ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คณะสงฆ์รู้ยัง.? ออมสินจะตั้ง 'ธนาคารพุทธ'  (อ่าน 895 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คณะสงฆ์รู้ยัง.? ออมสินจะตั้ง 'ธนาคารพุทธ'

สัปดาห์นี้จะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้าย.!! ที่ทางธนาคารออมสินจะตั้ง “ธนาคารพุทธศาสนา” ขอบอกว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อยากรู้ว่าผลจะดีหรือร้าย.??

“เจตนาคืออยากให้ทำธนาคารเพื่อพุทธศาสนา ไม่เหมือนการเอาวัดมาทำธนาคาร และไม่ได้มีบทบาทเหมือนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่มีการปล่อยกู้ด้วย เป็นเพียงจัดการให้วัดมีการจัดเก็บเงินอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเราจะพัฒนาระบบขึ้นมา เพื่อให้มีข้อมูลวัดทั้งหมดในประเทศไทยรวมอยู่ที่ออมสิน ถ้ามาออมสินต้องการบริจาคให้กับวัดไหน ก็สามารถเลือกได้เลย เหมือนๆ เราชำระบิลค่าสินค้า บริการต่างๆ สามารถดำเนินการได้ผ่านโมบาย แบงก์กิ้ง แค่สแกนคิวอาร์โค้ด ก็สามารถทำบุญบริจาคได้เลย จะ 1 บาท 10 บาท หรือ 100 บาท และหากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ออมสินก็จะดำเนินการส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรทางออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องยุ่งยาก”

ผมยกคำพูดของ คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสินมาให้ดู เพื่อชาวพุทธจะได้เห็นภาพธนาคารพุทธศาสนาว่า มีการคืบหน้าอย่างไรบ้าง.? ความจริง “ธนาคารพุทธศาสนา” มิใช่เรื่องใหม่ เรื่องเก่าที่พระสงฆ์กลุ่มหนึ่งนำโดย พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเรียกร้องมานานแล้ว แต่รูปแบบไม่มั่นใจว่าตรงกับ “ธนาคารพุทธศาสนา” ที่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประสานมายังธนาคารออมสินเพื่อจัดตั้งหรือไม่


@@@@@@

เงินศาสนสมบัติกลาง เงินวัดทั่วประเทศ เงินมูลนิธิสมาคมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อย่าว่าแต่มีจำนวนเป็นแสนล้านเลย ผมเชื่อว่ามีจำนวนเป็นล้านล้านบาท และเรื่องนี้จำได้ไหมมีอดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนหนึ่งต้องการแปลงที่ธรณีสงฆ์เป็นทุน จนพระสงฆ์ต้องลุกขึ้นมาต้าน และเรื่องธนาคารพุทธศาสนานี้ก็เช่นกันคณะสงฆ์อย่าเพิ่งดีใจกันมากกว่าจะมี “ธนาคารพุทธศาสนา”

ผมอ่านข้อความทีละบรรทัดที่ผู้อำนวยการธนาคารออมสินให้สัมภาษณ์เช่นคำว่า “เบื้องต้นคือวัดต่างๆ ต้องมาเปิดบัญชีกับธนาคารออมสิน” หมายความว่า หาก “ธนาคารพุทธศาสนา” นี้ตั้งสำเร็จ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นธนาคารหรือไม่? หรือเป็นแค่ส่วนหนึ่งของธนาคารออมสิน

อันดับแรกต้องถามต่อว่าธนาคารนี้หากเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารออมสิน คณะสงฆ์จะยอมหรือไม่ เพราะท่านผู้อำนวยการธนาคารออมสินบอกว่า “เพื่อจัดเก็บเงินอย่างเป็นระบบ โดยอาจแยกเงินบัญชีวัด บัญชีพระสงฆ์ บัญชีเงินบริจาค และบัญชีมูลนิธิต่างๆ” วัดใหญ่ไม่มีปัญหาแต่วัดต่างจังหวัดลำบากแน่ “ดีไม่ดีเงินอาจหล่นหายระหว่างทาง” หากสมมติมี “ธนาคารพุทธศาสนาออกมาเป็นเอกเทศ” องค์ไหนมาบริหาร มหาเถรสมาคม คณะสงฆ์จะเข้าไปมีส่วนร่วมตรงอย่างไรบ้าง.?? (บริหารไม่ได้จับเงิน)

@@@@@@

และหากวัดใดวัดหนึ่ง เจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ยอมเปิดบัญชีจะมีปัญหาอะไรหรือไม่?? เพราะทั้งหมดเท่าที่ฟังจากผู้อำนวยการธนาคารออมสินเหมือนเข้าทำนอง “จัดระเบียบเงินวัด” ทั่วประเทศ แต่ก็มีสิ่งล่อใจว่าการฝากเงินกับธนาคารพุทธศาสนาจะมีดอกเบี้ยงที่สูงกว่าการฝากเงินของประชาชน เพราะเป็นการฝากเงินและนำดอกผลไปบำรุงพุทธศาสนา

ต่อจากนี้ไปผมจะฟังเสียงจากทั้งองค์กรชาวพุทธ พระสงฆ์ที่ขับเคลื่อนเรื่องจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาว่า หนังสือที่สำนักงานพระพุทธศาสนาส่งมาให้ธนาคารออมสินมีรายละเอียดอย่างไร.?? สิ่งที่ผู้บริหารธนาคารออมสินท่านคิดและพูดตรงกับสิ่งที่องค์กรชาวพุทธ ตรงกับคณะสงฆ์คิดและฝันไว้หรือไม่.??

หรือถึงยุค “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง” ผมจะล้างหูรอฟัง


….......................................
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com
ขอบคุณ : วัดสามพระยา วรวิหาร (WAT SAM PHRAYA), www.gsb.or.th , www.dwr.go.th.
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/637396
พุธที่ 11 เมษายน 2561 เวลา 10.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คณะสงฆ์รู้ยัง.? ออมสินจะตั้ง 'ธนาคารพุทธ'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2018, 01:37:13 pm »
0
อ่านแล้วดูเหมือนดี แต่ ที่จริงต้องการควบคุม ด้วยระบบ พร้อมพย์ และที่สำคัญ สามารถเรียกเก็บภาษี ได้เมื่อข้อมูลมีถึงระดับหนึ่ง ทางรัฐมั่นใจว่า พระมีรายได้ มาก ( พวกมีสมณศักดิ์ เจ้าอาวาส เจ้าคณะต่าง ๆ ในเมือง เชื่อว่ามีเงินบัญชี ตามธนาคารต่าง ๆ จำนวนมาก )

ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ที่รัฐเห็นว่า พระสงฆ์ มีรายได้ ก็จะเรียกเก็บภาษี หรือ ทอนสวัสดิการ ที่มันต่ำอยู่แล้วออกไป ซึ่งมองภาพรวม นี้ไม่ดี เลย เพราะพระสงฆ์ ที่เดือดร้อนไม่มีรายได้ มีจำนวนมากกว่า ปัญหาหลายอย่างตอนนี้ มองเห็นเลยว่า พระสงฆ์ ท่านไม่มีสวัสดิการ เช่นเงินยังชีพก็ไม่มี  และอีกหลายเรื่อง

แผนนี้แยบยลมาก ๆ

 :49:
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย