ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:48:24 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 04:51:43 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:45:34 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



กว่าจะเป็นสังคีติได้ ก็สาธยายกันแม่นแล้ว

     ๒. ในเรื่องการสาธยายที่ใช้ในวงกว้าง คือ การรักษาคําสอนของพระพุทธเจ้า ขอพูดเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย

     บอกแล้วว่า ในสมัยก่อนโน้น ยังไม่มีเครื่องบันทึกเสียง และ โรงพิมพ์ก็ยังไม่มี ต้องยอมรับว่าความถูกต้องแม่นยําเที่ยงตรงของ ข้อมูล เป็นฐานเป็นจุดเริ่มสําคัญที่สุด ทําอย่างไรจะมีข้อมูลที่แม่น ที่แท้ไว้ใช้ไว้ศึกษา ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระภิกษุแต่ละรูปจึงท่องจํากันจนชํานาญ คือมีการสาธยายกันจนเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวัน ซึ่งกลายเป็นการฝึกความจําไปในตัว

     อย่างที่เราจะเห็นได้ชัดว่า คนเรานี้ที่จริงมีความสามารถใน การจํามากกว่าที่หลายคนคิดว่าจะเป็นไปได้ เช่นเวลานี้มีพระพม่า สืบต่อกันมาไม่ขาด ที่จําพระไตรปิฎกได้ทั้งหมดเป็นหมื่นๆหน้า

     ในพุทธกาลนั้น พระภิกษุแต่ละรูปคอยตามข่าวว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องอะไร ถ้าตัวไม่ได้ไปฟังเอง ก็จะถาม องค์ที่ไปฟังมาว่า วันนี้พระพุทธเจ้าเทศน์อะไร เอ้า... ท่านว่ามาให้ ฟังซิ องค์ที่ถูกถามก็สาธยายให้ฟัง องค์ที่ถาม ฟังแล้ว ก็สาธยาย เพื่อให้แน่ใจว่าตนได้พระเทศนานั้น ที่จะได้นําไปศึกษา

    นี่คือ การสาธยายจึงสําคัญมาก เพราะจะได้แน่ใจว่า
    หนึ่ง. ตัวเองได้สิ่งที่ฟังมา
    สอง. แล้วก็มาบอกคนอื่นได้ถูกต้อง
    ต้องบอกให้ตรงนะ เดี๋ยวกลายเป็นบอกผิดไป ถ้าบอกผิดไป ถือว่าเสียหาย มาก จะกลายเป็นคู่พระพุทธเจ้า หรือทําให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป จึง ต้องสาธยายให้แม่น ให้ตรง

โดยเฉพาะพระที่เป็นครูอาจารย์จะติดตามพระธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้าเป็นพิเศษ เพื่อว่า เวลาพบปะสอนลูกศิษย์ ก็จะได้ บอกเล่าพระธรรมเทศนานั้นให้ได้ทั่วกัน ในพุทธกาลจึงสืบต่อพระ พุทธศาสนากันมาได้อย่างดี ทั้งที่ไม่มีเครื่องมือสื่อสารอย่างปัจจุบัน ในบรรยากาศของพุทธกาลอย่างที่ว่านั้น พระภิกษุทั้งหลาย

จึงมีการฟัง มีการสาธยายเป็นเรื่องของชีวิตประจําวันอย่างที่ว่า แล้ว เรื่องที่ได้แล้ว ท่านก็สาธยายทบทวนไว้ เรื่องใหม่ก็เพิ่มมา เรื่อย จึงเป็นธรรมดาว่ามีพระเถระมากมายที่รักษาคือจําพุทธพจน์ จําพระสูตรไว้ได้มากมายเท่ากับชีวิตในพระศาสนาของตัวท่าน บางองค์ก็จําได้แทบจบแทบครบทั้งหมด

ในปัจจุบันนี้ก็ยังเห็นได้ ที่ว่าในเมืองพม่าหรือเมียนม่าร์ ยังมี คล้ายเป็นประเพณีให้มีพระที่มีตําแหน่งเป็นติปิฎกธร คือผู้ทรง พระไตรปิฎก และบางทียังมีอยู่พร้อมกันหลายองค์ด้วย แต่ละองค์ ท่องจําพระไตรปิฎกได้หมดทั้ง ๒๐,๐๐๐ กว่าหน้า โดยมีการสอบ ตามที่จะจัด แสดงว่าพระไตรปิฎกเป็นหมื่นๆ หน้านี่คนเดียวจําได้ และมีจริงเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน

@@@@@@@

ในสมัยพุทธกาล ก็มีเป็นปกติอย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือ พระแต่ละรูปถือเป็นหน้าที่หรือเป็นเรื่องชีวิตประจําวันของตัว ที่จะต้องตามรู้ ตามฟังคําสอนของพระพุทธเจ้า ให้ทันกับพระธรรมวินัยที่เวลานั้น ยังมีเพิ่มเติมอยู่เรื่อยแทบทุกเวลา พูดเทียบคําสมัยนี้ว่าไม่ให้ตก ข่าว ทั้งตัวเองก็อยากรู้ อย่างพระปุถุชนก็ว่าต้องให้ทันพวก ไปฟัง มาแล้ว พอได้โอกาส ก็ปลีกตัวไปเข้าที่สงบหลีกเร้น แล้วก็มีสติทํา การสาธยาย แล้วก็พินิจพิจารณาวิจัยไป ให้เกิดให้เจริญปัญญา ก็เป็นการศึกษา และนี่ก็คือการปฏิบัติธรรม

ทีนี้ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน จะทําอย่างไร อย่างที่รู้กันดีแล้ว พระมหากัสสปะก็ชวนบรรดาพระอรหันตเถระ ที่มาพร้อมกันมากที่สุดในคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ให้ มาประชุมกันรวบรวมพระธรรมวินัย พูดง่ายๆ ว่าคําสั่งสอนทั้งหมด ของพระพุทธเจ้า ที่จะได้ยอมรับยืนยันพร้อมกันแล้ว รักษาไว้เป็น หลักสืบไป

ทีนี้ก็เลือกได้พระอานนท์ ที่เป็นพระอุปัฏฐากประจําพระองค์ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งจําพระสูตร พระพุทธธรรมเทศนาไว้ได้มาก ที่สุดแม่นที่สุด ให้ทําหน้าที่วิสัชนาพระสูตร ที่จริงองค์อื่นก็จํากันได้ มากมาย องค์อื่นก็เท่ากับเป็นผู้สอบทาน คือมาตรวจสอบคําของ พระอานนท์ แล้วพระอุบาลีผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรง พระวินัย (วินัยธร) ก็ได้ทําหน้าที่วิสัชนาพระวินัย

เมื่อเข้าที่ประชุมแล้ว พระมหากัสสปะ องค์ประธาน ก็ทํา หน้าที่ปุจฉา คือถามพระอุบาลีจนจบเรื่องพระวินัยแล้ว ก็ถามพระ อานนท์จนจบพระสูตร จบทั้ง ๕ นิกาย ก็สาธยายให้ได้บันทึกคือ จํากันไว้ เช่นว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จประทับที่นั่น มีเรื่องนี้ๆ เกิดขึ้น ได้บัญญัติวินัยข้อนี้ว่าอย่างนี้ หรือได้ตรัสแสดงธรรมว่า อย่างนี้ ท่านผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นก็รู้มาคราวเดียวกันบ้าง ต่างคราว กันบ้าง บางองค์ก็รู้มาก บางองค์ก็รู้น้อย บางองค์ก็รู้เรื่องที่นั่น บาง องค์ก็รู้เรื่องที่นี่ ก็ได้ตรวจสอบพระอุบาลี และพระอานนท์ไปด้วย ว่าตรงกันไหม

จนกระทั่งในที่สุด เมื่อยอมรับร่วมกัน โดยทวนทานกันแล้ว ยอมรับตกลงเป็นมติที่ลงกันแล้ว ก็ตั้งเป็นแบบไว้สืบต่อไป ด้วย การสวดพร้อมกัน เรียกว่า “สังคายนา"

หลังจากสังคายนา ถือว่ามีพระธรรมวินัยกันครบถ้วนเท่านี้ แล้ว ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่จะรักษาไว้ ทั้งเพื่อถือและ ใช้เป็นหลัก เช่นในการตัดสินวินิจฉัยเรื่องพระธรรมวินัย แล้วก็ใช้ เพื่อการศึกษา การสั่งสอนเผยแพร่ทุกอย่าง

ทีนี้ การที่จะรักษาไว้ได้ วิธีการก็คือสาธยายอย่างที่ว่า มาแล้ว ตั้งแต่การสาธยายเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล และที่เป็น ของกลางก็คือการประชุมหรือชุมนุมกันสาธยายพร้อมกันเป็นหมู่ เป็นคณะ ที่เรียกว่า “คณสาธยาย”

คณสาธยาย คือการสาธยายพร้อมกัน สวดพร้อมกันนี้ แหละ ที่เป็นหลักในการรักษาพระธรรมวินัยสืบกันมา ท่านทํามาเหมือนกับแบ่งงานแบ่งหน้าที่กัน จะเรียกว่าจัดหน้าที่ให้ก็ได้

นี่ก็คือ พุทธพจน์ หรือเรียกรวมๆ ว่าพระไตรปิฎกนี้ แบ่งเป็น หมวดๆ เรียกว่า ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตร นิกาย ขุททกนิกาย ก็จัดแบ่งภาระกันไป พระเถระองค์นี้เชี่ยวชาญ ในทีฆนิกาย ก็เป็นหัวหน้า แล้วก็มีลูกศิษย์จํานวนมากมารวมกัน เป็นคณะใหญ่ นอกจากศึกษาให้รู้ชํานาญในทีฆนิกายนั้นแล้ว ก็ พร้อมกันสาธยายทีฆนิกายนั้นเป็นประจํา เพื่อรักษาไว้ให้มั่นใจ ก็ รวมเรียกคณะนี้ว่า ทีฆภาณกา

@@@@@@@

นี่เห็นไหม ที่นี่ใช้คําว่า "ภาณ" อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าสวดบาง ทีก็ใช้คําว่า “ภาณ” ที่นี่ ทีฆภาณุกา ก็แปลว่า เป็นพระพวกที่สวด ทีฆนิกาย และอย่างที่ว่าแล้ว ที่ว่าสวด ไม่ใช่หมายความว่าสวด เฉยๆ ต้องถึงขั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในทีฆนิกายนั้นเลยทีเดียว หมายความว่า รู้ความหมาย รู้คําสอนในทีฆนิกายนั้น อธิบายได้ ด้วย แล้วก็มีหน้าที่จํารักษาไว้ให้แก่ส่วนรวมทั้งหมดด้วย

ต่อจากทีฆภาณุกา ก็มีภาณกาคณะอื่นๆ ทั้งมัชฌิมภาณกา ส่งยุค ภาณการ อังคุตตรภาณกา ขุททกภาณกา แม้กระทั่งชา ก ภาณกา ธรรมบทภาณกา ตลอดจนขันธกภาณกาทางด้านพระ วินัย และนักอภิธรรมก็เป็นอาภิธัมมิกา

นี่ก็คือว่า เมื่อได้ผลมติจากการสวดพร้อมกันใน “สังคายนาแล้ว ก็เอามารักษาสืบทอดด้วยการสวดพร้อมกัน โดยสาธยายเป็นหมู่ หรือประชุมกันทํา “คณสาธยาย”

จากการที่แต่ละองค์สาธยายของตนๆ แล้ว ๑๐ องค์ ๑๐๐ องค์ ก็มาสาธยายพร้อมกันเป็นคุณสาธยาย เหมือนพระสวดมนต์นี่ เมื่อเป็นคณะสวดพร้อมกัน องค์ไหนๆ ก็สวดผิดไม่ได้ เพราะถ้า ผิดตัวเดียว ก็ขัดกับพวก แล้วไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น วิธีสวดพร้อมกันนี้ จึงถือเป็นสําคัญในการที่จะ รักษาค่าสอนให้คงทนอยู่ได้แม่นยํา ขอให้ดู อย่างของพราหมณ์นั่น เขาสวดกันมาตั้งแต่ยุคพระเวท ๒-๓-๔-๕ พันปี จนเดี๋ยวนี้ พวก ฝรั่งที่เขียนตําราเรื่องของอินเดีย ก็ยอมรับว่า พวกฤษี ท่องจําทรง จําพระเวทไว้อย่างเดิมเลย ไม่มีเปลี่ยนไม่มีผิดพลาด ของพุทธเรา นี้ ก็ต้องมีคุณสาธยายไว้ การที่ว่า พระทีฆภาณกาก็สวดทีฆนิกาย มัชฌิมภาณกาก็สวดมัชฌิมนิกาย อะไรอย่างนี้ จัดเป็นพวกๆไป ก็รักษาพุทธพจน์ไว้ได้

    เป็นอันว่า การสาธยายนี้
    หนึ่ง. ใช้ในการศึกษาในส่วนของ แต่ละบุคคล
    สอง. ใช้ในการรักษาพุทธพจน์คําสอนของพระพุทธเจ้า
    โดยกลุ่มโดยหมู่ที่ใช้วิธีคุณสาธยาย คือ สวดพร้อมกัน และนั่นก็เป็นแบบแผนสืบมา ที่ทําให้เราได้มีการสวดมนต์ทั้งส่วน ตน และเป็นกลุ่มเป็นหมู่ในปัจจุบันนี้ จะเรียกว่าเป็นต้นทางก็ได้

แต่ทีนี้ ระบบการปฏิบัติของเราเวลานี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เรา ไม่ค่อยใช้สาธยายในการเรียนส่วนตัว และก็ไม่ได้ใช้คุณสาธยาย ในการรักษาค่าสอน เราบอกว่ามีคัมภีร์พระไตรปิฎกจารึกไว้แล้ว พิมพ์เป็นเล่มแล้ว มีแม้กระทั่งที่เป็นดิจิทัล เพราะฉะนั้น เราก็จึง ละเลย ไม่ใช้วิธีสาธยาย ซึ่งก็ทําท่าจะค่อยๆ เลือนหายไป แล้วเราก็เหลือแต่การสวดมนต์

แต่แล้วก็เข้าทํานองเดียวกันอีก เราสวดมนต์ไปสวดมนต์มา เราก็ลืมความหมายเดิมที่ว่า ท่านให้สวดมนต์เพื่อจะได้สาธยายคํา สอนของพระพุทธเจ้า แล้วเราจะได้คิดพิจารณาคําสอนของ พระองค์ ให้ได้ศึกษาและนําไปใช้ไปปฏิบัติ เออ.. พระพุทธเจ้าสอน ไว้อย่างนี้ เราเอามาสวดมาสาธยาย ก็ดูสิว่าเราเข้าใจความหมาย ดีไหม และเราจะเอาไปใช้ไปปฏิบัติอย่างไร อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ตรงตามความหมายเดิมของการสวดสาธยาย

แต่ตอนนี้เราสวดกันไปอย่างนั้นเอง ใช่ไหม ก็สวดไปเพลินๆ แล้วบางทีก็เคลิบเคลิ้ม เลยจะกลายเป็นกล่อมตัวเองหรือกล่อม กันเอง จะว่าเจริญสมาธิก็ไม่ใช่ แต่คือเขวออกไปแล้ว ที่จะได้ก็คือ อาจจะหลับไปเลย แล้วเราก็อาจจะบอกว่า นี่ก็เป็นการใช้ ประโยชน์ได้อย่างหนึ่ง คือช่วยให้นอนหลับ

แต่อย่าพอใจแค่นั้น ควรจะพากันไปให้เข้าถึงหลักคําสอนของ พระพุทธเจ้า แล้วอีกขั้นหนึ่งคือรักษาคําสอนของพระพุทธเจ้าไว้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สาธยายที่ใช้ในการศึกษานี่ อย่าลืม อย่าทิ้ง แม้มีคําสอน มีคัมภีร์ มีการพิมพ์แล้ว เราก็เอาสาธยายมาใช้เป็น ประโยชน์ได้ต่อไป

@@@@@@@

ตัวหนังสือก็เขียนกันได้ ทําไมไม่เอามาใช้

ทีนี้ก็มีคําถามแทรกเข้ามาว่า เอ้อ.. สมัยก่อนนี้ที่บอกว่าใน พุทธกาลเรียนโดยใช้ความจํา ด้วยการสาธยายท่องเอา นี่ หมายความว่า สมัยนั้นไม่มีการเขียนหรืออย่างไร ก็เลยเอาเรื่องนี้ มาคุยมาบอกกันไว้หน่อย

ก็ตอบสั้นๆ ก่อนว่า มีแล้ว ในสมัยพุทธกาลก็มีการเขียนหนังสือ
ก็ถามอีกว่า อ้าว.. แล้วทําไมจึงไม่ใช้วิธีเขียน ทําไมจึงไม่จารึกพุทธพจน์ไว้ด้วยการเขียนล่ะ

อันนี้ก็จะเล่าให้ฟัง ดูง่ายๆ อย่างในวินัยปิฎก มีสิกขาบทที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ ตั้งแต่ห้ามาสก คือบาทหนึ่งขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ในวินัยปิฎก ตอนนั้น ก็พูดถึงเรื่องโจรขโมยต่างๆ แล้วต่อมาในตอนอื่น ก็มีเรื่อง ที่เกี่ยวกับการบวชด้วย คือ คนที่ไปลักขโมย ที่เรียกว่าโจรนั้น ก็มี พุทธบัญญัติไม่ให้พระบวชให้โจร

โจรนี่มีหลายระดับ โจรอย่างองคุลิมาล เขาเรียกว่าโจรถือธง หมายความว่าเป็นโจรที่ใหญ่จริงๆ เรียกว่า มีธงนําเลยทีเดียว

ทีนี้โจรอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า “ลิขิตกโจร” ลิขิตแปลว่าเขียนใช่ ไหม ภาษาบาลีว่า “ลิขิตโก โจโร" แปลว่า โจรที่มีหมายจับ คือ หมายจับของพระราชา ท่านอธิบายว่า โจรพวกนี้ พระราชาทรง ออกหมายไว้ในหมายนั้นจะเขียนว่า โจรคนนี้ชื่อนี้ ใครเจอที่ไหน ก็ ให้ฆ่าเสียที่นั่น หรือว่า โจรผู้นี้ ใครเจอที่ไหน ก็ให้จับตัวไว้ อะไร อย่างนี้ นี่เรียกว่ามีหมายของพระราชา เป็นลิขิตโก โจโร ก็แสดงว่า สมัยนั้นมีการเขียนหนังสือแล้ว

อ้าว.. ก็เมื่อมีตัวหนังสือ มีการเขียนหนังสือแล้ว ทําไมจึงไม่ ใช้ในการเล่าเรียน ต้องเข้าใจว่า การเขียนสมัยนั้นน่ะ มันไม่ เหมือนพิมพ์

ในการพิมพ์นี้ เราตรวจให้ถูกต้องแน่ใจดีแล้วครั้งเดียว แล้วก็ พิมพ์ออกไปเท่าไรๆ เป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสนฉบับ มันก็เหมือนกันหมด ถ้าตรวจแน่นอนทีเดียวแล้ว ก็ไว้ใจได้ แน่ใจว่าเป็นแบบแผน

ทีนี้ในสมัยพุทธกาลนั้น คนเขียนโดยไม่มีเครื่องพิมพ์ การ เขียนก็เป็นเรื่องส่วนตัวสิ ใครมีความรู้แค่ไหน เข้าใจถูกต้องไหม จําไว้ได้แม่นยําหรือผิดเพี้ยน หรือแม้แต่ถ้อยคําภาษา เขามีความ เข้าใจภาษาถูกต้องไหม บางคนเขียนอักขระจะบอกคําสอน แต่ตัว ก ข ค ง บางทีก็สะกดไม่ถูก ทําให้คนที่อ่านเข้าใจผิด

@@@@@@@

เพราะฉะนั้นท่านจึงถือว่า การเขียนนี่ไว้ใจไม่ได้ ในสมัยก่อน เมื่อยังไม่มีการพิมพ์ ถือว่าการเขียนใช้เป็นทางการหรือเอาจริงจัง ไม่ได้ ให้เป็นเรื่องของการใช้ส่วนตัว เช่น อยากจะเรียนอะไร ทบทวนเขียนอะไร ก็เขียนเฉพาะตัว เราไปเห็นใครเขียนอะไรไว้บอกอะไรไว้ เชื่อได้ที่ไหนล่ะ เราไม่รู้ว่าคนเขียนนี่มีความรู้จริงหรือ เปล่า ไว้ใจได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นในเรื่องสําคัญ เรื่องจริงจัง เขา ไม่เอาเลย เขาต้องใช้วิธีทรงจํา เพราะมันจะมีแบบให้แม่นยํา เดี๋ยวจะเล่าต่อ

ทีนี้แทรกเข้ามา คือว่า การใช้วิธีเขียนในสมัยก่อนนี่ มันเข้าคติ ที่บอกในเรื่องตํารายาว่า “ลอกสามที่กินตาย” เคยได้ยินไหม เอ๊ะ.. ลอกกี่ทีกินตายนะ อันนี้ชักจําไม่แม่นแล้ว เอาเป็นว่า จะลอกสามที่ กินตาย หรือลอกเจ็ดทีกินตาย หรือกี่ทีก็แล้วแต่ ก็คือว่าคัดลอก ต่อๆ กันไป พอเอาไปทํายากิน แทนที่จะโรคหาย คนก็เลยตาย

ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง มีตํารายาบอกว่า “ลูกประคําดีควาย รากขี้กาแดง" ทีนี้ คนที่มาคัดลอกไปไม่มีความรู้ว่าต้นไม้ที่เป็นตัว ยาชื่อนี้คือต้นอะไร ก็ได้แต่ลอกตัวหนังสือไปตามนั้น แต่เพราะว่า ไม่รู้จักของจริง ไม่มีความรู้ ก็นึกเอาตามความรู้ความเข้าใจของตัว ก็เขียนแยกวรรคผิด หรือแยกวรรคไม่ผิด แต่เขียนติดกันเป็นพืดไปเลย คนอ่านไม่รู้จักของจริง ก็แยกวรรคไม่ถูก

ทีนี้ ลูกประคําดีควายรากขี้กาแดง ก็มาแยกเอาสิ ลูกประคํา เออ.. ใช่แล้ว ลูกประคํา ได้ตัวยาหนึ่งแล้ว ดีควาย เออ... ดีควาย ก็ ได้แล้ว ดีควายไปเอามา ต่อไปว่า ราก อ๋อ... ราก คนก็รากออกมา คืออาเจียน ขี้ ก็ได้ละ แล้วก็ กาแดง เอ... ตัวนี้หายากจริงๆ หา เท่าไร ก็ไม่ได้

เอาละสิ ทําไงล่ะ ตํารับยานี้กินเข้าไปก็มีหวัง ถ้าไม่ตาย ก็ ปางตายใช่ไหม ทีนี้ที่จริงมันเป็นอย่างไร

“ประคําดีควาย” เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลของมัน ก็เป็นลูก ประคําดีควาย ใช่ไหม คือลูกของต้นประคําดีควาย แล้วก็ราก ขี้กาแดง "ขี้กาแดง" นี่เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ก็เอารากของต้น ขี้กาแดงนั้นมา เป็นอันว่ามีตัวยาสองอย่างนี้เท่านั้นเอง

นี่อย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างของคําที่ว่า ลอกสามทีกินตาย

เพราะฉะนั้นก็จึงเป็นอันว่า เรื่องการเขียนนี่เสี่ยงอันตราย มาก แต่วิธีท่องของท่านนี้ ใช้วิธีสังฆะที่ประชุมส่วนรวม ต้องมีการ สาธยายสอบทานกันจนมั่นใจได้

@@@@@@@

ต่อหนังสือ ไม่ต้องใช้ตัวหนังสือ

เมื่อกี้นี้บอกว่า วิธีสาธยายนั้น มีการท่อง ทวน ทาน นี่คือ สําทับว่าต้องเอามาทานกัน คือต้องมีการสอบทาน หรือตรวจทาน

ถึงจะเรียนมาแล้ว ท่องแล้ว ทวนแล้ว จําได้ ก็ต้องเอามาให้ที่ ประชุมยอมรับ หรืออย่างน้อยเอาพระอาจารย์ที่มีความรู้แม่นยํา ชัดเจนมา ว่าให้ท่านฟัง แล้วท่านจะได้ยอมรับว่าถูกหรือผิด และ แก้ไขได้ให้มั่นใจว่าถูกต้อง

ทีนี้ก็มาพูดถึงวิธีเรียนสมัยโบราณสักหน่อย เคยได้ยินไหม การเรียนแบบต่อหนังสือ เป็นวิธีเรียนที่มีการสาธยายอย่างนี้ วันนี้ ก็เลยมาพูดคุยเรื่องนี้หน่อย จะได้รู้ว่าในสมัยโบราณ เขามีวิธีเรียน กันอย่างไร บางทีอาจจะได้แง่ที่เป็นประโยชน์ ที่เอามาใช้ในสมัยปัจจุบันที่เจริญด้วยเทคโนโลยีได้

วิธีเรียนแบบต่อหนังสือนี่ ตัวผู้พูดเองก็ไม่ทันนะ แต่ทันได้รู้ บ้างจากรุ่นหลวงพ่อที่ท่านถือคัมภีร์แบกคัมภีร์ไปต่อหนังสือ หลวงพ่อนั้นท่านมรณภาพไป ๔๐ ปีแล้ว เมื่อมรณภาพนั้นท่านอายุ ๙๐ ปี ก็เป็นอันว่านับอายุท่านมาถึงเดี๋ยวนี้ก็ ๑๓๐ ปี เป็นศตวรรษ นี่ก็ บอกไว้ก่อนว่าไม่ใช่รู้ชัดเจนมาโดยตรง เป็นการปะติดปะต่อให้ฟัง

ทีนี้ คนรุ่นเก่าสมัยนั้นยังไม่มีระบบการพิมพ์ที่เจริญ การพิมพ์หนังสือก็มีแล้ว แต่ยังน้อย ไม่แพร่หลาย ในการเรียนยังต้อง ใช้วิธีเก่า บางทีก็จารใบลานเอามาสําหรับตัว แล้วก็แบกคัมภีร์ไป หาอาจารย์ และเรียนโดยใช้วิธีต่อหนังสือ

“ต่อหนังสือ” ทําอย่างไร เอาอย่างนี้คือ คัมภีร์เป็นตัวช่วย เท่านั้น ตัวอาจารย์นั่นแหละเป็นตัวหลักตั้งไว้ ลูกศิษย์มา อาจจะ คนเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ ๒-๓ องค์ เรียนกันแทบจะเป็นแบบตัวต่อตัว

เออ.. ลูกศิษย์มาต่อหนังสือ มาถึงแล้ว เริ่มต้น... อาจารย์ก็ บอกอุเทศ (บาลี "อุทเทส") ก่อน

อุเทศ คืออะไร อุเทศก็คือ ตัวบท บทตั้ง หัวข้อหลัก แม่บท เฉพาะอย่างยิ่งพุทธพจน์ ซึ่งถือเป็นอุเทศ เป็นแม่บท เป็นหัวข้อ เป็นหลัก ที่เราจะต้องทําความเข้าใจ พระอาจารย์ก็ตั้งอุเทศขึ้นมา ถ้าอุเทศนั้นเป็นคาถาสั้นๆ ก็ว่าให้ฟัง ก็คือสาธยายนั่นแหละ แล้ว ให้ลูกศิษย์สาธยายตามนั้น สาธยายให้ได้ให้ถูกต้องให้เต็มอย่าง นั้น ถ้ายังไม่ได้ ฉันยังไม่สอน ต้องสาธยายให้แม่นก่อน

ทีนี้บางทีอุเทศเป็นพระสูตรที่ยาว ก็ต้องสาธยายกันเป็นสูตร เลย นี่เรียกว่าอุเทศ คือตั้งตัวบทให้ เป็นบทตั้ง นี่คือต้องสาธยาย เป็นการท่องจนจ๋าได้ว่าได้แม่นยํา

พอได้อุเทศแม่นยําแล้ว ก็ไม่อยู่แค่ท่อง ไม่อยู่แค่จํา เอาละนะ เธอได้ตัวบทคืออุเทศ สาธยายได้แม่นยําแล้ว ต่อไปก็ถึงปริปุจฉา

ปริปุจฉา แปลว่า ซักรอบสอบถาม ซักกันให้ปริ ให้ปรุโปร่ง กันไปเลย ซักถามไปและอธิบายกันไป ปุจฉาแปลว่าถาม เดิม “ปริ” เข้าไป “ปริ” แปลว่า รอบ หมายความว่าซักถาม แล้วฟังตอบ ชี้แจงอธิบายกันไปจนปรุโปร่ง

@@@@@@@

นี่ก็หมายความว่า อาจารย์อธิบายให้ฟัง บรรยายชี้แจงว่า อุเทศที่ตั้งขึ้นมาเมื่อกี้นี้ มีความหมาย มีเนื้อความอย่างไร เอ้า... ถ้า สงสัย ก็ถามมา ตอบกันไป จนชัดเจนแล้ว ก็บอกว่า เอาละ รู้เข้าใจ ดีแล้ว วันนี้พอ กลับไปได้ และอาจารย์ก็นัด หรืออาจจะมีวันที่ กําหนดไว้แล้ว ที่จะมาในครั้งต่อไป

ควรย้ําไว้เป็นสําคัญว่า ในการเรียนทั้งหมดนั้น ต้องมีโยนิโสมนสิการ รู้จักใส่ใจพิจารณาโดยแยบคายให้สว่างชัดพัฒน์ปัญญา ไปโดยตลอด และเมื่อกลับถิ่นไปที่วัด ตัวเองก็สามารถสาธยาย และโยนิโสมนสิการอีก เพื่อทบทวนและจะได้เกิดมีความรู้ความ เข้าใจกว้างลึกทั่วตลอดเห็นรอบเห็นไกลยิ่งขึ้นไป จนถึงวันนัด ก็มาหาอาจารย์

พอเริ่มครั้งใหม่ อาจารย์บอกว่า เออ... ฉันจะต่อให้เธอก็ต้อง ได้ของเก่าให้แน่ก่อน ใช่ไหม ถ้าของเก่าเธอยังไม่ได้ จะไปต่อให้ได้ อย่างไรล่ะ

นี่คือต่อหนังสือ จะต่อ ก็ต้องได้ของครั้งก่อนแล้ว เอ้า.. ที่ เรียนวันก่อนนั้น ว่ามา นี่คือต้องทวนของเก่าทั้งหมด อาจารย์บอก ว่า เอาละนะ อุเทศว่ามา ก็ว่าอุเทศให้อาจารย์ฟัง เออ.. ใช้ได้

ทีนี้ที่เธอว่าอุเทศมานี่ ความหมายเนื้อความทั้งหมดของ อุเทศนั้น เธอมีความเข้าใจอย่างไร ว่ามาให้ฉันฟัง ลูกศิษย์ก็ต้อง อธิบายสิว่าตัวมีความเข้าใจอย่างไร อาจารย์ก็บอกว่า เออ... คนนี้ ถูก คนนั้นไม่ถูก ตรงไหนผิดถูก เป็นอย่างไร หรือเพื่อนนักเรียนที่ ฟังอยู่ด้วย ก็ช่วยกันตรวจสอบ ถ้าอาจารย์เห็นว่ายังมีข้อที่ไม่ได้ เล็กๆ น้อยๆ ก็บอกอธิบายแก้ไขทําให้ถูกให้ชัด จนกระทั่งแน่ใจว่า ลูกศิษย์คนนี้จําได้ รู้เข้าใจชัดเจน มั่นใจแล้ว ก็ยอมรับ แล้วก็ต่อ หนังสือ คือให้อุเทศต่อ แล้วก็ปริปุจฉากันต่อไป

แต่ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจ อาจารย์ก็ยังไม่ต่อหนังสือให้ ต้อง เอาอันเก่าให้ได้ก่อน จึงต่อให้

จะเห็นว่า วิธีศึกษาแบบนี้ค่อนข้างเป็นการเรียนตัวต่อตัว เป็นวิธีศึกษาแบบเอาจริงเอาจัง

ดังนั้น ถ้าอาจารย์ หนึ่ง เป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญจริงๆ สอง เป็นคนเอาจริงในการสอน ตั้งใจมุ่งมั่นในการที่จะให้เขาศึกษาได้ จริง สาม มีวิธีสอนที่ดีด้วย ก็จะได้ลูกศิษย์ที่ดีที่เก่งมากเลย ใช่ไหม

อันนี้เป็นวิธีศึกษาที่เรียกว่า “ต่อหนังสือ”  ทีนี้สมัยนี้เราไป ไว้ใจเทคโนโลยีมาก อย่าไปประมาทนึกว่าจะเก่งกว่าคนเก่า ลองนึกดูว่า วิธีต่อหนังสืออย่างนี้ได้ผลดีไหม ถ้าอาจารย์เอาจริง เอาให้แม่น ให้รู้จริง ให้คิดขยายและเห็นทางใช้ ต้องไว้ใจได้จริง จึงจะยอมต่อให้

ทีนี้เอาอย่างที่ว่านั้นลองมาเทียบกับเวลานี้ที่คนเรียนไปฟัง กันเป็นร้อย หรือหลายร้อย บางทีไม่ได้เข้าถึงตัวอาจารย์ แทบไม่ได้ สื่อสัมพันธ์กัน เทคโนโลยีนั้นช่วยได้เยอะ แต่ในเวลาเดียวกันมันก็ มีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข ทําอย่างไรจะไม่ให้แพ้วิธีต่อหนังสือได้ ต้องให้มั่นใจ นี่ก็เอามาเล่าให้ฟังพอที่จะเข้าใจ

เป็นอันว่า เรื่องสาธยาย หรือสัชฌายะ ก็ใช้ในการศึกษาเล่า เรียน จนกระทั่งมาอยู่ในวิธีที่เป็นระบบของการต่อหนังสือนี้ แล้วก็ นํามาใช้เป็นสําคัญในการรักษาพุทธพจน์ คําสอนของพระพุทธเจ้า โดยเน้นคุณสาธยาย ก็ทรงจํากันมา พระไตรปิฎกและคัมภีร์ ทั้งหลายก็รักษากันมาได้ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ จึงมาถึงพวกเรา โดยถือเป็นเรื่องสําคัญมากว่าจะต้องให้แม่นยําด้วยการที่จะต้องตรวจสอบ ที่เรียกว่าสอบทานกัน

ในเมืองไทยเราเดี๋ยวนี้ก็เหลือแค่มาสอบทาน เอาคัมภีร์มา เทียบเคียงกัน แล้วก็มาตรวจสอบอ่านกัน องค์นั้นอ่านของอักษร พม่า องค์นั้นอ่านของอักษรสิงหล คนนี้อ่านของอักษรโรมัน มา เทียบกันดู มีผิดกันต่างกันตรงไหน ก็บันทึกเป็นหลักฐานไว้ แต่ถ้า ได้พระที่จําแม่นหมดทั้งพระไตรปิฎก ก็ยิ่งดีใหญ่ มั่นใจยิ่งขึ้น

(ยังมีต่อ..)

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:39:56 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ตอน ๓. ถึงไม่ร่ายมนต์ ก็สาธยายธรรม



 :25: :25: :25:

สาธยายเป็นจุดเริ่มจุดรวมงานของการปฏิบัติธรรม

ทีนี้มาศึกษาถ้อยคํากันหน่อย คําว่า “สวด” นี่เราลองมาดูคําพระ ว่าได้แก่อะไร

คําหนึ่งที่เราแปลว่าสวด คือ “สาธยาย” ใช่ไหม
อีกคําหนึ่ง คือ “คายนะ” หรือ “คายนา” เช่น สังคายนา = คายนาพร้อมกัน คือสวดพร้อมกัน

แล้วก็คําเดียวกัน คือ "คายนะ” นี้ ออกไปเป็น “คีตะ” เป็น “คีติ” ซึ่งคนไทยได้ยินบ่อย อย่างสังคายนา ก็เรียกว่า “สังคีติ” แต่ โยมคงบอกว่า เอ๊ะ.. คีตะ และ คีติ ก็เป็นเพลง ใช่แล้ว สวดก็ใช่ ร้องเพลงก็ใช่ หรือขับร้องก็ได้ คือคําเดียวกันแปลออกมาเป็นไทย ยักเยื้องไปได้

ที่พูดนี้หมายความว่า คําว่า “สวด” ในภาษาไทยนี่เทียบ ภาษาทางพระ เราใช้สําหรับคําบาลีสันสกฤต ๒ คํา คือ หนึ่ง “สาธยาย” ซึ่งเราได้ยินกันบ่อย และสอง คือ “คายนา” “คีตะ” “คีติ” “อภิคีติ” ทั้งหมดนี้แปลว่าสวดได้ทั้งนั้น อย่างพระทําวัตรค่ํา ก็มีบทที่ ขึ้นว่า หนุท มย์ พุทธาภิคีต กโรมเส (มักเขียนเป็น กโรม เส) "อภิคีติ" ก็คือบทสวดชื่นชม นกร้องเจื้อยแจ้ว ก็เป็นอภิคีตะ

แล้วยังมีอีกคําหนึ่ง คือ “ภาณะ” หรือ “ภณนะ” (จาก คํากริยาว่า “ภณ”) เช่น สวดภาณยักษ์ สวดภาณพระ ภาณ แปลว่าคําสวดก็ได้ แล้วใช้ในเชิงกิริยาอาการ ก็เป็น ภณนะ แปล เป็นกลางๆ ว่า การกล่าว ท่านกล่าว แต่เราฟังว่าสวด อย่างพระ สวดพระปริตร ก็ขึ้นว่า ปริตฺตนฺตมภณามเส (มักเขียนเป็น ภณาม เส)

เอาละ.. เป็นอันว่า เรามองจากไทยกลับไปทางบาลีว่า “สวด” มีคําว่า สาธยาย แล้วก็มี คายนา คีตะ คีติ แล้วก็ ภณนะ ภาณะ ภาณ ก๊วนกันอยู่ในนี้ รวมแล้ว สวดของไทย มักใช้กับ ๓ ศัพท์ของบาลี

@@@@@@@

เริ่มด้วย “สาธยาย” แปลว่า ท่อง แปลว่า ทวน แปลว่า ทาน ท่องก็ได้ ทวนก็ได้ ทานก็ได้ ที่นี้ คําบาลีว่าอย่างไร บาลี และ สันสกฤต ต้องดูทั้งคู่

สาธยาย บาลีเรียกว่า “สัชฌายะ” ไม่ค่อยเข้ากับลิ้นไทย คน ไทยไม่ใช้ แต่เราไปเอาสันสกฤต สันสกฤตว่า “สวาธยายะ” ออก เสียงยากพูดลําบาก คนไทยก็ไม่ไหวอีก จะเอาอย่างไรดี

สวาธยายะ นี้เอา “ยายะ” ตัวท้ายเป็น “ยาย” เป็น “สวาธยาย แล้ว ก็ยังว่ายาก จะทําอย่างไรดี เอาอย่างนี้สิ ก็ตัด “สวา” เหลือแต่ “สา” ให้ง่ายขึ้น สวาธยาย ก็มาเป็น “สาธยาย” นี่ทางหนึ่งละ

แต่นั่นก็ยังไม่เต็มใจ มานึกว่า ที่ไปตัดของเขา เอา สวา เป็น สานั้นไม่ถูกนะ แต่จะว่าสวาธยาย ก็ยาก มีอีกทางหนึ่งคือแปลง “สวาธ” เป็น “สังวัธ” ได้ “สังวัธยาย” ค่อยถนัดหน่อย

ตกลงว่า สวาธยายของสันสฤกตนี้ ไทยเอามาใช้เป็น ๒ อย่าง อย่างสั้นว่า “สาธยาย” อย่างยาวว่า “สังวัธยาย" มีใช้ทั้งสอง อย่าง แต่ที่ได้ยินบ่อยคือ “สาธยาย”

ทีนี้ ที่ว่าสาธยาย หรือสังวัธยาย คือ ท่อง ทวน ทานนั้น ก็ เนื่องจากว่า เรามีบทมีคํามีถ้อยความที่เราศึกษาเล่าเรียน ซึ่งเป็น เรื่องสําคัญ เช่น พุทธพจน์ เรื่องที่ครูอาจารย์สอนกําชับไว้ เราก็จึง ท่อง ในเวลาที่ท่อง เราก็ว่าไปตามนั้น นี่คือสาธยาย หรือสัชฌายะ สมัยก่อนนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียง ก็ต้องสาธยาย เราว่าไปๆ จนกระทั่งจําได้ เป็นอันว่า สัชฌายะ หรือสาธยายนั้น หนึ่ง ก็ท่อง เพื่อให้จําได้ สาธยายเพื่อให้จ่าได้

ทีนี้ต่อไป เมื่อจําได้แล้ว ก็ทวน เวลานั่งอยู่คนเดียว หรืออยู่ ว่างๆ เราก็เอาบทที่จําได้นั้น ซึ่งถ้าไม่ทวน ก็อาจจะลืม เราก็เอาบท นั้นมาสาธยายอีก คือว่าไปตามนั้นแหละ แต่ว่าบท เรื่องที่จําไว้แล้ว ก็เป็นทวน

ทีนี้ทานคืออย่างไร ก็คืออยากจะรู้ว่า ที่ท่านผู้นี้ท่องมานั้น จ๋ามาถูกหรือเปล่า ก็ให้คนอื่นฟังเพื่อเป็นการตรวจสอบ คนอื่นที่ฟัง นั้นจะต้องเป็นคนที่แม่น อาจจะเป็นอาจารย์หรือที่ประชุม ถ้าเป็น ที่ประชุม ผู้ฟังก็มาประชุมกัน เอ้า...ท่านผู้นี้สาธยายมานะ บทสวด นี้ คําสอนนี้ พระสูตรนี้ เช่นว่าเอาพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนะ ว่ามาซิ ท่านผู้นั้นว่าไป สวดไป ที่ประชุมก็ฟัง ตรงนี้ไม่ถูก คํานี้ผิด แก้เสีย อะไรๆ ก็ว่าไป จนกระทั่งที่ประชุมทั้งหมดยอมรับ จึงผ่าน ได้ นี่ก็สาธยาย

จะเห็นว่า สาธยายนี้สําคัญนัก มีประโยชน์มาก ใช้โดยตรง ในการศึกษา เรียกได้ว่าเป็นตัวนำ เป็นแกนของการเล่าเรียน เพราะฉะนั้น ในการศึกษาสมัยก่อนจึงถือสัชฌายะหรือสาธยายเป็นกิจสําคัญ

@@@@@@@

เอาละ คําว่าสาธยาย เอาแค่นี้ก่อน พูดพอเป็นความรู้ ประกอบไว้ แล้วเรื่องเป็นมาอย่างไร

เดิมนั้น ความหมายที่แท้ของการสาธยายที่เรามาเรียกเป็น สวดมนต์นี้ คืออะไร การสาธยายมีความหมายและความมุ่งหมาย ที่แท้ว่าอย่างไร ที่เรียกกันว่าสวดมนต์นี้เดิมในพระพุทธศาสนา ท่านใช้ทําอะไร ใช้เพื่ออะไร ตอบง่ายๆ ว่าโดยหลักใหญ่ๆ มี ๒ อย่าง

    ๑. เป็นวิธีการศึกษา เป็นเรื่องของการเล่าเรียน
     อย่างที่บอก เมื่อกี้ว่า การสาธยายแทบจะเป็นตัวแรกของปฏิบัติการใน การศึกษาเล่าเรียน สาธยาย ก็คือบอกเล่า ว่าให้ตรงตามข้อมูลที่ ประสบ ที่ได้อ่านได้พบได้เห็นได้ยินได้ฟัง ระบุบอกว่าข้อมูลไปให้ ตรงให้เต็มตามลําดับ

อย่างที่ว่าแล้ว สมัยนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียง เมื่อจะบอก เล่าว่าให้แม่นให้ตรงแท้ ก็มาเป็นท่อง นี่คือต้องการความแม่นยํา ก็ ต้องสาธยายว่าไปให้บ่อย ก็เรียกว่าท่อง จนกระทั่งจําได้แม่นไป เลย ก็คือที่เรียกว่าท่องจํานั่นเอง แล้วก็สาธยายทบทวนอีก แล้วก็ มาทานตรวจสอบกัน เป็นอันว่า ๓ ชั้น สาธยายจึงจะได้ข้อมูลแบบแผนที่แน่นอนลงตัว

อย่างที่ว่าแล้ว สาธยายใช้ในการเล่าเรียนศึกษาเป็นขั้นที่ หนึ่ง ขอให้ดูในแนวของโพชฌงค์ เราจะเรียนจะศึกษาปฏิบัติ เช่น อย่างที่ตรัสไว้ในพระสูตร เริ่มแรก เราไปฟังอาจารย์มา เริ่มต้นเรา ทําอะไร เราก็มีสติระลึกนึกได้ ก็คือจําคําจําความได้ จับข้อมูลมา ได้ถูกตรงครบก่อน

ดังที่พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่าง ภิกษุไปฟังพระพุทธเจ้า หรือไปฟังอาจารย์ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณความรู้
ท่านเทศน์ท่านแสดงธรรมให้ฟัง ตัวเองเห็นว่าเป็นหลักเป็นฐานมีความหมาย สําคัญ ก็ว่ามา แต่จ๋ามาแล้ว ตัวรู้ความหมายยังไม่ชัด ก็ไปในที่ สงบหลีกเร้น ในเวลาศึกษา หลีกเร้นก็เป็นข้อปฏิบัติอันหนึ่ง

เรามาดูวิธีการศึกษาสมัยโบราณ ในพุทธกาล ท่านได้ฟังธรรมมาแล้ว ก็หลีกเร้นเข้าไปใต้ร่มไม้หรือสถานที่สงบ พออย่างนี้เข้าที่แล้วก็เริ่มด้วย

ขั้นที่หนึ่ง ระลึกถึง นี่คือ สติ ก็ระลึกนึกถึงคําสอน เทศน์ที่ ฟังมาเมื่อเย็นหรือเมื่อบ่าย จากพระพุทธเจ้า หรือจากพระอาจารย์ ผู้ใหญ่ ที่ติดใจไว้ว่าท่านเทศน์ดี เราก็มาระลึก คือทวนความจํา นี่ แหละที่ท่านว่าเข้ามาในป่าในดงไม้ แล้วสาธยาย เอาข้อมูลที่ ต้องการที่จะใช้ขึ้นมาเรียงให้ครบ ให้ตรง ก็คือทวน หรือทบทวน

สติเป็นตัวสําคัญในการสาธยาย เพราะว่าระลึกได้ ก็คือจับ เอาขึ้นมาได้ ก็คือต้องจําได้ นี่คือสติทั้งนั้น หยิบจับเอาขึ้นมาได้ แล้ว ก็จับยกมาจัดเข้าที่ เรียงลําดับต่อกันเชื่อมโยงให้ถูกต้องและ ให้ครบถ้วน พูดสั้นๆ ว่า แม่นข้อมูล จับคําได้ครบ จับความได้ตรง นี่คืองานของสติ

เมื่อมีสติซึ่งทําหน้าที่ได้ดี มั่นใจว่า นี่เราจําจับเอามา เรานึก ทวนได้ความชัดตรง ไม่ผิดจากที่ท่านสอน หรือได้บอกเล่า ก็ก้าวสู่ ขั้นที่สอง

@@@@@@@

ขั้นที่สอง เรียกว่า ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัย พูดสั้นๆ ว่าวิจัย วิจัย ก็คือ ใช้ปัญญา พิจารณาพื้นเส้น ตรวจสอบ สืบค้น

“วิจย” คําโบราณว่า “เป็น” คือ เฟ้นหาความหมายที่แท้ เฟ้น หาสาระสําคัญ เฟ้นเอาตัวที่ตอบตรงเรื่อง คือตัวที่จะเอาไปใช้ แก้ปัญหาทําประโยชน์นั้นๆ ได้ รวมทั้งไตร่ตรอง วิเคราะห์วิจารณ์ สืบสาวเหตุปัจจัยอะไรต่ออะไร อยู่ในวิจัยทั้งหมด

วิจัยเป็นคําสําคัญมากในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อหนึ่งของ ปัญญา นี่ก็คือ หนึ่ง สติระลึกมา ทวนระลึกนึกถึงเรื่องหรือจับข้อมูล ขึ้นมา แล้วเอาสิ่งที่ระลึกด้วยสตินั้นมาเป็นตัวตั้ง สอง เอาปัญญา วิจัย นี่คือส่วนสําคัญที่สุดของโพชฌงค์ หลักการตรัสรู้อยู่ที่นี่

ต่อจากนี้ก็มี วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา พวกนี้เป็นตัว ร่วมงานที่จะมาทําให้กระบวนการศึกษาดําเนินไป ช่วยให้สติ และ วิจัยนั้น ทํางานได้ถนัด คล่อง เต็มที่ ตั้งแต่วิริยะ ที่ทําให้งานแข็งขัน จริงจังเดินหน้า จนกระทั่งถึงอุเบกขา ที่ใจปลอดนิ่งให้สติทํางาน คล่อง และเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปตามความรู้สึก ทําให้ปัญญา มองเห็นได้ชัดโล่งตรงเต็มตามเป็นจริง (อุเบกขา แปลว่าเป็นกลาง คืออย่างนี้ ไม่เข้าข้างไหน ไม่ไปตามความรู้สึก ไม่ว่าชอบใจไม่ ชอบใจ แต่มองตรง จึงได้ปัญญาแท้ ไม่ใช่นิ่งเฉยไม่รู้เรื่องรู้ราว)

นี่ละ ก็เป็นอันว่า กระบวนการศึกษามีโพชฌงค์เป็นเนื้อตัว แต่องค์สําคัญคือนี่ คือ สติ ที่ได้ข้อมูลมาเก็บรักษาและเอามาใช้ โดยเอาสาธยายมาเป็นเครื่องมือทํางาน การสาธยายทําให้สติ ทํางานเต็มที่ ในการระลึกนึกถึงจําไว้ แล้วเราก็จะได้ใช้ ปัญญา วิจัย ฟันเฟ้น พิจารณา วิเคราะห์สืบค้นสิ่งที่เอามาตั้งไว้ให้นั้น

เป็นอันว่าเข้าใจแล้ว นี่คือสัชฌายะ หรือสาธยาย ซึ่งเป็น กิจกรรมในการเล่าเรียนของแต่ละบุคคล มีการท่อง มีการทวน พวกเราเดี๋ยวนี้ก็ใช้ได้ แม้จะมีสมุดจดไว้แล้ว ถ้าในใจทวนได้แม่น ก็แสดงว่าเก่งยิ่งกว่าจุด จุดก็มาเป็นตัวที่ช่วยให้แม่นมั่น

นี่คือสาธยายที่ใช้ในการศึกษาของบุคคล การศึกษานี้ ก็คือ การปฏิบัติธรรม ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ ซึ่งเป็นองค์ของการตรัสรู้

@@@@@@@

ชาวบ้านมีคีตะ พระอรหันต์ข้ามไปมีสังคีติ

ทีนี้ย้อนกลับไปหน่อย ที่บอกว่า "สวด” ใช้คําว่า คายนะ คีตะ คีติ นั้น คนไทยอาจท้วงว่า เอ๊ะ... นั่นมันเพลงนี้ ก็ถูก คําบาลีของท่าน ที่ว่า คีตะ-คีติ-คายนะ นี่ จะว่าเป็นคําที่เราแปลว่าสวด ก็ได้ แปลว่า ร้องเพลง หรือขับร้อง ก็ได้ อย่าไปนึกว่าต้องแปลอย่างใดอย่างหนึ่ง

นี่เป็นเรื่องที่ต้องทําความเข้าใจกันเล็กน้อย คือไทยเราเอาคำเหล่านี้มาใช้ แต่ไม่ได้แยกแยะความหมายว่ามีขั้นตอนหรือเป็น ระดับอย่างไร ในภาษาบาลีนั้น เขาใช้คําเดียวกัน แต่มีความหมาย แยกออกไปในต่างระดับ หมายความว่า การสวดนั้น ก็คล้ายว่า หรือจัดได้ว่าเป็นการขับร้องชนิดหนึ่ง เราอาจใช้คําว่าเป็นการ “ว่าเป็นทํานอง"

สวด ก็เป็นการว่าเป็นทํานอง ขับร้อง ก็เป็นการว่าเป็น ทํานอง ร้องเพลง ก็เป็นการว่าเป็นทํานอง แล้วมันต่างกันอย่างไร?

ดูตรงนี้ คือ พระท่านมีวินัยกํากับว่า พระจะว่าเป็นทํานองได้ แค่นี้นะ เกินนี้ไม่ได้ ผิดวินัย คือท่านเปื้อนมากนักไม่ได้ เพราะมี วินัยกํากับไว้ โดยมีพุทธบัญญัติห้าม ตามเรื่องที่ว่า (วินย. ๒/๒๐/๘) พระฉัพพัคคีย์ “อายตเกน คีตสฺสเรน ธมุม คายนฺติ” สวดธรรมด้วย เสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาว ชาวบ้านพากันติเตียนว่า พวกพระ สมณะศากยบุตรเหล่านี้สวดธรรมด้วยเสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาวเหมือนอย่างที่พวกเราร้องเพลง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงได้ ทรงบัญญัติห้ามพระไม่ให้สวดอย่างนั้น

มีคําอธิบายประกอบว่า การสวดด้วยเสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาวขึ้นลงฮวบฮาบนั้น ทําให้อักขระผิดเพี้ยนเสียหาย ใจของตัวก็ มัวไปเพลิดเพลินตามไปกับเสียง กล่อมตัวเอง ชื่นชมตัวเอง ไม่อยู่ กับธรรมที่ตัวสวด แล้วก็เสียสมาธิ

แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สวดด้วยเสียงที่กลมกล่อม พอดีให้ถ้อยคําาอักขระชัดเจนครบบริบูรณ์ไม่เสียหาย โดยทรงอนุญาตให้พระสวดสรภัญญะ (อนุชานามิ ภิกขเว สรภัญญ์, วินย. ๒/๒๑/๔) คือ ใช้เสียงสื่อธรรม

@@@@@@@

คําว่า “สวดสรภัญญะ” นี้ คํากริยาที่ว่าสวด ก็ใช้คําว่า “ภณ” ซึ่งแปลตรงๆ ตามปกติ ก็คือ “กล่าว” นั่นเอง แต่เราพูดแบบไทยว่า สวด ดังที่ได้เคยอธิบายแล้วข้างต้น

นี่คือ พระสวดก็ว่าเป็นทํานองคล้ายอย่างจะร้องเพลงนั่น แหละ แต่ทําได้แค่ในระดับหนึ่ง อยู่ในทํานองและระดับเสียงตามที่ วินัยกําหนดไว้ หรือพูดเปลี่ยนไปอีกสํานวนหนึ่งว่า พระร้องได้แค่ สวด แต่โยมสวดได้เต็มที่ตามที่อยากร้อง

จะเห็นว่า พระก็สวดเป็นทํานอง ซึ่งสอนให้โยมสวดด้วย ก็ ไพเราะเหมือนกัน แต่ถ้าเกินจากนั้นไป เราไม่เรียกว่าสวด แต่เรียกว่าขับร้อง กลายเป็นร้องเพลงไปเลย

ทีนี้โยมก็เข้าใจละนะว่า ในภาษาบาลีบางทีก็ใช้ศัพท์ เดียวกัน แต่ของพระก็ให้อยู่ในขอบเขตของพระวินัย ส่วนของโยมก็ มักจะว่ากันไปตามที่พอใจ

แล้วที่ว่า “สังคายนา” ก็คือ เมื่อท่านนําเอาพุทธพจน์ที่ได้ เรียนรู้จําได้มาว่าให้กันฟัง ทบทวนตรวจทานกันให้แม่นมั่นจนตก ลงกันได้ว่าคําสอนของพระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ แล้วก็ลงมติว่าเอา ละ แล้วก็สวดพร้อมกันอย่างที่ได้ตกลงนั้น เพื่อจะได้จดจํากําหนดเป็นแบบไว้ อย่างนั้น ก็จะแม่นยําและคงอยู่ยั่งยืน ก็จึงเรียกว่า สังคายนา แปลว่าสวดพร้อมกัน เท่ากับลงมติแล้วว่า เอาอย่างนี้นะ จึงได้สวด พร้อมกันตั้งวางเป็นแบบไว้แล้วต่อไปก็จะได้สวดพร้อมกันเพื่อรักษาสืบต่อกันไป

สังคายนา เป็นคํายุติที่หมายถึงว่า ลงมติว่าอย่างนี้นะ นี่คือ แบบแผน แล้วก็สําทับมตินั้นด้วยการสวดพร้อมกัน ก็คือยอมรับ แล้วว่าเอาอย่างนี้ นี่คือสังคายนา หรือว่าสังคีติ ก็คืออันเดียวกัน

ก็เป็นอันว่า คายนา คีติ จนถึงสังคายนา และสังคีติ คือการ ว่าเป็นทํานอง ไปจนถึงขับร้อง ร้องเพลง ใครมีขอบเขตทําได้แค่ไหน ก็ว่าไปแค่นั้นๆ

สําหรับพระ มีวินัยกํากับระดับเสียงและทํานองอย่างที่ว่าแล้ว ไม่ให้เป็นการร้องเพลงอย่างคฤหัสถ์ชาวบ้าน และท่านก็จํากัด การใช้คําว่า คายนะ-คีตะ-คีติ ให้หมายถึงการร้องเพลงหรือขับร้อง ของชาวบ้าน ดังจะเห็นว่าในคัมภีร์ทั้งหลาย ไม่มีที่ไหนกล่าวถึง พระภิกษุว่าทําคายนะ หรือ คีตะ หรือคีติ ซึ่งถือเป็นเรื่องใน ขอบเขตของชาวบ้าน

แต่พระข้ามไปมีสังคายนา หรือสังคีติ ซึ่งใช้ในความหมายพิเศษอย่างที่ว่าแล้ว

@@@@@@@

คีตะ ร้องเพลงของชาวบ้าน พระก็ละ
คีตะ เพลงขับสืบลัทธิของพราหมณ์ พระก็เว้น


ได้บอกแต่ต้นแล้วว่า มนต์ มนตร์ มันตระ เป็นหลักสําคัญ แกนกลางของศาสนาพราหมณ์ คือหมายถึงตัวพระเวทดั้งเดิม จนถึงอาถรรพเวทที่เป็นท้ายสุด พระพุทธศาสนาไม่ใช้คํานี้ นอกจากใช้เชิงเทียบเคียงอย่างที่ว่าล้อคําล้อความ เช่นเรียกพุทธ พจน์ว่าพุทธมนต์ อย่างที่ได้เล่าให้ฟังแล้ว

ทีนี้ เคียงคู่มากับคําว่า "มนต์” นั้น ก็มีคําว่า "คีตะ” นี้แหละ ซึ่งบอกว่า บทมนต์อันเป็นปาพจน์ (คําสอนที่เป็นหลักประธานของ ลัทธิ) ของพราหมณ์นั้น อันเหล่าฤาษีปางก่อนผู้ทรงไตรเพท คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะฤาษีวามเทพ ฤๅษีเวสสามิตต์ (วิศวามิตร) ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาช ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภค ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ที่บัดนี้พวกพราหมณ์ ผู้ทรงไตรเพท ก็บอกเล่ากล่าวขานขับร้องกันอยู่ พากันขับขานตามอย่าง (อนุคายนฺติ, อนุคีตะ) เล่าเรียนตามกันมา ตามบทมนต์เก่านี้ ที่เหล่า ฤาษีปางบรรพ์เหล่านั้นได้ขับร้องมาแล้ว (คีตะ) ผูกไว้ บอกไว้รวบรวมไว้

ข้อความที่ว่ามานี้ อยู่ในพุทธพจน์ที่ตรัสตอบโต้และทรงสอน พราหมณ์ใหญ่ๆ ในคราวเผชิญวาทะครั้งสําคัญๆ ปรากฏใน พระไตรปิฎกถึง ๑๒ ครั้ง (เช่น ที.ส.๙/๓๗๐/๒๙๙) พระองค์ทรงยก ความนี้ขึ้นมาตรัส เพื่อให้เขารู้เข้าใจว่าเหตุใดพระองค์จึงทรงปฏิเสธระบบความคิดความเชื่อและคําสอนของพวกพราหมณ์

ดังเช่นที่ตรัสว่า การที่เหล่าฤาษีจนถึงพวกพราหมณ์เหล่านั้น พากันกล่าวอ้างพระพรหมผู้เป็นเจ้าอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าถามเหล่า ฤาษีและพวกพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ว่าท่านใด ว่าได้เคยพบเห็น ประจักษ์องค์พระพรหมเป็นเจ้านั้นไหมว่า พระองค์อยู่ที่ไหน ไปมา อย่างไร ก็ไม่มีใครตอบได้ ระบบความคิดของพราหมณ์จึงเป็น เหมือนแถวคนตาบอด คนข้างท้ายก็อ้างตามคนที่ต่อมาก่อนตัว อ้างกันไปๆ แต่ลงท้ายที่แท้แม้แต่คนหัวแถวก็ไม่ได้เห็น

(“ภควัทคีตา” คือบทเพลงของพระเป็นเจ้า อันเป็นคําสอนสําคัญยิ่งของฮินดู ซึ่งพระกฤษณะกล่าวในตอนเริ่มสงครามมหา ภารตะ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของคีตะนี้)

ตามที่กล่าวนี้ เห็นได้ชัดว่า “คีตะ” เป็นอาการสําแดงตัว เป็นความปรากฏตัว ของระบบการสืบสายถ่ายทอดลัทธิของ ศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นธรรมดาว่าพระพุทธศาสนาจะไม่ทําตาม อย่าง แต่จะใช้วิธีที่ทําให้คนสะดุดมองเห็นความแตกต่างตั้งแต่แรกพบเห็น

แต่ก็อย่างที่ว่าแล้ว เช่นเดียวกับคําว่ามนต์ มีกรณีที่ใน พระพุทธศาสนาใช้คําว่าคีตะในเชิงเทียบเคียงทํานองเลียนคําล้อความคีตะของพราหมณ์

ขอให้สังเกตว่าบทมนต์ที่เหล่าฤาษีปางก่อนขับร้องไว้ เป็น “คีตะ” และพวกพราหมณ์ก็ “อนุคาย, อนุคีต, อนุคีติ” คือขับร้อง สืบทอดต่อกันมาตามนั้น

@@@@@@@

กรณีที่จะยกมาเล่านี้ เป็นเรื่องใหญ่ในเหตุการณ์ที่เด่นดัง คือ มีพราหมณ์ใหญ่ชื่อพาวรี ไปบวชเป็นชฏิลตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่ง แม่น้ําโคธาวรี ในอัสสกรัฐ มีลูกศิษย์เก่งๆ มากมาย

ต่อมา ท่านได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อมีโอกาส จึงจัดส่งมาณพชั้นนํา ๑๖ คนไปถามปัญหาที่มคธรัฐ พระพุทธเจ้า ทรงตอบให้ทุกคนเข้าใจแจ่มแจ้ง เกิดความเลื่อมใสขอบวชทั้งหมด คําถามชุดนี้เรียกรวมว่าโสฬสปัญหา และธรรมบรรยายที่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบชี้แจงอธิบายเรียกว่า “ปารายน" (ทางไปถึงฝั่ง)

ในมาณพ ๑๖ คนนั้น คนสุดท้ายที่ชื่อว่าปิงคิยะ เมื่อบวช เป็นภิกษุแล้ว ได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าขอกลับไปส่งข่าวแก่ อาจารย์เก่า คือท่านพราหมณ์พาวรี เพราะได้รับปากไว้ว่าจะกลับไปเล่าเรื่องเล่าผลให้ทราบ

พาวรีพราหมณ์พบพระปิงคิยะกลับมา ได้ต้อนรับอย่างดีและจัดที่ให้พระปิงคิยะนั่งเล่าเรื่องราวในการถามตอบปัญหาที่ได้ไปฟังไปรู้มาตลอดทั้งหมด

พระปิงคิยะพอเริ่มเล่า ก็ขึ้นต้นว่า “ปารายนมนุคายิสส์" นี่คือ ใช้ภาษาของพราหมณ์ ที่พราหมณ์ด้วยกันฟังแล้วเข้าถึงซึ้งใจทันที ถ้าแปลตามถ้อยคําแบบพราหมณ์นั้น ก็คือบอกว่า “ข้าพเจ้าจักขับ ร้องปารายนธรรมบรรยาย ตาม (อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ขับร้องไว้)" ดังที่อรรถกถาไขคําไขความไว้ให้ว่า “ภควตา คีติ อนุคามิสส์" (ข้าพเจ้าจักขับร้องตาม ซึ่งธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับร้อง ไว้แล้ว, สุตต.อ. ๒/๕๕๕)

นี่คือพระปิงคิยะ แม้จะสละความเป็นพราหมณ์มาบวชเป็น ภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ด้วยความที่ท่านมีความชํานาญ ถนัดในระบบของพราหมณ์มาเป็นอย่างดี เมื่อจะบอกความแก่ท่านผู้ เป็นพราหมณ์ใหญ่ ก็จึงเรียบเรียงถ้อยคําสํานวนบอกเล่าเรื่องพุทธ ด้วยภาษาของพราหมณ์ ดังที่ว่านั้น ซึ่งทําให้ท่านพราหมณ์อาจารย์ เก่าเข้าถึงธรรมบรรยายของพระพุทธเจ้าได้ถนัดจิตถนัดใจ

แต่ว่าโดยสาระ พูดด้วยถ้อยคําสามัญ ก็คือ พระปิงคิยะบอกว่า ข้าพเจ้าจะเล่าปารายนธรรมบรรยาย ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เท่านั่นเอง และที่ตรัสคราวนั้น จะมีทํานองเสียงอย่างไร เรารู้ไปไม่ถึง แต่ก็คือไม่ใช่ทํานองอย่างของพราหมณ์ เพียงแต่เป็นเชิงเทียบเคียงล้อ คําล้อความดังที่ว่าแล้ว

เรื่องที่มีการใช้คําจําพวก “-คาย-” “-คีต-” “-คีติ-” ในเชิง เทียบเคียงเลียนค่าล้อความของพราหมณ์อย่างนี้ มีอีกไม่มาก ล้วนเป็นเรื่องของการที่พระพุทธเจ้าทรงเผชิญและผจญพราหมณ์ เช่นที่ตรัสคําว่า "คาถาภิคีต” ซึ่งก็พึงเข้าใจตามนัยที่พูดไปแล้ว*

ทีนี้ก็มาถึงคําสําคัญคุมท้าย คือ สังคายนา และสังคีติ ซึ่ง เป็นค่าที่ใช้ในความหมายพิเศษ ที่ว่าสวดพร้อมกันเป็นการแสดง ความยอมรับเป็นมติอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างเรื่องที่ว่า หลังจาก พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์มาประชุมกัน โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานและซักถาม ฟังพระอานนท์และพระอุบาลี วิสัชนา บอกเล่า สาธยายพระธรรม วินัย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนแสดงไว้ บัญญัติไว้ เมื่อตรวจสอบ ทวนทานจบ ยอมรับกันแล้ว ที่ประชุมทั้งหมดก็สวดค่าความที่ ยอมรับแล้วนั้นพร้อมกัน เรียกว่าสังคายนา คือร้อยเรียงรวมไว้ โดย ถือเป็นการตั้งเป็นแบบแผนที่ยุติแล้ว เป็นการสาธยายพร้อมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวของที่ประชุมทั้งหมด แต่จะสวดว่าเป็นทํานอง เสียงอย่างไรที่สมควรแก่พระสงฆ์นั้น ไม่อาจทราบแน่นอนได้

_______________________________
* การจัดนําคําว่า มูลคีติ อนุติ สังคีติ มาใช้ในการอธิบายธรรม จึงดูในคัมภีร์เนตติปกรณ์

(ยังมีต่อ..)

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:47:56 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



กิน “สับปะรด” ดียังไง เผยสรรพคุณ 9 ข้อที่คุณอาจยังไม่รู้

ทางสายกินรวมมาให้แล้ว สรรพคุณของ “สับปะรด” ไม่ได้มีดีแค่มีวิตามินนะจะบอกให้ ผลไม้ที่หลายๆคนไม่เคยเปิดใจลองกินแต่ขอบอกว่ามันดีกว่าที่คิด มีประโยชน์ช่วยหลายอย่างมากๆ นอกจากสารอาหารที่ดีอย่างวิตามินซี ยังช่วยเรื่องระบบย่อย ช่วยลดน้ำหนักแถมต้านอาการอักเสบ ไม่เพียงแค่นั้นยังช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงด้วย มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. วิตามินซีสูง
Jackie Newgent นักโภชนาการด้านการทำอาหารในเมืองนิวยอร์ก และเป็นเจ้าของหนังสือ The All-Natural Diabetes Cookbook กล่าวว่า สารอาหารที่โดดเด่นในสับปะรดคือ วิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ และสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว

2. ย่อยง่าย
สับปะรดมีกลุ่มเอนไซม์ย่อยอาหารที่เรียกว่าโบรมีเลน (Bromelain) ทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโนและเปปไทด์ขนาดเล็ก ที่ช่วยย่อยโปรตีน และให้ดูดซึมผ่านลำไส้เล็กได้สะดวกยิ่งขึ้น แถมยังมีแมงกานีสสูง ซึ่งช่วยเผาผลาญอาหาร ทำให้เลือดแข็งตัว และช่วยให้กระดูกแข็งแรง

3. ลดน้ำหนัก
มีการศึกษาหนึ่งพบว่า น้ำสับปะรดช่วยลดการสร้างไขมันและเพิ่มการสลายไขมันได้ มีแคลอรีต่ำ มีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญสูง Colleen Christensen นักโภชนาการในมิชิแกน กล่าวว่า ในสับปะรดนั้นเต็มไปด้วยไฟเบอร์ที่สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้คุณรู้สึกอิ่มนาน

4. ต้านการอักเสบ
สับปะรดนั้นมีโบรมีเลน เอนไซม์ย่อยอาหารที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด ช่วยลดอัตราการเกิดโรคไซนัสอักเสบ โรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังบรรเทาอาการขาแพลง หรือแผลไหม้ นอกจากนี้วิตามินซีในสับปะรดยังเป็นยาต้านการอักเสบอ่อนๆ อีกด้วย

5. ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า สับปะรดมีสารประกอบโบรมีเลน ที่ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งในผิวหนัง ท่อน้ำดี ระบบย่อยอาหาร และลำไส้ใหญ่ เนื่องจากมีคุณสมบัติลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน และลดการอักเสบได้ นอกจากนั้นยังกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ผลิตโมเลกุลที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. กระดูกแข็งแรง
ตามรายงานของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ พบว่า สับปะรดเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารชั้นนำของแร่ธาตุ (แมงกานีส) ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และแร่ธาตุ เสริมกระดูกของคุณให้สตรองมากยิ่งขึ้น

7. ลดความเครียด
สับปะรดมีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งมีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยให้ฮอร์โมนและเส้นประสาทของคุณผ่อนคลาย การดื่มน้ำสับปะรดในวันที่คุณรู้สึกวิตกกังวลจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น

8. ความดันโลหิต
การบริโภคผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สับปะรด สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ ผลจากการสำรวจของ National Health and Nutrition Examination Survey

9. บำรุงผิว
อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า สับปะรดมีวิตามินซีสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ต่อสู้กับความเสียหายของผิวที่เกิดจากแสงแดด และมลภาวะต่างๆ สร้างคอลลาเจน และลดเลือนริ้วรอย





Thank to : https://www.cm77.com/กิน-สับปะรด-ดียังไง-เผยส/
Posted on มีนาคม 3, 2024 by katomcm77   
กิน สับปะรด ดียังไง เผยสรรพคุณ 9 ข้อที่คุณอาจยังไม่รู้© สนับสนุนโดย ไทยนิวส์ออนไลน์

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:42:55 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ล้วงความลับ "สับปะรด" ผลไม้ทรอปิคอล กินอย่างไรให้ลดอ้วน ชะลอวัย ไกลเบาหวาน

ส่องประโยชน์ของ “สับปะรด” ที่เราอาจไม่รู้มาก่อน ทั้งเรื่องสารอาหาร การมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก ชะลอชราตามเวชศาสตร์ชะลอวัย แล้วต้องกินส่วนไหน กินเท่าไหร่ หรือกินตอนไหนให้ได้ประโยชน์มากที่สุด มาดูไปพร้อมกัน

ยกให้เป็นผลไม้เมืองร้อนที่ประโยชน์เยอะเหมือนที่มีตารอบตัว สำหรับ “สับปะรด” ผลไม้ที่มีรสหวานปานกลาง มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลาย อุดมด้วยสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม มีไฟเบอร์สูง มีเอนไซม์ “โบรมีเลน” และสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิด “โรคมะเร็ง“

นอกจากรสชาติหวานซ่อนเปรี้ยว และการให้ความรู้สึกสดชื่นจากความชุ่มฉ่ำแล้ว “สับปะรด” ยังมาในราคาสบายกระเป๋าชนิดที่ซื้อกินได้ทุกวัน ทว่าทุกอย่างมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย เพราะด้วยความหวานฉ่ำของเนื้อสับปะรด ทำให้ต้องรู้ลิมิตในการกินเพื่อไม่ให้ร่างกายต้องได้รับน้ำตาลมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อ “ผู้ป่วยโรคเบาหวาน”





ข้อมูลด้านโภชนาการของ” สับปะรด”

ในสับปะรด 100 กรัม (1 ขีด) ให้พลังงาน 50 kCal มีส่วนประกอบ ดังนี้

สารอาหารหลัก (Macronutrient)
    - คาร์โบไฮเดรต 94%
    - ไขมัน 2%
    - โปรตีน 4%
    - กากใยอาหาร 1.4 กรัม
    - น้ำตาล 9.8 กรัม
    - กรดไขมันโอเมก้า 3 17 มิลลิกรัม
    - กรดไขมันโอเมก้า 6 23 มิลลิกรัม

สารอาหารรอง (Micronutrient)
    - มีวิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม
    - มีวิตามินบีหก 0.1 มิลลิกรัม
    - มีไธอะมิน 0.1 มิลลิกรัม
    - มีโฟเลท 18 ไมโครกรัม
    - มีวิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม
    - มีวิตามินเอ 58 หน่วยวัดมาตรฐานสากล
    - มีแคลเซียม 13 มิลลิกรัม
    - มีเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
    - มีแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
    - มีโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม
    - มีฟอสฟอรัส 0.8 มิลลกรัม
    - มีโซเดียม 1 มิลลิกรัม
    - มีสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม
    - มีแมงกานีส 0.9 มิลลิกรัม
    - มีเซเลเนียม 0.1 ไมโครกรัม

เอนไซม์ “โบรมีเลน” (Bromelein) สารสำคัญที่มีในสับปะรด

“โบรมีเลน” คือเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่พบมากบริเวณแกนของสับปะรดและในเนื้ออีกเล็กน้อย มีฤทธิ์ช่วยย่อยโปรตีนและยังมีประโยชน์อื่นๆ กับร่างกายอีก เช่น ช่วยลดอาการไซนัสอักเสบ ช่วยต่อต้านการอักเสบ ช่วยทำให้อาการของข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยลดไขมันส่วนเกิน ช่วยชะลอการเกิดลิ่มเลือด





ประโยชน์ของ “สับปะรด” ที่เราอาจไม่รู้มาก่อน

1.สับปะรด ผลไม้วิตามินซีสูง
นักโภชนาการด้านการทำอาหารในเมืองนิวยอร์ก Jackie Newgent และเจ้าของหนังสือ The All-Natural Diabetes Cookbook เผยว่าสารอาหารที่โดดเด่นในสับปะรดคือ วิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ และสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว

2. สับปะรด ผลไม้ที่ช่วยเรื่องการย่อย
ในสับปะรดมีกลุ่มเอนไซม์ย่อยอาหารที่เรียกว่า “โบรมีเลน” ทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโนและเปปไทด์ขนาดเล็ก ที่ช่วยย่อยโปรตีน และให้ดูดซึมผ่านลำไส้เล็กได้สะดวกยิ่งขึ้น แถมยังมีแมงกานีสสูง ซึ่งช่วยเผาผลาญอาหาร ทำให้เลือดแข็งตัว และช่วยให้กระดูกแข็งแรง

3. สับปะรด ตัวช่วยของคนลดน้ำหนัก
มีการศึกษาพบว่า น้ำสับปะรดช่วยลดการสร้างไขมันและเพิ่มการสลายไขมันได้ มีแคลอรีต่ำ มีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญสูง Colleen Christensen นักโภชนาการในมิชิแกน ระบุวว่าในสับปะรดนั้นเต็มไปด้วยไฟเบอร์ที่สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้เรารู้สึกอิ่มนาน

4. สับปะรด ช่วยต้านการอักเสบ
โบรมีเลนในสับปะรด เป็นเอนไซม์ย่อยอาหารที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและบรรเทาอาการปวด ช่วยลดอัตราการเกิดโรคไซนัสอักเสบ โรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังบรรเทาอาการขาแพลง หรือแผลไหม้ นอกจากนี้วิตามินซีในสับปะรดยังเป็นยาต้านการอักเสบอ่อนๆ อีกด้วย

5. สับปะรด ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
มีการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า สับปะรดมีสารประกอบ “โบรมีเลน” ที่ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งในผิวหนัง ท่อน้ำดี ระบบย่อยอาหาร และลำไส้ใหญ่ เนื่องจากมีคุณสมบัติลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และลดการอักเสบได้ นอกจากนั้นยังกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ผลิตโมเลกุลที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. สับปะรด ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
ตามรายงานของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ พบว่าสับปะรดเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารชั้นนำของแร่ธาตุ (แมงกานีส) ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และแร่ธาตุ เสริมกระดูกของคุณให้สตรองมากยิ่งขึ้น

7. สับปะรด ช่วยลดความเครียด
สับปะรดมีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งมีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยให้ฮอร์โมนและเส้นประสาทของคุณผ่อนคลาย การดื่มน้ำสับปะรดในวันที่เรารู้สึกวิตกกังวลจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น

8. สับปะรด ช่วยเรื่องความดันโลหิต
การบริโภคผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สับปะรด สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ ผลจากการสำรวจของ National Health and Nutrition Examination Survey

9. สับปะรด ช่วยเรื่องการบำรุงผิว
ในสับปะรดมีวิตามินซีสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ต่อสู้กับความเสียหายของผิวที่เกิดจากแสงแดด และมลภาวะต่างๆ สร้างคอลลาเจน และลดเลือนริ้วรอย

10.สับปะรด ช่วยให้เหงือกแข็งแรง
สับปะรดช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง เนื่องจากสับปะรดมีวิตามินซีสูง ที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้

11.สับปะรด ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี
สับปะรดมีสารแอนติออกซิแดนท์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีส ที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ ที่จะทำลายโครงสร้างของเซลล์ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต

12.สับปะรด มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าน้ำคั้นจากสับปะรดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และยับยั้งการเกิดมะเร็ง เอนไซม์โบรอมีเลนมีฤทธิ์ย่อยโปรตีน ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ต้านหวัด ต้านมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยย่อยอาหาร และมีฤทธิ์ลดอาการบวมและการอักเสบ การทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าโดยให้ผู้ป่วยรับประทานยาเม็ดที่มีเอนไซม์โบรมีเลนขนาด 200 และ 400 มก./วัน พบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดลดลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอนไซม์โบรมีเลนเป็นยาแผนปัจจุบัน เช่น ยาช่วยย่อย และยารักษาอาการอักเสบและบวมของเนื้อเยื่อ

 



สับปะรด กินอย่างไรให้หุ่นดี ชะลอวัย ไกลเบาหวาน

สับปะรด กินส่วนไหนดี
ให้เลือกกินทั้งเนื้อสับปะรดและแกนสับปะรดในสัดส่วนเท่ากัน กินสับปะรด 1 ชิ้น กินแกนสับปะรด 1 ชิ้น เพราะในแกนมีกากใยอาหารและโบรมีเลนมากกว่า

สับปะรด กินแบบไหนดี
ให้เลือกกินสับปะรดแบบสด หลีกเลี่ยงน้ำสับปะรดหรือแบบคั้นแยกกาก เพราะเราไม่รู้ว่าร้านค้าใส่ส่วนไหนมาให้เรากินบ้าง เติมอะไรมาให้เราบ้าง และที่สำคัญเราต้องการกากใยในการกินด้วย

สับปะรด กินเท่าไหร่ดี
ให้เลือกกิน 1 ชิ้นใหญ่ หรือประมาณ 6 ชิ้นคำต่อวัน เพราะสับปะรด 1 ชิ้น หรือ 100 กรัม ถึงแม้จะมีแคลลอรีต่ำ แค่ 50 แคล แต่มีน้ำตาล 9.8 กรัม ถ้าเราใส่ใจแค่อ้วนหรือไม่อ้วน เราจะกินเท่าไหร่ก็ได้เพราะแคลอรีน้อย แต่ถ้าเราอยากดูดีด้วยห่างไกลโรคด้วย เราต้องรู้อะไรที่มากกว่านั้น

สับปะรด กินตอนไหนดี
ให้เลือกกินสับปะรด “พร้อมมื้ออาหาร” หรือ “หลังมื้ออาหารทันที” เพราะเอนไซม์โพรมีเลนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ซึ่งการรับประทานสับปะรดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองเล็กน้อยภายในปาก ริมฝีปาก และลิ้นได้ และแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการใช้ในรูปแบบของอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานในขณะท้องว่าง เนื่องจากสับปะรดมีความเป็นกรดและมีเอนไซม์โบรมีเลนหากรับประทานขณะท้องว่างจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ สำหรับผู้ที่แพ้พืชในตระกูลเดียวกับสับปะรดควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

@@@@@@@

ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการกินสับปะรด

    - สับปะรดมีความเป็นกรด และมีเอนไซม์บรอมมีเลนสูง ไม่ควรรับประทานตอนท้องว่าง
    - การทานสับปะรดในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองภายในปาก ริมฝีปาก และลิ้นได้
    - ไม่ควรกินสับปะรดเยอะในปริมาณมากเกินไป เพราะมีน้ำตาลสูง
    - สตรีมีครรภ์ในระยะเริ่มต้น ไม่ควรรับประทานผลดิบสับปะรดมากเกินไปเพราะอาจทำให้แท้งได้ เนื่องจากผลดิบสับปะรด สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน
   -  ระมัดระวังปริมาณ “น้ำตาล” ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรกินเป็นของว่าง ควรกินพร้อมมื้ออาหาร ในปริมาณ 1-2 ชิ้น





Thank to : https://www.nationtv.tv/health/378940438
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story | 19 กุมภาพันธ์ 2567

 7 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:56:00 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) นครราชสีมา


การสู้รบที่ “ทุ่งสำริด” คราวสงครามเจ้าอนุวงศ์ หลักฐาน “ลาว” เล่าอย่างไร.?

เกิดอะไรขึ้นที่ “ทุ่งสำริด” ? จุดพลิกผันสำคัญในสงคราม “เจ้าอนุวงศ์” เหตุการณ์ซึ่งทำให้วีรกรรมของ “ท้าวสุรนารี” หรือคุณหญิงโม ตราตรึงอยู่ในความรู้สึกของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนโคราช แต่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์ช่วงนี้อย่างถ่องแท้ได้อย่างไร หากมองเพียงมุมหรือด้านเดียว หลักฐานจากฝั่งลาวจึงเป็นอีกมุมมองที่สำคัญในการฉายภาพอดีตนี้ ให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น

    “…ถ้าไม่มีเจ้าอนุฯ ย่าโมจะเอาวีรกรรมที่ไหนมาสร้างขึ้น…”

นี่คือคำให้สัมภาษณ์ของ นายเหียม พมมะจัน (ต้นฉบับใช้ ‘พรมมาจัน’) อดีตเอกอัครราชทูตลาวประจำประเทศไทย ในหนังสือพิมพ์มติชน (ฉบับวันที่ 19 ก.ค. 2544)

หากผู้อ่านรู้สึกไม่สบายใจกับวาทะดังกล่าว รู้สึกโกรธเคืองท่านทูตฯ ลาว ว่าพูดไม่เหมาะสม (แม้จะผ่านมาแล้วกว่ายี่สิบปี) หรือไม่รู้สึกอะไรเลยก็ตาม เรามาทำความเข้าใจที่มาของคำให้สัมภาษณ์ข้างต้นเสียหน่อยดีกว่า

คำพูดดังกล่าวเกิดจากประเด็นร้อนแรงในอดีต กรณีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “คุณหญิงโม : เหตุเกิดที่ทุ่งสำริด” เพื่อเทิดเชิดชูเกียรติ “ย่าโม” หรือท้าวสุรนารี ซึ่งกลายเป็นประเด็นถกเถียงลุกลามใหญ่โตข้ามโขงไปถึงฝั่งลาว จนเกิดกระแสคัดค้านการสร้างภาพยนตร์ดังกล่าว เพื่อเห็นแก่ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ เพราะการรบที่ทุ่งสำริดและประวัติศาสตร์ช่วงดังกล่าวเกี่ยวพันถึง “เจ้าอนุวงศ์” วีรกษัตริย์ของลาวด้วย

แน่นอนว่าการที่ภาพยนตร์เล่าในมุมของ “คุณหญิงโม” ตัวร้ายในเรื่องย่อมเป็นกองทัพลาว คู่ขัดแย้งในเหตุการณ์นั้น การยกย่องท้าวสุรนารีจึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการโจมตีเจ้าอนุฯ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และกระทบต่อความรู้สึกของคนลาว เพราะเจ้าอนุฯ คือกษัตริย์ผู้ได้รับการยกย่องอย่างสูงในประวัติศาสตร์ลาว โดยเฉพาะในตำราเรียน

อ่านเพิ่มเติม : เสียงจากผู้ปราชัย เรื่องราวของ “เจ้าอนุวงศ์” ในตำราเรียนลาว

นายเหียม ยังกล่าวด้วยว่า ประวัติศาสตร์ลาวช่วงเจ้าอนุวงศ์ไม่ได้เอ่ยถึงท้าวสุรนารี ถ้าจะมีการสร้างหนัง ก็ควรศึกษาประวัติศาสตร์ของลาวด้วย ซึ่ง ผศ. ดร. วริษา กมลนาวิน ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้หยิบยกประเด็นนี้มาเล่าในบทความ “เจ้าอนุวงศ์ในมุมมองของลาว บทสะท้อนจากหนังสือและตำราเรียนลาว” ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม พ.ศ. 2544 ดังนี้ [เว้นวรรคคำ ปรับย่อหน้าใหม่ และเน้นคำเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม]





อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) นครราชสีมา


เหตุการณ์สู้รบที่ “ทุ่งสำริด” ในหนังสือลาว

หนังสือทุกเล่มของลาวไม่ปรากฏเรื่องราวของท้าวสุรนารีแต่อย่างใด

ดร.สุเนด โพธิสาน และท่านหนูไซ พูมมะจัน กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงนี้ว่า ในขณะที่เจ้าอนุฯ ยึดโคราชและนำพาครอบครัวลาวอพยพกลับคืนเวียงจันนั้น เจ้าเมืองนครราชสีมากำลังยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองขุขันธ์ เมื่อเจ้านครราชสีมาได้รับรายงานว่าเจ้าอนุฯ เป็นกบฏ จึงรีบยกกองทัพกลับคืนโคราช แล้ววางแผนให้พระยาปลัดเมืองนครราชสีมาเข้าอ่อนน้อมต่อเจ้าอนุฯ

เจ้าอนุฯ จึงแต่งให้พระยาปลัด และพระยายกกระบัตรเมืองนครราชสีมา เป็นผู้ควบคุมชาวเมืองโคราชขึ้นมาเวียงจัน โดยมีทหารเวียงจันควบคุมขึ้นมาด้วยจำนวนหนึ่ง

พระยาปลัด พระยายกกระบัตร และเจ้าเมืองนครราชสีมาวางแผนตีกองทหารเวียงจัน โดยพระยาปลัดขี่ม้ากลับมาหาเจ้าอนุฯ ที่ค่ายใหญ่ เพื่อขอมีดพร้าและปืนเพื่อจะได้เนื้อกินตามทาง เจ้าอนุฯ ได้อนุญาตให้ไปจำนวนหนึ่ง เมื่อพวกครัวเมืองโคราชเดินทางถึงทุ่งสำริด ก็ขอพักชั่วคราวโดยอ้างว่าอ่อนล้ามาก

แล้วพระยาปลัด พระยายกกระบัตร และพระยาณรงณ์สงครามก็หาทางมอมเมาพวกทหารเวียงจันเพื่อให้กองทัพของเจ้าเมืองนครราชสีมาที่ซ่อนอยู่ในป่าจู่โจมโดยง่าย

พอดึกสงัดกองทัพเจ้าเมืองนครราชสีมาที่ดักสกัดอยู่ ก็เข้าตีทหารของเจ้าอนุฯ แตก

เมื่อยึดเอาครอบครัวได้แล้ว เจ้าเมืองนครราชสีมา พระยายกกระบัตร และพระยาณรงณ์สงครามก็พากันตั้งค่ายขึ้นเพื่อต่อสู้กับกองทัพเจ้าอนุฯ ที่จะมาตีเอาครัวคืน ส่วนพวกนายคุมที่หนีมาได้ ก็พากันรายงานต่อเจ้าอนุฯ ท่านจึงแต่งตั้งให้ตำรวจหน้า 50 คน ขี่ม้าไปสำรวจเหตุการณ์ และได้ถูกทหารของนครราชสีมายิงตาย

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของท้าวสุรนารีกลับปรากฏในงานเขียนของดวงไช หลวงพะสี  นักเขียนที่มีชื่อเสียงของลาว ดวงไชกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ทุ่งสำริดไว้ในหนังสือเรื่อง “สมเด็ดพะเจ้าอะนุวง” ดังนี้

“พะเจ้าอะนุวงหลงกนอุบาย

ฝ่ายพะยาปลัดเมืองนะคอนราชะสีมา เซิ่งเป็นสามีของนางโม้ (คุณหญิงโม/ท้าวสุรนารี-ผู้เขียน) ที่ออกไปเมืองคูขัน พ้อมกับพะยานะคอนราชะสีมา ได้ซาบข่าวว่า พะเจ้าอนุวงลงมากวาดเอาคัวเมืองนะคอนราชะสีมาหมดแล้วก็ฟ้าวกับคืนมา แล้วเข้าเฝ้าพะเจ้าอะนุวงและกาบทูนว่า ‘ข้าพะบาดจะขอตามสะเด็ดไปอยู่เวียงจันด้วย’ พะเจ้าอะนุวงก็หลงเชื่อ ทั้งมอบให้พะยาปลัดกับพะยาพมยกกะบัดเป็นผู้คุมคอบคัวอบพะยบ

พอมาเถิงท่งสำริด ก็ตั้งพักคอบคัวอยู่ที่นั่น พะยาปลัดกับนางโม้ และพะยาพมยกกะบัดจึ่งลวมหัวกันคิดอุบายเลี้ยงเหล้าพวกทะหานลาวและตำหลวดผู้คุม เมื่อทะหานลาวและตำหลวดผู้คุมเมาเหล้านอนหลับไปหมดแล้ว ก็พากันข้าฟันทะหานตำหลวดตายเกือบหมด ทั้งเก็บเอาอาวุดของลาวได้แล้วก็ตั้งค่ายขึ้นที่ท่งสำริดนั่นเอง

มีตำหลวดที่เหลือตายจำนวนหนึ่งฟ้าวโดดขึ้นม้าลงไปกาบทูนพะเจ้าอะนุวง พะเจ้าอะนุวงแต่งให้ตำหลวด 50 คนขึ้นมาสืบเบิ่ง ก็ถูกหุ้มยิงตำหลวดทั้ง 50 คนนั้นตายหมด

พะเจ้าอะนุวงได้ซงซาบคือแนวนั้นแล้ว จึ่งตรัสสั่งให้เจ้าสุดทิสาน เจ้าปาน เจ้าก่ำพ้า คุมทะหาน 3,000 คนขึ้นมาตีเอาคัวเมืองนะคอนราชะสีมา

พวกของพะยาปลัด และนางโม้ต่อสู้คืนอย่างแข็งแรง อันทำให้เจ้าสุดทิสานเข้าใจว่าต้องมีกองทับของพะยาเมืองนะคอนราชะสีมาขึ้นมาช่วย ก็เลยถอยทับคืนไปกาบทูนต่อพระราชะบิดา”

ดวงไช หลวงพะสี 1996, หน้า 26 – 27


ผู้เขียน (อ.วิริษา) คิดว่า นักเขียนลาวส่วนใหญ่มิได้ให้ความสำคัญกับการมีตัวตนของท้าวสุรนารีมากไปกว่าการบันทึกเหตุการณ์ที่สยามเผาและปล้นสะดมเมืองเวียงจัน อันเกิดจากการตอบโต้ของฝ่ายไทยภายหลังจากเจ้าอนุฯ พยายาม “กอบกู้อิสรภาพ” เหตการณ์ช่วงนี้ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ลาวแทบทุกเล่ม

@@@@@@@

ดวงไช หลวงพะสี เล่าถึงช่วงที่กองทัพไทยเข้ามาเผาทำลายเมืองเวียงจันไว้ถึง 3 ครั้ง ดังนี้

“…กมหมื่นนะเรดโยที และกมหมื่นเสนีบอริรัก สองแม่ทับใหย่ของไทได้พาทะหานข้ามน้ำของ (น้ำโขง-ผู้เขียน) มาเวียงจันด้วยความโกดแค้นสุดขีด ออกคำสั่งให้ทะหานเก็บกวาดเอาวัตถุสิ่งของที่มีค่าอยู่ในพระราชะวังและตามบ้านเมืองในเวียงจันให้หมด แล้วเผานะคอนเวีนงจันให้เหลือแต่เพียงขี้ถ่านไฟ ตัดกกไม้ที่กินหมากทิ้งให้หมด

จึ่งเฮ็ดให้นะคอนเวียงจันที่สวยงามมาแต่บูรานะกานหลายร้อยไป เหลือเพียงแต่ควันไฟพะยาบาดและกองขี้เถ้าเท่านั้น”

ดวงไชเขียนไว้ในเชิงอรรถว่า “ทะหานไทยทำลายม้างเพและจุดเผานะคอนเวียงจันเป็นเทื่อที่สอง (เทื่อที่หนึ่งในราชะกานพระเจ้าสิริบุนยาสาน) … ไทกลับมาจูดเผานะคอนเวียงจันตื่มอีก”

“เดือน 8 ลาว (เดือนกอละกด 1828) พระยาราชะสุพาวะดีรับพระราชะองกานจากพะเจ้าแผ่นดินไทยให้กับคืนมาจูดเผานะคอนเวียงจันตื่มอีกเพื่อให้สมใจแค้น และเพื่อบ่ให้เมืองเวียงจันหลงเหลือแม้แต่เสาเรือนชี้ฟ้าเพียงเสาเดียว…”

ดวงไช หลวงพะสี 1996, หน้า 37


สิ่งหนึ่งที่หลักฐานจากฝั่งลาวบอกเราได้คือ การยกย่องเจ้าอนุวงศ์เป็นวีรกษัตริย์เป็นเรื่องปกติธรรมดา (มาก ๆ) เพราะคนทุกชาติย่อมมีสิทธิที่จะรักวีรบุรุษของชาติตน และการเขียนประวัติศาสตร์ต่างปนเปไปด้วยความเชื่อหรือทัศนคติของผู้เขียนทั้งนั้น ทั้งนี้ อ.วิริษา สรุปความเห็นเรื่อง “ตัวตน” ของท้าวสุรนารีจากหลักฐานเหตุการณ์สู้รบที่ “ทุ่งสำริด” ว่า

   “ไม่ว่าท้าวสุรนารีจะมีตัวตนในประวัติศาสตร์ลาวหรือไม่ มิได้ทำให้ความเป็น ‘วีรกษัตริย์’ ของเจ้าอนุวงศ์ลดลงไปแม้แต่น้อยในสายตาของคนลาว”




อ่านเพิ่มเติม :-

    • “ศึกเจ้าอนุวงศ์” สงครามปลดแอกชาติลาว
    • ความปราชัยของ “เจ้าอนุวงศ์” วิเคราะห์เหตุความพ่ายแพ้ของมหาราชชาติลาว
    • “อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี” อนุสาวรีย์ “สามัญชน” ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งแรกของไทย




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 3 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_131916

 8 
 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2024, 09:50:18 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 9 
 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2024, 07:20:22 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก...วิทยาศาสตร์และชีวิตจริง

เรียนรู้ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส ที่มา สภาพการณ์ในโลกวิทยาศาสตร์ และบทบาทในชีวิตจริง ...

วันนี้ (4 พฤษภาคม ค.ศ. 2024) ย้อนหลังไปเมื่อ 107 ปีที่แล้ว ในเดือนเดียวกัน คือ วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ถือกำเนิดขึ้นมาที่เมืองฮาร์ตฟอร์ด รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา เติบโตต่อมา เป็นนักคณิตศาสตร์และนักอุตุนิยมวิทยา มีชื่อเป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีเคออส (Chaos theory) กำเนิดของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก (Butterfly effect)

“เชื่อ คิด และทำอย่างวิทยาศาสตร์” วันนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปดูเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส เรื่องราวที่มา สภาพการณ์ในโลกวิทยาศาสตร์ และบทบาทในชีวิตจริง

@@@@@@@

กำเนิดปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก

วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ในการประชุมครั้งที่ 139 ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ (139th Meeting Of The American Association For The Advancement Of Science) ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี. เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ เป็นผู้บรรยายคนสำคัญคนหนึ่ง และหัวข้อที่เขาบรรยาย คือ ....

   “Does The Flap Of A Butterfly‘s Wings In Brazil Set Off A  Tornado In Texas.?”

ถอดพากย์ไทยได้เป็น “ผีเสื้อกระพือปีกในบราซิล ทำให้เกิดทอร์นาโดในเท็กซัสได้หรือ.?” ซึ่งต่อๆ มา มักจะถ่ายทอดเป็นการบอกเล่า โดยมิใช่การตั้งคำถาม คือ “ผีเสื้อกระพือปีกที่บราซิล ทำให้เกิดทอร์นาโดในเท็กซัสได้” 

จากการบรรยายครั้งนี้ ทำให้ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และ ทฤษฎีเคออส ได้รับการ “กล่าวถึง” ในวงการวิทยาศาสตร์ว่า เป็นผลงานการค้นพบของ เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์

แสดงว่า เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ มิใช่ผู้ค้นพบปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกใช่หรือไม่.?

คำตอบคือ... ทั้งใช่ และไม่ใช่.!

ที่ใช่ ก็เพราะว่าจริงๆ แล้ว เรื่องของทฤษฎีเคออส เป็นเรื่องที่อยู่มานานกับโลกวิทยาศาสตร์ นับเป็นร้อยๆ ปีก่อนกำเนิดของ เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ หมายถึง ทฤษฎีของระบบที่มีความซับซ้อน แบบไม่ใช่เชิงเส้น จึงยากต่อการพยากรณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมา เพราะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญที่สุด คือ “เงื่อนไขการเริ่มต้น” หรือ “initial condition” ซึ่งปรากฏการณ์เรื่องเดียวกัน แต่ถ้าเป็นปรากฏการณ์แบบไม่ใช่เชิงเส้น ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง “เงื่อนไข”  หรือ “ตัวแปร” ใหม่ ผลที่เกิดขึ้นตามมาจะไม่ “คงเดิม”



Edward Lorenz : ที่มารูป https://www.lorenz.mit.edu/edward-n-lorenz

แม้แต่คำว่า “Butterfly effect” ที่ เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ ใช้ในการบรรยายนั้น จริงๆ แล้วผู้ที่ตั้งคำนี้ขึ้นมา ก็มิใช่ลอเรนซ์ แต่เป็นเพื่อนนักคณิตศาสตร์, นักฟิสิกส์ และนักอุตุนิยมวิทยาชาวแคนาดา ชื่อ ฟิลิป เมริลีส (Fhilip Merilees)

ลอเรนซ์ เล่าว่า ในระหว่างเตรียมการบรรยาย ชื่อของปรากฏการณ์ที่เขาตั้งใจจะใช้ คือ “ปรากฏการณ์นกนางนวล” หรือ “Seagull effect” แต่เพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์บอกเขาว่า “นกนางนวล” เป็นตัวอย่างที่ “ธรรมดาเกินไป” น่าจะใช้สิ่งอื่นที่ชวนสะดุดตาขึ้นหน่อย และเมริลีสก็เป็นคนเสนอชื่อ “ผีเสื้อ” ขึ้นมาแทน “นกนางนวล” และลอเรนซ์ก็ “ชอบ” และ “ใช้” 

จากนั้นมา ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก ที่รู้จักกันในวงการวิทยาศาสตร์ และวงการทั่วไป ก็ถูกโยงกับชื่อของลอเรนซ์ตลอดมา

“ปรากฏการณ์นกนางนวลกระพือปีก” กับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” และ “ทฤษฎีเคออส”

ทำไมลอเรนซ์จึงตั้งใจใช้ “นกนางนวลกระพือปีก” ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น “ผีเสื้อกระพือปีก”.?

ก็เพราะว่าที่มาของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก  มาจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่เขาได้ทดลองกับคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ. 1961 ที่แผนกอุตุนิยมวิทยา สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ เอ็มไอที (MIT)




ลอเรนซ์จบการศึกษาปริญญาโทคณิตศาสตร์ จากฮาร์วาร์ด ในปี ค.ศ. 1940

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ลอเรนซ์ทำงานพยากรณ์อากาศอยู่กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ทำให้เขาสนใจศึกษาต่อทางด้านอุตุนิยมวิทยาที่เอ็มไอที จนกระทั่งจบปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1948 และก็เข้าทำงานประจำอยู่กับแผนกอุตุนิยมวิทยาที่เอ็มไอที ในปี ค.ศ. 1948 นั้น จนกระทั่งถึงสิ้นสุดชีวิตการทำงานของเขา

ก่อนการเริ่มต้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสู่เรื่องของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ ตัวลอเรนซ์เองก็เริ่มสงสัยเกี่ยวกับแบบจำลองการพยากรณ์อากาศที่ใช้กัน....ซึ่งเป็นแบบเชิงเส้น

และแล้ว ในปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์ได้ทดลองปรับเปลี่ยนค่าตัวแปร (เช่นอุณหภูมิ, ความเร็วลม, .....) เพียงเล็กน้อย ในการคำนวณโดยคอมพิวเตอร์สำหรับการพยากรณ์อากาศ โดยทดลองปรับค่าตัวแปรจากเลขทศนิยม 6 ตำแหน่ง (ที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้)  เช่น 0.506107 เป็นเลขทศนิยม 3 ตำแหน่ง คือ 0.506

ปรากฏว่าผลการพยากรณ์อากาศโดยคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างชัดเจน

จากการทดลองซ้ำ ในที่สุดลอเรนซ์จึงสรุปออกมาว่า สภาพลมฟ้าอากาศ หรือการพยากรณ์อากาศ มิใช่เป็นแบบเชิงเส้นอย่างแน่นอน และก็เพราะความเป็นระบบที่ไม่ใช่เชิงเส้น การเปลี่ยนแปลงของแต่ละตัวแปร จึงมีผลอย่างสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้น

@@@@@@@

กล่าวโดยสรุปอย่างง่ายๆ คือ ลอเรนซ์ได้ค้นพบว่าสภาพภูมิอากาศเป็นระบบที่มีความซับซ้อน ขึ้นอยู่กับตัวแปรมากมาย และแต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร แม้แต่เพียงเล็กน้อย ดังเช่น การกระพือปีกของนกนางนวลตัวหนึ่ง ก็มีผลต่อสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นตามมาในระดับใหญ่ได้ 

ข้อสรุปของลอเรนซ์อย่างเป็นรูปธรรมที่รู้จักกันในปัจจุบัน ก็คือการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น การกระพือปีกของผีเสื้อที่บราซิล ก็ทำให้เกิดพายุทอร์นาโดที่เท็กซัสได้

ที่สำคัญ ลอเรนซ์ก็ยกตัวอย่างของระบบภูมิอากาศ เป็น chaos system หรือ “ระบบเคออส” และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่รู้จักและเรียกกันเป็น ทฤษฎีเคออส ซึ่งต่อๆ มา ทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ ก็กลายเป็นทฤษฎีเคออสโดยทั่วไปของวงการวิทยาศาสตร์ด้วย เพราะหลักของทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ ที่ใช้ได้กับสภาพภูมิอากาศ ก็ถูกโยงว่าใช้ได้กับหลักทฤษฎีเคออส ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์อากาศเลย

ดังเช่น ....
     • กำเนิดจักรวาล (คำถามเกี่ยวกับกำเนิดจักรวาลของเรา, จักรวาลอื่นๆ, จักรวาลคู่ขนาน, ..... )
     • กำเนิดของชีวิตบนโลก และในจักรวาล
     • วิวัฒนาการของชีวิตบนโลก
     • ปรากฏการณ์เกี่ยวกับฟิสิกส์ควอนตัม
     • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์



เบนจามิน แฟรงคลิน

“ผีเสื้อกระพือปีก” ในโลกวิทยาศาสตร์ ....

ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก อยู่กับวงการวิทยาศาสตร์มานานแค่ไหน?

ตามหลักฐานที่ปรากฏ ก็ย้อนหลังไปไกลอย่างน้อยถึงศตวรรษที่ 18 กับบุคคล ดังเช่น เบนจามิน แฟรงคลิน (ค.ศ. 1706-1790) นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบไฟฟ้าในเมฆ นักคิด นักเขียน และผู้สถาปนาสหรัฐอเมริกาคนสำคัญ

เบนจามิน แฟรงคลิน เขียนว่า .....

    “เพราะไม่มีตะปู เกือกม้าจึงไม่มี
     เพราะไม่มีเกือกม้า จึงไม่มีม้า
     เพราะไม่มีม้า จึงไม่มีคนขี่ม้า
     เพราะไม่มีคนขี่ม้า จึงแพ้สงคราม
     เพราะไม่มีสงคราม จักรวรรดิจึงล่ม
     และทั้งหมดเกิดเพราะ ไม่มีตะปู”  ....


ความหมายของ เบนจามิน แฟรงคลิน คือ ด้วยเงื่อนไขเล็กๆ การขาดตะปูสำหรับเกือกม้า ก็ทำให้เกิดเหตุใหญ่ คือ การล่มสลายของจักรวรรดิ เป็นตัวอย่างชัดเจนของปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส

อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความคิดเกี่ยวกับปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออส ตั้งแต่ยุคเก่าก่อน คือ ข้อเขียนของ โยฮานน์ ฟิกตา (Johann Fichte) นักคิดคนสำคัญคนหนึ่งแห่งศตวรรษที่ 18 ของเยอรมนีในหนังสือ “The Vocation Of Man” (การอาชีพของคน) ตีพิมพ์ ค.ศ. 1799 ความว่า ....

“คุณไม่สามารถดึงเอาเม็ดทรายหนึ่งเม็ด จากตำแหน่งที่มันอยู่ โดยไม่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในทุกส่วนของกองทรายได้” 

อย่างแน่นอน การเคลื่อนย้ายเม็ดทรายหนึ่งเม็ด ก็เหมือนกับการกระพือปีกของผีเสื้อ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับกองทรายทั้งกอง ดังเช่นพายุที่เป็นผลสืบเนื่องจากการกระพือปีกของผีเสื้อ

โดยภาพรวมทั่วไป ตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งถึง “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” กับทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์ การกล่าวถึงปรากฏการณ์และทฤษฎี ก็เป็นการกล่าวในลักษณะความคิดเห็น ที่ไม่มีคำอธิบายอย่างเป็นระบบ หรือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ดังปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออสของลอเรนซ์

@@@@@@@

ถ้าจะถามว่าทำไม.?

คำตอบตรงๆ ก็คือ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีเครื่องมือที่มีความสามารถจะ “สนับสนุน” หรือ “ขัดแย้ง” กับความคิดเรื่องกระพือปีกของผีเสื้อได้อย่างเป็นรูปธรรม

จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์ได้มีเครื่องมือที่สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ ก็คือ คอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยทำการคำนวณที่ละเอียดและระดับใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

คอมพิวเตอร์ที่ลอเรนซ์ได้ใช้ในการคำนวณ สภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะ รุ่น LPG-30 ของบริษัท Royal McBee

ถึงแม้ลอเรนซ์จะได้ทำงานเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 ที่เริ่มต้นทำงานกับเอ็มไอที แต่ก็จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1961 ลอเรนซ์จึงได้ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีศักยภาพทำให้เขาได้ค้นพบ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” และ ทฤษฎีเคออส ของเขา และทำให้ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก และทฤษฎีเคออสของเขา กลายเป็นทฤษฎีหลักของวงการวิทยาศาสตร์โลกไป

แต่มิใช่นักวิทยาศาสตร์ทุกคน หรือวงการวิทยาศาสตร์ทั้งหมด.!



พอล ดิแรก

พอล ดิแรก กับ “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว"

พอล ดิแรก (Paul Dirac : 8 สิงหาคม ค.ศ. 1902 - 20 ตุลาคม ค.ศ. 1984) เป็นนักฟิกส์ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาฟิสิกส์ควอนตัม ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1933 สำหรับผลงานการสร้าง “สมการดิแรก” (Dirac equation) ที่พยากรณ์ว่า ในจักรวาลมี antiparticle หรือ “ปฏิอนุภาค” ที่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้ามกับอนุภาค ดังเช่น อิเล็กตรอน ก็มีแอนติอิเล็กตรอน ได้รับการตั้งชื่อเรียกเป็น โปสิตรอน มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก

โดยทั่วไป ดิแรกก็มิได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องทฤษฎีเคออสนัก แต่ก็มีคำกล่าวของเขา ที่กลายเป็นคำกล่าวที่รู้จักกันดี คู่กับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” คือ “Puck a flower on earth and you move the farthest star” แปลพากย์ไทยตรงๆ คือ “เมื่อคุณเด็ดดอกไม้บนโลก คุณก็ทำให้ดวงดาวแสนไกลกระเทือน”

ซึ่งมักจะจำกันได้ง่ายๆ และชัดเจนเป็น “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว”

แต่ก็มีความเข้าใจในวงการฟิสิกส์ว่า จริงๆ แล้ว  “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว” ของดิแรก มิได้มีความหมายเช่นเดียวกับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” ของลอเรนซ์ หากหมายถึง บทบาทของความโน้มถ่วง ที่เชื่อมโยงทุกสิ่งในจักรวาล ดังนั้น การเด็ดดอกไม้ จึงเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของดอกไม้ ทำให้ความโน้มถ่วงระหว่างดอกไม้กับสรรพสิ่งเปลี่ยนไป รวมถึงดวงดาวแสนไกลด้วย

ทว่าก็มีความคิดเห็นในโลกของฟิสิกส์ ที่เสนอว่า “เด็ดดอกไม้ กระเทือนถึงดวงดาว” ของดิแรก ก็มีความหมายแบบเดียวกับ “ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” ของลอเรนซ์ เพราะจักรวาลก็มีสภาพเป็น “ระบบเคออสใหญ่” ที่ทุกส่วนเชื่อมโยงกันด้วยแรงโน้มถ่วง การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดกับความโน้มถ่วง จึงมีผลต่อภาคส่วนอื่นๆ ของจักรวาลด้วย




“ผีเสื้อกระพือปีก” ในโลกของชีวิตจริง

“ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก” มีประโยชน์ หรือเกี่ยวกับชีวิตจริงหรือไม่.? อย่างไร.?

มีอย่างแน่นอน อย่างสำคัญ และก็ทั้งด้านดีและด้านเลวร้าย

ขอยกมากล่าวถึงอย่างเร็วๆ 3 เรื่อง 3 ระดับ จากใหญ่สุด ลงมาถึงระดับกลาง เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก และระดับชีวิตส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน

เรื่องแรก ระดับใหญ่ที่สุด คือ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 จากโคโรนาไวรัสทั่วโลก ระหว่างปี ค.ศ. 2019-2023 มีคนติดเชื้อรวมประมาณ 705 ล้านคน ผู้เสียชีวิตรวมประมาณ 7 ล้านคน

ระบบสิ่งมีชีวิตของโลกเป็นระบบใหญ่ มีปัจจัยตัวแปรเกี่ยวข้องมากมายและซับซ้อน ทั้งส่วนสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงมีสภาพความเป็น “ระบบเคออส” ที่ชัดเจน และปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกก็มี และเกิดขึ้นได้มากมาย การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็เกิดขึ้นจากจุดเริ่มต้น เปรียบได้กับการกระพือปีกของผีเสื้อ เชื้อโคโรนาไวรัสจากสัตว์ติดมาที่คน ที่ชุมชนแห่งหนึ่ง ในประเทศหนึ่ง แล้วก็ “ติดต่อ” ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จากปัจจัยต่อเนื่อง คือ การเดินทางของผู้คน ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกในปัจจุบัน

เรื่องที่สอง ระดับกลาง หรือระดับภายในประเทศ ดังเช่น “วิกฤติต้มยำกุ้ง” เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ของประเทศไทย สาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากการลงทุนเกินตัวของผู้ประกอบการ การเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์เกินจริง และปัญหาการกำกับดูแลระบบการเงินของภาครัฐ 

อย่างชัดเจน “ต้มยำกุ้ง” เปรียบได้เป็นทอร์นาโด ปัจจัยต้นเหตุ (การระดมทุน, การเก็งกำไร, การกำกับดูแลระบบการเงินของภาครัฐ) คือ การกระพือปีกของผีเสื้อ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมีสภาพเป็นระบบเคออส
 



เรื่องที่สาม ระดับเล็กที่สุด (แต่อาจจะยิ่งใหญ่ที่สุด) คือชีวิตส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน

อย่างย่นย่อที่สุด ตลอดเส้นทางชีวิตของมนุษย์แต่ละคน มีปัจจัยตัวแปรเกิดขึ้นได้มากมาย จากทั้งอย่างตั้งใจและอย่างบังเอิญ ที่มีผลใหญ่หลวงถึงวันสุดท้ายของชีวิต ดังเช่นเรื่อง ความรัก, ชีวิตคู่, สุขภาพ และงานอาชีพ

สำหรับคำถามที่ยังอาจอยู่ในใจของท่านผู้อ่านถึงขณะนี้ คือ แล้วเรื่องปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก แล ทฤษฎีเคออส เป็นเรื่องที่ “รู้แล้ว ได้ประโยชน์อะไร.?”   

คำตอบที่ผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ก็คือ การเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ รับความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต ด้วยสติ, ปัญญา, ความมุ่งมั่น และความไม่ประมาท

ในขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนเรื่องนี้อยู่ ก็นึกถึงเพื่อนนิสิตจุฬาฯ คนหนึ่ง ที่วันหนึ่ง ขณะผู้เขียนกำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่สองของคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2505 แล้วเพื่อนก็ชวนผู้เขียนให้ไปเป็นเพื่อนสอบ “ชิงทุนโคลัมโบ” ของประเทศออสเตรเลีย ที่สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย

แล้วผู้เขียนก็ไปสอบเป็นเพื่อน ทำให้ผู้เขียนได้เดินทางไปเรียนฟิสิกส์ จนกระทั่งจบปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย

สำหรับผู้เขียน การชวนของเพื่อนให้ไปเป็นเพื่อนสอบชิงทุนโคลัมโบ เมื่อปี พ.ศ. 2505 นั้น ก็เป็นเหมือนการกระพือปีกของผีเสื้อ ทำให้เกิด “ลม” พัดผู้เขียนเข้าสู่เส้นทางสายฟิสิกส์อาชีพ 

แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ ในชีวิตของท่าน มีประสบการณ์ “ผีเสื้อกระพือปีก” อย่างไรบ้าง หรือไม่.?







บทความโดย นักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์
ชัยวัฒน์ คุประตกุล | เชื่อ คิดและทำ อย่างวิทยาศาสตร์

Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/world/2782223
4 พ.ค. 2567 06:29 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > WORLD > ไทยรัฐออนไลน์

 10 
 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2024, 06:59:28 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10 เครือซีพี-ทรู เปิดห้องเรียนธรรมะ

พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ใหญ่ โครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” โดยมี นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในฐานะประธานโครงการฝ่ายฆราวาส ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่ปรึกษาโครงการฯ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโส เครือ ซีพี นายศุภกิต เจียรวนนท์ ประธาน กก.เครือซีพี และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือ ซีพี /ประธาน กก.บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น /ผู้ริเริ่มโครงการฯ ร่วมเปิดโครงการฯ ที่สถานปฏิบัติธรรมธวีธรรม(ไร่แสงงาม) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา.

กล่าวถึงโครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม” เชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นที่ชื่นชอบของทุกครอบครัวที่จะได้เรียนรู้ธรรมะไปพร้อมๆกับสามเณรน้อยปลูกปัญญาตั้งแต่เด็กๆ

จึงนับเป็นที่สุดของเรียลลิตี้ธรรมะแห่งทศวรรษ เพราะปีนี้ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม” ก้าวสู่ปีที่ 10 เครือซีพี และ ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงเปิดห้องเรียนธรรมะถ่ายทอดสด “1 ทศวรรษ แห่งความดี 10 ปี แห่งความยั่งยืน”

ปีนี้เปิดประตูสู่อีสาน ณ สถานปฏิบัติธรรมธวีธรรม (ไร่แสงงาม) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ เครือ ซีพี จัดสร้างไว้ มี พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อ สุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ใหญ่

เยาวชน 12 คนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ เข้าพิธีบรรพชาท่ามกลางความปลาบปลื้มปีติของพ่อแม่และผู้ปกครอง รวมทั้งผู้ไปร่วมงานอิ่มบุญตามๆกัน

ทุกคนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานผ้าไตรสำหรับพระอุปัชฌาย์ในพิธีบรรพชา วันที่ 21 เม.ย.2567



พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) พระอาจารย์ใหญ่ โครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” ถ่ายกับสามเณรที่ร่วมโครงการ

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในฐานะประธานโครงการฝ่ายฆราวาส อัญเชิญผ้าไตรพระราชทาน พร้อมผู้บริหารระดับสูง และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือซีพี/ประธาน กก.บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น/ผู้ริเริ่มโครงการ ร่วมพิธีบรรพชา

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ผู้ริเริ่มและประธานโครงการ กล่าวว่า ก้าวสู่วาระครบรอบ 1 ทศวรรษแห่งความดี นับเป็น 10 ปีของการดำเนินโครงการ สามเณรปลูกปัญญาธรรม ที่มุ่งมั่นมีส่วนร่วมทำนุบำรุงและดำรงให้พระพุทธศาสนาคงอยู่สืบไปอย่างยั่งยืน



นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือ ซีพี อัญเชิญผ้าไตรพระราชทานของ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มอบให้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ นำถวาย.

เครือซีพี และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงตั้งใจสานต่อรายการเรียลลิตี้ ธรรมะถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้สัญจรไปมาภาคอีสาน ณ สถานปฏิบัติธรรมธวีธรรม (ไร่แสงงาม) จ.นครราชสีมา โดยได้รับความเมตตาจาก พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ใหญ่ อบรมสามเณรตลอดการบรรพชา

ภายใต้แนวคิด “ความรักจักรวาล : รัก-เรียน-เพียร-ให้” คือ “รัก” ตนเอง ในทางที่ถูก “เรียน” แนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรม “เพียร” ปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดขัดเกลากิเลส และ “ให้” ความรักต่อสรรพสิ่ง ฝึกการเป็นผู้ให้ที่สมบูรณ์

ในปีนี้สามเณรจะได้เรียนรู้ธรรมะ “ทศบารมี คุณธรรมความดี 10 ประการ” ที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นแบบอย่างแก่สามเณร ผ่านเรื่องราว “ทศชาติชาดก” 10 อดีตชาติสุดท้ายก่อนประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ

พร้อมกันนี้ โครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” ทาง เครือซีพี และ ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9



นายศุภชัย เจียรวนนท์ ผู้ริเริ่มและประธานโครงการ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม”.

รวมทั้งเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 ก.ค.2567 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 1 ส.ค.2567 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 46 พรรษา วันที่ 3 มิ.ย.2567 และบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมวงศานวงศ์ทุกพระองค์

นอกจากนี้ทางโครงการยังได้รับเมตตาจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ อาทิ พระมหาธีราจารย์ กก.มหาเถรสมาคม/เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ เป็นที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ ตลอดจนมีผู้มีคุณวุฒิ และผู้มีชื่อเสียงระดับประเทศมาร่วมรายการ

ด้านเยาวชน 12 คน อายุ 7-12 ปี จากผู้สมัครทั่วประเทศ 5,800 คน ได้เป็นตัวแทนจาก กทม., สุโขทัย, สุราษฎร์ธานี, ร้อยเอ็ด, นครราชสีมา, นนทบุรี, ปทุมธานี เพื่อมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่หลักธรรมะและคำสอน



สามเณรสกาย–กวีพัฒน์ ช่างทำ อายุ 10 ขวบ และ สามเณรชายเพชร–รุ่งรดิศ พันธุ์สวัสดิ์ อายุ 9 ขวบ.

สามเณรสกาย-กวีพัฒน์ ช่างทำ อายุ 10 ปี และ สามเณรชายเพชร รุ่งรดิศ พันสวัสดิ์ อายุ 9 ปี กล่าวคล้ายๆกันว่า ได้บวชครั้งแรก ดีใจที่จะได้เรียนรู้ธรรมขัดเกลาจิตใจ เป็นหลักในการใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์ อยากให้ทุกคนมาเรียนรู้ธรรมะด้วยกัน

ขณะที่ นายปัญญ์ เทอดสถีรศักดิ์ อดีตสามเณรฯ ปี 2 และ นายณภัทร แสงรัตน์ อดีตสามเณรฯ ปี 5 ได้มาให้กำลังใจรุ่นน้อง พร้อมเผยว่า การมาร่วมโครงการ สิ่งที่สำคัญได้เรียนรู้คือการมี “สติ” ที่ทำให้เรียนรู้ทุกขณะของชีวิต และการคิดถึงผู้อื่นที่นำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้



นายปัญญ์ เทอดสถีรศักดิ์ อดีตสามเณรฯ ปี 2 และ นายณภัทร แสงรัตน์ อดีตสามเณรฯปี 5.

เรียลลิตี้ “สามเณรปลูกปัญญาธรรม ปี 10” ถ่ายทอดสดรายการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. ถึง 18 พ.ค.นี้ ทางช่องเรียลลิตี้ ทรูวิชั่นส์ ช่อง 60, 99 และช่องเรียลลิตี้ เอชดี ทรูวิชั่นส์ ช่อง 119, 333 และ TrueID หรือทางออนไลน์ www.truelittlemonk.com

เชิญเรียนรู้ธรรมะไปกับสามเณรได้ทุกวัน.

                   ทีมข่าวภูมิภาค รายงาน






Thnak to : https://www.thairath.co.th/news/local/2782711
3 พ.ค. 2567 06:15 น. | ข่าว > ทั่วไทย > ไทยรัฐฉบับพิมพ์

หน้า: [1] 2 3 ... 10