ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สวัสดีครับ  (อ่าน 4087 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธีรปญฺโญ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ
« เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 05:11:53 pm »
0
สวัสดีครับ เพิ่งเข้ามาใหม่ ฝากตัวเป็นสุหทมิตรทางธรรม







...
บันทึกการเข้า

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สวัสดีครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 05:21:11 pm »
0
 :25: ขอนอบน้อมทุกคน ครับ
 :08:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

ธีรปญฺโญ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สวัสดีครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 05:25:03 pm »
0
รบกวนถามท่านผู้รู้ ช่วยให้ความกระจ่าง

การทำกรรมฐานโดย การกำหนดรู้เป็นคำๆ เช่น เดินก็กำหนดรู้ว่าเดิน(แล้วท่อในใจว่าเดิน) เป็นการเอาจิตเข้าไปจับกับสัญญาหรือปล่าว เมื่อจิตเข้าไปจับกับ สัญญา ก็เกิดความเพลิน(นันทิ)  หรือการตามรู้ก็ตามก็จะเกิดนันทิ เช่นกัน

เราควรทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง
ในเมื่อพุทธองค์ ทรง กล่าวให้ละนันทิ


ขอบคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สวัสดีครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 05:39:18 pm »
0
ผมขออนุญาต นะครับ ก็ไม่ถึงชำนาญครับ
อ้างถึง
การทำกรรมฐานโดย การกำหนดรู้เป็นคำๆ เช่น เดินก็กำหนดรู้ว่าเดิน(แล้วท่องในใจว่าเดิน)

การกำหนด กรรมฐาน ทั้งปวง ในกรรมฐาน พื้นฐานมาจากสติครับ และ สติพัฒนาเป็นสมาธิ
เมื่อสมาธิ พัฒนาเพียงพอ ก็จักมองเห็นตามความเป็นจริง ส่วนการละนันทินั้น เป็นการละเพราะเราต้องรู้เห็นโทษ
ตามความเป็นจริงก่อนครับ ถ้าไม่รู้จริง หรือแต่จดจำมา ก็ไม่สามารถละนันทิได้จริงครับ เป็นแต่เพียงกด สะกด
อารมณ์บอกให้ละ ซึ่งวิธีนี้ ควรจะใช้กับ พระสกทาคามี เป็นต้นไป เพราะท่านมุ่งตรงต่อพระนิพพาน เนื่องด้วยธรรม
บางส่วนแม้ปรากฏในพระสูตร พระไตรปิฏก แต่ก็ไม่ไ้ด้เป็นธรรมอันเป็นสาธารณะ บุคคล ธรรมะที่เป็นสาธารณะ
กับบุคคลปฏิบัติธรรม ก็คือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ครับ


          เหตุให้เกิดสติ 16 อย่าง มีอะไรบ้าง
          1.  สติเกิดแก่ท่านผู้รู้ เช่น ท่านผู้ระลึกชาติได้เอง เกิดมาแล้วระลึกชาติได้ อาจจะพบอยู่ต่อเนื่องทั้งในเอเชียและยุโรป

          2.  สติเกิดขึ้นเพราะการเตือน เช่น ผู้ที่หลงลืม พอมีผู้เตือนก็ระลึกได้เพราะการเตือน

          3.  สติเกิดขึ้นเพราะอาศัยนิมิตที่สำคัญ เช่น พระราชาได้อภิเษกในราชสมบัติ หรือว่าบุคคลได้บรรลุโสดาปัตติผลก็ดี เมื่อนั้นสติเกิดขึ้น เพราะวิญญาณอาศัยนิมิตที่สำคัญ คือ อย่างพระราชาได้อภิเษก ราชสมบัติที่ใด วันใด เดือนใด ปีใด พอถึงที่นั้น อันนั้น ปีนั้น ก็ระลึกขึ้นมา ถึงวันที่ได้อภิเษก สถานที่ที่ได้อภิเษก หรือบุคคลได้บรรลุธรรมโสดาปัตติผลในที่ใด ด้วยธรรมอันใด ก็ระลึกถึงที่นั้นโดยธรรมอันนั้นนี้ เรียกว่าเกิดขึ้นเพราะอาศัยนิมิตที่ สำคัญ นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย

          4.  สติเกิดขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น คนได้ความสุขในที่ใด ก็ระลึกถึงที่นั้นว่าเราได้อาศัยความสุขในที่โน้น คนได้รับความสุขในที่ใด ก็นึกถึงที่ตรงนั้นบ่อยๆ เพราะความสุขความพอใจทำให้คนอยากจะทำซ้ำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขและระลึก ถึงสถานที่ เวลา ที่ทำให้เกิดความสุข

          5.  สติเกิดขึ้นเพราะวิญ

          6.  สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่เหมือนกัน เช่น ได้เห็นคนที่คล้ายกัน แล้วก็ระลึกถึงมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย เป็นต้น หรือว่าได้เห็นสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งแล้วก็ระลึกถึงสัตว์อื่นที่คล้ายกัน นี่เรียกว่า สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่เหมือนกัน

          7.  สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่ไม่เหมือนกัน เช่น ระลึกได้ว่าสีของสัตว์ตัวโน้นเช่นนี้ เสียงของคนโน้นเช่นนี้ เป็นต้น

          8.  สติเกิดขึ้นเพราะลักษณะ เช่น เจ้าของโคเห็นโคของตัวแล้วก็รู้ได้จำได้ เพราะมีตำหนิตรงไหน หรือว่าลักษณะต่างกันก็รู้ได้

          9.  สติเกิดขึ้นเพราะความระลึก เช่น ผู้ที่สติฟั่นเฟือนเมื่อได้ผู้อื่นเตือนให้ระลึกอยู่บ่อยๆ ก็ระลึกได้

          10. สติเกิดขึ้นเพราะสังเกต เช่น คนที่เคยเรียนหนังสือได้เรียนรู้มาว่าตัวอักษรอย่างนี้ต้องเขียนอย่างนี้ นี่เรียกว่าเกิดขึ้นเพราะความสังเกต

          11.  สติเกิดขึ้นเพราะการนับ เช่นว่า เพราะเคยได้เรียนการนับมา จึงนับได้มาก นี่ก็คือการคำนวณ คนที่เก่งทางคำนวณ เขาจะคำนวณได้เร็ว คิดอะไรได้เร็ว เคยเห็นเด็กมาแข่งขันทางทีวี เขาจะคิดได้เร็วมาก ซึ่งไม่น่า ทำได้แต่เขาทำได้เพราะฝึกฝนทางนี้มา

          12. สติเกิดขึ้นเพราะความจำ เช่น เคยท่องจำ ผู้จำจึงสามารถจำได้มาก อันนี้คือเขาจำมา พอระลึกได้ ก็ไปได้หมด บางทีคำภาษาบาลี พอได้บาทต้น บาทที่ 2 ก็มา บาทที่ 3 ก็มา ได้ไปเรื่อย นั่นคือสติเกิดขึ้นเพราะความจำเคยท่องมา และจะจำได้มากขึ้นเรื่อย ไม่ใช่ว่าจะลืม พื้นฐานดีๆ อ่านทีเดียวก็จำ จำแล้วก็ไม่ค่อยลืม จำง่ายลืมช้า มันเป็นลักษณะประหลาดอันหนึ่งสำหรับคนที่เคยท่องจำ แต่บางคนจะตรงกันข้าม ลืมง่ายจำช้า

          13. สติเกิดขึ้นเพราะภาวนา เช่น การระลึกชาติได้ของผู้ที่บำเพ็ญภาวนาที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณ คือ การตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่ในปางก่อน ท่านใช้คำว่าสติเหมือนกัน

          14. สติเกิดขึ้นเพราะเปิดตำราออกดู เหมือนพระราชาให้นำพระราช-กำหนดมาเปิดออกดู แล้วก็ทรงระลึกได้ถึงพระราชกำหนดนั้น

          15. สติเกิดขึ้นเพราะเก็บไว้ เช่น เห็นของที่เก็บไว้แล้วระลึกได้ มันคงมีอะไรต่อเนื่องด้วยนะครับ คนที่ค้นคว้าเก่งๆ เขาระลึกได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน ใครถามอะไรก็มักจะตอบได้ทันที และการค้นคว้าก็จะสะดวกขึ้นมากด้วย หนังสืออะไรอยู่ที่ไหนมากมายก่ายกอง ก็ระลึกได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน ก็สะดวกกับการที่จะไปค้นหา ได้ข้อมูลเยอะเลย

          16. สติเกิดขึ้นเพราะได้พบ เช่น เพราะว่าเราได้เห็นจึงระลึกถึงรูปได้ เพราะได้ฟังจึงระลึกถึงเสียงได้

ข้อความนี้มาจากลิงก์นี้ครับ ผมว่าเรื่องนี้อ่านดีครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2754.msg9596#msg9596
บันทึกการเข้า

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สวัสดีครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 05:50:08 pm »
0
เรื่องของการละนันที ผมเคยปฏิบัติที่วัดนาป่าพงครับ

อ้างถึง
เมื่อจิตเข้าไปจับกับ สัญญา ก็เกิดความเพลิน(นันทิ)  หรือการตามรู้ก็ตามก็จะเกิดนันทิ

ขอเล่าประสพการณ์ครับ เพราะความเป็นจริงการละนันทิ นั้นได้ต้องรู้เห็นโทษใน กามคุณ อันแฝงอยู่ที่สัมผัสก่อน
ครับ ต้องรู้เห็นด้วยวิปัสสนาก่อนครับ ถึงจะละได้คุณธรรมส่วนนี้เป็นของพระอริยะบุคคลน่าจะตั้งแต่พระโสดาบัน
ครับ เพราะพระโสดาบัน รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า กายนี้ไม่ใช่ เรานี้ไม่ใช่กาย กายนี้ไม่เป็นเรา เรานี้ไม่เป็นกาย
กายนี้ไม่มีในเรา เรานี้ไม่มีในกาย มีแต่สภาวะจิตล้วน ๆ เท่านั้นที่ปรากฏเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ให้ติดในโลก

เพราะพระโสดาบัน ละสักกายทิฏฐิ ได้แล้วจึงมีคุณสมบัติในการมองเห็นตามความเป็นจริง จิตจึงสามารถฝึก
การละนันทิ ความเพลิดเพลินในอารมณ์ เพราะหลงรัก หลงชอบได้

ดังนั้นการละ นันทิ ด้วยอาการข่ม หรือ สั่งบอกว่านี้เป็นโทษ ยังละไม่ได้จริง ๆ
ผมเป็นคนชอบฟังเพลง เพลงไหนผมชอบ ผมฟังแล้วสบายใจ เพลงไหนผมไม่ชอบ เพลงนั้นผมฟังแล้วไม่สบายใจ

พอฝึกละนันทิ ความเพลิดเพลินในเพลง ก็หาคำมาตอบใจว่า อย่าเพลิดเพลิน อย่าหลง อย่าชอบ
แต่จิตลึก ๆ นั้นก็ยังบอกว่ามันไพเราะ ผมฝึกอยู่ด้วยการละจิตไม่เพลิดเพลิน อยู่สองปี จนรู้ว่าธรรมนี้ยังไม่เหมาะ
แก่ฐานะแห่งจิต มาบางอ้อตรงที่ได้คำตอบจากพระอาจารย์ว่า เพราะจิตเรายังไม่ได้พัฒนาว่า สิ่งที่เราหลง หลงชอบนั้น เรายังไม่เห็นโทษตามความเป็นจริง เพียงแต่จดจำมาว่า มันไม่ดี มันเป็นโทษ

 ประหนึ่งเหมือนคนบอกว่า เสพสุรานั้นไม่ดี เราก็ฟังว่ามันไม่ดี ได้แต่ฟัง แต่ไม่เคยรู้ เคยเ้ห็นโทษ ตามจริง
จึงไม่สามารถที่จะตอบได้ ถามว่าเมื่อจิตยังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ก็ไม่สามารถละความสงสัียตรงนั้นไปได้

คุยพอเป็นที่สบายก่อนนะครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

pimpa

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สวัสดีครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 05:56:49 pm »
0
รุ่นพี่ตอบได้ดีคะ เพราะการปฏิบัติธรรม เริ่มจากสติ อันนี้ถูกทิศ คะ แต่ สติ อย่างเดียวยังไม่พอที่จะละกิเลสได้

คะจึงต้องฝึกสติ จนเป็นสมาธิ

 ส่วนสัญญานั้น มีอยู่ 2 แบบคะ ในการใช้ตามหลักธรรม คะ พึ่งฟังไปในรายการ RDN ช่วงบ่ายนี้เองคะ

 คือสัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ว่า สิ่งนั่น สิ่งนี้ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเพียงแต่ธาตุ สี เป็นต้น การรู้อย่างนี้
เป็นการรู้เห็นสัญญาแบบปรมัตถ์ คะ

 สัญญาใดที่กำหนด คุณประโยชน์ และ มิใช่ประโยชน์ ระบุชื่อนาม เฉพาะ สัญญานั้น เป็นสัญญาที่สมมุติ คะ

 การใช้สัญญา ต้องใช้ ทั้งสองประการ ใช้ประการใดประการหนึ่งไม่ได้

  เช่น เรามองเห็นไฟแดง ถ้าเรากำหนดรู้ว่าเพียงปรมัตถ์ ก็สักว่าคือ สี อันนี้จะเกิดโทษคะ เพราะทิ้งสมมุติ

   ดังนั้นต้องตีความเป็นสมมุติ บัญญัติด้วย ว่า ไฟแดงหมายถึง อันตรายรถต้องหยุด อันนี้เกิดประโยชน์

ดังนั้น สัญญา มีส่วนรู้ทางสติ 2 นัย คะฟังจากพระอาจารย์แล้วตาสว่างเลยคะ เพราะบางครั้งเราเพียงเอาแต่

สมมุติ บางครั้งเราเอาแต่ปรมัตถ์ ทั้ง ๆ ที่ควรต้องใช้ สมมุติ และ ปรมัตถ์ ให้ถูกคะ การที่เราจะใช้ได้ถูก ก็คือ

ต้องพัฒนาสติ จนเป็น สมาธิ จนรู้เห็นตามความเป็นจริง คะ

 :25:
บันทึกการเข้า

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สวัสดีครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 05:58:31 pm »
0
หัวข้อที่ความกระจ่าง ในการฝึกที่ถูกต้อง ปรากฏในเรื่อง โพชฌงค์ 7 อยู่แล้วเชิญอ่านได้ที่นี่คะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2754.0
บันทึกการเข้า

ratree

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 102
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
คำวิจารณ์ เรื่อง สติ ที่ดีคะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 01:15:40 am »
0
อนุโมทนา คะ เป็นคำวิจารณ์ธรรม เรื่อง สติ กับวิธีการปฏิบัติในเรื่อง การปฏิบัติจริง ที่ดีคะ
 :49:
บันทึกการเข้า