สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 16, 2015, 02:15:46 pm



หัวข้อ: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 16, 2015, 02:15:46 pm
(http://www.madchima.org/kid/images/forimg58/pra/pra-10.jpg)

   ฟังหลายๆ คน พูดเกี่ยวกับ เรื่องตัว รู้ ในภาคปกติ มามากแล้ว วันนี้มาแสดงเรื่องตัว รู้ ในภาคปฏิบัติกันบ้าง นะ จะได้เข้าใจมากขึ้น

   ส่วนเรื่องตัวรู้ จริง แล้ว ในสัปปุริสธรรม ขั้นสูง ก็กล่าวไว้ตรงกัน นะ จะมาแสดงตอนหลังแต่เทียบไว้ให้ก่อน ดังนี้
ใครอยากอ่านเชิงปริยัต ก็ไปเค้นหาอ่านเอานะ แต่ อันนี้จะอธิบาย ความหมายที่แท้จริงในองค์กรรมฐาน ที่เนื่องด้วยการรู้

    1. ธัมมัญญุตา ในองค์กรรมฐานคือการกำหนดธรรม
       ( รู้รอบแล้วในธรรม ไม่ใช่แปลว่า รู้เหตุ สั้น ๆ ไม่ถูกความหมาย )
       ธรรมที่ควรกำหนด ก็คือ มรรคมีองค์ 8 ครอบคลุมแล้ว
   
    2. อัตถัญญตา
       ( รู้รอบแล้วในประโยชน์  ไม่ใช่แปลว่า รู้ผล )
       ประโยขน์ที่ควรกำหนด ก็คือ ประโยชน์ ในภพนี้ ประโยชน์ในภพหน้า

    3. อัตตัญญุตา
       ( รู้รอบแล้วในตนเอง )
       รู้จัก กิเลสของตนเอง ความต้องการของตนเอง ที่จะไปสู่ ประโยชน์ ทั้งสองอย่าง โดยเฉพาะ รู้จักสักกายทิฏฐิ ความที่จิตยึดถือตน ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา

    4. มัตตัญญุตา
       ( รู้รอบแล้ว ในประมาณ )
       รู้จักการภาวนา ที่เป็นปัจจุบัน ที่สมควรไม่ตึง ไม่หย่อน แม้เสพเสนาสนะปัจจัยทั้ง 4 ก็รู้จักเพียงพอ เพื่อประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า

    5. กาลัญญุตา
      ( รู้รอบแล้ว ในการบริหารเวลา )
      กาลที่เหมาะสม ในการภาวนา ปฏฺบัติ กาลที่เหมาะสมในศึกษา ปริยัติ กาลที่เหมาะสมในการตรวจสอบ คุณธรรม ปฏิเวธ ของตนเอง

    6. ปุริสัญญุตา
      ( รู้รอบแล้ว ในการเสพบุคคล ที่ควรเสพ )
      บุคคลที่ควรเข้าไปหา คือ ครูอาจารย์ อุปัชฌาย์ กัลยาณมิตร ที่ไม่ฟุ้งสร้าน ที่จะตอบสนอง ต่อการภาวนาทั้งปัจจุบัน และ อนาคตได้ 

    7. ปุคคปโรปรัญญุตา
     (รู้รอบแล้ว ใน มรรค 4 ผล 4 บุรุษบุคคล 4 คู่ 8 จำพวก )
     การเข้าผลสมาบัติ อันเกิดแต่การปฏิบัติ ที่ถูกต้องดีงาม ต้องอาศัย บรุษ 4 คู่ 8 จำพวกนี้

     นี้เรียกว่า สัปปุริสธรรม ธรรมของ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยประเสริฐ

   
    เจริญธรรม / เจริญพร


   


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ พฤศจิกายน 16, 2015, 03:22:16 pm
 :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1: :25: st11


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ พฤศจิกายน 16, 2015, 03:49:00 pm
คำอธิบาย ของพระอาจารย์ที่นี่ เหนือความคาดหมายเลย ลองเทียบกับของคนอื่นอธิบายไว้ดูสิ

 287] สัปปุริสธรรม 7๑ (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี — qualities of a good man; virtues of a gentleman)
       1. ธัมมัญญุตา (ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้นๆ เป็นต้น — knowing the law; knowing the cause)
       2. อัตถัญญุตา (ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น — knowing the meaning; knowing the purpose; knowing the consequence)
       3. อัตตัญญุตา (ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป — knowing oneself)
       4. มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น — moderation; knowing how to be temperate)
       5. กาลัญญุตา (ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น — knowing the proper time; knowing how to choose and keep time)
       6. ปริสัญญุตา (ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น — knowing the assembly; knowing the society)
       7. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา (ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น — knowing the individual; knowing the different individuals)

       ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสังฆคุณครบ 9 แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ทรงประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ (ท่านแสดงไว้เฉพาะข้อหลัก 5 ข้อ คือ ข้อ 1-2-4-5-6 องฺ.ปญฺจก. 22/131/166 A.III.148) จึงทรงยังธรรมจักรและอาณาจักรให้เป็นไปด้วยดี.


  ที่มา
  http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=287 (http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=287)


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: bajang ที่ พฤศจิกายน 16, 2015, 06:29:21 pm
 st11 st12 st12
แสดงถึง การมองเห็น แก่นธรรม ของผู้ภาวนา ต่างจากผู้อ่าน เรียนอย่างเดียว

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: nirvanar55 ที่ พฤศจิกายน 16, 2015, 06:31:31 pm
 st11 st12 st12
 :25: :25: :25:

 thk56 like1


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤศจิกายน 16, 2015, 09:18:37 pm

   ขออนุโมทนาสาธุ ครับ


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ พฤศจิกายน 18, 2015, 12:13:28 am
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ พฤศจิกายน 20, 2015, 08:32:45 am
แต่มาพิจารณา จริง ๆ แล้ว ตามที่พระอาจารย์ อธิบาย ดูเหมือนจะเข้าใจง่าย กว่า ในลักษณะการภาวนา

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )
เริ่มหัวข้อโดย: noobmany ที่ พฤศจิกายน 20, 2015, 02:06:04 pm
 st11 st12 st12