ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิปัสสนาไม่ให้คิด อันนี้อาจจะพลาดได้ : ท่านพระพรหมคุณาภรณ์  (อ่าน 4880 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
วิปัสสนาไม่ให้คิด อันนี้อาจจะพลาดได้ : ท่านพระพรหมคุณาภรณ์


สิ่งที่อาตมาต้องการย้ำในที่นี้ก็คือว่า สิ่งที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ การที่พระพุทธเจ้า ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงแก้ไขความหวาดกลัว อย่างเสด็จประทับอยู่ในกลางป่า แล้วได้ยินเสียงกรอบแกรบขึ้น เกิดความกลัว แล้วพระองค์ก็ใช้วิธีว่า จะแก้ความกลัวด้วยการที่ต้องสืบหาให้ได้ว่าก่อนว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดเสียง นั้น หรือทำให้เกิดความกลัวนั้น แล้วพระองค์ก็แก้ไขความกลัวได้

วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า โยนิโสมนสิการ หรืออย่างที่พระองค์ได้ บำเพ็ญทุกกรกริยาจนกระทั่ง เต็มที่แล้ว ไม่มีใครทำได้ยิ่งกว่านั้น แล้วพระองค์วินิจฉัยได้ว่า นี้ไม่ใช่ทางการตรัสรู้ แล้วทรงพระดำริว่า หนทางอื่นคงจะมี หมายความว่าความเป็นไปได้อย่างอื่นคงจะมี ไม่ติดอยู่แค่นั้น การที่พระองค์ไม่ติดอยู่แค่นั้น คิดหาทางออก ว่าอาจจะมีทางอื่นอีกนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการเหมือนกันเจริญพร

แล้วก็การที่พระองค์ได้ทรงพิจารณาเช่นว่า ตรวจสอบพระหฤทัยของพระองค์เองว่า เมื่อสภาพจิตอย่างนี้เกิดขึ้นมานั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย การคิดพิจารณาอย่างนี้ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการนี่แหละ เป็นปัจจัยสำคัญในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสไว้บอกว่า ปัจจัยแห่งสัมมาทิฐินั้นมี ๒ ประการ คือ

ปรโตโฆสะ เสียงจากผู้อื่น เสียงบอกเล่า เช่น จากกัลยาณมิตร
และประการที่ ๒ ปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการ และก็มีหลักอยู่ด้วย

สำหรับคนทั่วไปนั้น ต้องอาศัยปรโตโฆสะเป็นสำคัญ คนทั่วไปที่จะโยนิโสมนสิการขึ้นมาเองนั้นเป็นไปได้ยาก

ส่วนมากแล้วต้องอาศัย การบอกเล่าแนะนำสั่งสอนจากคนอื่น ก็มีบุคคลพิเศษ ก็พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพระพุทธเจ้านี่เป็นแบบอย่างที่ว่ามีโยนิโสมนสิการ


เริ่มตั้งแต่ก่อนที่จะเสด็จออกบรรพชา พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดมาก็อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวกับคนอื่น เจ้านายในวัง ประชาราษฏร เกิดมาอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับพระองค์ เขาก็เห็นความเป็นไปในโลก ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ความเป็นไปของชีวิตผู้คน เขาก็ไม่เห็นอะไรแปลก เขาก็อยู่กันมาอย่างนั้น

แต่เจ้าชายสิทธัตถะนี่ มองเห็นสิ่งเดียวกะที่คนอื่นเห็น มองเห็นความเป็นไปในชีวิตของคนต่างๆ ในสังคมนี่อย่างเดียวกับที่คนอื่นเขาประสบ แต่พระองค์มีความคิดที่แปลกกว่าคนอื่น ความคิดที่แปลกว่าพระองค์อื่นนี่แหละ ทำให้พระองค์เสด็จออกบรรพชา ความคิดอย่างนี้ก็เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

ท่านบอกว่า คนที่จะมีโยนิโสมนสิการขึ้นมาอย่างนี้ ต้องเป็นคนพิเศษ เช่นอย่างพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพระพุทธเจ้า การตรัสรู้จึงเกิดขึ้นได้แต่ว่า สำหรับคนทั่วไปเมื่อได้อาศัยปรโตโฆสะ เสียง แนะนำ ชักจูงจากคนอื่นแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมาในตนเอง

เมื่อเราได้รับคำแนะนำสั่งสอนแล้ว เรารู้จักคิดพิจารณาต่อจากนั้น เราเอาคำแนะนำสั่งสอนของท่านผู้อื่น เช่น ของพระพุทธเจ้า มาพิจารณาไตร่ตรอง เราก็เกิดโยนิโสมนสิการของตนเอง และเราก็สามารถที่จะบรรลุธรรม เข้าใจสัจธรรมได้ เพราะฉะนั้นตัวปัจจัยสำคัญก็คือเรื่อง โยนิโสมนสิการนี้

นี้ในบรรดา โยนิโสมนสิการนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่องความคิด การรู้จักคิด รู้จักพิจารณา บางที่เราไปสอนกันว่า ในทางพระพุทธศาสนาในการปฏิบัติธรรม เช่นอย่าง วิปัสสนานี่ไม่ให้คิด อันนี้อาจจะพลาดได้ พระพุทธเจ้านี้ ที่ตรัสรู้นั้นด้วยการคิดนะ การรู้จักคิด อยู่ที่คิดเป็น อย่างที่อาตมายกตัวอย่างเมื่อกี้นี้

พระพุทธเจ้าทรงคิดอยู่ตลอดเลย เช่นอย่างสภาพจิตของพระองค์เองนี่ อันนี้เกิดขึ้น เป็นกุศลธรรม เป็นอกุศลธรรม มันเกิดขึ้นแล้วมันเป็นผลดี หรือผลร้าย และมันเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไรเป็นปัจจัยสภาพจิตนี้จึงเกิดขึ้น พระองค์คิดทั้งนั้นเลย แต่คิดจากของจริง คือ มีการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นต้องแยกว่าความคิดมีสองอย่าง คือ ความคิดปรุงแต่ง กับความคิดที่เป็นความคิดเชิงปัญญา ที่เรียกว่าสืบสาวหาเหตุปัจจัยเป็นต้น

ความคิดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำให้เราคิด ทรงแนะนำให้เราละเสีย คือ ความคิดปรุงแต่ง ความคิดปรุงแต่งคือความคิดอะไร คือ ความคิดด้วยอำนาจความยินดียินร้ายชอบชัง หมายความว่าคนเรานี้ ได้ประสบอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เวลาประสบอารมณ์นั้น

นอกจากการรับรู้แล้ว ก็จะมีสิ่งหนึ่งคือความรู้สึก ที่เรียกว่า เวทนา สิ่งใดที่เข้ามาแล้ว เป็นที่สบาย เราก็เรียกว่าเกิดสุขเวทนาอันใดที่ไม่สบาย เราเรียกว่าเกิดทุกขเวทนา สิ่งทั้งหลายที่เรารับรู้ ทุกอย่างจะมีความรู้สึกประกอบอยู่ด้วย เวลาเราเห็นเราไม่ใช่เฉพาะว่า เห็นรูปร่าง เห็นสีเขียว สีขาว สีดำ สีแดง รูปร่าง กลม ยาว เหลี่ยม เท่านั้น เราไม่ใช่แค่นั้น ทุกครั้งที่เราได้ดูได้เห็นนั้น เรามีความรู้สึกด้วย คือ มีความรู้สึกสบาย ไม่สบาย

อันนี้แหละเป็นจุดสำคัญ นั้นความรู้สึกตัวนี้ที่เรียกว่าเวทนา จะทำให้เราเกิดปฏิกิริยา ที่เรียกว่าความชอบหรือไม่ชอบ หรือยินดียินร้าย ภาษาพระเก่าท่านเรียกว่ายินดียินร้าย ถ้าเป็นสุขเวทนาสบาย เราก็มักจะชอบใจ หรือยินดี ถ้าหากว่าเป็นทุกขเวทนา เราก็ไม่ชอบใจเรียกว่ายินร้าย โยมต้องแยกให้ได้สองตอนที่ว่าสบายกับยินดี หรือสบายและชอบใจนี่ คนละตอนกัน ตอนสบายเป็นเวทนาเป็นฝ่ายรับ ยังไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศล อกุศล กายไม่สบาย สุข ทุกข์ อันนี้ไม่เป็นกุศล อกุศล ยังเป็นกลางๆ เป็นเวทนา

แต่เมื่อไรเกิดปฏิกิริยาว่าชอบหรือไม่ชอบอันนี้เกิดตัณหาแล้ว ตัณหาอันนี้เป็นปฏิกิริยา เป็นสภาพจิตที่เป็นสังขารแล้ว ก้าวจากเวทนาเป็นสังขารแล้ว เวทนา สุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย เป็นเวทนา แต่ชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นสังขาร พอเราเกิดสังขารชอบใจไม่ชอบใจก็คือเกิดตัณหาขึ้นมา ตัณหานี่เป็นสังขารด้วย

ตอนนี้แหละจากนี้เราจะคิด ถ้าชอบใจเราก็คิดตามอำนาจความชอบใจ ถ้าไม่ชอบใจเราก็คิดตามอำนาจความไม่ชอบใจ ความคิดอย่างนี้เรียกว่า ความคิดปรุงแต่ง จะเกิดความเอนเอียง จะเกิดปัญหากับจิตใจ จะมีตัวตนที่รับกระทบอย่างนั้นอย่างนี้

แต่ถ้าเราคิดเชิงปัญญา คือ พิจารณาว่า อะไรเกิดขึ้นจึงเป็นอย่างนี้ อันนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร สืบสาวหาเหตุปัจจัย อันนี้ไม่ใช่ความคิดปรุงแต่ง อันนี้เป็นการคิดเชิงปัญญา เช่นคิดสืบสาวตามหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงคิดในตอนที่ตรัสรู้ เพราะฉนั้นโยมต้องแยกให้ถูกว่าความคิดมีสองแบบ เราไม่ควรจะคิดเชิงปรุงแต่ง เพราะว่าทำให้

๑ ไม่เกิดปัญญา ไม่เห็นตามเป็นจริง เห็นตามอำนาจความยินดียินร้าย เกิดความลำเอียงไปตามความชอบชัง
๒ เกิดโทษกับชีวิตจิตใจ ทำให้จิตใจขุ่นมัว เศร้าหมอง คับแคบ บีบคั้นอะไรต่างๆ เป็นต้น


อาตมายกมาพูดเพราะว่าเป็นคติที่เกี่ยวเนื่องกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

จาก : จาริกบุญ จาริกธรรม โดยพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต)
http://www.openbase.in.th/files/23_5.pdf

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
โยนิโสมนสิการนั้น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่องความคิด การรู้จักคิด รู้จักพิจารณา บางที่เราไปสอนกันว่า ในทางพระพุทธศาสนาในการปฏิบัติธรรม เช่นอย่าง วิปัสสนานี่ไม่ให้คิด อันนี้อาจจะพลาดได้ พระพุทธเจ้านี้ ที่ตรัสรู้นั้นด้วยการคิดนะ การรู้จักคิด อยู่ที่คิดเป็น อย่างที่อาตมายกตัวอย่างเมื่อกี้นี้

อ้างถึง
ท่านบอกว่า คนที่จะมีโยนิโสมนสิการขึ้นมาอย่างนี้ ต้องเป็นคนพิเศษ เช่นอย่างพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพระพุทธเจ้า การตรัสรู้จึงเกิดขึ้นได้แต่ว่า สำหรับคนทั่วไปเมื่อได้อาศัยปรโตโฆสะ เสียง แนะนำ ชักจูงจากคนอื่นแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมาในตนเอง


 :smiley_confused1:

แนวทางการภาวนา ได้เคยลองแล้ว และเคยไปศึกษามาหลายสำนักแล้ว

แต่ผลการภาวนา เราก็รู้ที่ตัวเรา และในใจเรา

รู้ว่าอะไรน่าจะถูก อะไรน่าจะผิด

และขาดอะไร ?

 :'(
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 11:41:07 am โดย ครูนภา »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แบ่งระดับการภาวนา ส่วนไหนที่เป็น วิปัสสนา ที่ต้องคิด

   ปัญญาส่วนเหตุ มี 3 ส่วน

  1.สุตามยปัญญา ประกอบด้วย สองส่วนคือ 1.นิสัมมกะระณังเสยโย และ 2.โยนิโสมะนะสิการะ

  2.จินตามะยะปัญญา ประกอบด้วยสองส่วนคือ 1. ปะระโตโฆสะ และ 2.โยนิโสมะนะสิการะ

  3.ภาวนามะยะปัญญา ประกอบด้วยธรรมสามส่วน คือ 1.สติ 2. ธรรมวิจะยะ 3.วิิริยะ

  คำว่า ญาน วิชชา อาโลโก ยถาภูตญาณ วิปัสสนา ความหมาย น่าจะอยู่ที่ผลของการใช้ปัญญา


 หากไล่ตาม ปฏิจจสมุปบาท แล้ว จะเห็นว่า

    อวิชชา เดินหน้า ก็เจอ สังขาร คือการปรุงแต่ง ( ด้วยกาย วาจา และ ใจ )

     อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ ทุกข์

    อวิชชา ถ้าถอยหลัง ก็เจอ ทุกข์ ก่อน

  เหตุดับ ผลดับ เหตุ และ ผล เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยปัจจัย ( ปรุงแต่ง ) ซึ่งกันและกัน

 :25:









บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้ว ก็ยังเข้าใจเรื่อง วิปัสสนา กับ วิปัสสนึก ตามที่พระอาจารย์แนะนำอยู่ดีคะ
เพราะมองเห็นชัดมากกว่า เป็นแนวภาวนามากกว่าคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยังแยกไม่ออก กับเรื่อง วิปัสสนึก กับ วิปัสสนา

แต่ถ้าเราไม่สบายใจขึ้นมาอันดับแรก ควรจะทำอย่างไร คะ

       นั่งทุกข์ นั่งคิด ปล่อยจิตแล่นไปในความวิตก กังวล ต่าง ๆ ใช่หรือไม่ คะ

       หรือควรทำอย่างไร ดีคะ

     :25:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นข้อคิดที่ดี มาก ๆ ทำให้เกิดความรอบรู้ในเบื้องต้น ถ้าเรามีคุณสมบัติเพียงพอต่อการบรรลุธรรม ก็น่าจะได้บรรลุ
เพราะการฟัง

  นึกถึง หลักศิลาจารึก ( กระเบื้องจาร ) ที่ปรากฏการบันทึก เรียกว่า เย ธัมมา ... นั้น
   

  อุปติสสะปริพพาชก ( พระสารีบุตร ) นั้นบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันเพราะอะไร ไม่ใช่มานั่งกรรมฐานในขณะนั้นหรือเจริญกรรมฐานใด ๆ หากแต่บารมีธรรมที่สะสมมานั้นสมบูรณ์พร้อมแล้วเพียงฟังธรรมสั้น ๆ จากพระมหาเถระพระอัสสชิ แล้ว ก็ได้บรรลุธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน

 :s_good:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ