สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 02, 2016, 10:24:07 pm



หัวข้อ: ศาสนากับโลกสมัยใหม่ เมื่อถึงวันที่ต้องก้าวไปพร้อมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 02, 2016, 10:24:07 pm


(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B201.jpg)



ศาสนากับโลกสมัยใหม่ เมื่อถึงวันที่ต้องก้าวไปพร้อมกัน

ทุกวันนี้ คล้ายว่าศาสนาและโลกสมัยใหม่นั้นเดินทางไปด้วยกันได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น-ซึ่งไม่ได้มาจากวิธีคิดที่ว่ามนุษย์เราห่างไกลไปจากศีลธรรม แต่ด้านหนึ่งอาจต้องตั้งคำถามเพิ่มเติมว่า ถึงที่สุดแล้วศาสนานั้นปรับตัวหรือเคลื่อนที่ไปพร้อมกับสังคมยุคใหม่ได้หรือไม่ได้อย่างไร

ไม่แปลกที่ในโลกทุกวันนี้ การตั้งคำถามต่อศาสนาและความเชื่อนั้นมีอยู่ให้เห็นในทุกมุมสายตา ทั้งโลกจริงและโลกเสมือนจริง

ในงาน ทำไมพุทธศาสนาและโลกสมัยใหม่จำเป็นต้องก้าวไปด้วยกัน? ที่ สวนเงินมีมา จัดขึ้น โดยมี เดวิด อาร์ ลอย ผู้เขียนหนังสือ เงิน กามารมณ์ สงคราม และกรรม : บันทึกเพื่อการปฏิวัติแนวพุทธ ศาสตราจารย์ทางจริยศาสตร์ ศาสนาและสังคมที่มหาวิทยาลัยเซเวียร์ และอาจารย์เซนในสายโกอุน ยามาดา เป็นผู้ปาฐกถา-ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อทั้งตั้งและตอบคำถามนี้

เดวิดเริ่มต้นที่การให้ภาพรวมของโลกในวันนี้ว่า เป็นโลกที่เน้นความเท่าเทียมและความยุติธรรมให้เข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน อันจะเห็นได้จากการสนับสนุนให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพอย่างเปิดกว้าง, มีสิทธิมนุษยชนและเพศ



(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2-768x789.jpg)
เดวิด อาร์ ลอย


“อย่างไรก็ดี อุดมคติของพุทธศาสนานั้นไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายใน ผ่านการเปิดเผยตัวตนและสภาวะที่แท้จริงของเราเอง” นักปรัชญาชาวอเมริกันกล่าวอย่างอารมณ์ดี ก่อนขยายความต่อถึงพื้นฐานอุดมคติของโลกตะวันตกที่มาจากศาสนาคริสต์และอิสลาม-ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวคือ การตอบคำถามให้ได้ว่า เราเป็นคนดีในสายตาพระเจ้าหรือไม่-อันต่อยอดมาจากความเชื่อที่ว่าพระเจ้าคือผู้สร้างโลกและสร้างมนุษย์ ดังนั้น โดยพื้นฐานความเชื่อนี้ เป้าหมายที่มนุษย์ตั้งจึงเป็นเรื่องที่ว่า-เราทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าใช่หรือไม่ และหากไม่ทำ ก็จะเกิด “บาป” อย่างที่อดัมและอีฟประสบหลังจากปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งของพระเจ้า นั่นคือถูกขับออกจากสวนเอเดนตามพระคัมภีร์ไบเบิล

กระนั้น สิ่งหนึ่งที่เดวิดเห็นว่าเป็นหนึ่งในฐานของความเชื่อเช่นนี้คือการมองความดีความเลวเป็นสีขาวดำซึ่งตัดกันอย่างชัดเจน

“ปัญหาคือ นี่ย่อมเป็นการมองโลกแบบขั้วตรงข้าม มนุษย์จึงยืนอยู่บนแนวคิดว่า เราต้องต่อสู้กับความเลวร้ายซึ่งคืออีกฝ่าย ซึ่งอันที่จริง ความเลวร้ายเหล่านั้นก็มีความดีในตัวมันเอง เช่นเดียวกับความดี ที่ก็มีความเลวในตัวของมันเองอยู่อย่างที่แยกเป็นขาวดำไม่ได้ กล่าวอีกอย่างคือเราไม่สามารถรู้ได้ว่าความดีคืออะไรจนกว่าจะรู้จักความเลว”

“และด้วยวิธีคิดที่จะต่อสู้แบบขั้วตรงข้ามเช่นนี้ มันนำมาสู่การพยายามจัดการ แทนที่จะเป็นการทำความเข้าใจ”

 :96: :96: :96: :96: :96:

เดวิดยกตัวอย่างอันเด่นชัดขึ้นมา นั่นคือการงัดประหัตประหารกันระหว่างจอร์จ บุช อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กับบิน ลาดิน-หนึ่งในผู้ก่อตั้งและหัวหน้าอัลกออิดะฮ์ ซึ่งใช่หรือไม่ว่าการต่อสู้ของทั้งสองคือการต่อสู้กับความชั่วร้ายตามความเชื่อของตัวเอง ซึ่งท้ายที่สุดคือการประสานงากันอย่างรุนแรงในด้านความเชื่อ

“ต้นเหตุของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโลก ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า สิ่งที่เราทำอยู่คือการขจัดความชั่วร้ายออกไปให้พ้น เช่นเดียวกับที่ฮิตเลอร์เคยทำในอดีต ซึ่งสุดท้าย สิ่งที่เขาทำก็เป็นการผลักให้มีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นอีก”

“เรากำลังก้าวไปสู่ระบบการเมือง สังคม เศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่ข้างในจิตใจกลับยังเต็มไปด้วยกิเลส เรื่องเหล่านี้จึงเรียกร้องให้มีการมองเห็นระบบภายในจิตใจของมนุษย์ด้วย”

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ขณะที่โลกตะวันออกซึ่งศาสนาพุทธแพร่หลายกว่านั้น เดวิดอธิบายว่า ศีล 5 หรือศีลธรรมในศาสนาพุทธไม่ได้เป็นแก่นกลางเหมือนสังคมตะวันตก เพราะแก่นพุทธศาสนานั้นไม่ใช่เรื่องความชั่วความดีแต่เป็นเรื่องความรู้กับไม่รู้ ในโลกซึ่งหมุนเคลื่อนไปพร้อมกับการเรียกร้องความยุติธรรมนั้น เดวิดมองว่า กรรมอาจเป็นระบบความยุติธรรมในพุทธ เพราะเป็นการมองผ่านความเชื่อว่าสิ่งที่เราได้รับวันนี้คือผลจากการกระทำในอดีต

“แต่สิ่งที่พุทธศาสนาเน้นคือเรื่องความทุกข์ สำคัญที่สุดคืออริยสัจ 4 พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าความทุกข์คืออะไร ความทุกข์แบบที่พระพุทธเจ้าหมายถึง คือความทุกข์ส่วนตัวที่มาจากจิตใจ พุทธศาสนาไม่เคยพูดถึงความทุกข์ทางสังคมหรือจากส่วนรวม”

นั่นย่อมหมายถึงว่า ความทุกข์แบบที่พุทธมองนั้นย่อมเน้นไปที่ “ปัจเจก” มากกว่าจะเน้นที่อื่น



(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B203-768x513.jpg)
บรรยากาศงานเสวนา


น่าเศร้าที่ในความเป็นจริงแล้ว โลกมีความทุกข์เศร้าที่ไม่ได้มีที่มาจากเรื่องของภายในจิตใจแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังมีทุกข์ซึ่งเกิดจากโครงสร้างสังคมอันคลอนแคลนและไร้ความเท่าเทียม ดังนั้น สิ่งหนึ่งซึ่งควรจะเห็นและทำต่อไปคือการตั้งคำถามต่อระบบทางสังคมอยุติธรรมเช่นนี้นั่นเอง

เหล่านี้จึงเป็นเรื่องของการตั้งคำถามของศาสนาซึ่งดำเนินควบคู่ไปกับโลกปัจจุบัน

ว่าถึงที่สุดแล้วนั้น ศาสนายังคงก้าวทันโลกอยู่ใช่หรือไม่ หรือกระทั่งว่ายังจำเป็นอย่างไรต่อโลกสมัยใหม่อันเคลื่อนรุดไปอย่างรวดเร็วดวงนี้



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/157648 (http://www.matichon.co.th/news/157648)


หัวข้อ: Re: ศาสนากับโลกสมัยใหม่ เมื่อถึงวันที่ต้องก้าวไปพร้อมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มิถุนายน 03, 2016, 02:50:20 pm
ศาสนาปัจจุบันถูกมองเป็นเพียงเครื่องมือของนักคิด นักปกครอง โดยมีเหยื่อคือประชาชน ศาสนาจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ และ ควบคุม ธรรมจักธำรงอยู่ต่อไปได้คงต้องเร้นหนี้เข้าหลืบเข้าถ้ำ เนื้อแท้สาวกภูมิไม่เอาโลก โพธิสัตว์ที่อ้างกันนักชาติรักองค์กรก็วุ่นวายไม่รู้เพื่ออะไร ผู้คนก็หลงขมขื่นกันไม่สิ้นสุด