ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ออกจากเรือน บวชเป็น "อนาคาริก" แสวงหาอะไร.?  (อ่าน 4615 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ออกจากเรือน บวชเป็น "อนาคาริก" แสวงหาอะไร.?

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่ภิกษุเหล่านี้ไปในเพราะเหตุไร.?
ตอบว่า ความจริงมีอยู่ว่า ภายในพรรษาหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ในเมืองสาวัตถี ออกพรรษาปวารณาแล้วแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีเที่ยวจาริกไปในชนบท เสด็จถึงเมืองกบิลพัสดุ์ แล้วเสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม.

เจ้าศากยะทั้งหลายได้สดับ(ข่าว)ว่า พระศาสดาเสด็จมาถึงแล้ว หลังเสวยพระกระยาหารเสร็จทรงรับสั่งให้ราชบุรุษทั้งหลายหาบเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น และน้ำปานะที่เป็นกัปปิยะหลายร้อยหาบ เสด็จไปสู่วิหารมอบถวายพระสงฆ์ ถวายบังคมพระศาสดาแล้วประทับนั่งทำปฏิสันถาร(กับพระศาสดา) ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. (ฝ่าย)พระศาสดาประทับนั่งตรัสธรรมกถาอันไพเราะ ถวายเจ้าศากยะเหล่านั้น.


      :96: :96: :96: :96:

     ขณะนั้น ภิกษุบางพวกกำลังเช็ดถูเสนาสนะ บางพวกกำลังจัดตั้งเตียงและตั่งเป็นต้น (ส่วน)สามเณรทั้งหลายกำลังถากหญ้า.             
     ในสถานที่แจกสิ่งของ ภิกษุที่มาถึงแล้วก็มี ภิกษุที่ยังมาไม่ถึงก็มี ภิกษุที่มาถึงแล้วจะรับลาภแทนภิกษุที่ยังมาไม่ถึง ก็พูดเสียงดังขึ้นว่า จงให้แก่พวกข้าพเจ้า จงให้แก่อาจารย์ของพวกข้าพเจ้า จงให้แก่อุปัชฌาย์ของพวกข้าพเจ้า.

      พระศาสดาทรงสดับแล้วได้ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า
      อานนท์ ก็พวกที่ส่งเสียงดังเอ็ดอึงนั้นเป็นใคร คล้ายจะเป็นชาวประมงแย่งปลากัน.
      พระเถระกราบทูล (ให้ทรงทราบ) เนื้อความนั้น.
      พระศาสดาทรงสดับแล้วตรัสว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายส่งเสียงดัง เพราะอามิสเป็นเหตุ.
      พระเถระกราบทูลว่า ใช่ พระเจ้าข้า.


      :25: :25: :25: :25:

     พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ ไม่สมควรเลย ไม่เหมาะสมเลย เพราะเราตถาคตบำเพ็ญบารมีมาตั้ง ๔ อสงไขยกำไรแสนกัลป์ เพราะจีวร(เป็นต้น)เป็นเหตุก็หามิได้
     ทั้งภิกษุเหล่านี้ออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริก เพราะจีวร(เป็นต้น)เป็นเหตุก็หามิได้.

     พวกเธอบวชเพราะความเป็นพระอรหันต์เป็นเหตุ (แต่)กลับมาทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ให้เป็นเหมือนกับสิ่งที่มีประโยชน์ ทำสิ่งที่ไม่มีสาระให้เป็นเหมือนสิ่งมีสาระ
     ไปเถิดอานนท์ จง(ไป)ขับไล่ภิกษุเหล่านั้น(ให้ออกไป). ฯลฯ


ที่มา : อรรถกถาปิณโฑลยสูตร ว่าด้วยเหตุที่ต้องดำรงชีพด้วยบิณฑบาต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=165&p=1




คำว่า การบรรพชา ได้แก่ ความเป็นอนาคาริก.
ก็ความเป็นอนาคาริกนั้นแล ย่อมควรในศาสนา หรือในนิกายของดาบสและปริพาชกผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนควรแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่าสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นดาบส ชื่อสุเมธ จึงตั้งปณิธาน.


ที่มา : อรรถกถาขัคควิสาณสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296&p=1




      อนาคาริกรัตนะ
      แม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑.
      แม้ในอาคาริกรัตนะนั้น พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนมัสการสามเณรที่บวชในวันนี้ด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์.
      ในรัตนะทั้ง ๒ อย่างแม้นี้ อนาคาริกรัตนะเท่านั้นประเสริฐที่สุด.

      แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ เสกขรัตนะ ๑ อเสกขรัตนะ ๑.
      ในอนาคาริกรัตนะ ๒ อย่างนั้น พระเสกขะตั้งแสนย่อมไม่ถึงส่วนแห่งพระอเสกขะ.
      ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้ อเสกขรัตนะเท่านั้นประเสริฐที่สุด.

ที่มา : อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=673&p=1




อนาคาริกมุนี น. มุนีผู้ที่ไม่ได้ครองเรือน.

ที่มา : dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-pleang/อนาคาริกมุนี



มุนีพึงตั้งสติเที่ยวไปในบ้าน เหมือนบุรุษผู้ไม่ได้สวมรองเท้า ตั้งสติเที่ยวไปในถิ่นที่มีหนาม ฉะนั้น


     "ภิกษุ" มี ๒ ประเภท
     ๑. อนาคาริกสมณะ หมายถึง สมณะผูู้ไม่มีเรือน ไม่มีสามี ภรรยาหรือบุตร เรียก่ว่า "ภิกษุ" เช่น พระสารีบุตรเถระ พระอุบลวัณณาเถรี เป็นต้น
     ๒. อาคาริกสมณะ หมายถึง ฆราวาสผู้เป็นอริยะ ยังครองเรือนอยู่ร่วมกับสามีภรรยาหรือบุตร เรียกว่า ภิกษุ เช่น นางวิสาขา อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น


ที่มา : www.dhammahome.com/webboard/topic/20244
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2015, 08:58:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ออกจากเรือน บวชเป็น "อนาคาริก" แสวงหาอะไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 09:46:59 am »
0
เนื้อหา รูปภาพ ได้อ่าน แล้ว เห็น น้ำตาซึมครับ

   st11 st12 st12 thk56 like1
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อนาคามี : พระในเพศฆราวาส
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 10:27:56 am »
0


อนาคามี : พระในเพศฆราวาส

สำหรับวันนี้จะบรรยายให้ท่านทั้งหลายฟัง ในหัวข้อเรื่องอนาคามี : พระในเพศฆราวาส ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ฆราวาสสามารถที่จะบรรลุอริยบุคคลได้ทุกชั้น แต่พระโสดาบันและสกทาคามีนั้น ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายๆ กับ ปถุชน เช่น ท่านยังมีครอบครัว มีสามี ภรรยา และลูก เพีงแต่ท่านมีศีล 5 บริสุทธิ์ ท่านละสังโยชน์ คือ กิเลสทั้ง 3 ตัวได้
 
      สิ่งที่สำคัญก็คือ สำหรับอริยบุคคล 2 ชั้นนี้ ท่านยังสามารถบริโภคความสุขได้ทั้ง 3 ประการ คือ
      1.กามสุข ความสุขจากกาม
      2.ฌานสุข ความสุขที่เกิดจากฌาน
      3.นิพพานสุข ความสุขที่ได้จากการเข้าถึงนิพพาน
      แม้ยังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างชนิดเต็มตัว แต่ท่านสามารถหน่วงเหนี่ยวอารมณ์แห่งนิพพานได้
             
สำหรับอริยบุคคลชั้นสูงขึ้นไป คือ ในระดับพระอนาคามีและพระอรหันต์ ท่านไม่ได้บริโภคกามสุข ท่านบริโภคเฉพาะฌานสุขและนิพพานสุขเท่านั้น ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากการที่พระอนาคามีนั้นท่านสามารถละ สังโยชน์ คือ กิเลสเพิ่มได้อีก 2 ตัว ก็คือ กามราคะ ท่านสามารถตัดความรัก ความยินดีในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส ท่านสามารถตัดปฏิฆะ คือ ความโกรธเสียได้


 :25: :25: :25: :25:

เมื่อท่านสามารถตัดความรักและความโกรธได้แล้ว จึงทำให้ท่านเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ แต่ศีลในที่นี้ไม่ได้ เป็นศีลเหมือนอริยบุคคล 2 ระดับ ดังกล่าวแล้ว
     พระโสดาบันและพระสกทาคามีนั้น เป็นผู้ที่มีศีล 5 บริสุทธิ์โดยธรรมชาติ
     ส่วนพระอนาคามีนั้นมีอธิศีลเหมือนพระโสดาบัน
     แต่ข้อแตกต่างกันก็คือ พระอนาคามีมีศีล 8 โดยธรรมชาติหรืออาจเรียกได้ว่าศีลอุโบสถก็ได้

ที่สำคัญก็คือ พระอนาคามีเป็นผู้ที่มีอธิจิตบริบูรณ์ คำว่า อธิจิต ก็หมายความว่า เป็นผู้ที่มีสมาธิที่สมบูรณ์ ท่านทั้งหลายโปรดสังเกตว่า ในการฝึกสมาธินั้นมีกิเลสตัวสำคัญที่รุมล้อมทำร้ายจิตใจของเรา เรียกว่า นิวรณ์ทั้ง 5 ได้แก่
        1. กามฉันทะ ความพอใจในกาม
        2. ความพยาบาท ความขัดเคืองไม่พอใจ
        3. ถีนมิทธะ ความหดหู่และความเซื่องซึม
        4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านแระ รำคาญใจ
        5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย





กิเลสตัวสำคัญที่สุด คือ กามราคะ หรือในนิวรณ์เรียกว่า กามฉันทะนั่นเอง แล้วก็พยาบาท ซึ่งในสังโยชน์เรียกว่า ปฏิฆะ ราคะกับโทสะ สองตัวนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในระดับกิเลสชั้นกลาง เพราะว่าเป็นกิเลสที่มารุมทำร้ายจิตใจ ทำให้จิตใจของเรานั้นไมีความสงบ เดี๋ยวจิตก็ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ของ ความรัก ความโกรธ เมื่อเราสามารถตัดราคะและโทสะได้ พระอนาคามีจึงชื่อว่าเป็นผู้มี อธิจิตสิกขา คือ เป็นผู้ที่มีสมาธิจิตบริบูรณ์

ส่วนปัญญาของท่านก็มีอยู่พอควร  ถ้าท่านไม่มีปัญญา ท่านไม่สามารถละกิเลสในระดับหนึ่งได้ เพียงแต่ท่านยังมีกิเลสเบื้องสูงอีก 5 ตัวที่ท่านยังไม่สามารถละได้ ภาษาพระใช้คำว่า อุทธัมภาคิสังโยชน์ แปลว่า กิเลสที่เป็นไปในฝ่ายสูง คือ
     พระอนาคามียังละรูปราคะ คือ ความพอใจในรูปฌานไม่ได้
     ยังละอรูปราคะ คือ ความพอใจในอรูปฌานไมได้
     ยังละ มานะ คือ ความถือตนว่าดีกว่าเขา เสมอกว่าเขา หรือ ต่ำกว่าเขาไม่ได้
     ยังละอุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่านระดับเบื้องสูงไม่ได้
     และที่สำคัญคือ ท่านยังละอวิชชา ความหลงไม่ได้
     เพราะฉะนั้น นี่คือ ภาระหนักสำหรับพระอนาคามี ที่ยังมีภาระกิจ คือ กิเลสละเอียด ที่จะต้องละต่อไป


ask1 ans1 ask1 ans1

ครั้งที่แล้วได้อธิบายให้ท่านทั้งหลายฟังว่า ในศีล 8 นั้น ข้อที่น่าสนใจคือ ข้อที่ 3 ในศีล 5 ข้อ คือ กาเมสุมิจฉาจาร หมายความว่า เราจะไม่ยุ่งกับคู่ครองของคนอื่น แต่เราก็ยังมีเพศสัมพันธ์ปกติกับคู่ครองคือสามีและภรรยาของเราได้ แต่พอบรรลุอนาคามีนั้น สภาพจิตของท่านสูงขึ้น เนื่องจากตัดกามระคะได้
     
    ดังนั้น ศีลข้อที่สามจึงเปลี่ยนจาก กาเมาสุมิจฉาจารา เวรมณี มาเป็น อพรัหมจริยาเวรมณี
    คำว่า อพรัหมจริยาเวรมณี หมายความว่า ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางเพศทุกชนิด เพราะท่านไม่มีภารกิจที่ต้องทำในเรื่องเหล่านี้แล้ว เนื่องจากตัดถอนรากถอนโคนกามราคะได้หมดสิ้นแล้ว





คำว่า กามราคะ ในศัพท์จิตวิทยา เรียกว่า สัญชาตญาณทางเพศ ซึงในเรื่องนี้มีมุมมองที่ขัดแย้งกันในทางความคิด เนื่องจากทางตะวันตกนี่ ไม่ว่าจะป็น อริสโตเติ้ล ซิกมันด์ ฟรอยด์ เขาถือว่ากิเลสเป็นสารัตถะ แก่นแท้ของความเป็มนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถที่จะตัดทำลายกิเลสได้ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ตัดทำลายกิเลสหรือสัญชาตญานเหล่านี้ จะทำให้ความเป็นมนุษย์พิกลพิการ นี่คือ แนวคิดของทางตะวันตก ที่ถือว่ากิเลสกับมนุษย์ หรือกิเลสกับจิตเป็นตัวเดียวกัน

แต่ในทางตะวันออกโดยเฉพาะในทางพระพุทธศาสนา ถือว่ากิเลสเป็นคนละตัวกับจิต กิเลสเป็นเจตสิก เป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิต อาศัยอยู่ในจิต แต่ไม่ใช่จิต ถ้าจิตเปรียบเหมือนเป็นแก้วน้ำ กิเลสก็เป็นเหมือนกับน้ำที่อยู่ในแก้วนั่นเอง เพราะฉะนั้น แก้วน้ำกับน้ำ เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกัน แต่ไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกัน

ในทางพระพุทธศาสนาจึงถือว่า เราสามารถตัดทำลายกิเลสอันเป็นอกุศล คือ ความไม่ดีได้และเมื่อทำลายความชั่วในจิตให้หมดไปจากจิตใจได้แล้ว ในจิตใจก็เหลือไว้ซึ่งกุศลและเจตสิก ซึ่งเป็นคุณธรรมความดีเพื่อนจะอยู่เกื้อกูลชาวโลกต่อไป เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ท้งหลาย ท่านมีเมตตา มีกรุณา มีปัญญา มีคุณธรรมความดีต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะใช้เกื้อกูลชาวโลก


 :25: :25: :25: :25:

สิ่งที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งคือ ข้อ วิกาลโภชนา เวรมณี พระอนาคามีปกติทานอาหารไม่เกินเที่ยง อันนี้ ก็น่าแปลกเหมือนกัน ซึ่งบางทานอาจสังสัยว่าทำไมทานน้อย มันก็สัมพันธ์กับศีลข้อที่ 3 คือ
     อพพัมจริยา ท่านงดเว้นเด็ดขาดจากเรื่องเพศทุกชนิด ก็ไม่ต้องใช้พลังงานมากมาย
     ทานอาหารมื้อเช้าบำรุงกำลัง ท้องว่างมาหลายชั่วโมง
     มื้อเพลไม่เกินเที่ยง บำรุงปัญญา
     ส่วนมื้อเย็นบำรุงกามรมณ์
 
สำหรับพวกฆราวาสผู้เสพกาม จำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารในเวลาเย็น ถ้าไม่ทาน คุณพ่อ คุณแม่ก็คงไม่มีเรี่ยวแรงผลิตพวกเราให้ได้ออกมาชมโลกใบนี้ อันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นปกติวิสัยของปุถุชนคนมีกิเลส แต่สำหรับพระอนาคามี ท่านไม่จำเป็นในเรื่องเหล่านี้แล้ว ศีลข้อต่อไปคือ ที่เราสมาทานว่า งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรีที่เป็นข้าศึกแก่กุศล คือ สิ่งที่ทำให้จิตใจเพลิดเพลินยินดี ตกไปในอารมณ์แห่งกามคุณ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ท่านก็ตัดสิ่งเหล่านี้ได้หมด และข้อที่ 8 งดจากการนั่งนอนในที่นอนสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย สิ่งเหล่านี้ท่านสามารถที่จะตัดได้





เรื่องของพระอนาคามีเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ท่านท้งหลายจะสังเกตว่า ในระดับของพระระดับโสดาบันและสกทาคามีนี้ เราจะเรียกท่านเหล่านี้ว่า เป็นชาวบ้านชั้นดีก็ได้ เป็นสุภาพบุรุษชน เป็นสุภาพสตรีชน เป็นคนผู้ชายผู้หญิงที่เป็นคนดี ที่ไม่ละเมิดศีล 5
    แต่พระอนาคามี เราไม่อยากเรียกท่านว่า เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ชั้นดี
     เพราะว่า ท่านมีบุคคลิกภาพที่แปลกไป นั่นก็คือ
     ท่านมีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสจริง แต่วิถีชีวิตของท่านไม่เหมือนฆราวาส
     จะเรียกท่านเหล่านี้ว่า อนาคาริก ก็ได้
     คำว่า อนาคาริก ก็แปลว่า ผู้ไม่มีเรือน ไม่ครองเรือน

           
       ask1 ans1 ask1 ans1

    ท่านทั้งหลายอาจบอกว่า
    ถ้าไม่ครองเรือน ก็หมายความว่า อนาคามีต้องออกบวชทิ้งหมดใช่หรือไม่.?
    คำตอบก็คือ ไม่มีความจำเป็นถึงขนาดนั้น เท่าที่ตรวจสอบจากหลักฐานในพระไตรปิฏก ก็พบว่า
    ท่านเหล่านี้บางส่วนเหมือนกันที่ไม่มีภาระทางโลกแล้ว ท่านก็ปลีกตัวออกไปบวช อย่างเช่น บิดา มารดา ของนางมาคันทิยา  ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าได้บรรลุเป็นพระอนาคามี แล้วท่านก็เอาลูกสาวอันเป็นที่รักคนเดียว คือ นามมาคันทิยาไปฝากไว้กับน้องชาย จากนั้นก็ออกบวชเลย ไม่มีความห่วงใยทางเรือนแล้ว ก็มีบ้างที่ออกบวช หรืออย่างวิสาขอุบาสก วิสาอุบาสก ฟังเทศน์ได้บรรลุเป็นอนาคามี แต่ท่านก็ไม่ได้ออกบวช





    ท่านทั้งหลายอาจตั้งคำถามว่า
    อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่ครองเรือน ก็หมายความว่า เป็นผู้ที่ไม่มีลูกมีเมียใช่หรือไม่.?
    ถ้าท่านบรรลุเป็นอนาคามี ท่านก็ไม่มีคู่ครอง หมายความว่า ท่านก็จะไม่ยุ่งเกียวฉันท์สามีภรรยากับคู่ครองของตนเอง

    ทีนี้ท่านทั้งหลายอาจถามว่า แล้วถ้าอย่างนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาจะป็นอย่างไร.?
    คำตอบก็คือ ท่านจะอยู่แบบพี่แบบน้อง ยกตัวอย่างกรณี วิสาขาอุบาสกที่ให้อิสระแก่ภรรยาคือ นางธรรมทินนา แต่ตัวธรรมทินนาก็ถือโอกาสออกบวช แล้วก็ได้บรรลุเป็นอรหันต์สูงกว่าสามี อย่างนี้เป็นต้น  ท่านก็จะมีชีวิตอยู่ทางโลก แต่ท่านามีพฤติกรรมไม่เหมือนกับชาวโลก จึงเรียกท่านว่าอนาคามี

พระที่อยู่ในเพศฆราวาส เพราะว่าท่านไม่ยุ่งเกี่ยวในเรื่องทางเพศ ทีนี้ถ้าเรามามองในด้านสังคมวิทยา พระอนาคามีท่านก็ยังมีภาระอยู่นี่ ยกตัวอย่าง เช่น มีอนาคามีบางท่าน พี่พ่อแม่แก่ชราตาบอด ท่านก็ยังต้องประกอบอาชีพเป็นช่างปั้นหม้อ เลี้ยงตัวเอง บิดา มารดา ผู้ตาบอด นี้ก็ไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาด หรือว่าถ้าท่านมีลูกอยู่ ภรรยาไปมีสามีใหม่ ภรรยาไม่ประสงค์จะเลี้ยงลูก ท่านก็อาจจะรับภาระเลี้ยงลูกทำหน้าที่ความเป็นบิดามารดาได้ตามปกติ

 st12 st12 st12 st12

แต่ท่านจะไม่มีลักษณะของกามราคะ คือ รักในความยึด ในความหวง ในความห่วง ท่านมองสัตว์โลกทั้งหลายเหมือนกับเพื่อนร่วมชะตาเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    สิ่งสำคัญที่เด่นมากที่สุดสำหรับพระอนาคามี ที่อยากอธิบายให้ฟังก็คือว่า
    ตัวเมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี เป็นจิตที่เด่นมากของอนาคามี
    เพราะว่าในจิตของโสดาบันและสกทาคามี จะสังเกตได้ว่า ท่านเหล่านั้นก็ยังมีความโกรธ แต่ท่านไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาต พยาบาท ความโกรธยังมีอยู่เพราะท่านตัดไม่ได้ แต่พอมาเป็นพระอนาคามีท่านตัดความโกรธได้

 :49: :49: :49: :49:

ศัตรูตัวสำคัญของเมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี เป็นเมตตาที่ไม่แสดงอานุภาพออกมาได้อย่างแรงกล้า ก็เนื่องมาจากอุปสรรคสำคัญ 2 ประการ นั่นคือ โทสะ
     เมตตา เป็นคู่ปรับกับโทสะ
     ยามใดที่จิตมีเมตตา จิตก็ไม่มีพยาบาท หรือยามใดที่จิตมีความพยาบาท จิตไม่มีเมตตา
     เพราะฉะนั้น ตัวโทสะ เป็นตัวที่ทำให้เมตตาเศร้าหมอง เป็นศัตรูไกล คู่ปรับตัวสำคัญและสิ่งที่เป็นศัตรูใกล้ๆคอยกระแซะๆ ให้เมตตา ต้องสูญเสียความเป็นเมตตาก็คือ ราคะ ความกำหนัด ยินดี

ลักษณะความกำหนัดยินดีมีมากมาย เป็นลักษณะความกำหนัดยินดีทางเพศ มันกลายเป็นเมตตาไปไม่ได้ เพราะมันเปลี่ยนจากเมตตาไปเป็นราคะ หรืออาจจะเป็นลักษระในเชิงเจ้าของก็ได้ว่า นี่ลูกเมียเรา เรารัก เราหวง เราห่วงอะไรต่างๆ       
       
       




อนาคามีสามารถเสพสุขได้เพียง 2 สุข คือ ฌานสุขและนิพพานสุข ท่านทั้งหลาย อาจจะบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็แพ้โสดาบ้นและสกคาทามี เพราะว่าโสดาบัน สกทาคามี เสพสุขได้ทั้ง 3 สุข เป็นกามสุขก็เสพได้ ฌานสุขก็ได้ นิพพานสุขก็ได้ แต่พอมาเป็นอนาคามีเสียกามสุขไปแล้ว อย่างนั้นก็เสียเปรียบ อันที่จริงถือว่า ไม่เป็นการเสียเปรียบแต่เป็นการได้เปรียบมากกว่า

เพราะในทางพระพุทธศาสนา ถือว่าการเสพกามสุขนั้น ก็เหมือนกับเสพทุกข์ การกอดกามสุขนั้นก็เหมือนกับการกอดกองไฟ พระพุทธเจ้าท่านตรัสตำหนิติเตียนโทษของกามไว้มากมายว่า กามทั้งหลายมีรสอร่อย มีทุกข์มาก กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน กามทั้งหลายเป็นเหมือนกับการทานอาหารที่ผสมกับยาพิษ อุปมาเปรียบความทุกข์ที่เกิดจากกามนี้มีมากและก็ตรัสไว้เยอะเป็ฯการตรัสตำหนิติเตียนกาม


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

เพราะฉะนั้นผู้ใดก็ตามที่ยังเสพกามอยู่ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่ายังเสพทุกข์อยู่ ยังหนีจากความทุกข์ไปไม่ได้ ในสมัยพุทธกาลนี่มีเยอะมากมายที่พระโสดาบันต้องมีความทุกข์จากครอบครัว ยกตัวอย่างง่ายๆ พระโสดาบันผู้หนึ่งภรรยาเป็ฯผู้ไม่อิ่มในเรื่องของกาม ก็ไปมีชู้ ท่านก็เศร้าโศรกเสียใจ ไปปรับทุกข์กับพระพุทธเจ้าก็มี

ในสมัยพุทธกาลนี่ยังไม่มีโรคเอดส์ระบาด ท่านทั้งหลายลองจินตนาการดูว่า ถ้าคู่ครองของพระโสดาบันไปสำส่อนในเรื่องทางเพศนี่ พระโสดาบันจะเอาตัวรอดได้หรือไม่? เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าขบคิดทีเดียวว่า แม้แต่ตัวเองจะบรรลุเป็นโสดาบันและสกทาคามีแล้วแตก็ไม่ใช่ว่าตัวเองจะปลอดภัย ยังมีโสดาบันยังมีสิทธิ์ติดเอดส์ได้เหมือนกัน ถ้าคู่ครองของตนยังไม่ดีอย่างนี้




     แต่ถ้าใครก็ตามหลีกหนีออกจากกาม เป็นผู้ไม่ครองเรือน อนาคาริก แปลว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน
     คำว่าไม่มีเรือน คำว่าไม่มีเรือนนี่ ไม่ได้หมายความว่า ต้องออกบวชเสมอไป อยู่ในชีวิตฆราวาสก็ได้ อยู่ในครอบครัวก็ได้ แต่ไม่ยุ่งเกี่ยวในเชิงสัมพันธ์สวาททางเพศ แต่ยังมีความรู้สึกที่เป็นมิตร มีความรู้สึกที่เกื้อกูล ต่อมนุษยชาติ


      แต่ในทางสังคมวิทยานี่ อาจจะโจมตีได้ว่า อนาคามีมีข้อไม่ดี เป็นการทำลายสถาบันครอบครัว ทำให้มนุษยชาติต้องเสื่อมสูญและสูญชาติพันธุ์
     อันนี้เขาอาจโจมตีได้ แต่ก็เป็นเรื่องของเขา เพราะว่าคนในโลกนี้จะมีอนาคามีซักกี่เปอร์เซนต์
     โลกนี้มีคนอยู่ห้าหกพันล้านคน คนที่เป็นพระอนาคามีมีน้อย
     เพราะฉะนั้น ข้อโจมตีหรือข้อวิจารณ์ในเรื่องนี้ก็คงเอามาเป็นประเด็นไม่ได้


     สำหรับเรื่อง อนาคามี : พระในเพศฆราวาส ในวันนี้พอสมควรแก่เวลา ขอให้ท่านทั้งหลาย ตั้งสติ คือ ตัวรู้ไว้ที่ดวงตาทั้งสองข้าง แล้วก็ลืมตาขึ้นช้าๆ ออกจากสมาธิฯ
 


อ้างอิง :-
การปฏิบัติพระกรรมฐาน : บรรยายโดย อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย เป็นการบรรยายครั้งที่ 17
อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย อยู่ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพ 10900
โทรศัพท์ 579-5566-8 ต่อ 506 โทรสาร 942-8719 อีเมลล์ fhumcwc@ku.ac.th
การบรรยายนี้จัดโดยคณะอนุกรรมการกิจการพิเศษ ศูนย์พุทธศาสนาศึกษา มก.
บรรยาย ณ พุทธเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ที่มา : https://solardogwp.wordpress.com/2005/08/25/อนาคามี-พระในเพศฆราวาส/ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2015, 10:43:44 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ออกจากเรือน บวชเป็น "อนาคาริก" แสวงหาอะไร.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 10:48:52 am »
0
 st11 st12 st12 thk56
ประทับใจเห็นภาพพระอาจารย์ ก็ปลื่มใจ สังเกตรัศมี รอบกายพระอาจรย์คะ

  :49:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ออกจากเรือน บวชเป็น "อนาคาริก" แสวงหาอะไร.?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 10:54:34 am »
0
 st11  st12  st12  thk56  like1

 :25:
บันทึกการเข้า

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ออกจากเรือน บวชเป็น "อนาคาริก" แสวงหาอะไร.?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 10:57:12 am »
0
เป็นบทความ ที่ดี แต่ เรา ดูแต่ภาพ พระอาจารย์ก่อน รู้สึกประทับใจ มาก

 :49: st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ออกจากเรือน บวชเป็น "อนาคาริก" แสวงหาอะไร.?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2015, 09:17:39 pm »
0
 gd1 like1 st11 st12 :035: :035: :035: :035:
      ผมชอบกระทู้นี้ครับ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา