทำนองเดียวกับเงื่อนไขต่างๆ เช่น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ประธานาธิบดี เป็นต้น ตำแหน่งของท่านเหล่านั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมือ ได้ผ่านกรรมวิธี ขั้นตอนตามหลักการที่กำหนดไว้ ท่านจะเป็นอะไรมาก่อนไม่สำคัญ แต่เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆที่กำหนดขึ้นกันโดยถูกต้องแล้ว ทุกคนจะต้องยอมรับนับถือ ฐานะที่สมมุติแต่งตั้งกันนั้น

     พุทธาภิเษกก็มีลักษณะอย่างนั้น เดิมที่เดียววัตถุนั้นเป็นเพียงทองเหลือง ทองแดง นาค เงิน ทราย เหล็กเป็นต้น นายช่างที่ดีจะทำการหล่อ แกะ สลัก ปั้น จึงถือว่าตอนนั้นไม่เป็นพระพุทธรูป เขาจึงสามารถทำหน้านี้ในการตบแต่งได้ เมื่อผ่านพิธีแล้ว คืออภิเษกวัตถุนั้นเป็นพระพุทธปฏิมา กำหนดหมายว่ารูปแทนพระพุทธเจ้าถูกต้องตามกรรมวิธีที่กำหนด ศาสนิกชนที่ดีต้องยอมรับสมมุติสัจจะเหล่านี้




ประวัติของการทำพิธีพุทธาภิเษก

การทำพิธีพุทธาภิเษกเริ่มต้นเมื่อใด ไม่มีใครทราบ แต่คงเริ่มทำกันมานานแล้ว พิธีพุทธาภิเษกจะเป็นประเพณี พิธีกรรมของใครมาก่อนก็ตาม แต่ปัจจุบันนั้น เป็นของพุทธไปเรียบร้อยแล้ว แม้จะมีพื้นฐานอะไรเป็นพราหมณ์บ้างก็ไม่ควรไปถือว่าเป็นเรื่องเสียหายอะไร แต่การใดก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่คนที่รู้จักใช้อยู่ จะเป็นของใครมาก่อนไม่เห็นสำคัญอะไร



พิธีพุทธาภิเษก

การที่พระ 4 รูปมาสวดนั้นท่านเรียกว่า พุทธาภิเษก อันเป็นการแสดงถึงความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ของผู้ร่วมพิธี พร้อมกับพรรณาพุทธประวัติ อานุภาพของพระพุทธเจ้า จากนั้นจะเป็นการสวดภาณวาร ก็คือ สูตรที่มีประวัติความเป็นมา ในทางขลัง ศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพในการช่วยเหลือคนให้หลุดพ้น จากทุกข์ ภัย โรค

    ท่านที่นั่งบริกรรมนั้น ท่านจะว่าอะไรก็เป็นเรื่องของแต่ละท่าน
    สรุปแล้วคือ ท่านนั่งทำความสงบด้วยการบริกรรม สมาธิเพื่อแผ่พลังจิต คาถา มนตร์ ที่ท่านสาธยาย ให้เป็นอานุภาพแก่วัตถุมงคลที่นำมาทำพิธี
    ท่านที่บริกรรมอาจเรียกว่า ปลุกเสก ก็ได้ แต่ปลุกเสก ส่วนมากเน้นไปที่ปลุกเสกผลงาน ที่ผ่านการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแล้ว สรุปว่า ปลุกเสกบางอย่างมีอยู่ในพุทธาภิเษก แต่พุทธาภิเษกบางอย่างไม่ใช่การปลุกเสก


ที่มา : หนังสือข้อข้องใจผู้ใผ่ธรรม โดยพระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโน) วัดบวรนิเวศวิหาร โพสต์โดย คุณน้อมเศียรเกล้า
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tilltomorrow&date=24-05-2012&group=2&gblog=52
ขอบคุณภาพจาก
http://www.posttoday.com/
http://www.amuletat7.com/
http://www.oknation.net/


  พุทธาภิเษก ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
   น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
   น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.


    .......ยังมีบทความที่น่าสนใจ โปรดติดตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2013, 11:55:11 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2013, 09:18:37 am »
0
ask1

พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
ตามคำถาม เลยนะครับ คือไม่เข้าใจ ถ้าไปร่วมพิธิ พุทธาภิเษก นี้มีอานิสงค์อะไร บ้างครับ

  thk56

     ขอเวลาสักระยะหนึ่ง กำลังศึกษาและกลั่นกรองข้อมูล :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 11:26:00 am »
0


พิธีพุทธาภิเษก

    พิธีพุทธาภิเษก คือ พิธีการปลุกเสกประจุพุทธคุณลงในวัตถุมงคล (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๗๙๕ และพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด “ คำวัด ” โดยพระธรรมกิตติวงศ์ หน้า ๗๐๐)
    โดยใช้พุทธคุณซึ่งมีอยู่ในบทพุทธปริตร หรือ บทพุทธมนต์ หรือโดยใช้สมาธิจิตที่เกิดจากปฏิบัติกรรมฐาน ประจุลงในวัตถุมงคล ต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปจำลอง รูปจำลองพระเกจิอาจารย์ พระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์-พระราชวงศ์ รูปเทพเจ้า รูปผู้ที่ควรสักการบูชา ปูชนียวัตถุต่าง ๆ ฯลฯ
    มิได้หมายถึงพิธีการปลุกเสกเฉพาะพระพุทธรูป จำลองอย่างเดียว

    ดังนั้นไม่ว่าจะปลุกเสกวัตถุมงคลประเภทใดเรียกว่า พิธีพุทธาภิเษก เหมือนกันหมด โดยเรียกชื่อพิธีตามวัตถุมงคลนั้น ๆ เช่น พิธีพุทธาภิเษก พระพุทธพรประทานราชนาวี พิธีพุทธาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช พิธีพุทธาภิเษกรูปจำลององค์จตุคามรามเทพ ฯลฯ
    และมีความเชื่อว่า วัตถุมงคลที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ย่อมกลายเป็นวัตถุมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องกันภัยอันตรายและ ให้เกิดความ สวัสดีมีชัยได้



    ปัจจุบันมีศัพท์เรียกพิธีกรรมดังกล่าวงอกขึ้นใหม่และนำมาเรียก ใช้กันทั่วไป เช่น พิธีมังคลาภิเษก พิธีเทวาภิเษก เป็นต้น โดยอาจมีความประสงค์ให้เรียกชื่อพิธีตรงตามวัตถุมงคลนั้นๆ ดังนี้
    - พิธีพุทธาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระพุทธรูปจำลอง และรูปจำลองพระเกจิ อาจารย์ทั้งหลาย
    - พิธีมังคลาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์
    - พระราชวงศ์ เช่น สมเด็จพระปิยมหาราช พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นต้น
    - พิธีเทวาภิเษก คือพิธีปลุกเสกรูปจำลองเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระพรหม องค์ จตุคามรามเทพ พระพิฆเณศร์ เป็นต้น

    บางกรณีนำวัตถุมงคลต่าง ๆ มาปลุกเสกในคราวเดียวกันก็มักเรียกพิธีรวมกันก็มี เช่น พิธีพุทธมังคลาภิเษก พิธีพุทธเทวาภิเษก พิธีมังคลเทวาภิเษก เป็นต้น ศัพท์ที่ใช้เรียกพิธีตามวัตถุมงคลต่างๆ ดังกล่าวแม้จะไม่ตรงกับคำเดิมที่ให้ใช้คำว่า พิธีพุทธาภิเษก แต่พิธีการปฏิบัติเหมือนกันทุกพิธี


   

  พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลทุกประเภท มีหลักการปฏิบัติดังนี้

    ๑. เครื่องใช้ในพิธี
      ๑.๑ โต๊ะหมู่บูชา พร้อมดอกไม้ธูปเทียน
      ๑.๒ เครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์
           - เครื่องรับรองพระสงฆ์เช่นเดียวกับงานมงคลทั่วไป
           - ตั่ง/ที่นั่งพระมหาเถระประธานฝ่ายสงฆ์
           - อาสน์สงฆ์พระเจริญพระพุทธมนต์ ๙ รูป (พิธีหลวงหรือพิธีทาง ราชการ ๑๐ รูป)
           - อาสน์สงฆ์พระสวดภาณวาร ๔ รูป
           - ตั่ง/ที่นั่งพระเกจิอาจารย์/พระเถระภาวนาจารย์ ๙ รูป(หรือตามความประสงค์) จัดให้นั่งรอบวัตถุมงคล


   

      ๑.๓ เครื่องประกอบพิธีพุทธาภิเษก
           - เทียนวิปัสสี ไส้เกินอายุผู้จุด ๑ เล่ม
           - เทียนมหามงคล หนัก ๘ บาท ๒ เล่ม
           - เทียนนวหรคุณ หนัก ๑ บาท ๙ เล่ม
           - เทียนเงินเทียนทอง ๒ เล่ม
           - เทียนชัย ไส้ ๑๐๘ เส้น หนัก ๘๐ บาท สูงเท่ากับเจ้าของพิธี ๑ เล่ม (ปักในตู้เทียนชัย)
           - เทียนพุทธาภิเษก หนัก ๓๒ บาท ๒ เล่ม
           - เทียนที่เครื่องกระบะมุก ๑ ชุด
           - ขันสาครใส่น้ำมนต์ ๒ ใบ (ปักเทียนพุทธาภิเษกไว้ตรงกลาง)
           - สายสิญจน์รอบปริมณฑล ขึงเป็นตาข่ายห่างกัน ๑ ช่วงแขน
           - ฉัตรขาว ๕ ชั้น ๖ ต้น ขนาดความสูงตามความเหมาะสม ปัก ๔ มุม และซุ้มประตูทางเข้า
           - ราชวัติ ๔ มุม (๘ ข้าง ยาวข้างละ ๑ เมตร)
           - โต๊ะวางวัตถุมงคลพร้อมปูผ้าขาว ขนาดโต๊ะสูงกว่าที่นั่งพระสงฆ์ตาม สมควร
           - พลู ๗ ใบ ซ้อนกันสำหรับดับเทียนชัย
           - บาตรใส่น้ำมนต์สำหรับพระเกจิอาจารย์/พระเถระภาวนาจารย์นั่งปรก ครบทุกรูป

      ๑.๔ เครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธีทั้งหมด



   ๒. ลำดับพิธี
       การกำหนดลำดับพิธีแต่ละพิธีนั้นอาจจะแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานที่และผู้ เป็นประธานในพิธี แต่ลำดับพิธีการปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ในที่นี้ขอนำกำหนดการพิธีมังคลาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช(ขณะ นั้นเรียกพิธีมังคลาภิเษก) เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ ณ ท้องพระโรง พระราชวังเดิมมาเป็นตัว อย่าง ดังนี้



    กำหนดการ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมังคลาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวันเสาร์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ท้องพระโรง พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร

    เวลา ๑๔.๐๐ น.
    - ผู้ร่วมพิธีและผู้มีเกียรติพร้อมบริเวณท้องพระโรงชั้นนอก
    - พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป ขึ้นสู่อาสน์สงฆ์
   เวลา ๑๔.๐๕ น.
   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ถึงบริเวณพิธี
   เวลา ๑๔.๑๐ น.
   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้เกี่ยวข้องเฝ้ารับเสด็จฯ
   เวลา ๑๔.๒๐ น.
   - สมเด็จพระสังฆราช เสด็จถึงบริเวณพิธี แล้วเสด็จไปประทับ ณ ที่รับ รองบริเวณท้องพระโรงชั้นนอก
   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาสจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเข้าเฝ้า ถวายเครื่องสักการะ แด่สมเด็จพระสังฆราช
   - พระเถระประธานสงฆ์ให้ศีล จบ
   - ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กล่าวถวายราย งานแล้วกราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชทรงเจิมและทรงจุดเทียนชัย
   - สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิมและทรงจุดเทียนชัย (ประธานมูลนิธิ อนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมถวายกระปุกแป้งเจิมและเทียนชนวน ขณะทรงจุดเทียน ชัย พระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัย พนักงานพราหมณ์ประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์)
   - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
   - ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม จุดเทียนวิปัสสี เทียนมหามงคลและเทียนนวหรคุณ (ขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ขึ้นบท พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ)
   - สมเด็จพระสังฆราช ทรงนั่งอธิษฐานจิต เจริญบริกรรมภาวนา
   - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบ
   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ถวายเครื่องไทยธรรมแด่สมเด็จพระ สังฆราช
   - ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม ถวายเครื่อง ไทยธรรมแด่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ทั้ง ๑๐ รูป
   - พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส และประธานมูลนิธิ อนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กรวดน้ำ
   - ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กราบทูลเชิญ เสด็จประพรมน้ำพระพุทธมนต์
   - สมเด็จพระสังฆราช ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ และเสด็จกลับ (ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม และผู้เกี่ยวข้อง ส่งเสด็จ)
   - พระสวดภาณวาร ๔ รูป และพระเถระภาวนาจารย์ ๙ รูป เข้านั่งประจำ ที่
   - ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมจุดเทียนที่เครื่อง กระบะมุก และเทียนพุทธาภิเษกที่ขันสาคร ข้างตู้เทียนชัย
   - พระสวดภาณวาร สวดคาถาพุทธาภิเษก
   - พระเถระภาวนาจารย์ นั่งปรก จบ
   เวลา ๑๕.๒๙ น.
   - พระเถระภาวนาจารย์อาวุโส ประกอบพิธีดับเทียนชัย (พระสงฆ์เจริญ คาถาดับเทียนชัย)
   - ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสวดภาณวารและพระเถระภาวนาจารย์
   - พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ
   - เสร็จพิธี


ที่มา : นาวิกศาสตร์ ISSN 0125-4324 ปีที่ 91 ฉบับที่ 12
http://www.baanmaha.com/community/thread19212.html
ขอบคุณภาพจาก
m-culture.in.th/moc_new/album/130652/พิธีพุทธาภิเษก/#ns-thumbnail-pg
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2013, 11:28:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 11:49:36 am »
0





ขอบคุณข้อมูลจากเว็บกองทัพเรือ
http://www.navy.mi.th/chapanakit/link/pdf_chakit/cha22-pu%20ta%20pisak.pdf
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2013, 10:52:22 am »
0



ข้อมูลจาก หนังสือพุทธาภิเษก (ต) ๑๐๘
http://www.puthakun.org/puthakun/index.php?option=com_content&view=article&id=583:2011-03-04-23-45-47&catid=65:2011-06-18-02-21-59
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2013, 11:51:28 am »
0
ask1

พุทธาภิเษก คือ อะไร เขาทำกันอย่างไร
ตามคำถาม เลยนะครับ คือไม่เข้าใจ ถ้าไปร่วมพิธิ พุทธาภิเษก นี้มีอานิสงค์อะไร บ้างครับ

  thk56


    ans1 ans1 ans1

    เอาล่ะครับตั้งท่ามานานได้ฤกษ์ตอบซะที จะตอบเรื่องอานิสงส์เท่านั้น เรื่องอื่นๆที่ถามมา ขอให้อ่านบทความที่นำเสนอเอาเองนะครับ
    อานิสงส์ของคนที่ไปร่วม จะกล่าวเฉพาะฆราวาส ส่วนพระสงฆ์ขอยกเอาไว้
    พิธีนี้เป็นงานบุญทั่วๆไป มีการทำทาน มีการเจริญพุทธมนต์และคาถาอื่นๆ ผู้ไปร่วมบุญจะได้บุญอะไรบ้าง
    ขอให้ดูข้อธรรมต่อไปนี้
     
      บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี)
       1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
       2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
       3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
       4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
       5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
       6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
       7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
       8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
       9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้)
     10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)


    ใครทำตามได้กี่ข้อ มากน้อยเท่าใด อานิสงส์ก็จะมากน้อยตามนั้น


     ans1 ans1 ans1

    ส่วนคนที่สงสัยว่า เกจิอาจารย์ที่เชิญมานั่งปรกนั้น ใช้คาถาอะไร
    ผมเคยสนทนากับเจ้าอาวาสวัดไก่จ้น อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา ท่านบอกว่า ท่านสวดอิติปิโส พาหุงและชินบัญชร

    เรื่องคาถาที่ใช้ปลุกเสกนั้น ความเห็นของผมคิดว่า น่าจะเรื่องเฉพาะตน
    บางท่านอาจสวดพระปริตร ขึ้นอยู่กับว่า วัตถุมงคลนั้นๆจะเป็นอะไร แต่หลักๆแล้ว น่าจะใช้บทพุทธคุณ
    และที่สำคัญอยากให้รู้ว่า พระสมเด็จ ของสมเด็จพุฒาจารย์ฯ(โต) นั้น ท่านใช้คาถาชินบัญชร

    ที่สำคัญเหนืออื่นใด "ปลุกเสกอะไรก็ตาม ไม่ดีเท่าปลุกเสกตัวเอง"
    เราควรปลุกเสกตัวเอง ทำให้ตนเองมีสัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์
    การที่เราเชื่อ เรื่องบุญบาป นรกสวรรค์นั้น เป็นเพียงสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น
    ในเบื้องปลายของสัมาทิฏฐิ คือ รู้แจ้งอริยสัจ แล้วใครล่ะรู้แจ้งอริยสัจ
    อรหันต์เท่านั้นที่รู้แจ้งอริยสัจ หรือ แทงตลอดอวิชชา คือ เห็นนิพพานนั่นเอง


     :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ