ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิถีน่าทึ่ง "ตักบาตรผัก-ทั้งชุมชนกินมังสวิรัติ" ชุมชนวัดพระบาตรห้วยต้ม ลำพูน  (อ่าน 1042 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วัดพระบาทห้วยต้มเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนห้วยต้ม


วิถีน่าทึ่ง.!! "ตักบาตรผัก-ทั้งชุมชนกินมังสวิรัติ"
สัมผัสพลังแห่งศรัทธา ที่ “ชุมชนวัดพระบาตรห้วยต้ม” จ.ลำพูน

        "ลำพูน" เป็นจังหวัดเล็กๆ แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแผ่นดินล้านนามาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งอดีตในฐานะดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า 600 ปี จึงทำให้ลำพูนมีศาสนสถาน วัดวาอารามจำนวนมาก รวมถึงมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่น่าสนใจ ชวนให้เดินทางมาศึกษาและเที่ยวชม



ชาวบ้านนำผักผลไม้มาถวายพระ


        โดยสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือ “ชุมชนวัดพระบาตรห้วยต้ม” ตั้งอยู่ที่ ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน เป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีชาวปกาเกอะญอ อาศัยอยู่ โดยเมื่อปีพ.ศ. 2514 ชาวปกาเกอะญอได้อพยพมาจากแม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก พากันอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ใกล้วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จำนวน 13 ครอบครัว ซึ่งการอพยพในครั้งนี้ทุกคนมีความตั้งใจที่อยากจะมาอยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) เพื่อจะได้ทำบุญถือศีลปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวปกาเกอะญอก็ได้อพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มาจากตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน



ส่วนมากจะเป็นผักผลไม้ที่ชาวบ้านปลูกไว้


        ถึงแม้ว่าหลวงปู่ครูบาวงศ์จะมรณภาพไปแล้ว แต่ว่าทุกวันนี้ชาวปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มทุกคนก็ยังนับถือและยึดถือปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงามที่หลวงปู่ฯ สั่งสอน จึงทำให้ที่นี่ยังคงเป็นชุมชนแห่งพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง โดยมีคำสอนหนึ่งที่ชุมชนที่นี่ยึดถือและปฏิบัติต่อมานั่นคือ การกินมังสวิรัติ เพราะว่าหลวงปู่เคยสอนไว้ว่าถ้าเราเบียดเบียนสัตว์อีก สัตว์ก็จะมาเบียดเบียนเราอีก โรคภัยไข้เจ็บก็จะตามมาอีก ถ้าเรากินมังสวิรัติเราก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร ทุกวันนี้ชาวบ้านเลยกินมังสวิรัติปฏิบัติต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้


ชาวบ้านกำลังนำดอกไม้ใส่ขัน


        ที่นี่จึงมี “ประเพณีตักบาตรผัก” โดยประเพณีนี้จัดขึ้นที่วัดพระบาทห้วยต้ม ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนห้วยต้ม ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็น, เจดีย์ 84,000 ,วิหารพระพุทธบาท , มณฑปพระเขี้ยวแก้วป็นต้น ประเพณีตักบาตรผักจะมีขึ้นในวันพระของทุกเดือน โดยชาวบ้านจะทยอยเข้าวัดตั้งแต่ ตีห้า เพื่อทำบุญตักบาตรปกติในทุกวันโดยในรอบเช้าจะเป็นการตักบาตรอาหารเจ โดยส่วนใหญ่จะใส่ชุดปกาเกอะญอชุดประจำท้องถิ่นมีสีสันสวยงามเข้าวัด จากนั้นถ้าเป็นวันพระในช่วงเวลา 8 โมงเช้าชาวบ้านก็จะเริ่มทยอย นำ ผัก ผลไม้มาถวาย

        เริ่มจากการใส่ขันดอกไม้ธูปเทียนก่อน แล้วจึงตามด้วยผัก ผลไม้ ทั้งนี้สามารถนำน้ำและขนมมาถวายได้ มีการใส่ขันเงิน คือ นำเหรียญบาท ห้าบาท สิบบาท หรือธนบัตร ใส่ในบาตรหรือขันพาน เมื่อได้เวลาอันสมควร ชาวบ้านผู้ชายจะนําผัก ผลไม้ที่ชาวบ้านใส่ไว้ในภารชนะนํามาวางเรียงไว้หน้าอาสน์สงฆพ์ระสงฆ์แต่ละรูป พระสงฆ์จะประกอบพิธีทางศาสนา มีการเทศนาธรรม โดยในช่วงสายจะเห็นชาวบ้านตั้งแต่ผู้สูงอายุวัยกลางคน วัยรุ่น จะพาลูกหลานทั้งเด็กเล็กและเด็กโตมาทําบุญด้วย เป็นการปลูกฝังให้ลูกหลานรักในการทําบุญ มีธรรมะในหัวใจ และใช้หลักธรรมะในการดํารงชีวิต



ถนนเส้นทางสู่ “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย”
       
“พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย” จำลองจากเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า


        นอกจากนั้นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่งที่ตั้งอยู่ภายในชุมชนพระบาทห้วยต้ม สถานที่แรกคือ “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย” เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สีเหลืองทองงามอร่ามตั้งโดดเด่นเห็นได้แต่ไกล และเป็นเจดีย์ที่ชาวปกาเกอะญอให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยแห่งนี้ หลวงปู่ครูบาวงศ์สร้างขึ้น เพราะว่าเมื่อก่อนที่ตรงนี้มีการขุดค้นพบมูลและเขาของพระโคอุศุภราชก็คือเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าซึ่งกลายสภาพเป็นหิน ท่านก็เลยอธิษฐานสร้างครอบมูลและเขาของพระโคไว้ และจำลองรูปแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองที่ประเทศพม่า


หมู่บ้านน้ำบ่อน้อย อยู่กันอย่างเรียบง่าย
       
น้ำบ่อน้อย บ่อน้ำศักดิ์สิทธ์ในหมู่บ้าน
       
หลุ่มที่มีตะแกรงคือหลุมที่ชาวบ้านเจาะแต่ไม่มีน้ำ


        จากนั้นเข้าไปชมวิถีชีวิตชาวปกาเกอะญอ ที่ “หมู่บ้านน้ำบ่อน้อย” เป็นหมู่บ้านก่าแก่ มีชาวบ้านชาวปกาเกอะญออาศัยอยู่ภายในหมู่บ้าน เกือบ 50 หลังคาเรือน ภายในหมู่บ้านมี บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านที่นี่นับถือเป็นอย่างมาก นั้นคือ “น้ำบ่อน้อย” โดยตัวบ่อมีความกว้างเล็กน้อยภายในมีน้ำตลอดเวลา โดยถูกพบเจอจากชาวบ้านที่มาหาของป่าโดยบังเอิญ เมื่อเห็นบ่อน้ำที่ตั้งอยู่บนศิลาแลงแต่มีน้ำตลอด จึงเกิดความแปลกใจ เลยไปชักชวนชาวบ้านคนอื่นๆ มาดู เมื่อชาวบ้านมาเจอจึงได้ลองเจาะและดูดน้ำออก แต่น้ำก็ยังคงมีเรื่อย ๆ ไม่มีวันหมด ชาวบ้านจึงได้ลองขุดเจาะบ่อใกล้ๆ แหล่งบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์แต่ไม่พบเจอน้ำแม้แต่หยดเดียว


       ชาวบ้านจึงเกิดความสงสัยไปถามหลวงปู่ครูบาชัยวงศาจึงได้บอกมาว่า น้ำในบ่อนี้อาจจะบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์ของพระฤาษีที่เคยอาศัยอยู่และเอาไว้ใช้สอย ชาวบ้านได้ยินดังนั้นจึงเกิดความศรัทธา และย้ายมาอาศัยอยู่บริเวณนี้โดยตั้งใจที่จะใช้ชีวิตแบบสมถะตามพระฤาษี ไม่เอาไฟฟ้าและน้ำประปา หมู่บ้านที่นี่จึงไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ อยู่กันอย่างเรียบง่ายและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาเกือบ 15 ปีแล้ว ภายในรอบๆ หมู่บ้าน ชาวบ้านยังคงใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าด้วยมือแท้ๆ ทำนา ปลูกผัก ปลูกไร่ ต่างๆ



งานหัตถกรรมทอผ้าด้วยมือ
       
เสื้อผ้าที่จัดแสดงใน “ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม”


        จากนั้น ไปชม “ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม” เป็นศูนย์รวมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อเอาไว้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ คนในชุมชนสร้างขึ้น เป็นรายได้ให้แก่ช่าวบ้าน เช่น ผ้าที่ทอด้วยมือ, สร้อยคอ, เครื่องเงิน เป็นต้น โดยให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม และซื้อไว้เป็นที่ระลึก เมื่อได้มาเยี่ยมเยียนที่ชุมชนพระบาทห้วยต้ม


ภายใน “ศูนย์หัตถกรรมบ้านห้วยต้ม”


        หากได้เดินทางมาเยือนยัง “ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม” แล้ว นอกจากจะได้พบกับสถานที่ที่สวยงาม และยังได้รู้สึกซาบซึ้งไปกับวีถีชีวิตดั้งเดิม และวัฒนธรรมอันหลากหลายแล้ว ยังได้เรียนรู้ความรักและความศรัทธาของชาวปกาเกอะญอที่มีความผูกพันต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

        หากนักท่องเที่ยวที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม 0-5351-8059,0-5354-6337 หรือ ศูนย์ประสานงานท่องเที่ยวโครงการหลวง 0-5381-0765-8 ต่อ 104 , 108

ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000123934
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า