ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:41:26 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 04:12:29 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:12:49 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:44:49 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:05:57 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:06:08 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

อนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว


เสียงจากผู้ปราชัย เรื่องราวของ “เจ้าอนุวงศ์” ในตำราเรียนลาว

“เจ้าอนุวงศ์” กษัตริย์ลาว ผู้ถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏในมุมมองไทย จากการกระทำอันมีลักษณะกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้าแผ่นดินสยาม แต่ในมุมมอง “คนลาว” นั้น เป็นธรรมดาที่พวกเขาจะมองบรรพชนของตนว่ามีคุณูปการต่อชาติบ้านเมือง การเคลื่อนไหวของเจ้าอนุวงศ์ที่พยายามนำอาณาจักรล้านช้างให้ “แข็งเมือง” ต่อกรุงเทพฯ จึงถูกยกย่องเชิดชูอยู่ใน “ตำราเรียน” ลาว

อาณาจักรล้านช้างในช่วง พ.ศ. 2322 ถึง พ.ศ. 2371 เป็นช่วงที่ตกเป็นประเทศราชของสยาม โดยช่วง พ.ศ. 2322-2421 คนลาวถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานและได้รับความทุกข์ยาก เป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์นำกำลังรวบรวมครัวลาวกลับคืนนครเวียงจันทน์ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การนองเลือดและการทำลายเวียงจันทน์โดยทหารไทยอย่างราบคาบ ใน พ.ศ. 2370

ทั้งนี้ ที่ สปป. ลาว เคยมีงานเสวนาทางวิชาการ “วีระกำพะเจ้าอนุวง” (15-16 สิงหาคม 2543) ของสถาบันค้นคว้าวัฒนธรรม กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมแห่ง สปป. ลาว ซึ่งร่วมกับนักวิชาการ นักเขียน นักวิจัยอิสระ  ประเด็นหลักคือการพูดคุยถึงความความเห็นมาและความกล้าหาญของเจ้าอนุวงศ์ แต่ไม่ใช่การโจมตีหรือประณามไทย หากเป็นการปลูกจิตสำนึกความสามัคคีของคนในชาติ เชิดชูความเสียสละของเจ้าอนุวงศ์ในฐานะวีรชนลาว

ผศ. ดร. วริษา กมลนาวิน ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เรียบเรียงประเด็นสำคัญ ๆ จากงานเสวนาข้างต้นมานำเสนอในบทความ “เจ้าอนุวงศ์ในมุมมองของลาว บทสะท้อนจากหนังสือและตำราเรียนลาว” ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม พ.ศ. 2544 ดังนี้ [เว้นวรรคคำ ปรับย่อหน้าใหม่ และเน้นคำเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม]

สิ่งที่นักประวัติศาสตร์ (ลาว-ผู้เขียน) ย้ำเป็นพิเศษคือ เจ้าอนุฯ ของพวกเขามิได้มีเจตนาจะเดินทัพมายังไทยเพื่อรุกรานและเบียดแย่งเอาดินแดนไทย (ทั้ง ๆ ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็เคยเป็นที่อยู่ของ “คนลาว” มาก่อน) แต่เพื่อมากวาดต้อนเอาครอบครัวลาวซึ่งถูกใช้ให้ไปขุดลอกคูคลองอย่างหนัก และโดนกระทำทารุณกรรมต่าง ๆ นานากลับไปยังดินแดนของพวกเขา





อนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว


เจ้าอนุฯ จึงเป็นกษัตริย์ที่กล้าหาญและยอมสละชีพเพื่อชาติ

ที่จริงแล้วเหตุการณ์สมัยเจ้าอนุวงศ์ซึ่งทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องในฐานะเป็นวีรกษัตริย์ของลาวเป็นเรื่องที่รัฐบาลลาวให้ความสำคัญมาตลอด จะเห็นได้จากแบบเรียนสายวิชาสังคมศาสตร์ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา นักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับบุคคลสำคัญที่พลีชีพเพื่อชาติตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ได้แก่ เจ้าฟ้างุ่ม สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระยาสามแสนไท เจ้าอนุวงศ์

เรื่อยมาจนกระทั่งถึงเหตุการณ์ลาวตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ซึ่งมีวีรบุรุษหลายคน ได้แก่ ท่านไกสอน พมวิหาน เสด็จสุพานุวงศ์ หรือ “ลุงสุพานุวง” ผู้ยึดถือความเสมอภาคของประชาชนอย่างไม่แบ่งชั้นวรรณะทั้ง ๆ ที่พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นต้น

@@@@@@@

“เจ้าอนุวงศ์” ในตำราเรียนลาว

เด็กลาวจะซึมซับค่านิยมในเรื่องความรักชาติ และความรู้ทางการเมืองผ่านแบบเรียนวิชาภาษาลาวตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นเลยทีเดียว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงปีที่ 4 จะได้อ่านบทความสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เช่นเรื่อง “อนุสาวะลีนักรบนิละนาม” เพื่อนึกถึงทหารผู้เสียสละเพื่อชาติ เรื่อง “วีระชนสีทอง” ผู้ไม่ยอมจำนนต่อศัตรูในสมัยที่ “จักกะพัดต่างด้าว” (พวกล่าเมืองขึ้น) เข้ามารุกราน จนได้รับนามยศเป็นวีรชนแห่งชาติ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นักเรียนลาวจะได้เริ่มเรียนประวัติศาสตร์ลาวอย่างละเอียดเป็นครั้งแรกจากตำรา “แบบเรียนโลกอ้อมตัวเรา” ชั้นประถมปีที่ 4 ซึ่งกล่าวถึงกษัตริย์ในฐานะวีรบุรุษของลาว ตั้งแต่กษัตริย์พระองค์แรกคือเจ้าฟ้างุ่มซึ่งเป็นผู้รวบรวมอาณาจักรลาวให้เป็นปึกแผ่น เรื่อยมาจนกระทั่งลาวตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม เนื่องจากการขัดแย้งกันเองของกลุ่ม “สักดินาลาว” ตำราได้กล่าวถึงการกระทำของพวกสยามไว้ ดังนี้

“…ในตะหลอดเวลาที่ตกเป็นเมืองขึ้นของสะหยาม ปะชาชนลาวได้ถืกกดขี่อย่างหนักหน่วง พวกเขาเจ้าได้ถืกเก็บเกนไปออกแรงงานเฮ็ดเวียกสับพะทุกในทุก ๆ อย่าง เพื่อรับใช้แก่สักดินาสะหยาม เช่น : ไปขุดคองน้ำป้องกันตัวเมืองหลวงเชิ่งเอิ้นว่า ‘คองแสนแสบ’ และอื่น ๆ ด้านการปกคอง เจ้าชีวิดสะหยามได้เป็นผู้กำหนดแต่งตั้งเจ้าชีวิดลาวโดยตงเพื่อปกคอง พ้อมทั้งบังคับสักดินาลาวต้องร่วมมือกับสักดินาสะหยามดำเนินการปาบปามพวกที่ลุกขึ้นต่อสู้กับสะหยาม…”

แบบเรียนโลกอ้อมตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (1997), หน้า 114


@@@@@@@

ในช่วงที่เจ้าอนุวงฯ “ก่อการกบฏ” ในสายตาของคนไทยนี้เอง ตำราเรียนโลกอ้อมตัวเราได้สอนนักเรียนลาวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงนี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง ดังความต่อไปนี้

“…นับแต่เวลาที่อานาจักลาวล้านช้างได้ตกเป็นเมืองขึ้นของสักดินาสะหยาม ได้เกิดมาขะบวนการต่อสู้กู้ชาดของปะชาชนลาวต้านพวกสักดินาสะหยามมาโดยตะหลอด ในนั้นอันเด่นกว่าหมู่ แม่นการลุกขึ้นต่อสู้ในทั่วปะเทด โดยแม่นเจ้าอะนุวงวิละชนแห่งชาดเป็นผู้นำพา ในปี ค.ส. 1827 เถิง 1828

เพื่อต้านคืนกับ นะโยบายของบางกอกที่อยากหันเอาพนละเมืองลาวเป็นพนละเมืองสะหยาม ส่งคอบคัวคนลาวที่ถืกบังคับให้อบพะยบไปอยู่สะหยามแต่คาวก่อน กับคืนมาอยู่ในอานาจักล้านช้างคือเก่า แต่ก็ถืกเจ้าชีวิดสะหยามปะติเสด เจ้าอานุจึ่งได้จัดกองทับแบ่งออกไปเป็น 3 ปีก เดินทางม้งหน้าสู่บางกอก ดำเนินกานบุก ตียึดเอาโคลาด แล้วมาบขู่ว่าจะตีเข้าเมืองหลวงบางกอก แต่ถืกกองทับสะหยามที่นำพาโดยพะยาบอดินตีให้กองทับลาวแตกอยู่บั้นรบทุ่งสำริด

หลังจากนั้นกงทับลาวก็ถอยมาตั้งอยู่เมืองอุบน แต่ถืกเจ้าเมืองอุบนทำการกะบด เจ้าอนุ  พ้อมด้วยแม่ทับในกอง และทะหานได้ถอยทับมาตั้งอยู่หนองบัวลำพู อยู่ที่นี้ กองทับลาวได้ปะทะกับกองทัพสะหยาม และได้ทำกานสู้รบอย่างดุเดือด กองทับสะหยามก็เลยข้ามแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง-ผู้เขียน) มายึดเอาพะนะคอนเวียงจันได้

…เพื่อปะติบัดตามบางกอก พะยาสุพาวดีแม่ทัพบสะหยาม ได้นำเอากำลังมาม้างเพทำลายเมืองเวียงจันอย่างราบเกี้ยงจนกายเป็นเมืองร้างในปี ค.ส. 1828

เถิงว่าจะปะลาไช เจ้าอานุก็ยังเป็นกะสัดลาวที่มีน้ำใจรักชาดอันสูงสุด ก้าเสียสะหละทุกอย่างเพื่อกอบกู้ปะเทดชาด นำพาปะชาชนลาวสร้างวีละกำอันล้ำเลิด ทั้งหมดได้สะแดงเถิงมูนเชื้อต่อสู้อันพิละอาดหาน บ่ยอมจำนนต่อสัดตู อันได้กายเป็นมูนเชื้อแบบอย่างแก่เยาวะชนลาวในต่อมา…”

@@@@@@@

แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เน้นการสดุดีวีรกรรมของกษัตริย์และผู้นำลาวในช่วงสมัยต่าง ๆ ที่นำพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากการคุกคามของ “สักดินาสะหยาม” และพม่า

ที่เน้นพิเศษก็คือ การต่อสู้ของคนลาวทุก ๆ ครั้ง เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินของตนเอาไว้ มิใช่การรุกรานหรือการใช้อำนาจแสดงความป่าเถื่อนต่อชาติอื่น ๆ …

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียน (อ.วริษา) เชื่อว่า คณะผู้แต่งแบบเรียนคงไม่มีเจตนาที่จะปลูกฝังให้เยาวชนลาวเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อไทย เพราะหนังสือยังเขียนประณามกษัตริย์หลวงพระบางในบางสมัยที่ถูกไทยหลอกใช้ให้มาช่วยตีเอาเวียงจัน จุดประสงค์ในการบรรยายเหตุการณ์ดังกล่าวคงจะเขียนเพื่อปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนลาวเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่คนในชาติขาดความสามัคคีกันแล้ว ประเทศชาติจะอ่อนแอ เป็นเหตุให้ชาติอื่นที่มีความเข้มแข็งกว่ามารุกรานเอาได้ง่าย ๆ

แบบเรียนภาษาลาวและวรรณคดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์และศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึงวรรณกรรมในรูปแบบของกาพย์ชิ้นหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและสมัยที่แต่ง

@@@@@@@

แต่คาดว่า ผู้แต่งเป็นเจ้าอนุฯ เพราะมีการบรรยายถึงการรุกรานของพวกศักดินาสยาม

วรรณกรรมเรื่องนี้มีชื่อว่า “สานลึบพะสูน” หรือสานลึบบ่สูน แปลว่า บังดวงตะวัน ดร.สุสด โพทิสาน และท่านหนูไซ พูมมะจัน (วิทยากร/นักวิชาการลาว) กล่าวว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนบังละหัด ตอนสมที่คิด และตอนสุดที่อ่าว

เนื้อหาของกาพย์สะท้อนให้เห็นภาพของดวงจันทร์ซึ่งถูกราหูบดบัง เหมือนดั่งเมืองเวียงจันถูกต่างชาติเข้ายึดครอง นาคถูกครุฑเปล่งรัศมีเข้าครอบ นาคหมายถึงประชาชนลาว ถูกครุฑซึ่งหมายถึงพวกศักดินาสยามเข้ามารุกรานและยึดครองลาว โดยรวมหมายถึงประชาชนสูญเสียเอกราช หนทางเดียวที่จะได้เอกราชกลับคืนคือพร้อมใจกันต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราช เช่น :

“…ปีกซ้ายปีกขวา   โยทาไหลออก
หอกง้าวทั้งปืน   ลูกแม้งดำโดน
เขาโตนออกค่าย   คนร้ายไล่ฟัน
ไทขับไล่ต้อน   เลือดข้อนไหลนอง
ตายกองต้นไม้   พ่องล้มคานไป
เป็นหมู่เป็นกอง   ละวองละวู่…”

กาพย์ในตอนนี้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งคนลาวถูกกวาดต้อนไปสยาม และได้ถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมาก ส่วนกาพย์ต่อไปนี้ก็บรรยายถึงภาพที่น่าสลดหดหู่ เมื่อถูกคนไทยกวาดต้อนเอาครอบครัวลาวไป

“…พวกเขาตีเขาฟาด   โอกาดเนืองนอง
ร้องคางหิวไห้   เสิกไล่คัวลง
เขาปงคำฆ่า   กินหย้าคังโทม
เสิกโจมแผ่นผ่าน   ไทม่านไทยวน
ทั้งพวนทั้งลาว   หญิงสาวร้องไห้
เสิกได้ปันกับ   น้ำเนตรนองตา
เชียงเดดเชียงงา วัดวาสูนเส้า…”

อ.นู ไซยะสิดทิวง ใน สำมะนาประหวัดสาดลาว : ตามหารอยเจ้าอะนุวง 1997, หน้า 53-54.

@@@@@@@

ถึงตรงนี้ต้องบอกว่า เป็นธรรมดาที่ชนชาติหนึ่งจะเป็นตัวร้ายในประวัติศาสตร์ของอีกชนชาติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนยุคปัจจุบันจะต้องเป็นคู่อาฆาตกัน ในยุคที่การกวาดต้อนผู้คน เข่นฆ่า ช่วงชิงทรัพยากร ตลอดจนทำลายเมืองทั้งเมือง เป็น “เทรนด์” ของโลกยุคจารีต คนรุ่นหลังหรือผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ต้องเปิดใจกว้างทำความเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์เหล่านี้ รวมถึงชุดความคิดอันนำมาสู่การถ่ายทอดหรือเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะในสื่อฯ หรือ “ตำราเรียน” ที่สร้างโดยรัฐ

ก็ในเมื่อพม่ายังเป็น “ตัวร้าย” ในประวัติศาสตร์ไทย โทษฐานทำลายกรุงศรีอยุธยา สยามจะเป็นตัวร้ายในประวัติศาสตร์ลาวบ้างก็คงไม่ใช่หนักหนาจนเกินจะยอมรับ…


อ่านเพิ่มเติม :-

   • “ศึกเจ้าอนุวงศ์” สงครามปลดแอกชาติลาว
   • ความปราชัยของ “เจ้าอนุวงศ์” วิเคราะห์เหตุความพ่ายแพ้ของมหาราชชาติลาว
   • พระราชพิธีตัดไม้ข่มนามในสงครามปราบเจ้าอนุวงศ์






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 26 เมษายน 2567
website : https://www.silpa-mag.com/history/article_131562

 7 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:26:18 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



“อคติ” ยอดฮิตที่คนเผลอคิดแบบไม่รู้ตัว

ถ้าคุณท่องโลกโซเชียลในช่วงนี้ คุณอาจเห็นคำๆ หนึ่งที่ปรากฏตัวออกมาบ่อยๆ คำๆ นั้นก็คือ “Bias” ที่แปลว่า อคติ หรือก็คือ ความลำเอียง ที่ใจของเราเทไปในทางฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากเกินไป แบบที่ไม่ได้ใช้เหตุผลเข้ามากำกับ แต่ใจมันชอบล้วนๆ หรือบางทีก็อาจมองสิ่งนั้นในแง่ลบมากจนเกินไป

@@@@@@@

3 อคติ หลุมพลางแห่งความคิด และจิตใจตามกลไกสมอง

วันนี้เราจะมาตีแผ่เรื่องที่มีกลิ่นอายความขมของดาร์กไซด์เข้ามาปะปนนิด ๆ เรื่องไหนที่ใจเรามักเผลอคิด “อคติ” ไปแบบไม่รู้ตัว

    1. Blind Spot Bias คนอื่นล้วนมีแต่อคติต่อฉัน!
    เป็นหลุมพรางที่มองว่าตัวเราไม่ได้มีอคติต่อคนอื่นนะ แต่คนอื่นต่างหากที่มักจะมีอคติต่อตัวเรา! ซึ่งจะทำให้เป็นการปิดกั้นความคิดเห็นของคนอื่น ไม่นำสิ่งที่เขาคอมเมนต์มาคิดวิเคราะห์ต่อยอด ซึ่งก็อาจจะทำให้คุณพลาดอะไรไปก็ได้ และยังเป็นการมองตัวเองในแง่ดี “มากจนเกินไป” ด้วย

    2. Fundamental Attribution Error ความผิดเขาเท่าภูเขา ความผิดเราเท่าเส้นผม
    เป็นอคติที่มีความลำเอียงแบบสุด ๆ เลย คนที่มีอคติประเภทนี้ มักมองว่าปัญหาที่คนอื่นก่อขึ้นมันเป็นเรื่องร้ายแรงมาก (ถึงแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมันจะไม่ได้ใหญ่โตอย่างที่คุณคิดก็ตาม) ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวเรา ก็มักจะมีข้ออ้างหรือเหตุผลมาเสริมเสมอ

    3. Stereotypical Bias เหมารวมไปเลย
    เป็นหนึ่งในอคติที่พบมากที่สุด เป็นการเหมารวมเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากประสบการณ์ของตัวเอง เช่น เจอผู้ชายเจ้าชู้ก็เหมารวมว่า ผู้ชายจะต้องเจ้าชู้เหมือนกันหมดทั้งโลก หรือตัวเองเกิดมาในครอบครัวที่ดีมีความรักความอบอุ่น ก็เหมารวมว่าทุกครอบครัวจะต้องเป็นแบบนี้เหมือนกันหมด ไม่ยอมรับความแตกต่าง ไม่ยอมรับความทุกข์ของผู้อื่น

@@@@@@@

เราทุกคนสามารถเป็นคนที่มีจิตใจที่เปิดกว้างมากขึ้นได้ ขอเพียงแค่ไม่ได้มองแค่มุมตัวเราเพียงฝ่ายเดียว แต่ลอง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ลองคิดดูสิว่าถ้าเป็นเรา เราจะรู้สึกยังไงในสถานการณ์นั้น และพยายามทำใจให้กว้าง มองโลกในหลายแง่มุมทำความเข้าใจว่าชีวิตของแต่ละคนนั้น “ไม่เหมือนกัน” 

สุดท้าย คุณจะเป็นคนที่เข้าใจโลกได้มากขึ้น ได้พัฒนาความคิดของตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น แล้วคุณจะได้เจอสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิตอย่างแน่นอน





ขอบคุณ : https://www.beartai.com/life/1375140
โดย ภูษิต เรืองอุดมกิจ | 17/04/2024

 8 
 เมื่อ: เมษายน 26, 2024, 02:21:45 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 9 
 เมื่อ: เมษายน 26, 2024, 11:03:42 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 10 
 เมื่อ: เมษายน 26, 2024, 07:55:03 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สัลเลขสูตร

ว่าด้วย : ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
เหตุการณ์ : พระมหาจุนทะถามพระพุทธองค์ถึงอุบายการละทิฏฐิต่าง ๆ พระพุทธองค์ทรงให้อุบายการละทิฏฐิแล้ว ทรงแสดงธรรมเรื่องธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ธรรมสำหรับหลีกเลี่ยงคนชั่ว และอุบายการบรรลุนิพพาน




 :25:

อุบายในการละทิฏฐิ

ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด ให้พิจารณาเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา

พระผู้มีพระภาคไม่ทรงกล่าวว่า การเข้าฌาน ๑ - ฌาน ๘ เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ 


ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้ คือ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการลักทรัพย์
ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์

ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเท็จ
ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด
ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ
ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ

ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น
ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท
ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเพียรชอบ

ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณชอบ
ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติชอบ

ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา
ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ

ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธไว้
ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน
ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยกตนเทียมท่าน
ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา

ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่
ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด
ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา
ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อด้าน

ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย
ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีกัลยาณมิตร
ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนไม่ประมาท

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนมีศรัทธา
ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริในใจ
ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสุตะมาก

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น
ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา

@@@@@@@

ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย

เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า

เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย


@@@@@@@

การปฏิบัติเพื่อการขัดเกลากิเลส เป็นธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงคนชั่ว

    ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้
    ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้
    ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้
    การปฏิบัติเพื่อการขัดเกลากิเลส เป็นเหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เหตุแห่งความดับสนิท

แล้วทรงตรัสต่อไปว่า

    เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้  กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว

    นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย





ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : สัลเลขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๐๐-๑๐๙
URL : https://uttayarndham.org/node/1316

หน้า: [1] 2 3 ... 10