ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จะบรรลุสัมมาสมาธิได้นั้น ต้องใช้ความอดทน ๕ ประการ  (อ่าน 2275 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28525
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

สมานธิสูตร : ความอดทน ๕ ประการ เพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ

    [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม
           ไม่อดทนต่อรูปารมณ์ ๑
           ไม่อดทนต่อสัททารมณ์ ๑
           ไม่อดทนต่อคันธารมณ์ ๑
           ไม่อดทนต่อรสารมณ์ ๑
           ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่ควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
           อดทนต่อรูปารมณ์ ๑
           อดทนต่อสัททารมณ์ ๑
           อดทนต่อคันธารมณ์ ๑
           อดทนต่อรสารมณ์ ๑
           อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ฯ
        จบสูตรที่ ๓

_______________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3188&Z=3199&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก http://www.doisaengdham.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2013, 08:13:25 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28525
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จะบรรลุสัมมาสมาธิได้นั้น ต้องใช้ความอดทน ๕ ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 07:58:10 am »
0


โคจรรูป

    โคจรรูป ๔ ได้แก่ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ และ รสารมณ์
    คำว่า โคจรรูป แปลตามพยัญชนะ ก็ว่ารูปที่ท่องเที่ยวไปเหมือนโค แต่ในที่นี้ หมายความว่า รูปที่เป็นอารมณ์
    โคจรรูป มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วิสยรูป คำว่า วิสย ตรงกับคำไทยว่า วิสัย ซึ่ง แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ แต่คำ วิสยรูป ในที่นี้ก็หมายความว่า รูปที่ เป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน

    ดังนั้น วิสยรูป หรือโคจรรูป จึงมีความหมายเหมือนกันคือ “รูปที่เป็นอารมณ์ ของปัญจวิญญาณจิต” ซึ่งมีอยู่ ๗ ประการ คือ
       ๑. รูปารมณ์ ได้แก่ วัณณะรูป คือ รูปที่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ
       ๒. สัททารมณ์ ได้แก่ สัททะรูป คือ เสียงต่าง ๆ
       ๓. คันธารมณ์ ได้แก่ คันธะรูป คือ กลิ่นต่าง ๆ
       ๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสะรูป คือ รสต่าง ๆ
       ๕. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ปฐวีรูป คือ อ่อน แข็ง
       ๖. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เตโชรูป คือ ร้อน เย็น
       ๗. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ วาโยรูป คือ ไหว เคร่งตึง

    วิสยรูป หรือโคจรรูปทั้ง ๗ นี้ ถ้านับรูปที่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะแล้วจะได้  ๔ คือ
    รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์
    ส่วนโผฏฐัพพารมณ์ ทั้ง ๓ นั้น องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ คือ มหาภูตรูป ๓ ที่ได้กล่าว มาแล้วนั่นเอง

    ดังนั้น “โผฏฐัพพารมณ์” จึงไม่มีสภาวะของตนเอง โดยเฉพาะ สาเหตุที่เรียก ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ว่า โผฏฐัพพารมณ์ ก็เพราะว่า ธาตุทั้ง ๓ นี้กระทบทางกายปสาทได้ เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณได้ จึงเรียก โผฏฐัพพารมณ์ ซึ่งก็หมายถึง อารมณ์ที่มากระทบให้รู้ได้ทางกายปสาทนั่นเอง





๑. รูปารมณ์

       รูปารมณ์ หมายถึงรูปที่เป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณจิต ได้แก่ วัณณรูปที่ ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ รูปารมณ์ หมายถึงวัณณรูปซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของ จักขุวิญญาณ วัณณรูป หมายถึงรูปที่จะปรากฏให้เห็นเป็นสีต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็น อารมณ์ของจักขุวิญญาณจิต และการรู้สึกเห็นเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง ฯลฯ นั้นไม่ใช่เห็นด้วยจักขุวิญญาณจิต แต่เป็นการเห็นด้วยมโนวิญญาณ คือการเห็นทางมโนทวารแล้ว ไม่เห็นทางจักขุทวาร ถ้าเห็นทางจักขุทวารจะเห็น เพียงสีแล้วก็ดับไป แล้วจิตทางมโนทวารจึงรู้ว่าเป็นสีอะไร โดยอาศัยบัญญัติอารมณ์ ในอดีตนั้นมาตัดสินอีกทีหนึ่ง จึงรู้ว่าเป็นสีอะไร เป็นรูปอะไร เรียกรูปนั้นว่าอย่างไร

       รูปารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
       จกฺขุปฏิหนน ลกฺขณํ         รูปที่มีการกระทบกับจักขุปสาท เป็นลักษณะ
       จกฺขุวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ     เป็นอารมณ์ให้จักขุวิญญาณ เป็นกิจ
       ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ  เป็นที่โคจรของจักขุวิญญาณ เป็นผล
       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ         มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

       วัณณะ คือ สี หรือ รูป นี่เอง ที่กระทบกับจักขุปสาทรูป และทำให้เกิด จักขุ วิญญาณขึ้น วัณณะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่จักขุวิญญาณจิตนี่แหละได้ชื่อว่า รูปารมณ์

       รูปใดที่ปรากฏให้เห็นทางจักขุทวาร ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จักขุวิญญาณ เป็นผู้เห็นที่เราเรียกกันว่า “เห็นด้วยตา” นั่นแหละเรียกว่า “รูปารมณ์” แต่ถ้ารูป  ต่าง ๆ เหล่านั้นทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จักขุวิญญาณไม่ได้ทำหน้าที่เห็น แต่รู้สึก เห็นด้วยการคิดเอานึกเอาก็ไม่เรียกว่ารูปารมณ์ จัดเป็นธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ ด้วยใจ เห็นด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตา





๒. สัททารมณ์

       สัททารมณ์ หมายถึง เสียงที่กำลังเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณจิต ได้แก่ “สัททรูป” ที่ปรากฏให้ได้ยินเป็นเสียงต่าง ๆ สัททารมณ์ กับสัททรูป  ต่างกันดังนี้

       ๑. สัททารมณ์ หมายถึงเสียงที่กำลังเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณจิต จิตกำลัง ได้ยินเสียงนั้น เสียงที่จิตกำลังได้ยินนั้น เรียกว่า สัททารมณ์
       ๒. สัททรูป หมายถึงเสียงที่ไม่ได้เป็นอารมณ์ของ โสตวิญญาณจิต และเสียง ที่เราได้ยินรู้ว่าเขาพูดอะไร หมายความว่าอย่างไร ก็ไม่เรียกว่าสัททารมณ์ เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนทวาร ถ้าเป็นสัททารมณ์ จะต้องได้ยินแล้ว ก็ดับไป โดยไม่รู้ความหมายอะไร การที่รู้ความหมายจากเสียงนั้น ก็เพราะว่า เสียง ที่เป็นอารมณ์ทางโสตทวารนั้นดับไปแล้ว จากนั้นจิตที่เกิดทางมโนทวารรับการ ได้ยินไปคิด นึก  โดยอาศัยบัญญัติอารมณ์ในอดีตมาตัดสิน จึงรู้ว่าเสียงที่ดับไปแล้ว นั้น มีความหมายว่าอย่างไร

       สัททารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
       โสตปฏิหนน ลกฺขณํ         รูปที่มีการกระทบกับโสตปสาท เป็นลักษณะ
       โสตวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ      เป็นอารมณ์ให้โสตวิญญาณ เป็นกิจ
       ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ  เป็นที่โคจรของโสตวิญญาณ เป็นผล
       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ         มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

       สัททะ คือ เสียง ที่กระทบโสตปสาทรูป และทำให้เกิดโสตวิญญาณขึ้น สัททะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่โสตวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า สัททารมณ์

       รูปที่ทำให้โสตวิญญาณจิตรู้ได้ รูปนั้นเรียกว่า สัททรูป คือเสียงที่ปรากฏให้ ได้ยินทางโสตทวารทั้งเสียงที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต  มีโสตวิญญาณเป็นผู้ทำ หน้าที่ได้ยิน  ที่เรียกว่าได้ยินด้วยหูนั่นแหละเรียกว่า สัททรูป

       เสียงใดที่ปรากฏให้ได้ยินทางโสตทวาร ทั้งเสียงที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิตและไม่มี ชีวิต มีโสตวิญญาณทำหน้าที่ได้ยิน ที่เรียกว่า ได้ยินด้วยหูนั่นแหละเรียกว่า สัททา-รมณ์ แต่ถ้าเสียงต่าง ๆ เหล่านั้นโสตวิญญาณไม่ได้ทำหน้าที่ได้ยิน แต่รู้สึกได้ยิน ด้วยใจ เช่นคิดถึงทีไรก็รู้สึกได้ยินก้องอยู่ในใจทุกที อย่างนี้ไม่ใช่สัททารมณ์ แต่เป็น ธัมมารมณ์ เพราะเป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจทางมโนทวาร ไม่ใช่รู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ

       สัททารมณ์นี้ จะปรากฏได้เฉพาะที่โสตปสาทได้ยินด้วยโสตวิญญาณเท่านั้น ถ้ารู้สึกได้ยินทางมโนวิญญาณ รู้ได้ทางมโนทวาร ก็ไม่เรียกว่า สัททารมณ์





๓. คันธารมณ์

       คันธารมณ์ หมายถึง รูปที่กำลังเป็นอารมณ์ของ “ฆานวิญญาณ” ได้แก่  คันธรูปที่ปรากฏให้รู้ได้ว่าเป็นกลิ่น คันธรูปจึงหมายถึงกลิ่นที่มีอยู่ทั่วไป ส่วนคันธา รมณ์จึงหมายถึง กลิ่นที่กำลังเป็นอารมณ์ของจิตที่ชื่อว่า  ฆานวิญญาณ

       คันธรูป เป็นรูปที่ปรากฏเป็นกลิ่น และกลิ่นนั้นยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิตที่ ชื่อว่า ฆานวิญญาณ จึงเรียกว่าคันธรูป และการที่รู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นหอมหรือ เหม็นนั้น ไม่ใช่รู้ทางฆานทวาร และไม่ใช่รู้โดยฆานวิญญาณ แต่เป็นการรู้โดยทาง มโนทวาร และรู้ด้วยมโนวิญญาณ เรียกว่าธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ การรู้ ด้วยใจนี้ อาศัยบัญญัติอารมณ์ที่เคยสั่งสมมาในอดีตมาตัดสินอีกทีหนึ่ง จึงรู้เป็นกลิ่น อะไร กลิ่นเหม็นหรือหอม เป็นต้น

       รูปใดแสดงที่อาศัยของตนให้ปรากฏ รูปนั้นชื่อว่า คันธะ คันธรูปนี้เป็นรูป ที่แสดงถึงวัตถุสิ่งของที่คันธรูปอาศัยอยู่นั้นให้ปรากฏรู้ได้ ไม่ว่ารูปนั้นจะเป็นอะไร จะมีกลิ่น คือคันธรูปอยู่ด้วยเสมอไป คล้าย ๆ กับว่า คันธรูปนี้เป็นตัวแสดงให้รู้ว่า กลิ่นนี้เป็นกลิ่นอะไร ลอยมาจากที่ไหน

       คันธารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
       ฆานปฏิหนน ลกฺขณํ         มีการกระทบกับฆานปสาท เป็นลักษณะ
       ฆานวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ     มีการทำอารมณ์ให้ฆานวิญญาณ เป็นกิจ
       ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ  เป็นที่โคจรของฆานวิญญาณ เป็นผล
       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ         มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

       คันธ คือ กลิ่น หมายถึง น้ำมันระเหย ที่กระทบกับฆานปสาทรูป และทำให้ เกิดฆานวิญญาณขึ้น คันธะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่ ฆานวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า คันธารมณ์

       อนึ่งคำว่า คันธะ นี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการเรียกสั้น ๆ ว่า คันธะ ๔ คือ
       (๑) สีลคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งศีล องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
       (๒) สมาธิคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
       (๓) ปญฺญาคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งปัญญา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

       คันธะในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงตัวกลิ่นที่หอมหรือเหม็นนั้น แต่หมายถึงว่า เป็น การฟุ้งไปทั่ว กระจายไปทั่ว แผ่ทั่วไป

       กลิ่นหอมหรือเหม็นนั้น ตามปกติย่อมกระจายไปตามลม และไปได้ในบริเวณ แคบไม่กว้างไม่ไกลนัก แต่การกระจาย การแผ่ไปของ สีล สมาธิ ปัญญา นั้นไปได้ทั้งตามลมและทวนลม ทั้งแผ่ไปได้ทั่วไม่มีขอบเขตอันจำกัดเลย

       (๔)  อายตนคนฺธ ได้แก่ กลิ่นแห่งอายตนะ คือ การกระทบกันระหว่างกลิ่น กับฆานปสาทและฆานวิญญาณ  องค์ธรรมได้แก่  คันธารมณ์ คือ
              สุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ดี
              ทุคนฺธกลิ่น = กลิ่นที่ไม่ดี





๔. รสารมณ์

      รสารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ได้แก่ รสรูปที่ปรากฏ เป็นรสต่าง ๆ ระหว่างรสารมณ์ กับรสรูป

       รสารมณ์ หมายถึงรสรูป ซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ จึงเรียกว่า รสารมณ์     

       รสรูป หมายถึงรสที่มีอยู่ในวัตถุต่าง ๆ ยังไม่ได้เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ เรียกรสนั้น ๆ ว่า รสรูป และการรู้สึกต่อรสว่า รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็มต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่รู้ด้วยชิวหาวิญญาณ แต่เป็นการรู้ด้วยมโนวิญญาณ จึงจัดเป็นธัมมารมณ์ คือ รู้ด้วยใจคิดนึก ถ้ารู้ด้วยชิวหาวิญญาณจะปรากฏเป็นรสเท่านั้น แล้วก็ดับไป ยัง ไม่รู้ว่าเป็นรสอะไร รสที่รู้ด้วยชิวหาวิญญาณนี้แหละ เรียกว่า รสารมณ์

       รสารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
       ชิวฺหาปฏิหนน ลกฺขณํ               มีการกระทบชิวหาปสาท เป็นลักษณะ
       ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส วิสยภาว รสํ    มีการทำอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณเป็นกิจ
       ตสฺเสว โคจร ปจฺจุปฏฺฐานํ  มีการเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ เป็นผล
       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ         มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้

       รสะ คือ รสที่กระทบกับชิวหาปสาท และทำให้เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น รสะที่ มาเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณจิตนี่แหละ ได้ชื่อว่า รสารมณ์

       อนึ่งคำว่า รสะนี้ยังจำแนกได้เป็น ๔ ประการ เรียกสั้น ๆ ว่า รสะ ๔ คือ
       (๑) ธมฺมรส ได้แก่ รสแห่งธรรม ซึ่งมีทั้งกุสล และอกุสล องค์ธรรมได้แก่ มัคคจิตตุปปาท ๔ โลกียกุสลจิต ๑๗ อกุสลจิต ๑๒ คือ ธรรมอันเป็นกุสลและ อกุสลทั้งปวง
       (๒) อตฺถรส ได้แก่ รสแห่งอรรถธรรม คือ ธรรมที่เป็นผลของกุสล  และ อกุสลทั้งปวง องค์ธรรมได้แก่ ผลจิตตุปปาท ๔ โลกียวิบากจิต ๓๒ คือ ธรรม อันเป็นผลของกุสลและอกุสลทั้งหมด
       (๓) วิมุตฺติรส ได้แก่ รสแห่งความหลุดพ้น คือพระนิพพาน
       (๔) อายตนรส ได้แก่ รสแห่งการกระทบกันระหว่างรสรูปกับชิวหาวิญญาณ องค์ธรรมได้แก่ รสารมณ์ เมื่อประมวลแล้วทั้งหมดมี ๖ รส คือ อมฺพิล เปรี้ยว, มธุร หวาน, โลณิก เค็ม, กฏุก เผ็ด, ติตฺต ขม, และ กสาว ฝาด





๕. โผฏฐัพพารมณ์

      โผฏฐัพพารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณจิต ได้แก่ ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง ที่มากระทบ กับกายปสาท ซึ่งคำวิเคราะห์ศัพท์ว่า “ผุสิตพฺพนฺติ-โผฏฐพฺพํ” แปลว่า รูปที่ กายปสาทพึงถูกต้องได้ รูปนั้นชื่อว่า “โผฏฐัพพะ” โผฏฐัพพารมณ์ ๓ อย่าง คือ
       ๑. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน
       ๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เตโชธาตุที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น
       ๓. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วาโยธาตุที่มีลักษณะหย่อนหรือตึง

       โผฏฐัพพารมณ์ คือ มหาภูตรูป ๓ ได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นถูกต้องด้วยกายปสาทไม่ได้ จึงเป็นโผฏฐัพพารมณ์ไม่ได้ เพราะ อาโปธาตุนั้นเป็นธาตุที่รู้ได้ด้วยใจ จะรู้ด้วยประสาทอื่น ๆ ไม่ได้ จึงจัดอาโปธาตุนั้น เป็นธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยการคิดนึกเข้าถึงเหตุผลเท่านั้น


       รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ และโผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม ๗ รูปนี้
       มีชื่อเรียกว่า วิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นที่อาศัยการรู้ของปัญจวิญญาณ จิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และ ทางกาย บางทีก็เรียกว่า โคจรรูป ที่เรียกว่าโคจรรูป ก็เพราะว่าเป็นรูปที่โคจรของจิตและเจตสิกนั่นเอง


อ้างอิง :-
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/018.htm
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/019.htm
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/020.htm
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/021.htm
http://abhidhamonline.org/aphi/p6/022.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammahome.com/ , http://www.dailynews.co.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2013, 08:10:41 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จะบรรลุสัมมาสมาธิได้นั้น ต้องใช้ความอดทน ๕ ประการ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 09:16:03 am »
0
 st12 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ