ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 10 พระคติธรรมของพระสังฆราช  (อ่าน 1617 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28467
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
10 พระคติธรรมของพระสังฆราช
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2014, 08:39:42 pm »
0


10 พระคติธรรมของพระสังฆราช

ในวันนี้เราจะรำลึกถึง "พระสังฆราช" ด้วยหัวข้อ 10 พระคติธรรมของพระสังฆราช

10. ศีล
"พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้ทุกคนมีศีลและมีจิตใจงาม เพราะจะมีความสุขและอยู่ด้วยกันเป็นสุขจริงๆ ทุกๆ คนต้องการสุขด้วยกันทั้งนั้นไม่มีใครปฏิเสธ แต่ทำไมไม่เดินในทางของความสุข ไปเดินในทางของความทุกข์ แล้วก็ร่ำร้องว่าไม่มีความสุข"


9. ทำดี
"คนที่ทำดีจำนวนไม่น้อย เป็นทุกข์ เพราะการทำดีของตน หรือไม่กล้าทำดี เพราะยังทำไม่ถึง ความดี แห่งจิตใจของตน"

8. ผลกรรม
“กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง” “กรรมดีให้ผลดีจริง กรรมชั่วให้ผลชั่วจริง” “ผู้ใดทำกรรมใดไว้ จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ผู้ไม่ได้ทำหาต้องได้รับไม่” ความเข้าใจผิดในเรื่องนี้มีอยู่ให้ได้ยินได้ฟังอยู่เนื่องๆ เช่น มารดาบิดาทำไม่ดีต่างๆ นานาให้เห็น เกิดเหตุการณ์รุนแรงแก่ชีวิตบุตรธิดา ก็มักกล่าวกันว่า ลูกรับเคราะห์แทนมารดาบิดาบ้าง หรือลูกรับกรรมแทนมารดาบิดาบ้าง ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น กรรมของผู้ใด ผลย่อมเป็นของผู้นั้น จะรับผลกรรมแทนกันไม่ได้ ไม่มี มารดาบิดาทำไม่ดี ทำบาปทำอกุศล ยังอยู่ดีมีสุขเพราะผลของบาปอกุศลยังส่งไม่ถึง แต่บุตรธิดาที่ไม่ทันได้ทำบาปทำอกุศล กลับต้องมีอันเป็นไปต่างๆ นั้น

นั่นเป็นเรื่องของการรับผลของบาปอกุศลที่ทำไว้ในภพชาติก่อน ที่ตามมาส่งผลในภพในชาตินี้แน่นอน บุตรธิดาผู้ได้รับผลไม่ดีต่างๆ นานา ต้องทำกรรมไม่ดีไว้ในภพชาติหนึ่งแน่นอน แต่เราไม่รู้ไม่เห็นเท่านั้น ไม่ใช่บุตรธิดารับผลกรรมแทนมารดาบิดา ผู้จะเกิดร่วมกัน เป็นแม่เป็นพ่อเป็นลูกกัน ต้องมีกรรมดีกรรมชั่วในระดับเดียวกัน ไม่แตกต่างห่างไกลกัน จึงทำให้เหมือนลูกรับกรรมแทนพ่อแม่ผู้ทำบาปอกุศล ลูกที่มารับผลไม่ดีต่างๆ ขณะที่พ่อแม่ผู้ประกอบกรรมไม่ดีนั้น นั่นเพราะกรรมไม่ดีของลูกส่งผลทันในระยะนั้น จึงทำให้ยากจะเข้าใจได้ จึงทำให้เกิดความสับสนกันมาก กรรมของคนหนึ่ง ผลจะไม่เกิดแก่อีกคนหนึ่งแน่นอน...



7. คนดี
มาเป็นคนดีกันเถิด อย่าเป็นคนชั่วเลย ด้วยการแสดงกตัญญูกตเวทีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี ความอกตัญญูจึงเป็นเครื่องหมายของคนชั่ว มาเป็นคนดีกันเถิด อย่าเป็นคนชั่วเลย.


6. ทำความดี
“การทำความดีนั้นต้องไม่มีพอ ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เพราะไม่มีใครอาจประมาณได้ว่า เมื่อใดจะตกไปในที่มืดมิดขนาดไหน”

5. วาสนา
" ทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งสลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อน ๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้..."


4. เป็นสุข
"การจะทำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั้น ไม่มีใครจะทำให้ใครได้ เจ้าตัวต้องทำของตัวเอง วิธีทำก็คือ เมื่อเกิด โลภ โกรธ หลง ขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติรู้ให้เร็วที่สุด และใช้ปัญญายับยั้งให้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้าก็ยิ่งดับยาก และเสียหายมากโดยไม่จำเป็น"

3. ภายใน และภายนอก
คนเราโดยมาก มีภายนอกและภายในไม่ตรงกัน เช่นภายนอกรักษามารยาทอันดีต่อกัน แต่ภายในคิดไม่ดีต่อกัน เช่นคิดทำร้ายประหัตประหารกัน หรือบางทีภายในใจไม่มีวัฒนธรรมเลย ทั้งที่ภายนอกแสดงว่ามีวัฒนธรรมต่อกัน เป็นการตีหน้าซื่อแต่ใจคด เรื่องเช่นนี้มีมานานแล้ว จนมีคำกล่าวมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ว่า สัตว์ดิรัจฉานอ่านง่าย ส่วนมนุษย์อ่านยาก เพราะมีชั้นเชิงมากนักเหมือนอย่างป่ารกชัฏ ไม่รู้ว่าสิงสาราสัตว์ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง


2. ความเมตตา
"เมตตามีคุณกว้างขวางนัก หาขอบเขตมิได้ ทุกคนมีสิทธิจะแผ่เมตตาให้ทุกคนทุกชีวิตได้ และทุกคนมีสิทธิรับเมตตาจากทุกคนได้ เมตตาที่แท้จริงไม่มีขอบเขต คือไม่เลือกผู้รับ ไม่เลือกของเราของเขา ไม่เลือกชาติ ศาสนา และไม่เลือกมิตรศัตรู"

1. ผลกรรม
"..ทั้งๆที่เกลียดกลัวความทุกข์ แต่ผู้ไม่มีปัญญา ก็หาได้เห็นคุณค่าสูงส่งที่สุด ของพระพุทธศาสนาไม่ หาได้เข้าถึงความจริง ที่ยิ่งเสียกว่าจริงที่ว่า ใจที่ถึงพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง จะพาให้ถึงความพ้นทุกข์ได้จริง ในทางตรงกันข้าม ใจที่ไม่แยแสไม่เทิดทูนพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุให้คิด พูด ทำ เหยียบย่ำทำลายพระพุทธศาสนา จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่อาจหนีพ้นผลที่รุนแรง นักหนาของกรรมนั้นได้..."


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20131112104633813
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ