ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สาระเบื้องต้น ในมหาราหุโรวาทสูตร  (อ่าน 6454 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
สาระเบื้องต้น ในมหาราหุโรวาทสูตร
« เมื่อ: มิถุนายน 27, 2010, 04:36:16 am »
0


มหาราหุโรวาทสูตร เป็นสูตรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสสอน กรรมฐานแก่ พระราหุล

ผมเมื่อก่อนก็ไม่ค่อยสนใจ

แต่เพราะฟัง ในรายการ RDN และได้ยิน พระอาจารย์อ่าน เปิดบ่อยมาก

ทำให้ผมมานั่งลำดับ ถึง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ว่าใครเป็นคนสอนให้ พระราหุลพุทธชิโนรส

===========================================================

ผมพอจะถอด สาระแก่นธรรม ( ในความคิดผมนะครับ )

เริ่มต้น องค์ สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้ตรัสสอนการ พิจารณา ธาตุ ทั้ง 4

และให้ สามเณรราหุล บำเพ็ญจิต ให้เหมือน ดิน น้ำ ลม และ ไฟ

เพราะองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คงต้องการให้ สามเณรราหุล คลายทิฏฐิ ว่าเป็นพระโอรส ของพระพุทธเจ้า

หลังจากนั้นก็ทรงตรัสสอน การเจริญ พรหมวิหาร  4  เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพื่อให้สามเณรราหุล เป็นคนที่อ่อน

และก็สอน ให้เจริญ อสุภกรรมฐาน เพื่อละราคะ ( ในตอนนี้น่าจะเป็นเพราะว่า สามเณรราหุลกำลังเจริญวัย สู่ความเป็นคนหนุ่ม ทำให้มีจิตนึกรัก นึกชอบสตรีบ้างแล้ว )

และก็สอน ให้เจริญ อนิจจสัญญา คือความสำคัญมั่นหมาย ว่าไม่เที่ยง  เน้นเพื่อละ อัสมิมานะ คือความถือตน ความภูมิใจ ที่เหนือผู้อื่น


จากนั้นทรงตรัสสอน การปฏิบัติภาพรวม คือการเจริญ อานาปานสติ 16 รูปวัตถุ

=========================================================

สรุปลำดับ เทียบเคียง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ในปัจจุบัน


คือ การเจริญธาตุ กรรมฐานนั้น มี ธาตุ 4 นั้น เหมือนการเจริญ พระปีติ พระยุคล ทั้งส่วน พระลักษณะ และ พระรัศมี พระสุข


การเจริญ พรหมวิหาร 4 อสุภ และ อนิจจสัญญา นั้น เป็น วิปัสสนา ที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว สำหรับผู้ภาวนาใน พระกรรมฐาน เพราะในส่วน พระลักษณะ เมื่อแยกธาตุได้ ก็จะเห็นอนิจจสัญญา และ อสุภสัญญา ในเบื้องต้น
ยอมรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยธรรมชาติของจิต ย่อมปรากฏในฐานะ ผู้อ่อนโยน ด้วย พรหมวิหาร 4

ส่วน อานาปานสติ นั้น เป็นห้องที่ 4 ต่อจาก พุทธานุสสติ กรรมฐาน อยู่แล้่ว

โดยความพิิศดาร นั้น ผมลองเข้าไปศึกษา ในพระไตรปิฏก เล่มที่ 23 ปฏิสัมภิทามรรค
บอกได้เลยครับ มีความพิศดารมาก

มีครั้งหนึ่ง ได้สนทนากับพระอาจารย์ เรื่อง อานาปานสติ นั้น ผมเองก็อึ้งกับความเข้าใจที่ผิดพลาด
ในการภาวนา

พอจะสรุป ขั้นตอนการภาวนา ในอานาปานสติ ดังนี้ครับ

อานาปานสติ มีข้อกำหนด 3 อย่าง

1.ลมหายใจเข้า 2.ลมหายใจออก 3.นิมิต

วิธีการภาวนา มีอยู่ 4 แบบในสมถะ มีอีก 5 แบบในวิปัสสนา

1.การนับลมหายใจเข้าและออก
2.กา่ีรกำหนดจุดที่ตั้งของลมหายใจเข้าและออก
3.การกำหนดจุดผ่านลมหายใจเข้าออก
4.การติดตามลมหายใจเข้า่ออก

ส่วน สโตริกาญาณ 16 รูปวัตถุเป็นผลของการปฏิบัติ ใน 4 วิธีภาวนา

ส่วนในญาณ 200 ประกอบด้วย

การเจริญ จิตเป็นวิปัสสนา เนื่องด้วยอานาปานสติ ก็คือการเจริญมหาสติปัฏฐาน 4



ผมฟังพระอาจารย์ บรรยายให้ฟังนิดหนึ่ง ก็รู้ว่า มีความพิิศดารมาก ๆ
จึงปรารภ กับพระอาจาย์ว่า ผมจำไม่ได้

ท่านก็ตอบผมว่า ไม่ต้องจำมาก จำเพียง ข้อกำหนด 3 กับ วิธีการภาวนา 4 อย่าง

นอกนั้น

ีรู้เห็นตามความเป็นจริง เอง

ผมจึงเรียนวิธี การภาวนา 4 อย่าง

ก็รู้สึกว่า ภาวนาได้ดีมาก ๆ ไม่ต้องไปจำ 16 ขั้นตอนนั้น แต่ เมื่อเราภาวนา ลมหายใจ ก็จะละเอียดจนเข้าใจเอง
อย่างเช่น ตอนกำหนดจิต รู้ความอิ่มใจ ยินดี อันนี้เราก็สามารถ ภาวนาได้ในส่วน พระปีติ พระยุคล อยู่แล้ว

เพียงแต่ยังไม่กำหนด ในลมหายใจ เข้า ออก ไปพร้อมกัน

ผมดูจากโหวตแล้ว ส่วนใหญ่ จะภาวนาอยู่ใน 3 แบบ ครับ

1.อานาปานสติ
2.ลมหายใจ เข้า พุท ออก โธ
3.การแผ่เมตตา

ซึ่งพิจารณาให้ดีแล้ว ก็อยู่ใน มหาราหุโรวาทสูตร ทั้งหมด
ดังนั้นถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว พระอาจารย์ใหญ่จริง ๆ ก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้วางแบบ

ขั้นตอนให้  พระโอรส ของพระองค์

 :25: :25: :25:













Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2011, 08:26:20 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อานาปานสติ กับหลักปฏิบัติเบื้องต้นสากล จร้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2010, 02:58:36 am »
0
อานาปานัสสติ
        สติกำหนดกองลม  คือให้รู้ตัวอยู่เสมอในกองลมที่ตนได้หายใจ
เข้าและออก  เป็นต้นว่าหายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้  ท่านสอน
ให้กำหนดโดยวิธีนับ  จัดไว้เป็น  ๖  หมวด  คือ :-
        หายใจเข้านับว่า  ๑  หายใจออกนับว่า  ๑.
            "            "      ๒      "           "         ๒.
            "            "       ๓      "           "         ๓.
            "            "       ๔      "           "         ๔.
                         "            "       ๕      "           "         ๕.
โดยใจความก็คือให้นับหายใจเข้าและออกคู่กันไปว่า  ๑.๑.๒.๒.๓.๓.
๔.๔.๕.๕.   แล้วกับต้นใหม่.  หมวดนี้เรียกปัญจกะ   แปลว่า
หมวด  ๕.
        ให้นับคู่กันไปโดยนัยแก่หมวด  ๕  ตั้งต้นแต่  ๑. ๑.  ถึง ๖. ๖.
แล้วกลับต้น   หมวดนี้เรียกฉักกะ  แปลว่าหมวด  ๖.
        ตั้งต้นแต่  ๑.๑   ถึง  ๗.๗.  แล้วกลับต้น  หมวดนี้เรียกสัตตกะ
แปลว่าหมวด  ๗.
 
แบบประกอบนักธรรมเอก - อุปกรณ์กัมมัฏฐาน - หน้าที่ 32
        ตั้งแต่  ๑.๑.   ถึง  ๘. ๘.   แล้วกลับต้น  หมวดนี้เรียกอัฏฐกะ
แปลว่าหมวด  ๘.
        ตั้งต้นแต่  ๑.๑  ถึง  ๙.  แล้วกลับต้น  หมวดนี้เรียกนวกะ
แปลว่าหมวด  ๙. 
        ตั้งต้นแต่  ๑.๑.  ถึง  ๑๐. ๑๐.  หมวดนี้เรียกทสกะ  แปลว่าหมวด  ๑๐.
        เมื่อนับตั้งแต่หมวดปัญจกะถึงหมวดทสกะแล้ว  พึงกลับนับตั้งแต่
หมวดปัญจกะไปใหม่.
        เมื่อนับอยู่โดยทำนองนี้  ลมจักเดินเร็วเข้า  เมื่อลมเดินเร็วเข้า
เช่นนั้น  ท่านสอนไม่ให้เอาสติระลึกตามลมที่เข้าและออก  ให้คอย
กำหนดลมที่ผ่านมากกระทบปลายนาสิกและริมฝีปาก   แล้วให้นับว่า  ๑.๒.
๓. ๔. ๕.   แล้วกลับต้นว่า  ๑.๒.๓.๔.๕.๖.  ๑.๒.๓.๔.๕.๖.๗.
๑.๒.๓.๔.๕.๖.๗.๘.    ๑.๒.๓.๔.๕.๖.๗.๘.๙.  ๑.๒.๓.๔.๕.๖.๗.๘.๙.๑๐.
พึงกำหนดนับโดยนัยนี้เสมอไป  แต่นั้นลมจะละเอียดยิ่งขึ้น  จนปรากฏ
เหมือนไม่มีลม  เมื่อเป็นเช่นนี้ให้ค้นหากองลมที่เสื่อมไปนั้น  พึงนึกว่า
ลมมีอยู่  ลมที่จะไม่มีก็ต้องเป็นคนตายแล้ว  ให้คอยกำหนดดูที่ปลาย
นาสิกแล้วก็จะรู้ได้  กำหนดอยู่เช่นนี้จนกว่านิมิตจะปรากฏตลอดจนยัง
ฌานให้เกิด.
        ธรรม  ๓  อย่าง  คือ  ลมเข้า ๑  ลมออก  ๑  นิมิต  ๑  ไม่ใช่
เป็นอารมณ์ของจิตดวงเดียวกัน  ธรรมอย่างหนึ่งก็เป็นอารมณ์ของจิต
ดวง ๑  เมื่อธรรม  ๓  อย่างนี้ปรากฏชัดแล้ว  อุปจารฌานและอัปปนา-
ฌานก็เกิดขึ้น  กัมมัฏฐานนี้เป็นไปเพื่อกำจัดซึ่งวิตก
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เมตตา กรรมฐานนำชีวิตให้พ้นภัย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2010, 03:06:14 am »
0



เมตตานี้  เป็นคู่ปรับแก่โทสะและพยาบาทโดยตรง.
        การเจริญเมตตา  ย่อมมีอานิสงส์  ๑๑  ประการ  คือ  :-
        ๑.  สุข  สุปติ   หลับเป็นสุข.
        ๒.  สุข  ปฏิพฺชฺฌติ  ตื่นเป็นสุข.
        ๓.  น  ปาปก  สุปิน  ปสฺสติ  ไม่ฝันลามก.
        ๔.  มนุสฺสาน  ปิโย  โหติ  เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย.
        ๕.  อมนุสฺสาน  ปิโย  โหติ  เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย.
        ๖.  เทวตา  รกฺขนฺติ  เทพเจ้าทั้งหลาย  ย่อมคุ้มครอง.
        ๗.  นาสฺส  อคฺคิ  วา  วิส  วา  ไฟก็ดี  พิษก็ดี  ศัสตราก็ดี  ไม่ถูก
              สตฺถ  วา  กมติ    ต้องร่างกายได้.
        ๘.  ตุวฏ  จิตฺต  สมาธิยติ  จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิได้เร็ว.
        ๙.  มุขวณฺโณ  วิปฺปสีทติ  สีหน้าย่อมผ่องใส.
        ๑๐.  อสมฺมุฬโห  กาล  กโรติ  ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา
                                             (ไม่หลงตาย).
        ๑๑.  อุตฺตรึ  อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต   เมื่อยังไม่ตรัสรู้คุณวิเศษ  ตาย
               พฺรหฺมโลกุปโค  โหติ       แล้วย่อมเข้าถึงพรหมโลก.
                                         ๒.  กรุณา 
        เมื่อผู้เจริญเห็นมนุษย์หรือสัตว์ได้ความทุกข์ยาก  พึงถือเอาเป็น
อารมณ์แล้ว  แผ่กรุณาจิตไปว่า  สัตว์ผู้นี้ทุกข์ยากลำบาก   ไฉนจะพึงพ้น
จากทุกข์เล่านี้ได้  ถ้าแผ่ไปในสัตว์ไม่มีประมาณ  พึงบริกรรมว่า  สัตว์
ทั้งหลายทั้งสิ้นจงพ้นจากทุกข์เถิด.
        กรุณาเป็นคู่ปรับแก่วิเหสาโดยตรง.
                                         ๓.  มุทิตา
        เมื่อผู้เจริญได้เห็นหรือได้ทราบ  ซึ่งมนุษย์หรือสัตว์ที่ได้มีความสุข
ความเจริญ  พึงทำจิตให้ชื่อชมยินดีในความสุขความเจริญของเขานั้นแล้ว
แผ่ไปวาสัตว์ผู้นี้มีความสุขความเจริญยิ่งนัก  จงเจริญยั่งยืนอยู่ในสุข
สมบัติของตน ๆ  เถิด.  ถ้าแผ่ไปในสัตว์ไม่มีประมาณ  พึงทำบริกรรม
ว่า  สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจงอย่าเสื่อมวิบัติไปจากสุขสมบัติที่ตนได้แล้วเลย,
สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจงยั่งยืนอยู่ในสุขสมบัติของ ๆ  เถิด.
                                       ๔.  อุเบกขา
        ผู้เจริญพึงทำจิตให้เป็นกลางในสุขทุกข์ของสัตว์ทั้งสิ้น  แล้ว
บริกรรมว่า  สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นมีกรรมเป็นของ ๆ  ตน  ตนเป็นอยู่
เช่นใด  ก็จงเป็นอยู่เช่นนั้นเถิด.
        อุเบกขาเป็นคู่ปรับแก่ราคะและปฏิฆะในสุขทุกข์ของสัตว์.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2010, 03:19:13 am โดย หมวยจ้า »
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อนิจจสัญญา คืออะไร ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2010, 01:30:25 am »
0
อ้างถึง
และก็สอน ให้เจริญ อนิจจสัญญา คือความสำคัญมั่นหมาย ว่าไม่เที่ยง  เน้นเพื่อละ อัสมิมานะ คือความถือตน ความภูมิใจ ที่เหนือผู้อื่น


จาก email ที่ได้คุยกับพระอาจารย์ สิ่งที่ นีย์ สงสัย ว่า อนิจจสัญญา นั้น คืออะไร ?

อนิจจสัญญา ก็คือ ความจำ หรือ ความสำคัญ มั่นหมาย ว่าสิ่งนี้ ไม่เที่ยง

อารมณ์กรรมฐาน คือ

รูป คือ มหาภูตรูป คือร่างกาย นี้ไม่เที่ยง เมื่อมองเห็นความไม่เีที่ยง ก็จะมองเห็นว่าเป็น ทุกข์

เวทนา คือความรู้สึก ว่า สุข ทุกข์ ไม่สุข และ ไม่ทุกข์ นั้นไม่เที่ยง

สัญญา คือความทรงจำ นั้นไม่เที่ยง

สังขาร คือความคิด ว่า ไม่เีที่ยง

วิญญาณ คือความรับรู้ ว่าไม่เที่ยง

เมื่อเราภาวนา ว่าไม่เที่ยง ก็จะเห็น ความไม่เที่ยง

จะเห็นว่า สิ่งนี้ ตั้งอยู่ สิี่งนี้ดับไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจาก ทุกข์ ไ่ม่มีอะไรดับ

การ เห็นอย่างนี้ประจำ ก็จะเข้าสู่ คุณธรรม ของ พระโสดาบัน

ละ อัสสมิมานะ เบื้องต้นได้


 :88:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สาระเบื้องต้น ในมหาราหุโรวาทสูตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2010, 08:12:38 am »
0
 :08: :25: :08:

อนุโมทนา กับอุบาสิกาหญิง ด้วยเดี๋ยวนี้

คุณธรรม ก้าวหน้า แล้ว
บันทึกการเข้า

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อนิจจสัญญา มีได้ เพราะเข้าใจ ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 02:41:46 am »
0
ได้รับคำแนะนำ จากพระอาจารย์ ว่า อนิจจะสัญญา จะเจริญขึ้นได้

พระพุทธพจน์ บทนี้


                สพฺเพ    สงฺขารา   อนิจฺจาติ  ---  ---  ---
                สพฺเพ    สงฺขารา   ทุกฺขาติ    ---  ---  ---
                สพฺเพ    ธมฺมา   อนตฺตาติ   ยทา  ปฺาย   ปสฺสติ
                อถ   นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข   เอส   มคฺโค   วิสุทฺธิยา.
          เมื่อใด  เห็นด้วยปัญญา   สังขารทั้งหลายทั้งปวง   ไม่เที่ยง
          เมื่อใด  เห็นด้วยปัญญา   สังขารทั้งหลายทั้งปวง  เป็นทุกข์   
          เมื่อใด  เห็นด้วยปัญญา   สังขารทั้งหลายทั้งปวง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา   
          เมื่อนั้น  ย่อมหน่ายในทุกข์   นั่นทางแห่งวิสุทธิ

 มีหลักพิจารณา 2 แบบ
   ย่อมกำหนดรู้ ได้ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และ ความสิ้นในเบื้องปลาย
   ย่อมกำหนดรู้ ได้ด้วยความแปรปรวนในระหว่าง เกิด และ ดับ


องค์กรรมฐาน คือ ขันธ์ 5

ยกตัวอย่าง

      ตา มองเห็น รูป กำหนดในเบื้องต้นว่า เพราะตามองเห็นรูปด้วยผัสสะ และเบื้องปลายเพราะตามองเห็นรูปอื่น ๆ อีก รูปเบื้องต้น จึงเป็นเบื้องปลาย นี้เป็น อนิจจสัญญา ที่ 1
       
      เพราะความที่ รูป ไม่สามารถคงอยู่ได้ เพราะมี รูป อื่นเข้ามา จึงเห็นว่ามีความเกิด ดับ ใน เบื้องต้น และ เบื้องปลาย รูป จึงเกิด และ รูปจึงดับ นี้เป้น อนิจจสัญญา ที่ 2

แค่นี้ หมวยนีย์ ก็ เริ่มเข้าใจบ้างแล้ว ไม่เข้าบ้างแล้ว

 :25: :25:

     

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง