ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนพื้นเมืองสองฝั่งโขง ถูกเกณฑ์สร้างปราสาทพระวิหาร  (อ่าน 1684 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28454
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สุจิตต์ วงษ์เทศ : คนพื้นเมืองสองฝั่งโขง ถูกเกณฑ์สร้างปราสาทพระวิหาร
คอลัมน์ สยามประเทศไทย มติชน 21 มกราคม 56

คนที่ราบสูงลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล ในไทย-ลาว กับคนที่ลุ่มต่ำโตนเลสาบ(ทะเลสาบ) ในกัมพูชา เป็นเครือญาติชาติพันธุ์เดียวกัน มีตำนานเกิดจากน้ำเต้าปุงด้วยกัน จะต่างกันบ้างก็แต่เพียงตระกูลภาษาพูดและสำเนียง คือมอญ-เขมร กับลาว-ไทย ฉะนั้น คนที่อยู่รอบๆ ปราสาทพระวิหารตั้งแต่ก่อนสร้าง, ขณะสร้าง, หลังสร้าง จึงเป็นเครือญาติชาติพันธุ์สืบเนื่องกันมา

แม้มีนักวิชาการบางพวกพยายามหาหลักฐานจะให้เป็นคนละกลุ่มไม่เกี่ยวดองกันระหว่างที่ราบสูงกับที่ลุ่มต่ำ เพื่อจะบิดประวัติศาสตร์เอาใจกระแสคลั่งชาติวิวาทบาดหมางว่า ปราสาทพระวิหารไม่ใช่ของกัมพูชา แต่หาเท่าไรก็ไม่พบหลักฐานว่า แยกคนออกจากกัน ระหว่างที่ราบสูงกับที่ลุ่มต่ำ



     หลัง พ.ศ.1500 เริ่มสร้างปราสาทพระวิหาร วัฒนธรรมขอม (เขมร) จากทะเลสาบกัมพูชาแผ่เข้าสู่อีสานขณะนั้นการค้าโลกกว้างขวางขึ้น ส่งผลให้บริเวณสองฝั่งโขงที่มีทรัพยากรมั่งคั่งมีบ้านเมืองเติบโตแพร่กระจายเต็มไปหมด ต้นวงศ์กษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล
    เพราะบริเวณต้นน้ำมูล ตั้งแต่เขตปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง
    เป็นถิ่นเดิมหรือถิ่นบรรพชนเกี่ยวดองเป็นเครือญาติ? ของกษัตริย์ที่สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้นบริเวณโตนเลสาบ
    ทำให้กษัตริย์อาณาจักรกัมพูชาก่อสร้างปราสาทหินสำคัญ เช่น ปราสาทพระวิหาร
    มีทางบันไดขึ้นลงที่ยื่นยาวเข้ามาทางชายแดนที่ราบสูงด้าน จ.ศรีสะเกษ


    รูปสลักขบวนแห่ทหารในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์บนระเบียงประวัติศาสตร์ที่ปราสาทนครวัด (เป็นยุคเดียวกับที่บูรณะเพิ่มเติมปราสาทพระวิหาร) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ ระหว่างกษัตริย์เขมรเมืองพระนคร กับบ้านเมืองแว่นแคว้นต่างๆ ที่อยู่โดยรอบและที่อยู่ห่างไกลออกไปถึงบริเวณเขาพระวิหาร และยังบอกให้รู้ถึงเครือข่ายทางการค้าภายใน บนเส้นทางคมนาคมการค้าครั้งนั้น เช่น
    เสียมกุก หรือชาวสยาม ที่หมายถึง คนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์บริเวณสองฝั่งโขง
    ซึ่งมีเวียงจันเป็นศูนย์กลางที่สื่อสารด้วยภาษาลาว-ไทย


   
    ยุคนั้นบริเวณจังหวัดสุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมขอม
    และอยู่ในเขตเครือญาติของกษัตริย์ผู้สถาปนา "ศรีศิขรีศวร"
    หรือปราสาทพระวิหารขึ้นบนยอดเขา ทิวพนมดงเร็ก (แปลว่าทิวเขาไม้คาน)
    ผู้คนในสุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษยุคนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของชาวสยามหรือเสียม
    ที่ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ที่มีชื่อสลักบนปราสาทนครวัด
    แล้วถูกเกณฑ์ไปสร้างปราสาทพระวิหารในครั้งนั้นด้วย



ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358780060&grpid=03&catid=&subcatid=
http://www.mscs.nu.ac.th/,http://www.bloggang.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 10:22:23 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณประวัติศาสตร์ ที่มีบันทึกให้เรารับทราบกัน ถ้าดูแผนที่ ตอนเป็น สุวรรณภูมิ ก็รวมเขมร ลาว เข้าไปด้วย รวมถึงสิบสองปันนา ในจีนตอนใต้ จะเห็นว่าประเทศไทย ทางใต้ก็สุดทะเล คือ มาเลเซีย ด้วย

    ปัจจุบัน ก็เริ่มน้อยด้วยการรุกราน ของเพื่อนบ้าน ที่ฉีกยิ้มให้กัน แต่ก็มาปักรั้วเพิ่มขึ้นทุกวัน พอต่อสู้เรียกร้องอะไรกัน คนในบ้าน ในเมื่องเรา ก็มีส่วนขายชาติ ขายประเทศ เพียงเพื่อให้ตระกูลมั่งมี ศรีสุข

    สงสารบรรพบุรุษไทย ที่กอบกู้สละชีพกันหลายครั้ง สงสารบรรดาทหารที่ออกไปป้องกันเขตแดน กันอยู่ทุกวัน และตายเยี่ยงวีรบุรุษที่ไม่มีใครได้รู้


    ชะตากรรมของประเทศ ล้วนแล้วอยู่บน อะไร ?

    :s_hi:
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย