ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกเจริญสติแล้ว "ทำให้คิดน้อยลง จนทำการงานไม่ได้" แก้ไขอย่างไร.?  (อ่าน 1147 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ฝึกเจริญสติแล้ว ทำให้คิดน้อยลง จนทำการงานไม่ได้ แก้ไขอย่างไร.?
ปุจฉา-วิสัชนากับพระไพศาล วิสาโล

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ หนูกำลังพยายามเจริญสติตามแนวทางของวัดป่าสุคะโตคือ ใจมีสติอยู่กับกาย (เคยไปเข้าคอร์สเป็นครั้งแรก ประมาณหกวัน กลัวว่าตัวเองจะมีอะไรที่ยังไม่เข้าใจเหมือนกันค่ะ) พอกลับมาทำที่บ้านแล้ว แรกๆ ก็รู้สึกว่าดี เพราะตัวเองเป็นคนคิดมาก ก็เลิกคิดเรื่องไม่จำเป็นไปได้เยอะเลยค่ะ

แต่พอหลังๆ รู้สึกว่าเราคิดได้น้อยลงมาก จนกระทั่งเมื่อเราต้องแสดงความคิดเห็น เหมือนเรากลายเป็นคนเฉื่อยชา คิดช้า เลยสงสัยว่าเป็นเพราะหนูฝึกใช้ความคิดน้อยลง หรือหนูทำอะไรผิดหลักไปหรือเปล่าคะ

และอีกคำถามคือ ในชีวิตประจำวัน เรายังต้องจดจ่อกับสิ่งที่มากระทบอยู่เสมอ รวมถึงการเป็นผู้คิด พูด กระทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เป็นผู้ดูอย่างเดียว จึงอยากขอคำแนะนำจากพระอาจารย์เกี่ยวกับหลักการเจริญสติ เมื่อเราต้องจดจ่อ หรือใช้ความคิดกับสิ่งที่มากระทบ เช่น ฟังผู้อื่นพูด อ่านหนังสือแล้วคิดตาม แสดงความคิดเห็น ขบคิดเรื่องที่เราต้องแก้ปัญหา ขบคิดเรื่องที่เรียน เป็นต้น

เพราะรู้สึกว่าเมื่อใช้หลักใจมีสติอยู่กับกายเพียงอย่างเดียวแล้ว ทำให้การคิดหรือการฟังไม่ปะติดปะต่อ และไม่รู้เรื่องในที่สุดค่ะ แต่พอพยายามมีสติกับเสียงที่ฟัง ข้อความที่อ่าน เรื่องที่คิด พอทำไปปะติดปะต่อนานๆ เข้าก็จะหลงไปเพราะไม่มีหลักให้ยึดเลยค่ะ

จึงอยากขอคำแนะนำจากพระอาจารย์เกี่ยวกับหลักการเจริญสติตามกรณีที่กล่าวมา กราบขอบพระคุณค่ะ


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

วิสัชนา : สตินั้นมีประโยชน์และใช้ได้กับทุกสถานการณ์และทุกการกระทำ แต่ก็ต้องใช้ให้เป็นหรือทำให้ถูก เช่น ระหว่างที่ขับรถ ก็ขับรถอย่างมีสติ อย่าใจลอย รับรู้หนทางข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์เช่นนั้น ไม่ควรเลยที่คุณจะเอาจิตมาอยู่ที่กาย ขืนทำเช่นนั้นก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ในทำนองเดียวกัน เวลาสนทนากับใคร ก็ควรมีสติอยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ต้องเอาใจไปกำหนดกาย เมื่อคุณเป็นผู้ฟัง ก็ใช้ใจรับรู้เรื่องราวที่เขากำลังพูดคุย หากใจแวบไปที่อื่น ก็ใช้สติดึงใจกลับมาอยู่กับเรื่องที่เขากำลังคุย หากฟังแล้วเกิดความหงุดหงิด รำคาญ อยากพูดแข่งกับเขา ก็รู้ทันอารมณ์ดังกล่าว  ตรงนี้ต้องอาศัยสติ สติจะช่วยให้ใจกลับมาเป็นปกติ และติดตามเรื่องที่เขากำลังพูดคุยอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าใจเนื้อความและจับประเด็นได้

 :25: :25: :25: :25:

ในทำนองเดียวกันเวลาคุณเป็นผู้พูด ก็พูดอย่างมีสติ ลำดับเรื่องที่จะพูดให้ดี หากคุณเอาจิตไปกำหนดที่กาย คุณจะลำดับเรื่องราวที่จะสนทนาได้อย่างไร ถ้ารู้จักใช้สติ เมื่อถึงเวลาคิดก็จะคิดอย่างมีสติ ไม่คิดวกวนหรือหลุดไปคิดเรื่องอื่น  คุณจะคิดได้อย่างต่อเนื่องจนเกิดสมาธิขึ้นมา

การมีสติอยู่กับกายนั้น ควรทำเวลาที่ใช้กายทำกิจต่าง ๆ เช่น อาบน้ำ ถูฟัน ล้างจาน เดิน กิน ดื่ม สติจะช่วยให้รู้กายและเกิดความรู้สึกตัวตามมา ในสถานการณ์ดังกล่าวควรวางความคิดต่างๆ ลง แต่หากถึงคราวที่จะต้องใช้ความคิด ไม่ว่า พูดคุย อ่านหนังสือ คิดงาน เขียนหนังสือ ก็ควรใช้สติในการทำกิจดังกล่าว ไม่ควรเอาจิตมาอยู่ที่กาย ขืนทำเช่นนั้นคุณก็จะคิดอะไรไม่ออก

 st12 st12 st12 st12 st12

อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าตัวเองมักใจลอย เวลาฟังคนพูดคุยกันหรือฟังคำบรรยาย คุณจะลองพลิกมือไปมาหรือคลึงนิ้วเพื่อช่วยดึงจิตให้กลับมาอยู่กับการสนทนาหรือการบรรยาย ก็ย่อมได้ ความรู้สึกที่มือหรือนิ้วจะช่วยเตือนจิต หรือเรียกจิตให้กลับมาอยู่กับปัจจุบันได้ง่าย ในทำนองเดียวกัน หากคุณขับรถแล้วชอบใจลอยฟุ้งซ่าน ก็ลองใช้นิ้วถูกับพวงมาลัยเบาๆ เพื่อดึงจิตให้กลับมาอยู่กับการขับรถ วิธีนี้ก็ช่วยให้ขับรถอย่างมีสติดีขึ้น


ขอบคุณบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150609/207674.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ