ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลงเรือล่องคลอง ชมวัด ย้อนเวลาไขปริศนา "พระเจ้าตากฯ" สิ้นอย่างไร บ้าจริงหรือไม่  (อ่าน 7545 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เผยแพร่เมื่อ 29 มิ.ย. 2012 โดย matichontv2011


ลงเรือล่องคลอง ชมวัด ย้อนเวลาไขปริศนา "พระเจ้าตากฯ" สิ้นอย่างไร บ้าจริงหรือไม่ (ชมคลิป)

อีกครั้งที่มติชนอคาเดมี นำทัวร์ศิลปวัฒนธรรม ไขปริศนาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หัวข้อต่างๆ ที่ยังมีข้อถกเถียง มีความเป็นไปได้หลายข้อสรุปจากหลักฐานหลากหลายแหล่ง โดยเฉพาะ “ล่องคลองสองแผ่นดิน พระเจ้าตากฯ และรัชกาลที่ 3” 

นำโดย 2 วิทยากรอย่าง “ปรามินทร์ เครือทอง” และ “ปรีดี พิศภูมิวิถี” นักประวัติศาสตร์ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยแง่มุมวิธีการมองอดีต บวกกับการสื่อสารอย่างมีอารมณ์ขัน พาไปไขปริศนายุคกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ จากฉากจริงของเรื่องราวการเมืองในยุคนั้น ที่นำพาไปสู่จุดเปลี่ยนแปลงแบ่งยุค แบ่งสมัยกระทั่งปัจจุบันนี้

ในการล่องเรือเริ่มต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาท่าพระปิ่นเกล้าผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ และโรงพยาบาลศิริราช ก่อนที่จะหยุดเรือลอยลำตรงทาง 3 แพร่ง ฟังคำบรรยายเหตุการณ์สำคัญกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ จุดที่มีการยิงปืนถล่มเข้าไปยัง ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กับเรื่อง “คืนสุดท้าย แผ่นดินธนบุรี” ซึ่ง “ปรามินทร์” มองว่า การเมืองขณะนั้นดำเนินไปโดยแผนการที่ถูกวางเอาไว้ ไม่ใช่เพียงเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ด้วยความบังเอิญ เพราะมีการวางแผนจัดการกรุงธนบุรี และการ “ฆ่า” ก็เป็นกติกาทางการเมืองในสมัยนั้น

จากนั้นไม่นาน ก็ล่องเรือไปอีกไม่ไกล คณะทัวร์ขึ้นฝั่งยังท่าน้ำวัดหงส์ฯ แล้วเดินเข้าไปสักการะศาลพระเจ้าตากฯ ที่อยู่ใกล้วัด พร้อมฟังบรรยายเรื่อง “จักรีวงศ์ กับ พระเจ้าตากฯ” ผ่านตำนานวัดหงส์ ที่มีเกร็ดข้อมูลประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อยืนฟัง ณ สถานที่จริงแล้วต้องขนลุก เพราะมีตำนานว่า หลังจากมีการประหารชีวิตพระเจ้าตากฯ บริเวณป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็มีหลวงจีนเดินนำขบวนพระศพผ่านวัดหงส์

โดยมีอีกคนหนึ่งถือพานรองพระโลหิต ขณะเดียวกันเขาหันกลับไปมองยังโบสถ์วัดหงส์ ก็เห็นพระเจ้าตากยืนกอดอก ไม่มีหัว ทำให้ตกใจจนทำพานรองพระโลหิตหล่นจากมือ จากนั้น จึงมีการนำดินที่มีพระโลหิตพระเจ้าตากมาปั้นรูปพระองค์แล้วตั้งศาลพระเจ้าตากฯ ณ ตำแหน่งดังกล่าว 

ก่อนเดินทางออกจากจุดนี้ ก็ได้เข้านมัสการหลวงพ่อแสน ภายในพระอุโบสถ ที่มีเสาต้นใหญ่ ลวดลายสวยงาม พร้อมชมภาพพระบฎเรื่อง รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต ที่อยู่เหนือประตูและหน้าต่าง

คณะทัวร์ถึงเวลาเดินทางต่อด้วยเรืออีกครั้ง ถึงวัดอินทาราม เข้าสักการะศาลพระเจ้าตากฯ และฟังเรื่องเข้มข้น “พระเจ้าตากฯ เป็นบ้า จริงหรือไม่?” โดย ผู้บรรยายและลูกทัวร์ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแบบไม่มีกั๊ก ทั้งเรื่องเล่าที่เขียนเผยแพร่ได้ และที่เขียนเผยแพร่ไม่ได้

แต่ก่อนที่จะถึงเวลาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “ปรามินทร์” จะเล่าถึงหลักฐานที่บันทึกเหตุการณ์ซึ่งพระเจ้าตากฯ ถูกมองว่า “บ้า” และท้ายที่สุด กฎเกณฑ์ชนิดใด ที่ตัดสินว่าใครบ้าหรือไม่ ผู้รับฟัง ก็สามารถนำข้อมูลไปตรึกตรองต่อหลังจบการเดินทาง


พระบรมรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ประดิษฐาน ณ วัดสมณโกฐ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

นอกจากนั้น ยังได้เดินชมบริเวณที่เชื่อว่า เป็นจุดซึ่งเคยฝังพระศพพระเจ้าตากฯ พร้อมตำนานความเชื่อ คือบริเวณแท่นศิลาจารึกที่อยู่หน้าพระอุโบสถ แท่นศิลาดังกล่าว ถูกวางในตำแหน่งนั้น ในสมัยกรุงธนบุรีหรือไม่ และยังเป็นปริศนาอยู่ว่าศิลาจารึกดังกล่าวเป็นอักษรสุโขทัย แล้วมาอยู่ที่วัดอินทารามได้อย่างไร

หลังจากจุใจกับบทสนทนาระหว่างวิทยากรและลูกทัวร์ในช่วงเช้าแล้วก็ถึงเวลาล่องเรือไปพักรับประทานอาหารกลางวันกับร้านดัง“ร้านหมี่กรอบจีนหลี” สมัยรัชกาลที่ 5 และสามารถสั่งหมี่กรอบติดไม้ติดมือกลับบ้านได้ ณ จุดนี้

เมื่ออิ่มอร่อยกับอาหารร้านเก่าแก่แล้ว ก็ได้เวลาอีกครั้งในการท่องคลองด่าน ผ่านวัดดัง และเรื่องราวเกี่ยวกับรัชกาลที่ 3 กับ “ปรีดี พิศภูมิวิถี” อาทิ วัดนางนอง นมัสการพระพุทธรูปทรงเครื่อง แบบจักรพรรดิที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ชมจิตรกรรมฝาผนัง พุทธประวัติตอนทรมานพระยามหาชมพู และภาพเล่าเรื่อง “สามก๊ก” ก่อนจะเดินต่อไปยัง วัดหนัง นมัสการรูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยม อดีตเจ้าอาวาส

จากนั้น เข้าชมพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนัง พิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพ เชื่อกันว่าบริเวณนี้เคยเป็นนิวาสสถานเดิมของกรมพระศรีสุลาไลย พระราชมารดาในรัชกาลที่ 3

กระทั่งช่วงเย็น ถึงยามน้ำขึ้นเกือบเต็มตลิ่ง คณะทัวร์ได้ล่องเรือขากลับ ชมวิถีชีวิต ชุมชนคลองด่านก่อนออกสู่เจ้าพระยา ทัวร์ล่องคลองสองแผ่นดิน ครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่  16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จ ด้วยคำยืนยันความประทับใจจากลูกทัวร์

อาทิ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก บอกว่า “ประทับใจสุดๆ เลย และดีใจที่มติชนอคาเดมี จัดเรื่องนี้ขึ้นมา ทำให้พวกเรามีโอกาสมารู้เรื่องศิลปและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และบางทีก็เป็นตำนาน รู้สึกสนุก ดีมากและอยากให้จัดบ่อยๆ”

สำหรับความรู้จากการบรรยายของวิทยากร อดีตผู้บัญชาการทหารบกผู้นี้ บอกว่า “ชั้นหนึ่งครับ วิทยากรทั้ง 2 ท่าน ให้ความรู้และประโยชน์แก่ผม ทั้งที่เราก็รู้เรื่องประวัติศาสตร์มาพอสมควร การบรรยายมีอะไรหลายๆ อย่างให้รับทราบ เช่น วัดนี้เป็นวัดอะไร สำคัญอย่างไร ในรัชกาลที่ 3 เป็นต้น

ถ้าอยากรู้มากกว่านี้ ต้องให้วิทยากรมาเล่าให้ฟัง จุดที่ประทับใจเป็นพิเศษคือ ความริเริ่มไม่ว่าจะของมติชนหรือศิลปวัฒนธรรม ที่เริ่มเรื่องนี้ ทำให้พวกเราได้ใช้เวลาในวันหยุดได้อย่างมีค่ามากที่สุดครับ”  พล.อ.มงคล กล่าว



เผยแพร่เมื่อ 29 มิ.ย. 2012 โดย matichontv2011


ด้าน พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ กรรมการมูลนิธิรักเมืองไทย  ผู้ร่วมเดินทางครั้งนี้ บอกว่า ประทับใจ และรู้สึกมานานแล้วว่า เรื่องของประวัติศาสตร์และวิชาประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องที่สังคมไทย ไม่ค่อยได้ใส่ใจ ไม่ค่อยให้น้ำหนัก มาวันนี้แล้ว ก็รู้สึกว่ามีด้านดีในการละเลยประวัติศาสตร์ เพราะทำให้เหลือพื้นที่อีกมาก ในการที่เราจะค้นคว้าหาความเป็นจริง ขณะที่ประเทศตะวันตกอาจะเหลือพื้นที่น้อยลง เพราะว่าเขาทำความชัดเจนได้มากมาย แต่กระนั้น ก็ยังมีมุมมองที่มาถกแถลงกันมากมาย

"สำหรับบ้านเราการที่เราละเลยประวัติศาสตร์ ผมก็มองในแง่ดีว่า มันมีเรื่องที่จะให้พวกเราต้องทำกันอีกเยอะ ผมเองไม่ค่อยรู้ประวัติศาสตร์ของบ้านเรา มาวันนี้ยิ่งชัดเจนใหญ่ครับว่า ยิ่งรู้ว่าตัวเองไม่รู้มากขึ้น  ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ ที่จะหาคำตอบให้ได้ครับ ดีใจที่ได้มาทัวร์ศิลปวัฒนธรรมครับ” พล.อ.บัญชรกล่าว

ด้าน “จินตนา ธีรวรางกูร” ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารงานทั่วไป รักษาการหัวหน้าฝ่ายอำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กล่าวถึงการเดินทางทริปนี้ว่า นอกจากจะได้ความรู้ ข้อมูลเพิ่มเติม ก็ยังได้ทราบเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน และครั้งนี้ก็ได้ความรู้หลายแง่มุมของวิทยากร

ซึ่งให้เราได้วิเคราะห์และตัดสินใจเองว่า ข้อมูลที่ได้รับนั้น เราจะเลือกพิจารณาและเชื่ออย่างไร ข้อมูลในวันนี้ก็ได้จากหลายตำราที่วิทยากรรวบรวมมากให้ ทำให้เราได้สังเคราะห์และพิจารณาเองว่าประวัติศาสตร์ที่เราได้รับรู้มุมเดียว หรือได้มาบางส่วนและข้อมูลที่ได้เพิ่มเติม เราจะวิเคราะห์อย่างไร

ขณะที่ “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” เจ้าของ “ศิริวัฒน์แซนด์วิช” ผู้ฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ได้ร่วมเดินทางครั้งนี้ บอกว่า ประทับใจวิทยากรและทีมงาน ประกอบกับโดยส่วนตัวก็ศึกษาเรื่องพระเจ้าตากฯ เป็นแรงบันดาลใจเมื่อครั้งประสบวิกฤตเศรษฐกิจด้วย

“ขอบคุณมติชนอคาเดมี ที่จัดทัวร์ดีๆ รู้สึกมีประโยชน์มากและเป็นการพักผ่อนไปในตัว ได้มารู้ประวัติศาสตร์ และมีความเพลิดเพลิน หลายปีที่ผ่านมาก็ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากฯ ที่จริงได้รู้จักเรื่องราวของท่านก็ตอนเราเรียนมัธยม ท่านได้กอบกู้เอกราชของชาติไทย เราคิดว่าถ้าไม่มีท่าน พวกเราคงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่าไปแล้ว

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ในช่วงประสบวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ช่วงนั้นลำบากมาก พยายามดิ้นรน และได้นึกถึงพระองค์ท่าน คิดว่าท่านคงได้ดลบันดาลใจให้สู้ต่อ การเดินทางทริปนี้ รู้สึกประทับใจทีมงานที่ต้อนรับดูแลดี และการจัดการได้รับความสะดวกสบาย และวิทยากรมีคุณภาพ รู้จริง ถามอะไรก็ตอบได้หมด”


พระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะทรงศีลในวัดอินทาราม

สำหรับ “ริศิษฏ์ ชมเชิงแพทย์” อดีตสถาปนิกผู้ใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ ในการท่องเที่ยวชมความงามของสถาปัตยกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ทางประวัติศาสตร์กับทัวร์ศิลปวัฒนธรรมมาแล้วเกือบทุกทริปบอกว่า
ไปกับอคาเดมี3-4 ครั้ง ได้ความรู้ เพลิดเพลิน สะดวกสบายได้พักผ่อนในตัว


ครั้งนี้ก็รู้สึกประทับใจ ปกติก็ให้ความสนใจประวัติศาสตร์ โดยความรู้เดิมผมเป็นสถาปนิก ก็สนใจเกี่ยวกับเรื่องสถาปัตยกรรมไปด้วย ก็ได้ประโยชน์ ตอนนี้มีเวลาว่าง เพราะเกษียรอายุราชการแล้ว ก็ต้องหาอะไรทำไม่ให้เบื่อหน่ายและได้ความรู้ด้วย

“สำหรับการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านดีมากผมคิดว่าคงจะเตรียมมาดี และสังเกตว่า คณะที่มาทัวร์ เป็นคอเดียวกัน ให้ความสนใจ จะต้องมีคำถาม ผมเองก็มีคำถามในเรื่องที่เรา สงสัยมาก่อน ไม่รู้จะหาความกระจ่างที่ไหน การมาเที่ยวครั้งนี้ ก็ได้ถือโอกาสถามอาจารย์ด้วย”

ด้าน ปรามินทร์ บอกว่า ลูกทัวร์ทุกคนให้ความสนใจ มีการตั้งคำถามทีเด็ดเยอะ หวาดเสียวเยอะ ซึ่งเราก็ตอบกันไม่กั๊ก ตอบกันเต็มที่ เฉียดฉิว ซึ่งไม่น่าพลาดทัวร์หัวข้อนี้ในครั้งหน้า (7 ก.ค.2555) เพราะยังมีมุข ที่รอเฉียดฉิวอยู่คราวหน้า รอว่าถ้าท่านมาแล้ว ท่านมีคำถามอะไรค้างคาในใจ ทริปที่ผ่านมานี้ตอบเรียบไม่เหลือ สำหรับทัวร์ครั้งหน้า ถ้าลูกทัวร์กล้าถาม เราตอบหมด เราไม่มีเว้นคำถามใดคำถามหนึ่งเอาไว้เลย

“บางอย่างเขียนไม่ได้ แล้วคราวนี้หลุดปากไปเยอะ ถือว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็เป็นข้อมูลล้วนๆ อยู่บนพื้นฐานของหลักฐาน วิธีการหนังสือศิลปวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าการเขียนบางเรื่อง ค่อนข้างลำบาก คราวนี้เปิดประเด็น ให้ลูกทัวร์หลายเรื่อง เรื่องที่เฉียดฉิว หวาดเสียวทั้งนั้น” ปรามินทร์กล่าว

   ขณะที่ ปรีดี บอกว่า วัตถุประสงค์ของการทัศนศึกษาครั้งนี้ เราแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ
   อยากให้มีการรู้ลึกๆ เกี่ยวกับพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือพระเจ้าตากสิน
   อีกอย่างหนึ่งคือ อยากให้เห็นวิถีชีวิตของคนริมคลอง ซึ่งเป็นคลองสำคัญก็คือ คลองบางกอกใหญ่ คลองด่าน   
   และพระราชประวัติของรัชกาลที่ 3  เพราะถือว่าบริเวณวัดหนัง วัดนางนอง จะเกี่ยวข้องกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 3


จุดที่พลาดไม่ได้ จุดแรกเลย เป็นการเดินทางทางเรือ เพราะเป็นสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยได้พบเจอ คลองซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรของคนในอดีต เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของทัวร์นี้ คือเราจะได้ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของคน ซึ่งคือคนไทยที่ผูกพันกับลำคลอง

ส่วนเนื้อหาไฮไลท์ คือการเข้าถึง เอกสารต่างๆ และความเชี่ยวชาญของวิทยากร ทั้ง กรณีพระเจ้าตาก และประเด็นเกี่ยวกับย่านวัดหนัง วัดนางนอง มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ รัชกาลที่ 3 เพราะย่านดังกล่าวเป็นนิวาสสถานเดิมของ พระราชมารดาของรัชกาลที่ 3 ทั้ง 2 วัดจึงเป็นวัดหลวง ที่คู่กับวัดราชโอรส ซึ่งถือเป็นวัดประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3

"การเดินทางในครั้งนี้ เราจะได้รับเนื้อหาข้อมูลแบบลึกๆ เต็มๆ และการอธิบายสิ่งที่ถูกต้องในข้อมูลที่เรามี และครั้งหน้าก็เช่นกัน เราก็คงมีเกร็ดที่เอามาเสริม เพราะดูลูกทัวร์หลายท่านพึงพอใจ ชอบที่จะรู้เรื่องพระราชประวัติและความเปลี่ยนแปลงความไม่ชอบมาพากล ฉะนั้น ครั้งหน้าจะจัดข้อมูลมาอีกเยอะๆ เอาประเด็นมาคุยกัน เราถือว่า เมื่อมากับมติชนอคาเดมีแล้ว เราจะต้องรู้ลึกรู้จริง ตามแบบฉบับของศิลปวัฒนธรรม" ปรีดีกล่าว


ที่มา http://www.matichon.co.th/play_clip.php?newsid=1340961920
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ก า ร กู้ พ ร ะ ศ า ส น า ข อ ง พ ร ะ เ จ้ า ต า ก สิ น ม ห า ร า ช
อาจารย์สมพร เทพสิทธา : ประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติฯ และนายกสมาคมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ

สนใจอ่านเชิญคลิก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=19838
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ประตูทางเข้าสุสานบรรจุฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ที่ตำบลหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน


ความสัมพันธ์เชื้อสายจีน
    เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จึงได้รับความเคารพบูชาอย่างยิ่งโดยเฉพาะจากคนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานข้อมูลแก่หมอสมิท (นายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ) ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีชื่อเรียกขานกันในหมู่ชาวจีนว่า เตีย ซิน ตัด หรือ เตีย ซิน ตวด ซึ่ง “เตีย” คือ แซ่แต้ “ซิน” คือ สิน “ตัด” คือเมืองตาก 

    และยังมีชื่อที่ปรากฏว่า เจิ้งกว๋ออิง แปลว่า เจิ้งวีรบุรุษของประเทศ ตามหลักฐานจีน พระราชบิดาชื่อ ไหฮอง สำเนียง แต้จิ๋วว่า “แต้” หรือนายไหฮอง แซ่แต้ จากอำเภอไฮ้ฮง หรือจีนกลางว่า ไห่เฟิง เป็นอำเภอที่อยู่ล่างสุดและเล็กที่สุดของซัวเถา อาชีพหลักคือค้าขาย
 
    ไหฮองแต่งงานกับหญิงไทย ชื่อนกเอี้ยง (ระบุนามในหนังสือเดิมที่เขียนในเมืองจีนว่า ลั่วยั้ง หรือ นางนกยาง) ก่อนเสด็จรับราชการเคยทรงประกอบอาชีพค้าขายต่อจากพระราชบิดา และยังมีหลักฐานที่ส่อว่าเคยทรงเป็นพ่อค้าเกวียน ทรงรับสั่งได้คล่องแคล่ว ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน

    อย่างไรก็ตาม ต้วนลี่เซิงได้พบสุสานบรรจุฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ตำบลหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ จังหวัดแต้จิ๋ว (เฉาโจว) อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน รวมทั้งศาลประจำตระกูลซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2464 คงเป็นผู้สืบราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ส่งไปฝังแทนพระบรมศพตามธรรมเนียมจีน สิ่งนี้อาจเป็นหลักฐานว่า สายวงศ์พระราชบิดาอยู่ที่ตำบลนั้น ซึ่งเป็นถิ่นที่แห้งแล้ง ทำให้อพยพมาอยู่พระนครศรีอยุธยา


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2012, 01:31:50 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ภายในวัดอรุณฯ

พระราชปณิธานในพระเจ้าตากสินมหาราช

อันตัวพ่อ     ชื่อว่า    พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก    กู้ชาติ     พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน     ให้เป็น    พุทธบูชา
แด่พระศาสนา  สมณะ  พระพุทธโคดม


ให้ยืนยง   คงถ้วน   ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี   ปฏิบัติ   ให้พอสม
เจริญสมถะ   วิปัสสนา   พ่อชื่นชม
ถวายบังคม   รอยบาท   พระศาสดา

คิดถึงพ่อ   พ่ออยู่   คู่กับเจ้า
ชาติของเรา   คงอยู่   คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา   อยู่ยง   คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา   ฝากไว้   ให้คู่กัน ฯ


(จากจารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร)

ที่มา http://languagemiracle.blogspot.com/2011/04/blog-post_4626.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/blog/winsstars/2009/11/09/entry-1/comment
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชกรณียกิจในด้านการศาสนา

      สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านศาสนาเป็นเอนกประการเช่นเดียวกับพระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงของประเทศ  ด้วยทรงตั้งพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า “จะขอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการไพบูลย์ขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน”

      นับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชแก่พม่าใน พ.ศ.2310  พระพุทธศาสนาและศาสนาทั้งหลายที่เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย  ต่างก็ได้รับความกระทบกระเทือนโดยทั่วกัน  วัดวาอารามและหนังสืออันเป็นหลักธรรมทางศาสนาถูกทำลายจากภัยสงคราม  พระสงฆ์ตลอดจนผู้สอนศาสนาทั้งหลายต้องแตกฉานซ่านเซ็น  หลบหนีไปซุ่มซ่อนตามหัวเมืองที่ห่างไกล  ทำให้กิจการด้านศาสนามัวหมองลง

      เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีและรวบรวมพระราชอาณาจักรได้เป็นปึกแผ่นแล้ว  ได้ทรงดำเนินการฟื้นฟูศาสนา  ดังอาจประมวลเป็นหัวข้อได้ดังนี้

      1. ทรงแต่งตั้งพระสังฆราชและราชาคณะตามธรรมเนียมครั้งกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ทำหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุม ตลอดจนสั่งสอนพระสงฆ์ทั้งฝ่ายคันถธุระและวิปัสสนาธุระ  โดยให้ประจำพระอารามหลวงต่าง ๆ ในกรุงธนบุรี  แล้วส่งพระราชาคณะไปประจำตามหัวเมืองเพื่อจัดระเบียบสงฆ์ให้เรียบร้อยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งพระราชอาณาจักร

      2. ทรงปฏิสังขรณ์พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองเป็นจำนวนมาก  พระราชทานจตุปัจจัยเป็นต้นว่าอาหารและผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์ในพระอารามต่าง ๆ อย่างเพียงพอ  ในรัชสมัยของพระองค์โปรดให้พระราชทานเบี้ยหวัดแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรมและเปรียญทั้งปวง  ดังเช่นข้าราชการฝ่ายฆราวาส  นอกจากนี้ยังพระราชทานข้าพระให้คอยปฏิบัติดูแลพระอารามที่สำคัญด้วย

      3. โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฏก  อันเป็นหลักพระพุทธศาสนาใน พ.ศ. 2312  ณ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม)  โดยอาศัยฉบับที่อัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชเป็นหลัก  โปรดให้ช่างจารพระไตรปิฏกฉบับหลวงขึ้น  และให้รวบรวมคัมภีร์ในพระไตรปิฏกรวมทั้งคัมภีร์อื่น ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ และกัมพูชา  เข้ามาเป็นต้นฉบับในกรุงธนบุรี

      4. ทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ โดยพระราชทานรางวัลแก่พระสงฆ์ที่เล่าเรียนดี  ตามลำดับมากน้อยโดยสมควรแก่สมณสารูป

      5. ทรงกำจัดผู้ปฏิบัติการอันเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา  เช่น  โปรดให้ที่ประชุมสงฆ์และกรมสังฆการี ชำระ สอบสวน และลงโทษพระสงฆ์ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสมณเพศ  โปรดให้ตราพระราชกำหนดศีลสิกขาใน พ.ศ.2316  เพื่อให้พระสงฆ์ปฏิบัติตนให้เคร่งครัดตามศีลอันเป็นพระวินัยและทรงพิจารณาโทษชาวจีนที่รับซื้อทองที่ได้มาจากการทำลายพระพุทธรูป  เป็นต้น



       ในส่วนพระองค์นั้น  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยง “ธรรมราชา”  ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลรักษาศีลและบริจาคทานอย่างสม่ำเสมอ  เมื่อว่างจากพระราชกิจด้านอื่นมักจะเสด็จไปทรงสนทนาธรรมกับพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ตามพระอารามหลวง  และประทับทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดบางยี่เรือใต้ (อินทาราม) หากเสด็จหัวเมืองในพระราชอาณาเขต  มักเสด็จไปทรงนมัสการปูชนียสถานสำคัญในเมืองนั้น  และโปรดให้จัดงานสมโภชตามโอกาสอันควร

       นอกจากนี้  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรียังพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่น ๆ ในพระราชอาณาจักรด้วย  เป็นต้นว่า ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ฯลฯ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินให้สร้างวัด  พระราชทานเงิน เครื่องใช้ ตลอดจนความสะดวกในการเผยแผ่ศาสนา  พระราชทานโอกาสให้นักบวชในศาสนาต่าง ๆ เข้าเฝ้าฯ  เพื่อสนทนาธรรมโดยไม่ถือพระองค์  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี  จึงนับเป็นยุคที่ศาสนารุ่งเรืองสมัยหนึ่ง

       การบูรณะและปฏิสังขรณ์วัด  พร้อม ๆ กับที่ได้โปรดให้จัดระเบียบสังฆมณฑลให้เป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น  ในโอกาสที่สถาปนานครหลวงแห่งใหม่นั้น  ก็โปรดให้ว่าจ้างข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนร่วมกันสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และเสนาสนะกุฎีสงฆ์  รวมหลายพระอารามด้วยกัน  เป็นจำนวนกว่า 200 หลัง  สิ้นพระราชทรัพย์ไปเป็นอันมาก  และในปีหลัง ๆ ต่อมา  ก็ได้โปรดให้สถาปนาและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ อีกหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน

      พระอารามที่ได้โปรดให้สถาปนาขึ้นในรัชกาลของพระองค์คือ วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์ เดี๋ยวนี้) และพระอารามที่ทรงปฏิสังขรณ์นั้น ก็ได้แก่  วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) และวัดหงส์อาวาสวิหาร (วัดหงศ์รัตนาราม) ฯลฯ

      วัดที่สำคัญยิ่งในสมัยกรุงธนบุรีนี้ ก็คือ วัดอินทาราม (เวลานั้นเรียกว่า “วัดบางยี่เรือนอก” หรือ “วัดบางยี่เรือใต้”) ซึ่งได้ทรงเอาพระทัยใส่บูรณะปฏิสังขรณ์ทั่วพระอารามอย่างถึงขนาดมาจนตลอดรัชกาล และได้โปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ให้วัดเป็นฝ่ายสมถะวิปัสสนา อีกวัดหนึ่งก็คือ วัดหงส์รัตนาราม (เวลานั้นมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “วัดหงษ์อาวาสวิหาร”)

      ซึ่งได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่พร้อม ๆ กับการปฏิสังขรณ์วัดอินทารามคราวแรก  คือเมื่อปี พ.ศ.2319  แล้วได้ทรงยกย่องขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกอีกวัดหนึ่ง  และให้เป็นวัดฝ่ายการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม  เนื่องจากวัดนี้อยู่ใกล้พระราชฐานและอยู่ในใจกลางกรุงสมัยนั้น  จึงเป็นพระอารามที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและบุคคลสำคัญในยุคนั้น  เสด็จมาทรงผนวชและบวชกันเป็นอันมาก



       พระอารามที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในสมัยกรุงธนบุรีก็คือ  วัดอรุณราชวราราม  ซึ่งขณะนั้นยังมีชื่อเรียกกันว่า “วัดแจ้ง”  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงเอาพระทัยใส่บูรณะเป็นอย่างมากเท่าที่จะทำได้  วัดนี้ในสมัยกรุงธนบุรีอยู่ในเขตพระราชฐาน  จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย  ต่อมาในตอนปลายรัชกาลเมื่อทรงได้พระแก้วมรกตมาจากเวียงจันทน์  ก็ได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระอารามแห่งนี้

           วัดแจ้งจึงได้กลายเป็น “วัดพระแก้ว” เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามทุกวันนี้

       พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต  พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และสำคัญยิ่งคู่บ้านเมืองไทยเราในขณะนี้  ก็ได้เข้ามาประดิษฐานอยู่ในเมืองไทยเราตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรีเช่นกัน  โดยได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์พร้อมกับพระบาง

        เมื่อ พ.ศ. 2322  ได้โปรดให้ปลูกโรงรับเสด็จขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ข้างพระอุโบสถวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม)  ภายในเขตพระราชวังเดิมแล้วได้โปรดให้มีพระราชพิธีสมโภชเฉลิมฉลองกันอย่างเอิกเกริกมโหฬาร  ได้ทรงมีพระราชดำริจะสร้างพระมหาปราสาทถวายพระแก้วมรกตนี้ขึ้นไว้ภายในพระราชฐาน  แต่การยังมิทันจะดำเนินไปได้ดังพระราชประสงค์ก็สิ้นรัชกาลลงเสียก่อน

        สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชโอวาทถวายเตือนแก่พระสงฆ์ว่า  “ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงตั้งใจปฏิบัติสำรวมรักษาในพระจตุปาริสุทธิศีล  ให้บริสุทธิ์ผ่องใสอย่าให้เศร้าหมอง  แม้นผู้เป็นเจ้าจะขัดสนด้วยจตุปัจจัยสิ่งใดนั้น  เป็นธุระโยมจะรับอุปัฏฐากผู้เป็นเจ้าทั้งปวง  แม้นถึงจะปรารถนามังษะและรุจิระของโยม  โยมก็อาจสามารถจะเชือดเนื้อและโลหิตออกถวายเป็นอัชณัติกทานได้”



ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/2552/taksin/12.html
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/,http://www.bansansuk.com/,http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อัปโหลดโดย kengspurs14 เมื่อ 10 มิ.ย. 2010


                                    เพลง วอนพ่อตากสิน
                                    ศิลปิน รุ่ง สุริยา


                                    กรุงธนบุรี นามนี้ดังไปทั่วถิ่น
                                    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยิ่งใหญ่ป้องไทยเรื่อยมา
                                    เกริกก้องเกรียงไกร วงเวียนใหญ่ ผ่านไปบูชา
                                    ผสกนิกรทั่วหล้า ต่างก็มาขอพร

       
                                    ธนบุรี ยังมีลูกนี้คนหนึ่ง เสียใจ
                                    เสียอย่างสุดซึ้ง หวังพึ่งจึงมาเว้าวอน       
                                    แฟนลูกหนีหาย อยู่โรงงานใหญ่ จากไปจำจร
                                    ตามหาทั่วตรอกซอกซอน จากที่นอน ไม่หวนมา
       
                                    น้องไปอยู่ไหน รู้ไหมใจพี่จะขาด
                                    นั่งรถอุบล โคราช ประกาศหวังพบน้องนาง
                                    ขอนแก่นอุดร เมื่อครั้งก่อน ที่เราเคยมา     
                                    ถามข่าวพี่ป้าน้าอา บอกให้มา แล้วตั้งนาน

       
                                    ธนบุรี ตอนนี้ใจลูกแทบสิ้น
                                    หวังพึ่งองค์พ่อตากสิน ให้แฟนคืนถิ่นสงสาร
                                    บนพวงมาลัย ร้อยพวงใหญ่ วางไว้บนพาน
                                    เจ็ดวันหากไม่กลับบ้าน ห้องนอนคือสุสาน เรือนตาย



ที่มา http://music.forthai.com/music/lyric/?sid=5013
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://www.holidaythai.com/




ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก
         
ครั้งหนึ่งผมได้ไปกราบขอพรพระเจ้าตากสิน ที่วงเวียนใหญ่
ช่วงนั้นมีทุกข์เหลือล้นรอบด้าน และได้ไปกราบท่านอีกครั้งหนึ่ง ที่จังหวัดตาก

               
:25: :25: :25:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ