ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อันตราย ๕ ประการ เทียบกับอันตรายของดอกบัว  (อ่าน 2666 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


พระอรรถกถาจารย์ กล่าวสาเหตุที่ภิกษุสามเณรจะพินาศเพราะพรหมจรรย์ ต้องละเพศไปสู่ฆราวาส ท่านว่าเพราะอันตราย ๕ ประการ เทียบกับอันตรายของดอกบัว คือ

๑. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยพายุใหญ่พัดเอาหักโค่น เปรียบด้วยพระภิกษุสามเณรผู้ต้องลมปาก คือคำชักชวนของคนพาล มาชักน้ำเกลี้ยกล่อมให้จิตใจเห็นเคลิบเคลิ้มในโลกียวิสัย หน่ายรักจากพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์ไป

๒. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกกิมิชาติ คือหนอนเข้าเบียดเบียนกัดต้นกินใบ เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถูกโรคาพาธต่าง ๆ เข้ามาเบียดเบียนตัดรอน จนไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ได้

๓. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกฝูงกินนรีเก็บเอาไปเชยชม คือมีผู้มาเด็ดไปจากต้น เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณร ถูกมาตุคาม (สตรี) ล่อให้ลุ่มหลงสิ้นศรัทธาในพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์

๔. ดอกบัวย่อมเป็นอันตราย ด้วยถูกเต่าและปลากัดกินเป็นอาหาร เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ถูกพระยามัจจุราชคือความตายมาตัดรอนคร่าเอาชีวิตไปเสีย

๕. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยน้ำและโคลนตม ไม่บริบูรณ์เหือดแห้งหดไป เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ แต่เพราะกุศลหนหลังและวาสนาปัจจุบันไม่มี ก็เผอิญให้มีอุปสรรคขัดข้องต่าง ๆ ไม่สามารถทรงจำพระธรรมวินัยได้ เป็นเหตุให้ท้อถอยต้องลาเพศพรหมจรรย์ไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2011, 07:29:27 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อันตราย ๕ ประการ เทียบกับอันตรายของดอกบัว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2011, 10:16:52 am »
0
สาธุ สาธุ สาธุ เจริญธรรม วันพระ มากเลยครับ
 :25:
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก