ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาไทย ของ’ในหลวง’  (อ่าน 1051 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาไทย ของ’ในหลวง’

วันนี้ขอกล่าวถึง พระราชนิพนธ์พระมหาชนก ให้ครอบคลุมทั้งในด้านคุณธรรม และภาษาไทยที่ในหลวงทรงใช้ในพระราชนิพนธ์องค์นี้ ชาวพุทธไทยเราเชื่อเรื่องบารมี เชื่อว่าคุณความดีนั้นต้องค่อยทำค่อยบำเพ็ญทีละเล็กละน้อย เพื่อความสมบูรณ์ในที่สุด พระโพธิสัตว์คือบุคคลตัวอย่างในการทำความดีงาม ทรงบำเพ็ญความดี 10 ประการ อันเรียกว่าบารมี แต่ละข้อๆ ในชาติภพต่างๆ ด้วยปณิธานแน่วแน่

เฉพาะพระมหาชนกโพธิสัตว์ ได้เน้นวิริยบารมี หรือความเพียร เรื่องเล่าว่าเมื่อพระราชบิดาของพระมหาชนกถูกพระเจ้าอาปฏิวัติยึดอำนาจ สำเร็จโทษ พระเทวีผู้ทรงครรภ์แก่ได้หนีไปอยู่ที่เมืองอื่น ด้วยความอนุเคราะห์ของพราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อพระมหาชนกเติบโตมา รู้เรื่องราวจากพระมารดา จึงคิดจะเอาราชสมบัติคืน คิดไปค้าขายทางเรือรวบรวมทุนทรัพย์เพื่อการนี้ บังเอิญเรือล่มกลางทะเล ผู้คนตายหมด ยกเว้นพระมหาชนก ทรงใช้ปัญญาและความเพียร เกาะแผ่นกระดานแหวกว่ายในมหาสมุทร 7 วัน 7 คืน นางมณีเมขลา มาพบเข้าได้ช่วยเหลือขึ้นบก พระมหาชนกได้ราชสมบัติคืน ได้อภิเษกสมรสกับพระนางสิวลี พระธิดาของพระเจ้าอา เรื่องก็จบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ต่อมาพระมหาชนกเห็นต้นมะม่วงต้นที่มีผลดกถูกโค่น ต้นที่ไม่มีผลไม่เป็นอันตราย จึงคิดเห็นอนิจจัง เสด็จออกผนวชหาทางสิ้นสุดทุกข์

แต่พระมหาชนกในพระราชนิพนธ์ไม่ออกผนวช ทรงคิดวิธีพัฒนาต้นมะม่วง และทรงตั้งมหาวิทยาลัยชื่อ โพธิยาลัยมหาวิชชาลัย หรือ ปูทะเลมหาวิชชาลัย เพื่อให้การศึกษาแก่พสกนิกร เพราะทรงเห็นว่าประชาชนตั้งแต่คนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า จนถึงเสนาบดีล้วนสัญจรอยู่ในโมหภูมิ พูดง่ายๆ ว่าล้วนแต่โง่เขลา การพัฒนาประเทศจะสำเร็จต้องพัฒนาคนให้มีการศึกษาก่อน และการศึกษาที่แท้จริงคือการฝึกฝน กล่อมเกลาจิตให้มีคุณภาพ สมรรถภาพ และสุขภาพ มิใช่เรียนรู้ทฤษฎีอย่างเดียว คำว่าสัญจรในโมหภูมินี้ ความหมายลึกซึ้ง หมายถึงโง่เง่า แล้วยังหลงผิด ยึดติดงมงาย ต้องขุดรากถอนโคนความงมงายให้ได้ก่อน


 :25: :25: :25:

ข้อคิดที่ได้จากพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ในด้านภาษาไทย

ชาดกนี้เดิมเป็นภาษาบาลี คำแปลเดิมนั้นฟังยาก เพราะท่านรักษาศัพท์ รักษาโครงสร้างประโยค (อาวุโส = ดูก่อนท่านผู้มีอายุ, เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก = หลังจากตายไปแล้ว) แต่ในหลวงทรงเลือกคำที่จะใช้ “สื่อ” ได้เหมาะสม นี้คือพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทย ตัวอย่างเช่น ในฉบับเดิมจะมีคำว่า “ก่อเวร” ซ้ำๆ หลายแห่งเช่น “ถ้าข้าพเจ้าก่อเวรกับพระภาดา ขอโซ่ตรวนอย่าได้พ้นมือพ้นเท้าข้าพเจ้า ประตูจงปิด ถ้าข้าพเจ้าไม่ก่อเวรกับพระภาดา ขอให้โซ่ตรวนจงหลุดจากมือเท้าของข้าพเจ้า ขอประตูจงเปิด” ทรงใช้คำต่างกันว่า “ถ้าข้าพเจ้าคิดไม่ซื่อกับพระเชษฐราชจริง เครื่องจองจำจงคงตรึงมือเท้าของข้าพเจ้า และประตูจงปิดสนิท ถ้าข้าพเจ้ามิได้คิดทรยศ เครื่องจองจำจงหลุดจากมือเท้าของข้าพเจ้า”

(ฉบับเดิม) “เมื่อก่อนเรามิได้ก่อเวรกับพระภาดาเลย แต่บัดนี้เราจะก่อเวรละ” (ฉบับพระราชนิพนธ์) “แต่ก่อนเรามิได้คิดทรยศต่อพระเชษฐา แต่บัดนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป เราจะจัดการตามควรแก่กรณี”

ต้องเอาฉบับเดิมกับฉบับพระราชนิพนธ์มาอ่านเทียบเคียงกันจึงจะรู้ว่า ต่างกันอย่างไร และจะเห็นพระอัจฉริยภาพทางการใช้ภาษาไทยของในหลวงอย่างไร ลองอ่านดูครับ

 :96: :96: :96:

สิ่งที่ผมอยากเสริมก็คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะพบในพระราชนิพนธ์องค์นี้ตลอด ที่เด่นชัดก็คือ

ตอนที่นางมณีเมขลาพูดกับพระมหาชนกว่า “ข้าแต่บัณฑิต วาจาอันมีปาฏิหาริย์มิควรหายไปในอากาศ ท่านต้องให้สาธุชนได้รับพรแห่งโพธิญาณจากโอษฐ์ของท่าน ในกาลอันสมควรท่านจงตั้งสถาบันการศึกษาให้ชื่อว่า โพธิยาลัยมหาวิชชาลัย ในกาลนั้น ท่านจึงจะสำเร็จกิจที่แท้”

ผมว่านี่คือจุดเริ่มแห่งพระราชดำริสร้างสรรค์ขึ้นว่า ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ จะต้องพัฒนาประเทศชาติโดยให้การศึกษาแก่ประชาชน การศึกษาเท่านั้นที่จะนำพาให้การพัฒนาประเทศชาติเกิดผลสำเร็จโดยเร็ว

ตรงนี้ก็มีอารมณ์ขันที่ทรงสอดแทรกไว้ พระมหาชนกคงเพลียเพราะว่ายน้ำมา 7 วัน 7 คืน ฟังนางมณีเมขลาไม่ถนัด พอครองราชย์แล้ว ได้ตั้ง “ปูทะเลย์มหาวิทยาลัย” คือฟังเพี้ยนจาก “โพธิยาลัย” เป็น “ปูทะเลย์” (บางท่านว่าเลียนแบบ มหาวิทยาลัยปูณาในอินเดีย)


 st12 st12 st12

จุดเปลี่ยนต่อมาคือ พระมหาชนกในเรื่องทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วง ปลงอนิจจัง ออกบวช แต่พระมหาชนกในพระราชนิพนธ์ปลงอนิจจังเหมือนกัน อนิจจังที่ว่า สังเวชใจที่ประชาชนโง่งมงาย อยากกินมะม่วงทำไมต้องทำลายต้นมะม่วง ควรจะทะนุถนอมให้ได้กินนานๆ จึงทรงคิดหาวิธีพัฒนาต้นมะม่วง เรียกอุทิจจพราหมณ์พร้อมศิษย์สาม-สี่คนมาคิดวางแผนฟื้นฟู และพัฒนาต้นมะม่วง

การพัฒนาต้นมะม่วง ก็คือคิดวิธีพัฒนาประเทศนั้นเอง โดยเอา “ต้นมะม่วง” เป็นสัญลักษณ์ และการพัฒนาที่ได้ผล ก็ต้องเริ่มที่การให้การศึกษา เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น

ไม่ทรงละเอียดเฉพาะการใช้ภาษา ทรงให้ความสำคัญวัฒนธรรมเบื้องหลังภาษานั้นด้วย (ทรงทักศิลปินที่เขียนภาพพระมหาชนกปอกมะม่วงเสวยว่า แขกเขาคลึงให้เละแล้วดูดกินน้ำมัน, ทรงทักศิลปินวาดปูทะเลก้ามงอเข้าตัว ว่าปูทะเลต้องชูก้าม มิได้งอดุจปูนึ่งซีอิ๊ว)

ส่วนข้อคิดในแง่คุณธรรมนั้น เน้นวิริยะชัดเจน บทบาทพระมหาชนกเป็นตัวแทนของผู้ใช้ความเพียรจนถึงที่สุด คำโต้ตอบระหว่างพระมหาชนกกับนางมณีเมขลาชัดเจน (มณี) “พยายามไปก็ไร้ผล เหนื่อยเปล่า พยายามจนตายก็ไร้ประโยชน์” (พระมหาชนก) “ลงว่าได้พากเพียรแล้ว ไม่ไร้ผล คนทั้งเรือจมน้ำตายหมด มีเราเท่านั้นที่รอดมาได้จนถึงวันนี้ นี้มิใช่อานิสงส์ของความเพียรดอกหรือ”

 st11 st11 st11

คุณธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ก็คือ พุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา = เกิดเป็นคน ควรพยายามร่ำไป จนกว่าจะสำเร็จประโยชน์

มิใช่วิริยะอย่างเดียว บทบาทปัญญาก็เน้นตั้งแต่ต้นด้วย สมัยเด็กถามว่าใครเป็นพ่อ แม่ไม่บอก ออกอุบายว่าจะกัดนมแม่ แม่จำต้องบอก เมื่อเรือจะล่ม ไม่ไหว้เทวดาเหมือนคนอื่น เสวยจนอิ่ม (น้ำตาลกรวดคลุกเนย) เอาผ้าชุบน้ำมันพันกาย เพื่อเวลาว่ายน้ำตัวจะได้เบา

เมื่อเรือจะจม ปีนขึ้นเสากระโดง กระโดดไกลห่างเรือประมาณ อุสภะหนึ่ง (70 เมตร) ถ้าลงใกล้เรืออาจถูกคนที่กำลังจะจมฉุด ทั้งหมดนี้ล้วนแทรกบทบาทของปัญญาด้วย ทำให้ได้ข้อคิดว่า “ความเพียรต้องมีปัญญากำกับ” เพียรไม่ถูกต้องอาจเกิดโทษ และไม่บรรลุเป้าหมายได้


ผู้เขียน : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ที่มา : คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ มติชนรายวัน
เผยแพร่ : 23 ต.ค. 59
url : http://www.matichon.co.th/news/332419
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาไทย ของ’ในหลวง’
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2016, 11:12:56 pm »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ